คลังธรรมปัญญา > หนังสือธรรมะ

รพินทรนาถ ฐากูร :คีตาญชลี

<< < (2/2)

ฐิตา:
              ชีวิตครอบครัวของรพินทรนาถ เริ่มขึ้นเมื่อ อายุ 22 ปี โดยได้แต่งงานกับ มฤณาลิณี เทวี จากนั้นก็เริ่มเขียนหนังสืออย่างจริงจัง รวมทั้งเขียนบทละครด้วย ในทรรศนะของเขา บทละคร คือการแสดงออกซึ่งความคิดเป็นสำคัญ ไม่ใช่การบรรยาย อากัปกิริยา เขายังได้ร่วมแสดงด้วยหลายเรื่อง

- กลุ่มดาวไม่ละอายเลยว่า มันจะปรากฎออกมาในลักษณะเดียวกับฝูงหิ่งห้อย
- นกกระจอกสงสารนกยูง ที่ต้องทนแบกน้ำหนักหางของตนเอง
- "ใครนั่นจะรับช่วงภาระของข้า" อาทิตย์อัสดงร้องถาม

                     ในฤดูร้อนของเบงกอล มีคนตายเพราะพิษแดดทุกปี รพินทรนาถจะหลบไปตากอากาศแถบเชิงเขาที่ไหนสักแห่ง และเขียนหนังสืออยู่ภายใต้หลังคาเตี้ยๆ ภายในห้องซึ่งมีเครื่องเรือนราคาถูกๆ และบ่อยทีเดียวที่ไม่ใช้พัดลม เขาชี้แจงว่า พลเมืองจำนวนหนึ่งในสามประเทศก็มีความเป็นอยู่กันเช่นนั้น อาหารของเขาใส่จานหินอ่อนสวยงาม ตามวิสัยของผู้รักความประณีต แต่ก็เป็นอาหารที่แสนจะธรรมดาทั่วไป ส่วนเสื้อผ้าที่แลดูสง่าก็ตัดเย็บด้วยผ้าพื้นเมือง   เขาไม่ชอบที่จะทำตัวให้เป็นภาระของใคร แม้จะกับคนในครอบครัวเดียวกันก็ตาม รพินทรนาถ นิยมสิ่งเรียบง่าย....

             หลังจากใช้ชีวิตร่วมกับ ภรรยาได้ 19 ปี มีลูก 5 คน มฤณาลิณี เทวี ผู้เป็นภรรยา ก็ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. 2445 รพินทรนา๔ได้เขียนบทกวีขึ้นเพื่อเป็นเครื่องรำลึกถึงความหลัง ให้ชื่อว่า " สมรณะ" หมายถึง ความทรงจำ และแทนที่จะท้อแท้สิ้นหวัง เขากลับประกาศชัยชนะ ออกมาว่า
              " แต่วันนี้ฉันตระหนักว่า เราทั้งสองได้พบกันแล้ว ณ ส่วนลึกแห่งหัวใจ "

                   อีกหกเดือนต่อมาแพทย์มีคำสั่งให้นำ เรณุกา ลูกสาวคนที่สองของเขาไปรักษาตัวยังโรงพยาบาลบนภูเขา และขณะที่อยู่เป็นเพื่อนลูกสาว รพินทรนาถได้ปลีกเวลาเขียนบทกวีเรื่อง "ศิศ" หมายถึงเด็กๆ    ส่งมาให้ญาติอ่านให้ลูกชายคนสุดท้องชื่อ สมินทรนาถ วัยแปดขวบฟัง ตอนนั้นเขาอายุ 42 ปี แล้ว จึงสามรถเขียนได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง ภายหลังได้แปลบางส่วนออกเป็นภาษาอังกฤษ โดยให้ชื่อว่า The Crescent Moon หรือ "จันทร์เสี้ยว" นั่นเอง

