ผู้เขียน หัวข้อ: รินไซเซน RINZAIZEN  (อ่าน 3218 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
รินไซเซน RINZAIZEN
« เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 02:02:25 pm »



รินไซเซน RINZAIZEN

จิตยิ่งนิ่ง พิธีกรรม ยิ่งเป็นของไม่จำเป็น
สมาธิยิ่งแน่วแน่หนทางยิ่งเด่นชัด
เมื่อบรรลุซึ่งจิตหนึ่ง พิธีกรรม คือสิ่งแรกที่ถูกทำลาย
พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์สูงสุดคือวิถีชีวิตประจำวัน

                     

จิตที่กระเด็นกระดอน ก็ดุจดังสายน้ำที่ซัดสาดก้อนหิน
จิตหนึ่งก็ดุจดังสายน้ำ ยิ่งไหลลึกยิ่งนิ่งเงียบยาวนาน
ไม่มีอะไรที่พิเศษ และไม่มีอะไรที่ธรรมดา


- http://www.facebook.com/RINZAIZENTHAILAND




รินไซเซน RINZAIZEN

... เมื่อสายฝนพริ้วคืนสู่สายธาร ...
ธารา ! ไยเธอจึงดูคร่ำเครียด เหมือนแบกโลกไว้ทั้งใบ
มีสิ่งใดที่ค้างคาอยู่ในใจที่เคยปลอดโปร่ง กระนั้นหรือ !?
ชีวิตนี้ช่างสับสน ผู้คนเกิดมาแล้วล้วนแก่ เจ็บ ตายไป
แล้วอะไรเล่า คือเป้าหมายในการดำรงอยู่ของชีวิตเล่า !?
ธารา ! เธอกำลังขบคิดปัญหาที่คนโบราณเคยคิดกัน
เวลาของชีวิตในโลกนี้แสนสั้น ดั่งสายลมเย็นพัดผ่าน

การขบคิดอย่างมีเหตุผลด้วยใจสงบ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง
ที่อาจปลดเปลื้องความสับสนลงได้บ้าง เป็นบางส่วน !
หากไม่ใช้การขบคิดแล้ว เราจะเข้าใจมันได้อย่างไรกัน
ธรรมเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น ก็ต้องขบคิดจึงจะเข้าใจ !?
ธารา ! ความเข้าใจธรรมเชิงเหตุผล เป็นเรื่องมีมานาน
มันไม่ผิดหรอก, แต่การจะเข้าถึงธรรมเป็นอีกเรื่องหนึ่ง !
ความเข้าใจธรรมแบบมีเหตุผลเป็นวิธีของนักปราชญ์
ส่วนการเข้าถึงนั้น ความคิดนึกตรึกตรองต้องเงียบลง !

เหนือการขบคิดแยกแยะนอบน้อมตามแล้ว, ยังมีวิธีอื่น
ที่อาจบรรลุถึงธรรมได้เร็วกว่านี้อยู่อีกหรือ โปรดชี้แนะ !?
ธารา ! สัจจธรรมๆ ไม่ใช่เป็นอย่างที่เราคิดนึกกันหรอก
เหตุผลนั้นมาจากการค้นคิด แต่ชีวิตนี้เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ !
หากเธอยังใช้ตรรกะหรือเหตุผลใดๆ มันก็ยังไม่ใช่ทาง
เพราะการบรรลุถึงสิ่งที่ดำรงอยู่ ต้องสัมผัสกับมันตรงๆ !
และรู้สึกต่อมันอย่างเต็มเปี่ยม โดยไร้ความคิดขวางกั้น.
คำอธิบายใดๆ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องผ่านการคิดนึกมาก่อน !

การรู้ธรรมในระดับการจดจำ อาจเป็นกับดักที่น่าเชื่อถือ
ยิ่งขบคิด แยกแยะมาก ก็อาจนำจิตเข้าสู่โลกสมมุติบัญัติ !
สัจจธรรมเป็นสิ่งที่สดใส และใหม่อยู่เสมอในทุกๆ ขณะ
เธอจงคล้อยสู่ความจริง ใช่แค่การสาธกเอื้อนเอ่ยถึงมัน !
สุนทรีย์วาทะอาจบำบัดความเศร้า แต่ส่วนลึกนั้นยังมืด
บทสรุปเรื่องเวียนว่ายตายเกิดนั้น เป็นหลักธรรมในคัมภีร์ !
การจะเข้าถึงชีวิต ก็ต่อเมื่อการคาดคิดทั้งหลายมลายลง
ดั่งสายฝนพริ้วคืนสู่สายธาร ความขัดแย้งสิ้นสุด ณ ที่นั่น !

เมื่อม่านหมอกความคิดสร่างซา ทุกสิ่งพลันแจ่มชัด สดใส
เมื่อละอองแห่งตัวตนเหือดหายไป ดวงใจก็พบความอิสระ !
ธารา ! ผู้พลาดโอกาสในการเข้าถึงมีมาก เพราะอุปสรรค
ผู้ท้าทาย เมื่อกล้าปลดภาระความกังวลจึงได้ประจักษ์แจ้ง !
แล้วอะไรกันเล่าที่เป็นเครื่องกั้นจิต ไม่ให้พบอมตะธรรมนี้
หรือยังมีสิ่งซับซ้อนซ่อนอยู่, ขอได้โปรดเมตตาแถลงไข !?

ธารา ! ชาวนาปลูกข้าวในพื้นนาฉันใด, เธอก็จงทำเช่นนั้น
อย่าไขว่คว้าหาสิ่งที่ไม่มี แต่จงจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังมีอยู่ !
จงขยันหมั่นเพียร ตั้งแต่พลิกหน้าดิน คาดไถ หว่านกล้า
เฝ้าระวังสิ่งแปลกปลอม ใส่ใจถนอมรักในต้นข้าวอยู่เสมอ !
ในเวลาไม่นาน ข้าวที่หว่านเพาะย่อมออกรวงให้เก็บเกี่ยว
สิ่งนี้เธอล้วนต้องบำเพ็ญเพียรอยู่ ณ พื้นที่นาแปลงนี้นี่เอง !

