ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวบ้านบางระจัน  (อ่าน 1664 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ชาวบ้านบางระจัน
« เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 09:33:50 pm »
วีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน
     
     เหตุการณ์และบทบาทของชาวบ้านบางระจัน เกิดขึ้นเมื่อพม่ายกทัพทั้งทัพบกและทัพเรือมาตี
กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2306 ในระหว่างนั้น หัวเมืองทั้งใต้และเหนือของไทยเสียแก่พม่าไปหลายเมือง
คนไทยที่ได้รับความเดือนร้อนต้องพาครอบครัวหลบหนีเข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก ในขณะนั้น มีคนไทย
กลุ่มหนึ่งคิดต่อสู้กับพม่า บอกข่าวชักชวนชาวบ้าน นัดแนะทำกลลวงพม่าแล้วฆ่าพม่าไปจำนวนไม่น้อย
     จากนั้นกลุ่มคนไทยดังกล่าวได้พากันหลบหนีพม่าไปหาพระอาจารย์ธรรมโชติ ที่วัดเขาเดิมบาง
นางบวช พระอาจารย์ผู้นี้มีวิชาอาคมเป็นที่ยกย่องนับถือของชาวบ้าน กลุ่มคนไทยจึงได้นิมนต์ให้ไปอยู่
ที่วัดโพธิ์เก้าต้น ในขณะนั้นมีราษฎรชาวเมืองวิเศษไชยชาญ ชาวเมืองสิงห์และเมืองสรรค์ พากัันหลบหนี
พม่ามาชุมนุมกันในหมู่บ้านบางระจันกันมากมาย ด้วยหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิที่ดีี่ยากที่พม่าจะยกทัพเข้ามาตี
ทั้งยังมีเสบียงอาหารอุดมสมบูรณ์ หัวหน้ากลุ่มคนไทยพากันหลบหนีมาชุมนุมกันที่นี้ โดยมีพรรคพวกที่
เป็นชาวบ้านติดตามมาอยู่ด้วย ชาวบ้านบางระจันได้ร่วมมือกันสร้างค่ายขึ้นล้อมรอบหมู่บ้าน จัดกำลังคน
เป็นหมวดหมู่ทำหน้าที่รักษาค่าย เตรียมหาอาวุธไว้ต่อสู้กับศัตรู วางกองสอดแนมคอยสืบข่าวความ
เคลื่อนไหวของฝ่ายพม่า


รูปที่ 1 ค่ายจำลองบางระจัน

รูปที่ 2  พระอาจารย์ธรรมโชติ  เกจิอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคมที่เคารพบูชา ของเหล่าผู้กล้าแห่งบ้านบางระจัน

รูปที่ 3  โบสถ์พระธรรมโชติิ ในค่ายบางระจัน

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ชาวบ้านบางระจัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 09:35:04 pm »
วีระชนชาวบ้านบางระจัน

-http://www.m-culture.in.th/moc_new/album/111086/%E0%B9%91%E0%B9%91-%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99/-


การรบที่บางระจันเป็นการรบเพื่อป้องกันตัวเองของชาวบ้านเมืองสิงห์บุรีและเมืองต่าง ๆ ที่พานมาหลบภัยกองทัพพม่าที่บางระจันในคราวการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง สามารถต้านทานการเข้าตีของกองทัพพม่าได้หลายครั้ง จนได้ชื่อว่า "เข้มแข็งกว่ากองทัพของกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น"[6]และมีกิตติศัพท์เลื่องลือในด้านวีรกรรมความกล้าหาญในประวัติศาสตร์ไทยโดยมีอนุสาวรีย์สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมในครั้งนี้ในจังหวัดสิงห์บุรี

๑๑ วีรชนชาวบ้านบางระจัน

พันเรือง

(นายอนิก สมบรูณ์ ผู้ปั้น)

เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน เมื่อถูกพม่าเข้าปล้นหมู่บ้านหาข้าวปลาอาหารทัพ ชาวบ้านถูกทหารพม่ารังแก ข่มแหง จึงได้รับความเดือดร้อน นายพันเรือง นายทองแสงใหญ่ นายจันหนวดเขี้ยว ปรึกษากันให้ชาวบ้านบางระจันทั้งหมด ไปอยู่ในวัดโพธิ์เก้าต้นเป็นที่หลบทหารพม่าเพราะมีคลองธรรมชาติล้อมรอบถึง ๒ ชั้น และรวมชายฉกรรจ์ในหมู่บ้านจำนวนหนึ่ง ซึ่งแบ่งกลุ่มกันออกลาดตะเวน หลอกล่อทหารพม่าให้หลงทางเข้าตีไม่ถูก และนายพันเรืองยังเป็นผู้ออกความคิดหล่อปืนใหญ่ เพื่อยิงทำลายค่ายพม่า จึงชักชวนชาวบ้านช่วยกันเสียสละทองเหลือง ทองแดง หล่อปืนขั้น ๒ กระบอก แต่ใช้การไม่ได้ อาจเป็นเพราะโลหะไม่เป็นชนิดเดียวกันหรือไม่มีความชำนาญ ชาวบ้านต้องอยู่ในสภาพเสียขวัญกำลังใจ และท่านได้หลบหนีทหารพม่าในคราวค่ายแตกไปเสียชีวิตริมฝังคลอง หน้าวัดขุนสงฆ์ห่างจากค่ายประมาณ ๒.๕ ก.ม.

นายแท่น

(นายสุกิจ ลายเดช)

เป็นคนบ้านศรีบัวทองแขวงเมืองสิงห์บุรี เป็นผู้ที่มีความกล้าหาญและมีฝีมือในการวางแผนรบ จัดได้ว่าเป็นแม่ทัพใหญ่อีกท่านหนึ่ง นายแท่นคุมพลเข้ารบกับทหารพม่าหลายครั้งได้รับชัยชนะ ในการรบครั้งที่ ๔ ท่านคุมพล ๒๐๐ คน เป็นทัพหลวงท่านคุมพลเข้าตีลวงหม่าก่อน และให้ทัพปีกขวาและปีกซ้ายเข้าตีโอบหลังสนามรบคือฝั่งคลองทุ่งห้วยไผ่สะตือสี่ต้นในการรบครั้งนั้นท่านได้รับชัยชนะ และสามารถฆ่าแม่ทัพพม่าได้คือ สุรินทร์จอข่อง แต่ท่านก็ได้รับความบาดเจ็บที่เข่า เนื่องจากถูกอาวุธของข้าศึกต้องหามกลับค่ายหลังจากนั้นท่านต้องนอนรักษาตัวอยู่ในค่ายได้มินานก็เสียชีวิตเพราะพิษบาดแผล ทำให้ทุกคนในบางระจันเสียขวัญกำลังใจเพราะขาดบุคคลซึ่งเป็นที่พึ่ง ๑ ใน ๑๑ ท่าน ทุกคนในค่ายต้องหลั่งน้ำตาในการจากไปของท่าน

นายโชติ

(นายแหลมเทียน คชะภูค ผู้ปั้น)

เป็นคนบ้านศรีบัวทอง แขวงเขตเมืองสิงห์บุรีติดต่อเมืองสุพรรณบุรี นายโชติได้รวมชาวบ้านที่ถูกกองลาดตะเวนของทหารพม่าข่มเหงและให้ส่งหญิงสาวให้ในครั้งนั้นท่านกับพรรคพวกได้ลวงทหารพม่าไปฆ่าได้กว่า ๒๐ คน จากนั้นท่านและชาวบ้านจึงมาอยู่รวมกัน ณ บางระจัน ท่านได้ต่อสู้กับทหารพม่า จนเสียชีวิตในสนามรบ

นายอิน

(นายสุกิจ ลายเดช ผู้ปั้น/นายสุนทร ศรีสุนทร ผู้ช่วย)

เป็นคนบ้านสีบัวทอง ที่มากับนายแท่น นายโชติ นายเมือง เป็นคนหนึ่งที่ร่วมกันฆ่าทหารพม่าในครั้งแรก แล้วมารวมรวมกำลังตั้งค่ายบางระจันขึ้น ณ วัดโพธิ์เก้าต้น ท่านเป็น ๑ ใน ๑๑ ผู้นำชาวบ้านที่ออกต่อสู้กับทหารพม่า ด้วยความกล้าหาญจนตัวตายในสนามรบ

นายดอกแก้ว

(นายสนั่น ศิลากรณ์ ผู้ปั้น)

อยู่เมืองวิเศษชัยชาญ เมืองถูกกองทัพพม่าตีเมืองวิเศษชัยชาญแตกและยึดเมืองได้ นายทองแก้วจึงรวบรวมชาวบ้านหลบหนีไปอยู่ที่บ้านโพธิ์ทะเล ท่านหนีออกมาคราวเดียวกับยานดอก ต้องแยกทัพกันอยู่เพราะมีชาวบ้านจำนวนมาก

นายทองแสงใหญ่

(นายประเทือง ธรรมรักษ์ ผู้ปั้น)

ท่านเป็น ๑ ใน ๑๑ ท่านที่เป็นผู้นำระดับแนวหน้า และท่านเป็นผู้ที่คิดตั้งค่ายน้อยเพื่อลวงทหารพม่า ท่านคัดชายฉกรรจ์ จำนวนหนึ่ง ตั้งค่ายขึ้นอีกค่ายหนึ่ง ซึ่งห่างจากค่ายใหญ่ออกไป ในค่ายใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยคนแก่ทั้งชายหญิงเด็กเล็กและผู้ป่วยที่บาดเจ็บจากการสู้รบและมีการเสียชีวิตทุกวันท่านต่อสู้กับทหารพม่าด้วยกำลังที่มีอยู่ทั้งหมด

นายเมือง

(นายขวัญเมือง ยงประยูร ผู้ปั้น)

เป็นคนบ้านศรีบัวทอง เมืองสิงห์บุรี ร่วมกับนายอิน นายโชติ นายแท่น และชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่ง ลวงทหารพม่าไปฆ่า และท่านเป็นคนไปนิมนต์ พระอาจารย์ธรรมโชติ จากแคว้นเมืองสุพรรณ มาอยู่วัดโพธิ์เก้าต้น ค่ายบางระจัน นายเมืองเป็น ๑ ใน ๑๑ ผู้นำชาวบ้านในค่าย ที่คุมคนออกต่อสู้กับพม่า จนกระทั้งเสียชีวิตในสนามรบ

