ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมมะวันสงกรานต์ กับ พระมหาสมปอง  (อ่าน 2405 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


                         

ธรรมมะวันสงกรานต์ กับ พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต

ขอนำท่านผู้อ่านได้พบกับสาระสำคัญอันเนื่องมาจากประเพณีไทยที่สำคัญอย่างหนึ่ง ได้แก่ “ประเพณีสงกรานต์” เมื่อพูดถึงคำว่า สงกรานต์แล้ว หลายท่านมักจะนึกถึงการเล่นสาดน้ำกัน นึกถึง การรดน้ำดำหัว การขอพรผู้ใหญ่ สำหรับที่มาที่ไปของเรื่องราวคงยกเอาไว้ก่อน แต่หลักที่สำคัญคือ ธรรมเนียมปฏิบัติที่มาคู่กันกับวันสงกรานต์นั้นเป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะธรรมเนียมการเคารพ นอบน้อมผู้ใหญ่ การแสดงความกตัญญูกตเวที การมีน้ำใจต่อกันและกัน นอกจากการถือเอาเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ ของประเทศไทย ดังนั้น Newsletter ฉบับนี้ จะได้สืบค้นด้วยพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ว่า ความเคารพอ่อนน้อม ต่อผู้ใหญ่ ความกตัญญูกตเวทีนั้น มีสาระอย่างไร โดยได้กำหนดด้วยคำว่า ผู้อ่อนน้อม และคำว่า กตัญญูกตเวที ดังนี้

กำหนดด้วยคำว่า “ผู้อ่อนน้อม

เมื่อกำหนดด้วยคำว่า ผู้อ่อนน้อม ได้พบสาระ ที่สำคัญของหลักธรรม กล่าวคือ บุคคลที่มีความ อ่อนน้อม ต่อผู้ใหญ่อยู่เนือง ๆ นั้น จะพบกับสิ่งที่ดี ๆ ในชีวิต หรือได้พรอันประเสริฐ ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ พรทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นพรที่ผู้ใหญ่ หรือพ่อ แม่ ครูอาจารย์ มักจะกล่าวอวยพรให้เมื่อบุตรหลานหรือผู้ที่อ่อนกว่า มาแสดงความเคารพนบนอบต่อ เช่น ในโอกาสวันสงกรานต์ วันเกิด เป็นต้น ดังนั้น วัฒนธรรม การให้พรจึงเป็นวัฒนธรรม ที่นำหลักคำสอนใน พระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิต ของคนไทยมาแต่โบราณกาล

กำหนดด้วยคำว่า “กตัญญูกตเวที”   

เมื่อกำหนดด้วยคำว่า กตัญญูกตเวที ได้พบสาระธรรมที่สำคัญหลายแห่งในพระไตรปิฎก เช่น ในพระวินัยปิฎก ได้กล่าวถึงพระสารีบุตร ซึ่งได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นตัวอย่างของภิกษุทั้งหลาย ที่มีความกตัญญูกตเวที เนื้อหาจากพระไตรปิฎกมีโดยย่อว่า :-

มีพราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้วขอบวช แต่ภิกษุทั้งหลายไม่บวชให้ ด้วยสาเหตุใดนั้นใน พระไตรปิฎกไม่ได้ระบุไว้ อาจเป็นเพราะมีอายุมากแล้ว เกรงว่าบวชแล้วจะเป็นภาระเพื่อนภิกษุด้วยกันที่จะดูแล ฝ่ายพราหมณ์เมื่อไม่ได้บวชดังตั้งใจ จึง (อดอาหาร) ทำให้ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ผิวพรรณวรรณะไม่ผ่องใส ผอมจนเห็นแต่เส้นเอ็นปูดโปน ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จมาพบเข้า จึงได้ตรัสถามภิกษุว่าทำไมพราหมณ์จึงเป็นเช่นนี้ ภิกษุทั้งหลายจึงพากันกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า มีภิกษุรูปใด นึกถึงบุญคุณความดีของพราหมณ์ท่านนี้บ้าง? ไม่มีภิกษุรูปใด ตอบ ทันใดนั้น พระสารีบุตรก็ได้ทูลต่อ พระพุทธเจ้าว่า ตนนึกได้ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า นึกถึงบุญคุณอะไรที่ พราหมณ์ คนนี้ทำให้ พระสารีบุตรจึงได้ทูลว่าเมื่อคราวที่ตน บิณฑบาตอยู่ในเมืองราชคฤห์ พราหมณ์ท่านนี้แหล่ะ ได้ใส่บาตร ถวายข้าว ๑ ทัพพีแก่ตน พระพุทธเจ้าจึงตรัสชม พระสารีบุตรว่าเป็นพระที่ดี มีความกตัญญูกตเวที หลังจาก นั้น จึงทรงอนุญาตให้พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ทำการบวชให้แก่พราหมณ์นั้นสมความตั้งใจ

