ผู้เขียน หัวข้อ: "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม" บทที่ ๒๕  (อ่าน 1379 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
บทที่ ๒๕ ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน

สติปัฏฐานธรรมเป็นธรรมที่เป็นความปกติตามธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน การปฏิบัติธรรมตามความเป็นปกติของธรรมชาตินั้นด้วยการ "พิจารณาธรรมทั้งปวงและพึงมีสติระลึกถึงความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" ถือเป็นการปฏิบัติธรรมที่ตรงต่อความเป็นจริงตามพุทธประสงค์และมิได้ถือว่าเหตุแห่งการที่ได้ปฏิบัติธรรมอย่างนี้เป็น "เหตุปัจจัย" ที่ทำให้ธรรมชาติที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตน "เกิดขึ้น" เพราะธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนนี้มันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้วด้วยความเป็นธรรมชาติของมันนั่นเองเป็นความมีอยู่ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นโดยที่มิได้เป็นธรรมชาติอันถือได้ว่าเป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น

 มันเป็นธรรมชาติที่มิได้ "เกิดเป็นธรรมชาติขึ้นเพราะ
 ได้อาศัยเหตุและปัจจัยแต่อย่างหนึ่งอย่างไร" เลย

 การพิจารณาธรรมเป็นเพียงแต่การทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงต่อความเป็นจริงแห่งธรรมชาติว่าแท้ที่จริงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งนี้มันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นซึ่งเป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว เป็นการพิจารณาเพื่อให้รู้ถึงความเป็นธรรมชาติที่มันเป็นของมันอยู่แล้วแบบนี้เสมอมา เพราะฉะนั้นธรรมชาติจึงเป็นของมันแบบนี้อยู่แล้วมันจึงมิได้เกิดขึ้นเป็นสภาวะธรรมเพราะเหตุและปัจจัยจากการที่เราได้พิจารณาธรรมแต่อย่างใด เมื่อรู้แล้วว่าธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่งนั้นคืออะไรเราก็พึงมีสติระลึกถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติที่มันเป็นแบบนี้ของมันอยู่แล้วตามธรรมชาตินั้น

เพราะธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันคงความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น "ความเป็นเช่นนั้นเองของธรรมชาติ" จึงเป็นธรรมชาติที่มิได้อาศัยความพรั่งพร้อมที่ประกอบไปด้วยความเป็นเหตุและผลแล้วธรรมชาตินี้จึงเกิดขึ้นได้ ก็เพราะธรรมชาติมันก็เป็นเช่นนั้นในความเป็นธรรมชาติของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วมันจึงปราศจากเหตุและปัจจัยใดๆมาตกแต่งเพื่อแสดงถึงคุณลักษณะในความเป็นธรรมชาติของมันได้อีกเลย มันจึงเป็นธรรมชาติที่มิใช่ภาวะที่มีหรือไม่มี มิใช่ภาวะที่เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น มิใช่ภาวะต้องปรากฏหรือไม่ปรากฏ

สติปัฏฐานธรรมเป็นธรรมที่ทำให้เราสามารถมีปัญญาพึงพิจารณาให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงถึงความเป็นธรรมทั้งปวงเพื่อ "สลัดออก" ซึ่งธรรมที่มีสภาพปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนทั้งหลายด้วยการพึงระลึกได้ถึงความเป็นปกติของธรรมอันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน ความหมายแห่งการสลัดออกจากธรรมที่มีสภาพความปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนได้แล้วนั้นจึงถือได้ว่ามันคือ "ความเป็นปกติของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" อยู่แล้วเช่นกัน การสลัดออกจากภาวะธรรมอันมีความหมายตรงกันข้ามนี้คือจากภาวะธรรมอันคือความปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนไปสู่ความเป็นปกติของธรรมอันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนี้มันก็เป็นเพียงการยืนยันว่าธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนี้มันมีอยู่มาก่อนแล้วตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีตามสภาพธรรมชาติที่แท้จริงแห่งมันแต่เพียงเท่านั้น

 แต่ความเป็นธรรมชาตินี้แห่งสติปัฏฐานธรรมมันมิได้เป็นสภาวะธรรมอันคือการต้องมีอยู่โดยสภาวะหรือไม่มีอยู่โดยสภาวะและมันก็มิได้หมายถึงเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาได้เพราะอาศัยเหตุและปัจจัยใดๆทั้งสิ้นรวมทั้งเหตุและปัจจัยจากการสลัดออกจากธรรมซึ่งคือธรรมที่มีความหมายตรงข้ามกัน ก็เพราะธรรมชาตินี้มันก็เป็นเช่นนั้นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วตามความหมายที่แท้จริงแห่งมันมาตั้งแต่เก่าก่อนและก็จะเป็นเช่นนี้ตลอดไปอยู่อย่างนั้น การสลัดออกก็เป็นไปเพื่อความเป็นปกติตามสภาพธรรมชาติที่แท้จริงของมันอยู่อย่างนั้นแต่เพียงเท่านั้น

“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร


หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
>> F/B เถรวาท สติปัฏฐานทั้งสี่
19 เมษายน เวลา 7:47 น.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2015, 12:17:14 am โดย ฐิตา »