ขุนสรรค์

(นายบุญส่ง นุชน้อมบุญ ผู้ปั้น)
จากเมืองสรรค์บุรี ท่านได้รวบรวมชาวบ้านต่อสู้กับทหารพม่าที่ยกทัพพม่ามาทางเมืองอุทัยธานีท่านมีฝีมือในการยิงปืน เมื่อท่านกับชาวบ้านต่อต้านทหารพม่าไม่ไหวจึงชักชวนชาวบ้านมารวมกันที่บางระจัน และได้รวมรบกับชาวบ้านศรีบัวทอง ชาวเมืองวิเศษชัยชาญ ชาวบ้านที่รวมตัวกันอยู่ ร วัดโพธิ์เก้าต้นค่ายบางระจัน ท่านได้ให้ชาวบ้านรวบรวมอาวุธต่าง ๆ ที่ยึดได้จากทหารพม่าในการรบครั้งก่อน ๆ ที่ได้รับชัยชนะครั้งหนึ่งท่านได้รวมกับนายจันหนวดเขี้ยว ท่านได้คุมพล ๑๐๐ คน ตีทัพของ อาคา บัญคญี แตกพ่าย ท่านได้รวมรบอยู่ในค่าย จนกระทั้งเสียชีวิตในที่รบ

นายดอก

(นายพนม สุวรรณนารถ ผู้ปั้น)

ท่านอยู่เมืองวิเศษชัยชาญ เมื่อกองทัพพม่ายกมาล้อมกรุงศรีอยุธยา แม่ทัพพม่าสั่งให้กองทัพออกตีหัวเมืองต่าง ๆ เมืองวิเศษชัยชาญจึงอยู่ในเป้าหมาย เมืองกองทัพพม่าเข้าตีเมืองวิเศษชัยชาญแตก นายดอกจึงชักชวนชาวบ้านไปอยู่บ้านตลับ คือบ้านตลับ ในปัจจุบัน กองทัพพม่าเที่ยวออกลาดตะเวนเป็นบริเวณกว้าง ทำให้ชาวบ้านเดือนร้อน เพราะถูกทหารพม่าข่มเหงจึงชักชวนมาอยู่ วัดโพธิ์เก้าต้น ค่ายบางระจัน นายดอกเป็นผู้นำชาวบ้าน ท่านได้ร่วมรบกับชาวบ้านบางระจัน กองทัพพม่าบุกเข้าได้แล้ว ทำให้ท่านเสียชีวิตในสนามรบ

นายจันหนวดเขี้ยว

(นายสนั่น ศิลากรณ์ ผู้ปั้น)

ท่านเป็นคนบางระจัน เดิมเป็นคนชื่อจันชอบไว้หนวดและแต่งหนวดให้งอนดูเหมือนเขี้ยวชาวบ้านทั่วไปจึงเรียนท่านว่า นายจันหนวดเขี้ยว ท่านเป็นผู้กล้าหาญมีฝีมือในการต่อสู้ท่านเป็นเหมือนครูฝึกประจำหมู่บ้านให้เด็กหนุ่มสาว ในเมื่อทหารพม่ามาข่มเหงชาวบ้าน ท่านจึงออกช่วยชาวบ้านจึงเกิดการต่อสู้ เด็กหนุ่มที่ท่านฝึกให้รวมพลังกันรบทหารพม่าได้รับชัยชนะ ท่านจึงให้พวกชาวบ้านไปรวมตัวกันอยู่ที่วัดโพธิ์เก้าต้น ครั้งหนึ่งกองทัพพม่ายกกำลังมามาก ท่านให้กองสอดแนมในค่ายออกไปดูกำลังพลพม่าที่ยกมา เมื่อท่านทราบว่ากำลังพลไล่เลี่ยกัน ท่านคุมกำลัง ๑๐๐ คน แบ่งออกเป็น ๒ พวก เข้าตีกองทัพพม่า อาคา ปัญคญี เป็นแม่ทัพพม่าจนเสียชีวิตในที่รบ ครั้งสุดท้ายพม่าเปลี่ยนวิธีการรบ คือพม่าสร้างค่ายเป็นสามค่ายมาเรื่อย ๆ และยิงปืนใหญ่ออกมา ไม่ต้องออกมาลบแทน จึงสร้างความกดดันให้ชาวบ้านบางระจันเป็นอย่างมาก นายจันหนวดเขี้ยวพร้อมกับชาวบ้านเข้าตีค่ายพม่า ในค่ายพม่ามีสุกี้เป็นแม่ทัพ ท่านถูกทหารพม่าฆ่าตายในสนามรบ

นายทองเหม็น

(นายสุกิจ ลายเดช ผู้ปั้น)