จงเป็นปกติตั้งมั่น คลอเคลียกับอารมณ์กรรมฐานอยู่เนืองๆ
อย่าปล่อยใจให้ส่ายไปตามสิ่งที่เนื่องอยู่กับอายตนะผัสสะ !
การหลงไหลตามสังขารปรุงแต่ง จะมีก็แต่ทางเสื่อมถอย
จงตื่นตัวและตระหนักรู้ว่า สิ่งใดที่เกิดขึ้นแล้วต้องเสื่อมลง !

อย่าตื่นตระหนกพิศวง ต่อมายาอันหรูหราของสังสารวัฏฏ์
จงตามเห็นความเสื่อมสลายนั้น แล้วสลัดคืนอยู่เป็นประจำ !
ไม่ว่าต้องพบสิ่งใด ก็จงอยู่กับกรรมฐานอันจะนำเธอขึ้นฝั่ง
จงกลับสู่ยานนี้แล้วแล่นตรงไป อย่าอาลัยอยู่ในความมืด !
นอกจากอิสรภาพแห่งใจวิสุทธิ์นี้ ก็มีเพียงการสลัดให้สิ้น

เมื่อนิวรณ์ระงับกำลังสมาธิก็แก่กล้า ปัญญาญาณจึงปรากฏ !
โลกที่มืดมนจะเริ่มสว่างไสว ใจที่เศร้าหมองกลับผุดผ่อง !
สรณะอันประเสริฐเลิศล้ำ ก็ล้วนซ่อนอยู่ในใจที่ระทมทุกข์ !
ธารา ! ความแตกต่างมีอยู่เฉพาะในการคิดแยกแยะเท่านั้น
ส่วนอมตะธรรมนั้นมีอยู่เพียงอมตรส ผู้ฉลาดยังยากจะรู้ตาม !

เมื่อละวิพากษ์วิจารณ์แล้วเท่านั้น จึงเข้าสู่ความเป็นหนึ่ง
ในเอกธรรมย่อมไม่มีความสับสน เรื่องตัวตนหรือไร้ตัวตน !
บูรพาจารย์ผู้เข้าถึงล้วนเห็นแจ้งธรรมนี้ จากจิตที่เป็นเอกะ
ส่วนนักวิภาษวิธีนั้น ถกเถียงก็เพียงหาเหตุผลหักล้างกัน !

ธารา ! ชีวิตนี้แสนสั้น กาลเวลาก็เหมือนไฟที่กำลังสุมหัว
น้ำในบ่อกำลังแห้งขอด ชีวิตของกุ้งปูปลากำลังจะหมดลง !
ผู้ดำรงอยู่ในวิถีธรรมย่อมดื่มด่ำ ผู้หิวโหยจำต้องบรรเทา
สิ่งใดมีความเกิดสิ่งนั้นเป็นมายา จงรู้ชัดและอย่าหมกมุ่น !
ผู้ครอบครองจักยังคับแคบ ผู้เกื้อกูลจึงพบความไม่สิ้นสุด
มหาสมุทรสุดลึกยังพอวัดได้ แต่ใจนี้กว้างใหญ่แผ่ไพศาล !
.
.
บารมี ศรีอริยทรัพย์ ริมธารน้ำร้อน
เป่โถว ไทเป ไต้หวัน 29/10/2014




ชื่อว่าเครือข่าย
ย่อมมีการโยงไย

เมื่อคว้าที่ปลาย
ย่อมจับได้ถึงต้น !
.
.
26/11/2014
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 27, 2014, 04:20:12 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: รินไซเซน RINZAIZEN
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2013, 07:17:18 pm »



....กรรมฐานกับการบรรลุธรรม ?...

ก็เหมือนอุบายวิธีกับเป้าหมาย
หากไม่มีวิธีการก็ไม่อาจบรรลุเป้าหมาย

แม้ผู้รู้บางท่านอาจจะกล่าวว่า ไม่ต้องมีวิธีการ
เพราะจิตคือพุทธะอยู่แล้ว
แต่นั่นเป็นเงื่อนไข เฉพาะกรณีของแต่ละบุคคล
ที่มีอินทรีย์แก่กล้า หรืออ่อนแอต่างกัน

บางท่านดูเหมือนว่าจะพร้อมต่อการปล่อยวางอยู่เสมอ
บางท่านก็จุกจิกจู้จี้ ชอบบ่น สับสน วุ่นวาย
ชอบเก็บเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มาคิดให้เสียพลังงานจนเป็นความเคยชิน
และนี่คืออุปสรรค ที่ทำให้พลาด จากการเห็นแจ้งธรรมะ
ในปัจจุบันอย่างฉันพลัน




จิตที่พร้อมจะบรรลุธรรม คือจิตที่จดจ่ออยู่กับอารมณ์ปัจจุบันเสมอ
จิตที่ซัดส่าย สับสน เฉื่อยชา เซื่องซึม ฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่ติดอยู่ในนิวรณ์
อันเป็นเครื่องกั้นต่อการบรรลุธรรม

การฝึกกรรมฐาน มีความสำคัญเหมือนการฝึกท่ามวยนั่นเอง
หากไม่มีท่าทางชั้นเชิง รุก รับ ถอยล่น หลีกซ้าย สลับขวา
หรือแม้แต่การสวนหมัด ซึ่งเป็นการยืมแรงคู่ต่อสู้
ปะทะกับคู่ต่อสู้เองเมื่อเขาบุกรุกเข้ามา




