ผู้เขียน หัวข้อ: เหล่าจื่อ จวงจื่อ เลียจื่อ  (อ่าน 1770 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
เหล่าจื่อ จวงจื่อ เลียจื่อ
« เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2015, 05:42:52 pm »


แนะนำ
1 ใน 3 คัมภีร์เต๋าที่ดีที่สุด และเป็นเล่มที่
แปลเป็นภาษาไทยสมบูรณ์ที่สุด แปลครบ
ตามต้นฉบับเดิมที่มีจุดเด่นสำคัญๆ ของ
คัมภีร์นี้อยู่ที่นิทานสั้นๆ จำนวนมาก ที่อ่าน
แล้วเต็มไปด้วยชีวิตชีวา เป็นคัมภีร์สำคัญที่
ต้องอ่าน ทีข้อมูลแตกแยกย่อยเพิ่มเติม
จากคัมภีร์เต๋าเล่มอื่น ทำให้เรื่องยากๆ
หลายเรื่องในคัมภีร์เต๋าเล่มอื่น เป็นเรื่องที่
เข้าใจชัดเจนมากขึ้น

สารบัญ
บทที่ 1 พรแห่งน้ำ ........................1
บทที่ 2 หวงตี้ ..............................29
บทที่ 3 โจวมู่หวัง........................ 69
บทที่ 4 ขงจื่อ ..............................89
บทที่ 5 กษัตริย์ทัง................... 113
บทที่ 6 พละและชะตา.............   145
บทที่ 7 หยังจู............................   169
บทที่ 8 รอยบรรจบ...................   197

จาก http://thaispecial.com/bookshop/newbookpreviewx.asp?booklist=9743411283
 
แม้ ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ จะกล่าวในบรรทัดแรกของคำนำหนังสือ "คัมภีร์เต๋าของจวงจื่อ" ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สร้างสรรค์ ของ ประสิทธิ์ รุ่งเรืองรัตนกุล ว่า
"หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ไม่มีประโยชน์"

แต่ความเป็นจริงอันปรากฏในกาลต่อมาสำหรับ ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ ก็คือ เขามีผลงานอันเกี่ยวกับลัทธิเต๋าออกมาอีก 2 เล่ม
1 คือ คัมภีร์เต๋าของเหลาจื่อ
1 คือ คัมภีร์เต๋าของเลียจื่อ

เมื่อผนวกรวมกับคัมภีร์เต๋าของจวงจื่อ เท่ากับว่าผลงานระดับ "คลาสสิก" ของเหล่าจื่อ จวงจื่อ เลียจื่อ อันถึงว่าเป็น "สดมภ์หลัก" แห่งลัทธิเต๋าล้วนผ่านการแปลและเรียบเรียงโดย ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ มาแล้ว

ทั้งยังเป็นการแปลจากภาษาจีนโดยตรง
ทั้งยังเป็นภาษาจีนอย่างชนิด "โบราณ" มิได้เป็นการ "ปรับแต่ง" ให้สมสมัย

จึงเท่ากับเป็นการย้อนถามไปยัง ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ ผู้สอนภาษาจีนแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าที่เสนอประเด็นว่า "หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือไม่มีประโยชน์" นั้นจริงหรือ
มีหรือไม่มีก็ขอให้ลองอ่านเรื่องราวต่อไปนี้

ผู้เพียรเค้นสติปัญญาเพื่อพยายามรวมสรรพสิ่งเป็นหนึ่ง
โดยมิสำเหนียกรู้ว่า ทุกสิ่งล้วนเป็นหนึ่งอยู่แล้ว
กรณี "เช้าสาม" เป็นฉันใดเล่า

สาธยายได้ดังนี้
ผู้ฝึกวานรจะป้อนแจกลูกเกาลัดได้กล่าวขึ้นว่า "ตอนเช้าจะให้สามลูก ตอนเย็นให้สี่ลูก"
หมู่วานรล้วนพากันโกรธขึ้งไม่พึงพอใจ
ผู้ฝึกจึงกล่าวแก้ว่า "ถ้าเช่นนั้น ตอนเช้าจะให้สี่ลูก ตอนเย็นให้สามลูก"

ฝูงลิงนั้นได้ฟังต่างก็ยินดีปรีดากันทั่ว
ทั้งโดยนามธรรมและโดยรูปการ
ไม่มีอะไรที่เปลี่ยนแปลง
แต่ก็บันดาลให้เกิดความโกรธ หรืออารมณ์ยินดีต่างกันออกไป ด้วยการพลิกผันไปตามเหตุปัจจัย
โดยเยี่ยงนี้

ผู้เป็นปราชญ์จึงประมวลความผิดและความถูกเข้าด้วยกัน แล้วสงบอยู่ในดุลยภาพแห่งสวรรค์
นี่แลที่เรียกว่า "การก้าวย่างบนทางคู่"

เรื่องราวเดียวกันนี้เมื่ออ่านหนังสือมนุษย์ที่แท้ มรรควิถีของจางจื๊อ อัน ส.ศิวรักษ์ แปลและเรียบเรียงจากภาษาอังกฤษของ โทมัส มอร์ตั้น

ก็ได้รสชาติการสังเคราะห์ไปอีกแบบ
คำพูดทั้งสองนี้เหมือนกันนั่นเอง เพราะจำนวนเกาลัดก็ยังคงเท่าเดิม แต่ในกรณีแรก สัตว์เหล่านั้นไม่พอใจ

ส่วนในกรณีหลังพากันพอใจสิ้น
คนเลี้ยงเพียงแต่เปลี่ยนคำพูดเพื่อให้ผลอันพึงประสงค์ โดยไม่สูญเสียอะไรเลย

ผู้รู้ที่แท้จริง พิจารณาปัญหาทั้งสองแง่โดยไม่ยึดแง่ใดแง่เดียว ย่อมเห็นทั้งสองแง่ตามทรรศนะแห่งเต๋า
นี้เรียกว่า เดินตามทางทั้งสองในขณะเดียวกัน

(กล่าวคือ ในระดับหนึ่ง ทางของเต๋าคือทางของเทพ ในอีกระดับหนึ่ง ทางของเต๋าคือทางธรรมดาสามัญอันมนุษย์ดำเนินอยู่ในชีวิตประจำวัน)

เช่นเดียวกับที่หนังสือ ปรัชญาในนิทานเต๋า สำนวนแปล โชติช่วง นาดอน ขมวด
จะกิน "เช้าสี่เย็นสาม" หรือกิน "เช้าสามเย็นสี่" ที่แท้จำนวนก็เท่ากัน แต่ความพอใจ ความโกรธของลิงกลับถูกประโยชน์เฉพาะหน้าครอบงำ
คนเราก็มักเป็นเช่นนี้ มิใช่หรือ

หากอ่านจำเพาะคัมภีร์เต๋าของจวงจื่อ สำนวน ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์
อาจถูกตรึงให้อยู่กับ "ก้าวย่างบนทางคู่"

กระนั้น ส.ศิวรักษ์ ก็อาศัยอรรถกถาจาก โทมัส มอร์ตั้น มาช่วยอีกแรง 1
เช่นเดียวกับ การตีความปรัชญาโดยสำนวนแปลของ โชติช่วง นาดอน
ตถตา เป็นเช่นนั้น


(ที่มา:มติชนรายวัน 21 ก.ค.2557)
>>> G+ small mod (สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่า มด)
Shared publicly  -  May 14, 2015