คลายวิถีทุกข์ด้วยธรรมะ > ธรรมะเสวนา
เล่าให้ฟัง :PULING的主頁 [2]
ฐิตา:
Suraphol KruasuwanOWNER
การสนทนา - Jul 2, 2015
ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ"
และที่ใหญ่กว่าใจ คือ สัมมาสติโพธิปัญญา
ที่เคารพในสัจธรรม
อย่าไปหลงให้ ใจที่เป็นจิตปรุงแต่งต้มเด้อ
ใจมีสองนะ
1.ใจที่เป็นจิตปรุงแต่ง เราไม่ใช่พระ
และไม่ควรดัดจริต ว่า ตนเป็นพระ
อย่าไปห้ามคิด ห้ามอารมณ์ ห้ามอุดมคติ ห้ามไม่ให้หยิ่งในตัวรู้
แต่ฝึกขี่ กิเลส ตัณหา อุปาทาน
ไปทำสิ่งดีๆ ให้ ตนเอง ครอบครัว สังคม สิ่งแวดล้อม
แค่นี้เกิดชาตินี้ก็หรูแล้ว
ใคร จะไปนิพพานแบบ จินตนาการพาไป ช่างเขา
และอย่าให้ แพะ ที่ปลอมเป็นพระ ต้มเอาทรัพย์ ไปสร้างอนุสาวรีย์ส่วนตัว
ปล่อยให้ครอบครัวต้องผจญวิบาก เพราะความโง่ของเรา
ไม่ใช่เวรกรรม ข้ามภพชาติที่ไหน
การขยันสร้าง สิ่งที่เป็นมหา ทั้งหลาย
ราวกับว่ากินเนส บุ๊ค เป็นพระ จัตวาปิฏก ผิดพระธรรมวินัยนะ
ในนาม"สืบพระศาสนา" เพราะวัตถุ ก็เป็นสังขาร ผุพังได้
สร้างมา ไม่มีเงินดูแลรักษา เดือดร้อนโยมอีก
แม้นแต่การทำกุฏิที่ใหญ่ งดงาม ก็มีพระวินัยลงโทษ
แต่พระธรรมคำสอนแท้ เป็น"กฎ กติกา มารยาท ของธรรมชาติ"
ที่เราต้องน้อมนำมาพิจรณา มุ่งมั่นฝึกฝนให้เป็น อริยะ พุทธะ ในที่สุด
ด้วยตนเอง หลวงพ่อทั้งหลาย ยังช่วยสังขารตนไม่ได้
ล้วนตกภายใต้กฎไตรลักษ์ ทั้งสิ้น
เปลี่ยน จิตปรุงแต่ง จากอบาย เป็นมนุษย์ มนุษย์โส
มนุษย์สเทโว มนุษย์ พรหมโน เป็นพระอริยะ พุทธะ ด้วยตัวเราเอง
เป็นอมตะ เป็นอมฤตธรรม จะมีมนุษย์ไม่มี ก็มีอยู่
พระพุทธเจ้าค้นพบ และบอกมา
"ใครทำถูกต้อง ก็จะดีต่อชีวิตตนเอง"
ไม่ใช่เอาแต่จะถูกใจ ถูกใจ ถูกใจ
ย่อมพบวิมุติ วิมุติ มีรสเดียว
ไม่ทุกข์ ไม่สุข ไม่ติดดี ไม่หลงชั่ว....แต่เย็น
2.ใจที่เป็นจิตแท้ จิตเดิม
เป็นโพธิจิต ไม่มีเกิด ไม่มีตาย มีแต่"ตื่น" กับ"หลับ"
ใครอยากให้ตื่น ก็ฝึกสติ ดูความรู้สึกที่ใจ ทุกลมหายใจเข้าออก
หากจะมาบอกว่า ไม่มีเวลาทำ ก็ลองหยุดหายใจไปเลย
วันนี้ดุหน่อยนะ..เพราะ คนทุกวัน ชอบแต่คำหวานๆ
แต่คุยเรื่องสัจธรรม..ชอบเป๋ไปทำเป็น"สัตว์จะทำ" อิๆ
3.จิตปรุงแต่ง ให่้เหมือนดอกบัว อิ่มในกุศล
อย่าไปฟังใครมั่วว่า กุศลคือความดี ยังไกลพุทธธรรม
กุศลแปลว่า"ฉลาด"
"ฉลาดถ้วนทั่ว......................ทำดี
ฉลาดรู้วิธี.............................ราวีกำหราบชั่ว(ในตน)
ฉลาดฝึกสร้างศักยภาพ.........ให้ตนตัว
ฉลาดพาจิต พ้นขยะพันพัว.....สู่อิ่มในวิมุติธรรมฯ"
จิตแท้จิตเดิม ต้องปลุกให้ตื่น
ให้ว่องไวดุจสายฟ้า อกุศลมาตัดให้ขาด
อย่าไปเสียเวลา เอามาเคี้ยวเอื้องเล่น เพราะเราไม่ใช่วัว ควาย
และสุดท้าย จิตก็เป็นเพชร ไม่เก็บอะไรไว้ แม้นแต่แสง
"โอมมณีปันเมฮุ้ม"
เพชรมณี ที่ลอยอยู่เหนือดอกบัว
"จิตเดิมที่เต็มเปี่ยมด้วย สัมมาสติ ปรีชาญาณของโพธิจิต
อยู่เหนือ จิตปรุงแต่งที่เบิกบานด้วยกุศล"
................................................................
[๔๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๓ จำพวกเป็นไฉน คือ
1.บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า ๑
2.บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ ๑
3.บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร ๑
1-ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่าเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ
เมื่อถูกเขาว่าแม้เล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด ทำความโกรธความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ
แผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบ
เข้า ย่อมให้ความหมักหมมมากกว่าประมาณ
แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ
เมื่อถูกเขาว่าแม้เล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่าบุคคลมีจิตเหมือนแผลเก่า
2.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลมีจิตเหมือนฟ้าแลบเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
-นี้ทุกข์
-นี้ทุกขสมุทัย
-นี้ทุกขนิโรธ
-นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
บุรุษผู้มีจักษุเห็นรูปในขณะฟ้าแลบ ในเวลากลางคืนซึ่งมืดมิด ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
-นี้ทุกข์ (ต้องกำหนดรู้ทุกลมหายใจเข้าออก)
-นี้ทุกขสมุทัย (ต้องลด ละ เลิก เหตุนั้น เพราะเห็นภัย)
-นี้ทุกขนิโรธ(ต้องทำให้ประจักษ์ ด้วยความรู้สึกตนเอง ว่าพ้นชั่วคราว หรือพ้นถาวร)
-นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ต้องมุ่งมั่นฝึกฝน ไม่ใช่เอามาคุยกันเล่นๆ)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่าบุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ
3.ดูกรภิกษุทั้งหลายก็บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชรเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แก้วมณีหรือว่าหินชนิดใดที่เพชรจะทำลายไม่ได้
ไม่มีแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ
-ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลนี้เรียกว่าบุคคลมีจิตเหมือนเพชร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=3244&Z=3268
ใครมีจิตแบบแผลเก่า
ก็พัฒนาเป็นจิตแบบสายฟ้า
และปลายทางคือ จิตดั่งเพชร
เพชรมณีงดงาม ที่ลอยอยู่เหนือดอกบัว............
มงคล ธรรมใดก็ไร้ค่า หากไม่ปฏิบัติ(เสฐียรพงษ์ วรรณปก )
Suraphol KruasuwanOWNER
การสนทนา - Jul 3, 2015
สามปราชญ์ หรือ"ซำก่า" ที่สร้างวิสัยทัศน์ให้ ชนชาติจีน
1.พุทธเจ้า
หรือพระศากยมุนี เป็นนักปราชญ์ จากแดนนอกด่านจีน ไซที(ตะวันตก)
วิมุติ มีสองรส
- รสหนึ่งคือความเย็นภายใน
เพราะ สติ ปัญญาตื่น มากุมสภาพจิต
ฝึกฝนจิต อิ่มในกุศล พ้นอำนาจ กิเลสตัณหาอุปาทาน
-รสที่สอง
คือความสุข ที่เผื่อแผ่น้ำใจ สิ่งดีๆให้ทุกชีวิต จน สุขร่วมกัน
2.เหล่าจื้อ
มอบตำราสำคัญไว้คือ "เต้า เต้อ เกง"หรือ "เต้า-เต๋อ-จิง" (Dao-De-Jing)
ธรรมชาติ คุณธรรม ที่ลึกซึ้ง
3.ขงจื้อ
"มนุษย์ เป็นเดียรัจฉานโดยกำเนิด
จะเป็นมนุษย์ได้ ด้วยการ อบรม สั่ง สอน ฝึกฝน
แยกแยะขจัดสิ่งชั่วๆ
มุ่งมั่นทำแต่สิ่งดีๆ
มีความน้อบน้อม กตัญญู เป็นยอดมนุษย์ธรรม"
.....................................................
1.ถ้าฟัง........................................................จะรู้ หนึ่งในสี่
2.ถ้าฟัง และดู อ่าน เขียน ..........................จะรู้ครึ่งหนึ่ง
3.ถ้า ฟัง ดู และเอามาฝึกฝนตน.................จะรู้ สามในสี่
4.แต่ถ้าวันไหน พบทางใหม่ของตนเอง.....นั่นแหละ รู้จริง(ขงจื้อ)
Suraphol KruasuwanOWNER
การสนทนา - Jul 5, 2015
มองแบบฝรั่ง คิดแบบเอเชีย
มีผู้สรุปคำสอน สามปราชญ์(ซำก่า)
พุทธ เต๋า ของจืน เป็นหลักชีวิต ที่เป็นมนุษย์ แท้ไว้ 8ข้อ
1.มีสันโดษ เป็นคุณธรรมเบื้องต้น
2.เป็นคนต้องอดทนพากเพียร
3.การอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นวิสัย ดีต่อชีวิต
4.การเคารพ วัฒนธรรมตน และผู้อื่น ทำให้ เป็นที่รัก
5.ความซื่อสัตย์ ทำให้ มีสง่าราศรี
6.ความเที่ยงตรง มีมโนสำนึกที่ดี มีหลักการ เป็นวิถีวิญญูชน
7.เป็นธรรมบาล คุ้มครองสังคม ให้ เกิด สันติสุข สันติธรรม
8.กตัญญู กตเวที เป็นยอดมนุษย์ธรรม
ถ้าจำไม่ได้ ทุกข้อ ..ให้เจริญชีวิตในข้อสุดท้าย
"จะเป็นมนุษย์แท้ได้ ต้อง มีกตัญญู กตเวที"
Suraphol KruasuwanOWNER
การสนทนา - Jul 6, 2015
คุยเรื่องขงจื้อ
ต่ออีกวัน
8×3 เท่ากับ 23 คำสอนของขงจื้อที่โคตรลึกซึ้ง!
