ผู้เขียน หัวข้อ: สัตว์เทพประจำทิศทั้งสี่ในคติจีน  (อ่าน 2448 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
สัตว์เทพประจำทิศทั้งสี่ในคติจีน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
   
3 สิงหาคม 2548 20:24 น.

-http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9480000104215-














นับแต่โบราณกาล ชาวจีนได้มอบน่านฟ้าทั้งสี่ทิศไว้ภายใต้การคุ้มครองของสัตว์เทพทั้งสี่ อันได้แก่ มังกรเขียว เสือขาว หงส์แดง และเต่าดำ ดังคำกล่าวที่ว่า “ซ้ายมังกรเขียว ขวาเสือขาวครอง หงส์แดงนำหน้า เต่าดำสถิตยังเบื้องหลัง” พัฒนาการของแนวคิดความเชื่อดังกล่าวมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับศาสตร์พยากรณ์และคติความเชื่อในลัทธิเต๋าของชาวจีนที่สืบทอดมานานนับพันปี
       
       ชาวจีนโบราณแบ่งท้องฟ้าออกเป็น 4 ส่วน คือ ตะวันออก ตก เหนือและใต้ จากการสังเกตหมู่ดาวบนท้องฟ้า จับกลุ่มทิศทางการเรียงตัวของหมู่ดาวเทียบเข้ากับลักษณะของคน สัตว์หรือรูปลักษณ์ในตำนานตามความเชื่อของตน โดยให้ทิศตะวันออกแทนกลุ่มดาวมังกรเขียว (จากตำนานการปรากฏขึ้นของจักรพรรดิเหลืองทางทิศตะวันออก) ตะวันตกแทนกลุ่มดาวเสือขาว ทิศใต้แทนกลุ่มดาวหงส์แดง และทิศเหนือแทนกลุ่มดาวเต่าดำ แต่ละทิศครองดาว 7 ดวง (รวม 28 ดวง)
       
       ภายในสุสานยุคจั้นกั๋ว(ราว 433 ปีก่อนคริสตศักราช) แห่งหนึ่งในมณฑลหูเป่ย ได้มีการขุดพบภาพวาดของหมู่ดาว 28 ดวงกับมังกรเขียวและเสือขาวบนฝาของภาชนะเคลือบใบหนึ่ง ซึ่งบอกเราว่าการกำหนดเรียกหมู่ดาวบนท้องฟ้าได้เกิดขึ้นก่อนหน้าเวลานี้อีกนานนัก
สัตว์เทพทั้งสี่ต่างยึดครองน่านฟ้าทั้งสี่ทิศ กลายเป็นตัวแทนของทิศทั้งสี่ จนกระทั่งการศึกษาว่าด้วยศาสตร์แห่งธาตุทั้งห้า และภูมิพยากรณ์ (ฮวงจุ้ย อินหยาง เป็นต้น) เป็นที่แพร่หลาย สัตว์เทพทั้งสี่และดวงดาวทั้ง 28 เป็นที่รู้จักในฐานะของ “เทพเจ้าผู้พิทักษ์” ตำหนักและสิ่งปลูกสร้างในวังหลวง ได้รับการประดับตกแต่งเป็นลวดลายของสัตว์เทพทั้งสี่ ส่วนประตูทางทิศเหนือของวังหลวงมักได้ชื่อว่า ประตูเสวียนอู่ (เต่าดำ) เนื่องจากหงส์แดงแทนสัญลักษณ์ของไฟ ขณะที่สถาปัตยกรรมโบราณของจีนล้วนแต่สร้างด้วยไม้ จึงมักไม่ปรากฏรูป แต่จะปรากฏในเชิงสัญลักษณ์อยู่บนกำแพง (ทาสีแดง)แทน
       
       เมื่อถึงสมัยฉินและฮั่น สัตว์เทพทั้งสี่ก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในฐานะตัวแทนของฤดูกาลและสีสันทั้งสี่ ในช่วงเวลาดังกล่าว สัตว์เทพทั้งสี่ได้ปรากฏในศาสตร์วิทยาการของจีนหลากหลายสาขา อาทิ ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และการทหาร ดังเช่นในตำราพิชัยสงครามบทหนึ่ง ได้กล่าวถึงการกำหนดทิศทางเดินทัพไว้ว่า “การเคลื่อนทัพนั้น ซ้ายเป็นมังกรเขียว ขวาเสือขาว ทัพหน้าคือหงส์แดงและเต่าดำคุมหลัง บัญชาการจากเบื้องบน นำปฏิบัติสู่เบื้องล่าง” เนื่องจากผู้คนในสมัยนั้นต่างคุ้นเคยกับตำแหน่งของสัตว์เทพทั้งสี่เป็นอย่างดี ภายหลังจึงได้รับการประยุกต์ให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของธงนำทัพไป
       
