ผู้เขียน หัวข้อ: ชีวประวัติ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน  (อ่าน 2704 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ แก้มโขทัย

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 376
  • พลังกัลยาณมิตร 192
  • แก้มโขทัย
    • ดูรายละเอียด
    • สืบอย่างเซียน โดย พล.ต.ต.วีระศักดิ์ มีนะวาณิชย์



ประวัติ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร)

         อินฺทสโรภิกฺขุ (ไข่) หรือที่รู้จักกันดีในหมู่นักสะสมพระเครื่องว่า หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน เป็นชาวแปดริ้ว บ้านเกิดอยู่บริเวณ ประตูน้ำท่าไข่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน หลวงปู่เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2402 ตรงกับขึ้น5 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรของนายกล่อม นางบัว จันทร์สัมฤทธิ์ มีพี่น้องกี่คนไม่ปรากฏ

        ขณะที่ท่าน อายุ 6 ขวบ(ประมาณ พ.ศ. 2408) บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์หลวงพ่อปาน วัดโสธร คือวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน เพื่อให้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อได้บรรพชาแล้วก็ได้หัดเทศน์มหาชาติและเทศน์ประชัน

         กล่าวกันว่าหลวงพ่อปู่ไข่ มีความสามารถในการเทศน์มหาชาติกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรีได้ไพเราะกังวานจับใจผู้ฟังยิ่งนักแม้ภายหลังเมื่อชราแล้ว ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิดก็มักจะได้ยินหลวงปู่ทบทวนการเทศน์มหาชาติ ทั้ง 2 กัณฑ์ ในตอนกลางคืนอยู่เสมอๆ

         ครั้นเมื่อหลวงพ่อปาน วัดโสธร มรณภาพแล้ว หลวงปู่ไข่ ได้ไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จนกระทั่งพระอาจารย์จวงมรณภาพ ขณะนั้นหลวงปู่ไข่ มีอายุได้ 15 ปี (ประมาณ พ.ศ.2417)

         ตามประวัติกล่าวว่าหลวงปู่ไข่ ได้เดินทางมากรุงเทพฯ ไปอยู่กับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ที่วัดหงส์รัตนาราม อำเภอบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี เพื่อเรียนพระปริยัติธรรม อีก 3 ปีต่อมา (ประมาณ พ.ศ.2420) หลวงปู่ไข่ ได้เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน ซึ่งอยู่ที่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร และได้เล่าเรียนปริยัติธรรมและพระวินัยจนอายุครบบวช (ประมาณ พ.ศ.2422) จึงได้อุปสมบทที่วัดนี้ โดยมี

                  พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์

                  พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์

                  พระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

อุปสมบทแล้วได้เดินทางไปเรียนพระกรรมฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ซึ่งอยู่ที่เชิงเขา แขวงเมืองกาญจนบุรี เรียนอยู่ระยะหนึ่งจึ่งกลับมาอยู่วัดลัดด่านตามเดิม

         ต่อมาหลวงปู่ไข่ ได้ออกธุดงค์ไปตามสำนักพระอาจารย์ต่างๆ ซึ่งอยู่ที่อำเภอโพธาราม เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี จากนั้นได้กลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกระยะหนึ่ง จึงได้ออกธุดงค์ไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์ในถ้ำที่เมืองกาญจนบุรีเป็นเวลาประมาณ 6 ปี (ราว พ.ศ. 2423 - 2429)

          ตามประวัติกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า "ท่านเล่าว่า ระหว่างอยู่ในถ้ำนั้น ตกกลางคืนจะมีสิงห์สาราสัตย์ต่างๆ เข้ามานอนล้อมกอด พอเช้ามืดต่างคนต่างออกไปหากิน ส่วนท่านก็จะออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตรประจำวัน (ท่านฉันหนเดียว)