ท่านว่าชาวบางระจัน เข้าร่วมในค่ายบางระจันและเป็นอีกท่านหนึ่งที่ร่วมวางแผนในการรบครั้งที่ ๔ ท่านทำหน้าที่เป็นปีกขวา ร่วมกับนายโชติ นายดอก นายทองแก้ว คุมพล 200 คน ไปข้ามคลองบ้านขุนโลก ตีโอบหลังข้าศึก ผลทำให้พม่าแตกพ่าย และได้ฆ่าทัพพม่าคือ สุรินทร์จอข่อง ครั้งสุดท้ายพม่าทำการรบแต่ในค่ายโดยยิงปืนใหญ่ออกมา นายทองเหม็นสุดที่จะทนร่วมกับพวกชาวบ้านบางระจันจำนวนหนึ่ง โดยนายทองเหม็นขี่กระบือเผือก

ตลุยฝ่าค่ายพม่า จึงเสียทีพม่า นายทองเหม็นถูกพม่าจับฆ่าตายในที่นั้น
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ชาวบ้านบางระจัน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 09:36:37 pm »
Bang Rajan 2000 บางระจัน 2543-2544

Bang Rajan 2000 บางระจัน 2543-2544
-http://www.youtube.com/watch?v=uC66n9YTBDI-


------------------------------------------------------------------



บางระจัน ภาค2

บางระจัน ภาค2
-http://www.youtube.com/watch?v=yCI8s8cWz6g-



------------------------------------------------------------------



บางระจัน 1

บางระจัน 1
-http://www.youtube.com/watch?v=2ouNTzIQIgQ-






------------------------------------------------------------------


วีรชนชาวบ้านบางระจัน

วีรชนชาวบ้านบางระจัน
-http://www.youtube.com/watch?v=eEo1iyiRsYQ-


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 12, 2014, 10:16:49 pm โดย sithiphong »
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ชาวบ้านบางระจัน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 10:13:09 pm »
การรบที่บางระจัน

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99-

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


การรบที่บางระจัน เป็นการรบเพื่อป้องกันตัวเองของชาวบ้านเมืองสิงห์บุรีและเมืองต่าง ๆ ที่พากันมาหลบภัยกองทัพพม่าที่บางระจัน ในคราวการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง[8] สามารถต้านทานการเข้าตีของกองทัพพม่าได้หลายครั้ง จนได้ชื่อว่า "เข้มแข็งกว่ากองทัพของกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น"[6] และมีกิตติศัพท์เลื่องลือในด้านวีรกรรมความกล้าหาญในประวัติศาสตร์ไทย โดยมีอนุสาวรีย์สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมในครั้งนี้ในจังหวัดสิงห์บุรี


เบื้องหลัง

พ.ศ. 2307 กองทัพพม่าภายใต้การนำของเนเมียวสีหบดียกมาจากพม่า ซึ่งแต่เดิมแล้วมีภารกิจที่จะปราบปรามกบฏต่ออาณาจักรพม่าเท่านั้น แต่เนื่องจากความอ่อนแอของอาณาจักรอยุธยา เนเมียวสีหบดีจึงตั้งเป้าหมายที่จะเข้าตีกรุงศรีอยุธยาไปด้วย

ต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2308 กองทัพของเนเมียวสีหบดีรุกเข้าสู่อาณาจักรอยุธยาจากทางเหนือ ได้มาหยุดอยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ และจัดให้ทหารพม่ากองหนึ่งเที่ยวกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนทางเมืองวิเศษชัยชาญ ราษฎรต่างพากันโกรธแค้นต่อการกดขี่ข่มเหงของทหารพม่า จึงแอบคบคิดกันต่อสู้ ในเดือน 3 พวกชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรคบุรี และชาวบ้านใกล้เคียงพากันคบคิดอุบายเพื่อล่อลวงทหารพม่า ทั้งรวบรวมผู้คนไว้เพื่อทำการต่อไป ในบรรดาชาวบ้านที่ร่วมกันอยู่นี้มีหัวหน้าที่สำคัญคือ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง ซึ่งได้หลอกลวงทหารพม่านำไปหาทรัพย์สิ่งของที่ต้องการ ทหารพม่าหลงเชื่อตามไป ก็ถูกนายโชติและพรรคพวกซุ่มอยู่บุกเข้ามาฆ่าฟันพม่าตายประมาณ 20 คน แล้วจึงพากันหนีไปยังบางระจัน

ในเวลานั้นชาวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงต่างก็เข้ามาหลบอาศัยอยู่ที่บางระจันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ข้าศึกตามเข้าไปได้ยาก ชาวบ้านทั้งหลายจึงพาพรรคพวกครอบครัวอพยพหันมาพึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติ ซึ่งมีกิตติศัพท์ว่ามีความเชี่ยวชาญทางวิทยาคมมาก ต่อมานายแท่นและผู้มีชื่ออื่น ๆ ชักชวนชาวบ้านได้อีกประมาณ 400 คนเศษพากันมาอยู่ที่บ้านบางระจัน หลังจากนั้นก็ตั้งค่ายขึ้นล้อมรอบบ้านบางระจัน 2 ค่าย เพื่อป้องกันทหารพม่าที่จะยกติดตามมาและเพื่อจัดหากำลังและศัตราวุธในแถบตำบลนั้น นอกจากนี้มีคนไทยชั้นหัวหน้าที่เข้ามาร่วมด้วยอีก 7 คน คือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันหนวดเขี้ยว นายทองแสงใหญ่ นายดอก และนายทองแก้ว รวมหัวหน้าที่สำคัญของค่ายบางระจันครั้งนั้นรวม 11 คน ตั้งกองสู้กับกองทัพพม่า
การเข้าตีค่ายบางระจัน

