ผู้เขียน หัวข้อ: กาแฟ กับ ความเข้าใจใหม่  (อ่าน 2948 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
กาแฟ กับ ความเข้าใจใหม่
« เมื่อ: ธันวาคม 19, 2014, 09:58:05 am »
กาแฟ กับ ความเข้าใจใหม่
สรรพคุณของกาแฟ

มีงานวิจัยหลายงานที่ระบุว่าเมล็ดกาแฟมีสารคาเฟอีนที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจและกระตุ้นประสาทส่วนกลาง การดื่มกาแฟจึงช่วยกระตุ้นระบบประสาท ทำให้ตาแข็ง นอนไม่หลับ ทำให้ร่างกายสดชื่น ขจัดความเซื่องซึมและอ่อนล้าได้[1],[4] โดยมีการยืนยันจากผลการทดลองที่ทำการทดลองกับนักกีฬากลุ่มหนึ่งที่ได้ดื่มกาแฟในระหว่างการฝึกซ้อม และได้พบว่านักกีฬากลุ่มดังกล่าวสามารถฝึกซ้อมกีฬาได้นานขึ้นหรืออึดมากขึ้น โดยความคึกคักที่เกิดขึ้นจะมีระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น[6]

ปริมาณคาเฟอีนในกาแฟที่เหมาะสมสามารถช่วยลดอาการหงุดหงิด อารมณ์ซึมเศร้า รวมถึงความเครียดได้ การดื่มกาแฟจึงทำให้ผู้ดื่มรู้สึกพึงพอใจและมีความสุข[3] โดยมีรายงานผลวิจัยที่ระบุว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2-3 แก้ว จะสามารถช่วดลดความเครียดได้ประมาณ 15% แต่ถ้าหากดื่มถึงวันละ 4 แก้ว ก็จะช่วยลดความเครียดได้ถึง 20%[6]

ช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์Arabica-Robusta โดยมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเซาท์ฟรอริด้า ที่เปิดเผยว่าผู้ที่มีอายุล่วงเข้าสู่วัยกลางคน ควรดื่มกาแฟวันละ 4-5 แก้ว เพื่อช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมน GCSF เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้[6] ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษากับคนวัยกลางคนในประเทศฟินแลนด์จำนวน 1,400 คน ที่พบว่าคนที่ดื่มกาแฟวันละ 5 ถ้วยต่อวัน สามารถลดอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ถึง 65%[11]

เป็นที่เชื่อกันว่ากาแฟมีสรรพคุณที่ช่วยชูกำลังได้[10]
ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ คาเฟอีนในกาแฟมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด จึงช่วยระงับอาการปวดได้เช่นเดียวกับยาแก้ปวด อีกทั้งกาแฟยังช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด บรรเทาอาการปวดศีรษะเนื่องจากการเมาสุรา อาการปวดศีรษะเนื่องจากเส้นประสาท รวมถึงอาการปวดศีรษะข้างเดียวหรือไมเกรน[3],[4]
คาเฟอีนสามารถช่วยขยายหลอดเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงหัวใจได้ จึงทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดแดงบริเวณศีรษะหดตัว ซึ่งก็เป็นการช่วยลดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้อีกด้วย[3]


ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ยืนยันได้ว่าการดื่มกาแฟวันละ 2-5 แก้ว สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งตับได้ เนื่องจากคาเฟอีนจะไปช่วยยับยั้งการเกิดเซลล์ผิดปกติ และกำจัดสารพิษที่ร่างกายได้รับออกไปได้ในระดับหนึ่ง[3],[6] งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ทำการศึกษาจนพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟจะมีอัตราการเป็นโรคมะเร็งต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่ม ส่วนการศึกษาของมหาวิทยาลัยบอสตันพบว่า ผู้ป่วยที่ดื่มกาแฟอย่างน้อยวันละ 5 ถ้วย จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ต่ำกว่ากลุ่มอื่นถึง 40%[3] ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นที่ทำการศึกษากับผู้หญิงเป็นระยะเวลา 12 ปี โดยพบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 3 แก้วหรือมากกว่า จะมีแนวโน้มในการลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 50%[11] และจากการศึกษากับผู้ชายจำนวน 50,000 คน เป็นระยะเวลา 20 ปี พบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 6 แก้ว จะมีอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม[11] โดยมีข้อมูลที่ระบุว่าการดื่มกาแฟนั้น จะสามารถช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้[5]


จากการศึกษาของภาคเกษตรและเคมีอาหารของสหรัฐอเมริกา ที่ได้ทำการศึกษาจนพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำจะมีโอกาสรอดพ้นจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ถึง 50% เนื่องจากกาแฟมีคาเฟอีนที่มีคุณสมบัติในการยับยั้ง hIAPP และโพลีเปปไทด์ ที่เป็นตัวการก่อให้เกิดโปรตีนผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 2[6]
เมล็ดกาแฟ มีสรรพคุณช่วยลดน้ำระดับตาลในเลือดได้ โดยการใช้เมล็ดที่คั่วแล้ว นำมาชงกับร้อน เป็นเครื่องดื่มยามว่าง[12]

กาแฟมีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ[4] จากการศึกษาที่ติดตามดูผู้หญิงจำนวน 27,000 คน เป็นเวลา 15 ปี พบว่าการดื่มกาแฟประมาณวันละ 1-3 ถ้วย จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจให้น้อยลงได้ถึง 26% แต่การดื่มกาแฟในปริมาณมากกว่านี้ต่อวันจะไม่ได้ผลในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ[9] ส่วนอีกการศึกษาหนึ่งที่ทำการศึกษาในกลุ่มผู้หญิงที่ดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 5 ถ้วย พบว่ากาแฟไม่มีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากขึ้น แม้ในรายที่มีปัญหาเส้นเลือดหดตัวหรือหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ส่วนผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 6 ถ้วยขึ้นไปทุกวันก็ไม่มีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงเกินกว่าปกติ[3] การดื่มกาแฟจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพราะกาแฟมีสาร theobromine (เมล็ด)[1]

กาแฟมีนิโคติน แต่ไม่ใช่ชนิดเดียวกันกับที่พบได้ในบุหรี่ แต่เป็นวิตามินบีรวมชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ ซึ่งสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ การดื่มกาแฟจึงช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัว[3]
จากการศึกษากับนางพยาบาลจำนวน 83,000 คน ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ และดื่มกาแฟวันละ 4 แก้ว พบว่า กาแฟสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดการอุดในเส้นเลือดได้ถึง 43%[11]

มีงานวิจัยที่ระบุว่าคาเฟอีนสามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้พลังงานของร่างกาย ทำให้ไขมันเกิดการสลายตัวมากขึ้น การดื่มกาแฟจึงอาจช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนักได้ อีกทั้งคาเฟอีนและสารอื่นๆ ที่มีอยู่ในกาแฟยังช่วยกระตุ้นการหลั่งของกรดและน้ำย่อย จึงช่วยในการย่อยอาหาร ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้คนจำนวนมากหันมาดื่มกาแฟหลังอาหารในแต่ละมื้อ[3] นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ยืนยันได้ว่าคาเฟอีนสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเมตาบอลิซึมและอาจทำให้น้ำหนักลดลงได้ และล่าสุดได้มีผลการวิจัยที่ได้ข้อสรุปว่า คาเฟอีนในเมล็ดกาแฟสดคั่วบดมีผลต่อการลดน้ำหนักในผู้หญิงได้จริง โดยสามารถลดน้ำหนักได้เฉลี่ย 7.7 กิโลกรัม ภายใน 22 สัปดาห์[6] แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาจากชาวอเมริกันจำนวน 58,000 ราย โดยติดตามผลเป็นเวลา 12 ปี พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหญิงและชายที่ดื่มกาแฟมากขึ้น กลับมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น สาเหตุคงจากนม น้ำตาล และครีมเทียมที่ใส่ลงไปในกาแฟนั่นเอง[9]

การดื่มกาแฟหลังอาหาร สามารถช่วยละลายไขมัน ทำให้ไขมันเกิดการแตกตัว และให้พลังงานทดแทนได้ อีกทั้งกาแฟยังมีประโยชน์ต่อกระเพาะโดยตรง โดยจะช่วยทำให้น้ำย่อยที่กระเพาะและตับอ่อนมีเพิ่มขึ้น จึงทำให้ไขมันถูกเผาผลาญ การดื่มกาแฟจึงมีส่วนในการช่วยลดความอ้วนได้[3]
ช่วยเพิ่มไขมันดี (HDL) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จากผลการวิจัยพบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟบ่อยๆ จะมีไขมันชนิดดีเพิ่มขึ้น ซึ่งไขมันชนิดนี้จะเป็นตัวช่วยขับไล่คอเลสเตอรอล และช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว[3]


จากการศึกษาของ ดร.จี เวปสเตอร์ และคณะ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท จากศูนย์การแพทย์นครฮอนโนลูลูของสหรัฐอเมริกา ได้พบว่า ผู้ชายที่ไม่ดื่มกาแฟจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคพาร์กินสันมากกว่าผู้ที่ดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 5 ถ้วย สูงถึง 5 เท่า[3] ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของสถาบันการแพทย์อเมริกันที่พบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2-3 แก้ว เป็นประจำทุกวัน จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคพาร์กินสันได้ถึง 25%[6] แต่สำหรับกาแฟชนิดที่สกัดเอาคาเฟอีนออก จะไม่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคนี้[9]