         เมื่อท่านศึกษาอยู่ในถ้ำนั้นเป็นเวลานานพอสมควร เห็นว่าจะช่วยเหลือโลกได้บ้างแล้ว ท่านก็เดินธุดงค์ออกจากถ้ำไปในที่ต่าง ๆ โดยไม่ยอมขึ้นรถลงเรือ และไม่มีจุดหมายปลายทาง สุดแต่มืดที่ไหนก็กางกลดนอนที่นั่น เช้าก็ออกเดินธุดงค์ต่อไป

        ในระหว่างทางมีราษฎรมาขอความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด เรื่องตกทุกข์ได้ยาก หรือเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเป็นบ้าเสียจริต ท่านมีจิตเมตตาช่วยรักษาให้ตามที่อธิษฐานทุกคน" หลวงปู่ไข่ เดินธุดงค์อยู่ราว ๑๕ ปี (ประมาณ พ.ศ.๒๔๒๙ - พ.ศ.๒๔๔๔) เกียรติคุณของหลวงปู่ไข่ ได้เลื่องลือเข้ามาถึงกรุงเทพฯ

        จึงมีผู้นิมนต์มาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ ฝั่งธนบุรี เป็นเวลา ๑ ปี จากนั้นหลวงปู่ไข่ ก็ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรอีกหลายปี ในที่สุดหลวงปู่ไข่ ก็เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง เข้าใจว่าคงราว ๆ พ.ศ.๒๔๕๕ -พ.ศ.๒๔๖๑

        การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ครั้งนี้ หลวงปู่ไข่ ได้เลือกจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงเลน หรือวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร ทั้งนี้เพราะที่วัดบพิตรพิมุขมีพระภิกษุน้อย และมีคณะกุฏิ ซึ่งใช้เป็นที่เก็บศพ และบางครั้งก็มีชาวบ้านเข้ามาใช้เป็นที่ถ่ายอุจจาระด้วย ดังนั้นคณะกุฏินี้จึงเป็นสถานที่เงียบสงบ ไม่มีใครมารบกวนมากนัก หลวงปู่ไข่จึงเข้ามาอยู่ที่คณะกุฏิในป่าช้าของวัดบพิตรพิมุข สมัยนั้นพระภิกษุรูปใดจะเข้ามาอยู่วัดก็ได้โดยเสรี ไม่ต้องมีบัตรและไม่มีใครตรวจตรา ไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ถึงคราวเข้าปุริมพรรษา ก็บอกกล่าวเจ้าอาวาสให้รับทราบ เพื่อจะได้จำพรรษาที่วัดนั้น และเมื่อหลวงปู่ไข่ มาอยู่ที่วัดบพิตรพิมุขนั้น พระกวีวงศ์ (กระแจะ วสุตตโม ป.ธ.๔) เป็นเจ้าอาวาส

         ในระหว่างที่หลวงปู่ไข่ จำพรรษาอยู่ ณ วัดบพิตรมุข หลวงปู่ไข่ ได้ปฏิบัติทางธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ ได้แก่ สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมการทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น สร้างพระไตรปิฎก โดยหลวงปู่ไข่ ลงมือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝน ขึ้นภายในบริเวณวัด สร้างแท่นสำหรับนั่งพักภายในคณะกุฏิให้เป็นที่สะดวกแก่พระภิกษุสามเณรที่อาศัยอยู่ในคณะนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่า เมื่อครั้งหลวงปู่ไข่ จำพรรษาอยู่ตามหัวเมือง ก็ได้สร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ มาแล้วหลายแห่ง