       ต่อเมื่อศาสนาเต๋ารุ่งเรืองขึ้น มังกรเขียว เสือขาว หงส์แดงและเต่าดำในฐานะเทพเจ้าผู้คุ้มครองมนุษย์ต่างมีความสำคัญขึ้น ถูกยกให้มีความเป็นมนุษย์ยิ่งขึ้น ต่างมีชื่อเรียกเป็นมนุษย์ และต่อมาอีกไม่นาน เทพเสวียนอู่หรือเต่าดำก็โดดเด่นขึ้นในฐานะของ “เจินอู่” ปรมาจารย์เต๋าผู้สำเร็จมรรคผล ส่วนหงส์แดงเป็นเทพที่มีบทบาทแยกออกมาเป็นเอกเทศ ขณะที่มังกรเขียวและเสือขาวกลายเป็นเทพทวารบาลผู้รักษาประตูทางเข้าสู่มรรคาแห่งเต๋า
มังกรเขียวประจำทิศตะวันออก สีเขียว ธาตุไม้ ฤดูใบไม้ผลิ
       ชาวจีนโบราณถือว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจกษัตริย์ และเป็นสัตว์มงคลชนิดหนึ่ง นับตั้งแต่ยุคของจักรพรรดิเหลืองเป็นต้นมา มังกรก็กลายเป็นตัวแทนของผู้มีเชื้อสายจีนทั้งมวล โดยเฉพาะเมื่อถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรากฏภาพวาดและตำนานเกี่ยวกับหวงตี้หรือจักรพรรดิเหลืองที่ทรงมังกรเป็นพาหนะเหินบินสู่ฟ้า มังกรจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิผู้ยิ่งยงอีกด้วย
       
       ตำนานกล่าวว่า มังกรเขียวมีลำตัวเป็นงู หัวเป็นกิเลน หางเป็นปลา มีเครายาว มีเขา เท้าคล้ายกรงเล็บ รูปลักษณ์เป็นมังกรเหิน เปี่ยมด้วยพลังอำนาจ เนื่องจากประจำทิศตะวันออก ธาตุไม้มีสีเขียว จึงเป็นมังกรเขียว
เสือขาว ประจำทิศตะวันตก สีขาว ธาตุทอง ฤดูใบไม้ร่วง
       เสือเป็นเจ้าแห่งสัตว์ป่าทั้งมวล เนื่องจากประจำทิศตะวันตก ธาตุทอง มีสีขาว จึงกลายเป็น เสือขาว เป็นตัวแทนของอำนาจบารมี ความเคารพยำเกรงและการทหาร เนื่องจากเสือเป็นนักล่า กินเนื้อ ดังนั้นจึงมีภาพลักษณ์เป็นเทพเจ้าแห่งศึกสงครามและการล่าสังหารอีกด้วย สถานที่หรือชัยภูมิในสมัยโบราณหากมีชื่อของเสือขาว จึงมักมีนัยสำคัญทางทหาร นอกจากนี้ยังใช้ในการตั้งชื่อหน่วยกำลังรบ และใช้เป็นตราสัญลักษณ์ในการบัญชาการเคลื่อนทัพ หรือสลักเป็นลวดลายคู่กับมังกรเขียวบนบานประตูทั้งสองข้างเพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย
หงส์แดง ทิศใต้ สีแดง ธาตุไฟ ฤดูร้อน
       หงส์เป็นเจ้าแห่งปักษา และเป็นสัตว์มงคลชนิดหนึ่งของจีนมาแต่โบราณ มีรูปลักษณ์เดิมมาจากนกหลากหลายชนิด อาทิ ไก่ฟ้า ห่านฟ้า นกกระจอก เหยี่ยวนกกระจอก นกนางแอ่น ฯลฯ ในตำนานกล่าวว่า หงส์มีรูปคล้ายไก่ฟ้า มีสีขนสลับลายเป็นประกาย มีนิสัยรักสะอาด ช่างเลือก (มีความละเอียดอ่อนประณีต) เนื่องจากรูปลักษณ์เป็นนก ประจำทิศใต้ ธาตุไฟ สีแดง จึงได้ชื่อว่า หงส์แดง
       
       ภายหลังได้รับอิทธิพลจากความเชื่อลัทธิเต๋า จากสัตว์เทพค่อยวิวัฒนาการเป็นรูปลักษณ์ของครึ่งคนครึ่งสัตว์ จากนั้นกลายเป็นเทพที่มีรูปเป็นหญิง
เต่าดำ ประจำทิศเหนือ สีดำ ธาตุน้ำ ฤดูหนาว
       เต่าดำหรือเสวียนอู่ มีรูปลักษณ์เป็นเต่า แต่มีเกล็ดคล้ายงู มีลักษณะร่วมกันของเต่าและงู บ้างใช้สัญลักษณ์เป็นรูปเต่าที่มีงูพันรัดกลางลำตัว แต่เดิมมาจากการใช้กระดองเต่าในการทำนายทายทัก ซึ่งหมายถึงการให้เต่านำคำถามลงไปสู่โลกแห่งวิญญาณเพื่อนำคำตอบกลับมายังโลกมนุษย์ อีกทั้งกระดองเต่ามีสีดำ จึงปรากฏในรูปเต่าดำ ภายหลังได้มีการขยายความออกไป โดยเห็นว่าเต่าอาศัยอยู่กับน้ำ ทั้งแม่น้ำลำคลองน้อยใหญ่จนถึงท้องทะเลกว้าง จึงได้รับการขนานนามให้เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ อีกทั้งเต่ามีอายุยืนนาน จึงเป็นสัญลักษณ์แทนการมีอายุวัฒนะ
       
       ภายหลังเทพเสวียนอู่ได้รับการ “ยกฐานะ” จากลัทธิเต๋าให้เป็นปรมาจารย์เจินอู่ โดยกล่าวกันว่าเจินอู่เป็นภาคหนึ่งของเง็กเซียนฮ่องเต้มาจุติยังโลกมนุษย์ แต่ด้วยความเบื่อหน่ายในโลกีย์ จึงเก็บตัวบำเพ็ญภาวนาบนเขาบู๊ตึ๊ง จนสำเร็จมรรคผลเป็นเซียนขึ้นสถิตบนฟ้า ครองตำแหน่งทิศเหนือ
เรียบเรียงจาก
       -www.qianlong.com-
       -www.chinawudang.com-


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)