กรรมฐานบางอย่างเป็นเครื่องอยู่ในยามปกติ
แต่บางอย่างเหมาะกับการช่วงใช้ในยามวิกฤติ
ควรจำไว้เสมอว่า...กรรมฐาน ก็คือปัจจัยสำคัญ ต่อการบรรลุธรรม
หากขาดอารมณ์กรรมฐาน ก็เหมือนเป็นขุนพลที่ไร้ทวน
คำสั่งนั้นไม่มีอำนาจ

การมีอารมณ์กรรมฐาน ก็เหมือนจอมทัพที่มีดาบอาญาสิทธิ์
คำสั่งมีประกาสิทธิ์ ไม่ใช่เป็นเสือกระดาษ หรือดาบลิเก

เมื่ออารมณ์กรรมฐานหนักแน่นมั่นคงแล้ว ความวิตก ฟุ้งซ่าน เซื่องซึม
ก็หายไป. จิตมีความแจ่มใส สามารถสะท้อนภาพ ทุก ๆ อย่าง
ตามที่เป็นจริง ไม่บิดเบือน ไม่หลอกหลอน




การจะมีอารมณ์กรรมฐานที่หนักแน่นได้นั้น
ต้องอาศัยการจดจ่อที่ลึกซึ้ง เฉียบคม
ในระหว่างการจดจ่ออยู่นั้น ไม่มีอารมณ์อื่นเข้าแทรกซ้อนรบกวน

ส่วนองค์บริกรรมภาพนิมิต หรือจุดที่เพ่ง ความเข้มที่จดจ่อนั้น
ต้องปรับสมดุลอยู่เสมอ

บางอารมณ์หนักไปทางความสงบ
บางอารมณ์คล้อยไปทางพิจารณาไตรลักษณ์
ถ้าความสงบลึกเกิน วิปัสสนาก็ดำเนินไปลำบาก
ถ้าความสงบรำงับน้อย วิปัสสนาก็หยาบ ไม่แยบคาย

ทุกสายภาวนา ล้วนแล้วแต่มีกรรมฐานเป็นเครื่องอยู่
อาจมีรูปแบบและวิธีการแตกต่างกัน
ท่านผู้ใฝ่ธรรม ควรเลือกเอามาตามจริต
และใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อการบรรลุธรรมในที่สุด



FB :ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
>>> F/B รินไซเซน RINZAIZEN
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 20, 2015, 11:24:14 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: รินไซเซน RINZAIZEN :ใครกันที่ทุกข์ไปกับมัน ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 02:29:40 pm »



...ใครกันที่ทุกข์ไปกับมัน ? ...

"เมื่อจุดไฟให้สว่าง ความมืดก็หายพลัน" ...!
ความระทมขมขื่นเหมือนฝันร้ายที่ไม่มีคนฝัน

ความยุ่งยากหรือปมที่ยึดไว้ในจิต ไม่อาจแก้ออกทีละปม
การเยียวยาเพียงเพื่อ   เสริมตัวตน   ให้ดูดีนั้น ก็ไม่มีวันจบสิ้น
คุณอาจรู้สึกเบาสบาย หายกังวลใจลงบ้าง แต่นั่นไม่ถาวร
อย่าลืมว่าการเปลี่ยนที่พักพิงนั้น  ยังไม่ใช่   การพบบ้านที่แท้

การควานหาเงื่อนปมระบมปวด
ก็เหมือนคุ้ยฟอยหาตะเข็บ ความฝังใจเจ็บ
มีอยู่มาก เหมือนภูเขาขยะที่ถูกหมักหมม
วิธีขุดรากถอนโคนทุกข์ คือ  ตระหนักรู้  และไม่บิดเบือนมัน
ทุ่มเท.. พลังทั้งหมด ไปที่การปลุกใจให้ตื่นอย่างต่อเนื่อง



ความทุกข์ที่ฝังลึก ก็ไม่ต่างจากความเหงาเศร้าซึม
ผิวเผิน คือมันเป็นอารมณ์แฝงตัวอยู่ในจิต ไม่ใช่สิ่งจริงแท้ดั้งเดิม
ทุกข์โทมมนัสล้วนเป็นการเกาะตัวของ  ความจำที่มีอคติ
และอคติก็คือ   ความคิดแยะแยก   ที่ควบคุมวิธีการมองโลก

การได้ระบายอารมณ์อาจดูเหมือนหายป่วย แต่เชื้อยังอยู่
คือความยึดติดไม่มีวันสร่างซา เพราะหลงว่าเป็นเรื่องจริง

เมื่อเข้าใจและตระหนักอย่างคมชัด สิ่งมายาก็ไร้ที่อาศัย
ไม่มีสังขารใด..
..ตั้งอยู่เป็นตัวตนถาวร...  ใครกันที่ทุกข์กับมัน ?



Fb : ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen , Clearmind Zhao Ping
>>> F/B รินไซเซน RINZAIZEN
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2015, 02:29:50 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: รินไซเซน RINZAIZEN :ใครถูกท้าทาย !
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 02:40:01 pm »


... ใครถูกท้าทาย ! ...

สิ่งที่ผ่านเข้ามาท้าทายนั้น แท้จริงคืออะไร !
ใครกันหนอสะดุ้งตื่น เมื่อต้องถูกมันกล้ำกราย ?

