ผู้เขียน หัวข้อ: มิตรแท้จริง - แก่นแท้ของธรรมะ  (อ่าน 1389 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด
มิตรแท้จริง - แก่นแท้ของธรรมะ
« เมื่อ: มิถุนายน 05, 2016, 08:04:36 pm »










https://drinkmecome.blogspot.com/

https://yoawarat.blogspot.com/

สวัสดีสหายธรรมทุก ๆ ท่าน ข้าพเจ้าเป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งเคยปฏิบติธรรม[สายมหายาน] คือ องค์กรสร้างคุณค่าในประเทศไทย(เลขที่ 137 ถนนวิทยุ)กรุงเทพ แต่ก็ออกจากระบบการมานานมากแล้ววันนี้ 1 พฤษภาคม 2550 ขอนำเรื่องของ Ten worlds มาลง Blog สำหรับนิกาย นิชิเร็นโชชิว ที่เผยแพร่เข้ามาประเทศไทย โดย อาจารย์ ไดซาขุ อิเคดะ ประมาณปีพุทธศักราช ก่อน 2504 ปัจุบันเท่าที่ทราบมี 2 สาย สมาคม คือ......

1 สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย และ

2 สมาคมธรรมประทีป ซึ่งหลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่ทราบและหลาย ๆ ท่านก็ทราบกันดีอยู่แล้ว



พุทธศาสนา จำแนก สภาวะชีวิตอันเต็มไปด้วยศักยภาพเอาไว้เป็น สิบโลกภูมิ Ten Worlds จากสภาวะชีวิตที่ต่ำที่สุดถึง สภาวะชีวิตที่สูงที่สุดอันได้แก่
1. โลกภูมินรก(จิโกขุ)สภาวะแห่งความทุกข์ทรมานที่สุดจากการที่ได้ถูกครอบงำโดยแรงกระตุ้นจิตใจให้มีการทำลายตนเอง และสิ่งแวดล้อมของคนผู้นั้น

2. โลกภูมิเปรต(กากิ)สภาวะซึ่งคนผู้นั้นได้ถูกควบคุมอย่างเด็ดขาดโดยความโลภกระหายอยากชนิดต่าง ๆ รวมถึง ความมีชื่อ เสียง เกียรติยศ ความมั่งมีร่ำรวย ความเพลิดเพลินเบิกบานใจ และพลังอำนาจแต่ไม่เคยมีความอิ่ม หรือพึงพอใจอย่างแท้จริงได้ เลย

3. โลกภูมิเดรัจฉาน(ชิคุโช่)สภาวะชีวิตที่ถูกครอบงำโดยสัญชาตญาณ ซึ่งในสภาวะชีวิตอันนี้คนผู้นั้นจะไม่มีความสำนึกรู้ เกี่ยวกับเหตุและผล หรือศีลธรรม บุคคลที่อยู่ในโลกภูมินี้จะฉวยโอกาสจากคนทั้งหลายเหล่านั้นผู้ซึ่งอ่อนแอกว่า แต่จะยอมก้มตัว หมอบคลานด้วยความกลัวอย่างอ่อนน้อม เมื่ออยู่ต่อหน้าคนทั้งหลายเหล่านั้นผู้ซึ่งแข็งแรงกว่า สามโลกภูมินี้ถูกเรียกว่า วิถีทางอัน ชั่วร้ายสาม(ซันอันขุโดะ)

4. โลกภูมิอสุระ(ซูระ)สภาวะชีวิตที่ถูกครอบงำโดยความเห็นแก่ตัว บุคคลที่อยู่ในสภาวะนี้ จะถูกเร้าใจให้เกิดความสนใจ ในการที่จะดีกว่าเหนือกว่าคนอื่นๆในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง วิถีทางอันชั่วร้ายสาม รวมกับโลกภูมิอสุระ ก็อาจถูกเรียกว่า โลกภูมิต่ำทั้ง 4(ชิอะขุชู)

5. โลกภูมิมนุษย์(นิน)สภาวะชีวิตซึ่งคนผู้นั้นสามาถควบคุมความโลภอันเป็นสัญชาตญานได้ด้วยการมีเหตุผล ใช้การตัด สินใจซึ่งมีศีลธรรม และจริยธรรม และธำรงรักษาความมีมนุษยสัมพันธ์อันสงบสุขเยือกเย็น แต่กระนั้นก็ถูกรบกวนได้ง่ายดายโดย ความยุ่งเหยิงในสิ่งแวดล้อมของคนผู้นั้น