การดื่มกาแฟสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหอบ ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด แก้หอบหอบหืดได้ เพราะกาแฟมีสารคาเฟอีนที่ช่วยระงับอาการตึงเครียดของประสาทสัมผัสสำรอง จึงช่วยลดการเกิดโรคหอบได้[3],[9]
ดร.ดาร์ซี โรแบร์โตลิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชวิทยาของมหาวิทยาลัยริโอ เดอจาเนโร ได้เปิดเผยว่า ผู้ที่มีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศอันเนื่องมาจากการดื่มสุรา จากภาวะซึมเศร้า จากอายุขัย หรือจากการเสพยา สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการดื่มกาแฟในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน[3]

ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยว่า ผู้หญิงที่ดื่มกาแฟวันละ 4 แก้ว จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีลดลงประมาณ 25% เช่นเดียวกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่ได้ระบุว่าผู้ชายที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้[6] โดยมีข้อมูลที่ได้ระบุว่าผู้ชายที่ดื่มกาแฟอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว จะช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้ 40% และลดได้ 25% สำหรับผู้หญิงที่ดื่มกาแฟในปริมาณเท่ากัน ส่วนผู้ที่ดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 4 แก้ว จะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้ถึง 45%[11]

มีงานวิจัยที่ได้พิสูจน์แล้วว่า กาแฟมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี[3]
ช่วยลดการเกิดโรคตับจากสุรา จากสำรวจพบว่ากาแฟสามารถช่วยลดผลร้ายที่มีต่อตับได้ แต่ในส่วนนี้ยังต้องมีการวิจัยต่อไปว่าสารชนิดใดที่เป็นสารออกฤทธิ์ และมีผลต่อสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดโรคตับแข็งหรือไม่นอกจากแอลกอฮอล์[3] ส่วนอีกจากการศึกษาที่ทำการศึกษากับผู้ดื่มกาแฟจำนวน 125,000 คน โดยพบว่าการดื่มกาแฟเพียงวันละ 1 แก้ว ก็สามารถทำให้ความเสี่ยงของการเป็นโรคตับแข็งลดลง 20% และถ้าดื่มวันละ 4 แก้ว ก็จะสามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงได้สูงถึง 80%[11]

กาแฟมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ[1] โดยมีข้อมูลที่ระบุว่าการดื่มกาแฟประมาณ 5 ถ้วยครึ่ง (ประมาณ 550 มิลลิกรัม) จะไม่ออกฤทธิ์ในการขับปัสสาวะแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตาม คาเฟอีนยังมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะได้หากดื่มเกินครั้งละ 575 มิลลิกรัม หรือประมาณ 6 ถ้วย ดังนั้นในขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกาย จึงไม่ควรดื่มกาแฟในปริมาณมาก เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้[9]
การดื่มกาแฟวันละ 2 แก้ว อาจช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกายได้ถึง 58% จึงทำให้ยาแก้ปวดหลายประเภทนั้นมีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่ด้วย 65 มิลลิกรัม (เช่น aspirin, ibuprofen เป็นต้น) นอกจากนี้คาเฟอีนยังสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ถึง 40%[11]

ช่วยลดโอกาสเป็นโรคเก๊าท์ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเก๊าท์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แนะนำให้ดื่มกาแฟวันละ 3-6 แก้วอย่างต่อเนื่อง เพราะจากผลการวิจัยของสถาบันการแพทย์แห่งหนึ่ง ที่ได้ยืนยันว่าคาเฟอีนมีส่วนช่วยบรรเทาอาการอักเสบของข้ออันเนื่องมาจากกรดยูริกที่เกินขนาดอย่างได้ผล โดยผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 6 แก้ว จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเก๊าท์ได้ถึง 60%[6]
จากการศึกษาของ University of Bari ที่ประเทศอิตาลี พบว่าการดื่มกาแฟวันละ 1-2 แก้ว จะช่วยป้องกันโรคหนังตากระตุกได้ และช่วยลดอัตราการกระตุกให้ช้าลงได้ในผู้ป่วย[10]
ใช้แก้อหิวาตกโรค (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[12]
จากการศึกษาของนายแพทย์วินเซนต์ ทูบิโอโล แห่งศูนย์การแพทย์ยูซีแอลเออ-ฮาร์เบอร์ เขาได้ตั้งทฤษฎีใหม่ว่า การได้รับคาเฟอีนในขนาด 400 มิลลิกรัมต่อวัน อาจช่วยลดอาการแพ้เกสรจากดอกไม้ได้[3]

http://frynn.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F/
Suraphol KruasuwanOWNER
การสนทนา  -  Dec 11, 2014

************************************
 
55555+
ปั้นสมอง วันหยุด
ความรู้อัพเดท
- สมองไม่มีวันแก่ ถ้าเราดูแลเป็น

-เปลี่ยน คำพูดในสมอง(ความคิด) ในสิ่งที่เป็น
ความจริง ความดี ความงาม ความสุข ความโชคดี อิสระภาพแห่งการสร้างสรร
สมอง ก็จะ กลับมาเป็นหมุ่มสาว ที่มีศักย์ภาพ
คำพูดในทาง ไม่สร้างสรร ไร้สาระ ควรขจัดทิ้ง

-แบ่งเวลา แผ่เมตตา ให้อภัย
พักผ่อน ออกกำลังกายเบาๆ ประจำ ทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
ดีต่อสมองเช่นกัน

-ความคิดเชิงบวก
คิดแบบเป็นระบบ คิดแบบสร้างสรร คิดการสื่อสารที่เป็นมิตร
สุขจากการทำงานเป็นทีม หรือร่วมทำงานอดิเรก ด้วยกัน
เป็นการปลุก ฮอร์โมนหนุ่มสาว ให้ มาดูแลชีวิตเรา
ดีด้วยกันทุกคนนะ สาธุ อาเมน


Suraphol KruasuwanOWNER
การสนทนา  -  Dec 13, 2014
คนรัก รักษ์ สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง

****************************************
 
ดื่มกาแฟ ต้มน้ำเปล่า ดีต่อสุขภาพเด้อ
กาแฟ (coffee) เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และได้เข้ามามีบทบาทหรือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คน นั่นเป็นเพราะว่า หลังจากดื่มกาแฟแล้ว จะทำให้เกิดความรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และช่วยทำให้หายง่วงซึมในขณะที่เรียนหรือทำงาน อีกทั้งยังมีรูปแบบในการนำเสนอหรือวิธีการชงเพื่อให้ได้รสชาติที่หลากหลาย และผลจากการตระหนักถึงสุขภาพของมนุษย์เราที่มีมากขึ้น จึงได้มีการศึกษาทางระบาดวิทยาจำนวนมากเพื่อหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการดื่มกาแฟกับผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ความเสื่อมของระบบประสาท การเสื่อมของกระดูก อันตรกิริยาต่อยาแผนปัจจุบัน และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เป็นต้น

จากการรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการดื่มกาแฟต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่าผลงานวิจัยส่วนใหญ่ให้ผลเชิงบวกคือมีแนวโน้มลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน (1-7) โดยสันนิษฐานว่าเป็นผลมาจากสารสำคัญในเมล็ดกาแฟที่ชื่อว่า กรดคลอโรจีนิก (chlorogenic acid) (8) ส่วนการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการดื่มกาแฟกับโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทซึ่งได้แก่ โรคพาร์คินสันและโรค อัลไซเมอร์พบว่า การดื่มกาแฟมีแนวโน้มช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพาร์คินสันในเพศชาย (9) และผู้ที่ดื่มกาแฟตั้งแต่มีอายุอยู่ในช่วงวัยกลางคนมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมเมื่อมีอายุย่างเข้าสู่วัยสูงอายุน้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟเลย (10)

 และในการศึกษาความสัมพันธ์ของดื่มกาแฟกับภาวะความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (11-13) มะเร็งเต้านม (14-15) มะเร็งรังไข่ (16-17) และมะเร็งตับ (18-19) มีทั้งผลเชิงบวกคือมีแนวโน้มลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง และไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติต่อการเกิดโรค จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการดื่มกาแฟจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งดังกล่าวได้ นอกจากนี้ผลจากการศึกษาความสัมพันธ์ของการดื่มกาแฟกับการสะสมและการเสื่อมของกระดูกพบว่า การดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 3 ถ้วย (ได้รับคาเฟอีนไม่เกิน 300 มก.) ต่อวัน อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนและกระดูกสะโพกหักได้ (20)
ผลการวิจัยเกี่ยวกับการดื่มกาแฟกับสุขภาพที่รวบรวมได้ทั้งหมดเป็นผลการสำรวจข้อมูลจากต่างประเทศ ซึ่งผลการศึกษาที่ได้จะต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แม้ว่าเป็นโรคชนิดเดียวกัน นั่นเป็นเพราะว่า พฤติกรรมหรือวิธีการเตรียมกาแฟเพื่อดื่มในแต่ละท้องที่มีความนิยมที่แตกต่างกัน และสายพันธุ์กาแฟในแต่ละพื้นที่ก็มีผลต่อปริมาณสารสำคัญในเมล็ดกาแฟอีกด้วย

 ดังนั้นในการดื่มกาแฟเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงมักอ้างอิงปริมาณสารออกฤทธิ์ที่สำคัญในเมล็ดกาแฟ ซึ่งก็คือคาเฟอีนมาเป็นตัวกำหนดปริมาณการดื่มกาแฟหรือแม้แต่เครื่องดื่มชนิดอื่นๆ ที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งขนาดที่แนะนำคือ ไม่ควรเกินวันละ 300 มก. หรือเท่ากับกาแฟประมาณ 1-2 ถ้วย (ปริมาณกาแฟ 1 ถ้วยเท่ากับ 150 มล. และมีคาเฟอีนเฉลี่ย 115 มก.ต่อถ้วย) หากมีความสนใจหรือต้องการทราบข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับการดื่มกาแฟกับสุขภาพโดยละเอียด สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในจุลสารข้อมูลสมุนไพรฉบับ 30(4) ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Shared publicly  -  Feb 7, 2015
เอกสารอ้างอิง
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/…/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%…/
https://plus.google.com/u/0/communities/102080888916677168217