การรบครั้งที่ 1
    ทหารพม่าที่เมืองวิเศษชัยชาญยกพลมาประมาณ 100 เศษ มาตามจับพันเรืองเมื่อถึงบ้านบางระจัน ก็หยุดอยู่ ณ ฝั่งลำธารบางระจัน นายแท่นจัดคนให้รักษาค่ายแล้วนำคน 200 ข้ามแม่น้ำไปรบกับพม่า ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวยิงปืนได้เพียงนัดเดียวชาวไทยซึ่งมีอาวุธสั้นทั้งนั้นก็กรูเข้าไล่ฟันแทงพม่าถึงขั้นตะลุมบอน พลทหารพม่าล้มตายหมดเหลือแต่ตัวนายสองคนขึ้นม้าหนีไปได้ ไปแจ้งความให้นายทัพพม่าที่ค่ายแขวงเมืองวิเศษชัยชาญทราบ และส่งข่าวให้แม่ทัพใหญ่คือเนเมียวสีหบดี ซึ่งตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณ ปากน้ำพระประสบทราบด้วย

การรบครั้งที่ 2
    เนเมียวสีหบดีจึงแต่งให้งาจุนหวุ่น คุมพล 500 มาตีค่ายบางระจัน นายแท่นก็ยกพลออกรบ ตีทัพพม่าแตกพ่ายล้มตายเป็นอันมาก แม่ทัพพม่าได้เกณฑ์ทหารเพิ่มเป็น 700 คน ให้เยกินหวุ่นคุมพลยกมาตีค่ายบางระจัน ทัพพม่าก็ถูกตีแตกพ่ายอีกเป็นครั้งที่ 2

การรบครั้งที่ 3
    เมื่อกองทัพพม่าต้องแตกพ่ายหลายครั้ง เนเมียวสีหบดีเห็นว่าจะประมาทกำลังของชาวบ้านบางระจันต่อไปอีกไม่ได้ จึงเกณฑ์พลเพิ่มเป็น 900 คน ให้ติงจาโบ เป็นผู้คุมทัพครั้งนี้ชาวบ้านบางระจันมีชัยชนะพม่าอีกเช่นครั้งก่อนๆ

การรบครั้งที่ 4
    การที่พม่าแพ้ไทยหลายครั้งเช่นนี้ ทำให้พม่าหยุดพักรบประมาณ 2-3 วัน แล้วเกณฑ์ทัพใหญ่เพื่อมาตีค่ายบางระจัน มีกำลังพลประมาณ1,000 คน ทหารม้า 60 สุรินจอข่องเป็นนายทัพ พม่ายกทัพมาตั้งที่บ้านห้วยไผ่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง) ฝ่ายค่ายบางระจันได้จัดเตรียมกันเป็นกระบวนทัพสู้พม่าคือ นายแท่นเป็นนายทัพคุมพล 200 พันเรืองเป็นปีกซ้ายคุมพล 200 ชาวไทยเหล่านี้มีปืนคาบศิลาบ้าง ปืนของพม่าและกระสุนดินดำของพม่า ซึ่งเก็บได้จากการรบครั้งก่อนๆ บ้าง นอกจากนั้นก็เป็นอาวุธตามแต่จะหาได้ ทัพไทยทั้งสามยกไปตั้งที่คลองสะตือสี่ต้น อยู่คนละฟากคลองกับพม่า ต่างฝ่ายต่างยิงตอบโต้กันฝ่ายไทยชำนาญภูมิประเทศกว่า ได้ขนไม้และหญ้ามาถมคลอง แล้วพากันรุกข้ามรบไล่พม่าถึงขั้นใช้อาวุธสั้น พม่าล้มตายเป็นอันมาก ตัวสุรินทรจอข้องนายทัพพม่า ขี่ม้ากั้นร่มระย้าเร่งให้ตีกองรบอยู่กลางพล ถูกพลทหารไทยวิ่งเข้าไปฟันตาย ณ ที่นั้น ส่วนนายแท่นแม่ทัพไทยก็ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บสาหัสต้องหามออกมาจากที่รบ ทัพไทยกับพม่ารบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง ต่างฝ่ายต่างอิดโรย จึงถอยทัพจากกันอยู่คนละฟากคลอง พวกชาวบ้านบางระจันในค่ายก็นำอาหารออกมาเลี้ยงดูพวกทหาร ขณะพม่าต้องหุงหาอาหารและมัวจัดการศพแม่ทัพไม่ทันระวังตัว กองสอดแนมของไทยมาแจ้งข่าว พวกทหารไทยกินอาหารเสร็จแล้วก็ยกข้ามคลองเข้าโจมตีพม่าพร้อมกันทันที ทหารพม่าแตกพ่ายไม่เป็นกระบวน ที่ถูกอาวุธล้มตายประมาณสามส่วน และเสียเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นอันมาก ไทยไล่ติดตามจนใกล้ค่ำจึงยกกลับมายังค่าย กิตติศัพท์ความเก่งกล้าของชาวบ้านบางระจันแพร่หลายออกไปมีชาวบ้านอื่นๆ อพยพครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ในค่ายบางระจันเพื่อขึ้นอีกเป็นลำดับ

การรบครั้งที่ 5
    พม่าเว้นระยะไม่ยกมาตีค่ายบางระจันอยู่ประมาณ 10-11 วัน ด้วยเกรงฝีมือชาวไทย หลังจากนั้นจึงแต่งทัพยกมาอีกครั้งหนึ่ง มีแยจออากาเป็นนายทัพ คุมทหารซึ่งเกณฑ์แบ่งมาจากทุกค่ายเป็นคนประมาณ 1,000 คนเศษ พร้อมด้วยม้าและอาวุธต่างๆแต่กองทัพพม่านี้ก็ปราชัยชาวบ้านบางระจันแตกพ่ายไป

การรบครั้งที่ 6
    นายทัพพม่าครั้งที่ 6 นี้คือ จิกแก ปลัดเมืองทวาย คุมพล 100 เศษ ฝ่ายไทยมีชัยชนะอีกเช่นเคย

การรบครั้งที่ 7
    เนเมียวสีหบดีได้แต่งกองทัพให้ยกมาตีค่ายบางระจันอีก ให้อากาปันคยีเป็นแม่ทัพคุมพล 1,000 เศษ อากาปันคยียกกองทัพไปตั้ง ณ บ้านขุนโลก ทางค่ายบางระจันดำเนินกลศึกคือ จัดให้ขุนสรรค์ซึ่งมีฝีมือแม่นปืน คุมพลทหารปืนคอยป้องกันกองทัพม้าของพม่า นายจันหนวดเขี้ยวเป็นแม่ทัพใหญ่คุมพล 1,000 เศษออกตีทัพพม่าและล้อมค่ายไว้ ทหารไทยใช้การรบแบบจู่โจม พม่ายังไม่ทันตั้งค่ายเสร็จก็ถูกโอบตีทางหลังค่าย ทหารพม่าถูกฆ่าตายเกือบหมดเหลือรอดตายเป็นส่วนน้อย แม่ทัพก็ตายในที่รบครั้งนี้ทำให้พม่าหยุดพักรบนานถึงครึ่งเดือน