6. โลกภูมิเทวะ(เท็น)สภาวะที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นๆ มีความสุขปลาบปลื้มปิติยินดีปรีดาอย่างหลงไหลลืมตัวในขณะที่คนผู้นั้นได้ประสบ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อความปราถนาอยากได้สำเร็จสมหวัง หรือในขณะที่ได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานทั้ง 6 โลกภูมิแรกเหล่านั้น ซึ่งถูกเรียกว่า วิถีทางทั้ง 6(รกขุโดะ) คนที่อยู่ในโลกภูมินี้ โดยไม่สำนึกรู้ในมันก็จะถูกครอบงำโดยการมีความรู้สึกตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมของตน พวกเขาเอาความสนุกของตนเองมาเอกลักษณ์โดยการวางรากฐานเอาไว้ที่อยู่ภายนอก เพราะฉะนั้นจึงอาจถูกมองให้ไม่มั่นคง เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมในทางตรงกันข้าม วิถีทางทั้ง 6 ซึ่งในแก่นเนื้อแท้สาระสำคัญแล้ว ก็เป็นปฎิกิริยาตอบโต้ที่ไม่ต้องดิ้น รนต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ส่วนสภาวะชีวิตใน 4 โลกภูมิต่อไปนั้นถูกเรียกว่า โลกภูมิอันสูงส่งสง่างามทั้ง 4(ชิเซ อิ)นั้นก็จะถูกทำให้ สำเร็จลุล่วงไปได้ เพียงโดยการใช้ความพากเพียรพยายามอย่างตั้งใจ

7. โลกภูมิสาวก(โชมอน)สภาวะชีวิตซึ่งคนผู้นั้นแสวงหาสัจธรรมความจริงในคำสอนต่าง ๆ ของคนอื่น ๆ คำว่าโชมอน ในภาษา ญี่ปุ่นตามตัวหนังสือแล้วหมายถึง ผู้ที่ได้ยินเสียง และโดยดั้งเดิมแล้ว ได้ชี้บ่งถึงสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ซึ่งเคยได้ยินคำสอนของ พระพุทธองค์เป็นการส่วนตัวมาแล้ว

8. โลกภูมิปัจเจก(เอ็นขะคุ)สภาวะชีวิตซึ่งคนผู้นั้นแสวงหาสัจธรรมความจริงโดยทางการมีความรู้สึกสัมผัสได้โดยตรงกับ ปรากฎการณ์ต่าง ๆ โลกภูมิสาวกและปัจเจกนั้นถูกเรียกว่า ญาณสอง(นิโจ)ซึ่งไม่เหมือนโลกภูมืต่าง ๆเหล่านั้นในวิถีทางทั้ง 6 คน ที่อยู่ในสภาวะต่าง ๆ เหล่านี้ จะสำนึกรู้ได้ถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง และมีจิตใจใฝ่แสวงหาสัจธรรม ความจริงบางสิ่งที่ซึ่งมีความถาวรคงทนตลอดไปในการไล่ตามหาของพวกเขาเหล่านั้นอย่างไรก็ตาม มักจะเป็นไปตามความสนใจ ของตนเอง ดังนั้นจึงมีศักยภาพอันเป็นไปได้ที่จะเห็นแก่ตัวเองจึงตกอยู่ในโลกภูมิเหล่านี้

9. โลกภูมิโพธิสัตว์(โบสัตสึ)เป็นสภาวะชีวิตที่มีความเมตตากรุณา ในสภาวะชีวิตอันนี้ บุคคลผู้นั้นจะค้นพบความหมายใน ชีวิตของตนเองได้โดยการทำให้ความทุกข์ทรมานของคนอื่นได้บรรเทาเบาบางลง และไม่ปราถนาอยากในการรู้แจ้งเห็นจริงเป็นการ ส่วนตัว โดยแยกต่างหากออกไปจากความสุขของคนอื่น ๆ
ทั้งเก้าโลกภูมิแรกนี้ โดยรวม ๆ ถูกเรียกว่า เก้าโลกภูมิ ถ้อยคำที่มักจะนำเอามาใช้ในการอ้างถึง โดยทั่ว ๆไปแล้วสภาะชีวิต ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ทำให้เข้าถึงการรู้แจ้งเห็นจริงได้ของมนุษย์ปุถุชน จึงเป็นสภาวะชีวิตที่ตรงกันข้ามกับของพระพุทธเจ้า

10. โลกภูมิพุทธภาวะ(มุทสึ)สภาวะชีวิตของการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ สัจธรรมความจริงอันสุดท้ายที่สุด ซึ่งมีลักษณะที่ปรากฎออกมาเป็นคุณธรรมต่างๆเช่นว่านี้ อันได้แก่ ตัวตนที่แท้จริงความอิสระเสรีอันสมบูนณ์ครบถ้วน ปัญญาอันไม่มีขอบเขตจำกัด และความเมตตากรุณาอันไม่มีที่สิ้นสุด นิชิเร็น ไดโชนิน Nichiren Daishoninได้กล่าวเอาไว้ว่า สภาวะชีวิตเช่นว่านี้จะถูกกระตุ้น เร้าให้ทำงานขึ้นมาได้ โดยการสวด นัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว (Nam-Myoho-Renge-Kyo)
คำสอนทางพุทธศาสนาในตอนต้นๆนั้น ถือว่า สิบโลกภูมิ(Ten Worlds)นั้นคือ 10 อาณาจักรทางฝ่ายกายภาพที่แตกต่างกัน ออกไปอย่างแจ้งชัด ซึ่งทำให้คนผู้นั้นเกิดขึ้นมาได้โดยคุณธรรมแห่งอดีตกรรม

