สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ“สรงน้ำพระวันสงกรานต์”
ประกาศสงกรานต์ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จุลศักราช ๑๓๗๕, คริสตศักราช ๒๐๑๓, มหาศักราช ๑๙๓๕, รัตนโกสินทร์ศก ๒๓๒ ตรงกับปีมะเส็ง (มนุษย์ผู้ชาย ธาตุไฟ) เบญจศก จันทรคติเป็นปกติมาส ปกติวาร สุริยคติเป็นปกติสุรทิน นางสงกรานต์ มีนามว่า “มโหธรเทวี” ทรงพาหุรัด ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาทรงจักร หัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา) มาเหนือหลังมยุรา (นกยูง) เป็นพาหนะ
เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ ศุกร์เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๖๐๐ ห่า ตกในเขาจักรวาล ๒๔๐ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๘๐ ห่า ตกในมหาสมุทร ๑๒๐ ห่า ตกในโลกมนุษย์ ๖๐ ห่า
เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อ อาโป (ธาตุน้ำ) น้ำมาก น้ำท่วม
เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีมะเส็ง นาคราชให้น้ำ ๑ ตัว ทำนายว่า ฝนต้นปีมาก กลางปีงาม แต่ปลายปีน้อยแล
เกณฑ์ธัญญาหาร ชื่อ ปาปะ ข้าวกล้าในไร่นาจะได้ผล ๑ ส่วน เสีย ๑๐ ส่วน คนทั้งหลายจะตกทุกข์ได้ยากลำบากแค้น เพราะกันดารอาหารบ้าง จะฉิบหายเป็นอันมากแล
วันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๑๔ เมษายน
เวลา ๑ นาฬิกา ๕๘ นาที ๔๘ วินาที
ตรงกับเวลา ๒ นาฬิกา ๑๖ นาที ๔๘ วินาที
(เวลามาตรฐานประเทศไทยปัจจุบัน)
จันทรคติตรงกับ วันเสาร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนห้า (๕) ปีมะเส็ง
วันเถลิงศก ตรงกับวันอังคารที่ ๑๖ เมษายน
เวลา ๕ นาฬิกา ๕๖ นาที ๒๔ วินาที
ตรงกับเวลา ๖ นาฬิกา ๑๔ นาที ๒๔ วินาที
(เวลามาตรฐานประเทศไทยปัจจุบัน)
จันทรคติตรงกับ วันจันทร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนห้า (๕) ปีมะเส็ง
เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น ๑๓๗๕
ปีนี้วันพฤหัสบดี เป็นธงชัย วันอาทิตย์ เป็นอธิบดี
วันพุธ เป็นอุบาทว์ วันอังคาร เป็นโลกาวินาศ
จากคำประกาศสงกรานต์ดังกล่าวจะตรงกับคำทำนายและความเชื่อคนโบราณ
ซึ่งจาก หนังสือตรุษสงกรานต์ ของ อาจารย์สมบัติ พลายน้อย
ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้กล่าวถึงคำทำนายไว้ดังนี้
เนื่องจาก นางสงกรานต์ไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา)
จึงทำนายได้ว่า พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี
วันมหาสงกรานต์ตรงกับ “วันเสาร์” จึงทำนายได้ว่า
โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง
วันเนาตรงกับ “วันอาทิตย์” จึงทำนายได้ว่า
ข้าวจะตายฝอย คนต่างด้าวจะเข้าเมืองมาก ท้าวพระยาจะร้อนใจ
วันเถลิงศกหรือวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ตรงกับ “วันจันทร์”
จึงทำนายได้ว่า พระราชินีและท้าวนางฝ่ายในจะมีความสุขสำราญ
ส่วน คำทำนายของล้านนา นั้น หากวันมหาสงกรานต์ตรงกับ “วันเสาร์”
นางสงกรานต์จะมีนามว่า “สามาเทวี” ทำนายได้ว่า
ปีนั้นฝนแล้ง แมลงต่างๆ จักทำร้ายพืชไร่มากนัก
ไฟจักไหม้บ้านไหม้เมือง เกิดอัคคีภัยใหญ่ ข้าวยากหมากแพง
คนเกิดวันจันทร์มีเคราะห์ คนเกิดวันศุกร์มีโชคชมรมคนรักเมืองไทย เรารักเมืองไทย14เมษายน เรียกว่า
วันเนาว์ วันแห่ง ปิยะวาจา
วันถัดจากวันสงกรานต์ หนึ่งวันชาวล้านนาเรียกว่าวันเนาว์ มีกิจกรรมที่ต้องทำและต้องห้ามหลายอย่าง โดยเฉพาะห้ามด่าทอทะเลาะวิวาท เพราะเชื่อว่าจะนำความอัปมงคลมาสู่ชีวิตตลอดปี
วันนี้เป็นวัน ถัดจากวันสงกรานต์ 1 วัน ชาวไทยล้านนาเรียกว่าวันเนาว์หรือวันเน่า ในวันนี้ห้ามทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล ห้ามด่าทอทะเลาะวิวาทกัน กล่าวกันว่าผู้ใหญ่ที่ด่าทอผู้อื่นในวันนี้ ปากของผู้นั้นจะเน่าเหม็น และหากทะเลาะวิวาทกันในวันนี้ บุคคลผู้นั้นจะเป็นอัปมงคลไปตลอดชีวิต ส่วนผู้ที่ประสงค์จะปลูกบ้านเรือนด้วยไม้ไผ่ ให้รีบตัดในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่าไม้จะเน่า ไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ดังกล่าว วันเนาว์อาจจะเรียกว่าวันดา จะเป็นวันเตรียมงาน ชาวบ้านจะพากันไปซื้อของเพื่อนำมาใช้ในวันพญาวัน ตอนบ่ายมีขนทรายเข้าวัด ถือเป็นการนำมาทดแทนส่วนที่ติดเท้าของตนออกจากวัดซึ่งเท่ากับว่าได้ลักขโมย ทรายออกจากวัดโดยไม่เจตนา
ในวันนี้ประชาชนภาคเหนือจะทำตุง เช่นตุงไส้หมู ตุงช่อหรือพญายอ และช่อ รูปทรงสามเหลี่ยมเตรียมไว้ปักเจดีย์ทราย สนใจชมหรือร่วมก่อเจดีย์ทรายสุดส้าว หรือเจดีย์ทรายที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถแวะไปร่วมก่อเจดีย์ทรายและขนทรายเข้าวัดได้ที่วัดเจ็ดลิน ขณะที่ขบวนแห่ไม้ค้ำสะหลีและขนทรายเข้าวัดบนถนนท่าแพจะเริ่มในเวลา 16.00 น.วันนี้ตั้งแต่สะพานเหล็กไปยังถนนท่าแพ ส่วนนิทรรศการจ้อและตุงจัดแสดงที่วัดอินทขีลสะดือเมือง
ขนมที่ นิยมทำกันในเทศกาลสงกรานต์ คือ ข้าวหนมจ็อก หรือขนมเทียน ข้าวหนมปาด หรือขนมศิลาอ่อน เข้าวิทู หรือข้าวเหนียวแดง และข้าวแต๋น เป็นต้น โดยเทศกาลสงกรานต์ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ไทย จะไม่นิยมทำอาหารที่เน่าเสียง่าย
ธนวันต์ ชุมแสง สวท.เชียงใหม่
..๑๕ เมษายน..
