อย่าไปสนใจคิดถึงกาลสถานที่ หรือบุคคลใดๆ
ว่าเป็นภัยและเป็นคุณให้เสียเวลา
และล่าช้าไปเปล่าโดยไม่เกิดประโยชน์อะไร
ยิ่งกว่าการคิดเรื่องกิเลสกับธรรม ซึ่งมีอยู่ที่ใจ
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
..
..
จิตนี้เมื่อถูกสติเตือนเข้าบ่อยๆ มันก็รู้ตัว
รู้ตัวแล้วมันก็คลาย มันก็ปล่อยวางอารมณ์
ไม่ส่งเสริม ไม่คิดไม่ปรุงไปอีก
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
..
..
เราถึงพระพุทธเจ้าอย่างไร ถึงพระธรรมอย่างไร ถึงพระสงฆ์อย่างไร
ให้มาพิจารณาถึงกายของตน จิตใจของตน
ถึงพระพุทธเจ้า หมายความว่าใจเบิกบาน
ใจรู้เท่าต่อสิ่งทั้งปวง
ไม่มีความดิ้นรนต่อสิ่งที่ไม่พอใจ
สิ่งที่พอใจก็ไม่มีความฟูขึ้นไปตามอารมณ์
เรียกว่าพุทโธ เป็นผู้รู้ยิ่ง...
หลวงปู่ขาว อนาลโย
..
..
แท้จริงการปฏิบัติธรรม
ใช้เพียงขณะปัจจุบันตรงหน้าเท่านั้น
ด้วยการมีสติรักษาใจให้ปกติสุข
การปฏิบัติธรรมจึงมีความจำเป็น
ต้องเห็นทุกเหตุปัจจัยตรงปัจจุบัน
ปัญญาก็จะเกิดขึ้นตรงปัจจุบันนั้น
ความปกติสุขอันเป็นผลของการปฏิบัติ
ก็เกิดขึ้นตรงปัจจุบันนั้น
พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส
..
..
ถ้าเรายังเกิด เราก็ต้องทุกข์ อย่างนี้
อะไรทำให้ทุกข์ เพราะความอยาก ทำให้ทุกข์
ถ้าเราไม่อยาก เราก็ไม่ทุกข์
ที่เราทุกข์ ก็เพราะชาติก่อนเราไม่หมดอยาก
และชาตินี้ เราก็ยังอยาก
เมื่อไรความอยากสิ้นไป เมื่อนั้นก็ถึงนิพพาน
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
..
..
เรื่องชีวิตประจำวันทั้งหมดนี่เป็นอารมณ์สมาธิ
แล้วเราจะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้อย่างไร
สติตัวเดียว ทำ พูด คิด ฯลฯ ให้รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
ในตอนแรกๆ อาจจะสับสนวุ่นวาย
แต่เราพยายามฝึกให้คล่องตัวชำนิชำนาญแล้ว
มันจะเป็นอัตโนมัติไปหมดเลย
เรื่องได้สมาธิขั้นใด ตอนใด อย่าไปสนใจ
เอาสติตัวเดียวเท่านั้น
ทำงานอะไรต่างๆ นี้ เป็นอารมณ์สมาธิทั้งนั้น
ขอให้เรามี “สติ” ลูกเดียว
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
..
..
เวลานั่งสมาธิภาวนา ตาไม่มีประโยชน์ ไม่ต้องดูอะไร
เอาจิตใจ ดูใจของเรานั่นแหละ
มันคิดฟุ้งซ่านไปไหน หลงไปในอารมณ์ใด ๆ
เอาตาใจนั้นสอนใจของเรา
ผู้อื่นสอนยังห่างไกล
จิตใจเราจะเข้าใจในธรรมะปฏิบัตินั้น
ตัวเองจะต้องสอนตัวเอง
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
..
..
ถ้าหวังพึ่งแต่คนอื่น จะต้องกลืนน้ำตาตัวเอง
หลวงปู่จันทร์ กุสโล
..
..
