ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
ข้อคิดดีๆ จากจีน
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
:45: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
ดอกโศก:
จี๊น...จีน..
อ่านเพลินดีค่ะ
ขอบคุณนะคะ ที่นำมาปันให้อ่านค่ะ :13:
กระตุกหางแมว:
ไม่ค่อยได้อ่านแนวนี้ แปลกดีครับ(สำหรับผม)
ขอบคุณครับพี่หนุ่ม ... :13:
sithiphong:
ผีจือปู้ฉุน เหมาเจียงเอียนฟู่ : ปราศจากหนัง ขนไร้ที่ยึดเกาะ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 สิงหาคม 2553 07:22 น.
ที่มา baike.baidu.com
《皮之不存,毛将焉附》
皮(pí) อ่านว่า ผี แปลว่า หนัง
之(zhī) อ่านว่า จือ ในที่นี้ทำหน้าที่เป็นคำช่วย วางระหว่างคำนามและส่วนขยายคำนาม
不(bù) อ่านว่า ปู้ แปลว่า ไม่
存(cún) อ่านว่า ฉุน แปลว่า คงอยู่
毛(máo) อ่านว่า เหมา แปลว่า ขน
将(jiāng) อ่านว่า เจียง ในที่นี้แปลว่า ย่อมจะ
焉(yān) อ่านว่า เอียน แปลว่า ที่ไหน
附(fù) อ่านว่า ฟู่ แปลว่า แนบไป/ขึ้นอยู่
ภาพจาก www.sxyczs.gov.cn
ปีหนึ่งในรัชสมัยของเจ้าครองแคว้นนามเว่ยเหวินโหว แห่งแคว้นเว่ย พื้นที่แถบตงหยางสามารถส่งมอบส่วยที่ประกอบด้วย เงินทอง พืชพันธุ์ธัญญาหารและแพรพรรณให้กับเว่ยได้มากกว่าปีก่อนหน้าถึง 10 เท่า ทำให้บรรดาขุนนางต่างก็พากันแสดงความยินดี ทว่าเว่ยเหวินโหวกลับไม่สบายใจนัก เนื่องจากสังเกตว่าพื้นที่ตงหยางยังคงมีขนาดเท่าเดิม อีกทั้งจำนวนประชากรก็ยังคงมีพอๆ กับปีที่ผ่านมา เหตุใดจึงสามารถส่งมอบผลผลิตได้มากกว่าเดิมถึง 10 เท่า คาดว่าจะต้องเกิดจากขุนนางระดับสูงบีบให้ราษฎรส่งมอบผลผลิตออกมามากกว่าเดิมเป็นแน่ เหตุการณ์นี้ทำให้เจ้าแคว้นเว่ยคิดย้อนไปถึงอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในปีก่อน
หนึ่งปีก่อนหน้านี้ เว่ยเหวินโหวไปท่องเที่ยวยังนอกเมือง วันหนึ่งบนเส้นทางที่เผ่าน บังเอิญพบกับคนผู้หนึ่งซึ่งนุ่งห่มไว้ด้วยหนังแกะกลับด้าน โดยให้ขนแกะอยู่ด้านใน ส่วนหนังแกะอยู่ด้านนอก บนบ่าของคนผู้นั้นยังแบกเข่งใส่ต้นพืชสำหรับเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์อยู่ด้วย เห็นเช่นนั้นรู้สึกแปลกประหลาดพิกล เว่ยเหวินโหวจึงเอ่ยถามว่า "เหตุใดท่านจึงนุ่งห่มหนังแกะกลับด้านมาแบกของเช่นนี้" คนผู้นั้นตอบว่า "ข้าน้อยรู้สึกเสียดายหนังแกะผืนนี้ กลัวว่าถ้านุ่งห่มตามปกติให้ขนของมันอยู่ด้านนอก เวลาแบกของอาจจะทำให้ขนแกะหลุดร่วงเสียหายได้" เมื่อเว่ยเหวินโหวทราบจึงเอ่ยกับคนผู้นั้นอย่างจริงจังว่า "เจ้ารู้ไหมว่าแท้จริงแล้วส่วนที่เป็นหนังนั้นสำคัญกว่า หากส่วนที่เป็นหนังชำรุดเสียหาย ขนแกะย่อมไร้ที่ยึดเกาะหลุดร่วงตามไป การที่เจ้าสละหนังแกะเพื่อรักษาขนแกะนั้น ใยมิใช่ผิดพลาดแล้ว"