8×3 เท่ากับ ถูกต้อง เพราะทำให้หนึ่งชีวิตอยู่รอด
ไม่ใช่ ถูกต้อง ตามหลักคณิตศาสตร์
....................................................
ทะเลาะกับลูกค้า ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ใหม่ คุณก็จะรู้สึก)
ทะเลาะกับเถ้าแก่ ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ตรวจผลงานปลายปีมาถึง คุณก็จะรู้สึก)
ทะเลาะกับภรรยา ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เธอไม่สนใจคุณ คุณก็หากับข้าวกินเองละกัน)
ทะเลาะกับเพื่อน ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เคลียร์ไม่ได้ คุณอาจจะเสียเพื่อนไปเลย)
ใบชา เกิดสีสวยและกลิ่นหอมน่าลิ้มลองได้ ก็เพราะโดนน้ำร้อนลวก
ชีวิตของคนเราก็เช่นเดียวกัน เพราะเผชิญกับอุปสรรคครั้งแล้วครั้งเล่า
จึงเหลือไว้ซึ่งเรื่องราวเป็นตำนานให้ได้เล่าขานน่าตามติด
ผู้ที่รู้สำนึกคุณอยู่เสมอ จึงเป็นผู้มีวาสนามากที่สุด
http://teen.mthai.com/variety/87274.html
**(Jul 1, 2015 - Jul 6, 2015)**
G+ communities คนรัก รักษ์ ปัญญา สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
Suraphol KruasuwanOWNER
ฐิตา:
Philosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี
G+ communities คนรัก รักษ์ ปัญญา สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
Suraphol KruasuwanOWNER
การสนทนา - Jul 6, 2015
*********************************************
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
ความเข้าใจ วัฒนธรรมพุทธ
พุทธศาสนา เรี่มจากพระพุทธเจ้าค้นพบความจริงของ"ความทุกข์"ว่า
-ไม่ได้เกิดจาก ผู้มีฤทธิ์บันดาล
-ไม่ได้เกิดจาก กรรมเก่าข้ามภพชาติ
-ไม่ได้เกิดจากเหตุบังเอิญ
-ไม่ได้เป็นเรื่องความแปรปรวนของธาตุ
แต่เกิดจาก สติปัญญา ไม่รู้เท่าทัน
การทำงานของ"จิตปรุงแต่ง"
ที่ชักนำให้ ความรู้สึกว่า"เรา"
หลงยึดเอา ความติด ความพยาบาท
ความคิดเบียดเบียน ตนท่าน
มาเป็นหลักปฏิบัติ ดำรงค์ชีวิต
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=101
อริยสัจจ์ คือความจริงที่ทำให้เราชนะอุปสรรค์ การพัฒนาชีวิต
ที่เกิดจาก"จิตปรุงแต่งของเราเองล้วนๆ"
ก็ต้อง ฝึกเฝ้าดู เมื่อ อารมณ์ทุกข์เกิด
ไม่ใช่ไปเรียนวิชาพุทธศาสนา เพื่อรับปริญญา
ปริญญาญาน ที่แท้จริง มีสี่ระดับที่เราต้องฝึกเอง
1.ทุกข์ ต้องกำหนดรู้
เราทุกข์ ก็คิดฟุ้งซ่าน หรือหนีไปที่ใหม่
ต้องกำหนดความรู้สึกที่เกิดที่ขั้วหัวใจ และแผ่ไปทั้งกาย
ด้วยสติติดตามลมหายใจเข้าออก
อย่าให้ คำว่า อรหังสัมา หรือพุทธโธ
มาปิดบังความรู้สึกนั้นๆ เอาแค่"กูทุกข์เป็นอย่างนี้หนอ"
นี่แหละของจริง นะครับ
2.เหตุแห่งทุกข์ คืออุปาทานในตัณหา
ต้องลด ละ เลิก วาง
ด้วยการแยก สิ่งจำเป็น(ขาดแล้วตาย)
กับสิ่งที่อยาก ตามกระแสบริโภคนิยม หลอกเรา
และให้เราแบกภาระ แบบวัวควาย จนตาย
พอเพียงคืองดงาม
3.ประสบการณ์ชนะอารมณ์ทุกข์ จนเย็น
ต้องเจอด้วยตนเอง
4.วิธีฝึกแปดประการ
เพื่อชนะ จิตปรุงแต่งที่สร้างมายาทุกข์ ต้องเจริญ
เริ่มต้องต้องใชทฤษฎีที่เหมาะสม จบลงที่ สมาธิ
.................................................
พุทธธรรม มีวิวัฒนาการของ วัฒนธรรมห่อหุ้ม ตามกาล
1.เรื่องของชนะ มายาจิตในตน จนกาย วาจา ใจ เย็น
2.เรื่องที่ควรเอื้อเฟื้อในสังคม กลายเป็นมหายาน
3.เรื่องต้องการสิทธิอำนาจเหนือธรรมชาติ กลายเป็นเทวะนิยม
4.เรื่องผลประโยชน์อาจารย์ที่สอน ลัทธิแก้ ตะแบงเข้าข้างตนเอง
วิวัฒนาการมา และสร้าง ภาพลวงตา จนหา"พุทธแท้" ไม่เจอ
ทุกวันนี้ นิทานธรรม(Nym Fable) ยิ่งใหญ่กว่าพุทธรรม(Fact)
แต่ก็ต้อง ทำใจ ที่จะอยู่ร่วม อยู่รอด กับ วัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
ให้เราเข้าใจที่ไปที่มา และวิธีคิด ของเพื่อนร่วมโลกก็พอ สาธุ
//-ความหมายของพุทธเจ้าห้าพระองค์
ของเถรวาท อาจหมายถึง พุทธเจ้าในอดีต ปัจจุบัน อนาคต
ของวัชรยาน มหายาน ตันตระ
อาจหมายถึง"ญาณ ฌาน ความสำเร็จ คุณสมบัติภายใน ของพระพุทธเจ้า ห้าประการ"
จากปฐมพุทธเจ้าคือ อาทิพุทธ
1.พระไวโรจนะพุทธะ
คือปางปฐมเทศนา นั่นเอง
หมายถึง สติปัญญาปรีชาญาณ ที่สว่างดุจพระอาทิตย์พันดวง
เห็นวัฎฏะสังาร และทางออก
พระไวโรจนพุทธเจ้า มีวรรณะสีขาว ดำรงในท่าแสดงธรรมจักร มีสีห์เป็นพาหนะ ประทับอยู่บนดอกบัวเขียว อยู่ตรงกลางดินแดนพุทธเกษตร
2. พระอักโษภยพุทธเจ้า
คือปางมารวิชัย ที่เรารู้จักเพียงแต่ อุ้งพระหัตถ์ประคอง คนโฑน้ำอมฤต
เป็นพระพุทธเจ้าผู้รักษาโรค กาย โรคใจคือกิเลส
โรควิญญาณ คือวิสัยทัศน์ความรู้ อยู่เหนือเพลิงอารมณ์ทุกข์เพลิงกิเลส
มีวรรณะสีน้ำเงิน ดำรงในท่ามารวิชัย ทรงวัชระ มีช้างเป็นพาหนะ ประทับอยู่ดินแดนตะวันออกของพุทธเกษตร
3. พระรัตนสัมภวพุทธเจ้า
พระพูทธเจ้า ผู้อยู่เหนือสามโลก สามภพ สามภูมิ
คือ ฉพกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ
มีวรรณะสีเหลือง ประทับในท่าประทานพร มีม้าเป็นพาหนะ ทรงถือจินดามณี ประทับอยู่ดินแดนทิศใต้ของพุทธเกษตร
4. พระอมิตาภพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า ผู้เปล่งแสงแห่งมาหาเมตตา อันหาประมาณมิได้
มีวรรณะสีแดง ประทับในท่าสมาธิเพชร ทรงบาตร มีนกยูงเป็นพาหนะ ประทับ ณ ดินแดงทิศตะวันตกของพุทธเกษตร
5. พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าผู้ข้ามห้วงน้ำอันข้ามยากได้แล้ว
คือ กาม ภพ ทิฎฐิ อวิชชา
มีวรรณะสีเขียว ประทับอยู่ในท่าประทานอภัย ทรงวิศววัชร ประทับอยู่ทางทิศเหนือดินแดนพุทธเกษตร สาธุ
//-การปลุกสัมมาสติ โพธิปัญญาตื่นมากุมสภาพจิต
มีปรีชาญาณ การรักษาโรคจิตวิญญาณ การอยู่เหนือกระแสโลก
การข้ามห้วงน้ำกาม ภพ ทิฎฐิ อวิชชาอันข้ามยาก การเจริญมหาเมตตา เป็นวิสัย
เป็นการนำพุทธคุณพุทธเจ้าทั้งห้า มาเป็นหลักคิด หลักรู้หลักปฏิบัติในตน
สาธุ
***************************************
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
วิชา+วิชชา
วิธีการเข้าถึงความรู้
แบบวิชาการ และแบบวิชชา(แสงสติปัญญา รู้ทันจิตปรุงแต่ง)
1.ศึกษา ตามวัฒนธรรม อัพเดทข้อมูลเสมอ(วิชา)
2.ศึกษา ด้วยการทดลองปฏิบัติ ด้วยตนเอง(วิชา+วิชชา)
3.วิภาษวิธี คือโต้กันด้วยเหตุและผล(วิชา)
4.หล่อหลอม ประสบการณ์ ฝึกฝนเป็นทักษะเฉพาะตน(วิชา)
5. ปลุกสติปัญญาตื่น มากุมสภาพจิตปรุงแต่ง