ทุกท่านจงพยายามแก้ไขความทุกข์
การที่จะแก้ไขความทุกข์
ก็ต้องแก้ที่สาเหตุของความทุกข์เสียก่อน
นั้นคือความอยาก ให้มันเบาบางถึงกับจางหายไป
จากจิตใจของเราเป็นที่สุด
ให้เป็นผู้มีสติ ให้เป็นผู้มีปัญญา ที่จะสามารถต้านทาน
หรือป้องกันอารมณ์ที่ไม่ดี ที่จะมาครอบงำจิตใจของเรา
หลวงปู่ครูบาพรหมา พรหมจกฺโก
..
..
ความเพียรไม่ขึ้นอยู่กับการยืน การเดิน การนั่ง การนอน
แต่ขึ้นอยู่กับสติ หรือปัญญา ถ้าเรามีสติประคับประคองจิตใจของเราอยู่เสมอ
รู้ความเคลื่อนไหวของใจตนเอง
ทั้งที่จะเป็นไปในทางที่ผิดและที่ถูก ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียร
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
..
..
สติที่ใหญ่มีกำลัง สมาธิก็เกิดขึ้น
สมาธิเกิดขึ้นจากการมีสติเท่าทันนี่แหละ
ถ้ามีสติเท่าทันต่อสภาวธรรมทางกายทางใจ
ก็จะเกิดสมาธิขึ้นเอง
ความสงบในจิตใจก็เกิดขึ้น
จิตที่มันไม่สงบเพราะเราขาดสติ
มันไม่มีสติตามดูรู้ทัน จิตก็จะปรุงแต่ง...
ปรุงแต่งในเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง หรือเรื่องที่ได้เห็น
ในเรื่องที่ได้คิดไว้ได้รู้ไว้
เอาไปปรุงแต่งในเรื่องต่างๆ เหล่านั้น
จิตก็วุ่นวายสับสนสร้างความทุกข์ต่อจิตใจของตนเอง
พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี
..
..
...พระองค์ย้ำว่า ปัญญา นี่แหละเป็นตัวตัดสิน
ศรัทธา ก็เพื่อปัญญา โดยเฉพาะศีลวัตรนั้นช่วยให้เกิดสมาธิ
สมาธิก็ต้องนำไปสู่ปัญญา
ถ้าไม่อย่างนั้น ก็เป็นเพียงสมาธิที่นำไปสู่ภาวะดื่มด่ำทางจิตเท่านั้น
เป็นเรื่องของสมถะ ไม่ถึงนิพพาน...
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
..
..
ความไม่รู้จักพอมันทุกข์ เป็นทุกข์
เพราะไม่รู้จักตัวเอง
มันเมาแต่เสาะหาครูบาอาจารย์
เสาะหาธรรม แต่ไม่รู้จักว่า
ธรรมในตน ธรรมมิใช่นอกตน
ฟังมาแล้วหลายครู
หลายอาจารย์ หลายสำนัก
แต่สำนักภายในตน รู้จักได้หรือยัง
หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ
..
..
เป็นมนุษย์ต้องกระทบโลก
ด้วย รูป รส กลิ่น เสียง และธรรมารมณ์
เมื่อเราคุมจิตไม่ได้ อะไรก็เกิดขึ้นได้ ...
ถ้าเราไม่มีสติ จิตก็จะเกิดการปรุงแต่ง
กรรมก็จะเกิดขึ้น
ยินดีหรือยินร้าย หรือไม่มียินดียินร้าย
กิเลสเกิดขึ้น
เพราะไม่มีสติป้องกัน
พระอาจารย์สุมโนภิกขุ
สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำสองตา อ.ปากช่อง
..
..
บุคคลที่หนีปรากฏการณ์
แต่ไม่ยอมหนีจิตปรุงแต่ง
ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่
โง่เขลาเบาปัญญา
คนฉลาดจะพยายามหนีจิตปรุงแต่ง
แต่ไม่หนีปรากฏการณ์
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
..
..
>> F/B เพจ สมาธิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย