ผู้เขียน หัวข้อ: คติธรรม คำสอน :ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต  (อ่าน 9079 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




คติธรรม คำสอน :ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต

"ให้รู้สึกว่าเคราะห์นั้นทำให้เราดีขึ้น
เป็นครูของเรา เป็นผู้เตือนเรา เป็นผู้ลวงใจเรา
อย่าเห็นว่าเคราะห์กรรมเป็นของเลว ไม่น่าปรารถนา
ควรคิดว่าเป็นของดีที่ทำให้เราเข้มแข็งมั่นคงขึ้น
ให้รู้สึกเสมอว่า เราเกิดมาเรียนทั้งเคราะห์ร้ายและเคราะห์ดี
...
เคราะห์เป็นบทเรียนของเรา ที่จะทำให้เราแจ้งโลก แล้วจะได้พ้นโลก
ดังนี้ จะไม่รู้จักเคราะห์ร้ายเลยในชีวิต"



อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจ ไว้ในใจ
................ มันจะเคยตัว
ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอ ออดแอด
ทำอะไรผิดพลาด นิดๆหน่อยๆ
ก็ไม่สบายใจ จนเคยตัว

ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต



หน้า 17/23
-http://board.palungjit.com/f63/แนวทางปฏิบัติธรรมของ-หลวงปู่ต่างๆ-124493-17.html


ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: คติธรรม คำสอน :ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2012, 03:20:32 pm »
--------------------------------------------------------------------------------
 

อย่าเลี้ยงความไม่สบายใจ

คำว่า "ไม่สบายใจ" อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป
"Let it go and get it out !"
ก่อนมันจะเกิดต้อง "Let it go"
ปล่อยให้มันผ่านไป อย่ารับเอาความไม่สบายใจไว้

ถ้าเผลอไปมันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้
พอมีสติรู้สึกตัวว่า ความไม่สบายใจเข้ามาแอบอยู่ในใจ
ต้อง Get it out ! ขับมันออกไปทันที
อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจไว้ในใจ มันจะเคยตัว
ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอออดแอด

อะไรผิดพลาดนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่สบายใจ เคยตัว
เพราะความไม่สบายใจนี้แหละ เป็นศัตรู เป็นมาร
ทำให้ใจไม่สงบ ประสาทสมองไม่ปกติ
เป็นเหตุให้ร่างกายผิดปกติ พลอยไม่สงบไม่สบายไปด้วย
ทำให้สมองทึบไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส เป็น habit ความเคยชินที่ไม่ดี
เป็นอุปสรรคกีดกั้นขัดขวางสติปัญญาไม่ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส

ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจเสียใหม่
ทั้งก่อนที่จะทำอะไรหรือกำลังกระทำอยู่
และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว ต้องหัดให้จิตใจแช่มชื่นรื่นเริง
เกิดปีติปราโมทย์ เป็นสุขสบายอยู่เสมอ
เป็นเหตุให้เกิดกำลังกาย กำลังใจ
"Enjoy living" มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน
จะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจง่าย
เหมือนดอกไม้ที่แย้มบานต้องรับหยาดน้ำค้าง
และอากาศอันบริสุทธิ์ฉะนั้น

คนเราเมื่อมีลาภก็เสื่อมลาภ เมื่อมียศก็เสื่อมยศ
เมื่อมีสุขก็มีทุกข์ เมื่อมีสรรเสริญก็มีนินทา
เป็นของคู่กันมาเช่นนี้ จะไปถืออะไรกับปากมนุษย์
ถึงจะดีแสนดีก็มีที่ติ ถึงจะชั่วแสนชั่วมันก็ชม
นับประสาอะไร พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศดีกว่ามนุษย์และเทวดา
ยังมีมารผจญ ยังมีคนนินทาติเตียน
ปุถุชนอย่างเราจะหลุดพ้นจากโลกะธรรมดังกล่าวแล้วไม่ได้
ต้องคิดเสียว่าเขาจะติก็ช่าง จะชมก็ช่าง
เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือดเนื้อร้อนใจ
ก่อนที่เราจะทำอะไรเราคิดแล้วว่า
ไม่เดือดร้อนแก่ตัวเราแลคนอื่น เราจึงทำ
เขาจะนินทาว่าร้ายอย่างไรก็ช่างเขา บุญเราทำกรรมเราไม่สร้าง
พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ จะต้องไปกังวลกลัวใครติเตียนทำไม
ไม่เห็นมีประโยชน์ เปลืองความคิดเปล่าๆ

เห็นเสือหมอบ...อย่าเชื่อ...ว่าเสือไหว้
เผลอเมื่อไหร่...เสือกิน...สิ้นทั้งขน
เป็นคนต้อง...เกรงเยงยำ...น้ำใจคน
เขาถ่อมตน...อย่าเหมา...ว่าเขากลัว

เขาไม่สู้...อย่าเหมา...ว่าเขาแพ้
คชสีห์แท้...หรือจะสู้...หมูชั่ว
วางตนสม...คมประจักษ์...ในฝักตัว
ชาติชนชั่ว...ลบหลู่...อย่าสู้มัน

