ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา -อ.เสถียร โพธินันทะ -เสียง :บรรยายธรรม  (อ่าน 2375 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                    pic by :http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=1188.0

ปฐมเหตุของโลก
พุทธศาสนาในอินเดีย 1
กำเนิดโลก กำเนิดชีวิต
พุทธศาสนาในอินเดีย 2
พุทธศาสนาในอิหร่าน-อินเดีย 1
พุทธศาสนาในอิหร่าน-อินเดีย 2
พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ1
พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ2
พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ3
ศาสนาสมัยอยุธยารัตนโกสินทร์
พุทธศาสนาในธิเบต
พุทธศาสนาในประเทศจีน 1
พุทธศาสนาในประเทศจีน 2
พุทธศิลป์ในประเทศจีน
พระถังซำจั๋ง 1
พระถังซำจั๋ง 2
พุทธศาสนาในญี่ปุ่น
นิกายมหายาน 3
นิกายมหายาน 2
พระไตรปิฎกมหายาน
อภิธรรมมหายาน
วิจัยเวสสันดรชาดก
ตอบปัญหาเรื่องพระเจ้า

คลิกเพื่อฟัง
http://dhamma.buddhistthaipost.com/index.php/2013-04-16-17-52-36/2013-04-16-17-26-15/2013-04-16-17-26-17/item/257-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3-%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B0


**************************************************


อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาคนหนึ่งของไทย ผู้บุกเบิกการศึกษาพระพุทธศาสนามหายาน และอดีตเลขาธิการคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย

เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2472 ที่บ้านในตรอกอิศรานุภาพ บริเวณตลาดเก่าเยาวราช ใกล้ ๆ กับวัดกันมาตุยาราม บิดาเป็นชาวจีนชื่อนายตั้งเป็งท้ง มารดาชื่อ นางมาลัย กมลมาลย์ มีพี่สาวสองคน ตามประวัติกล่าวว่าเมื่อมารดาตั้งครรภ์อาจารย์เสถียร บิดาก็มีเหตุจำเป็นต้องเดินทางกลับไปประเทศจีนและได้ถึงแก่กรรมในเวลาต่อมา ในวัยเด็ก เด็กชายเสถียรใช้นามสกุลว่า “กมลมาลย์” ตามมารดา จนกระทั่ง พ.ศ. 2491 เมื่อมีอายุได้ 20 ปี จึงได้เปลี่ยนนามสกุลตนเองเป็น “โพธินันทะ” อันหมายถึงผู้ยินดีในความรู้แจ้ง ด้วยประสงค์จะให้ใกล้ชิดกับพระศาสนาและได้ใช้นามสกุลนี้ตลอดมาจนถึงแก่กรรม

ก่อตั้งยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
เมื่ออาจารย์เสถียร โพธินันทะมีอายุราว 17 ปี ท่านสุชีโว ภิกขุ หรืออาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้เชิญให้อาจารย์เสถียร โพธินันทะซึ่งเป็นศิษย์ในวัดกันมาตุยารามไปบรรยายธรรมะให้พุทธศาสนิกชนฟัง ที่ตึกมหามกุฏราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร (ปัจจุบันใช้เป็นสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง) อาจารย์เสถียรไปถึงที่บรรยายทั้งๆ ที่ใส่ชุดนักเรียน โดยที่ท่านสุชีโว ภิกขุได้ตามไปเป็นพี่เลี้ยงให้ด้วย การบรรยายในวันนั้น สร้างความประทับใจแก่ผู้ฟังเป็นอย่างมาก ที่เห็นวัยรุ่นอายุยังไม่ครบ 20 ปีสามารถบรรยายธรรมได้อย่างแตกฉาน ทำให้เกิดกระแสความต้องการของประชาชนที่จะก่อตั้งเป็นกลุ่มเยาวชนพุทธขึ้นมา เพื่อสร้างศาสนทายาทในฝ่ายฆราวาสขึ้น ผู้เป็นตัวตั้งตัวตีอีกคนในยุคนั้น คือ นายบุญยง ว่องวาณิช นายห้างอังกฤษตรางู ซึ่งสมัยนั้น ติดตามฟังปาฐกถาของสุชีโว ภิกขุและอาจารย์เสถียร โพธินันทะเป็นประจำ

