แสงธรรมนำใจ > หยาดฝนแห่งธรรม
ปาราชิก
sithiphong:
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๘
ปริวาร
-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=08&A=0&Z=149-
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มหาวิภังค์ ๑๖ มหาวาร
ปาราชิกกัณฑ์
กัตถปัญญัติวารที่ ๑
[๑] พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน? ทรงปรารภใคร? เพราะเรื่องอะไร? ในปาราชิก
สิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ
สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ? บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น จัดเข้าในอุเทศไหน? นับเนื่องในอุเทศไหน? มาสู่อุเทศโดยอุเทศ
ที่เท่าไร? บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน? บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน?
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง เกิดขึ้นด้วยสมุฏฐานเท่าไร? บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์
อย่างไหน? บรรดาสมถะ ๗ ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร? ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไร
เป็นวินัย? ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอภิวินัย? ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น
อะไรเป็นปาติโมกข์? ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอธิปาติโมกข์? อะไรเป็นวิบัติ?
อะไรเป็นสมบัติ? อะไรเป็นข้อปฏิบัติ? พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร? พวกไหนศึกษา? พวกไหนมีสิกขาอันศึกษาแล้ว?
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น ตั้งอยู่ในใคร? พวกไหนย่อมทรงไว้? เป็นถ้อยคำของใคร? ใคร
นำมา
คำถามและคำตอบในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์
นั้น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน?
ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี.
ถ. ทรงปรารภใคร?
ต. ทรงปรารภพระสุทินน์ กลันทบุตร.
ถ. เพราะเรื่องอะไร?
ต. เพราะเรื่องที่พระสุทินน์ กลันทบุตร เสพเมถุนธรรมในปุราณทุติยิกา.
ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ หรือ?
ต. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๒, อนุปันนบัญญัติ ไม่มี ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น.
ถ. มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ หรือ?
ต. มีแต่สัพพัตถบัญญัติ.
ถ. มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ หรือ?
ต. มีแต่สาธารณบัญญัติ.
ถ. มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ?
ต. มีแต่อุภโตบัญญัติ.
ถ. บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น จักเข้าในอุเทศไหน? นับ
เนื่องในอุเทศไหน?
ต. จัดเข้าในนิทาน นับเนื่องในนิทาน.
ถ. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร?
ต. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่ ๒.
ถ. บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน?
ต. เป็นศีลวิบัติ.
ถ. บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน?
ต. เป็นอาบัติกองปาราชิก.
ถ. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น เกิดด้วยสมุฏฐาน
เท่าไร?
ต. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา.
ถ. บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์อะไร?
ต. เป็นอาปัตตาธิกรณ์.
ถ. บรรดาสมถะ ๗ ระงับด้วยสมถะเท่าไร?
ต. ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑.
ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นวินัย? ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น
อะไรเป็นอภิวินัย?
ต. พระบัญญัติเป็นวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย.
ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นปาติโมกข์? ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น
อะไรเป็นอธิปาติโมกข์?
ต. พระบัญญัติเป็นปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์
ถ. อะไรเป็นวิบัติ?
ต. ความไม่สังวรเป็นวิบัติ.
ถ. อะไรเป็นสมบัติ?
ต. ความสังวรเป็นสมบัติ.
ถ. อะไรเป็นข้อปฏิบัติ?
ต. ข้อที่ภิกษุสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า จักไม่ทำกรรมเห็นปานนี้ แล้ว
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ.
ถ. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์
เท่าไร?
ต. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์
๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้
แก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุ-
*เคราะห์พระวินัย ๑.
ถ. พวกไหนศึกษา?
ต. พระเสขะและกัลยาณปุชนศึกษา.
ถ. พวกไหนมีสิกขาอันศึกษาแล้ว?
ต. พระอรหันต์มีสิกขาอันศึกษาแล้ว.
ถ. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น ตั้งอยู่ในใคร?
ต. ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล.
ถ. พวกไหนย่อมทรงไว้?
ต. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ย่อมเป็นไปแก่พระเถระพวกใด พระเถระพวกนั้นย่อม
ทรงไว้.
ถ. เป็นถ้อยคำของใคร?
ต. เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ถ. ใครนำมา?
ต. พระเถระทั้งหลายนำสืบๆ กันมา.