เมื่อน้ำไหว...ไหลเชี่ยว...เป็นเกลียวกล้า
เอานาวา...ขวางไว้...ภัยมหันต์
เรื่องของคน...ปนยุ่ง...นังนุงครัน
ต้องปล่อยมัน...เป็นไป...ใจสบาย

อวดฉลาด...พูดออก...บอกว่าโง่
ฟังเขาโอ้...อวดอ้าง...อย่างขวางเขา
ขัดคอเขา...เขาโกรธ...พิโรธเรา
เป็นเรื่องเร่า...ร้อนใจ...ไม่เป็นการ

ใครมีปาก...อยากพูด...ก็พูดไป
เรื่องอะไร...ก็ช่าง...อย่าฟังขาน
เราอย่าต่อ...ก่อก้าว...ให้ร้าวราว
ความรำคาญ...ก็จะหาย...สบายใจ

อานุภาพของไตรสิกขา

ด้วยอานุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา นี้แล
พีงชนะข้าศึก คือ กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียดได้

1. ชนะความหยาบคาย ซึ่งเป็นกิเลสอย่างหยาบที่ล่วงทางกายวาจาได้ด้วย ศีล
ชนะความยินดี ยินร้าย หลงรัก หลงชัง ซึ่งเป็๋นกิเลสอย่างกลางที่เกิดขึ้นในใจได้ด้วย สมาธิ
และชนะความเข้าใจผิด รู้ผิด เห็นผิดจากความเป็นจริงของสังขาร
ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียด ชนะได้ด้วย ปัญญา

2. ผู้ใดศึกษาและปฎิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้
โดยพร้อมมูลบริบูรณ์สมบูรณ์ด้วย
ผู้นั้นจึงเป็นผู้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้เป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย
เพราะฉะนั้น จึงควรสนใจ เอาใจใส่ ตั้งใจศึกษาและปฎิบัติตามไตรสิกขา
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ทุกเมื่อเทอญ


คำสอนเรื่องปฎิบัติบูชา
ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต

พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า “ปฏิบัติบูชาเป็นบูชาอย่างเลิศสูงสุด”
คือปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ เป็นการบูชาอย่างถูกพระทัย
และเป็นการสนองพระคุณพระพุทธเจ้าอย่างสูงสุด

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักหัวใจสำคัญที่สุด
ก็คือ ทางกาย วาจา ใจ ทิฏฐิ ความเห็นด้วยปัญญา

1. ศีล
คือ การฝึกกาย วาจา ให้สุภาพ อ่อนโยน
นิ่มนวล ละมุนละไม ไม่มีเวร ไม่มีภัยกับใครๆ
เป็นเหตุให้ผู้ประสบพบเห็นเกิดความรัก ความเอ็นดู
ความเมตตา กรุณาปรานี และเกรงใจ
ศีลเป็นเสน่ห์สำคัญ ให้เกิดความรัก ความเอ็นดู กรุณาปรานี
ช่วยอนุเคราห์-สงเคราะห์ ให้สำเร็จกิจที่ประสงค์ได้อย่างนี้

2. สมาธิ
คือ การฝึกหัดใจให้อ่อนโยน สุภาพ นิ่มนวล ละมุนละไม
ไม่อยู่ใต้อำนาจของความอาฆาต พยาบาท โลภ อิจฉาริษยา
ความลุ่มหลงมัวเมา ความหดหู่ ซบเซามึนซึม ท้อแท้อ่อนแอ
เกียจคร้าน สะดุ้งหวาดกลัว ตื่นเต้น ประหม่า ฟุ้งซ่านรำคาญใจ
และความสงสัยลังเลเงอะๆ งะๆ ไม่แน่ใจเหล่านี้
เมื่อจิตมีอำนาจอยู่เหนืออารมณ์ฝ่ายต่ำที่กล่าวมานี้แล้ว
เป็นเหตุให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ปลอดโปร่ง เข้มแข็ง กล้าหาญเด็ดขาด
เป็นเหตุให้เกิดอำนาจทางจิต
เป็นเสน่ห์ที่จะดึงดูดใจผู้ที่ได้ประสบพบเห็น
ให้เกิดความรัก ความเมตตาเอ็นดู กรุณาปรานี และเกรงใจ
ช่วยสงเคราะห์-อนุเคราะห์ เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จกิจที่มุ่งหมาย

3. ปัญญา
คือ การพิจารณาให้เห็นคนทุกชั้นเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย
รักสุขเกลียดทุกข์ ร่วมสุขร่วมทุกข์ หัวอกอันเดียวกันทั้งนั้น
เป็นเหตุให้เกิดความรักความเอ็นดู ความเมตตา กรุณาปรานี
ซึ่งจะแสดงออกมาทางจิตใจ และกาย วาจา
เป็นเหตุให้ผู้ประสบพบเห็นทุกชั้นวรรณะที่่เกี่ยวข้องติดต่อในสังคม
เกิดความรัก ความเอ็นดู ความเมตตา กรุณาปรานี
ยินดีช่วยสงเคราะห์ให้สำเร็จกิจที่สมประสงค์