วาง อุปทานในตัวตนทิ้ง(วิชชา)
-ควบคุมอารมณ์สงบสงัดเป็นหนึ่งเดียวได้(อารัมมณูปนิชฌาน)
-ควบคุมจินตนาการ เป็นหนึ่งเดียวได้(รูปฌาน อรูปฌาน)
-พิจารณา ธรรมชาติ ตามความเป็นจริงของไตรลักษณ์(ลักขณูปนิชฌาน)
-สามารถคิดเป็นระบบมีเหตุผล ต้นปลาย(ปฏิจสมุทปบาท)
-เคารพหลัก กฎระเบียบของธรรมชาติ(ธรรมฐิติ)
วิวัฒนาการธรรมชาติ(ธรรมนิยาม)
กฎความเป็นเหตุผล ปรุงแต่งต่อเนื่องจนเกิดทุกสรรพสิ่ง(กฏอีทัปจยตา)
กฎที่ที่สร้างวัฒนธรรมทั้งหลาย(มนุษย์ธรรมสากล)
-ฝึกปลุกสติปัญญาตื่น มาถอน ความยิดติดในเหตุ สร้างอารมณ์ทุกข์ ที่ผูกไว้ในอดีต สัญาชาติญาณดิบ ความอยาก
ด้วยการใช้สติติดตามลมหายใจ แยกความคิด ออกจากอารมณ์
ที่เคย ติด พยาบาท คิดเบียดเบียน และไม่เอามาผูกใหม่ได้อีกจนหมด
หรือเป็นการ"ทำอาสวะให้สิ้น" เป็นหลัก ทฤษฎี ลงมือทำ รับรู้ผลว่า
"สิ้น อารมณ์ทุกข์ รบกวน ด้วยตนเอง" ถาวร(ทำนิพพานให้แจ้ง)
ซึ่งเป็นจุดประสงค์สูงสุด ของ การเข้าถึง พุทธธรรม ของพุทธศาสนา
และใช้ชีวิตที่เหลือ ด้วยสุขจากจิตอาสา แบ่งปันสิ่งดีๆให้แก่กัน
(หิตายะสุขายะ)
ดังนั้น การทำนิพพานให้แจ้ง+รับอนิสงค์สุขจากการทำให้ชีวิตอื่นเป็นสุข
จึงเป็นสองเสาหลัก เป้าหมาย อุดมคติสูงสุด
ที่เข้าถึงด้วยการ ศึกษาแบบรอบรู้ทางวิชาการ
และฝึกปลุก สติปัญญา ให้ตื่น รู้เท่า รู้ทันความคิดปรุงแต่ง
และควบคุมจิตสำนึก ไม่ให้สร้างอารมณ์ทุกข์ได้ถาวร สาธุ
(ขอบคุณเจ้าของภาพ)
*****************************
https://www.youtube.com/watch?v=_IYknlI6NbU
คนที่น่าสงสารที่สุดในโลก คือ
-เกิดในชัยภูมิที่ดี แต่ไม่รู้ว่าดี
-พบคนดี มีมโนธรรมดี แต่ลบหลู่คุณท่าน
-ไม่ได้ มีจุดยืนที่เหมาะสม เอาอัตตาเลวตนเป็นที่ตั้ง
-ไม่สร้างคุณความดี แต่เรียกร้องให้ทุกคนให้สิ่งดีๆให้ตน และพวก
.........................................................
[140] จักร 4 (ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย - virtues wheeling one to prosperity)
1. ปฏิรูปเทสวาสะ (อยู่ในถิ่นที่ดี มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม - living in a suitable region; good or favourable environment)
2. สัปปุริสูปัสสยะ (สมาคมกับสัตบุรุษ - association with good people)
3. อัตตสัมมาปณิธิ (ตั้งตนไว้ชอบ, ตั้งจิตคิดมุ่งหมาย นำตนไปถูกทาง - setting oneself in the right course; aspiring and directing oneself in the right way)
4. ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว, มีพื้นเดิมดี, ได้สร้างสมคุณความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น - having formerly done meritorious deeds; to have prepared oneself with good background)
ธรรม 4 ข้อนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พหุการธรรม คือธรรมมีอุปการะมาก (virtues of great assistance) เป็นเครื่องช่วยให้สามารถสร้างความดีอื่นๆ ทุกอย่าง และช่วยให้ประสบความเจริญก้าวหน้าในชีวิต บรรลุความงอกงามไพบูลย์.
A.11.32;
D.III.276. องฺ.จตุกฺก. 21/31/41;
ที.ปา. 11/400/293.
*******************************
https://www.youtube.com/watch?v=9OY3A0vqfhc
ข้อสอบ ที่หมอชีวกฯ จากอาจารย์ตักสิลานคร คือ
ให้เดินทางออกจากเมือง สี่ด้าน ด้านละโยชน์
แล้วหาว่า มีพืชไหนที่ ไม่ใช่ยา
คำตอบคือ"ทุกอย่างล้วนเป็นยา"
..............................................
ถ้าเราเห็นว่า ทุกประสบการณ์ เป็น ครู
เราก็จะเป็นคนโชคดีที่สุดในโลก สาธุ
***************************************
สู่อิสระภาพ
วรรณกรรม ใน และนอกพระไตรปิฎก
บางทีก็ส่งเสรีม ความเข้าใจ หัวใจพุทธรรม
ที่เรี่มจาก สติปัญญาตื่น มาสลาย อารมณ์ทุกข์ ด้วยการ ล้างขยะปรุงแต่งจิต
และจัดระเบียบชีวิตใหม่ สู่ทาง ที่สว่างด้วย สติปัญญา เคารพธรรมชาติ
บางที่ ก็ ทำให้หลงทางงมงาย กลายเป็นเหยื่อ ของ ศาสดาเทียมทั้งหลาย
ที่แสวงหา ผลประโยชน์ อำนาจ และเพื่อสร้างอนุสาวรีย์ส่วนตน
ในนาม สืบพระศาสนา บ้าตามกินเนสบุ๊ค ด้วยเทคนิคการตลาดไม่รู้จบ
...................................................
ดังนั้นต้องแกะหาความจริง ตามร่องรอยประวัติศาสตร์
1.ที่มาของรูปเคารพ หรือพุทธรูป
เกิดจาก กองทัพอเล็กซานเดอร์มหาราช มาถึงลุ่มแม่น้ำสินธุ
หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน เกือบ สามร้อยปี
และเอา ปรัชญากรีก มาแพร่เผย
และ ลัทธิบูชารูปเคารพ ของเทพต่างๆมาด้วย
ปรัชญา ภาระตะจึงต้องปรับตัวครั้งใหญ่
พรามหณ์ ก็ต้องสังเคราะห์ เป็นเทวะนิยมเต็มตัว ในนามฮินดู
พุทธะ ก็ มีสาวกหลายองค์ ได้สังเคราะห์พุทธศาสนาใหม่
จากแนวคิด ท่านอัศวโฆษ นาคารชุนนะ อสังคะ
เมื่อมาถึงยุคลังกา พระพุทธโฆษาจารย์ ลิขิต คัมภีร์วิสุทธมรรค
และมีผู้ลิขิต พระเจ้า500ชาติ ลัทธิพระโพธิสัตว์
ในยุค 500ปีที่ผ่านมา พระภิกษุเชียงใหม่
ก็ลิขิต เรื่องราวพระพุทธเจ้าเลียบโลก ปัญญาสชาดก ใส่เข้ามาอีก
เลยไม่รู้ว่า อะไร เป็นของแท้ แก่นแท้ หรือของเทียม ที่สังเคราะห์ขึ้น
พุทธรูปจึงกลายเป็นหลวงพ่อ เจ้าที่เจ้าทาง ประจำถิ่นไป
2.เทวะนิยม
ซึ่งอสังคะ ได้มาสังเคราะห์เป็นมหายาน
และ ปนมาใน ไตรปิฎก เถรวาท มากมาย
เป็นหลัก พุทธเกษตร จักรวาล มีพุทธเจ้าเป็นประธาน
พระพุทธเจ้าจึงกลายเป็น ประฐมเทพ ที่มีอนุภาพ ตรีกาย
ธรรมกาย กายที่เป็นหลัก กฎของธรรมชาติ
นิรมาณกาย กายที่ แปลงร่าง มาทำหน้าที่ ต่างๆ
สัมโภคกาย กายแห่งบรมสุข สูงสุดคือนิพพาน(นิรวาณ)
และ เข้าถึงง่าย คือ แดนสุขาวดี
ซึ่งต่อมา ก็มีการตีความหมายบิดเบือนต่อไปไม่สิ้นสุด
3. ตันตระ
เหตุผล หรือ ตรรกะนิยม
เป็นต้นกำเนิด นิกายตันตระ
คือหนามยอกเอาหนามบ่ง
ชีวิตต้องเสพ สุขเสพเสียว จากกาม พบประสบการณ์ตรง จึงสู่การรู้แจ้งได้
แม้นแต่ วิชา คาถา อาคม ก็มาจาก แนวคิดนี้ คือ"ทางลัดสู่ความสำเร็จ"
ผู้บรรลุ จะกลายเป็นนักสิทธิ์ มีฤทธิ์เสมอฟ้าดิน
แทนที่จะชนะ กิเลส ตัณหา อุปาทานทุกข์ ที่ปรุงแต่ง อัตตาเทียม
4.อัตโนมติ
เป็นความเห็นอาจารย์ล้วนๆ แต่ละสำนัก ก็ต่างคิด ต่างทำ ต่างโฆษณา
.............................................
ดังนั้นเป็นหน้าที่ ที่เราต้องแยกว่า
อะไรคือ สะเก็ดไม้ เปลือกไม้ กระพี้ แก่น
ก่อนที่จะ หลงเป็นเหยื่อ วรรณกรรม อิงพุทธธรรม สาธุ
............................................
อะไรคือแก่นแท้ของพุทธศาสนา
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=6505&Z=6695
การปฏิบัติธรรมของเรา ไม่ได้เป็นไปเพื่อ ชื่อเสียงลาภสักการะ(กิ่ง ใบ)
การปฏิบัติธรรมของเรา ไม่ได้เป็นไปเพื่อ อนิสงค์แห่งศิล(สะเก็ดไม้))
การปฏิบัติธรรมของเรา ไม่ได้เป็นไปเพื่อ อนิสงค์แห่งสมาธิ(เปลือกไม้)
การปฏิบัติธรรมของเรา ไม่ได้เป็นไปเพื่อ อนิสงค์แห่งปัญญา(กระพี้ไม้)
การปฏิบัติธรรมของเราเป็นไปเพื่อหลุดพ้นอุปทานทุกข์ อันไม่กำเริบอีก
( "อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ") คือ(แก่นไม้)
******************************************
ธรรมะ นอกธรรมมาส
จากมุมกาแฟ
ชายเข็ญใจ พบพุทธเจ้า
พระศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา
(ลำดับคำสั่งสอนที่พุทธเจ้าสอนมากที่สุด) คือฝึกตน ตามลำดับ
ทาน ศีล สัคคะ กามฑีนพ เนกขัมมะ....สู่ ปัญญา รู้แจ้ง
จึงกล่าวว่า แค่ทาน ข้าพเจ้าก็ทำไม่ ได้ เพราะ ข้าไร้ทรัพย์ที่จะให้ทาน
พระศาสดา จึงตรัสว่า
ทานคือชีวิตที่พบความสุขสุขจากการแบ่งปัน สิ่งดีๆให้แก่กัน
วัตถุทาน ธรรมทาน อภัยทาน มีในตัวท่านอยู่แล้ว
1.สองแขน ท่านมีกำลัง ที่จะช่วยผู้อื่น
2.วาจาท่าน ก็ ให้กำลังใจผู้คนได้
3.ดวงตาท่านก็ ฉายแววแห่งเมตตา ออกมาได้
แท้ที่จริง ท่านไม่ได้ยากจน ที่จะให้ทานเลย
สาธุ
https://plus.google.com/u/0/+SurapholKruasuwan
http://youtu.be/W9re1-EonZk
ฐิตา:
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
ธรรมะ สวัสดิ์ วันหยุด
พระพุทธะเจ้า บัญญัติ "อนัตตา"
กลางความเชื่อ เรื่อง
-อัตตา(สัสสตทิฏฐิ คือความเห็นว่า (มีตัวตน) เที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป)
-นิรัตตา(อุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นว่า (ตัวตน) ขาดสูญ )
//-เมื่อ เชื่อว่า ตายแล้วเกิด มีความเชื่อ ตามมาอีกว่า
1.ชาตินี้มี
2.ชาติหน้ามี
3.บุญคุณบุพการีมี
4.ทานมีผล
5.พิธีกรรมมีผล
6.ผู้ปฎิบัติดี เป็นพระอรหันต์มี
7.การเกิดแบบ ผุดขึ้นทั้งตัวมี(โอปาปาติกะ)
สัสสตทิฎฐิ ได้กลายมาเป็น
"สัมมาทิฎฐิ"เบื่องต้นของชาวพุทธ
//-อัตตา (จิตคือ ตัวตนที่เที่ยงแท้มี)
-นิรัตตา(จิต ตัวตนเที่ยงแท้ไม่มี เป็นเพียงผลการทำงานของร่างกาย)
พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ความเชื่อทั้งสอง ไม่อาจ นำไปสู่การพ้นทุกข์
ที่เกิดจากอารมณ์ทุกข์ ที่จิตปรุงแต่ง สร้างจาก
ความคิด อารมณ์ อุดมคติ ความรู้ และ สัญชาติญาณดิบ
เพราะ ธรรมชาติ นั้น แม้นแต่ กาย จิต ก็เป็น"อนัตตา"
คือ "ไม่เป็นตามใจของใคร แต่กำลังเป็นไปตาม
กฎ เหตุ ปัจจัยที่มาปรุงแต่ง"
กายและ จิตก็เช่นกัน
1.ถ้าปรุงแต่งด้วย ปุญญาภิสังขาร จิตก็เป็นกุศล
ก็จะพาชีวิตไปทางกุศล สู่ภูมิจิตมนุษย์ เทวดา
2.ถ้าปรุงด้วย อปุญญาภิสังขาร
จิตก็อกุศล ก็จะพาชีวิต ตกต่ำ
สู่อบายภูมิ เป็นเปรต เดียรัจฉาน อสุรกาย สัตว์นรก
3.ถ้าปรุงแต่งด้วย อเนญชาภิสังขาร
จิตก็จะเกิดสมาธิ ฌาณ ญาณ รู้แจ้ง สงบ สงัด รำงับ
ไม่ปรุงแต่งจิต ให้ เกิด อารมณ์ทุกข์
..................................................
ดังนั้น สัมมาทิฎฐิ ในพุทธศาสนา จึงมีสองชั้น
1.อิง สัสสตทิฎฐิ
เชื่อว่าตายแล้วเกิด เพื่อ ให้คน ละชั่ว ทำดี
ชาวพุทธส่วนใหญ่ จะเชื่อและยึดมั่นถือมัน แค่นี้
2.เชื่อใน อนัตตา
คือวางความเชื่อทั้ง ตายแล้วเกิด ตายแล้วสูญลง
และปลุกสัมมาสติ โพธิจิตโพธิปัญญา ตื่น
มากุมสภาพจิตปรุงแต่ง จนสร้างอารมณ์ทุกข์ไม่ได้
ฝึกฝนตน ตามหลัก นิปปปัญจธรรม(ธรรมอันไม่เนิ่นช้า)
หรือ โพธิปักขิยธรรม(ธรรมะภาคปฏิบัติ 37ประการ)
จนชนะ จิตปรุงแต่งหรือ อธิจิต ที่มีฤทธิ์มากของตนได้ ..
ชีวิตจึง มีวิธี ปรับคัว อยู่รอดอยู่ร่วมกับ"ความทุกข์" ได้
1.สภาวะทุกข์
ฝึกทำใจยอมรับสภาพ และ กฎไตรลักษ์
2.เวทนาทุกข์
ฝึกอดทน พันเท่า
3.อารมณ์ทุกข์
ฝึก ปลุก สัมมาสติ โพธิจิต โพธิปัญญาตื่น
มากุมสภาพจิตปรุงแต่ง จน อารมณ์ทุกข์ หมดเหตุที่จะเกิด
เช่น ตบมือข้างเดียว ย่อมไม่ดัง
(เพราะเหตุ ยึดติดกาย จิต ในจิตปรุงแต่ง หมดไปแล้ว) สาธุ
Philosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี
G+ communities คนรัก รักษ์ ปัญญา สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
Suraphol KruasuwanOWNER
การสนทนา - 11, 12, 2016
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
https://www.youtube.com/watch…
นกฟีนิกซ์ นกในตำนาน เป็นนกอมตะ เกิดจากไฟ
และเมื่อแก่ตัว ก็จะชุบตัว ด้วยไฟ
ชีวิต เราก็เช่นกัน
1.ไฟราคะ โทสะ โมหะ เผา ใจมนุษย์
2.ไฟตะบะ เผา ขยะปรุงแต่งจิต ผู้แสวงหาสัจธรรม
3.ไฟสัมมาสติโพธิปัญญา นำทางสู่ วิมุติ วิโมกข์ธรรม
ใช้ชีวิตให้เหมาะสม กับวัยนะครับ
..
..
สิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่แท้ ไม่ทน สร้างสรรพสิ่ง
"ธรรมชาติขยันนะ.................ทำไว้ดี
แล้ว ทุบ ชีวีให้......................บรรลัยฯ"
ไว้อาลัย น้องคากคก บนถนน เมื่อวานนี้ ไม่รู้รถใครเหยียบ
ทฤษฏีแห่งสรรพสิ่ง (Theory of Everything
"เราไม่สามารถหาความจริงแท้ได้จากการสังเกตุการณ์
เพราะแค่ไปดู มันก็เปลี่ยนตัวตนและสถานะของมันไปก่อนแล้ว
ทุกสิ่งไม่เคยเกิดขึ้นจริง มีอยู่จริง จนกว่าเราจะไปสังเกตการณ์มัน!"
