เขมาเขมสรณทีปิกคาถา
พาหุง เว สะระนัง ยันติ ปัพพะตานิ วะนานิ จะ
มนุษย์เป็นอันมาก เมื่อเกิดภัยคุกคามแล้ว, ก็ถือเอาภูเขาบ้าง
อารามะทุกรุกขะเจต์ยานิ มะนุสสา ภะยะตัชชิตา,
ป่าไม้บ้าง, อาราม และรุกขเจดีย์บ้าง เป็นสรณะ;
เนตัง โข สะระณัง เขมัง เนตัง สะระณะมุตตะมัง,
นั่นไม่ใช่สรณะอันเกษมเลย, นั่น มิใช่สรณะอันสูงสุด;
เนตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ.
เขาอาศัยสรณะ นั่นแล้ว ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
โย จะ พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระนัง คะโต,
ส่วนผู้ใดถือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะแล้ว;
จัตตาริ อะริยะสัจจาริ สัมมัปปัญญายะ ปัสสะติ,
เห็นอริยสัจจ์ ความจริงอันประเสริฐสี่ ด้วยปัญญาอันชอบ;
ทุกขัง ทุกขะสะมุปปาทัง ทุกขัสสะ จะ อะติกกะมัง
คือเห็นความทุกข์, เหตุให้เกิดทุกข์, ความก้าวล่วงทุกข์เสียได้,
อะริยัญจัฏฐังคิกัง มัคคัง ทุกขูปะสะมะคามินัง
และหนทางมีองค์แปดอันประเสริฐ เครื่องถึงความระงับทุกข์;
เอตัง โข สะระณัง เขมัง เอตัง สะระณะมุตตะมัง
นั่นแหละเป็นสรณะอันเกษม, นั่นเป็นสรณะอันสูงสุด
เอตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ.
เขาอาศัยสรณะ นั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
พระสูตรชื่อ อัคคัญญสูตร ได้ทรงแสดงความเป็นมาของสังคมมนุษย์เป็นลำดับ โดยเริ่มแต่เกิดมีสัตว์ขึ้นในโลกแล้วเปลี่ยนแปลงตามลำดับ ตามวิวัฒนาการ จนเกิดมีมนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นพวกพ้อง จึงเกิดความจำเป็นต้องมีการปกครอง และมีการประกอบอาชีพ การงานต่างๆกัน วรรณะทั้งสี่ก็เกิดจากความเปลี่ยนแปลง ทรงแสดงว่าสิ่งเหล่านี้ มิใช่เป็นเรื่องของพรหมสร้างสรรค์ แต่ทรงแสดงว่าเกิดจากธรรม (ธรรมดา, กฎธรรมชาติ)หรือเป็นไปตามกฏปฏิจจสมุปบันธรรม ทุกวรรณะประพฤติชั่วก็ไปอบายได้ ปฏิบัติธรรมก็บรรลุนิพพานได้.
อัคคัญญสูตร
พระองค์ท่าน เปรียบเหมือนบุคคลผู้หงายของที่คว่ำปิดอยู่, เปิดของที่ปิด, บอกทางแก่คนหลงทาง,
หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยประสงค์ว่าผู้มีจักษุคือปัญญาจักขุจักเห็นรูปหรือเข้าใจได้นั่นเอง
-http://www.nkgen.com/445.htm