ผู้เขียน หัวข้อ: ๑ นาที กับ พระไตรปิฏก หน้า ๕  (อ่าน 1070 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
๑ นาที กับ พระไตรปิฏก หน้า ๕
« เมื่อ: มีนาคม 29, 2015, 12:00:32 pm »
                   

๑ นาที กับ พระไตรปิฏก หน้า ๕

อาเนญชสัปปายสูตร
กามและกามสัญญา(ความคำนึงถึงกาม)เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นดินแดนของมาร ในกามนี้ย่อมมีอกุศลลามกเกิดในใจ คือ อภิฌชา พยาบาท สารัมภะ กามเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้

***************************************

ปุณโณวาทสูตร
รูปที่เห็นด้วยตา เสียงที่ได้ยินด้วยหู กลิ่นที่รู้ด้วยจมูก รสที่รู้ด้วยลิ้น สัมผัสที่รู้ด้วยกาย และธรรมารมณ์(ความคิด)ที่รู้ด้วยใจ อันมีความน่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ เป็นที่รัก เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด หากบุคคลวางใจไว้ไม่ดี ไม่ทันท่วงทีแล้วไซร้ เกิดติดใจย่อมก่อให้เกิดทุกข์ เพราะนันทิ คือ ความเพลิดเพลินติดใจ เกิดขึ้นเมื่อใด ทุกข์ย่อมเกิดนันทิ คือ ความเพลิดเพลินติดใจ ดับไปเมื่อใด ทุกข์ย่อมดับ

***********************************************

สฬายตนวิภังคสูตร
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ธรรมที่ควรละ คือ อวิชชาและตัณหาธรรมที่ควรเจริญ คือ สมถะวิปัสสนาธรรมที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชาและวิมุตติ

************************************************   

เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
สัญญา ที่สหรคต(ผสม)ด้วย อภิฌชา พยาบาท ความเบียดเบียน เมื่อเสพแล้ว อกุศลย่อมเจริญยิ่งขึ้นทำให้กุศลธรรมเสื่อมไป ดังนั้นไม่ควรเสพทิฐิที้เห็นว่า ทานไม่มีผล กรรมดี-กรรมชั่วไม่มี คุณบิดา-มารดาไม่มี เทวดา นรก-สวรรค์ โลกนี้ โลกหน้าไม่มี เบียดเบียนเมื่อเสพแล้ว อกุศลย่อมเจริญยิ่งขึ้น ทำให้กุศลธรรมเสื่อมไป ดังนั้นไม่ควรเสพ

*****************************************************     

ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
ภิกษุพึงพิจารณาว่า เรากำหนดรู้อุปาทานขันธ์๕ได้แล้วหรือหนอ ภิกษุพึงพิจารณาว่า เราละกามคุณ๕ นิวรณ๕ได้แล้วหรือหนอ ภิกษุพึงพิจารณาว่า เราเจริญสติปัฏฐาน๔ อิทธิบาท๔ อินทรีย์๕ โพฌชงค์๗ มรรค๘ได้แล้วหรือหนอ ภิกษุพึงพิจารณาว่า เราทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้งแล้วหรือหนอ

******************************************************

ภัทเทกรัตตสูตร
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง บุคคลย่อมไม่คลอนแคลนในธรรมปัจจุบัน บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้วอย่างไร คือไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆว่า เราได้รูป เวทนา สัญญา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างนี้ในกาลที่ล่วงมาแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึงอย่างไร คือไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆว่า เราได้รูป เวทนา สัญญา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างนี้ในกาลอนาคต บุคคลย่อมไม่คลอนแคลนในธรรมปัจจุบันอย่างไร คือย่อมไม่เล็งเห็น รูป เวทนา สัญญา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นอัตตา ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูป เวทนา สัญญา สัญญา สังขาร วิญญาณ

********************************************************

คณกโมคคัลลานสูตร
พราหมณ์ได้ทูลถามว่า สาวกของพระผู้มีพระภาค ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาย่อมยินดีในนิพพานทุกคนหรือไม่พระผู้มีพระภาคตอบว่าบางพวกเพียงส่วนน้อยที่ยินดีในนิพพาน ในเรื่องนี้ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกทางให้

**************************************************

โคปกโมคคัลลานสูตร
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑๐ ประการ ย่อมควรแก่การสักการะนับถือ ได้แก่เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร,บิณฑบาต,เสนาสนะ, และคิลานปัจจยเภสัชบริขารเป็นผู้ได้ฌาน๔ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้ เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ เป็นผู้สิ้นอาสวะ

*******************************************************

อานาปานสติสูตร
ภิกษุผู้เจริญอานาปานสติแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน๔ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐาน๔แล้วทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพฌชงค์๗ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุผู้เจริญโพฌชงค์๗แล้วทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้

********************************************************

ธาตุวิภังคสูตร
ปัญญา คือความรู้เข้าไปในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาประเสริฐยิ่ง จาคะ คือความสละคืนความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวงเป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อุปสมะ คือความสงบรำงับ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นอุปสมะอันประเสริฐยิ่งสัตตบุรุษประกอบด้วยธรรมของสัตตบุรุษคือ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก มีความเพียร มีสติ มีปัญญาสัตตบุรุษประกอบด้วย คิดของสัตตบุรุษ คือ ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น สัตตบุรุษประกอบด้วยธรรมของสัตตบุรุษคือ กุศลกรรมบท๑๐ มีสัมมาทิฐิ สัตตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตตบุรุษคือ ให้ทานโดยเคารพ ให้ทานของบริสุทธิ์ มีความเห็นว่าทานที่ให้แล้วมีผล จึงให้ทาน

*******************************************************
นครวินเทยยสูตร
สมณพราหมณ์เหล่าใด ปราศจากความกำหนัด ขัดเคือง ลุ่มหลง ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ แล้วมีจิตสงบอยู่ภายใน มีความสงบกาย สงบวาจา สงบใจ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ควรแก่การสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

*********************************************************

พาลบัณฑิตสูตร
คนพาลผู้ตกไปสู่นรกคราหนึ่ง จะมีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง ยากกว่าการที่เต่าตาบอดตัวหนึ่งอยู่ในท้องมหาสมุทรร้อยปีจึงโผล่ขึ้นมาครั้งหนึ่ง พอดีขึ้นมาคล้องสวมคอกับบ่วงอันหนึ่งที่ผูกติดกับทุ่น ถูกลมพัดไปมาลอยอยู่ในมหาสมุทร และแม้มาเกิดเป็นมนุษย์ได้เป็นบางครั้งบางคราว ย่อมเกิดในสกุลต่ำ มีข้าวน้ำโภชนาหารน้อย มีชีวิตลำบาก มีผิวพรรณทราม มีโรคมาก พิการไม่สมประกอบ ฯลฯ เขาจะประพฤติทุจริตทาง กาย วาจา ใจ เมื่อตายไปก็กลับเข้าสู่อบาย ทุคติ วินิบาต นรก นั้นอีก

พระไตรปิฏกฉบับย่อ ผู้เขียน น้ำใส
http://study.vcharkarn.com/blog/42898/16037