ถ้าได้รับการอบรมมาจากครอบครัว , วงศ์ตระกูล และสถาบันการศึกษา แล้ว
คงไม่มีการทำพฤติกรรมแบบนี้
-----------------------------------------------------------------------------
10 พฤติกรรมการขับรถสุดปวดตับ ที่เจอบ่อยบนถนนในเมืองไทย
-http://car.kapook.com/view126704.html-
คุณใช้เวลากี่ชั่วโมงต่อวันบนท้องถนน ? เชื่อว่าคำตอบของแต่ละคนจะใช้เวลาไม่เท่ากัน แต่มีผลสำรวจเมื่อต้นปี 58 ว่าคนไทยใช้เวลาบนท้องถนนเฉลี่ย 20 ชม. ต่อสัปดาห์ หรือราว ๆ 2 ชม. 30 นาทีต่อวัน
แต่ใช่ว่าจำนวนรถที่เยอะจะเป็นต้นเหตุของรถติดเพียงอย่างเดียว วันนี้เราจึงมาเปิด 10 พฤติกรรมสุดปวดตับ ที่เจอบ่อยในถนนเมืองไทย ทั้งปัญหาวินัยจราจรและพฤติกรรมการขับขี่ที่ก่อให้เกิดปัญหารถติด รวมถึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ #ขับรถแย่แก้ไม่ยาก #ToyotaCampusChallenge
1.จอดตรงไหนก็ได้ แค่เปิดไฟฉุกเฉิน?!?!
เคยบ้างไหมที่ขับตามกันมาอยู่ ๆ เปิดไฟฉุกเฉินแล้วเดินลงจากรถไปเสียอย่างนั้น พบเห็นได้บ่อยมาก ที่ริมทางมีร้านอาหารเจ้าดังหรือมินิมาร์ทสะดวกซื้อ
ทำให้รถที่ขับตามมาต้องเบี่ยงเลนออก เสี่ยงอุบัติเหตุ เสียการจราจรไปหนึ่งช่อง แค่สักพักเดี๋ยวรถก็เริ่มติดตามมาแน่นอน
2.เปลี่ยนเลน ไม่เปิดไฟเลี้ยว
นี่เป็นอีกสาเหตุที่มักก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ทั้งการเปลี่ยนเลน เลี้ยวเข้าซอย และบ่อยครั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาแล้วมาเปิดไฟเลี้ยวทีหลังเพราะกลัวความผิดเสียอย่างนั้น
3.ขับรถคล่อมเลนไปมา
การที่ขับคร่อมเลนกินพื้นที่จราจร จะซ้ายไม่ซ้าย จะขวาไม่ขวา ทำให้รถคันหลังก็ไม่สามารถเดาทางได้ รวมไปถึงการคร่อมเลนเวลาเลี้ยวไม่ควรกินซ้ายหรือขวา เพราะอาจไปเบียดกับรถเลนอื่น
4.เปิดไฟตัดหมอก โดยไม่จำเป็น
เรื่องเปิดไฟตัดหมอกพบบ่อยเอามาก ๆ โดยชุดไฟตัดหมอกมีความสว่างจ้ากว่าปกติ รบกวนสายตาของเพื่อนร่วมทาง หลายคนบอกว่าแสงวาบที่สวนมา ทำตาพร่าไป 2-3 วินาทีเลยทีเดียว เชื่อเถอะว่าประเทศไทยนับครั้งได้ที่เจอหมอก ใครที่ชอบเปิดเพราะว่าสวยงามอยากให้คิดใหม่ ระวังโดนข้อหาเปิดไฟตัดหมอกหน้า-หลัง โดยไม่มีเหตุอันควร จับปรับ 500 บาท
5.ขับหรือจอดรถ บนทางเท้า
ตำรวจจราจรเองกวดขันกันอยู่บ่อย ๆ เพราะไปรบกวนผู้เดินสัญจรบนทางเท้า อย่าเอาความสะดวกสบายของตัวเองเป็นหลัก แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีพบเจอกันบ่อย ๆ
6.ปาดหน้าแซงคิว เส้นทึบไม่สน
โดยปกติแล้วทางคับขัน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นจุดเสี่ยง จะมีการตีเส้นทึบบอกห้ามเปลี่ยนเลนตัวอย่างเช่น คอทางขึ้นสะพาน เลนยูเทิร์น และทางเบี่ยงเลน แต่ก็บ่อยครั้งจะเจอคนขับนิสัยมักง่ายขับแทรก ปาดหน้าเอาไว ไม่คิดต่อแถว เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ ก่อปัญหารถติดหนักกว่าเดิม