เหมือนโกอาน(ปริศนาธรรม)ของชาวเซน
สันโดษ คือยอดทรัพย์
สันโดษคือ ความอิ่มใจในกุศลทุกขณะจิต
1.ถ้า มีผู้เมตตาให้ อย่าเรียกร้อง(ยถาสันโดษ)
2.ถ้าทำงาน ให้ทำเต็มศักยภาพ(พละสันโดษ)
3.ถ้ามีความสามารถไม่จำกัด จงรู้จักพอแล้วดี(สารุปสันโดษ)
4.ถ้ามีครอบครัว จงดูแล คู่ชีวิต
และบริวารให้เที่ยงธรรม(สาทารสันโดษ)
5.ถ้ามีโอกาสบริหารบ้านเมือง
จงอย่าใช้ความโลภ อิจฉา บ้าอำนาจ ฉลาดโกง
เบียดบังเอาทรัพย์สาธาณะ เป็นของตน(สาธารณะสันโดษ)
กีตาร์ ระดับเทพ
https://www.youtube.com/watch…
(ขอบคุณเจ้าของภาพ)
ย่างก้าว ขอให้เดินทางอย่างมีสติ ปัญญากำกับ สาธุ
Philosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี
G+ communities คนรัก รักษ์ ปัญญา สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
Suraphol KruasuwanOWNER
ฐิตา:
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
ธรรมะสวัสดิ์ 1/2/17
ศาสนาพุทธสี่มิติ
พุทธเจ้าตรัสว่า
"ธรรมะที่เราค้นพบ และบอกให้ เป็นไปเพื่ออนุเคราะห์สามโลก"
1.สังขารโลก
คือ กายกว้างศอก ยาววา มีสัญญาและใจครอง
ให้พ้นมายา อารมณ์ทุกข์ สุข ด้วยการ ปลุกสัมมาสตโพธิปัญญาตื่น
มากุมสภาพจิตปรุงแต่ง ล้างขยะปรุงแต่ง พ้น ทุกข์นี้ด้วยการ
ละอุปาทาน ทั้งอาสวะ สาสวะ จนชีวิต สงบ ร่มเย็น มีแสงส่องทาง
2.สัตว์โลก
คือสังคม ที่ประกอบด้วย ชีวิตที่มี
กรรม วิบาก วาสนา ภูมิจิต ภูมิธรรม ภูมิปัญญาต่างกัน
ต้องมี"ธรรมบาล" คุ้มครอง
"หิตายะสุขายะ" เราทำให้ชีวิตอื่นเป็นสุข เราก็รับอนิสงค์สุขนั้นด้วย
ธรรมบาล มีสามคู่ ที่ต้อง อบรม สั่งสอน ให้สังคม ทำให้แก่กัน
-บุพการี-กตัญญูกตเวที
-หิริ-โอตัปปะ
-มงคลชีวิต-ทักษิณาทาน
สังคมใด้มีบุคคล ที่เจริญในธรรม สามคู่นี้มาก
สังคมนั้นก็จะเป็นสุข สงบ ร่มเย็นมาก
3.โอกาสโลก
โลกอันว่าลอยอยู่ในอวากาศ
เป็นบ้าน เป็นที่อาศัย เป็นที่มาของอาหาร
เป็นแผ่นดิน แห่งการเจริญธรรม
ยกระดับภูมิจิต ภูมิธรรมภูมิปัญญา พ้นจาก ห้วงน้ำอันข้ามยาก
ไม่เข้าใจ ก็ไม่พึงทำลายล้าง
................................................
4.ศาสนา ที่จะดำรงค์อยู่ ด้วยมีการ"สืบพระศาสนา"
ด้วย พุทธบริษัทสี่ ยินดี ในธรรม เจริญธรรม
และไม่แสวงหา มงคลตื่นข่าว สาธุ
.....................................................
สาธุ ขอบคุณเจ้าของภาพ อาจารย์ และผุ้เข้ามาอ่าน
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
คนเราเลือกเกิดไม่ได้
แต่เลือกตั้งใจพัฒนาตนได้
จะพัฒนา ภูมิจิต ภูมิธรรม ภูมิปัญญา สูง...จะพ้นอุปาทานทุกข์
หรือ จะพัฒนาถอยหลัง กลับไปเป็นเดียรัจฉาน
อยู่ที่..."ตัวเราเอง" สาธุ อาเมน
(ขอบคุณเจ้าของภาพ)
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
ธรรมะสวัสดิ์ 31-1-17
ยกขึ้นมาอีกรอบ ครับผม
ทำไมมนุษย์จึงแตกต่างกัน
เพราะ...
อุตุ กรรม อาหาร..ธาตุ และธรรมะ
มาเป็นหลักคิดพัฒนาชีวิตตนเอง..
/-ตอบ แบบวิชาพุทธ
เพราะ อุตุ กรรม อาหาร ธาตุ การใช้หลักธรรม มาเป็นหลักคิดพัฒนาชีวิตต่างกัน
1.อุตุ.....ดินฟ้าอากาศ ที่แตกต่าง หรือ"สิ่งแวดล้อม"
2.กรรม.....ถ้าเชื่่อกรรม ชาติก่อน ก็อธิบาย อีกแบบ
-กรรมปัจจุบัน มีสี่
"กรรมจากผู้ให้กำเนิด"......ที่ทำไว้มีผล ต่อลูกด้วย
เลี้ยงลูกแบบโอ๋มาก ทอดทิ้ง ปล่อยอยู่กับสิ่งแวดล้อมเลวๆ
หรือ ทำตัวเป็นแม่แบบอย่างไร?
"กรรมพันธุ์".......................มีผลต่อ รูปร่าง หน้าตา โรคประจำตัว อายุขัยด้วย
"สิ่งแวดล้อม"....................มีผล ทั้งดินฟ้าอากาศ มลภาวะ วัฒนธรรม กระแสสังคม
"เจตน์จำนงค์"...................อยู่ที่การ คิด สร้างอารมณ์ บุคลิก ตัดสินใจ เป็นอย่างไร?
อะไรที่ชอบทำซ้ำซาก จะกลายเป็นบุคลิกถาวร และ ทำให้ มนุษย์ต่างกัน
(วิทยาศาสตร์ บอกว่า กรรมพันธุ์ กับสิ่งแวดล้อม เท่านั้น)
3.อาหาร เครื่องค้ำจุนชีวิต
-อาหารที่เป็นปัจจัยสี่ และเครื่องอำนวยความสะดวก เครื่องต่อความสามรถ
-อาหาร ที่เป็นสัมผัส ทำให้เกิดการเรียนรู้ จากสิ่งที่รับเข้ามา
-อาหารคือ อุดมการณ์แห่งชีวิต ที่ตั้งเป้าหมายและไล่จับ
-อาหารคือความรู้
....ความรู้ที่เก็บจาก ตัวอย่างข้างนอก ที่เราชอบ เชื่่อ
....ความรู้ ที่วัฒนธรรม สังคมที่เราอยู่ ดองให้
...ความรู้ที่เป็น สัญชาติญาณ แรงขับ ความทยานอยากในชีวิต
4.ธาตุ
ธาตุที่เป็นองค์ประกอบชีวิต ต่างกัน
ธาตุเบื้องต้น ธาตุที่ประกอบเป็นจิต
-ธาตุต่างกัน.........อินทรีย์ อวัยวะ มีความสามรถไม่เท่ากัน
-อินทรีย์ต่าง.........การเรียนรู้จึงต่าง อัธยาศัยจึงต่าง
-กิเลส กรรม วิบาก......ที่ทำมา จึงไม่เท่ากัน ชีวิตจึงต่าง
5.ธรรมะที่เอามาเป็นหลักคิด หลักปฏิบัติ
ทำให้ การยกระดับชีวิต ต่างกัน
มนุษย์มีภูมิจิต ภูมิธรรม ภูมิปัญญาต่างกัน
แต่พัฒนาได้ เกิดจาก
-ใช้สัมมาทิฎฐิ(ทฤษฎี ปรัชญาชีวิตที่เหมาะสม)
-พบมิตรที่ดี มิตรอุปการะ มิตร ที่นำไปพบกุศลธรรม อริยะธรรมหรือไม่
-มีศรัทธา ในตัวอย่างชีวิตแบบไหน ก็จะพอใจ เดินทางสู่เป้าหมายนั้น
-มีวิริยะ ความขยันหมั่นเพียร อดทน ฝึกฝนทักษะดีๆ ให้แก่ตน แค่ไหน
-สมาธิ ความตั้งมั่น ของจิต ไม่เท่ากัน ฝึกฝนมาไหม?
-สติปัญญา ไม่เท่ากัน
-ใช้ทฤษฎี หรือปรัชญา ดำรงชีวิต ไม่เหมือนกัน
...จิตนิยม
...วัตถุนิยม
...สังคมนิยม
...อำนาจนิยม
...บริโภคนิยม
....ผลประโยชน์นิยม
....ประจักษ์นิยม
....ธรรมชาตินิยม
....อนุรักษ์นิยม
...สติปัญญา เคารพ กุศลธรรมนิยม
....ขวางโลกนิยม..อิๆ
ฯลฯ
-มีความประมาทในธรรมชาติไม่เท่ากัน
-มีการใคร่ครวญอย่างรอบคอบ ประกอบให้พอดีไม่เท่ากัน
....................
//-ดังนั้น ดินฟ้าอากาศ
-กรรม หรือเจตนา นั่นคือกรรม
-สิ่งค้ำจุนชีวิต หรือ อาหาร
-ธาตุทั้งวัตถุธาตุ และธาตุแห่งคุณภาพจิต
-หลักคิด หรือธรรมะ มาทำให้เกิด ความตั้งใจพัฒนา ชีวิต แต่ละคน
จึงมีผลให้ เรา ท่าน ต่างกัน
ถ้าเราเห็นว่า ความหลากหลายคือความงดงาม ควรเอื้อเฟื้อ
เราก็อยู่
อยู่ร่วม....อยู่รอด
แข่งขัน....แบ่งปัน
อยู่กับระบบชีวาลัย อันบอบบางนี้ได้
...กัดกันก็พอมันเขี้ยวก็พอ อิๆ...เพราะเราคือนักล่าโดยกำเนิด อิๆ บาย
...............
1.อุตุ(ดินฟ้าอากาศ)
2.กรรม (เจตนา)
3.อาหาร(การบริโภค)
4.ธาตุ(องค์ประกอบ กายและจิตวิญญาณ)
5.ธรรมะ ที่มาเป็นหลักคิดพัฒนาชีวิตตนเอง.
มีผลต่อชีวิตเราแต่ละคน..ต้องเลือกธรรมะที่เป็นมงคล มาปรุงแต่งชีวิตเราเอง สาธุ
เล่าให้ฟังแต่อย่างเชื่อ โดยไม่ใคร่ครวญอย่างรอบคอบ สาธุ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
เรียนธรรมะ ปฏิบัติธรรม วัดผลตอน ถูกด่า ถูกยอนี่แหละ
(หลวงพ่อ ปัญญานันทะภิกขุ)
.......................................
//-ตัวชี้วัด การปฏิบัติธรรม
ผัสสะโลกธรรม.........................ด้วยสติกุมสภาพจิต แล้วไม่หวั่นไหว
จิตเบิกบานไร้กิเลส ...................แผ้วพานนั่น
จิตมั่นคง โปร่งใส มีคุณภาพ.........ทุกผัสสะกัน
ใครทำได้อย่างนี้แล้วนั้น .............คือบรมโชคดีเอยฯ..