         หลวงปู่ไข่ เป็นผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในคูณพระรัตนตรัย มีจิตสุขุมเยือกเย็นประกอบด้วยเมตตากรุณา มีจริยาวัตรอัธยาศัยเรียบร้อย เคร่งครัดในทางสัมมาปฏิบัติ เป็นที่เคารพนับถือแก่บรรดาศิษย์และผู้ที่รู้จักคุ้นเคยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอันมาก หลวงปู่ไข่เป็นพระที่สมณะใฝ่สันโดษ เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นนิตย์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร บรรดาศิษย์ของหลวงปู่ไข่ได้ป่วยก็มาหา หลวงปู่ไข่ก็จะแนะนำให้ไปซื้อยามาเสกให้กิน เมื่อมีเวลาว่างหลวงปู่ไข่ก็จะสร้างพระ ตะกรุด ธง และเหรียญออกแจกจ่ายแก่บรรดาศิษย์

         ราว พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงปู่ไข่ เตรียมบาตร กลด และย่ามเพื่อจะออกธุดงค์ แต่บรรดาศิษย์ทั้งที่เป็นข้าราชการ พ่อค้า ได้ปรึกษาหารือกันว่า หลวงปู่ไข่ ชราภาพมากแล้ว หากออกธุดงค์คราวนี้ไซร้คงจะไม่ได้กลับมาแน่ จึงได้นิมนต์ยับยั้งไว้ โดยขอให้หลวงปู่ไข่ อยู่วิปัสสนากรรมฐานแก่บรรดาศิษย์ต่อไป

         หลวงปู่ไข่ เริ่มอาพาธด้วยโรคชราตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ ครั้นวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ เวลา ๑๓.๒๕ น. ก็ถึงแก่มรณภาพ ก่อนเวลาที่จะมรณภาพ หลวงปู่ไข่ ได้ข่มความทุกข์เวทนาอยู่ในเวลานั้น ให้หายไปได้ ประดุจบุคคลที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ แล้วขอให้ศิษย์ที่พยาบาลอยู่ ประคองตัวให้ลุกขึ้นนั่ง และให้จุดธูปเทียนบูชาพระ เมื่อกระทำนมัสการบูชาพระเสร็จแล้วก็เจริญสมาธิสงบระงับจิต เงียบเป็นปกติอยู่ประมาณ ๑๕ นาที ก็หมดลมปราณ ถึงวาระสุดท้ายศิษย์ผู้คอยเฝ้าพยาบาลอยู่ จึงประคองตัวหลวงปู่ไข่ ให้นอนลง รวมอายุได้ ๗๔ ปี พรรษา ๕๔ พรรษา

         ตามปรกติที่วัดบพิตรพิมุข ไม่มีที่ประชุมเพลิงศพโดยเฉพาะ ด้วยเหตุนี้คณะสงฆ์เห็นว่าหลวงปู่ไข่ เป็นพระเก่าแก่ของวัด และมีผู้เคารพนับถือมาก จึงขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษเพื่อทำการประชุมเพลิงศพหลวงปู่ไข่ ที่บริเวณกุฏิ กำหนดประชุมเพลิงในวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. (คือประมาณ ๑๐๐ วันหลังจากมรณภาพ สมัยนั้น วันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ เมษายน)

         ในวันประชุมเพลิงศพ มีคนมาร่วมงานมากมาย ถึงกับล้นออกไปตามตรอกซอยและถนน พอถึงเวลาเคลื่อนศพเพื่อนำไปขึ้นเชิงตะกอน ทันใดนั้นเอง แผ่นดินบริเวณคณะได้เกิดไหวขึ้น คนตกใจถึงกับออกปากว่า อภินิหารของหลวงปู่ไข่ มีมากเหลือเกิน

เมื่อประชุมเพลิง แล้วสัปเหร่อได้จัดการแปรธาตุเก็บอัฐิ บรรดาศิษย์เข้าขออัฐิของหลวงปู่ไข่ ไปไว้บูชาเป็นจำนวนมาก

สืบอย่างเซียน เปิดแฟ้มคดีดัง พล.ต.ต.วีระศักดิ์ มีนะวาณิชย์

          http://peemza.siam2web.com/

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ชีวประวัติ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 01:01:40 am »
 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่กบ
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~