7.ขับช้าแช่ขวา
เรื่องนี้เจอบ่อยแถมผู้มีพฤติกรรมแบบนี้จะมีข้ออ้างผิด ๆ อย่าง "ใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนดแล้ว" แต่ควรรู้เพิ่มเติมไว้ด้วยว่า พ.ร.บ.จราจร มาตรา 34 และมาตรา 35 เขียนไว้ชัดเจนว่า เลนขวามีไว้สำหรับแซงและเมื่อมีรถที่เร็วกว่า ต้องหลบซ้ายเท่าที่กระทำได้ สรุปให้ได้ง่าย ๆ หากมีใครมาต่อท้ายคุณเมื่ออยู่เลนขวาสุด ก็ควรเบี่ยงหลบให้เขาไปครับ
8.ขับรถจี้ท้ายคันหน้า
การขับจี้ท้ายคันหน้านั้นเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายมาก ๆ เพราะระยะเบรกนั้นไม่พอ และรู้ไหมว่าผู้ชนท้ายนั้นผิดเสมอจากข้อหาขับรถโดยประมาท โดยอิงจาก พ.ร.บ.จราจร มาตรา 40 ที่บอกไว้ชัดเจนว่า ควรเว้นระยะให้ห่างจากคันหน้าตามระยะเบรกที่ปลอดภัย
9.เปิดเลนถนนเอง
ยามรถติดเรามักเจอปัญหานี้บ่อย ๆ เพราะเห็นเลนที่สวนมานั้นว่าง ก็ถือวิสาสะเปิดเลนหรือผู้ที่ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์กินเลนมาก็เจอบ่อยครั้ง เกิดอุบัติเหตุขึ้นไม่คุ้มเอาเสียเลย
10.ไม่ทำตามเครื่องหมายจราจร
คนขับรถทุกคนควรสังเกตเครื่องหมายจราจรให้ดีไม่ว่าชนิดป้ายหรือสัญลักษณ์บนทาง ซึ่งในบางทางแยกก็มีกำกับไว้แล้วว่าเลนบังคับตรง แต่บ่อยครั้งก็พบเจอรถมาจอดรอเลี้ยว หรือห้ามยูเทิร์นก็ฝ่าฝืนกันบ่อย ๆ ส่งผลให้การจราจรติดขัด
ตัวอย่างทั้ง 10 ข้อที่ยกมานั้นถือเป็นความผิดที่ชัดเจนและพบเจอบ่อยมากบนถนนเมืองไทย เอาจริง ๆ หากตำรวจจราจรกวดขันก็คงไม่มีใครกล้าทำผิด แต่ด้วยถนนนั้นมีมากมายลำพังตำรวจจราจรก็คงกวดขันไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด
จะดีกว่าไหมถ้าเรามาปลูกฝังจิตสำนึกการขับขี่ที่มีวินัย โดยเริ่มจากกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งทางโตโยต้า ได้สนับสนุนระเบียบวินัยการขับขี่ผ่านกิจกรรม Toyota Campus Challenge 2015 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขับขี่เริ่มจากจุดเล็ก ๆ อย่างในรั้วมหาวิทยาลัย
โดยกิจกรรม Toyota Campus Challenge 2015 เปิดรับสมัครเป็นรูปแบบของทีม 4 คน ให้น้อง ๆ นักศึกษา ส่งไอเดียเข้ามาประกวดออกแบบแผนการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ในหัวข้อ "สร้างความปลอดภัยบนท้องถนนในรั้วมหาวิทยาลัย"
ส่วนผู้ชนะเลิศในโครงการนี้ จะได้ทริปทัศนศึกษาประเทศญี่ปุ่น 5 วัน (ระหว่างวันที่ 11-18 พฤศจิกายน 2558) และทุนการศึกษา 50,000 บาท/ทีม พร้อมโอกาสฝึกงานที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด