ผู้เขียน หัวข้อ: บุญ จาก การบริจาคโลหิต  (อ่าน 5802 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
บุญ จาก การบริจาคโลหิต
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2014, 08:11:26 am »
บุญ จาก การบริจาคโลหิต

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,10099.msg38852/topicseen.html#msg38852-
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 09, 2014, 08:33:42 am โดย sithiphong »
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บุญ จาก การบริจาคโลหิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2014, 08:12:07 am »
การบริจาคเลือดได้บุญและมีผลดีอย่างไร

-http://www.bokboontoday.com/advertise/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3-


ในช่วงระยะหลัง ๆ เรามักได้ยินข่าวสภากาชาดไทยประกาศขอ “บริจาคเลือด” บ่อยครั้งขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าความต้องการการบริจาคเลือดยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เรามาดูกันดีกว่าว่า การบริจาคเลือดมีความสำคัญอย่างไร แล้วคุณจะรู้ว่า การบริจาคเลือดนั้นนอกจากได้สร้างบุญกุศลแล้วยังส่งผลดีมากกว่าที่คุณคิด

 

ปรกติคนเราจะมีเลือดอยู่ในร่างกายประมาณ 70-80 มิลลิลิตรต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม หากเราเสียเลือดไม่เกิน 15% เช่น บริจาคเลือด ก็จะไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย แต่ถ้าเราเสียเลือดเกิน 50% แล้วไม่ได้น้ำเกลือ ไม่ได้พลาสมา หรือน้ำเหลือง และไม่ได้เลือด ก็จะต้องเสียชีวิต..ในการบริจาคเลือดแต่ละครั้ง ควรทิ้งช่วง 3 เดือน ซึ่งเลือดที่บริจาคไป ไม่เพียงแต่ทำให้ได้ เลือดไปช่วยชีวิตผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังสามารถแยกเป็นพลาสมา หรือน้ำเหลืองไปช่วยผู้ป่วยได้อีกทางด้วย เลือดที่บริจาคมีทั้งเม็ดเลือดแดง และน้ำเหลือง ปกติเราก็จะนำเลือดของผู้บริจาคมาปั่น แยกเป็นเม็ดเลือดแดง และน้ำเหลือง ถ้ามีอุบัติเหตุเข้ามา แพทย์ส่วนใหญ่ก็จะต้องให้น้ำเกลือ หรือให้ น้ำเหลืองไว้ก่อน จนกว่าจะทราบว่าผู้ป่วยหมู่เลือดอะไร ยูนิตไหนที่เข้ากันได้

 

ผลดีอีกประการทีมีต่อร่างกายของผู้บริจาค คือ จะทราบเลยว่าตัวเองนั้นเลือดเข้มข้นปกติ หรือเปล่า เพราะเราต้องตรวจก่อนว่ามีเลือดมาก และเข้มข้นเพียงพอ ซึ่งนั่นจะทำให้เราได้รับทราบถึง สภาพร่างกายทั่วไปด้วย เช่น ความดันเป็นอย่างไร ปอด หัวใจเต้นปกติหรือเปล่า นอกจากนั้นการ เสียเลือดก็จะไปกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดออกมาใหม่การบริจาคเลือดเหมือนการไปกระตุ้นให้ไขกระดูกทำงาน และสร้างเม็ดเลือดใหม่ออกมาตลอด เวลา จะทำให้ไขกระดูกรู้หน้าที่ เวลาที่เราเสียเลือดขึ้นมา ไขกระดูกก็จะรีบทำงานสร้างเม็ดเลือดใหม่ ๆ ออกมาอยู่ในกระแสเลือด หล่อเลี้ยงร่างกายและทำให้ร่างกายแข็งแรงตลอดเวลา

 

ส่วนในเรื่องว่าการบริจาคโลหิตเป็นบุญเป็นทานหรือไม่ ท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้เคยบอกไว้ในหนังสือตอบปัญญาธรรม ฉบับเล่ม 4 โดย พระคุณท่านกล่าวไว้ว่า

ผู้ถาม: ทีนี้การ บริจาคโลหิตเป็นทาน นั้น อยากจะเรียนถามว่าเป็นทานขั้นไหนครับ .?

หลวงพ่อ: เขาเรียกว่า “ทานภายใน” นะ จะถือว่าเป็นปรมัตถทานไม่ได้ เขาเรียกทานภายใน คือให้ของในกายนี่เป็นทานภายใน ให้ของนอกกายเขาเรียกว่า "ทานภายนอก" นะ ยังจะถือว่าเป็นปรมัตถทานไม่ได้นะ ถ้าเป็นปรมัตถทานต้องอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านทำ

ผู้ถาม: เป็นยังไงครับหลวงพ่อ.?

หลวงพ่อ: เชือดเนื้อเอาไปเลี้ยงเขาเลย

ผู้ถาม: ถึงขนาดนั้นเชียวหรือครับ.?

หลวงพ่อ: ใช่ นั่นเป็น ปรมัตถทานเราถือว่าเป็นปกติทานก็แล้วกัน แต่เป็นทานภายในเพราะอานิสงส์สูงมากอาจจะสูงกว่าทานภายนอกสักหน่อยหนึ่งนะ

ผู้ถาม: แล้วการบริจาคโลหิต กับ การอุทิศร่างกายให้กับโรงพยาบาลเป็นทาน อันไหนจะมีอานิสงส์มากกว่ากันครับ .?

หลวงพ่อ: อุทิศเลือดให้ขณะที่ยังไม่ตายมีอานิสงส์สูงกว่าเมื่อตายแล้ว ตายแล้วเหมือนของเขาทิ้งแล้ว ร่างกายใช้อะไรไม่ได้ มีประโยชน์เพียงแค่วัตถุทาน จะให้มีอานิสงส์เท่ากับให้เลือดตอนมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ ใช่ไหม .. ดูอย่างพระพุทธเจ้าสมัยเมื่อเป็น พระเวสสันดร ตอนนั้นที่คนเขามาขอช้างหรือของต่าง ๆ พระองค์ก็คิดว่าทำไมไม่ขอดวงตา ถ้าขอท่านก็จะให้ ไม่ว่าจะเป็นแขนซ้ายหรือแขนขวาก็จะให้ นี่ทานตั้งใจให้ตอนมีชีวิตอยู่ ไม่ใช่ตอนตายแล้ว ฉะนั้นถ้าให้ได้ก็เป็นปรมัตถบารมี

ผู้ถาม: ทีนี้ถ้าบริจาคร่างกายให้นักศึกษาแพทย์เขาศึกษาต่อเมื่อเราตายแล้ว แต่อธิษฐานไว้ว่า “ตายเมื่อไรขอพ้นจากวัฏสงสาร” อย่างนี้จะมีโอกาสไม่ให้มาเกิดอีกใช่หรือเปล่าครับ ?