โลกนี้ ก็คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์
สิ่งที่รับรู้โลก คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ความรับรู้ คือมโนวิญญาณ ผ่านทางอายตนะทั้งหก



จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ เป็นทวารทางผ่าน
มโนแยกแยะชอบ-ชัง แล้วเก็บเข้าคลัง "ภวังคะ"
สังสาระหมุนวน เพราะขาดค้นตรวจตรา มโนก็มายา
จึงแยกแยะไปตามอำนาจอวิชชาบ้าหลง เป็นตัวตน

วิปัสสนาแจ้งชัด ไม่ขัดในรูปเสียงไม่เคืองในอารมณ์
มโนเคยหลงชม พลิกสุขสม-ตรอมตรม เป็นปัญญา
ตระหนักว่าอนิจจาวัฏฏะสังขารา กระทบแล้วเสื่อมไป
ใด ๆ ล้วนไม่แน่ วิชชาแท้ทวนกระแสอย่างเคยชิน

วิสังขารหยุดพล่านการดิ้นรน พ้นตัวตนหลงท้าทาย
ไร้จิตเกิด-ดับสลับเปลี่ยน หมดเสี้ยนหนามธรรมดำรง



Fb : ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen , Clearmind Zhao Ping
>>> F/B รินไซเซน RINZAIZEN
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2015, 11:37:25 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: รินไซเซน RINZAIZEN
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 17, 2015, 08:18:23 pm »
รินไซเซน Rinzai ZEN
24 มิถุนายน เวลา 23:48 น. ·

● ท่าทีที่นอบน้อม เหมือนน้ำที่สามารถดำรงสถานะได้อยู่ทุกที่ บุคคลผู้มีความนอบน้อมย่อมเป็นที่ต้อนรับมากกว่าบุคคลผู้แข็งกร้าว ก้าวร้าว เถรตรงเกินไป ไร้ซึ่งปัญญาในการพิจารณาให้รอบคอบรอบด้าน

● นักศึกษาเซนที่แท้ คือผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความนอบน้อม เพราะความนอบน้อมแบบเซนนั้นไม่ใช่ลักษณะของความหัวอ่อนว่านอนสอนง่าย แต่เป็นลักษณะของการนอบน้อมด้วยปัญญาเห็นแจ้ง ไม่ดูหมิ่นดูแคลนผู้อื่น ยกตนข่มท่าน หรือดูหมิ่นปัญญาของผู้อื่นว่าต่ำกว่าตน เป็นผู้ให้ความเคารพต่อสรรพสิ่งได้อย่างไม่ลังเลตะขิดตะขวงใจ

● นักศึกษาเซนที่แท้ย่อมไม่กล่าวว่าตนนั้นรู้อะไร หรือไม่รู้อะไร การมุ่งศึกษาด้วยใจถ่อม นั่นคือลักษณะของนักศึกษาเซนที่แท้จรืง มีความอดกลั้นต่อสิ่งทั้งหลายด้วยสติรู้เท่าทันต่อสิ่งที่เกิดหรือที่กำลังจะเกิดขึ้น นั่นคือผู้ควบคุมตนเอง

● เมื่อเราดำรงอยู่ด้วยความนอบน้อม ด้วยความอดกลั้น บาปอกุศลทั้งหลายที่จะเกิดก็ย่อมเกิดได้ยาก กรรมไม่ดีทั้งหลายที่จะเกิดก็ย่อมเกิดได้ยาก วจีกรรมที่จะเกิดก็ย่อมระงับไป การกระทบกระทั่งกัน การทำร้ายทำลายซึ่งกันและกัน การโกรธแค้นชิงชังซึ่งกันและกันก็ย่อมเกิดได้ยาก เพราะความนอบน้อม ความอดทนอดกลั้นย่อมก่อให้เกิดความสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมจิตใจ

● เมื่อภายในใจไร้ซึ่งความโกรธแค้นชิงชัง ก็ย่อมนำมาซึ่งความปลอดโปร่งโล่งสบายแห่งจิต ปัญหาทั้งหลายในปัจจุบันที่จะเกิดก็ย่อมลดน้อยถอยลงไปในที่สุด การเบียดเบียนกันก็ย่อมไม่มี ซึ่งนับวันก็ยิ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากเต็มที มีแต่สนับสนุนให้แสดงออกในเรื่องที่เป็นบาปอกุศล เรื่องที่ควบคุมได้ยากกันเสียมาก ในที่สุดก็ควบคุมกันไม่ได้ เมื่อควบคุมไม่ได้ การแก้ไขก็ไม่ต่างอะไรกับการพายเรือวนอยู่ในอ่างนั่นเอง

● การเป็นฅนตรงไปตรงมานั้น อาจดูเหมือนว่ามันจะดี แต่ถ้าความตรงไปตรงมานั้นไม่ประกอบไปด้วยปัญญาอันถูกต้อง ไม่ประกอบด้วยกาล ไม่ประกอบไปด้วยความนอบน้อม มันก็มักจะนำปัญหามาให้ มากกว่าจะนำสิ่งดีๆมาให้ แล้วจะมาพร่ำบ่นว่าทำดีไม่ได้ดีก็ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่นัก

● ดังนั้น การสำรวมในบาปอกุศลทั้งหลาย จึงเป็นวิธีการแก้ไขที่นุ่มนวลที่สุด เป็นการแก้ไขที่ละมุนละม่อมที่สุด เป็นการแก้ไขที่ตรงจุดที่สุด เพราะไม่ได้มุ่งแก้ไขที่ผู้อื่นบุคคลอื่น แต่เป็นการแก้ไขที่ต้นตอของปัญหาเพื่อไม่ให้มันเกิดซ้ำซาก เหมือนการระงับยับยั้งเชื้อโรคไม่ให้กระจายออกไปด้วยยาปฏิชีวนะต่างๆ เมื่อเชื้อโรคถูกระงับยับย้งไว้ได้ เราก็เร่งสร้างความเพียรทำลายเชื้อโรคเหล่านั้นเสียให้หมดสิ้นไป ย้อนทวนกระแสบาปอกุศลขึ้นไปจนถึงที่สุด