                 ชีวิตส่วนตัวของรพินทรนาถ ทุ่มเทให้กับลูกๆ อย่างเต็มกำลังสามรถ เขาทำหน้าที่ทั้งพ่อและแม่ในเวลาเดียวกัน บทเพลงที่เห่กล่อม นิยายสั้นๆ ที่เล่าให้ลูกๆฟังของเขา ได้กลายเป็นวรรณกรรมอันบริสุทธิ์งดงาม
                  มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ติดตามงานเขียนของรพินทรนาถมาโดยตลอด จนในที่สุดก็ลงมติให้คณะผู้แทนนำเอาปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มามอบให้ถึงมหาวิทยาลัยวิศวภารตี เมื่อปี พ.ศ. 2483
                 จากนั้น รพินทรนาถ ต้องเดินทางไปรักษาตัว เกี่ยวกับโรคกระเพาะปัสสาวะที่ กาลิมปอง   ซึ่งเป็นเมืองอยู่ที่เชิงเขาหิมาลัย หลังจากกลับมาแล้วอาการก็ยังไม่ดีขึ้น แพทย์วินิจฉัยให้ไปรักษาในเมืองกัลกัตตา หลังผ่าตัดรพินทรนาถมือสั่นจนเขียนหนังสือไม่เป็นตัว แต่ทว่าสมองยังคงแจ่มใสโลดแล่น
               รุ่งเช้าของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2484 เขาอาศัยบอกปากเปล่าให้เลขานุการจดบันทึก บทกวีชิ้นสุดท้าย ซึ่งจบลงในวรรคที่ว่า....

             "รางวัลชิ้นสุดท้าย ซึ่งเขานำไปรวมไว้ในที่เก็บของ คือ สิทธิอันมิอาจทำลายได้ มันหมายถึงสิทธิที่จะพักผ่อนอย่างสงบ...."                                     

            รพิทรนาถ ฐากูร มหากวี หลับตาลงชั่วนิรันดร์ ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ณ คฤหาส์นหลังเดียวกับที่ท่านได้ถือกำเนิดมา เมื่อ 80 ปี ก่อนโน้น.

" การพักผ่อนเป็นสมบัติของการทำงาน
เช่นเดียวกับที่เปลือกตาเป็นสมบัติของดวงตา "
                                                  รพินทรนาถ ฐากูร.

http://www.baanjomyut.com/library/tagore/page6.html

ฐิตา:


ท่านรพินทรนาถนักปราชญ์ใหญ่
ได้เล่าเรื่องราวไว้ว่าวันหนึ่ง
เด็กน้อยนั่งดูฟ้าพาคำนึง
อยากจะไปให้ถึงที่สุดฟ้า

พลันขนนกสีขาวค่อยคว้างหล่น
ร่วงลงริมร่มสนบนเนินหญ้า
เด็กน้อยดีใจรีบไขว่คว้า
หยิบขึ้นมาปัดแก้มแย้มยินดี

“แน่แล้วนี่ปุยเมฆละมุนละไม
จากฟ้าไกลร่วงถลามาถึงนี่
ช่างสะอาดบอบบางออกอย่างนี้
ใครจะมีโชคบ้างเหมือนอย่างเรา”

ดีใจได้ของดีวิเศษสุด
มีค่ากว่ามงกุฎสักร้อยเท่า
เด็กน้อยหยิบกลีบเมฆอันบางเบา
รีบวิ่งคืนสู่เหย้าในทันใด

ร้องเรียกแม่... “แม่แม่..แม่จ๋า
แม่มาดูซี นี่เห็นไหม
ทายซิว่าของดีนี่อะไร
หนูเก็บได้ให้แม่...แม่ดูซิ”

เด็กน้อยย่องมายังข้างหลังแม่
“แม่ต้องชอบแน่แน่...แม่ดูสิ...”
ขนนกปัดแก้มแม่ค่อยแจ๊ะจิ๊
เด็กน้อยยิ้มแก้มปริดีใจนัก

แม่กำลังทำงานอันหนักหนา
ดึงขนนกกระชากมาแล้วปาปัก
“ไปเก็บของอะไรมาไม่น่ารัก
ไม่รู้จักขนนกสกปรกจริง!”

นับตั้งแต่บัดนั้นถึงบัดนี้
เด็กน้อยได้อะไรดีมีค่ายิ่ง
ไม่ให้แม่ได้รู้ดูติติง
เราทอดทิ้งเด็กของเรามากเท่าไร!

...เราทอดทิ้งเด็กของเรามากเท่าไร!...
‪#‎บทกวี‬ ‪#‎เนาวรัตน์พงษ์ไพบูลย์‬ ‪#‎หยุดสักนิดคิดสักหน่อย‬
#‎เรื่องสั้นวันเด็ก‬ ‪#‎เสาร์9มกราคม2559‬ ‪#‎ภาพ‬ ‪#‎ประคองกูลพงษ์ไพบูลย์‬


Happy Little Eyes ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ลงในอัลบั้ม: • รวมภาพ
• ข้อคิด บทกวี ดี๊ดี • กวีเฟซบุ๊ค & เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ^^

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version