แนวทางปรับปรุงนิสัยตัวเอง

นิสัยของคนเรานั้น อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้แม้ยากสักหน่อย
คุณสมบัติและนิสัย ที่ควรพูดควรคิดอยู่เสมอนั้นคือ

๑. เราต้องทำใจให้สงบ ไม่ว่าในเวลามีเหตุการณ์ใดๆ
เราจะมีความไว้ใจในตัวเราเองเสมอ

๒. เราต้องข่มความหวาดกลัว
ความตื่นเต้นและความรู้สึกที่เป็นภัยแก่ตัว

๓. เราต้องทำดวงจิตของเราให้ผ่องใสไม่ขุ่นมัว
และเป็นนายตัวเราเองไม่ว่าต่อหน้า ใคร

๔. เราต้องปลูกนิสัยของเราให้ขึ้นสู่ชั้นสูงสุด
เท่าเทียมคนอื่นๆ ที่เขามีนิสัยดีที่สุด

๕. เราต้องทำสิ่งซึ่งถึงเวลาจะต้องทำ
แม้มีสิ่งใดๆ มาขัดขวางก็จะต้องทำให้จงได้

๖. เราจะบังคับตัวและบังคับใจของเรา
ไม่ยอมให้เป็นไปในทางที่จะทำให้เราเดินออกไปนอกทางที่เรามุ่งหมาย
และนอกหลักธรรมในใจเรา

๗. เราต้องพินิจพิเคราะห์ โดยถี่ถ้วน ก่อนที่จะปลงใจยอม
ตามความคิดความเห็น อย่างใด อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่เรา
หรือที่มีใครบอกเราหรือที่เราได้อ่านจากหนังสือ

๘. เราต้องมีความมานะ มีจิตตานุภาพ
ที่สามารถ บังคับบุคคลหรือเหตุการณ์ ทั้งหลายได้

ทำดี ดีกว่าขอพร

"จงเลือกทำแต่กรรมที่ดีๆ นะ !"
เตือนให้เตรียมตัวไว้ดำเนินชีวิตต่อไป
เป็นคำแทนคำอวยพรอย่างสูงสุดประกอบด้วยเหตุผล
เมื่อทำกรรมดีแล้วไม่ให้พรก็ต้องดี
เมื่อทำกรรมชั่วแล้วจะมาเสกสรรปั้นแต่ง
อวยพรอย่างไรก็ดีไม่ได้

ทำชั่วเหมือนโยนหินลงน้ำ หินจะต้องจมน้ำทันที
ไม่มีผู้วิเศษใดๆ จะมาเสกเป่าอวยพร
อ้อนวอนขอร้องให้หินลอยน้ำขึ้นมาได้
ทำกรรมชั่วจะต้องล่มจมป่นปี้
เสียราศีเกียรติคุณชื่อเสียง
เหมือนก้อนหินหนักจมลงไปอยู่กับโคลนใต้น้ำ

ทำดีเหมือนน้ำมัน..เบา..เมื่อเทลงน้ำ
ย่อมลอยเป็นประกายมันปลาบอยู่เหนือน้ำ
ทำกรรมดีย่อมมีสง่าราศี มีเกียรติคุณชื่อเสียง
มีแต่คนเคารพนับถือยกย่องบูชาเฟื่องฟู
ลอยน้ำเหมือนน้ำมันลอยน้ำ
ถึงจะมีศัตรูหมู่ร้ายจงใจเกลียดชังมุ่งร้าย
อิจฉาริษยาด่าแช่งให้จม
ก็ไม่สามารถจะเป็นไปได้ กลับจะแพ้เป็นภัยแก่ตัวเอง

ขอให้จงตั้งใจกล้าหาญ พยายามทำแต่กรรมดีๆ
โดยไม่เกรงกลัวหวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น
ผู้ที่มีความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย
ผู้ที่มีความสุข และผู้ที่มีความเจริญ
ประสงค์ใดสำเร็จสมประสงค์
ก็คือผู้ประกอบกรรมทำแต่ความดีอย่างเดียวนั่นเอง
"PERSONAL MAGNET"

เรื่องที่มีคนเมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจนั้น
เป็นเพราะ คุณธรรมความดีของตนเอง หลายประการด้วยกัน
เป็นต้นว่า วิริยะ อุตสาหะ บากบั่น เข้มแข็ง แรงกล้า
และจิตใจเมตตากรุณา ไม่เย่อหยิ่งจองหอง
เป็นเหตุให้ผู้ที่แวดล้อมอยู่ เกิดความเมตตากรุณา
รักใคร่เห็นอกเห็นใจ คิดที่จะช่วยเหลือคน
ซึ่งมี กิริยา มารยาทอ่อนโยน สุภาพนิ่มนวล
ย่อมเป็นที่เสน่หารักใคร่ของคนที่ได้พบเห็นและพยายามที่จะช่วยเหลือ
นี่เป็น Personal Magnet คือ เสน่ห์ในตัวของตัวเอง
เพราะฉะนั้น จงพยายามรักษาคุณสมบัติดังกล่าวนี้ไว้
จะเป็นเครื่องช่วยตัวเองให้บรรลุความสำเร็จสมประสงค์ทุกประการ
ทุกกาลเวลา ทั้งปัจจุบันและอนาคต