● เพียรทำลายล้างเชื้อโรคในใจด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ด้วยวิปัสสนา ด้วยซาเซน อันเป็นรากฐานที่พระพุทธองค์และครูบอาจารย์ทั้งหลายวางเอาไว้ดีแล้ว ชัดเจนแล้ว แสดงให้เห็นแล้ว ละได้แล้ว ใช้ความดีเพื่อให้ทะลุไปสู่ความไม่มีดีไม่มีชั่ว ไปสู่ความไม่เกิดไม่ตายอันเป็นบรมธรรมนั้น นั่นเอง ฯ
______________________________________________________________________
(แชร์ได้ มอบให้เป็นธรรมทาน)
[ 座禅 ] 、24•06•2559•2016 | 23:30 UTC+07

**************************************************

..... 念佛是誰 เนี่ยน ฝอ ซื่อ เสย ....
          ใครบริกรรมพุทโธ !
ประโยคนี้ นับเป็น 話頭 ฮั้วโถว หนึ่งในหลายๆ กุศโลบาย
ที่ชาวพุทธนิกายเซนนำมาใช้เพื่อ "การชงักจิต" ให้สดุดลง
จากที่เคยชอบคิดนึกตรึกตรอง ใคร่ครวญไม่รู้จักจบจักสิ้น
จิตที่คิดปรุงแต่งเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์ เมื่อ "ชงักลง" ก็พบ
          หน้าตาแท้ ในปัจจุบันทันที !

ชาวพุทธมหายานมีปกติบริกรรมภาวนา "อามิตาภะ" คือนามพระพุทธเจ้า
แห่งแดนสุขาวดี โดยตั้งจิตปรารถนาลาจากวัฏฏสงสาร แต่ในเมื่อ กำลัง ยัง
ไม่เพียงพอ ก็ขอให้ไปเกิดใหม่ ในภพที่มีพระพุทธเจ้าแสดงธรรม
และบำเพ็ญเพียร ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการบรรลุธรรม
นิกายเซน สอนให้ย้อนกลับเข้ามาค้นหาความบริสุทธิ์ ในภายในของจิตเดิมแท้แห่งตน
จึงช่วงใช้การตั้งคำถาม เพื่อให้เกิดการสดุดและพลิกกลับ 返聞自性 ฝั่น เหวิน จื้อ ซิ่ง

เมื่อไร้จิต ที่หลงแล่นไปตามกระแสผัสสะ "สภาวบริสุทธิ์" ก็ผุดผ่อง เป็นอิสระอยู่เช่นนั้น !
念佛念心 心念佛 เนี่ยนฝอเนี่ยนซิน ซินเนี่ยนฝอ : บริกรรมพุทโธ บริกรรมจิต จิตแจ้งพุทโธ
参禪参性 性参禪 ชานฉานชานซิ่ง ซิ่งชานฉาน : วิปัสสนา พิจารณาสภาวะ สภาวะวิปัสสนา

แม้วิธีการทั้งสองจะดูคล้ายแตกต่าง แต่ก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือการพบจิตบริสุทธิ์ในภายใน
อย่างแรกเริ่มต้นด้วยศรัทธาในองค์พระสัมมาฯ ภาวนาขัดเกลาจิต ลดละอกุศลจนแจ่มแจ้ง
อย่างหลังสลัดคืนทุกสิ่ง ไม่นิ่งนอนเนิ่นช้าหาความสุข ไม่ไถลจิตคิดเกี่ยวเกาะสิ่งเศร้าหมอง !
อย่างแรกเน้นความศรัทธา ภาวนาพุทธานุสสติ ละบาปเจริญบุญ เกื้อหนุนกุศลกรรมบทสิบ
อย่างหลังปลุกจิตรู้ตื่น สลัดคืนนิวรณ์สิ่งปกคลุม ไม่ลุ่มหลงในชีวิต วันคืนเกื้อกูลสรรพสัตว์
จากสิ่งที่มี-เป็น มองเห็นความว่าง จากเคยมืดมนข้ามพ้นสว่างไสว ใจอิสระพบพระนิพพาน !


9/1/2015 บารมี ศรีอริยทรัพย์
รินไซเซน RINZAIZEN
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 20, 2016, 08:14:37 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เป็นอิสระจากจิต คือพุทธะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 17, 2015, 08:20:33 pm »


..... เป็นอิสระจากจิต คือพุทธะ .....
    หลักการพุทธศาสนานิกายเซน
  ของ ปรมาจารย์โพธิธรรม (ตั๊กม้อ)

เมื่อครั้งท่านเข้าไปสู่แผ่นดินมังกร ยุคราชวงค์เหลียง
ซึ่งการศึกษาพุทธศาสตร์ตามพระคัมภีร์ กำลังรุ่งเรือง
แม้องค์พระมหากษัตริย์ ก็ทรงบำเพ็ญบุญ สร้างบารมี
ทะนุบำรุงวัดวาอาราม ตลอดทั้งถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์
แต่ด้วยเจตจำนงที่หวังจะถ่ายทอด แนวทางบรรลุธรรม
จึงยังเป็นการยาก สำหรับผู้ที่ยึดความรู้ธรรมะตามตำรา !

ต่อมาท่านจึงไปภาวนาอยู่หลังวัดเส้าหลิน นานกว่า 9 ปี
กระทั่งมีผู้พร้อมที่จะบรรลุธรรมจาริกมา คือ ภิกษุฮุ้ยเข่อ
指直人心 จื๋อ จื่อ เหลิน ซิน : ถ่ายทอดโดยชี้ตรงไปสู่จิต
ภิกษุฮุ้ยเข่อ ผู้สับสนกระวนกระวาย ไม่เป็นอันกินอันนอน

ร้อนใจด้วยกรรมหนักในอดีต ปรารถนาจะพบทางหลุดพ้น
จึงดั้นด้นซมซานมาสู่ภูเขาซงซาน ที่หลีกเร้นของผู้รู้แจ้ง !
แต่แล้วก็ต้องทนหนาวเหน็บ เมื่อปรมาจารย์ยังอยู่ในฌาน
เวลาผ่านไปไฟแห่งโมหะยังแผดเผา ผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นใจตน
ความคิดจากอดีตไม่เหือดหาย ความคิดพะวงอนาคตรุมเร้า
ความคิดปัจจุบันก็มีแต่รอยแผลเก่า น่าเศร้าโศกเสียนี่กระไร !