หลวงพ่อ: ถ้าเวลาจะตายนะ จิตตัดกิเลสแน่นอน ไม่อยากมาเกิดอีก หรือเมื่อนั้นเมื่อเวลาจะตาย จิตตัดความรักในระหว่างเพศ ตัดความโกรธ ก็ไม่มาเกิดอีก มันไม่แน่นะ เดาส่งไม่ได้ มันเฉพาะจิตใช่ไม่…จะเดาไม่ได้ แต่บังเอิญก่อนที่จะตาย เวลานี้ทรงอารมณ์ของพระโสดาบันได้นะ และก็ตัดสินใจไว้เสมอทุกเช้าว่า “ร่างกายนี้ตายเมื่อไร ขอไปนิพพานเมื่อนั้น” อันนี้จิตทรงตัวแน่นอน อย่างนี้ไปได้ทันที

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บุญ จาก การบริจาคโลหิต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2014, 08:12:49 am »

ได้บริจาคโลหิต...ได้เป็นผู้ให้ ได้ช่วยเหลือชีวิตคน

  -http://www.oknation.net/blog/print.php?id=849571-

        มะเหม่ง เคยบริจาคโลหิตด้วยค่ะ แต่บริจาคได้แค่ 2 ครั้ง บางครั้งบริจาคไม่ได้ เพราะความเข้มข้นของเลือดไม่ผ่าน ต้องกินยา

บำรุงเลือดที่ทางสภากาชาดแจกให้หมด มะเหม่งอยากบริจาคเลือดมากค่ะ จะพยายามกินยาบำรุงเลือด และเข้าเช็คเลือดทุกครั้งที่มี

โอกาส หวังว่าเลือดจะผ่าน แล้วก็จะบริจาคได้ จะพยายามต่อไปค่ะ  ตอนแรกคิดอย่างเดียวว่า จะบริจาคเลือดเพราะอยากช่วยเหลือ

เพื่อนมนุษย์ ไม่ได้คิดอะไรมากกว่านี้ แต่หลังจากนั้นก็ทราบข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับประโยชชน์ หรือ ข้อดีและบุญจากการบริจาคโลหิต

วันนี้มะเหม่ง จึงอยากนำเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ

 

       แต่ก่อนอื่นขอแจ้งข่าวสักนิดค่ะว่า วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 โรงพยาบาลวิภาวดี ร่วมกับ สภากาชาดไทย จัดกิจกรรมตั้งจุด

รับบริจาคโลหิตค่ะ เป็นกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องทุกปี ปีละ 4 ครั้ง สำหรับวันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 15.00 น.

บริจาคได้ที่ บริเวณล็อบบี้ อาคารทาวเวอร์ บี โรงพยาบาลวิภาวดี ค่ะ       สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนกลูกค้าสัมพันธ์ 0-

2561-1111 กด 1 นะคะ

     

        โดย คุณอภิญญา ทองสุขโชติ  จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับกุศลผลบุญ จากการ

บริจาคโลหิต ไว้ดังนี้ ค่ะ                                         

        ผู้บริจาคโลหิต เป็นผู้ที่มีจิตใจสูง มีความเสียสละ มีความเมตตาเป็นพื้นฐาน ซึ่งทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า การบริจาคโลหิตจัดเป็นการให้ทานอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในข้อแรกของบุญกิริยาวัตถุ ๓ คือ บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน จัดเป็นทานอุปบารมี ทานระดับกลาง ในการบำเพ็ญทานบารมีแบ่งเป็น ๓ ระดับ ระดับสามัญ จัดเป็นทานบารมี ระดับรองหรือจวนจะสูงจัดเป็นทานอุปบารมี และระดับสูงจัดเป็นทานปรมัตถบารมีในการบริจาคโลหิตถือว่าได้เสียสละสิ่งที่มีค่าที่สุดในร่างกาย ในชีวิตของคนเรานอกจากจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกายของตัวเอง ช่วยต่ออายุให้ผู้เจ็บป่วย การบริจาคนี้ก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาลแก่ผู้อื่น ผู้ให้ย่อมเกิดความปิติความสุขทางใจ ดังที่ว่า “ผู้ให้ชีวิตย่อมได้ชีวิต”

        หากจะกล่าวถึงบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา นั่นคือ การให้ทานด้วยการบริจาคโลหิต เพราะการบริจาคนั้นนอกจากจะส่งผลดีต่อผู้ให้อย่างมาก และยังส่งผลดีต่อผู้รับอีกด้วย เพราะนอกจากจะทำบุญด้วยการบริจาคทรัพย์ สิ่งของ แล้ว ยังทำบุญได้ด้วยการบริจาคโลหิต ซึ่งเป็นบุญที่อุทิศกันได้ง่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะการบริจาคนั้นเป็นเจตนาที่เป็นบุญกุศลจริง ๆ แม้จะเป็นการเสียสละ แต่ก็แฝงไว้ด้วยความเมตตา กรุณา และที่สำคัญ   หากตั้งใจที่จะสร้างบุญโดยการเสียสละ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ สิ่งของ เลือด เนื้อ อวัยวะ ควรรีบทำขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จะทำให้ได้บุญมาก ในทางพระพุทธศาสนาถือว่า ทานเป็นบันไดขั้นต้นของการทำบุญและเป็นจุดเริ่มต้นที่พุทธศาสนิกชนทุกคนจะได้พัฒนาจิตใจให้สูงขึ้น

        การบริจาคโลหิต เป็นการให้ทานที่มนุษย์สามัญทั่ว ๆ ไปพึงทำได้ ท่านผู้บริจาคโลหิตจึงนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการรับบริจาคโลหิต  ซึ่งมีหลักคำสอนที่สนับสนุนเรื่องการบริจาคโลหิตผู้บริจาคต้องมีเจตนาบริสุทธิ์ โดยไม่หวังผลประโยชน์ใด ๆ แอบแฝงอยู่เป็นการตอบแทน ถือเป็นการเสียสละอย่างมากเพื่อประโยชน์ ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงบริจาคมหาทาน ทั้ง ๕ หรือ ปัญจมหาบริจาค คือ การบริจาคที่ยิ่งใหญ่ ที่ทำให้พระองค์ทรงสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ ในปัจจุบัน อันได้แก่ บริจาคทรัพย์  บริจาคอวัยวะ  บริจาคชีวิต  บริจาคบุตรธิดา  บริจาคภรรยา  ดังนั้น การบริจาค อวัยวะ เลือด เนื้อ ของพระโพธิสัตว์ นั้น ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างในการเสียสละเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและเป็นแบบอย่างของการให้ทาน ซึ่งไม่ได้ให้แต่เฉพาะสิ่งที่อยู่ภายนอกตัวเท่านั้น แม้แต่สิ่งที่อยู่ภายในตัวของร่างกายมนุษย์ก็สามารถบริจาคเป็นทานได้เหมือนกันและยังมุ่งถึงหลักคำสอนที่เป็นตัวคุณธรรมซึ่งเป็นนามธรรมที่อยู่ภายในบุคคลนั้น ๆ ได้สะท้อนออกมาให้เห็นจากพฤติกรรมนั้น ๆ ที่ได้บำเพ็ญทานมัย คือ บุญที่สำเร็จจากการให้ทาน เป็นทานที่มีผลานิสงส์ นอกจากจะมีผลดีต่อสังคมและร่างกายแล้ว ท่านพุทธวิริโย ได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ทางธรรมอีกด้วย ดังนี้

 

๑.     เกิดมาชาติหนึ่งภพใด จะเป็นผู้มีร่างกายแข็งแรง สมส่วน

๒.    จะไม่เกิดในชนชั้นต่ำ ไม่เกิดในบ้านป่าเมืองเถื่อน

๓.     เข้ากับเพื่อนมนุษย์ได้ง่าย

๔.     ประกอบอาชีพใด ๆ ก็จะเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

๕.     จิตใจเป็นสัมมาทิฐิ เรียนรู้ธรรมะเข้าใจได้ง่าย

๖.      ทำให้มีจิตใจเมตตา ไม่โหดร้าย

๗.      เป็นการสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาชีวิตที่ดี

๘.     จะได้บุตรธิดาที่ดีมาสืบสกุล

๙.      หากเจริญพระกรรมฐาน จะบรรลุธรรมได้ง่าย

 

        การให้ทานยังประโยชน์ตามที่ได้กล่าวมา เป็นการให้ทานที่มีคุณค่า เป็นการขัดเกลากิเลส เป็นการพัฒนาจิตใจให้เป็นผู้อ่อนโยน เป็นการสั่งสมคุณงามความดี เพราะการให้ทานชื่อว่าเป็นผู้บำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา เพราะคุณค่าหรืออานิสงส์ของบุญ อันมีผลมาจากการพัฒนาจิต ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า “บุคคลฝังขุมทรัพย์ไว้ในโลก พอสิ้นบุญ ทรัพย์ทั้งหมดก็จะพินาศไป แต่ขุมทรัพย์คือบุญด้วยการให้ทาน เป็นของติดตามตนไป จะนำไปได้เพียงแต่ขุมทรัพย์คือบุญเท่านั้น” ควรหมั่นสะสมบุญเสมอ เพื่อความเจริญของตนเอง  พระพุทธเจ้าทรงเห็นประโยชน์ของการให้ทาน เพราะทานที่บุคคลให้แล้ว ย่อมมีสุขเป็นผล บุคคลเมื่อละร่างกายแล้ว แต่บุญนั้นคงยังติดอยู่ เรียกว่า  “เป็นอริยทรัพย์ที่ไม่มีสูญหาย”