ในพระสูตร ขุททกนิกาย อปทาน ยังได้กล่าวถึงพระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมุตระ ว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่ทรงไว้ซึ่งความกตัญญูกตเวที ดังที่พระกาฬุทายีเถระพรรณนาไว้

นอกจากนี้แล้ว ในพระสูตร อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ยังได้รับรองไว้อีกว่า ความเป็นคนกตัญญูกตเวที คนดีทั้งหลายสรรเสริญ ความกตัญญูกตเวที เป็นภูมิหรือพื้นฐานของความเป็นคนดี ส่วนคนอกตัญญูอกตเวทีนั้น คนไม่ดีด้วยกัน ย่อมสรรเสริญ และนับว่าเป็นพื้นฐานของความเป็นคนไม่ดี ดังพุทธพจน์ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิอสัตบุรุษ (คนไม่ดี) ทั้งหมด ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ (คนดี) ย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษ (คนดี)ทั้งหลาย สรรเสริญ ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้เป็นภูมิสัตบุรุษ (คนดี)

                 

จากเนื้อหาในพระไตรปิฎก ทำให้ทราบถึงหลักธรรมที่กลายมาเป็นวัฒนธรรมไทยที่สำคัญหลายข้อ และได้รับการประพฤติปฏิบัติมาเป็นเวลายาวนาน ธรรมข้อธรรมแรกนั้น ระบุถึงความเป็นคนอ่อนน้อม หรือเรียกว่ามีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ พ่อแม่ ครู อาจารย์ ย่อมจะพบกับความสุขความเจริญ ส่วนหลักธรรมถัดมา เป็นหลักธรรมสำคัญยิ่ง คือความกตัญญูกตเวที การรู้คุณและตอบแทนคุณผู้ที่เคยทำคุณแก่ตนเป็นความดี ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ และคนดีทั้งหลายสรรเสริญ ตรงกันข้ามกับคน อกตัญญูอกตเวที พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นความไม่ดี ตัวอย่างจาก พระไตรปิฎก แสดงไว้ชัดเจนว่าการที่พระสารีบุตร ได้รับคำชมจาก พระพุทธเจ้าว่าเป็นพระสงฆ์ที่กตัญญูกตเวทีเพียงเพราะการ ได้รับอาหารที่พราหมณ์ใส่บาตรให้ ๑ ทัพพีเท่านั้น ดังนั้น ลูกทั้งหลาย ที่พ่อแม่เลี้ยงดูมาด้วย ข้าวหลายเกวียน หลายกระสอบ หากละเลยหรือละทิ้ง ไม่ดูแลท่าน ก็จะเป็นคน อกตัญญู ขอฝากเป็นธรรมคติว่า “ความอ่อนน้อม ทำให้ผู้ใหญ่ รักและหวังดี ความกตัญญูกตเวที ทำให้เป็นคนดีและเจริญรุ่งเรือง”



-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41757


ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ธรรมมะวันสงกรานต์ กับ พระมหาสมปอง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 14, 2012, 08:21:03 pm »
อนุโมทนาครับ :13:
ขอบคุณครับพี่แป๋ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~