เช่นเดียวกับเหตุการณ์ในปีล่าสุด บรรดาข้าราชการผู้มีอำนาจบีบบังคับเอาผลผลิตจากราษฎรโดยไม่สนใจชีวิตของผู้คนเหล่านั้น ก็ไม่ต่างจากการให้ความสำคัญต่อขนมากกว่าหนัง เพราะหากไม่มีประชาราษฎร์ย่อมไม่มีผลผลิต กระทั่งยังไม่อาจมีประเทศชาติ ดังนั้นเว่ยเหวินโหวจึงเรียกบรรดาข้าราชการมาเข้าพบ จากนั้นเล่าเรื่องสละหนังแกะเพื่อรักษาขนแกะให้ฟัง ทั้งยังกล่าวว่า "ปราศจากหนัง ขนไร้ที่ยึดเกาะ หากประชาราษฏร์ปราศจากความร่มเย็นเป็นสุข ตำแหน่งผู้ปกครองย่อมสั่นคลอน หวังว่าท่านทั้งหลายจะจดจำหลักเหตุผลนี้เอาไว้ อย่าให้ผลประโยชน์เพียงเล็กน้อยมาบดบังข้อเท็จจริง"
สำนวน "ผีจือปู้ฉุน เหมาเจียงเอียนฟู่" ใช้เปรียบเปรยว่า สิ่งใดก็ตาม เมื่อปราศจากแก่นหรือรากฐานสำคัญ สิ่งที่อาศัยอยู่บนรากฐานนั้นย่อมมิอาจดำรงอยู่ได้
.
.
sithiphong:
เชียนจินใหม่กู่ : "ซื้อกระดูกด้วยเงินพันตำลึงทอง"
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
25 สิงหาคม 2553 09:15 น.
《千金买骨》
千(qiān) อ่านว่า เชียน แปลว่า พัน
金(jīn) อ่านว่า จิน แปลว่า ทอง
买(mǎi) อ่านว่า ใหม่ แปลว่า ซื้อ
骨(gǔ) อ่านว่า กู่ แปลว่า กระดูก
ภาพจาก wftxy2006.blog.sohu.com
ในสมัย 314 ปีก่อนคริสตกาล ขณะที่รัฐเอียนเกิดจลาจลภายใน รัฐฉีจึงถือโอกาสนำกำลังทหารมาบุกโจมตีและยึดดินแดนบางส่วนของรัฐเอียนไป
กระทั่งเมื่อ อ๋องเอียนเจา ขึ้นครองรัฐเอียน ได้ทำการปราบปรามจลาจลภายในจนราบคาบ และให้มีการป่าวประกาศเพื่อรับคนที่มีความรู้ความสามารถทั่วแผ่นดินมาช่วยงานราชการแผ่นดินและเอาดินแดนที่ถูกยึดไปกลับคืนมา ทว่าคนที่มาเข้าร่วมสวามิภักดิ์ต่ออ๋องเอียนเจากลับมีไม่มาก ดังนั้นอ๋องเอียนเจาจึงนำปัญหานี้ไปปรึกษากับขุนนางคนสนิท นามว่า กัวเหว่ย เพื่อหาแนวทางที่จะทำให้คนดีมีคุณธรรม-ความสามารถ เข้ามารับใช้แผ่นดิน
เมื่อได้ทราบปัญหา กัวเหว่ยจึงได้เล่าเรื่องราวหนึ่งถวายอ๋องเอียนเจา ดังนี้
"กาลครั้งหนึ่ง มีกษัตริย์ผู้หนึ่งทุ่มเงินหนึ่งพันตำลึงทองเพื่อต้องการซื้อยอดอาชาพันลี้ ทว่าเวลาผ่านไป 3 ปียังมิอาจหาซื้อได้ กษัตริย์ผู้นี้มีข้ารับใช้อยู่ผู้หนึ่งไม่ปรากฏนาม เป็นผู้ขอรับอาสาทำหน้าที่หาซื้อยอดอาชา โดยเขาใช้เวลาจากนั้นตลอด 3 เดือน จึงค่อยสืบเสาะพบว่ามีชาวบ้านบ้านหนึ่งได้เลี้ยงม้าพันธุ์ดีเอาไว้ ทว่าเมื่อไปถึงหน้าประตูบ้านหลังนั้น ม้าตัวดังกล่าวกลับชิงตายไปเสียก่อน ข้ารับใช้ของกษัตริย์จึงนำเงิน 500 ตำลึงทองขอซื้อกระดูกของม้ากลับมา เมื่อกษัตริย์ทราบว่าต้องเสียเงินมากมายเพียงเพื่อได้มาซึ่งกระดูกม้าเปล่าๆ จึงโมโหเป็นอันมาก ข้ารับใช้คนดังกล่าวจึงรีบชี้แจงว่า "ที่ข้าน้อยทำเช่นนี้ก็เพื่อบอกให้ผู้คนทราบว่า ท่านเป็นกษัตริย์ที่ต้องการซื้อยอดอาชาในราคาสูงด้วยใจจริง มิใช่ต้องการหลอกลวงผู้อื่น" ซึ่งวิธีการนี้ได้ผลดียิ่งนัก เมื่อเวลาผ่านไปอีกไม่ถึงปีก็มีผู้มาเสนอขายยอดอาชาของตนเองให้กับกษัตริย์ผู้นั้นถึง 3 รายด้วยกัน"
เมื่อเล่าจบ กัวเหว่ยจึงกล่าวกับอ๋องเอียนเจาต่อไปว่า "หากท่านอ๋องต้องการที่จะได้ผู้มีความรู้ความสามารถมาช่วยงานแผ่นดินจริงๆ ก็ย่อมต้องทำอย่างกษัตริย์ในเรื่องเล่า โดยทำให้ทุกผู้คนทราบว่าท่านอ๋องมีความตั้งใจจริง อาจเริ่มจากตัวข้าน้อย ซึ่งหากคนทั่วไปทราบว่าแม้แต่คนธรรมดาอย่างข้าน้อย ก็ยังได้รับบทบาทหน้าที่สำคัญในราชสำนัก คนที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าข้าน้อยย่อมมีโอกาสยิ่งกว่า ย่อมต้องการมาเข้าร่วมกับท่านอ๋องเอง"
อ๋องเอียนเจาเห็นพ้องกับข้อเสนอของกัวเหว่ย จึงตั้งกัวเหว่ยเป็นที่ปรึกษา ทั้งยังมอบค่าตอบแทนเป็นเงินมหาศาล และรับสั่งให้กัวเหว่ยสร้าง "หอทอง" เพื่อใช้เป็นที่สำหรับรับสมัครผู้มีความรู้ความสามารถ เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไปไม่นาน ก็มีผู้คนทยอยมาสมัครเข้ารับราชการอย่างไม่ขาดสาย และแสดงเจตจำนงที่จะช่วยเหลืออ๋องเอียนเจาปกครองบ้านเมือง
เมื่อผ่านความพยายามมากว่า 20 ปี รัฐเอียนจึงได้กล้าแข็งขึ้นจนกระทั่งสามารถรบชนะรัฐฉี นำเอาดินแดนที่ถูกแย่งไปกลับคืนมาได้ในที่สุด
สำนวน "เชียนจินใหม่กู่" หรือ "ซื้อกระดูกด้วยเงินพันตำลึงทอง" ใช้เปรียบเทียบกับการให้ความสำคัญกับผู้ที่มีความรู้ความสามารถ หรือการทุ่มเทเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้มีความรู้ความสามารถ
ที่มา http://baike.baidu.com
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9530000117883
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version