               

โอ ภิกษุเอ๋ย ! แม้จะพากเพียรเรียนธรรม กดข่มกิเลสตัณหา
ปวารณาตนต่อรัตนะ ก็ใช่จะขจัดอาสวะดับทุกข์ได้โดยพลัน
เหมือนเศษก้างปลากำลังติดคอ ใครกันหนอที่จะช่วยเจ้าได้ !
เมื่อถึงกาลอันควร ครูผู้รู้แจ้งจึงถอยออกจากฌานการพักผ่อน
ปรากฏเห็นผู้มาเยือนคุกเข่าสงบนิ่ง ท่ามกลางหิมะโปรยปราย !
ตั๊กม้อ : อากาศเย็นยะเยือก ไยท่านจึงได้ทรมานตนอยู่เช่นนั้น ?
ฮุ้ยเข่อ : ท่านผู้สงบเอ๋ย ! ที่ข้าน้อยเร่ร่อนมาก็หวังให้ท่านเมตตา
ชี้ทางหลุดพ้นแก่คนยากไร้, ใจของข้าฯ เป็นทุกข์เหลือประมาณ !
ตั๊กม้อ : จงเอาใจของเจ้านั้น รีบส่งมา ข้าฯ จะช่วยให้สมปรารถนา !

ทันใด เมื่อฮุ้ยเข่อย้อนกลับเข้าไปมองหาใจที่กำลังสับสน นั่นเอง
พลันก็พบแต่ความว่างเปล่า, ดุจฟ้าสีคราม ปราศจากเมฆหมอก !
ฮุ้ยเข่อ : ท่านผู้สงบเอ๋ย ! เมื่อข้าฯ มองหาใจแต่ก็ไม่อาจพบมันได้ !
ตั๊กม้อ : นั่นแหละ, ข้าฯ ได้ช่วยเจ้าให้สงบลง จากใจของตนแล้ว !
ฮุ้ยเข่อ ผู้มีอุปาทานยึดมั่นถือมั่นว่าใจเป็นตัวเป็นตน ก็สว่างไสว
พบอมตะธรรม เป็นอิสระจากใจตน ในบัดดล ณ ขณะนั้น นั่นเอง.



ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุเคราะห์แก่ผู้มีบุญสัมพันธ์ ตั๊กม้อจึงให้หลัก
เพื่อการพบอมตะธรรมไว้ และได้สืบทอดลงมายาวนาน กว่าพันปี !

不利文字 ปู้ ลี่ เหวิน จื้อ : ไม่ยึดติดกับตัวอักขระ
教外别傳 เจี้ยว ไหว้ เปี๋ย ฉวน : ถ่ายทอดพิเศษนอกคัมภีร์
指直人心 จื๋อ จื่อ เหลิน ซิน : ชี้ตรงไปสู่จิตที่แท้
見性成佛 เจี้ยน ซิ่ง เฉิง ฝอ : พบสภาวะสำเร็จพุทธะ

นี่เป็นการจุดประกายแห่งจิตวิญญาณเซนยุคเริ่มต้น ในแผ่นดินจีน.
เมื่อถึงยุคปรมาจารย์เจ้าโจ 趙州 เซนได้เริ่มเป็นที่แพร่หลายไปทั่ว
เคยมีผู้ถามท่านว่า "ตามคัมภีร์ว่า "สรรพสัตว์ล้วนมีธรรมชาติพุทธะ,
แล้วในสุนัขตัวนั้นเล่า มีธรรมชาติพุทธะหรือไม่" !? ,
เจ้าโจ : 無 ไม่มี ! นี่จึงได้กลายเป็น 公安 กงอัน ปริศนาธรรม สืบมา

"กงอัน" อันลือเลื่องบทนี้ มีคำตอบจากปรมาจารย์เซนว่า 無 อู๋ ไม่มี !!!
ได้กลับแปรเป็น "องค์กรรมฐาน" ของสาวกเซนในกาลต่อมา. แทนที่
จะช่วยขจัดปัดเป่าความวิตกวิจารณ์ออกไปในทันที ตามจุดประสงค์
ที่แท้ แต่แล้วกลับมีบางสายนำมันไปใช้เป็น "องค์บริกรรม" ดั่งควาย
"เคี้ยวเอื้อง" จนน้ำลายฟูมปาก ! ซึ่งไม่ต่างจากการฝึกสมถะแบบอื่นๆ !
และด้วยความยึดมั่นถือมั่นแบบใสซื่อ เถรตรงนี่เอง เซนจึงได้ตายลง
เหมือนซากศพไร้วิญญาณ กลายเป็นแค่เรื่องเล่าขานตราบทุกวันนี้

การนำเอาคำตอบอันเปล่งปลั่งด้วยพลังชีวิตของเซน ไปใช้ผิดลู่ทาง
จึงทำให้การบรรลุธรรมฉับพลันอย่างเซน ต้องลดคุณค่าลงเป็นเพียง
การนั่งข่มใจให้จดจ่อที่คำบริกรรม เหมือนหมาที่ขยันแทะเลียกระดูก !
"เซน" ไม่ใช่จิตบำบัด ที่ให้ยิ้มน้อยๆ คลอเคลียกับลมหายใจ เข้า-ออก !
หากการเล่นเกมส์สมาธิภาวนาข้างถนนเป็นเซน ก็ขอให้เป็นแค่การเริ่ม
และการสลัดคราบของความเป็นนักภาวนาอาสาออกไป ถือเป็นภารกิจ
ที่ใครเป็นสาวกเซน ล้วนต้องตระหนัก !