อย่างไรก็ตาม คำสอนของสัทธรรมปุณฑริกสูตร The Lotus Sutra  ชี้บ่งว่า สิบโลกภูมิ Ten Worlds นั้นไม่ใช่สภาวะตามที่เป็นจริง แต่เป็นสภาวะชีวิตซึ่งมีศักยภาพที่ถูกซ่อนเร้นอยู่ ภายในตามธรรมชาติในแต่ละคน ๆ ในแต่ละขณะจิต โลกภูมิหนึ่งในสิบโลกภูมิ Ten Worlds นั้นก็จะสำแดงปรากฎออกมา และ อีกเก้าโลกภูมิก็จะถูกแฝงเร้นอยู่ แต่ในขณะจิตต่อไป ก็จะมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา



แก่นแท้ของ ธรรมก็คือ ให้ผู้อื่นและตนเองดีขึ้น เจริญก้าวหน้าขึ้น จนในที่สุด สามารถมีความสุขที่แท้จริงซึ่งแสดงให้เห็นว่า เป็นธรรมที่สามารถช่วยให้สามารถหลุดพ้นจากวัฏฏะในหนึ่งชั่วชีวิตนี้ - ในชาตินี้ได้ ขอให้ดำเนินชีวิตในแต่ละวันให้ผ่านพ้นไปอย่างมั่นคง ขอให้ดำเนินชีวิตที่สงบสุขบนเส้นทางชีวิตของตนเอง ขอให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงบนเส้นทางนี้เท่านั้น นี่คือเส้นทางของ พุทธธรรมที่แท้จริง และเป็นทางลัดไปสู่ชัยชนะ


การดำเนินชีวิตที่สงบสุขบนเส้นทางชีวิตของตนเอง ก็หมายความว่า พวกเราเกิดมาในชาตินี้ก็มีพร้อมคุณสมบัติดีเด่นของตนเอง ดังนั้น ถ้าสามารถทำให้คุณสมบัติดีเด่นของตนเองปรากฏออกมาในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน ๆ แล้ว การดำเนินชีวิตก็จะสามารถสงบสุข แต่คนที่เบื่อหน่าย ท้อแท้ สิ้นหวัง หมดหวังต่อชีวิต บางคนก็อาจหลีกเลี่ยงจากสังคมปัจจุบัน และไปเข้ากลุ่มแก๊งอันธพาล เสพยา ซิ่งรถ ด้วยความเบื่อหน่าย เกลียดชังสังคม ครอบครัว หรือแม้แต่ตัวเอง เช่นนี้แล้ว ย่อมไม่สามารถดำเนินชีวิตที่แน่นแฟ้นและสงบสุขบนเส้นทางชีวิตของตนเองได้


แก่นแท้ของ ธรรม ก็คือ ให้ผู้อื่นและตนเองดีขึ้น เจริญก้าวหน้าขึ้น จนในที่สุด สามารถมีความสุขที่แท้จริงซึ่งแสดงให้เห็นว่า เป็นธรรมที่สามารถช่วยให้สามารถหลุดพ้นจากวัฏฏะในหนึ่งชั่วชีวิตนี้ - ในชาตินี้ได้ ขอให้ดำเนินชีวิตในแต่ละวันให้ผ่านพ้นไปอย่างมั่นคง ขอให้ดำเนินชีวิตที่สงบสุขบนเส้นทางชีวิตของตนเอง ขอให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงบนเส้นทางนี้เท่านั้น นี่คือเส้นทางของ พุทธธรรม ที่แท้จริง และเป็นทางลัดไปสู่ชัยชนะ


การดำเนินชีวิตที่สงบสุขบนเส้นทางชีวิตของตนเอง ก็หมายความว่า พวกเราเกิดมาในชาตินี้ก็มีพร้อมคุณสมบัติดีเด่นของตนเอง ดังนั้น ถ้าสามารถทำให้คุณสมบัติดีเด่นของตนเองปรากฏออกมาในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน ๆ แล้ว การดำเนินชีวิตก็จะสามารถสงบสุข แต่คนที่เบื่อหน่าย ท้อแท้ สิ้นหวัง หมดหวังต่อชีวิต บางคนก็อาจหลีกเลี่ยงจากสังคมปัจจุบัน และไปเข้ากลุ่มแก๊งอันธพาล เสพยา ซิ่งรถ ด้วยความเบื่อหน่าย เกลียดชังสังคม ครอบครัว หรือแม้แต่ตัวเอง เช่นนี้แล้ว ย่อมไม่สามารถดำเนินชีวิตที่แน่นแฟ้นและสงบสุขบนเส้นทางชีวิตของตนเองได้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 06, 2019, 10:35:37 pm โดย 時々होशདང一རພຊຍ๛ »
ชิเน กทริยํ ทาเนน