**********************************************
 
ประโยชน์ 11 ประการของการ
ดื่มกาแฟ"ที่ไม่ใส่น้ำตาลและคอฟฟี่เมท
หมายถึงดื่มแต่กาแฟล้วนๆ อย่างเดียว

1.การดื่มกาแฟเป็นประจำ ช่วยป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ B  มีผู้วิจัยพิสูจน์แล้วว่า  กาแฟมีประโยชน์ ในการป้องกันได้การดื่ม

2. กาแฟเป็นประจำ  ช่วยป้องกันโรคหอบ โรคนี้คือ อาการภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง โดยทั่วไป เมื่อมีประสาทสำรองไม่ถูกกระตุ้น จะไม่มีอาการหอบเกิดขึ้นง่ายๆ   แต่ถ้าหากประสาทสัมผัสสำรองถูกกระตุ้น  จะเกิดอาการหอบทันที  คาเฟอีนในกาแฟจะระงับการตึงเครียดของประสาทสัมผัสสำรอง  ลดการเกิดโรคหอบ

3. การดื่มกาแฟเป็นประจำ ช่วยลดการเกิดโรคตับจากสุรา ตามที่นักวิชาการสำรวจแล้วพบว่า กาแฟช่วยลดผลร้ายที่จะมีต่อตับได้อย่างมีนัยสำคัญ

4. การดื่มกาแฟเป็นประจำ  ช่วยป้องกันมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งในช่องปาก จากผลการทดลองจริง พบว่ากาแฟมีประสิทธิ ภาพป้องกันโรคขั้นต้น โดยเฉพาะ ในคาเฟอีนมีกรดอะซิติก ที่ช่วย ป้องกันโรคต่างๆดังกล่าวได้

5. การดื่มกาแฟเป็นประจำ   ช่วยขับไล่ความชรา อ็อกซิเจน เป็นสารที่ร่างกายต้องการมากก็จริง แต่ถ้ามีออกซิเจนมากไป ทำให้มี โอกาสเป็นมะเร็งสูงและแก่เร็ว โดยเฉพาะกาแฟที่เข้มข้น   จะทำให้ออกไซด์แตกตัว ลดการเกิดมะเร็งได้ กระตุ้นการเผาผลาญอาหารในร่างกายได้ดี

6. การดื่มกาแฟเป็นประจำ ช่วยลดอัตราคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ในกาแฟมีนิโคติน แต่ไม่ใช่ชนิดเดียวกับในบุหรี่  แต่เป็นวิตามิน B รวมชนิดหนึ่ง  ที่ร่างกายต้องการช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด จึงป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัวได้

7. การดื่มกาแฟเป็นประจำ  ช่วยละลายไขมัน กาแฟที่ดื่มหลังอิ่มอาหาร ช่วยให้ไขมันแตกตัว  และให้พลังงานทดแทน จึงลด
ความอ้วนได้ด้วย

8. กาแฟเพิ่มไขมันชนิดดีให้ร่างกาย   ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว  ตามผลการวิจัยพบว่าคนที่ดื่มกาแฟบ่อยๆ จะมีไขมันชนิด HDLเพิ่มขึ้น   ซึ่งไขมันชนิดนี้จะขับไล่คอเลสเตอรอลออกไป   ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัวได้

9. การดื่มกาแฟเป็นประจำ  ช่วยแก้ปวดศีรษะ กาแฟมีส่วนผสมของคาเฟอีนที่ขยายหลอดเลือด   ระงับอาการปวดได้เช่นเดียวกับยาแก้ปวด  ยังช่วยขับปัสสาวะ  ละลายไขมันในเส้นเลือด  และช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ เนื่องจากเมาสุราได้

10. การดื่มกาแฟเป็นประจำ  ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมองและสมรรถภาพสมอง   มีผู้เชี่ยวชาญสรุปผลการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาว่า  ความหอมของกาแฟ  ช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้เร็วขึ้น  และมีสมาธิ  ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น นั้นเป็นเพราะกลิ่นกาแฟ  ทำให้เลือดไหลเวียนในสมองเพิ่มขึ้น

11. ดื่มกาแฟเล็กน้อยทำให้น้ำย่อย  ในกระเพาะหลั่งดีขึ้น  ไขมันแตกตัว  หากได้ดื่มกาแฟเล็กน้อยหลังทานอาหารเสร็จ  คาเฟอีนในกาแฟจะมี ประโยชน์ต่อกระเพาะโดยตรง  น้ำย่อยที่กระเพาะและตับอ่อนจะเพิ่มขึ้น  ไขมันถูกเผาผลาญได้ดีมากขึ้น