無 อู๋ ไม่มี คำนี้, เป็นสิ่งที่ปราจารย์เซนเจ้าโจ ชี้ตรงไปสู่พุทธภาวะทันที
ก่อนที่ความคิดเรื่อง "มี" หรือ "ไม่มี" จะปรากฏตัวเป็นรูปความคิดขึ้นมา !
"เซน" ไม่ใช่ลัทธิปฏิเสธโลก แล้วเข้าไปจมอยู่กับกรอบจำกัดของข้อวัตร
และไม่ใช่พวกที่ดิ้นรนแสวงหาอีโก้ ความเป็นตัวตนของตนแต่อย่างใด !
"เซน" เคารพและศรัทธายิ่ง ในธรรมชาติอันบริสุทธิ์ดั้งเดิมของสรรพสัตว์
ดังนั้น สิ่งที่ต้องขจัดออกไป คือ บทบาทอันจอมปลอมของอัตตาต่างหาก !
ไม่ว่าจะมาในคราบเซน หรือรูปแบบดั้งเดิม ก็อย่าให้มันกลายเป็นสิ่งบดบัง
เพราะมีเพียงการสลายตัวตนลงเท่านั้น ธรรมชาติแท้จึงอาจเปล่งประกาย !

以假為真 อี เจี่ย เหวย เจิน : หลงยึดเอาสิ่งปลอมว่าเป็นจริงจัง
以少為足 อี ซ่าว เหวย จู๋ : หลงยึดเอาสิ่งเล็กน้อยว่าเป็นที่สุด !
นี่คือคำเตือนจากปรมาจารย์เซนครั้งบุราณกาล ที่ลูกหลานเซนพึงตระหนัก.

無 อู๋ : ไม่มี
無心 อู๋ ซิน : ไม่มีจิต
無可得 อู๋ เข่อ เต๋อ : ไม่อาจได้รับ
無不可得 อู๋ ปู้ เข่อ เต๋อ : ไม่มีสิ่งใดที่ไม่ได้รับ
無所不在 อู๋ เสว่อ ปู้ ไจ้ : ไม่มีแห่งใดที่ไม่มีอยู่
無量無遍 อู๋ เลี่ยง อู๋ เปียน : ไม่มีประมาณ ไม่มีจำกัด
無路可行 อู๋ ลู่ เข่อ สิง : ไม่มีทางไป
無自無他 อู๋ จื้อ อู๋ ทา : ไม่มีตนเอง ไม่มีผู้อื่น
無來無去 อู๋ ไหล อู๋ ชวี่ ไม่มีการมา ไม่มีการไป
無攀缘心 อู๋ พาน เหยี่ยน ซิน : ไม่มีจิตไปเกาะเกี่ยว
無行無相 อู๋ สิง อู๋ เซี่ยง : ไร้รูป ไร้ลักษณะ
應無所住 อิง อู๋ สว่อ จู้ : อย่าให้จิตตั้งอยู่ที่ใด



16/1/2015 บารมี ศรีอริยทรัพย์
รินไซเซน RINZAIZEN
: https://www.facebook.com/RINZAIZENTHAILAND?fref=nf
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 20, 2015, 11:16:48 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด
Re: รินไซเซน RINZAIZEN
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 19, 2015, 10:32:29 pm »

:24: :24: :24:

พี่ แป๋ม หายไปอีกแล้ว
ชิเน กทริยํ ทาเนน


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: รินไซเซน RINZAIZEN
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2015, 06:46:34 pm »


...... เปิดเผยสิ่งที่ซ่อนเร้น ......

ขณะที่คุณกำลังใส่ใจ ฟังคำวิจารณ์จากผู้อื่นนั้น
ก็คือ ขณะแห่งการสยบความอหังการลงนั่นเอง !
"ตัวตน" มักเกาะเกี่ยวแอบแฝงอยู่กับสิ่งที่ปักใจ
แต่คราใดที่มีคนอื่นมาลูบคม พลันก็ลุกเป็นไฟ !
เห็นธรรม คือเห็นสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในสิ่งเปิดเผย
ถึงธรรมนั้น ก็ไม่มีสิ่งใดเกินไปกว่าเท่าที่มันเป็น !

เมื่อปัจจุบันขณะเต็มเปี่ยม ย่อมไม่พบสิ่งที่พร่อง
เพราะจิตเลื่อนลอย อารมณ์ร้อยแปดจึงครอบงำ !
.
4/8/2558 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี



...... สิ่งนั้น คือ ......

หากจิตนี้ยังมีการปรุงแต่งตื่นเต้นหวั่นไหว ไปกับเรื่องใด
ความผูกพันในเรื่องนั้นๆ นั่นเอง คือสิ่งที่ต้องถูกสลัดออก !
ถ้าไขว่คว้าหาสิ่งเที่ยงแท้ถาวร ก็เท่ากับขุดหลุมฝังศพตน
หากดิ้นรนเพื่อไม่ให้มีอะไรเลย ก็ยิ่งกว่าไถลลื่นลงก้นเหว !

สลัดออกๆ ก็เหมือนการถอนหนามทิ่มตีนออก นั่นแหละ
เมื่อจิตรำงับดับลงจนถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่ปรากฏอยู่นั้น คือ...!
.
26/7/2558 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี



จงปล่อยให้ความกลัดกลุ้มที่รุมเร้านั้น นั่นเอง
นำคุณคืนสู่ความตื่นรู้,
เมื่ออ่อนโยน ผ่อนคลาย ก็ไม่ขัดแย้ง,
จึงเคลื่อนคล้อยไปกับกระแส !
.
26/7/2014 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี



...... พลิกจิต ......