เมตตา

อย่ากลัว จงรักษาตัวให้บริสุทธิ์ ไม่มีอะไรทำอันตรายได้
เจ้าจงจำไว้ว่า ถ้าปรารถนาความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น
ก็ควรส่งกระแสใจที่ประกอบด้วยความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจ ไปยังท่านเหล่านั้น
แล้วก็จะได้รับความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจจากท่านเหล่านั้น
เช่นเดียวกัน นี่เป็นกฏของจิตตานุภาพแล้วความสำเร็จทั้งหลายที่ปรารถนา
ก็จะบังเกิดแต่ตนสมประสงค์ทุกประเด็นแน่นอนไม่ต้องสงสัยเลย

อย่าทำผิดซ้ำซาก

จงระลึกถึงคติพจน์ว่า.....

“do no wrong is do nothing”
ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือไม่ทำอะไรเลย

ความผิดนี้แหละเป็นครูอย่างดี
ควรจะรู้สึกบุญคุณของตัวเอง ที่ทำอะไรผิดพลาด
และควรสบายใจที่ได้พบกับอาจารย์ผู้วิเศษ คือ ความผิด
จะได้ตรงกับคำว่า “เจ็บแล้วต้องจำ”
ตัวทำเอง ผิดเอง นี้แหละ เป็นอาจารย์ผู้วิเศษ
เป็น “good example” ตัวอย่างที่ดี
เพื่อจะได้จดจำไว้สังวรระวังไม่ให้ทำผิดต่อไป
แล้วตั้งต้นใหม่ด้วยความไม่เลินเล่อ เผลอประมาท
อดีตที่ผิดไปแล้วก็ผ่านล่วงเลยไปแล้ว แต่อาจารย์ผู้วิเศษยังอยู่
คอยกระซิบเตือนใจอยู่เสมอทุกขณะว่า

“ระวัง อย่าประมาทนะ อย่าให้ผิดพลาดเช่นนั้นอีกนะ”

“ผิดหนึ่งพึงจดไว้ ในสมอง เร่งระวังผิดสอง ภายหน้า
สามผิดเร่งคิดตรอง จงหนัก เพื่อนเอย ถึงสี่อีกทีห้า หกซ้ำ อภัยไฉน”

จงสังเกตพิจารณาดูให้ดีเถิด จะเห็นได้ว่า
นักค้นคว้าวิทยาศาสตร์ทางโลกก็ดี
และท่านผู้วิเศษที่เป็นศาสดาจารย์ในทางธรรมทั้งหลายก็ดี
ล้วนแต่ผ่านพ้นอุปสรรคความผิดพลาด

ธรรมดาชีวิตทุกชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์
ตลอดทั้งพืชพันธ์พฤกษาชาติ เป็นอยู่ได้ด้วยการต่อสู้

ตรงกับคำว่า
ชีวิตคือการต่อสู้ เมื่อต่อสู้ไม่ไหวขณะใด
ก็ต้องถึงที่สุดแห่งชีวิตคือ ความตาย

ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่ถูกรับรองแล้วว่า
เป็นดอกไม้ที่หอมเย็นชื่นใจที่สุด และขาวบริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาดอกไม้ทั้งหลาย ชีวิตของมนุษย์ที่เป็นอยู่ก็เช่นเดียวกับการเล่นละคร
ขอให้เป็นตัวเอกที่มีชื่อเสียงที่สุด เช่นเดียว หรือลักษณะเดียว กับดอกมะลิ
อย่างเป็นตัวผู้ร้ายที่เลวที่สุด
และให้เห็นว่า ดอกมะลินี้จะบานเต็มที่เพียง ๒-๓ วัน ก็จะเหี่ยวเฉาไป
ฉะนั้น ขอให้ทำตัวเราให้ดีที่สุดเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ให้หอมที่สุดเหมือนดอกมะ
ลิที่เริ่มแย้มบานฉะนั้น

จงเข้าถึงสุขอันยิ่ง

พระพุทธเจ้าสอนว่า
"นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ
สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี"

หมายความว่า ความสุขอื่นมีเช่นกับความสุขในการดูละคร ดูหนัง
ความสุขในการเข้าสังคม (Social) ในการมีคู่รักคู่ครอง หรือในการมีลาภยศ
การได้รับความสุข สรรเสริญ และได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ก็สุขจริง
แต่ว่าสุขเหล่านี้มีทุกข์ซ้อน อยู่ทุกอย่าง ต้องคอยแก้ไขปรับปรุงกันอยู่เสมอ ไม่เหมือนกับความสุขที่เกิดจากสันติ ความสงบ เป็นความสุขที่เยือกเย็น และไม่ซับซ้อนด้วยความทุกข์ และไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงตกแต่งมาก
เป็นความสุขที่ทำได้ง่ายๆ เกิดกับกายใจ ของเรานี่เอง
อยู่ในที่เงียบๆ คนเดียวก็ทำได้ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้
ถ้ารารู้จักแยกใจหาสันติสุข กายนี้ก็เพียงสักแต่ว่าอยู่ในที่ระคนด้วยความยุ่ง สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นไม่ยุ่งมาถึงใจ แม้เวลาเจ็บหนักมีทุกขเวทนา ปวดร้าวไปทั่วกาย แต่เรารู้จักทำใจให้เป็นสันติสุขได้
ความเจ็บนั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ใจเดือดร้อนตามไปด้วย
เมื่อใจสงบแล้ว กลับจะทำให้กายนั้นสงบ หายทุกขเวทนาได้ด้วย และประสบสันติสุขอื่นยิ่งกว่าสันติสุขนั้น

พระพุทธเจ้าสอนให้ฝึกเป็น ๓ ทาง คือ

๑. สอนให้สงบกาย วาจา ด้วยศีล
ไม่ทำโทษทุจริตอย่างหยาบที่เกิดทางกาย วาจา
เป็นเหตุให้เกิดสันติสุขทางกาย วาจา เป็นประการต้น

๒. สอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจด้วยสมาธิ
หัดใจไม่ให้คิดถึงความกำหนัด ความโกรธ ความโลภ ความหลง
ความกลัว ความฟ้งซ่านรำคาญ ความลังเลใจ
ทำให้ใจไม่เด็ดเดี่ยว ไม่เด็ดขาดเมื่อละสิ่งเหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ใจสงบ เป็นสันติสุขทางจิตใจอีกประการหนึ่ง

๓. ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางทิฏฐิ (ความเห็น) ด้วยปัญญา พิจารณาให้เห็นว่าสรรพสิ่งทั้งหลายไม่แน่นอน เป็น "อนิจจัง" ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมสิ้น แปรปรวนไป ดับไป เรียกว่าเป็น "ทุกข์""
ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา อ้อนวอนขอร้อง
หรือเร่งรัดให้เป็นไปตามความประสงค์ ท่านเรียกว่า "อนัตตา""

เมื่อเรารู้เห็นตามเป็นจริงเช่นนี้ จะทำให้จิตใจของเราเข้มแข็งมั่นคงเด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์ทั้งหลาย เพราะรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาว่า สิ่งเหล่านั้นมันไม่แน่นอน มันคงอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงเสื่อมสิ้นดับไป ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาฝ่าฝืนของเรา
อย่าไปเร่งรัดให้เสียกำลังใจ คงรักษาใจเราให้เป็นอิสระมั่นคงอยู่เสมอ ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์เหล่านั้น เป็นเหตุให้ใจตั้งอยู่ในสันติสุข เป็นอิสระ
เกิดอำนาจทางจิต -Mind Power
ที่จะให้ทำกิจกรณียะอันเป็นห้าที่ของตนได้สำเร็จสมประสงค์

ความทะเยอทะยาน

พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนว่า ความทะเยอทะยาน อยากได้ใฝ่สูงจนเกินไป

ถ้าได้สมหวังก็ดี ถ้าพลาดพลั้งไม่ได้สมหวัง จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อย่างมหันต์

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ปฏิบัติอย่างสายกลาง อย่าให้ตึงนักและอย่าให้หย่อนเกินไป

เหมือนพิณ 3 สาย ถ้าตึงเกินไป...ดีดก็ขาด ถ้าหย่อนเกินไป...เสียงก็ไม่เพราะ

ต้องพอดีๆ ไม่ตึงนักและไม่หย่อนนัก

การตามใจตัวมากไป ก็ทำให้เกียจคร้าน...ย่อหย่อน...ทำงานไม่สำเร็จ

การบังคับตัว เคร่งเครียดมากเกินไป ก็เป็นการทรมานตัว

เป็นเหตุให้หักกลางคัน ไปไม่ตลอด ไม่ถึงจุดหมายปลายทาง

จงปฏิบัติให้พอเหมาะพอดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ระวังรักษาสุขภาพให้สมส่วนทั้งทางกาย ทางใจ จึงจะบรรลุความสำเร็จ. . .

วิธีขับอารมณ์ร้าย

อารมณ์ร้าย คือ ความกลัว ความกังวลกลุ้มใจ ความร้อนใจ
ความห่วงใย ความเกลียด ความโกรธ ความหึงหวง ความริษยา
ใจคอเหี่ยวแห้ง ความโศก ความตื่นเต้น ความเสียใจ โทมนัส
ความบ่นเพ้อรำพันด้วยเสียใจ โหยหวน โศกเศร้าคร่ำครวญ มืดมน ความเสียใจตรอมใจ

เมื่ออารมณ์ร้ายเหล่านี้เกิดขึ้นในใจ จงหายใจเข้าให้ลึกๆ สร้างมโนภาพ
สูดเอากำลังงานของชีวิต ที่มีอยู่ในสากลโลก
อำนาจ ความแข็งแรง และกำลังเข้าไป
เมื่อหายใจออกจงนึกขับอารมณ์ร้ายเหล่านี้ออกมา
และเพ่งกล่าวในใจว่า ออกไป ออกไป ออกไป พร้อมกับทำความรู้สึกว่าอารมณ์ร้ายเหล่านี้ออกไปจากใจแล้ว ปฏิบัติอย่างนี้จนกว่าอารมณ์นั้นจะจางหายไป ถ้าไม่หายอย่าเพิ่งเลิก

หรืออีกอย่างหนึ่งเพ่งดูอารมณ์ร้ายเหล่านั้นที่เกิดขึ้น แยกใจออก เหมือนกับดวงจันทร์แยกออกจากเมฆ
อารมณ์ร้ายเหล่านี้เป็นเมฆหมอกจะมาบังใจ
ตามปกติไม่ได้อยู่ที่ใจ มันจรมาเป็นครั้งคราว
เหมือนมารมาผจญหรือลองใจว่า เราจะเข้มแข็งหรือไม่
ถ้าเรามีกำลังต่อต้านพอ มันก็พ่ายแพ้ ค่อยๆ จางไปทีละน้อยๆ จนมันหลบหน้าหายไป ในทางตรงกันข้าม ถ้ากำลังใจต่อต้านไม่พอ มันก็กำเริบได้ใจ
ผจญเราล่มจมป่นปี้ไปเหมือนกัน
เพราะฉะนั้นเวลามันเกิดขึ้นให้มีสติระลึกว่า เวลานี้เจ้าอารมณ์ร้ายเหล่านี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว วางใจเฉยเพ่งดู ต่อต้านอย่างสงบ
นึกในใจว่า ปล่อยมันไป อย่ายึดมันไว้
สักประเดี๋ยวมันก็ค่อยๆ จางหายไป
อารมณ์ร้ายเหล่านี้อ่อนแอเหมือนเมฆในท้องฟ้า สู้กำลังที่เข้มแข็งไม่ได้
เว้นไว้แต่เราจะชอบมัน แล้วเลี้ยงมันไว้เป็นมิตรสหายสนิทกับใจ
มันก็จะทำลายใจเราทีละน้อยๆ เหมือนสนิมกัดเหล็กให้กร่อนไปทีละน้อย
เพราะฉะนั้นอย่าประมาท จงระวังให้มากที่สุด
งอย่าสมาคมกับอารมณ์เหล่านี้เป็นอันขาด

ในทางตรงกันข้าม ถ้าอารมณ์ดีมีประโยชน์
ที่ให้เกิดความกล้าหาญ บากบั่น วิริยะ อุตสาหะ เข้มแข็ง
อดทนก้าวหน้าเหล่านี้ควรรักษาไว้ และบำรุงให้เจริญวัฒนาถาวรยิ่งๆ ขึ้น เหมือนกับดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกฉะนั้น
   
 
 


ขอบพระคุณที่มาhttp://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12371

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด

 หน่ายกาม




Sensual craving arises through unwise thinking on the agreeable and delightful .



กามฉันท์ หรือ กามตัณหา เกิดขึ้นจากความไม่ฉลาด หลงคิดเห็นอารมณ์ต่างๆ เป็นที่ถูกใจและน่ายินดี



It may be suppressed by the following 6 methods.



สามารถข่มไว่ได้ด้วยวิธีทั้ง 6 ดังต่อไปนี้



1. Fixing the mind upon an idea that arouses disgust.



เพ่งใจให้เห็นอสุภารมณ์ คือ อารมณ์ที่ปฎิกูล น่าเกลียด ไม่งาม ของสังขารร่างกาย จนให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายความรักใคร่ หายความกำหนัดยินดี



2. Meditation upon the impurity of the body.



เพ่งพินิจพิจารณาความปฏิกูลของร่างกาย (แยกออกเป็นอาการ 32 ที่เรียกว่า กายคตาสติภาวนา มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น)



3. Watching over the six doors of the sense.



ใช้สติสำรวมอินทรีย์ เฝ้าระวังทวารทั้ง 6 (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อได้ประสบพบเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ อย่าให้ความรักใคร่ กำหนัด ยินดียินร้าย เกิดขึ้นภายในจิตใจ)



4. Moderation in eating.



ให้รู้จักประมาณการบริโภคอาหาร อย่าให้อิ่มมากจนเกินไป จะเป็นเหตุให้เกิดความกำหนัดทางกาย และลุกลามเข้าไปถึงจิตใจ ให้เกิดความเศร้าหมองด้วยฉันทะราคะ



5. Cultivating friendship with the good.



ทำความวิสาสะ คบหาสมาคม สนทนาปราศัย สนิทสนมคุ้นเคยกับกัลยาณมิตรเพื่อนผู้ดีงาม ที่จะชักชวนให้สนทนาไปในทางที่จะให้คลายความรักใคร่กำหนัด ยินดียินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์



6. Right instruction.



ฝึกฝนปฏิบัติในทางที่ถูกตรงตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา



1.พยายามกำจัดตัดกิดลสเคื่องเศร้าหมองอย่างหยาบ ที่ล่วงออกมาทางกายทางวาจา ด้วย ศีล



2.พยายามกำจัดตัดกิเลสเครื่องเศร้าหมองอย่างกลาง คือ นิวรณ์ทั้ง 5 มี กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ด้วย สมาธิ ย่นย่อนิวรณ์ 5 ลงเป็น