ลองเปลี่ยนสไตส์การดื่มการแฟกันนะ
ตัดน้ำตาลกับคอฟฟี่เมทออก  ใหม่ๆอาจยากในการดื่ม  ไม่นานก็ชินไปเอง
ตัวเราดื่มกาแฟแบบนี้มาสิบกว่าปีแล้ว  ตั้งแต่กระแสกาแฟมีประโยชน์ที่ดังไปทั่วโลก  โดยเพื่อนพยาบาลคนหนึ่งแนะนำ  และก็รู้สึกว่าดีจริงๆ

ปรับเปลี่ยนสุขภาพที่ดีด้วยการดื่มกาแฟกัน

หลวงพี่
jiann tracheewa
Shared publicly  -  8:13 AM 19/12/2557
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 09, 2015, 03:00:23 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อมีประโยชน์.. ก็มีโทษเช่นกัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 27, 2015, 11:03:50 am »


 
เมื่อมีประโยชน์...ก็มีโทษเช่นกัน
ทำความเข้าใจกันก่อน  เพื่อประโยชน์อย่างแท้จริง

ดื่มกาแฟอย่างไรให้ได้ประโยชน์

1.   อย่างแรกเราต้องสังเกตตัวเองก่อนว่าร่างกายของเรามีความไวต่อการตอบสนองของปริมาณกาแฟกี่ถ้วย และมีอาการอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อหาปริมารที่เหมาะสมให้กับตัวเอง
2.   หากคุณมีอาการนอนหลับยากอยู่เป็นทุนอยู่แล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟในช่วงบ่ายหรือช่วงหัวค่ำ
3.   ไม่ควรดื่มกาแฟเพื่อหักโหมในการทำงาน จนให้อดนอนติดต่อกันหลายๆ คืน แม้ว่าคาเฟอีนจะช่วยทำให้ร่างกายตื่นตัวได้จริง แต่อย่างไรก็ตาม สมองก็ต้องได้รับเวลาการพักผ่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้
4.   สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ ควรรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียมเพิ่มเติมเพื่อทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไปกับปัสสาวะ ทั้งนี้ก็เพื่อลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน

5.   ควรดื่มน้ำสะอาดมากๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากฤทธิ์ในการขับปัสสาวะของคาเฟอีน
6.   เนื่องจากในกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟ จะทำให้มีอนุมูลอิสระเกิดขึ้น การรับประทานผักผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายออกไปได้
7.   ควรระวังครีมเทียมและน้ำตาลที่เติมลงไปในกาแฟ เพราะยิ่งเติมมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มแคลอรี่ให้กาแฟและเพิ่มพลังงานส่วนเกินให้กับร่างกาย
8.   หากดื่มกาแฟหลายถ้วยในหนึ่งวัน คุณควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีคาเฟอีนเพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มคาเฟอีนให้กับร่างกาย เช่น น้ำอัดลม ช็อกโกแลต โกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น

โทษของกาแฟ
1.   คาเฟอีนมีคุณสมบัติคล้ายยาเสพติกอย่างอ่อน ผู้ที่ดื่มกาแฟจึงมักต้องดื่มเป็นประจำ หรือที่เรียกว่า “ติดกาแฟ” จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้ดื่มกาแฟกันมาก[4] และจากผลสำรวจพบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟในปริมาณ 235 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 10% จะรู้สึกมีความทุกข์มากขึ้นเมื่อร่างกายขาดคาเฟอีน
2.   กาแฟเพียงถ้วยเดียวก็สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้
3.   มีคำแนะนำว่าผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟในปริมาณสูง เพราะจากการศึกษาพบว่า คาเฟอีน 250 มิลลิกรัม สามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นทั้งตัวบนและตัวล่างในทุกกลุ่ม และจะยิ่งสูงมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 1.5 เท่าของกลุ่มที่มีความดันปกติ ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งได้ระบุว่า การดื่มกาแฟเป็นประจำในปริมาณน้อยๆ ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่แน่นอน เนื่องจากมีการศึกษาติดตามผลในพยาบาล 155,000 คน ที่ดื่มกาแฟมานาน 10 ปี พบว่าไม่ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ John hopkins ที่ได้ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 ราย โดยติดตามผลเป็นเวลา 33 ปี ที่พบว่าคาเฟอีนมีผลต่อความดันโลหิตน้อยมาก
4.   หากร่างกายได้รับคาเฟอีนสูงกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวัน คาเฟอีนจะไปแทรกแซงการนอนหลับ ทำให้นอนหลับยาก หลับไม่สนิท ทำให้ช่วงเวลาที่หลับนั้นสั้นลง ซึ่งอาจทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