การรบครั้งที่ 8
    การที่พม่าส่งกองทัพมาปราบค่ายบางระจันถึง 7 ครั้ง แต่ต้องแตกพ่ายทุกครั้งนั้น ทำให้แม่ทัพใหญ่ของพม่าวิตกมาก เนื่องจากชาวบ้านบางระจันมีกำลังเข้มแข็งขึ้นทุกที และไม่มีใครอาสาเป็นนายทัพ ขณะนั้นมีชาวรามัญผู้หนึ่งเคยอยู่เมืองไทยมานาน รู้จักนิสัยคนไทยและภูมิประเทศดี ได้เข้าฝากตัวทำราชการอยู่กับพม่าจนได้รับตำแหน่งสุกี้ หรือพระนายกอง สุกี้เข้ารับอาสาจะขอไปตีค่ายบางระจัน เนเมียวสีหบดีจึงแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพคุมพล 2,000 พร้อมทั้งม้าและสรรพาวุธทั้งปวง สุกี้ดำเนินการศึกอย่างชาญฉลาด เมื่อเวลาเดินทัพไม่ตั้งทัพกลางแปลงอย่างทัพอื่น ให้ตั้งค่ายรายไปตามทาง 3 ค่าย และรื้อค่ายหลังผ่อนไปสร้างข้างหน้าเป็นลำดับ ใช้เวลาถึงครึ่งเดือนจึงใกล้ค่ายบางระจัน สุกี้ใข้วิธีตั้งมั่นรบอยู่ในค่าย ด้วยรู้ว่าคนไทยเชี่ยวชาญการรบกลางแปลง พวกหัวหน้าค่ายบางระจันนำกำลังเข้าตีค่ายพม่าหลายครั้งไม่สำเร็จกลับทำให้ไทยเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งนายทองเหม็นดื่มสุราแล้วขี่กระบือนำพลส่วนหนึ่งเข้าตีค่ายพม่า สุกี้นำพลออกรบนอกค่าย นายทองเหม็นถลำเข้าอยู่ท่ามกลางข้าศึกแต่ผู้เดียว แม้ว่าจะมีฝีมือสามารถฆ่าฟันทหารพม่ารามัญล้มตายหลายคน แต่ในที่สุดก็ถูกทหารพม่ารุมล้อมจนสิ้นกำลังและถูกทุบตีตายในที่รบ (เล่าขานกันมาว่านายทองเหม็นเป็นผู้รู้ในวิชาคงกระพันชาตรี และมีของขลังป้องกันภยันตราย ฟันแทงไม่เข้า หากจะทำร้ายคนมีวิชาเช่นนี้จะต้องตีด้วยของแข็ง) ทัพชาวบ้านบางระจันเมื่อเสียนายทัพก็แตกพ่าย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในการรบกับพม่า ทัพพม่ายกติดตามมาจนถึงบ้านขุนโลกใกล้ค่ายบางระจัน แล้วตั้งค่ายมั่นอยู่ ทัพบางระจันพยายามตีค่ายพม่าอีกหลายครั้งไม่สำเร็จก็ท้อถอย สุกี้จึงให้ทหารขุดอุโมงค์เข้าใกล้ค่ายน้อยบางระจัน ปลูกหอรบขึ้นสูงนำปืนใหญ่ขึ้นยิงเข้าไปในค่ายถูกผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ค่ายน้อยบางระจันก็แตกพ่ายลงนอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านบางระจันเสียกำลังใจลงอีกคือ นายแท่นหัวหน้าค่ายที่ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บครั้งที่สุรินทรจอข่องเป็นแม่ทัพยกมาเมื่อการรบครั้งที่ 4 นั้นได้ถึงแก่กรรมลง ในเดือน 6 ปีจอ พ.ศ. 2309 หัวหน้าชาวบ้านบางระจันคนอื่น ได้พยายามจะนำทัพไทยออกรบกับพม่าอีกหลายครั้ง วันหนึ่งทัพพม่าสามารถตีโอบหลังกระหนาบทัพไทยได้ ขุนสรรค์และนายจันหนวดเขี้ยวได้ทำการรบจนกระทั่งตัวตายในที่รบ ยังเหลือแต่พันเรืองและนายทองแสงใหญ่เป็นหัวหน้าสำคัญ ชาวค่ายบางระจันเห็นว่าตนเสียเปรียบ ผู้คนล้มตายลงไปมาก เหลือกำลังที่จะต่อสู้กับพม่าแล้ว จึงมีใบบอกเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาขอปืนใหญ่ 2 กระบอก พร้อมด้วยกระสุนดินดำเพื่อจะนำมายิงค่ายพม่า ทางพระนครปรึกษากันแล้วเห็นพร้อมกันว่าไม่ควรให้เนื่องจากกลัวว่าพม่าจะแย่งชิงกลางทางบ้าง หรือหากพม่าตีค่ายบางระจันแตก พม่าก็จะได้ปืนใหญ่นั้นมาเป็นกำลังรบพระนคร พระยารัตนาธิเบศร์ไม่เห็นด้วยในข้อปรึกษา จึงออกไป ณ ค่ายบางระจัน เรี่ยไรเครื่องภาชนะทองเหลืองทองขาวจากพวกชาวบ้านหล่อปืนใหญ่ขึ้นมาสองกระบอก แต่ปืนทั้งสองนั้นร้าวใช้ไม่ได้ พระยารัตนาธิเบศร์เห็นว่าการศึกจะไม่เป็นผลสำเร็จจึงกลับพระนคร เมื่อขาดที่พึ่งชาวบ้านบางระจันก็เสียกำลังใจมากขึ้น ฝีมือการสู้รบกับพม่าก็พลอยอ่อนลง บางพวกก็พาครอบครัวหลบหนีออกจากค่าย ผู้คนในค่ายก็เบาบางลง ในที่สุดพม่าก็สามารถตีค่ายใหญ่บางระจันได้ ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนแปด ปีจอ พ.ศ. 2309 (วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2309) รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือนแปด ปีจอ พ.ศ. 2309 เป็นเวลาทั้งสิ้น 5 เดือน พม่าได้กวาดต้อนชาวไทยในค่ายบรรดาที่รอดตายทั้งหลายกลับไปยังค่ายพม่า ส่วนพระอาจารย์ธรรมโชติซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยให้กำลังใจให้ชาวบ้านบางระจันสู้รบกับพม่าอย่างห้าวหาญนั้น ไม่ปรากฏว่าท่านมรณภาพอยู่ในค่าย ถูกกวาดต้อน หรือหลบหนีไปได้



กองหัตถศิลป กรมศิลปากรเริ่มดำเนินการหล่ออนุสาวรีย์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2509 จนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะนำไปติดตั้งได้ใน พ.ศ. 2512[9] โดยกรมศิลปากรสร้างอนุสาวรีย์ไว้ตรงกันข้ามวัดโพธิ์เก้าต้น อยู่ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรี ประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางสายสิงห์บุรี-สุพรรณบุรี หมายเลข 3032 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาในวโรกาสเปิดอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2519[10] มีพระราชดำรัสไว้ว่า "วีรกรรมในครั้งนั้นเป็นของผู้ที่รักแผ่นดินไทย เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยทั้งมวล ทั้งในอดีตและปัจจุบันมีกำลังใจและเตือนสติให้มีความสามัคคีและรักษาจิตใจให้เข้มแข็ง เพื่อรักษาประเทศไทยให้ตนเองและเพื่อความมั่นคงของแผ่นดิน....."[ต้องการอ้างอิง]

ฐานของอนุสาวรีย์มีคำจารึกไว้ว่า "สิงห์บุรีนี่นี้ นามใด สิงห์แห่งต้นตระกูลไทย แน่แท้ ต้นตระกูล ณ กาลไหน วานบอก หน่อยเพื่อน ครั้งพม่ามาล้อมแล้ ทั่วท้องบางระจัน"

จารึกอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน:

    "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

    เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด
    ณ วันที่... เดือน... พุทธศักราช ๒๕๑๙