***15 เมษายน 2556*** (
วันพญาวัน)
วันพญาวัน เป็นวันเถลิงศกเริ่มต้นจุลศักราชใหม่ วันนี้เป็นวันที่มีการทำบุญทางศาสนาดัง ตั้งแต่เวลา เช้าตรู่ผู้คนจะนำเอาสำรับอาหารหวานคาวต่าง ๆ ไปทำบุญถวายพระตามวัด ทานขันเข้า (อ่าน"ตานขันเข้า") เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษหรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วด้วย บางคนอาจนำสำรับอาหารไปมอบให้แก่บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือ เรียกว่า ทานขันเข้าฅนเถ้าฅนแก่
จากนั้นจะนำทุงหรือธงซึ่งได้เตรียมไว้ไปปักบนเจดีย์ทราย ทั้งนี้ มีคติว่าการทานทุง นั้นมีอานิสงส์ สามารถช่วยให้ผู้ตายที่มีบาปหนักถึงตกนรกนั้นสามารถพ้นจากขุมนรกได้ จากนั้นก็มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
ในวันพญาวันนี้ บางท่านอาจจะเตรียมไม้ง่ามไปถวายสำหรับค้ำต้นโพธิ์ ถือคติว่าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการจะช่วยกันค้ำจุนพระศาสนาให้ยืนยาวต่อไป และจะมีการสรงน้ำทั้งพระพุทธรูป สถูปเจดีย์รวมทั้งสรงน้ำพระภิกษุสงฆ์ด้วย ในตอนบ่ายจะมีการไป ดำหัวหรือไปคารวะผู้เฒ่าผู้แก่บิดามารดา ญาติพี่น้องผู้อาวุโสหรือผู้มีบุญคุณหรือผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาและผู้ใหญ่ก็จะให้พร
การดำหัวเริ่มต้นจากการกล่าวคำสุมาคารวะ โดยผู้อาวุโสในที่นั้นยกมือไหว้กล่าวนำ ดังนี้
"ในโอกาสที่ปี๋เก่าได้ล่วงพ้นมาแล้ว
ปีใหม่แก้วก็มารอดมาเถิง
ผู้ข้าทั้งหลากก็มาร่ำเปิงเถิง
ยังอดีตปาเวณีอันดีงามแต่ก่อน
บ่ห่อนละเสียยังศรัทธา
จึงพากันน้อมนำมายัง ข้าวตอก ดอกไม้
ไทยทาน วัตถุบริวารทานและน้ำส้มปล่อย
เพื่อจักมาสุมาคารวะ
หากได้ล่วงล้ำด้วย กาย วาจา ใจ
ด้วยเจตนาก็ดี บ่เจตนาก็ดี
ขอท่านจุ่งมีเมตตาลดโทษ
และขอหื้อท่านจุ่งโปรดปันศีลปันพรชัยหื้อเปนมังคละ
แก่ผู้ข้าทั้งหลายแด่เทอะ"
จากนั้นประเคนขันข้าวตอกดอกไม้ น้ำส้มปล่อย และเครื่องสักการะดำหัว ผู้ใหญ่รับแล้วก็จะเอามือจุ่ม้นำส่มปล่อยลูบศีรษะ และอาจสลัดพรมน้ำส้มปล่อยแก่ผู้มาดำหัวด้วยความเมตตา
***ความเชื่อ***
วันพญาวันควรทำลาบเป็นอาหาร เพราะทานลาบในวันนี้จะทำให้มีโชคลาภตลอดปี
-พญาวันมาในวันอาทิตย์ ยักษ์มาอยู่เฝ้าแผ่นดิน ห้ามทำการมงคลกรรมในวันอาทิตย์
-พญาวันมาในวันจันทร์ นางธรณีมาอยู่เฝ้าเผ่นดิน กระทำมงคลกรรมในวันจันทร์ในปีนั้นดีนัก
-พญาวันมาในวันอังคาร พญาวัวอุศุภราชมาอยู่เฝ้าแผ่นดิน ทำการมงคลกรรมในวันอังคารดีนัก
-พญาวันมาในวนพุธและวันพฤหัสบดี นาคมาอยู่เฝ้าแผ่นดิน กระทำการมงคลกรรมใดๆ ในวันพุธได้ผลดี
-พญาวันมาในวันศุกร์ ช้างมาอยู่เฝ้าแผ่นดิน กระทำการใดๆ ในวันศุกร์ของปีนั้นให้ผลสมบูรณ์ดีี
ที่มา : สำนักหอสมุด ม.เชียงใหม่/by สาระแ่ห่งสุขภาพ
..ให้สุขสมหวังดั่งใจหมายตลอดไปนับจากวันสงกรานต์ปี ๒๕๕๖ นี้..
Blessings and a joyfilled weekend- http://www.facebook.com/kajitsai.sakuljittajarern