- ราคะ , โลภะ


- โทสะ


- โมหะ



กามฉันทะนิวรณ์ ความพอใจในกาม เป็นฝ่ายราคะ-โลภะ


พยาบาทนิวรณ์ ความขึ้งเคียดโกรธเคือง เป็นฝ่ายโทสะ


ที่เหลืออีก 3 คือ ถีนมิทธะ (ความหดหู่ ง่วงเหงาหาวนอน)


อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ)


วิจิกิจฉา (ความลังเล สงสัย) ซึ่ง 3 อย่างสุดท้ายนี้เป็นฝ่ายโมหะ



3. พยายามกำจัดตัดกิเลสอย่างละเอียดที่เกิดทางทิฏฐิความเห็น โดยใช้ ปัญญา ด้วยการพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงของสังขาร ซึ่งมีลักษณะเกิดขึ้น เสื่อมสิ้น ดับไป ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา



" The sensual craving is for-ever destroyed upon the entrance into Anagamiship."


กามฉันท์ หรือ กามตัณหานี้ สลัดกำจัดได้อย่างเด็ดขาด ต่อเมื่อเข้าสู่กระแสพระอนาคามีมรรค บรรลุถึงอนาคามีผล.




ที่มา:หนังสือพระกรรมฐานกลางกรุง(ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต ธมฺมวิตกฺโก) โดย คุณดำเกิง สงวนสัตย์




 " Good example is better than teaching."
ขอบพระคุณที่มา จากhttp://board.palungjit.com

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ด้วย ความหลงแท้ๆ :ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2013, 09:21:05 pm »




ด้วย ความหลงแท้ๆ :ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต

เครื่องเตือนสติ..... ของผู้ไม่ประมาท
พิจารณาอสุภะ และ มรณานุสติ


ในกุฏิ ของท่านเจ้าคุณนรฯ
นอกจากจะมี หีบศพ แล้ว
ยังมี โครงกระดูก แขวนอยู่…

ท่านเคยชี้ให้ดู และ บอกว่า
เป็น โครงกระดูกผู้หญิง…
…มีแต่ ให้ประโยชน์ ให้สติ
ให้รู้ว่า จะต้องตายเช่นนั้น
วันหนึ่ง ก็จะเหลือแต่ โครงกระดูกเช่นนี้

ได้พิจารณาทุกวัน แล้วท่านก็บอกว่า
เมื่อมีเนื้อหนัง หุ้มโครงกระดูก
ก็นิยมกันว่า สวย รักกันอยู่
ด้วย ความหลงแท้ๆ หลงว่า
จะเป็นอย่างที่เห็นอยู่ ตลอดไป

ไม่ได้มองลึกลงไป ไม่ได้เห็นแก่นแท้ว่า
มีแต่ กระดูก ไม่น่าอภิรมย์แต่อย่างใด
ทำไมจึงยังหลงไหล มัวเมากันอยู่ได้

แล้วท่าน ก็จะสรุปว่า
"บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือ จะโผข้ามพ้น
เป็นมหาบาเรียน ยังเวียนไปหาก้น
"

(พระธรรมคำสอน
ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส
)
*http://www.facebook.com/lotus.postman


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

#โอวาทของธมฺมวิตกฺโก ภิกขุ (เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต)
#วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เรื่อง " สันติสุข "

พระพุทธเจ้าสอนว่า “นตฺถิ สนฺติปรมํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี” หมายความว่า ความสุขอื่นมี เช่น ความสุขในการดูละคร ดูหนัง ในการเข้าสังคม Social ในการมีคู่รักคู่ครอง หรือในการมีลาภยศ ได้รับความสุข สรรเสริญ และได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ ก็สุขจริง แต่ว่าสุขเหล่านี้มีทุกข์ซ้อนอยู่ทุกอย่าง ต้องคอยปรับปรุงกันอยู่เสมอ ไม่เหมือนกับความสุขที่เกิดจากสันติ ความสงบ ซึ่งเป็นความสุขที่เยือกเย็นและไม่ซ้อนด้วยทุกข์ และไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงตกแต่งมาก

เป็นความสุขที่ทำได้ง่าย ๆ เกิดกับกายใจ
ของเรานี่เอง อยู่ในที่เงียบ ๆ คนเดียวก็ทำได้ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้
ถ้าเรารู้จักแยก ใจ หาสันติสุข กายนี้ก็เพียงสักแต่ว่า อยู่ในที่ระคนด้วยความยุ่งสิ่งแวดล้อมเหล่านั้น
ไม่ยุ่งมาถึง ใจ

แม้เวลาเจ็บหนัก มีทุกขเวทนาปวดร้าวไปทั่วกาย แต่เรารู้จักทำ ใจ ให้เป็นสันติสุขได้ ความเจ็บนั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ ใจ เดือดร้อนตามไปด้วย