9 Oct 2O15
"เจ้าเกิดมา ..............มีอะไร มาด้วยเจ้า
เจ้าจะเอา ................แต่ สุข สนุก ไฉน
เจ้ามา ตัวเปล่า .........แล้วเจ้า จะเอาอะไร
เจ้า ก็ไป ตัวเปล่า ......ดั่งเจ้ามา"
จำมาจาก สวนโมกข์
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
//ไม่ว่า วาน วัน.......................นี้ พรุ่งนี้
มีอยู่
พวกเรา.....................................พึงหรรษา
เกษมสันต์
ดื่มบรมสุข.................................ทุกขณะ
หายใจกัน
เพราะ โลกนั้น.............................ย่อมเป็น
ดังเจ้า(โลก)เป็นฯ
---------------------------------------
ตามใจฉัน-5
ชีวิต........................................เฉกเช่น
บทเพลง
บรรเลง...................................ลีลา
หลากหลาย
แสดง กำกับ.............................ตัดสิน
วางวาย
เหลือไว้....................................คำรำพัน
ล้านวจีฯ
...........................................................................................
ชีวิตสั้นนัก...............................สหายเอ๋ย
อย่าละเลย...............................ทำสิ่งที่ตนหวัง
เพียงแต่ ตนท่าน......................ไม่เดือดร้อนเพราะเราทำ
ด้วย เวลา กรรม มัจจุราช.........ไม่เคยคอยใครฯ(โอมาร์คัยยัม)
..
..
"ธรรมชาติ..............บ่แม่นแท้
ของใคร
ดิน น้ำ ลม ไฟ..........เจตนา กรรม ธรรม
ช่วยสร้าง
บ่เข้าใจ...................บ่ควร
ทำลายล้าง
ทั้ง บ่พึง..................แอบอ้าง
เป็น ตน ของตนฯ
(จาก1000นิทานปู่ลิง)
-------------------------------
/-โลก...............โล กะ แปลว่า
แตก
แต่ ถ้าฉัน...........ชะลอโลก
แตกช้าลง...........ในแสนล้านวินาที
ฉันก็จะทำฯ
จาก(1000นิทานปู่ลิง)
..
..
คนเราเลือกเกิดไม่ได้
แต่เลือกตั้งใจพัฒนาตนได้
จะพัฒนา ภูมิจิต ภูมิธรรม ภูมิปัญญา สูง...จะพ้นอุปาทานทุกข์
หรือ จะพัฒนาถอยหลัง กลับไปเป็นเดียรัจฉาน
อยู่ที่..."ตัวเราเอง" สาธุ อาเมน
..
..
วันนี้ คือวันสำคัญที่สุด
เมื่อวาน ใช้ไปแล้ว
พรุ่งนี้ เราอาจไม่มีโอกาสใช้
Today, the most important
Yesterday is gone
Tomorrow may not be used
..
..
"แม่น้ำคด แต่น้ำไม่คด"(สวนโมกข์)
1.สังขารปรุงแต่ง เป็นอธิจิต มี
ผิด....................ถูก
ดี.......................ชั่ว
ชอบ..................ชัง
ทุกข์..................สุข
2.แต่ โพธิจิต สงบ สะอาด สว่าง เย็น เช่นนั้นเอง
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
"สุริยัน จันทรา ดารา...................ส่องสว่างยามค่ำคืน
ประทีป ส่องทางได้....................ในที่มืดนั่น
แสงสัมมาสติโพธิปัญญา...........ส่องใจตลอด ทุกคืนวัน
ผู้รู้นั้น จึงเร่ง................................ฝึก นิปปปัญจธรรม ปลุกแสงในจิตตนฯ"
นิปปปัญจธรรม หรือโพธิปักขิยธรรม
คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เพื่อความรุ้แจ้ง เหตุ เกิด ดับแห่งทุกข์
ประกอบด้วยธรรมะ 7 หมวด คือ
- สติปัฏฐาน 4,
สัมมัปปธาน 4,
อิทธิบาท 4,
- อินทรีย์ 5,
- พละ 5,
-โพชฌงค์ 7,
-มรรคมีองค์ 8
รวมเป็น 37 จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37
ด้วยการทำลาย อุปาทานใน ขันธุ์ห้า
อุปาทานในตัณหา
ทิฐิ มานะ อวิชชา
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan - 2 comments
"สวรรค์ภพหน้า.......................แสนไกล
สวรรค์สังคมใด.......................ยั่งยืนนั่น
สวรรค์ในอก อิ่มในกุศล..........เห็นพลัน
เหนือสวรรค์คือ วิมุติธรรมนั้น .ยั่งยืน นิรันดิ์ นิรันดิ์ เอยฯ "สาธุ
...........................................
//หลวงพ่อพุทธทาส กล่าวไว้ว่า
1."นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า"....สอนกันมาก่อนมีพุทธศาสนา ในหลากหลายวัฒนธรรม"
"ทำชั่ว ไปนรก ดีไปสวรรค์"
ดังนั้น ทำชั่ว เราก็รู้สึกไม่ดี สารเคมีให้โทษ ในร่างกายก็หลั่ง ตกนรกในใจเราไปด้วย
ทำดี ศูนย์ให้รางวัลในสมอง ก็ทำให้เรา หลั่งสารความสุข ดีต่อชีวิตจริงๆ
2.นรกเกิดจากผัสสะ
ผัสสะโลก ด้วย ไฟราคะ โทสะ โมหะ ที่เรา ชงเองใน ความคิด อารมณ์
หู ตา จมูก ลิ้น กายใจ เราก็ เร่าร้อน ด้วย"ไฟที่ไม่ควรบูชา"
ด้วย เพลิงกิเลส เพลิงทุกข์"ตกนรกทั้งเป็น" เช่นกัน"
แต่ถ้าเราบูชาไฟที่ควรบูชา คือ"ไฟแห่งสัมมาสติ โพธิปัญญา"
เราก็ สว่างในความรู้ ที่นำทางให้เราพ้นเพลิง ทุกข์เพลิงกิเลส ด้วยความเพียร ฝึกฝนตนเอง
3.นรกในสังคม
มนุษย์ มาจากนักล่า นักฉกฉวยผลประโยชน์จาก ธรรมชาติ
การแตกต่าง แข่งขัน แย่งชิง ทะเลาะวิวาท สงคราม
แบบ"คนกินคน" ก็ยังมีให้เห็น
หากเราสอนให้
เอาตัวรอด....กับอยู่ร่วม
แข่งขันทำดี...แบ่งปันความดี
ละอายที่จะทำชั่ว...เกรงกลัวผลกระทบหากทำชั่ว
รู้จักทำคุณให้ผู้อื่น...รู้จักตอบแทน ความดีที่ผู้อื่นทำให้
สวรรค์ก็เกิดในสังคม แทนนรก
4.นรกที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม
ที่ใกล้ๆ มหาอุทกภัย ที่เราเจอ ปฏิเสธไม่ได้ มาจากผล"โลกร้อน"
เพราะเรา เผาปิโตเลียม เพื่อได้มาพลังงาน อาหาร และความสะดวกสบาย
เราต้องหาพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน มาทดแทน โดยด่วน
ไม่งั้น อีกสี่เดือนข้างหน้า เราอาจเจอนรกจากน้ำ อีกรอบ อิๆ
................
//-ที่สำคัญ
"ศูนย์ ให้รางวัล ลงโทษ"
อยู่ในแกนกลางสมอง ที่สร้างพายุอารมณ์
ให้เราจำ อาหาร ศัตรู เพื่ออยู่รอด
เราเอาไปผูก กับอะไร เราก็เจอสวรรค์ นรก กับสิ่งนั้น
เรียนผูก ก็เรียนแก้เอาเองเด้อ
ดี....ชั่ว
ผิด...ถูก
ชอบ..ชัง
ได้...เสีย
สมใจ..เสียใจ
ชาย...หญิง...อิๆ
สลับขั้ว สลับสาย แล้ว"ทุกข์"
ก็ฝึก ถอดระหัสเอาเอง
"ใครถอนความพอใจ ไม่พอใจในโลกได้หมดสิ้น ย่อมพบความเย็นในชีวิตตนเอง"
..........................................
//-ถ้าเข้าใจ พุทธธรรม สี่ระดับ
1.-ระดับ ให้เห็นคุณค่า ละชั่ว ทำดี
ก็จะอิงความเชื่อ แบบจิตนิยมโบราญ
(สัสตทิฐิ)
2.-ระดับ ชำระใจให้ผ่องแผ้ว หรือ" ทำนิพพานให้แจ้ง"
ก็จะ จัดการกับ อคติ มายาคติภายใน
ตอนผัสสะโลก ด้วยอายตนะ นี่แหละ
ในการปรุงบุคลิกภาพ แต่ละครั้ง ที่ผัสสะโลกธรรม
จะทำให้ เกิดเป็น นรก สวรรค์ อยุ่ที่
จุดยืน วิสัยทัศน์ วิธีคิด วิธีชงอารมณ์ของเราเอง เช่น
3.-ระดับสร้างธรรมบาล คุ้มครองสังคม
ให้อยู่กันอย่างมีสติ สันติธรรม
4.-ระดับ ดูแลระบบชีวาลัย สิ่งแวดล้อม ให้สมดุลย์
และฝึกทำหน้าที่ ที่เป็นมงคลชีวิตให้มีชีวา
เราก็พบสวรรค์มากกว่านรกแน่นอน สาธุ
................................................
-ฝนตก เรามีอารมณ์เบิกบาน เป็นมิตร จิตใสๆ
เอ้อ ชาวนาจะได้มีน้ำทำนา ประชาได้มีอาหารอิ่มท้อง อิๆ
เกิดสวรรค์ ร่างกายผลิตสารแห่งความสุข ทันทีอิๆ
-ฝนตก รถติด อีกแย้ว เซ็งเป็ด อิๆ
ร่างกายก็ผลิตฮอร์โมนคอร์ติโซน
ทำให้กระวนกระวาย และเรี่มคิดหดหู่ ฟุ่งซ่าน
ประตูนรกจากผัสสะก็เปิดรับทั้นที่
ไปสู่ความย้ำคิด ย้ำ ทำ ย้ำแค้น
หาเรื่องแช่งฟ้าดิน คนที่เราไม่ชอบหน้าต่อไป
ลืมดู นรกในใจที่กำลังเดือด และดับได้ ง่ายๆ
แค่ถอนหายใจทิ้ง และวาง เปลี่ยนไปคิด สิ่งที่เป็ยกุศล วิมุติแทน
.................................................