สิ่งที่ได้ผ่านไปแล้วนั้น ไม่อาจจะนำมันกลับคืนมา
แม้เพียงชั่วขณะเดียว สิ่งนั้นก็ชื่อว่าได้ผ่านไปแล้ว.
เราไม่อาจรู้ว่า อนาคตจะเกิดเรื่องอะไรๆ ขึ้นมาอีก,

ดังนั้น, พวกเราจึงมีเพียงแค่ปัจจุบันขณะนี้ เท่านั้น.
การพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนเช่นนี้,
ช่วยในการพลิกจิต ให้หมุนคล้อยมาในทางธรรม..!

องค์กรรมาปะที่ 17 ผู้นำนิกายคากิว แห่งวัชรยาน
.
26/7/2014 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี แปล



...... ความสำเร็จที่ไม่กลับกลาย ......

หากคุณคิดอ่านจะเป็น ผู้ประสบความสำเร็จแล้ว
ก็จงเข้าใจและระมัดระวัง ทางไปสู่ความล้มเหลว !
ลูกหลานที่ไม่รู้จักบรรพชน ก็หาใช่อนุชนผู้สืบต่อ
ผู้ไม่เคยฝึกตน ย่อมไม่มีปัญญาจะไปอบรมคนอื่น !
หากไม่รู้จักการเป็นผู้ตาม ก็ยากจะรู้การเป็นผู้นำ
เคล็ดลับที่เปิดเผยแล้ว ย่อมหมดสิ่งที่น่าสนใจอีก !

ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ มิใช่สิ่งที่ต้องจดจำ
มีอำนาจต้องตัดสินใจ ความโลเลคือทางพ่ายแพ้ !
ปรัชญาสายกลาง หาใช่การยึดติดแง่มุมบางส่วน
ปรัชญาจิตนิยม ล้วนปฏิเสธการยึดถือในมายาจิต !
ไม่รู้จุดหมายการภาวนา ลำบากไปก็เหนื่อยเปล่า
เมื่อทราบใจความสำคัญ ก็ไม่ต้องแบกหามคัมภีร์ !
อย่านำเสนอหัวใจ โดยที่ยังไม่ได้ชี้ให้เห็นเปลือก

ผู้ที่มือยังสกปรก ลูบคลำสิ่งใดก็ย่อมเปื้อนเปรอะ !
สิ่งใดอาจเอื้อนเอ่ย สิ่งนั้นย่อมมีรูปลักษณะอาการ
ความตระหนักรู้เป็นความคมชัด ที่ไม่มีการแล่นไป !
จิตที่คมชัด แม้ยามช่วงใช้ก็เคลื่อนไหวอย่างมั่นคง
เมื่อวางของหนักลงแล้ว จงอย่าเที่ยวหามสิ่งใดอีก !
ความเมตตากรุณา เป็นดุจสายฝนอันโปรยปราย
สติปัญญาอันแจ่มใส คือไม่ลำเอียงเพราะชอบ-ชัง !
.
23/7/2558 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี



...... สลัดคืนสังสาระ ......

เพราะลื่นไหลตามเงา เราเขาพลันยุ่งเหยิง
สุขรื่นเริงคละเคล้า รุมเร้าสุมเผาดวงหทัย !
แจ่มแจ้งธรรมหามีใคร ได้หมุนไปตามโลก
ความเศร้าโศกสิ้นสุด เมื่อหยุดเพลิดเพลิน !
.
21/7/2558 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี



หากย้อนกลับ ก็อาจพบที่ที่คุณจากมา
แต่ถ้าถลำเรื่อยไป แม้เงาก็อาจไม่พบ !
.
11/7/2558 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลฯ



ผู้ที่ยังตามความรู้นั่นเอง คือผู้ที่ยังต้องท่องเที่ยวไป !
เพราะขณะหนึ่งนั้นแสนสั้น สุดจะเอ่ยรำพันจำนรรจา
สรรพสิ่งปรากฏวับแล้วดับวูบ ลูบคลำไซร้ไม่ใช่ทาง !
.
8/7/2558 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี



...... การเยี่ยวยาแผลใจในเชิงลึก ......

ความตระหนักรู้อย่างผ่อนคลาย คือรหัสปลดล็อคอารมณ์
ความเนิ่บช้าอย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นแสงทำลายความมืด !
ทุกๆ ขณะที่จิตแล่นไปเสวยอารมณ์จร คือการเผชิญหน้า
แต่ละขณะที่จิตกำลังตื่นตัวอยู่ คือช่วงที่สลายขั้วขัดแย้ง !
การสะสมยึดติดอย่างไม่รู้ตัว ย่อมก่อให้เกิดการหมักหมม

ประสบการณ์นั้นไม่ตั้งอยู่ เพราะขาดแยบคายจึงคิดไปเอง !
แค่การจดจ่อแต่ขาดความแยบคาย อาจพาจิตตกสู่ภวังค์
ด้วยความรู้สึกตัวและแววไว ทุกขณะไซร้แปรเป็นหนทาง !
คำพูดอันมากหลาย ไม่อาจกลายเป็นความจริงที่ไร้อักษร

ประสบการณ์ผ่านแล้วผ่านเลย แต่ความยึดติดข้องเกี่ยว !
เรื่องที่เคยเกิดขึ้นแล้วย้อนมากำเริบซ้ำ ย้ำว่ายังมีค้างคา
ทุกสิ่งที่ดิ้นรนไขว่คว้า ล้วนเป็นมายาสะท้อนจากดวงจิต !
ช่วงซึมซาบอยู่กับความจริงแต่ละขณะๆ คือการคลี่คลาย
เมื่อตัวผู้รับรู้ถูกปลุกให้ตื่นขึ้น สิ่งที่ถูกรับรู้จึงไร้พิษเจือปน !
.
.
.
1/7/2558 สวนศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี
ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
https://www.facebook.com/livelyzen