เมื่อใจสงบแล้ว กลับจะทำให้กายนั้นสงบ หายทุกขเวทนาได้ด้วย
และประสบสันติสุข ซึ่งไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าสันติสุขนั้น พระพุทธเจ้าสอนให้ฝึกเป็น ๓ ทาง คือ

• สอนให้สงบกาย วาจา ด้วยศีล ไม่ทำโทษทุจริตอย่างหยาบที่เกิดทางกายวาจา เป็นเหตุให้เกิดสันติสุขทางกาย วาจา เป็นต้น

• สอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจด้วยสมาธิ หัดใจไม่ให้คิดถึงเรื่องความกำหนัด ความโกรธ ความโลภ ความหลง ความกลัว ความฟุ้งซ่านรำคาญ

ความลังเลใจทำให้ใจไม่เด็ดเดี่ยว ไม่เด็ดขาด เมื่อละสิ่งเหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ใจสงบ เป็นสันติสุขทางจิตใจอีกประการหนึ่ง

• ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิด สันติสุขทางทิฏฐิ ความเห็นตด้วยปัญญา พิจารณาให้เห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายไม่แน่นอน เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมสิ้นแปรปรวน ดับไปเรียกว่าเป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา อ้อนวอนขอร้อง เร่งรัด ให้เป็นไปตามความประสงค์ท่านเรียกว่า อนัตตา

เมื่อเรารู้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้ จะทำให้จิตใจของเราเข้มแข็งมั่นคง เด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์ทั้งหลาย เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา ว่าสิ่งเหล่านั้นมันไม่แน่นอน มันคงอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลง เสื่อมสิ้นดับไป ไม่อยู่ในอำนาจฝ่าฝืนของเรา อย่าไปเร่งรัดให้เสียกำลังใจ “คงรักษาใจให้เป็นอิสระมั่นคงอยู่เสมอ ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์เหล่านั้น เป็นเหตุให้ใจตั้งอยู่ในสันติสุข เป็นอิสระ เกิดอำนาจทางจิต Mind Power ที่จะใช้ทำกรณียะอันเป็นหน้าที่ของตน
ได้สำเร็จสมประสงค์”

“นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี”

It needs a Peaceful Mind to support a Peaceful Body,and it needs a Peeaceful Body to support a Peaceful Mind, and it needs Both Peaceful Body and mind to attain all success that which you wish.

เจริญในธรรมเทอญ
ข้อมูลจากเว็บฯลานธรรมจักร
G+ ธรรมมะ ธรรมชาติ
Shared publicly 19/6/2558 - 6:21 AM

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คติธรรม คำสอน :ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2015, 03:30:59 pm »


คนเราเมื่อมีลาภ .. ก็เสื่อมลาภ เมื่อมียศ .. ก็มีเสื่อมยศ เมื่อมีสรรเสริญ .. ก็มีนินทา เป็นของคู่กันมาเช่นนี้ จะไปถืออะไรกับปากมนุษย์ ถึงจะดีแสนดี .. มันก็ติ ถึงจะชั่วแสนชั่ว .. มันก็ชม นับประสาอะไร พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศยิ่งกว่ามนุษย์เทวดายังมีมารผจญ ยังมีคนนินทาติเตียน ปุถุชนอย่างเราจะรอดพ้นจากโลกธรรมดังกล่าวแล้วไม่ได้

ต้องคิดเสียว่า เขาจะติ .. ก็ช่าง เขาจะชม .. ก็ช่าง เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือดเนื้อร้อนใจ ก่อนที่เราจะทำอะไร เราคิดแล้วว่าไม่เดือดร้อนแก่ตัวเราและคนอื่น เราจึงทำ เขาจะนินทา ว่าใส่ร้าย อย่างไร ก็ช่างเขา บุญเราทำ กรรมเราไม่สร้าง พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ ใยจะต้องไปกังวล กลัวใครจะติเตียนทำไม ไม่เห็นมีประโยชน์ เปลืองความคิดเปล่าๆ

คนที่ทำความผิด สามารถใช้ความคิดหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเองได้เสมอแม้แต่โจรห้าร้อย แต่ความรู้สึกโกหกไม่ได้ เจ้าตัวความรู้สึกนี้เองที่จะก่อให้เกิดเป็นเวทนาเก็บไว้ในดวงจิต และเมื่อเหตุปัจจัยเหมาะสม มันจะสนองตอบต่อผู้ที่เคยทำกรรมซึ่งเกี่ยวกับความรู้สึกนั้นไว้ ไม่ว่าภายในชาตินี้หรือชาติไหนๆ

::: ธรรมะของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต :::

**************************************

สุขา สทฺธา ปติฏฐิตา
ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้

ทุกฺโขปิ ปณฺฑิโต น ชหาติ
บัณฑิต แม้มีทุกข์ ก็ไม่ละทิ้งธรรม

น เว อนตฺถกุสเลน อตฺถจริยา
คนฉลาดไม่ถูกเรื่อง
แม้พยายามทำประโยชน์
ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลให้เกิดสุข

>> F/B งามจิต ( เพจ ธรรมะ บัญชร )