รายนามพระเถระผู้ทรงพระวินัย
[๓] พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ พระสิคควะ
รวมเป็น ๕ ทั้งพระโมคคัลลีบุตร นำพระวินัยมาในทวีปชื่อว่าชมพู อันมีสิริ.
แต่นั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ พระมหินทะ ๑ พระ-
อิฏฏิยะ ๑ พระอุตติยะ ๑ พระสัมพละ ๑ พระเถระชื่อภัททะผู้เป็นบัณฑิต ๑
มาในเกาะสิงหฬนี้ แต่ชมพูทวีป พวกท่านสอนพระวินัยปิฎกในเกาะตามพ-
ปัณณิ สอนนิกาย ๕ และปกรณ์ ๗ แล้ว. ภายหลังพระอริฏฐะผู้มีปัญญา
พระติสสทัตตะผู้ฉลาด พระกาฬสุมนะผู้องอาจ พระเถระมีชื่อว่าทีฆะ พระ-
ทีฆสุมนะผู้บัณฑิต ต่อมาอีก พระกาฬสุมนะ พระนาคเถระ พระพุทธรักขิตะ
พระติสสเถระผู้มีปัญญา พระเทวเถระผู้ฉลาด ต่อมาอีก พระสุมนะผู้มีปัญญา
และเชี่ยวชาญในพระวินัย พระจูฬนาค ผู้พหูสูต ดุจช้างซับมัน พระเถระ
ชื่อธัมมปาลิตะ อันสาธุชนบูชาแล้วในโรหนชนบท ศิษย์ของพระธรรมปาลิตะ
นั้น มีปัญญามาก ชื่อพระเขมะ ทรงจำพระไตรปิฎก รุ่งเรืองอยู่ในเกาะ ด้วย
ปัญญา ดุจพระจันทร์ พระอุปติสสะผู้มีปัญญา พระปุสสเทวะผู้มหากถึก
ต่อมาอีก พระสุมนะผู้มีปัญญา พระเถระชื่อปุปผะ ผู้พหูสูต พระมหาสีวะ
ผู้มหากถึก ฉลาดในพระปิฎกทั้งปวง ต่อมาอีก พระอุบาลี ผู้มีปัญญา
เชี่ยวชาญในพระวินัย พระมหานาค ผู้มีปัญญามาก ฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม
ต่อมาอีก พระอภยะ ผู้มีปัญญา ฉลาดในพระปิฎกทั้งปวง พระติสสเถระ
ผู้มีปัญญา เชี่ยวชาญในพระวินัย ศิษย์ของพระติสสเถระนั้น มีปัญญามาก
ชื่อปุสสะ เป็นพหูสูต ตามรักษาพระศาสนา อยู่ในชมพูทวีป พระจูฬาภยะ
ผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย พระติสสเถระ ผู้มีปัญญา ฉลาดในวงศ์
พระสัทธรรม พระจูฬาเทวะ ผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย และพระ-
สิวเถระผู้มีปัญญา ฉลาดในพระวินัยทั้งมวล พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามาก
เหล่านี้ รู้พระวินัย ฉลาดในมรรคา ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตัม
พปัณณิ.
คำถามและคำตอบในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒.
[๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์
นั้น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ณ ที่ไหน?
ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์.
ถ. ทรงปรารภใคร?
ต. ทรงปรารภพระธนิยะ กุมภการบุตร.
ถ. เพราะเรื่องอะไร?
ต. เพราะเรื่องที่พระธนิยะ กุมภการบุตร ถือเอาไม้ของหลวง ซึ่งไม่ได้รับพระราชทาน.
มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนปัญญัติไม่มี. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา, บางทีเกิดแต่วาจากับ
จิต มิใช่กาย, บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ...
คำถามและคำตอบในปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
[๕] ถามว่า ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน?
ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี.
ถ. ทรงปรารภใคร?
ต. ทรงปรารภภิกษุมากรูปด้วยกัน.
ถ. เพราะเรื่องอะไร?
ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุมากรูปด้วยกัน ปลงชีวิตกันและกัน.
มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญัติไม่มี. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา, บางทีเกิดแต่วาจากับจิต
มิใช่กาย, บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ...
คำถามและคำตอบในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
[๖] ถามว่า ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน?
ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี.
ถ. ทรงปรารภใคร?
ต. ทรงปรารภภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา.
ถ. เพราะเรื่องอะไร?
ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา กล่าวสรรเสริญอุตตริมนุสสธรรม ของ
กันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์.
มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญัติไม่มี. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต ไม่ใช่วาจา, บางทีเกิดแต่วาจากับจิต
มิใช่กาย, บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ...
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ
หัวข้อประจำกัณฑ์
[๗] ปาราชิก ๔ คือ เมถุนธรรม ๑ อทินนาทาน ๑ มนุสสวิคคหะ ๑ อุตตริ-
*มนุสสธรรม ๑ เป็นวัตถุแห่งมูลเฉท หาความสงสัยมิได้ ดังนี้แล.
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑ - ๑๔๙. หน้าที่ ๑ - ๖. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=8&A=0&Z=149&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :- [1-7] http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=8&A=1&Z=7 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๘ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_8
sithiphong:
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา - บ้านธัมมะ
กระดานสนทนา
-http://www.dhammahome.com/webboard/printing/46-
000046 วิเคราะห์ปาราชิก .. ความหมายของอาบัติแต่ละขั้น
โดย paradorn 29 เม.ย. 2548
อยากทราบคำแปลของอาบัติแต่ละขั้นครับ เช่น ปาจิตตีย์ ทุกกฏ สังฆาทิเทส
เป็นต้นว่ามีความหมายอย่างไร มีความรุนแรงหากเทียบกับคำในภาษาไทยอย่างไร
ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 1 โดย study วันที่ 29 เม.ย. 2548
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 606
วิเคราะห์ปาราชิก
[๑,๐๓๕] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า
ปาราชิก ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป บุคคลเป็นผู้เคลื่อนแล้ว ผิดพลาด
แลเหินห่างจากสัทธรรม อนึ่ง แม้สังวาสก็
ไม่มีในผู้นั้น เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียก
อาบัตินั้นว่า ปาราชิก.
วิเคราะห์สังฆาทิเสส
[๑,๐๓๖] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า สังฆา
ทิเสส ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชักเข้าหา
อาบัติเดิมให้มานัต อัพภาน เพราะเหตุนั้น
เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า สังฆาทิเสส.
วิเคราะห์อนิยต
[๑,๐๓๗] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า อนิยต
ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป
กองอาบัติชื่อว่าอนิยต เพราะไม่แน่ บท
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำแล้วโดยมิใช่
ส่วนเดียว บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอย่างใด
อย่างหนึ่ง เรียกว่า อนิยต.
วิเคราะห์ถุลลัจจัย
[๑,๐๓๘] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ถุล-
ลัจจัย ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป ภิกษุแสดงอาบัติถุลลัจจัย ในที่ใกล้
ภิกษุรูปหนึ่ง แ ละภิกษุรับอาบัตินั้น โทษ
เสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น
จึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย.
วิเคราะห์นิสสัคคิยะ
[๑,๐๓๙] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า นิส-
สัคคิยะ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป ภิกษุเสียสละในท่ามกลางสงฆ์ ท่าม
กลางคณะ และต่อหน้าภิกษุรูปหนึ่ง ๆ แล้ว
จึงแสดงข้อละเมิดใด เพราะเหตุนั้น จึง
เรียกข้อละเมิดนั้นว่า นิสสัคคิยะ.
วิเคราะห์ปาจิตตีย์
[๑,๐๔๐] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า
ปาจิตตีย์ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตก ย่อม
ฝืนต่ออริยมรรค เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลง
แห่งจิต เพราะเหตุนั้น จึงเรียกความละเมิด
นั้นว่า ปาจิตตีย์.
วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ
[๑,๐๔๑] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ปาฏิ-
เทสนียะ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป ภิกษุไม่มีญาติ หาโภชนะได้ยาก
รับมาเองแล้วฉัน เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ
ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ ภิกษุณีสั่งเสียอยู่ใน
ที่นั้นตามพอใจ ภิกษุไม่ห้าม ฉันอยู่ในที่นั้น
เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ ภิกษุไม่อาพาธ
ไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์
น้อย เขามิได้นำไปถวายแล้วฉันในที่นั้น
เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ ภิกษุใดถ้าอยู่ในป่า
ที่น่ารังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ฉันภัตตาหาร
ที่เขาไม่ได้บอกในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรม
ที่น่าติ ภิกษุณีไม่มีญาติ ขอโภชนะที่ผู้อื่น
ยืดถือว่าเป็นของเรา คือ เนยใส น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด และนมส้ม
ด้วยตนเอง ชื่อว่า ถึงธรรมที่น่าติ ในศาสนา
ของพระสุคต.