“ดูก่อนภิกษุ นรกชื่อว่าผัสสายตนิก 6 เราเห็นแล้ว ในผัสสายนิกนรกนั้น สัตว์จะเห็นรูปอะไรด้วยจักษุ ก็ย่อมเห็นแต่รูปอันไม่น่าปรารถนา ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าปรารถนา ....จะฟังเสียงอะไรด้วยหู ก็ย่อมฟังแต่เสียงอันไม่น่าปรารถนา....จะรู้แจ้งธรรมารมณ์อะไรด้วยใจ ก็ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าปรารถนา ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าปรารถนา...”
(ขณสูตร, สํ.สฬ.๑๘/๒๑๔.)
พระพุทธดำรัสนี้ เป็นการนำเสนอนรกที่เกิดขึ้นพร้อมกับการ
-ได้เห็น
-ได้ฟัง
-ได้กลิ่น
-ได้ลิ้มรส
-ได้สัมผัสทางกายและทางใจซึ่งสิ่งที่ไม่น่าพอใจ
นรกชนิดนี้อาจเกิดขึ้นทั้งในขณะที่มีชีวิตเป็นมนุษย์อยู่
และหลังจากตายไปเกิดในภพใหม่แล้ว เป็นการแสดง “ภาวะ”
ไม่ใช่แสดงถึง “สถานที่”
นอกจากนี้ ยังตรัสเปรียบเทียบความเร่าร้อนในนรกชื่อว่า
“ปริฬาหะ”
กับความเร่าร้อนของพวกสมณพราหมณ์
-ผู้ไม่รู้แจ้งทุกข์
-เหตุเกิดทุกข์
-ความดับทุกข์
-และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ในโลกมนุษย์นี้
“....นรกชื่อว่าปริฬาหะมีอยู่
-ในนรกนั้นบุคคลยังเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยนัยน์ตาได้
(แต่)เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนา...
-ดูก่อนภิกษุความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวความเร่าร้อนนี้ มีอยู่.....
-สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงน่า นี้ทุกข์ ......
-ย่อมยินดี ย่อมปรุงแต่งครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมเร่าร้อน ....”
(ปริฬาหสูตร , สํ.ม.๑๙/๑๗๓๑-๑๗๓๓.)
http://puling-222.blogspot.com/2011/05/blog-post_04.html
สรุป ผัสสะโลก ด้วยการขาด สติปัญญา ปรีชาญาณกุมสภาพจิต
ปรุงแต่ง เป็นความคิด สร้างอารมณ์ทุกข์เอง กินเอง สาธุ
"ความทุกข์เอ๋ย.........................ใช่อยู่ในใจตลอด
หรือสุข.....................................ครองครอบตลอดนั่น
มันทุกข์ สุข...............................สลับกัน
กลางที่วาง ว่าง..........................มีที่เย็นฯ"
สาธุ
Philosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี
G+ communities คนรัก รักษ์ ปัญญา สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
Suraphol KruasuwanOWNER
ฐิตา:
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
ธรรมชาติ อัศจรรย์ทุกวัน
เราต้อง อยู่ร่วม อยู่รอด ในโลกที่ต้อง
แข่งขัน แบ่งปัน อะไรที่ผลักดันชีวิต ที่เราต้อง"เห็น"...เข้าใจ..ปรับตัว...
1.ธรรมชาติทั้งหมด
ที่เรายัง ไม่รู้จริง เกี่ยวกับ เจตนาของธรรมชาติ
2.กฎของธรรมชาติ
ที่ขังพวกเรา ในมิติของธรรมชาติ โดย มีเหตุผลเดียว
"กูก็เป็นเช่นกูเป็น"
3.กฎวิวัฒนการ ธรรมชาติ
ทำให้ ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง จากสิ่ง ไม่ซับซ้อน
มีระเบียบ สู่ความไร้ระเบียบ จนเกิดสรรพสิ่ง
มีกฎป่า เป็นนาย
4.กฎวัฒนธรรมมนุษย์
ทุกวัฒนธรรม เชื่อว่า
-เมตตา..............กรุณา เป็นมนุษย์ธรรมที่ดี
-กตัญญู.............กตเวที เป็นมนุษย์ที่ดี
-หิริ...................โอตตัปปะ ยกระดับภูมิจิต ภูมิธรรม มนุษย์
-อริยสัจจะ.........เป็นชัยชนะ ของมนุษย์ที่ชนะ กฎป่า และจิตปรุงแต่งตน
5.กฎของหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์
เป็น เพื่อน และ ผู้ต่อความสามารถ ความสะดวกสบาย ในการดำรงค์ชีพ
ในสังคมปัจจุบัน
6.กฎของ อัตตา
เป็นตัวตนเทียมๆ.....
ที่เราต้อง ปรุงแต่ง บุคลิกภาพ เพื่อการปรับตัว ตลอดเวลา
7. กฎของ สัมมาสติโพธิปัญญา ที่ตื่น
มากุมสภาพ จิต(อัตตา) พาอัตตา ไปทำสิ่งดีๆ เปลี่ยนกิเลส เป็นโพธิ
8.กฎธรรมชาติ ที่เหนือ ธรรมชาติธรรมดา
........................................
ตัวเรา สังคม สิ่งแวดล้อม จักรวาล
เป็นสิ่งอัศจรรย์ ชีวิตมีการเดินทางภายใน ของจิต วิญญาณเรา
โดยมี ผู้นำการเปลี่ยนแปลงชีวิตภายใน มีวิสัยทัศน์ตามกาล
1.โลกแห่งความภักดี เป็นใหญ่
2.โลกของ ผลประโยชน์เป็นใหญ่
3.โลกเติบโตแบบคู่ขนาน
โลกของการ อยู่ร่วม อยู่รอด แบบ ดีด้วยกัน เป็นใหญ่
4.โลกแห่ง สัมมาสติโพธิปัญญา ที่ตื่น
ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ใฝ่ดี อารมณ์เย็น ชื่นชม เอื้อเฟื้อ
คือ ชีวา ในชีวิต ที่ตื่น ยั่งยืน
5.สถานีสุดท้าย....พบกันที่ ยมโลกนะ....55555+
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
..
..
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ
"ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ
พระตถาคต กล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้"
(คาถาพระอัสสชิ )
เหตุ และหลักการดับทุกข์ ที่สำคัญของทุกข์คือ
1.สภาวะทุกข์
สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องเป็นไปตาม กฎไตรลักษ์ ฝึกทำใจรับสภาพ
2.เวทนาทุกข์ ฝึกอดทนพันเท่า
3.อารมณ์ทุกข์ ฝึก ชงอารมณ์ฌาน มาเสพ แทนทุกอารมณ์ ที่เราเคยใช้
มีปิติ................อิ่มใจในกุศลที่เจริญ
มีสุข.................จากจิตเอื้อเฟื้อ สุข จากการแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้กัน
มีอุเบกขา..........อุปะ แปลว่า..เข้าไป...เบกขา แปลว่าใช้ปัญญา
อุเบกขา จึงหมายความว่า เข้าไปใช้ปัญญาสงบเย็น แทน อารมณ์ร้อน
เอกจิต............จิตเป็นหนึ่งเดียว กับทุกกระแสธรรมชาติ
กระแสโลก......มีกระแสกรรมซ่อนอยู่
กระแสกรรม.....มีกระแสธรรมซ่อนอยู่
วางทุกกระแส...ย่อมพบ กระแสนิพพาน สาธุ
http://puling-222.blogspot.com/?view=flipcard
..
..
การจะเข้าใจปรัชญาพุทธะ ถูกต้อง ต้องศึกษา 62 ปรัชญาที่ไม่ใช่ พุทธก่อน
ทิฐิ หรือ ปรัชญาในพุทธศาสนา มี สามชั้น
1.เพื่อ ให้เดินทางสายกุศล
ให้คน ละชั่วทำดี
และสอนจนคิดว่าเป็นพุทธแท้ๆคือ
สัสสตทิฐิ.....เชื่อว่าตายแล้วเกิด...ตรงข้ามกับ อุจเฉททิฐิ ที่เชื่อว่าตายแล้วสูญ
2.เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
เพื่อชีวิตที่เหนือทุกข์ สุข แต่เย็น
สอนให้ รู้เท่าทันจิตปรุงแต่ง ด้วยการแยก องค์ประกอบชีวิต เป็นขันธุ์ห้า
และละอุปาทาน นั้นเสีย ปลุก สัมมาสติ โพธิปัญญาตื่น
มากุมสภาพจิต ปรุงแต่ง จนเลิกเป็นทาส กิเลส ตัณหา อุปาทาน
3.หิตายะ สุขายะ
เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคม
ทำให้ชีวิตอื่นเป็นสุข เราก็จะได้ ผลจากสุขจากจิตเอื้อเฟื้อนั้นด้วย
.........................
เดินทางในสายกุศล เป็นคนเย็น คนมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ
จึงเป็นเป้าหมายชีวิต ชาวพุทธที่แท้จริง
สาธุ
............................
62ทิฐิ มีผู้สอนอยู่แล้ว ตถาคต สอนเรื่องทุกข์(กำหนดรู้ได้ด้วยสติ) และดับไม่เหลือแห่งทุกข์(ด้วยการล้างเงื่อนไขที่ปรุงแต่งเป็นอารมณ์ทุกข์...เป็นคำสอน"ใบไม้กำมือเดียว"...และสอนให้เคารพใน กฎ"อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา" -สัพเพสังขาราอนิจจา
-สัพเพสังขาราทุกขา
-สัพเพธัมมาอนัตตาติ
เมื่อธรรมะ คือ"ธรรมชาติทั้งหมด"
- ที่กำลังเปลี่ยนไปตามกฎ เหตุปัจจัยที่มาปรุงแต่ง
-ไม่ได้เป็นดั่งใจปรารถนาของใคร
.................