        การบริจาคโลหิต ถือเป็นการบำเพ็ญทานที่เป็นประโยชน์แก่สังคม เป็นการพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์ โดยพระพุทธศาสนาได้แสดงหลักการพัฒนาตนไว้ ๔ ประการ คือ

        กายภาวนา หมายถึง พัฒนากาย เป็นการพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก

        ศีลภาวนา หมายถึง การพัฒนาศีล เป็นการพัฒนาความประพฤติให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี

        จิตภาวนา หมายถึง การพัฒนาจิต เป็นการพัฒนาฝึกฝนอบรมจิตให้เข้มแข็ง มั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย

        และปัญญาภาวนา หมายถึง การพัฒนาปัญญา เป็นการฝึกอบรมปํญญาให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง สามารถทำให้

จิตเป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งปวงได้

       หลักการพัฒนาตนเองทั้ง ๔ ประการ ต้องประกอบด้วยองค์ธรรมอันได้แก่ “มงคลชีวิต”มงคล คือ เหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ที่พระพุทธองค์ตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญ ได้แก่ “มงคลสูตร”ซึ่งข้อที่ ๑๕ ในองค์ธรรม ๓๘ ประการ คือ การบำเพ็ญทาน เพื่อให้บุคคลรู้จักเสียสละ เพื่อสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคม  เพราะระบบสังคมที่ดีมีความสงบสุข ย่อมจะสะท้อนกลับมาเป็นความสงบสุขถึงบุคคลได้ในที่สุด และเมื่อสังคมเข้มแข็งย่อมจะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาด้านอื่น ๆ ต่อไป เพราะมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในการพัฒนาสังคม นั้นเอง

        ดังนั้น ผู้รักความมั่นคงของชีวิตในสังคม ควรได้เกื้อกูล เอื้ออาทร ซึ่งกันและกัน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีงามต่อกัน ย่อมเป็นที่รักและทำให้สังคมสงบสุข ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้พัฒนาตนอย่างแท้จริง

      การบริจาคโลหิต นอกจากจะได้ประโยชน์ในทางธรรมแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายของผู้บริจาค ได้ตรวจเช็คสุขภาพทุกครั้งที่บริจาค  การบริจาคทำให้ร่างกายสามารถสร้างเม็ดเลือดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่จะช่วยในเรื่องการลำเลียงออกซิเจนในกระแสเลือด และการสร้างเม็ดเลือดขาวที่ช่วยในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมในร่างกายได้ดีขึ้น ช่วยสร้างเกล็ดเลือดที่จะช่วยในการซ่อมแซมการฉีกขาดในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การบริจาคยังช่วยกระตุ้นการทำงานของไขกระดูก ซึ่งช่วยให้ไขกระดูกทำงานได้ดีเป็นปกติอีกด้วย

       นอกจากผลดีต่อร่างกายแล้ว และยังส่งผลดีทางจิตวิญญาณ จากการได้รับความรู้สึกว่าเป็นผู้ให้ ได้ช่วยเหลือชีวิตคน ย่อมทำให้รู้สึกสุขใจ จึงถือเป็นการทำบุญที่ดีที่สุด และเมื่อได้ช่วยเหลือชีวิตแล้ว ยังเป็นการต่อยอดให้กับผู้อื่น ซี่งเป็นญาติพี่น้อง ของบุคคลนั้น ๆ อีกด้วย  และในฐานะที่เราเป็นเป็นพุทธศาสนิกชน สามารถน้อมนำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่นได้ ด้วยการรู้จักเสียสละเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นผู้ที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยการบริจาคโลหิต ด้วยความเต็มใจ มีจิตใจที่บริสุทธิ์ เปี่ยมด้วยความรักความเมตตา ความปรารถนาดีต่อผู้อื่นอย่างจริงใจ ก็จะทำให้ตนเอง และสังคมส่วนรวม ได้รับความสุข ความสบายใจ อย่างแท้จริง

     ดังนั้น ในผู้ที่ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ก็สามารถบริจาคโลหิตช่วยชีวิตผู้อื่นได้ ทุกท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ยังรอรับการบริจาคจากแรงศรัทธาของทุกท่าน โอกาสดี ๆ ในชีวิต ไม่ลองบริจาคโลหิตสักครั้งหรือคะ

 

     มะเหม่งว่า  ไม่ว่าบริจาคโลหิตแล้ว  ได้บุญมากน้อยแค่ไหน คงไม่สำคัญเท่ากับการที่ ได้ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ ด้วยใจบริสุทธิ์จริงๆ

 มากกว่าค่ะ 



โดย มะเหม่ง
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บุญ จาก การบริจาคโลหิต
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2014, 08:14:36 am »

อานิสงส์การบริจาคเลือด เสริมชีวิตให้เป็นแก่นสาร บังเกิดบุญมหาศาล ได้สร้างทานบารมี
บริจาคโลหิต

-http://guru.google.co.th/guru/thread?force=1&tid=75a4e73776d875e3&sort=wsmopts-


ปัจจุบันมักมีการพูดถึงกันอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับการให้ การบริจาค ไม่ว่าจะเป็นการให้วัตถุหรือให้ธรรมเป็นทาน หรือให้อภัยเป็นทาน ก็ตาม
แต่มีทานที่สำคัญยิ่งอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมักไม่มีใครนำมาพูดถึงกันเลย นั่นก็คือ การให้ชีวิตเป็นทาน

การให้ชีวิตเป็นทาน คนทั่วไปมักเข้าใจกันว่า ต้องสละชีวิตของตัวเอง และต้องตายเพื่อให้คนอื่นมีชีวิตอยู่เท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นทานข้อนี้ได้

แต่ในยุคปัจจุบัน คงจะหาคนที่มีความเสียสละมากมายถึงเพียงนั้นได้ยาก บางทีแม้ว่าจะต้องเสียสละเพื่อท่านผู้มีอุปการคุณ มีบุญคุณ เช่น พ่อ แม่ ที่กำลังป่วยหนักต้องการคนคอยปรนนิบัติดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะลูกๆ ซึ่งมีหน้าที่โดยตรง ก็มักจะมีการเกี่ยงกันทำ มักอ้างความจำเป็นต่างๆ มากมาย มากีดกันตัวเองออกจากหน้าที่ที่ควรทำ

ถ้าเป็นไปได้ก็มักจะไม่ทำหน้าที่นี้ด้วยตัวเอง แต่จะใช้วิธีจ้างคนอื่น จ้างพยาบาล ซึ่งทุกวันนี้จะมีหน่วยงานที่มีพนักงานสำหรับรับทำหน้าที่บริการด้านพยาบาล หรือดูแลคนป่วยคนชรา คอยสนองบรรดาลูกๆ ที่ต่างคนก็ต่างพยายามหลีกเลี่ยงหน้าที่สำคัญที่สุด ซึ่งลูกๆ ที่ดีจะพึงปฏิบัติพึงกระทำกัน
ลูกบางคนพอเห็นว่าได้จ้างพยาบาล หรือคนดูแลพ่อแม่ไว้แล้ว ก็คิดว่าตัวเองหมดหน้าที่แล้ว ไม่เคยสอดส่องดูแลให้ความสนใจ ที่จะมาคอยดูว่า พ่อแม่ต้องการอะไรบ้างด้วยตัวเองเลย นานๆ จะมาให้พ่อแม่เห็นหน้าสักครั้ง บางทีหายไปเป็นเดือน หลายเดือน ความจริงท่านเหล่านั้นคงไม่ต้องการสิ่งใดอื่น นอกจากได้เห็นหน้าลูกๆ บ้าง เห็นลูกๆ ประสบความสำเร็จ มีความสุขกัน พ่อแม่ก็แทบจะหายเจ็บหายป่วยแล้ว สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเศร้าสลดหดหู่ที่สุดในสังคมปัจจุบัน