วิเคราะห์ทุกกฏ
[๑,๐๔๒] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุกกฏ
ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป
กรรมใดผิดพลั้งและพลาด กรรมนั้นชื่อว่า
ทำไม่ดี คนทำความชั่วอันใด ในที่แจ้ง
หรือในที่ลับ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมประกาศ
ความชั่วนั้นว่า ทำชั่ว เพราะเหตุนั้น กรรม-
นั่นจึงเรียกว่า ทุกกฏ.
วิเคราะห์ทุพภาสิต
[๑,๐๔๓] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุพ-
ภาสิต ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป บทใด อันภิกษุกล่าวไม่ดี พูดไม่ดี
และเศร้าหมอง วิญญูชนทั้งหลายย่อมติเตียน
บทใด เพราะเหตุนั้น บทนั้น จึงเรียกว่า
ทุพภาสิต.
วิเคราะห์เสขิยะ
[๑,๐๔๔] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า เสขิยะ
ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป
ข้อนี้เป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทาง
และเป็นข้อระวัง คือ สำรวม ของพระเสขะ
ผู้ศึกษาอยู่ ผู้ดำเนินไปตามทางตรง สิกขา
ทั้งหลาย เช่นด้วยสิกขานั้นไม่มี เพราะ
เหตุนั้น สิกขานั้น จึงเรียกว่า เสขิยะ.
อุปมาอาบัติและอนาบัติ
เรือนคืออาบัติอันภิกษุปิดไว้ ย่อมรั่ว
เรือนคืออาบัติอันภิกษุเปิดแล้ว ย่อมไม่รั่ว
เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงเปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้
เมื่อเป็นอย่างนั้น เรือนคืออาบัตินั้น ย่อม
ไม่รั่ว ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค อากาศ
เป็นทางไปของหมู่ปักษี ความเสื่อมเป็นคติ
ของธรรมทั้งหลาย นิพพานเป็นภูมิที่ไปของ
พระอรหันต์.
คาถาสังคณิกะ จบ
ความคิดเห็นที่ 2 โดย study วันที่ 29 เม.ย. 2548
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 619
คำอธิบายจากอรรถกถา
[วิเคราะห์ปาราชิก]
บรรดาบุคคลปาราชิก อาบัติปาราชิก และสิกขาบทปาราชิก ชื่ออาบัติ
ปาราชิกนี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว, บุคคลผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้น
ย่อมเป็นผู้พ่าย คือ ถึงความแพ้ เป็นผู้เคลื่อน ผิด ตก อันความละเมิดทำ
ให้ห่างจากสัทธรรม. เมื่อบุคคลนั้นไม่ถูกขับออก (จากหมู่) ก็ไม่มีสังวาส
ต่างโดยอุโบสถและปวารณาเป็นต้นอีก. ด้วยเหตุนั้น ปาราชิกนั่น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น คือ เพราะเหตุนั้น อาบัติปาราชิกนั่น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัส ว่า ปาราชิก.
ก็ในบทว่า ปาราชิก นี้ มีความสังเขปดังนี้:-
บุคคลย่อมเป็นผู้พ่ายด้วยอาบัติปาราชิกนั้น เพราะเหตุนั้น อาบัติ
ปาราชิกนั่น ท่านจึงกล่าวว่า ปาราชิก.