5.   ผู้ทีดื่มกาแฟเป็นประจำ หากหยุดดื่มกระทันหันจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ร่างกายอ่อนเพลีย และง่วงนอนได้
6.   การดื่มกาแฟอาจทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติหรือเต้นไม่เป็นจังหวะได้ เนื่องจากคาเฟอีนในกาแฟมีฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง จึงส่งผลให้อัตราการบีบตัวของหัวใจและปริมาณของเลือดที่สูบฉีดต่อนาทีเพิ่มขึ้น
7.   สาร theobromine ในกาแฟอาจทำให้มีอาการปวดแสบที่ลิ้นปี่ได้
8.   การดื่มกาแฟหลายถ้วยต่อวัน จะลดความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายลงได้ โดยเฉพาะอย่างในสตรี
9.   คาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งของกรด pepsin และ gastrin ซึ่งอาจทำให้โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้รุนแรงขึ้นได้
10.   กาแฟมีฤทธิ์ลดการดูดซึมของธาตุเหล็กได้ คุณจึงควรระมัดระวังในการดื่มกาแฟในขณะท้องว่าง อีกทั้งการดื่มกาแฟในขณะท้องว่างคาเฟอีนยังไปเร่งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารอีกด้วย

11.   เนื่องจากกาแฟมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ โดยไปลดการดูดกลับของโซเดียม โพแทสเซียม และแคลเซียมออกจากไต จึงทำให้แร่ธาตุเหล่านี้ถูกขับออกมาพร้อมปัสสาวะ ถ้าหากร่างกายสูญเสียแคลเซียมออกจากร่างกายบ่อยๆ ในปริมาณมาก อาจเป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือนได้
12.   การดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 1 แก้ว จะมีโอกาสเกิดการเป็นหมันมากขึ้น
13.   ก่อนหน้าที่มีข้อถกเถียงกันว่าการดื่มกาแฟอาจส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ของสตรีได้ แต่จากหลักฐานยังไม่พบผลเสียดังกล่าว นักวิจัยจึงแนะนำว่าให้ดื่มกาแฟปริมาณน้อยๆในขณะตั้งครรภ์จึงจะไม่เกิดผลเสีย (แต่หากงดได้ก็ควรจะงด) ส่วนการศึกษาในประเทศเดนมาร์กที่ได้ทำการศึกษากับสตรีจำนวน 18,478 คน ที่ดื่มกาแฟปริมาณมากในระหว่างการตั้งครรภ์ พบว่ามันส่งผลทำให้อัตราเสี่ยงของการตายของทารกหลังคลอดเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่มีผลกระทบต่ออัตราการตายในปีแรกของทารก โดยในรายงานได้ระบุว่า ผลการศึกษานี้บ่งชี้ถึงผลกระทบจากการดื่มกาแฟตั้งแต่วันละ 4-7 ถ้วย ส่วนผู้ที่ดื่มตั้งแต่วันละ 8 ถ้วยขึ้นไป (หรือ 48 ออนซ์ขึ้นไป) จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นถึง 220% เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ดื่ม จากผลการศึกษานี้จึงทำให้รู้ว่าสตรีตั้วครรภ์ควรเพิ่มความระมัดระวังในการดื่มกาแฟในปริมาณที่มากเกินไป
14.   เด็กเล็กไม่ควรดื่มกาแฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ขวบ

คาเฟอีนในกาแฟ
คาเฟอีน คืออะไร?
คาเฟอีน (caffeine) เป็นสารประกอบที่พบได้มากในเมล็ดกาแฟ โดยคาเฟอีนบริสุทธิ์นั้นจะมีลักษณะเป็นผลึกรูปเข็ม มีรสขม และไม่มีกลิ่น ปริมาณของคาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป โดยกาแฟโรบัสต้าจะมีปริมาณคาเฟอีนสูงกว่ากาแฟอาราบิก้า
ปริมาณของคาเฟอีนที่ส่งผลต่อร่างกายและอารมณ์
คาเฟอีนในขนาดต่ำ (50-200 มิลลิกรัม) จะกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว ไม่ง่วงนอน กระปรี้กระเปร่า สดชื่น, ส่วนคาเฟอีนในขนาดปานกลาง (200-500 มิลลิกรัม) อาจทำให้ปวดศีรษะ เครียด กระวนกระวาย มือสั่น นอนไม่หลับ, และคาเฟอีนในขนาดสูง (1,000 มิลลิกรัม) จะเริ่มทำให้มีอาการกระสับกระส่ายอยู่นิ่งไม่ได้ หัวใจเต้นเร็ว ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร และมีอาการคลื่นไส้ บางข้อมูลระบุว่าอาจมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก ทำให้งุนงงสับสน ความคิดและคำพูดติดขัด หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ บางรายอาจมีอาการแสงวูบวาบลวงตาและได้ยินเสียงดังในหู แต่ถ้าหากได้รับคาเฟอีนมากกว่า 10,000 มิลลิกรัม จะทำให้เกิดโรคลมชัก ระบบหายใจล้มเหลม และเสียชีวิตในที่สด

ฤทธิ์ของคาเฟอีน
คาเฟอีนในกาแฟสามารถถูกดูดซึมได้หมดและรวดเร็วในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนท้องว่างจะยิ่งดูดซึมเร็วขึ้น ภายหลังการดื่มกาแฟประมาณ 30-60 นาที ความเข้มข้นของคาเฟอีนในเลือดจะขึ้นสู่ระดับสูงสุด และหลังจากคาเฟอีนถูกดูดซึมก็จะกระจายตัวไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะที่มีเลือดไปเลี้ยงมาก เช่น สมอง หัวใจ ตับ และไต นอกจากนี้คาเฟอีนยังสามารถกระจายไปสู่รกและน้ำนมได้บ้างประมาณ 0.06% ส่วนการขับคาเฟอีนออกจากร่างกายก็จะแตกต่างกันออกในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุและสภาพร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ใหญ่จะเวลาประมาณ 5-6 ชั่วโมง ในการจับคาเฟอีนปริมาณครึ่งหนึ่งที่ได้รับออกจากร่างกาย

กาแฟเป็นสารเสพติดหรือไม่?
การดื่มกาแฟเป็นความชินมากกว่า สิ่งที่จะเรียกว่าติดได้ คือ จะต้องได้รับเป็นประจำและปริมาณต้องเพิ่มขึ้น แต่กาแฟไม่ได้ทำให้มีความต้องการเพิ่มขึ้น ส่วนในกรณีของสารเสพติดนั้นหากไม่ได้รับจะมีอาการลงแดงหรือทนไม่ไหว แต่การดื่มกาแฟจะไม่ให้ผลอย่างนั้น การดื่มการกาแฟจึงไม่ใช่การติด แต่เป็นนิสัยมากกว่า อีกทั้งสารเสพติดจำพวกแอมเฟตามีน มอร์ฟีน นิโคติน จะมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการหลั่งของสารโดพามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับอาการเสพติด แต่คาเฟอีนจะไม่มีคุณสมบัติเช่นนั้น

ปริมาณคาเฟอีนที่ปลอดภัย
สภาพร่างกายของแต่ละคนมีความไวต่อปริมาณคาเฟอีนที่แตกต่างกัน บางคนดื่มกาแฟ 1 ถ้วยก็อาจทำให้มีอาการใจสั่น นอนไม่หลับได้ แต่อาจจะไม่มีผลกับอีกคนหนึ่งที่มีความทนทานมากกว่า อย่างไรก็ตามองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาก็ได้กำหนดปริมาณคาเฟอีนที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ นั่นก็คือไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบได้กับการดื่มกาแฟไม่เกิน 3 ถ้วยต่อวัน

คาเฟอีนก็ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียได้เช่นกัน
จากการสำรวจพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลียไม่มีแรงจากการดื่มกาแฟ พบว่าแทบทุกคนดื่มกาแฟวันละ 10 กว่าถ้วย โดยผู้ป่วยเหล่านี้คิดว่าการดื่มกาแฟหลายถ้วยจะทำให้มีแรงทำงาน แต่ในความเป็นจริงแล้วยิ่งดื่มกาแฟมากเท่าไหร่ คาเฟอีนในร่างกายก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ก็เท่ากับว่าเป็นการดึงพลังงานออกจากตัวมากเท่านั้น เมื่อยิ่งดื่มจึงยิ่งอ่อนเพลีย เมื่อเพลียก็ยิ่งดื่มมากขึ้น หมุนเวียนเป็นวงจรเช่นนี้เรื่อยไป และเพื่อเป็นการแก้อาการอ่อนเพลีย ควรงดดื่มกาแฟโดยเด็ดขาดเป็นเวลา 2-3 เดือน และหากทำได้อย่างเคร่งครัดอาการอ่อนเพลียก็จะหายไป

อันตรายของคาเฟอีน
คาเฟอีนเปรียบเสมือนยาพิษถ้าหากได้รับมากเกินไป การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณเข้มข้นและในปริมาณมาก อาจทำให้ร่างกายอาเจียน หมดสติ และอาจถึงขึ้นเสียชีวิตได้

ทุกอย่างมีทั้งโทษและประโยชน์
เลือกใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดกันนะ
jiann tracheewa
Shared publicly  -  9:32 AM 27/1/2558

ออฟไลน์ Parshenza

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 2
  • พลังกัลยาณมิตร 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กาแฟ กับ ความเข้าใจใหม่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2016, 02:28:04 pm »
อ่านแล้วเหมือนได้ความรู้ใหม่