"จิตคือธรรมชาติหรือไม่?"
..................
//-ในยุคพุทธกาล เถียงกันจนจิตฟุ้งซ่าน
หาเหตุดับเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส ไม่เจอ เรื่อง
-จิตคือชีวิตแท้(อัตตานิยม)...เป็นรากของสัสสตทิฐิ พุทธระดับศรัทธา ยึดติดเหนี่ยวแน่น อิๆ
-จิตไม่ใช่ชีวิตแท้(นิรัตตานิยม)..เป็นรากของ อุจเฉททิฐิ..หรือวัตถุนิยม ในปัจจุบัน
ทางสองสาย ไม่ใช่สัมมาทิฐิ ในมรรคแปด ในอริยะสัจจะ
เพราะเอาไปดับเพลิงทุกข์เพลิงกิเลสได้
ยึดถือแล้ว"อาจสบายใจชั่วคราว" อิๆ
-อัตตา
-นิรัตา
-อนัตตา
อะไรเป็นหลักของพุทธแท้ พิจรณาเอาเอง
ทุกความเห็นเป็น อัตโนมติ แม้นของครูเราก็ตาม
ของจริงต้องดับเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลสได้ เมื่อเอาไปฝึกตนเอง อิๆ
การปฏิบัติธรรมคือ "ใช้สติปัญญารักษาใจไม่ให้(อารมณ์)ทุกข์เกิด เมื่อ(อารมณ์)ทุกข์เกิด ก็กำหนดรู้แล้วละเสีย(วรธัมโมสวนโมกข์)
................
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
อรุณสวัสดิ์ อย่างเป็นทางการ
1.รู้ว่าชั่ว ก็ละ
2.รู้ว่าเป็นกุศล ก็เจริญให้ยิ่ง
3.ล้างใจ ให้หมดขยะปรุงแต่จิต เย็น มากน้ำใจ ดีต่อชีวิตแน่นอน
สามประการที่พุทธเจ้าทุกพระองค์สอน เด็กรู้...แต่คนแก่ทำยาก อิๆ
...................................
"ทำชีวิตมีชีวาให้เย็น..............มากด้วยน้ำใจ
ไม่ประมาท............................ฉลาดในการ ฝึกตนและดูแลสุขภาพตนเองนะ"
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
เราตายแล้วตั้งแต่เกิด
แต่มายา ลีลา ธรรมชาติ ปกปิดไว้
-เกิด.................ปกปิดแก่
แก่....................ปกปิดเจ็บ
เจ็บ...................ปกปิดตายฯ
..........................
แต่ถ้าใครให้ กิเลส ตัณหา อุปาทานตาย ก่อนกายเราตาย
ชีวิตที่เหลือคือกำไรชีวิตที่แท้จริง(พุทธทาส) สาธุ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
//-คำสอน ที่เอาไปปฏิบัติได้
สั้นที่สุด ของอาจารย์พุทธทาส
ที่ได้ฟังมากับตนเอง ปี2521
1.ศีลมีข้อเดียว....รู้ว่าเป็นอกุศล ก็ละโดยเด็ดขาด
2.ธรรมมีข้อเดียว..รู้ว่าเป็นกุศล ก็เจริญให้ยิ่งๆ
3.วิมุติมีข้อเดียว....ไม่ทุกข์ ไม่สุข แต่เย็นฯ
จบแล้ว ไม่ถึง สามนาที อิๆ
...........................
มีคณะครูและนักเรียน เดินทางทัศนศึกษา
ติดต่อมาล่วงหน้า
ขอเวลาอาจารย์ครึ่งวัน
รถเสียเวลา จึงขอให้ อาจารย์สรุป คำสอนพุทธศาสนา
ที่เอาไปปฏิบัติ ได้ ใน15นาที
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
หนึ่งในกิจกรรมมนุษย์....คือตั้งความหวังและไล่จับ
สี่พรประเสริฐ ในชีวิตมนุษย์ มีแค่สี่ประการ
"สุขภาพดี............................คือลาภอันประเริฐ
อิ่มใจในความดี.....................ทุกขณะจิต คือยอดทรัพย์
มีมิตร อุปการะกัน................เป็นยิ่งกว่าญาติ
ฉลาด ทำให้ชีวิตให้เย็น.........เพราะ วาง ว่างเป็น เป็นยอดธรรมฯ"
1.สุขภาพดี ต้องทำเอง
ดูแล สุขภาพร่างกาย จิต วิญญาณ ให้ถูกสุขลักษณะ
กิน ออกกำลัง พักผ่อนเรียนรู้โลกธรรม ...ชนะอารมณ์
2.อิ่มใจในความดี
ความดี แบบมีมนุษย์ธรรม ของจีน แปดประการ
ขยัน อดทน สมถะ เคารพประเพณีตนและเพื่อนบ้าน
ซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม เป็นธรรมบาล กตัญญู
3.มีมิตรอุปการะกัน เป็นยิ่งกว่าญาติ
ญาติสายเลือดเดียวกัน ดุจนกนานาชนิด มาอาศัยต้นไม้เดียวกัน
จึงต่างจิต ต่างใจ ต่างภูมิจิต ภูมิธรรม ภูมิปัญญา
มิตรภาพ อยู่ที่การ เห็นใจ เข้าใจ ทำใจ ดูแลกัน โดยไม่หวังผลประโยชน์
ซึ่งเราต้อง มีให้ผู้อื่นก่อน
4.ฉลาดทำชีวิตให้เย็น คือยอดธรรม
ทุกข์..............คือนรก
สุข................คือสวรรค์
เย็น...............คือนิพพานฯ(อ.พุทธทาส)
..............................
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
55555+
วงกาแฟวันนี้ ยกภาพนี้ มาสนทนา
แมงมุมสอนลิง
ใบไม้ร่วง เพราะลมและเวลา
ใบไม้เป็นส่วนเกิน ของไยแมงมุม
แมงมุม ใช้ปัญญา และกำลังใจ.ตัดๆๆๆ ไยตนเองออก
ปล่อย ใบไม้ร่วง สู่พื้น
แมงมุม ก็ซ่อมไยตนเองใหม่
..................................
ทำไมมนุษย์ชอบ เอาอดีต มาเคี้ยวเอื้อง..และพร่ำเพ้อ
ย้ำคิด ย้ำทำ ย้ำแค้น....แทนที่จะใช้ปัญญาทิ้งขยะชีวิตนั้นไป
สมองแมงมุม ไม่ใหญ่เท่ามนุษย์แน่นอน
"""""""""""""""""""""""""""
..
..
"ไม่ควร เคียดขึง พึงใจ...................กระแสโลกธรรม แม้นนิด
เสพวัฒนธรรม เพื่อกระชับมิตร.........อย่าถึงประมาท ขาดสตินั่น
ไม่พึงดูถูก ภูมิธรรม วัฒนธรรม.........วึ่งกันและกัน
ใครทำได้อย่างนี้นั้น ทุกปราชญ์.......ที่เป็นวิญญูชน ยกย่องเอยฯ"
......................................................................
ไม่มีใครชนะ เพราะพ่ายแพ้ ต่อมาร ทุกคน
มีห้ามาร ที่เราต้อง...ระวังนะ
1.ขันธุมาร
มารคือ คอมพิวเตอร์ เครื่องยนต์ที่มีชีวิต ที่ ปรุงแต่งเป็นเรา
2.อภิสังขารมาร
คือ ความคิด ที่ขาด สติ ปัญญา มโนธรรมกำกับ
ทำให้เกิดการ หดหู่ ฟุ้งซ่าน พาลจิต
3.เทวบุตรมาร
คือ ความ สมใจ สะใจ ที่หลอกให้เรา ไปทำสิ่งต่างๆ
4.กิเลสมาร
คือ สิ่งที่ เป็นกฎป่า แปลงเป็น หมอก ควันในใจ
ปิดบังวิสัยทัศน์ มโนธรรมของเรา
5.มัจจุราชมาร
คือ...เวลา......ที่ไม่เคยคอยใคร
คนที่น่าสงสารคือ
-คนที่ไม่รู้
-คนที่รู้ แต่ทำใจไม่เป็น
-คนที่ไม่รู้ มีผู้บอก สอน ก็ไม่เชื่อฟัง
-คนที่ อัตตาใหญ่ จนไม่มีใครกล้าสอน
-คนที่กำลังจะหมดลม...หมดโอกาสเปลี่ยนแปลงชีวิต สู่
สงบ สะอาด ทางสว่าง เย็น ยั่งยืน
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
การค้นพบ สัจธรรม ของฤาษียุคพุทธกาล
1.สภาวะธรรม ของธรรมชาติ เปลี่ยนแปลง ไม่สิ้นสุด
2.ความรู้ ของธรรมชาติ ไม่มีที่สิ้นสุด
(ธาตุรู้ สร้างตัวรู้ ตัวรู้พัฒนาเป็น ผู้รู้ ผู้รู้เสพความรู้ และกลับไปสู่ธาตุรู้)
3.จักรวาล สร้าง และขับเคลื่อน ด้วย ของคู่ ที่ต่างกันสุดขั้ว
4.ทุกสิ่งมีการ เขียนบท ตาม กฎ เหตุ ปัจจัย ปรุงแต่ง
และมนุษย์สามารถ เขียนบทให้ตนเองได้
.................................................
พระพุทธเจ้า ค้นพบ อริยสัจ4 ทำให้พบ
ความจริงของผู้ชนะอุปสรรค์ภายใน(จิตปรุงแต่งที่สร้างอารมณ์ทุกข์)
ทำให้ สัมมาสติโพธิปัญญาตื่น มากุมสภาพจิตปรุงแต่ง(อธิจิต)
ทำให้พบชีวิตที่สงบ มั่นคงในมโนธรรม และ เย็น
พบ ธรรมชาติ เหนือธรรมชาติ
.........................................
Philosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี
G+ communities คนรัก รักษ์ ปัญญา สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
Suraphol KruasuwanOWNER
ขอบคุณเจ้าของภาพ ครับผม
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version