    เมื่อเดือนสาม ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘
    นายจันหนวดเขี้ยว นายโชติ นายดอก นายทองแก้ว
    นายทองเหม็น นายทองแสงใหญ่ นายแท่น นายเมือง
    พันเรือง ขุนสรรค์ และนายอิน
    ได้เป็นหัวหน้ารวบรวมชาวบ้านตั้งค่ายต่อสู้พม่าที่บ้านบางระจัน
    มีพระอาจารย์ธรรมโชติเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาคมบำรุงขวัญ

    ตั้งแต่เดือนสี่ ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘ จนถึงเดือนเจ็ด ปีจอ พุทธศักราช ๒๓๐๙
    วีรชนค่ายบางระจันได้ต่อสู้พม่าด้วยความกล้าหาญและด้วยกำลังใจอันเด็ดเดี่ยว
    ยอมสละแม้เลือดเนื้อและชีวิตเพื่อรักษาแผ่นดินไทย
    รบชนะพม่าถึงเจ็ดครั้ง จนพม่าครั่นคร้ามฝีมือ

    รัฐบาลและประชาชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์นี้ขึ้น
    เพื่อประกาศเกียรติคุณของวีรชนค่ายบางระจันให้ยั่งยืนชั่วกาลนาน.[9]"

ในวรรณกรรมร่วมสมัย

วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันได้ถูกรับรู้ในสำนึกของคนไทยยุคปัจจุบัน ด้วยการกล่าวถึงในวัฒนธรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น เพลงศึกบางระจัน ของขุนวิจิตรมาตรา ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ เช่น บางระจัน (พ.ศ. 2543) โดย ธนิตย์ จิตนุกูล เป็นต้น
การวิเคราะห์

เรื่องราวของชาวบ้านบางระจัน มีบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เท่านั้น ไม่ปรากฏในพงศาวดารหรือบันทึกทางประวัติศาสตร์ฉบับอื่น แม้แต่พงศาวดารร่วมสมัยคราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เช่น คำให้การชาวกรุงเก่า หรือแม้แต่ในพงศาวดารของฝ่ายพม่าเองด้วย

ดังนั้น ปัจจุบัน นักวิชาการทางประวัติศาสตร์จึงมีความเชื่อโน้มเอียงไปในทางที่ว่า วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันไม่มีอยู่จริง หรือมีอยู่จริง ก็ไม่ใช่วีรกรรมเพื่อชาติ แต่เป็นไปในลักษณะเป็นชุมนุมป้องกันตนเองจากผู้รุกราน และก็มีชุมนุมลักษณะนี้มากมาย ไม่เพียงเฉพาะบ้านบางระจัน และการต่อต้านทัพพม่าของชาวบ้านบางระจันก็ไม่น่ายาวนานถึง 5-6 เดือน น่าจะไม่เกิน 3 เดือน[8]

วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ระบาดในประเทศไทย เพื่อเป็นการปลุกใจให้รักและหวงแหนในชาติ เช่น มีการบรรจุในแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ บทละครร้อง ฯลฯ ความรับรู้ของคนทั่วไปจะรับรู้ผ่านทางแบบเรียน นิยาย ละคร รวมทั้งภาพยนตร์ และเชื่อตามการนำเสนอนั้นว่าวีรกรรมและตัวละครมีตัวตนจริง[ต้องการอ้างอิง]
ดูเพิ่ม

    พระอาจารย์ธรรมโชติ

อ้างอิง

    จรรยา ประชิดโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 92
    จรรยา ประชิดโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 91
    จรรยา ประชิดโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 89
    จรรยา ประชิดโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 90
    จรรยา ประชิดโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 90
    มาตยา อิงคนารถ, ทวี ทองสว่าง, วัฒนา รอดสำอางค์. (2529). ประวัติศาสตร์ไทย. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. หน้า 168-169
    ชัย เรืองศิลป์. หน้า 3
    เทปสนทนาเรื่องวาระสุดท้ายกรุงศรีอยุธยา: วีระ ธีรภัทร กับ ดร.สุเนตร ชุตินทรานนท์ ทาง F.M. 97.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ตรินิตี้เรดิโอ: 2544
    การฟื้นฟูบูรณะค่ายบางระจันและวัดโพธิ์เก้าต้น
    อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันและอุทยานค่ายบางระจัน

    ประวัติจังหวัดสิงห์บุรี









คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ชาวบ้านบางระจัน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 11:20:04 pm »
บันทึกลึกลับ. 20 Sep 2013.วีรชนนอกตำนาน...3 วีรสตรีแห่งบางระจัน.

บันทึกลึกลับ. 20 Sep 2013.วีรชนนอกตำนาน...3 วีรสตรีแห่งบางระจัน.
-http://www.youtube.com/watch?v=BBsT6GRMAE4-






บันทึกลึกลับ. 27 Sep 2013. วีรชนนอกตำนาน...3 วีรสตรีแห่งบางระจัน 2

บันทึกลึกลับ. 27 Sep 2013. วีรชนนอกตำนาน...3 วีรสตรีแห่งบางระจัน 2.
-http://www.youtube.com/watch?v=xELjCl8-j7Y-


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)