การให้ชีวิตเป็นทาน ก็มีทางให้เลือกหลายทาง โดยไม่จำเป็นที่ตัวเองจะต้องตายเพื่อผู้อื่นเสมอไป การบริจาคโลหิต คือ การให้ชีวิตเป็นทานอย่างหนึ่ง จะเห็นว่าบางทีคนที่กำลังป่วย อาการทรุดหนัก ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุหรือโรคร้ายใดๆ ก็ตาม ที่ทำให้เลือดในร่างกายเสียไป หรือทำให้เสียเลือดมาก ถ้าเขามีโอกาสที่จะได้รับโลหิตแม้เพียงหยดเดียว อาจช่วยให้เขามีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เพื่อทำความดีทำบุญสร้างกุศล ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมอีกต่อไปได้

โลหิต เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตของมนุษย์และสัตว์โลกทั่วๆ ไป เพราะเป็นสิ่งที่มีส่วนในการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยให้อยู่รอดปลอดภัย นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างก็ได้พยายามค้นคว้าวิจัยมาเป็นเวลานาน แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการหาสารประกอบอื่นๆ ที่จะนำมาใช้ทดแทนโลหิตในร่างกายได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดให้มีการบริจาคโลหิต เพื่อให้เกิดการถ่ายเท หรือให้โลหิตจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งได้

การบริจาคโลหิตคือ การสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับผู้ป่วยที่มีความต้องการ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเลย

ผู้บริจาคโลหิต สามารถบริจาคได้ในทุกๆ ๓ เดือน เพราะเมื่อบริจาคออกไปแล้ว ภายในระยะเวลาที่กำหนด ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิต ขึ้นมาทดแทนส่วนที่ขาดหายไป ให้โลหิตในร่างกายมีปริมาณเท่าเดิม ถ้าไม่ได้บริจาคหรือถ่ายเทออกไป ร่างกายก็จะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัว ซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้วเพราะหมดอายุ ออกมาในรูปของปัสสาวะ อุจจาระ หรือเหงื่อ อยู่เป็นประจำทุกวัน

เมื่อโลหิตมีความสำคัญยิ่งสำหรับชีวิตคนและสัตว์ เมื่อขาดโลหิตทุกชีวิตต้องตาย ให้ความหมายคล้ายต้นไม้ขาดน้ำ มีแต่จะช้ำเหี่ยวเฉาและแห้งตายไปในที่สุด
ผู้ป่วยที่มีอาการทรุดหนัก สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้เมื่อได้รับโลหิตทันต่อเวลา จากชีวิตสู่ชีวิต มอบโลหิตช่วยผู้ป่วย ให้เลือดให้ชีวิต บริจาคโลหิตเสริมชีวิตให้เป็นบุญ

การบริจาคโลหิตจึงถือว่าได้เสียสละสิ่งที่มีค่าที่สุดในร่างกาย ในชีวิตของคนเรา นอกจากจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ ที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกายของตัวเอง ช่วยต่ออายุให้ชีวิตแก่คนป่วยที่กำลังจะตาย เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาลแก่ผู้อื่นที่ได้รับโลหิตจากผู้บริจาคไปแล้ว สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ ผู้บริจาคได้ทราบหมู่โลหิต และได้ตรวจคุณภาพโลหิตของตัวเอง ได้รับการตรวจสุขภาพในทุกๆ ๓ เดือน

กรณีผู้บริจาคโลหิตตามกำหนด นอกจากจะได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ไวรัสตับอักเสบ ซี เชื้อไวรัสเอดส์ และเชื้อซิฟิลิส (กามโรค) แล้ว ยังเป็นการช่วยสร้างเสริมเพิ่มพูนทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งยากที่ใครจะทำให้เกิดให้มีขึ้นได้ ย่อมได้รับอานิสงส์ส่งผลตามมาภายหลัง ดังคำที่ว่า ผู้ให้ย่อมได้รับการให้ตอบ ผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ เช่นเดียวกับการให้ทานที่ยิ่งใหญ่อื่นๆ

บันทึก #1 4 เม.ย. 2553 09:23:05
การให้ทานโดยทั่วไปมี ๑๘ ประการ ดังที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถามโนรถปูรณี สีหนาทสูตร อังคุตตรนิกาย ๓/๒๓๕-๒๓๖ ดังนี้ คือ

๑.ทำให้ชีวิตมีความสุข
๒.เป็นรากฐานของสมบัติ
๓.เป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์
๔.ช่วยต้านภัยให้ชีวิตได้
๕.ช่วยคุ้มครองป้องกันอันตราย
๖.ช่วยปูทางไปสู่สุคติ
๗.เป็นที่อาศัยได้
๘.เป็นที่พึ่งพิงได้
๙.ช่วยเสริมพลังใจให้เข้มแข็งได้
๑๐.เป็นทางเดินของบัณฑิต
๑๑.ได้เป็นเชื้อสายของพระพุทธเจ้า
๑๒.ทำให้ได้สมบัติในสวรรค์
๑๓.ทำให้ได้สมบัติพญามาร
๑๔.ทำให้ได้สมบัติพระพรหม
๑๕.ทำให้ได้สมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ
๑๖.ทำให้ได้สาวกบารมีญาณ
๑๗.ทำให้สำเร็จปัจเจกโพธิญาณ
๑๘.ทำให้สำเร็จอภิสัมโพธิญาณ


การบริจาคโลหิต เป็นปรมัตถทานบารมีสูงสุดที่มนุษย์สามัญทั่วๆ ไปพึงทำได้ เพราะเป็นการให้ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตตนเพื่อนำไปช่วยต่อชีวิตให้ผู้อื่น ผู้ให้ย่อมเกิดความปีติ ความสุขทางใจ จากผลบุญของการให้ไร้ขีดจำกัดอย่างแน่นอน
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บุญ จาก การบริจาคโลหิต
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2014, 08:22:03 am »
บริจาคโลหิต ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์

-https://web.ku.ac.th/saranaroo/chap5a.htm-



น.อ. หญิง ภักตร์ฉวี บุณยะเวศ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโลหิต
    โลหิตเป็นอวัยวะชนิดหนึ่ง เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตทั่วร่างกาย โดยมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิต อวัยวะสำคัญของร่างกายที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดโลหิต ได้แก่ ไขกระดูก เช่น กระดูกหน้าอก กระดูกแขน กระดูกซี่โครง กระดูกเชิงกราน กระดูกไขสันหลัง เป็นต้น ในร่างกายมนุษย์ (ผู้ใหญ่) จะมีโลหิตประมาณ 4,000 - 5,000 ซี.ซี. หรือ ปริมาณตามน้ำหนักของแต่ละคน คิดโดยประมาณคือ 80 ซี.ซี. ต่อน้ำหนัก 1 กิดลกรัม

    เม็ดโลหิตที่สร้างจากไขกระดูก มี 3 ชนิด คือ
    1. เม็ดโลหิตแดง
    2. เม็ดโลหิตขาว
    3. เกร็ดโลหิต