[วิเคราะห์สังฆาทิเสส]
ก็ในบทว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นอาทินี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้:-
การออกจากอาบัตินั้นใด ของภิกษุผู้ต้องอาบัตินี้แล้วใคร่จะออก สงฆ์
อันภิกษุนั้นพึงปรารถนา ในกรรมเบื้องต้นแห่งการออกจากอาบัตินั้น เพื่อ
ประโยชน์แก่การให้ปริวาส และในกรรมที่เหลือจากกรรมเบื้องต้น คือใน
ท่ามกลาง เพื่อประโยชน์แก่การให้มานัต หรือเพื่อประโยชน์แก่การให้มานัตต์
กับมูลายปฏิกัสสนะ และในที่สุดเพื่อประโยชน์แก่อัพภาน. ก็ในกรรมทั้งหลาย
มีปริวาสกรรมเป็นต้นนี้ กรรมแม้อย่างหนึ่ง เว้นสงฆ์เสีย อันใคร ๆ ไม่อาจ
ทำได้ ฉะนี้แล.
สงฆ์อันภิกษุพึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้น และในกรรมที่เหลือแห่ง
กองอาบัตินั้น เหตุนั้น กองอาบัตินั้น ชื่อว่าสังฆาทิเสส.
[วิเคราะห์อนิยต]
เนื้อความแห่งคาถาที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า อนิยโต น นิยโต มีความว่า เพราะไม่แน่ กองอาบัตินี้
จึงได้ชื่อว่าอนิยต.
คำที่ว่า ไม่แน่ นี้มีอะไรเป็นเหตุ ? เพราะสิกขาบทนี้ ปรับอาบัติ
ไม่จำกัดส่วนอันเดียว. อธิบายว่า สิกขาบทนี้ ปรับอาบัติโดยส่วนอันเดียวไม่ได้.
สิกขาบทนี้ ปรับอาบัติโดยส่วนเดียวไม่ได้อย่างไร ? อย่างนี้
บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอันใดอันหนึ่ง อันพระวินัยธรพึงปรับ.
จริงอยู่ ท่านกล่าวไว้ในอนิยตสิกขาบทนั้นว่าภิกษุนั้น อันพระวินัยธร
พึงปรับด้วยธรรม ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง. เพราะเหตุนั้น กองอาบัตินั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า อนิยต คือ กล่าวว่า ไม่แน่.
เหมือนอย่างว่า บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอันใดอันหนึ่ง ท่านกล่าวใน
กองอาบัตินั้น กองอาบัติ ชื่อว่าอนิยต ฉันใด, บรรดาฐานะ ๒ ฐานะอันใด
อันหนึ่ง ท่านกล่าวในกองอาบัติใด กองอาบัติแม้นั้น ก็ชื่อว่าอนิยตเหมือนกัน
ฉันนั้น.
[วิเคราะห์ถุลลัจจัย]
เนื้อความแห่งคาถาที่ ๔ พึงทราบดังนี้:-
บาทคาถาว่า อจฺจโย เตน สโม นตฺถิ มีความว่า บรรดาโทษ
ที่เป็นเทสนาคามี โทษที่ล่ำ เสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มี ด้วยเหตุนั้น ความ
ละเมิดนั้น ท่านจึงเรียกอย่างนั้น. อธิบายว่า ความละเมิดนั้น ท่านเรียกว่า
ถุลลัจจัย เพราะเป็นโทษล่ำ.
[วิเคราะห์นิสสัคคีย์]
เนื้อความแห่งคาถาที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-
หลายบทว่า นิสฺสชฺชิตฺวา ย เทเสติ เตเนต มีความว่า ความ
ละเมิดนั้น ท่านเรียกนิสสัคคิยะ เพราะต้องสละแล้วจึงแสดง.
[วิเคราะห์ปาจิตตีย์]
เนื้อความคาถาที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-
บาทคาถาว่า ปาเตติ กุสล ธมฺม มีความว่า ความละเมิดนั้น
ยังกุศลจิตกล่าวคือกุศลธรรม ของบุคคลผู้แกล้งต้องให้ตกไป เพราะเหตุนั้น
ความละเมิดนั้น ชื่อว่ายังจิตให้ตกไป เพราะฉะนั้น ความละเมิดนั้น ชื่อว่า
ปาจิตติยะ.
ก็ปาจิตติยะ ย่อมยังจิตให้ตกไป, ปาจิตติยะนั้น ย่อมผิดต่ออริยมรรค
และย่อมเป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต. เพราะเหตุนั้น คำว่า ผิดต่อ
อริยมรรค และคำว่า เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต ท่านจึงกล่าวแล้ว.
[วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ]
ในปาฏิเทสนียคาถาทั้งหลาย คำว่า ภิกษุเป็นผู้ไม่มีญาติ เป็นอาทิ
ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงความกระทำความเป็นธรรมที่น่าติ ซึ่งพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ. ก็อาบัตินั้น ท่านเรียกว่า
ปาฏิเทสนียะ เพราะจะต้องแสดงคืน.
[วิเคราะห์ทุกกฏ]
เนื้อความแห่งทุกกฏคาถา พึงทราบดังนี้:-
คำว่า ผิด แย้ง พลาด นี้ทั้งหมด เป็นคำยักเรียก ทุกกฏที่กล่าว
ไว้ในคำนี้ว่า ยญฺจ ทุกฺกฏ.
จริงอยู่ กรรมใด อันบุคคลทำไม่ดี หรือทำผิดรูป กรรมนั้น ชื่อว่า
ทุกกฏ. ก็ทุกกฏนั้นแล ชื่อว่าผิด เพราะเหตุที่ไม่ทำตามประการที่พระศาสดา
ตรัส ชื่อว่าแย้ง เพราะเป็นไปแย้งกุศล ชื่อว่าพลาด เพราะไม่ย่างขึ้นสู่ข้อ
ปฏิบัติในอริยมรรค.
ส่วนคำว่า ย มนุสฺโส กเร นี้ แสดงข้อควรเปรียบในทุกกฏนี้.
เนื้อความแห่งคำนั้นว่า มนุษย์ในโลก ทำบาปใด ในที่แจ้งหรือใน
ที่ลับ, บัณฑิตทั้งหลายประกาศบาปนั้นว่า ทุกกฏ ฉันใด, ทุกกฏแม้นี้ ก็ฉันนั้น
ชื่อว่าบาป เพราะเป็นกรรมลามก อันพระพุทธเจ้าทรงเกลียด เพราะเหตุนั้น
พึงทราบว่า ทุกกฏ.
[วิเคราะห์ทุพภาสิต]
เนื้อความแห่งทุพภาสิตคาถา พึงทราบดังนี้:-
บาทคาถาว่า ทุพภาสิต ทุราภฏฺมีความว่า บทใดอันภิกษุกล่าว
คือพูด เจรจาชั่ว เหตุนั้น บทนั้น ชื่อว่าอันภิกษุกล่าวชั่ว: อธิบายว่า บทใด
อันภิกษุกล่าวชั่ว บทนั้น เป็นทุพภาสิต.
มีคำที่จะพึงกล่าวให้ยิ่งน้อยหนึ่ง; ความว่า อนึ่ง บทใด เศร้าหมอง
บทนั้น เป็นบทเศร้าหมอง เพราะเหตุใด; อนึ่ง วิญญูชนทั้งหลาย ย่อมติ
เพราะเหตุใด; อธิบายว่า ท่านผู้รู้แจ้งทั้งหลาย ติบทนั้น เพราะเหตุใด.
บาทคาถาว่า เตเนต อิติ วุจฺจติ มีความว่า เพราะความเป็นบท
เศร้าหมอง และแม้เพราะความติแห่งวิญญูชนนั้น บทนั้น ท่านย่อมกล่าว
อย่างนั้น คือ บทนั้น ท่านกล่าวว่า ทุพฺภาสิต.
[วิเคราะห์เสขิยะ]
เนื้อความแห่งเสขิยคาถา พึงทราบดังนี้:-
พระอุบาลีเถระ แสดงความที่พระเสขะมี โดยนัยมีคำว่า อาทิ เจต
จรณญฺจ เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ในบทว่า เสขิย นี้ จึงมีเนื้อความสังเขป
ดังนี้ว่า นี้เป็นข้อควรศึกษาของพระเสขะ.
sithiphong:
พระภิกษุ ที่ต้องปาราชิก
ไม่มีทางที่จะกลับมาบวชใหม่ได้ ฉันใด
เหมือนต้นตาล ที่ไม่มียอด ไม่มีใบ ฉันนั้น
แต่หากยังครองผ้าเหลืองอยู่ ฉันใด
ยิ่งสร้างกรรมมากเป็นทวีคูณ ฉันนั้น
ดังนั้น ผู้ที่เข้าวัดทำบุญ มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ฉันใด
ต้องฉลาดและมีความรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของอลัชชี ฉันนั้น
.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version