21 มกราคม เวลา 8:58 น.
.. สุคติ แปลว่า ไปดี
ถ้าทำดีแล้ว ใยต้องกลัว"ทุคติ"
..
-Dwi Jsidakorn /ดีกว่าสุคติ.. คือ ไม่มีที่ไป..
..
( นะติยา อะสะติ อาคะติคะติ นะ โหติ )
เมื่อความน้อมไป ไม่มี
การมาและการไป ย่อมไม่มี
( อาคะติคะติยา อะสะติ จุตูปะปาโต นะ โหติ )
เมื่อการมาและการไป ไม่มี,
การเคลื่อนและการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี
( จุตูปะปาเต อะสะติ เนวิธะ นะ หุรัง นะ อุภะยะมันตะเร )
เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้น ไม่มี,
อะไรๆก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
( เอเสวันโต ทุกขัสสะ. )
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ.
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /คนทั่วไปนั้นย่อมคิดถึงเรื่อง สุคติ และทุุคติ
ความมุ่งหมายในทางการใช้ภาษา มันซ้อนๆกันอยู่ เป็นต่างระดับ
ภาษ่า บางเรื่องต้องถอดระหัส ให้เข้าภายในกายที่ยาววามีสัญญาและใจ
สุคติ และ ทุคติ อาจเป็นเรื่องภาวะของจิต เท่านั้นก็ได้
สาธุ ทำดีแล้วมีพร ไม่ปรากฏแน่นอน ใน ทุคติ
..
..
21 มกราคม เวลา 9:36 น.
.. ทำตามธรรม คือ ทำตามหน้าที่
ทำตาม(ใจ)เรา ..คือ ทำตามกิเลส
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /สาธุ ทำหน้าที่ถูกต้องคือ การประพฤติธรรม
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /เสรีภาพ ท่ามกลางเมฆหมอกบัง
๑ เสรีภาพ ในร่างกายของบุคคล นำมาซึ่ง เหตุผลของศีลข้อที่ให้ศึกษา
การ "ไม่ประทุษร้ายร่างกาย "
๒ เสรีภาพ ในทรัพย์สิน ของบุคคล เป็นเหตุผล ในการศึกษา ศีล ที่ว่า
ถึง การไม่ประทุษร้ายทรัพย์สิน บุคคล
๓ เสรีภาพในของรัก บุคคลย่อมมีของรัก เป็นเหตุผลให้ศึกษา ศีลที่ว่า
"เว้นจากการประพฤติผิดหรือประทุษร้ายในของรักทั้งหลายของบุคคล"
๔ เสรีภาพ ในการที่จะได้รับความเป็นธรรมทางวาจา เป็นเหตุผลว่า
"เว้นจากการประทุษร้ายความเป็นธรรมด้วยวาจา"
๕ เสรีภาพ ในการรักษาความปกติของสติ สมประดี เป็นเหตุผลว่า
"ไม่ประทุษร้ายสติ สมประดี ด้วยของมืนเมา"
เสรีภาพทุกข้อ อยู๋ภายใต้ เมฆหมอกแห่ง ตัวฉันและของฉัน
แม้นี้ก็ตาม ท่านก็ให้สำรวมระวังไม่ให้มีการประทุษร้าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับการประทุษร้ายสติสมประดี นั้น
เป็นเสรีภาพส่วนบุคคลที่ซ้อนกันอยู่ กับเสรีภาวะตามธรรม
การใช้เสรีภาพตามใจตนจึงเป็นการตามใจกิเลส แล้วทำลาย
เสรีภาวะ ที่จะมีสติปรกติตามธรรมชาติของตน
แม้การรับประทานอาหารในเวลาวิกาลก็ดี
การฟ้อนรำ ขับเพลง การดนตรี การดูการเล่นชนิดเป็นข้าศึกต่อกุศล
การทัดทรงสวมใส่การประดับ การตกแต่งตนด้วยพวงมาลา ด้วยเครื่องกลิ่น
และเครื่องผัดทา ก็ดี
การนั่งนอนบนที่นอนสูง และ ที่นอนใหญ่ ก็ดี
ก็เป็นเสรีภาพที่จะประทุษร้าย ความเป็นปกติแห่งตน
จึงเป็นเสรีภาพ ที่อยู่ในท่ามกลาง เมฆหมอก บังตา หนาบาง ตามลำดับ
ทำตามใจเราแท้ๆก็เพลินดีออก แต่กลายเป็นทำตามกิเลส เสียได้เสียฉิบ
..
..
21 มกราคม เวลา 12:33 น. ·
.. นิวรณ์ เป็นเครื่องบั่นทอน"ปัญญา"
สติ คือเครื่องกั้น"ตัณหา"
..
..
21 มกราคม เวลา 15:15 น. ·
... ทรงเปรียบ"อุปทาน" เหมือนดั่ง"เงา"
หลงยึดถือ"ตัวเรา"มากเพียงใด ..เงา ก็ใหญ่โตมากเพียงนั้น
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /นิทานเรื่อง เกวียนติดหล่ม สมัยเด็กๆ นั้นสรุปว่า ตนเป็นที่พึงแห่งตน
ไปไหนมาไหน ผู้ใหญ่ให้รักษาเนื้อรักษาตัวแถมด้วยท่านสุนทรภู่ อีก
ว่า รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดึ
แต่อ้อนแต่ออก ล้วนแต่ถูกย้อมใจว่า เป็นตัวตนของตน ทั้งว้นทั้งคืน
นี่คือรากเหง้าของความยึดเอาว่าร่างกายนี้ เป็นตัวตนของเรา
เป็นการสำคัญผิดในความเป็นจริงมานานมากติดต่อกันไม่ขาดสายเลย
ความเคยชินที่จะคิดเอาเอง แล้ว เออเอง ว่า กายจิตนี้เป็นเรา นั้น
จึงตั้งมั่นมาตลอด ไม่มีทางเข้าใจได้และรู้ตัวได้เลยว่า เป็นความเห็น ที่ไม่ชอบ
คำว่าอุปาทาน มันคนละภาษา ก็ไม่เข้าใจหรอกครับ
แต่ถ้าว่า คิดเอง เออเอง ว่า กายจิตนี้คือตัวตนของตน
เพราะไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เลย
มันก็เป็นธรรมชาติธรมดาที่จะต้องเห็นแบบนั้น
ถ้าการสำคัญผิดในความเป็นจริง เรียกว่า อุปาทาน
ก็พอจะเข้าใจได้/เมื่อเห็นว่า กายจิตเป็นตัวตนของตน แล้ว
ยังเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นของตนอีก
สรุปว่า ตัวตนก็เป็นตน สิ่งของทั้งหลายก็เป็นของตน
เนื่องด้วยความไม่รู้และสำคัญผิดในความเป็นจริง
ถ้าท่านบัญญัติว่า อาการแบบนี้ เรียกว่า อุปาทาน ก็จะเรียกตาม
และเข้าใจได้ ว่า อุปาทานคือ เช่นใด
..
-Keak Ku ดีมากครับ ..ทรงตรัสว่า การเถิดกำเนิดของบุคคล
คือการได้มาซึ่งขันธ์5 ..อุปทาน ความยึดถือ เชื่อถือ
เชื่อมั่นของทุกคนจึงมีอยู่ในขันธ์5 ครับ
..
..