    โลหิตแบ่งได้ 2 ส่วน คือ
    1. ส่วนของเม็ดโลหิต
    2. ส่วนพลาสม่า (Plasma)
    1. ส่วนของเม็ดโลหิต มีประมาณ 45 เปอร์เซนต์ ของโลหิตทั้งหมด
    เม็ดโลหิตแดง มีหน้าที่ในการลำเลียงอ๊อกซิเจนไปให้เซลส์อวัยวะต่าง ๆ ใช้สันดาบ อาหารเป็นพลังงาน อายุการทำงานของเม็ดโลหิตแดง ประมาณ 120 วัน
    เม็ดโลหิตขาว มีหน้าที่ป้องกันและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
    เกร็ดโลหิต มีหน้าที่ช่วยทำให้โลหิตแข็งตัว ตรงจุดที่มีการฉีดขาดของหลอดโลหิต
    2. พลาสม่า (Plasma) เป็นส่วนของเหลวของโลหิตที่ทำให้เม็ดโลหิตลอยตัว มีลักษณะเป็นน้ำเหลืองมีอยู่ประมาณ 55 เปอร์เซนต์ ของโลหิตทั้งหมดในร่างกาย
    หน้าที่ของพลาสม่า
    - ควบคุมความดัน และปริมาตรของโลหิต
    - ป้องกันเลือดออก
    - เป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อที่จะเข้าสู่ร่างกาย
    ส่วนพลาสม่าประกอบด้วย
    1. ส่วนน้ำ ประมาณ 92 เปอร์เซนต์
    2. ส่วนโปรตีน มีประมาณ 8 เปอร์เซนต์ โปรตีนส่วนนี้จะมีความสำคัญคือ
    2.1 แอลบูมิน มีหน้าที่รักษาความสมดุลของน้ำในหลอดเลือด และเนื้อเยื่อ
    2.2 อินมูโนโกลบูลิน มีหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย

    ประเภทของโลหิต
    โลหิตของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
    1. หมู่โลหิตระบบ ABO
    2. หมู่โลหิตระบบ Rh
    1. หมู่โลหิตระบบ ABO
    หมู่โลหิตเริ่มค้นพบใน คศ. 1900 โดย Karl Landsteiner พบหมู่โลหิต A, B, และ O ส่วนหมู่โลหิต AB พบโดย Von Decastello และ Sturli ในปี คศ. 1902
    สถิติหมู่โลหิต ABO ของคนไทย มีดังนี้
    หมู่โลหิต A    21.1 %
    หมู่โลหิต B    34.0 %
    หมู่โลหิต O    37.6 %
    หมู่โลหิต AB    7.3 %
    2. หมู่โลหิต ระบบ Rh
    ปี คศ. 1939 Levine และ Stetson รายงานการค้นพบหมู่โลหิต ระบบ Rh ประกอบด้วยหมู่โลหิต 2 ชนิดคือ
    2.1 หมู่โลหิต ระบบ Rh บวก พบในคนไทยประมาณ 99.7 %
    2.2 หมู่โลหิต ระบบ Rh ลบ พบในคนไทยประมาณ 0.3 % หรือใน 100 คน จะพบเพียง 3 คนเท่านั้น


    การถ่ายทอดหมู่โลหิต ระบบ ABO ของพ่อ - แม่ - ลูก ที่เป็นไปได้




    หมู่โลหิตของพ่อ    หมู่โลหิตของแม่    หมู่โลหิตของลูกที่อาจจะเป็นไปได้
    O    O    O
    O    A    O,A
    0    B   O,B
    O   AB   A,B
    A   A   A,O
    A   B   O,A,B,AB
    A   AB   A,B,AB
    B   B   B,O
    B   AB   A,B,AB
    AB   AB   A,B,AB




    การบริจาคโลหิต
    - ปกติแล้วมนุษย์จะมีโลหิตอยู่ประมาณ 4,000 - 5,000 ซี.ซี. และการบริจาคโลหิตแต่ละครั้งจะบริจาคเพียง 300
    - 400 ซี.ซี. หรือ ประมาณ 6 - 7 % ของโลหิตทั้งหมดในร่างกาย การบริจาคโลหิตเท่ากับการกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดโลหิตใหม่ ๆ ออกมาชดเชยให้มีระดับเท่าเดิม ภายใน 7 - 14 วัน
    - การบริจาคสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก ๆ 3 เดือน ไม่ควรบริจาคก่อนครบกำหนด จะทำให้ร่างกายขาดเหล็ก อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง

    คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต
    - บริจาคได้ทั้งชาย และหญิง ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
    - อายุ 17 - 60 ปี
    - น้ำหนัก 45 กิโลหรัม ขึ้นไป
    - ฮีโมโกลบิน หญิงสูงกว่า 80% ชายกว่า 90% ของคนปกติ
    - ความดันโลหิต ซีสโตริกไม่ต่ำกว่า 100 มม.ปรอท
    - ไม่มีประวัติเป็นผู้เสพยาเสพติด (ชนิดฉีด)
    - ต้องไม่เป็นโรคเอดส์, โรคไวรัสตับอักเสบ บี และซี
    - ไม่เป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์
    - ไม่มีประวัติเป็นมาเลเรียภายใน 3 ปี
    - มีสุขภาพสมบูรณ์ ไม่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคไต และโรคติดต่ออื่น ๆ

    ข้อควรปฏิบัติ ก่อนบริจาคโลหิต
    - ควรนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
    - ไม่ควรอยู่ระหว่างรับประทานยา ประเภทปฏิชีวนะ และฉีดยา
    - สตรีต้องไม่อยู่ในระหว่างมีรอบเดือน
    - ควรรับประทานอาหารมาให้เรียบร้อย ก่อนมาบริจาคโลหิต แต่อาหารนั้นไม่ควรมีไขมันมาก

    ขั้นตอนการบริจาคโลหิต
    ขั้นตอนที่ 1 สำหรับผู้บริจาคโลหิตครั้งแรก เขียนใบสมัครบริจาคโลหิต
    กรอกข้อความ ตามแบบใบสมัครให้ชัดเจน เช่น ชื่อ - นามสกุล, วัน เดือน ปี เกิด สถานที่ทำงาน, สถานศึกษา, ที่อยู่ที่บ้าน เป็นต้น
    กรอกข้อความตามแบบสอบ-ถาม ลงในใบสมัครตามความเป็นจริง
    ลงนามผู้บริจาคโลหิต
    สำหรับผู้บริจาคเดิม ให้ยื่นบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิตกับเจ้าหน้าที่ได้ทันที
    ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบความเข็มข้นของโลหิต
    ขั้นตอนที่ 3 ตรวจร่างกายโดยแพทย์ และให้ความเห็นว่ามีสุขภาพแข็งแรง พร้อมบริจาคโลหิต
    ขั้นตอนที่ 4 บริจาคโลหิต โดยพยาบาลทำหน้าที่เจาะเก็บโลหิต ซึ่งเป็นผู้มีความชำนาญ การเจาะโลหิตจะฉีดยาชาบริเวณผิวหนังที่เจาะโลหิตก่อนทำการเจาะเก็บโลหิต และอุปกรณ์ในการเจาะเก็บโลหิตเป็นของใหม่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว และจะใช้เพียงครั้งเดียว แล้วทิ้งไม่นำมาใช้อีก
    ขั้นตอนที่ 5 พร้อมบริจาคโลหิต จะมีการกินอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม และทำแผลบริเวณเจาะโลหิต

    ข้อความปฏิบัติหลังการรับบริจาคโลหิต
    ควรนอนพักบนเตียงสักครู ห้ามลุกจากเตียงทันทีเพราะอาจทำให้เวียนศีรษะเป็นลมได้
    ควรรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่มที่จัดเตรียมไว้
    รับบริการทำแผลบริเวณเจาะเก็บโลหิต
    หากมีอาการวิงเวียศีรษะ หรือรู้สึกจะเป็นลม ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที หรือนอนลง เพื่อป้องกันการล้มศีรษะฟาดพื้น

    บัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต
    ผู้บริจาคโลหิตจะได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต ซึ่งภายในบัตรจะระบุรายละเอียด ดังนี้
    ชื่อ-นามสกุล พร้อมด้วยที่อยู่ของผู้บริจาคโลหิต
    เลขประจำตัวผู้บริจาคโลหิต
    หมู่โลหิต ระบบ เอบีโอ (ABO) และระบบ อาร์เอช (Rh)
    วัน เดือน ปี และจำนวนครั้งการบริจาคโลหิต
    บัตรประจำตัวสีเหลือง คือบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต หมู่ A
    บัตรประจำตัวสีชมพู   คือบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต หมู่ B
    บัตรประจำตัวสีฟ้า   คือบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต หมู่ O
    บัตรประจำตัวสีขาว   คือบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต หมู่ AB

    ผลที่ได้รับจากการบริจาคโลหิต
    ความภาคภูมิใจที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกาย เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ต่อผู้อื่น
    รับทราบหมู่โลหิตของตนเอง
    ได้รับการตรวจสุขภาพ ทุก 3 เดือน (กรณีมาบริจาคโลหิต)
    ได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ไวรัสตับอักเสบ ซี เชื้อไวรัสเอดส์ และเชื้อซิฟิลิส (กามโรค)

    การตรวจคุณภาพโลหิต
    โลหิตที่ได้รับจากการบริจาคโลหิต ก่อนนำไปให้กับผู้ป่วยเพื่อการรักษาทุกหน่วยต้องผ่านการตรวจจากห้องปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน เพื่อผู้ป่วยจะได้รับโลหิตที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน การตรวจโลหิตทางห้องปฏิบัติการจะกระทำการตรวจดังนี้ คือ

    1. ตรวจหาหมู่โลหิต ระบบ เอบีโอ และระบบ อาร์เอช
    2. ตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ (Anti HIV และ HIV Ag)
    3. ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (Abs Ag)
    4. ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี (Anti Hbc)
    5. ซิฟิลิส (VDRL)
    6. ทดสอบความเข้ากันได้ของโลหิตครบทุกขั้นตอนตามมาตรฐาน

    การบริจาคโลหิตนับว่าเป็นกุศลอันสูงสุดเพราะเป็นการให้ส่วนหนึ่งของชีวิตไปช่วยต่อชีวิตให้ผู้อื่น ผู้ให้ย่อมเกิดความปิติ บังเกิดความสุขใจจากผลบุญของการให้ ขณะนี้โลหิตที่ได้รับการบริจาคยังขาดแคลนไม่เพียงพอ ท่านผู้บริจาคโลหิตจึงนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการบริจาคโลหิต เพื่อสำรองไว้ใช้กับเพื่อนมนุษย์ผู้เจ็บป่วย ท่านที่สนใจติดต่อขอรับบริจาคโลหิตได้ที่ กองบริการโลหิต รพ. ภูมิพลอดุลยเดช พอ. บนอ. สาขาบริการโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โทร. 531-1970-99 ต่อ 27651 ในวันเวลาราชการ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บุญ จาก การบริจาคโลหิต
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2014, 08:25:21 am »

ภาวนากับเลือด
Posted on August 17, 2009 by bloomingmind   

-http://bloomingmind.wordpress.com/2009/08/17/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94/-


เรื่องราวของการปฏิบัติธรรมระหว่างบริจาคเลือด

เส้นทางการบริจาคเลือด

ประเพณีบริจาคเลือดประจำปี

ฝึกปฏิบัติ — กลั่นเลือดให้เป็นบุญ

การบริจาคเลือดกับมุมมองในพุทธศาสนา

ประโยชน์ของการบริจาคเลือด


“กลัวเลือด” เป็นคำพูดที่ฉันบอกตัวเองเสมอ และเพื่อน ๆ อีกหลายคนก็รู้สึกคล้าย ๆ กัน ในเวลาไปบริจาคเลือด

น่าสนใจนะ เราไม่กลัวเลือดที่ไหลเวียนในร่างกาย แต่เมื่อใดที่มันหลุดออกมาข้างนอก เป็นเรื่อง จิตใจจะหวั่นไหว ยิ่งถ้าปริมาณเลือดที่ออกนอกร่างกายยิ่งมาก ใจจะเริ่มสั่นมากขึ้น พาลจะเป็นลม

ถ้าเรากลัวเลือดที่ไหลออกมาข้างนอกร่างกาย หมายถึง เรากลัวชีวิตที่กำลังไหลออกไปนอกกาย ?


เส้นทางการบริจาคเลือด

ฉันรู้จักการบริจาคเลือดตั้งแต่เด็ก คุณยายชอบเล่าให้ฟังเป็นนิทานก่อนนอนถึงคุณน้าที่ไปบริจาคเลือดและได้รับพระราชทานเข็มผู้บริจาคเลือด “บริจาคเลือดเป็นสิ่งที่ดี ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์” นั้นเป็นความรู้สึกที่ประทับในความทรงจำ แต่ไม่คิดว่าจะทำตามเลย

ต่อมา เมื่อฉันโตขึ้นและกำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฉันแสวงหาแหล่งบุญที่จะช่วยหนุนเสริมให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ฉันไม่เชื่อเรื่องการติดสินบนเทวดา เพราะคิดว่าเป็นไปไม่ได้และทำให้ภาพลักษณ์ของเทพตกต่ำ แต่ฉันเชื่อในผลของบุญจึงคิดว่า “บริจาคเลือดนี่แหละ บุญน่าจะแรงพอ”

ตอนนั้น สภากาชาดมาที่โรงเรียน ฉันจะไปยืนต่อคิวบริจาคเลือด แม้อายุจะพร่องหล่นเกณฑ์ที่กำหนดไว้เล็กน้อย แต่โชคดีที่น้ำหนักตัวช่วยเอาไว้ได้ ฉันจึงผ่านการคัดเลือกให้บริจาคเลือด

จิตใจเบิกบานอิ่มเอิบทีเดียว ความมั่นใจในการสอบมีเต็มพิกัด แน่นอนว่าทั้งชีวิตที่เรียนหนังสือมา ฉันตั้งใจและทำคะแนนดีมาตลอด บุญที่ทำจึงไม่ใช่ปาฏิหาริย์ แต่เป็นผลของเหตุและปัจจัยที่ทำมาตั้งแต่อดีตเท่านั้น

การบริจาคเลือดไม่ได้อยู่ในหัวขมองอีกเลย จนกระทั่ง 1 ปีกว่า ๆ ให้หลัง เมื่อคุณยายเสียชีวิต

คุณยายได้รับการวินิจฉัยว่า มีเนื้องอกในสมองหลังกระบอกตาข้างขวา ต้องได้รับการผ่าตัดใหญ่

หลังการผ่าตัด ฉันรุดไปที่ห้องไอซียูเพื่อต้อนรับและให้กำลังใจคุณยาย — ฉันแทบทรุด น้ำตาไหลโดยไม่ยังคิดว่าจะรู้สึกอย่างไร คุณยายไม่เคยนอนโรงพยาบาลเลย ภาพที่เห็นจึงเป็นภาพที่สะเทือนใจอย่างยิ่ง

ฉันมองคุณยายที่นอนนิ่งอยู่บนเตียงอยู่นาน พิจารณาเห็นถุงเลือดและสายยางที่นำเลือดเข้ามาในร่างของท่าน “ถ้าไม่ได้เลือดขวดนี้ ฉันคงไม่มีโอกาสได้เห็นยายอีก”

ฉันรู้สึกขอบคุณเลือดและเจ้าของเลือดถุงนั้นอย่างยิ่ง “ฉันอยากตอบแทนบุญคุณของเขา อยากไปกราบที่ให้ยายมีชีวิตหลังการผ่าตัด” แต่ฉันมองไม่เห็นชื่อผู้บริจาคเลือด “ทำอย่างไรดี ฉันต้องตอบแทนคุณนี้ให้ได้” แล้วสิ่งหนึ่งก็ผุดขึ้นมาในใจ “ก็ทำความดีอย่างที่ผู้บริจาคท่านนี้ทำสิ เป็นการบูชาความดีด้วยการทำความดีตามอย่างที่เห็นดีแล้ว”

ฉันบอกกับตัวเองว่า จะขอตอบแทนบุญคุณผู้บริจาคเลือดด้วยการบริจาคเลือดของตนด้วย

คุณยายมีชีวิตอยู่ 3 สัปดาห์ก็จากฉันไป แต่ปณิธานที่ฉันจะบริจาคเลือดยังคงอยู่ เพราะ 3 สัปดาห์ที่ยายมีชีวิตหลังผ่าตัด เป็นโอกาสให้ฉันได้สัมผัสท่านบ้าง ได้พูดคุย และเห็นพลังความรักของตัวเอง

ประเพณีบริจาคเลือดประจำปี

นับจากนั้น ฉันกำหนดการบริจาคเลือดปีละ 3 ครั้ง เป็นประเพณีส่วนตัวโดยยึดเอาตามปฏิทินความรู้สึก อย่างนี้

ครั้งแรกในเดือน เมษายน ซึ่งเป็นเดือนที่คุณยายจากไป เวลาไปบริจาคเลือดในเทศกาลนี้ ฉันจะรำลึกถึงการสูญเสียบุคคลที่เป็นเสมือนหัวใจของฉัน บางครั้ง ฉันรู้สึกว่าครึ่งหนึ่งของชีวิตได้จากไป และอีกครึ่งกำลังทำหน้าที่แทนในการมีชีวิตที่ดีและมีคุณค่าอยู่แทนกันและกัน โอกาสนี้เป็นโอกาสให้ฉันรำพันถึงความตาย มรณสติที่เกิดขึ้นกับคนที่ฉันรัก

ครั้งที่สอง ในเดือน สิงหาคม ซึ่งเป็นเดือนเกิดของคุณยาย ทุกปี ฉันจะให้ของขวัญวันเกิดและวันแม่กับคุณยาย เมื่อท่านไม่อยู่แล้ว ฉันจะยังให้ของขวัญท่านเหมือนเดิม และของขวัญนี้จะเป็นของขวัญที่เป็นบุญถึงท่าน เป็นของขวัญที่ท่านเองก็มีส่วนให้ฉันมา – ร่างกายของฉัน ระหว่างที่เลือดไหลออกจากร่างกาย ฉันอธิษฐานให้ท่านรับรู้และรับของขวัญวันเกิดและวันแม่ “ขอบคุณที่คุณยายเลี้ยงดูเรามาด้วยความรักยิ่ง ขอบคุณที่เป็นตัวอย่างของความดีที่หลานพึงทำและสานต่อ”

ครั้งที่สาม ในเดือนธันวาคม เป็นการเปลี่ยนผ่านปีเก่าสู่ปีใหม่ ในเทศกาลนี้ ฉันก็นึกถึงชีวิตเก่า ชีวิตใหม่ ของตัวเองไปตามบรรยากาศ ในช่วงแห่งความสุขนี้ อาจมีหลายคนกำลังทุกข์ บางทีเลือดของฉันอาจให้ชีวิตใหม่กับใครหลายคนได้ และฉันเองก็ปรารถนาจะให้กุศลที่ทำนี้เปลี่ยนจิตเปลี่ยนใจของฉันให้สดใหม่ งดงามขึ้น

ฝึกปฏิบัติ กระบวนการกลั่นเลือด

การทำบุญนี่ระทึกขวัญก็ได้ด้วย ฉันเริ่มภาวนาอย่างจริงจังเมื่อก้าวเท้าเข้าไปยังสภากาชาดไทย ทำขั้นตอนไม่กี่อย่างก็จะถึงนาทีระทึก

กรอกใบลงทะเบียนบริจาคเลือดแล้ว ไปตรวจดูความพร้อมของสุขภาพ ใจฉันระทึกอีกเช่นกัน หลายปีแล้วที่ฉันไม่ได้บริจาคเลือด เพราะเลือดไม่ผ่าน “เลือดจางนะคะ เอายาธาตุเหล็กนี้กลับไปทาน แล้วค่อยกลับมาใหม่” เจ้าหน้าที่กาชาดบอก

หลายครั้งที่ฉันไปบริจาคเลือด จะถูกปฏิเสธเพราะเหตุนี้ เพราะฉันดูแลสุขภาพไม่ดี บางทีนอนดึก นอนไม่พอติดต่อกันหลายวัน ไม่สบายบ้าง กินอาหารไม่ดีพอบ้าง เหตุและปัจจัยมากมายที่ทำให้ฉันขาดโอกาสที่จะให้เลือด

การทำความดีบางครั้งก็ไม่ง่าย ร่างกายและจิตใจต้องพร้อมเหมือนกัน

หลังจาก 4 ปีที่ไม่อาจให้เลือดได้ ฉันกลับมาอีกครั้งด้วยความพร้อมกว่าเดิม ทางกายฉันเตรียมอย่างจริงจังสัก 2-4 สัปดาห์

ด้วยความตระหนักรู้ว่า เลือดของฉันจะไปใช้กับผู้ที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ก่อนที่จะไปบริจาคเลือด ฉันจะฟิตร่างกายให้ดี นอนให้เพียงพอ นอนหัวค่ำ กินอาหารดี มีสารอาหารครบ ออกกำลังกายเพื่อให้เม็ดเลือดแข็งแรง กระชุ่มกระชวย ทำใจและอารมณ์ให้ดี

และดีที่สุด คือ ฉันจะนั่งสมาธิภาวนาเพื่อกลั่นเลือดให้ดีที่สุด และอธิษฐานให้เลือดนี้ เข้าไปช่วยหล่อเลี้ยงกายและใจของผู้ป่วย ให้ฟื้นสภาพกาย หายป่วย และช่วยญาติด้วย เพราะฉันรู้ว่า ความสบายดีของคน ๆ หนึ่ง เกี่ยวพันกับหัวใจอีกหลายดวงที่รายล้อมชีวิตนั้น

แม้จะบริจาคหลายครั้ง การบริจาคเลือดสดใหม่เสมอ — ฉันกลัวเสมอ กลัวทั้งเลือด กลัวทั้งเข็ม กลัวเจ็บ กลัว …. แต่ต้องฝึกฝืนความกลัว

ความตั้งใจและมุ่งมั่นเป็นบ่อเกิดของความกล้า

ฉันบอกตัวเองว่า ความเจ็บแค่นี้ยังน้อยกว่าความเจ็บที่สักวันต้องมาแน่ ๆ ความเจ็บช่วงสุดท้ายของชีวิต หรือ เจ็บป่วยหนัก เพราะฉะนั้น ต้องเรียนรู้ที่จะอดทนไว้

ส่วนความกลัว ฉันก็บอกตัวเองว่า หากความกลัวเล็กน้อยนี้ยังไม่ผ่าน เมื่อความตายมา จะก้าวข้ามความกลัวตายได้อย่างไร

การให้เลือดครั้งที่ 17 นี้ ฉันมั่นใจและมั่นคงมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ใจไม่สั่น และฉันนิ่งขึ้นกับการทำตามขั้นตอนการบริจาคเลือด

ฉันกล้ามองและยิ้มกับทุกสิ่งอย่าง เมื่อเจ้าหน้าที่มาแทงเข็ม ฉันรับรู้ถึงความรู้สึกที่เสียดแทงเข้าไปข้างในทีละนิด ความเจ็บคาอยู่ที่แขน ฉันเฝ้าดูและทน จนร่างกายเริ่มชินและความเจ็บหายไป ฉันกล้ามองเลือดที่ไหลออกจากแขน โดยใจไม่สั่นอย่างที่แล้วมา

ฉันเฝ้าตามดูความรู้สึกที่เกิดขึ้นในกายและใจ และเห็นว่ามีความกลัวบางอย่างแฝงอยู่ ฉันไม่ได้กลัวเลือด แต่เลือดเป็นสัญญะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความตาย

อีกอย่าง มันมีความรู้สึก “เลือดของฉัน” “ร่างกายของฉัน” — ความกลัวในที่นี้ เกี่ยวเนื่องอย่างยิ่งกับ ความรู้สึกที่เรียกว่า “อัตตา”

หากเราไม่มีความรู้สึกว่า เลือดและกายเป็น “ของฉัน” จะต้องกลัวอะไร

ฉันขอบคุณการบริจาคเลือดที่ทำให้ฉันเห็นว่า ฉันยังหวงแหนกายนี้อยู่มาก และการฝึกฝนขัดเกลาตนต้องดำเนินต่อไป

ระหว่างที่เลือดไหลออกจากร่างกาย ฉันภาวนาขอให้เลือดนี้ดี เป็นประโยชน์ต่อผู้รับและครอบครัวของเขา ขอให้ผู้ที่ได้รับเลือดหายป่วย กลับมามีสุขภาพแข็งแรง และทำสิ่งที่ดีงาม ขอให้ญาติของผู้ป่วยมีความสุข และขอให้กุศลนี้ไปถึงทุกคน ครอบครัว ครู เพื่อน ผู้มีพระคุณ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ

ใจของฉันอิ่มไปด้วยความรักและความสุข ฉันมองไปรอบ ๆ ห้องบริจาคเลือด ก็เห็นใบหน้าผู้บริจาคเลือดหลายคน มีความสุข น้องมหาวิทยาลัยหลายคนเดินมาบริจาคเลือดพร้อมกับรอยยิ้ม พระคุณเจ้าหลายรูปก็นั่งรอคิวให้เลือดอย่างเบิกบาน คุณน้า คุณป้า พี่ ๆ ทั้งชายและหญิงดูมีความสุข

“ขอบคุณนะ” ฉันบอกร่างกาย “ขอบคุณที่ทำบุญร่วมกัน ขอบคุณที่ให้โอกาสฉันทำสิ่งดี ๆ กับผู้อื่น ถ้าไม่มีร่างกาย ฉันคงทำอะไรอย่างนี้ไม่ได้”

ตระหนักเห็นอย่างนี้ ฉันสัญญากับตัวเองว่า จะดูแลรักษาร่างกายให้ดี เพื่อจะได้ให้ร่างกายนี้ทำประโยชน์อย่างที่ธรรมชาติจะอนุญาตให้เขาทำได้

ฉันดูแลร่างกายให้ดี เพราะร่างกายที่ดีและแข็งแรงจะได้รับใช้คนอื่น ๆ

การคิดอย่างนี้ ทำให้ใจมีพลังมุ่งมั่นที่จะรักษาสุขภาพของตัวเอง ซึ่งโดยมากมักจะมักง่าย ไม่ค่อยใส่ใจ

การตั้งใจจะช่วยเหลือผู้อื่นเป็นเรื่องเดียวกับการช่วยเหลือดูแลตัวเอง

การรักผู้อื่น ทำให้เรารู้จักรักตัวเองมากขึ้น

การบริจาคเลือดกับมุมมองในพุทธศาสนา

พระธรรมปิฏก เคยให้ความรู้เรื่องการบริจาคเลือดและร่างกายไว้ ขอสรุปมาดังนี้

การบริจาคอวัยวะ ถือเป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ต้องการให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์

การบำเพ็ญ “บารมี” ของพระพุทธเจ้าเมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์ ก็มีการบริจาคเป็นคุณธรรมข้อแรก เรียกว่า “ทาน” และ “ทานบารมี”คือการให้เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น

ในการบำเพ็ญของพระโพธิสัตว์นั้นการบริจาคอวัยวะเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นความคิดที่จำเป็นเลยที่เดียวที่ต้องทำ เพราะการก้าวไปสู่โพธิญาณ ต้องมีความเข้มแข็งของจิตใจ ในการเสียสละเพื่อความดี ทั้งนี้ทานที่เป็นบารมี จะแบ่งเป็น ๓ ขั้น เช่นเดียวกับบารมีอื่นๆคือ

ทานบารมีระดับสามัญ คือการบริจาคทรัพย์สินเงินทอง

ทานระดับรอง หรือจวนสูงสุด เรียกชื่อเฉพาะว่า “ทานอุปบารมี” ได้แก่ ความเสียสละทำความดีถึงขั้นสามารถบริจาคอวัยวะเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นได้เพื่อรักษาธรรม

การบริจาคอวัยวะนั้นเป็นบุญธรรมสำคัญ และเป็นบุญมากตามหลักพระพุทธศาสนานอกจากเป็นบารมีขั้นทานอุปบารมีแล้วยังโยงไปหาหลักสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “มหาบริจาค” คือการบริจาคใหญ่ซึ่งพระโพธิสัตว์จะต้องปฏิบัติอีก ๕ ประการ คือ บริจาคทรัพย์ บริจาคราชสมบัติ บริจาคอวัยวะ และนัยน์ตา บริจาคตัวเองหรือบริจาคชีวิตและบริจาคบุตรและภรรยา

ท่านยังให้ข้อคิดในระหว่างการบริจาคอีกด้วยว่า ให้เราทำจิตใจให้ผ่องใสให้ประกอบด้วยคุณธรรม มีเมตตาปรารถนาดีและอันนี้แหละที่จะทำให้เราได้บุญมาก

ประโยชน์ของการบริจาคเลือด

การ บริจาคโลหิตจึงถือว่าได้เสียสละสิ่งที่มีค่าที่สุดในร่างกาย ในชีวิตของคนเรา นอกจากจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ ที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกายของตัวเอง ช่วยต่ออายุให้ชีวิตแก่คนป่วยที่กำลังจะตาย เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาลแก่ผู้อื่นที่ได้รับโลหิตจากผู้บริจาคไปแล้ว สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ ผู้บริจาคได้ทราบหมู่โลหิต และได้ตรวจคุณภาพโลหิตของตัวเอง ได้รับการตรวจสุขภาพในทุกๆ ๓ เดือน

ผู้บริจาคโลหิต สามารถบริจาคได้ในทุกๆ ๓ เดือน เพราะเมื่อบริจาคออกไปแล้ว ภายในระยะเวลาที่กำหนด ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิต ขึ้นมาทดแทนส่วนที่ขาดหายไป ให้โลหิตในร่างกายมีปริมาณเท่าเดิม ถ้าไม่ได้บริจาคหรือถ่ายเทออกไป ร่างกายก็จะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัว ซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้วเพราะหมดอายุ ออกมาในรูปของปัสสาวะ อุจจาระ หรือเหงื่อ อยู่เป็นประจำทุกวัน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ โทร.๐-๒๒๕๑-๓๑๑ ต่อ ๑๑๓, ๑๖๑, ๑๖๒
-http://www.redcross.or.th/donation/blood_wholeblood.php4-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บุญ จาก การบริจาคโลหิต
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2014, 08:31:46 am »
เมื่อวานนี้ ผมไปทำบุญมา

ไปบริจาคเลือดที่สภากาชาดไทย , และทำบุญทุกอย่างกับสภากาชาดไทย

ไปทำบุญต่อที่มูลนิธิร่วมกตัญญู ร่วมทำบุญโลงศพ และ ข้าวสาร

มาร่วมโมทนาบุญกันครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บุญ จาก การบริจาคโลหิต
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2014, 07:20:05 am »
การบริจาคอวัยวะ

ผมจะทยอยนำลงให้อ่านกันครับ

ข้อมูลจากสภากาชาดไทย

ส่วนตัวไปทำเรื่องไว้นานแล้ว แจ้งที่บ้านไว้นานแล้วเช่นกัน
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บุญ จาก การบริจาคโลหิต
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2014, 07:20:54 am »
การบริจาคอวัยวะ

ผมจะทยอยนำลงให้อ่านกันครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: บุญ จาก การบริจาคโลหิต
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2014, 07:21:21 am »
การบริจาคอวัยวะ

ผมจะทยอยนำลงให้อ่านกันครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)