ต่อมา สุชีโว ภิกขุก็นำเรื่องนี้ไปปรึกษาพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่ออาจารย์เสถียร โพธินันทะอายุได้ 20 ปีเพื่อขอจดทะเบียนเป็นสมาคม พระพรหมมุนี จึงตั้งชื่อให้ว่ายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่บัดนั้น อาจารย์เสถียร ก็ทำหน้าที่ระดมชาวพุทธวัยหนุ่มสาวให้มาทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาร่วมกัน ผลการก่อตั้งยุวพุทธิกสมาคม ปรากฏว่ามีนักศึกษามหาวิทยาลัย พ่อค้า ข้าราชการ ที่มีความเห็นตรงกันจำนวนมากสนใจในพระพุทธศาสนา ต่อมา ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นองค์กรทางศาสนาที่มีบทบาทสำคัญและมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศและมีชื่อเสียงไปถึงระดับนานาชาติ ภายใต้นายกสมาคมคนใหม่ กล่าวคือ อนุรุทธ ว่องวาณิช ซึ่งเป็นบุตรชายของบุญยง ว่องวาณิชมาจนทุกวันนี้

ฟัง+donwload โดยคลิกได้ที่
http://www.ybat.org/media/satien/dhamma_talk_satien.html

ธรรมบรรยายหลักสูตร เสถียร โพธินันทะ
สารบัญ

  ๑. ปฐมเหตุของโลก
  ๒. กำเนิดโลก กำเนิดชีวิต
  ๓.สุนทรียถาพในพระพุทธศาสนา
  ๔. พุทธวิธีในการปฏิรูป
  ๕. อาการจิต
  ๖. ขันธวาที
  ๗.สุญญตา
  ๘.หลักของสุญญตา
  ๙.ปกติวาที - สมยวาที
 ๑๐.ปรปัจจัย

 ๑๑.ปฏิจจสมุปบาท ๑
 ๑๒.ปฏิจจสมุปบาท ๒
 ๑๓.ปฏิจจสมุปบาท ๓
 ๑๔.ปฏิจจสมุปบาท ๔
 ๑๕.ตรรกวิทยา
 ๑๖.เหตุการณ์ก่อนพุทธปรินิพพาน
 ๑๗.เหตุการณ์หลังพุทธปรินิพพาน
 ๑๘.ทุติยสีงคายนา ๑
 ๑๙.ทุติยสีงคายนา ๒
 ๒๐.ประวัติพุทธศาสนา

 ๒๑.งานพระธรรมฑูต ๑
 ๒๒.งานพระธรรมฑูต ๒
 ๒๓.พุทธศาสนาในอินเดีย ๑
 ๒๔.พุทธศาสนาในอินเดีย ๒
 ๒๕.พุทธศาสนาในอิหร่าน-อินเดีย ๑
 ๒๖.พุทธศาสนาในอิหร่าน-อินเดีย ๒
 ๒๗.ลัทธิลังกาวงศ์ในสุวรรณภูมิ ๑
 ๒๘.ลัทธิลังกาวงศ์ในสุวรรณภูมิ ๒
 ๒๙.พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ
๓๐.ศาสนาสมัยอยุธยารัตนโกสินทร์   

๓๑.พุทธศาสนาในธิเบต
๓๒.พุทธศาสนาในประเทศจีน ๑
๓๓.พุทธศาสนาในประเทศจีน ๒
๓๔.พุทธศิลป์ในประเทศจีน
๓๕.พระถังซำจั๋ง ๑
๓๖.พระถังซำจั๋ง ๒
๓๗.พุทธศาสนาในญี่ปุ่น
๓๘.นิกายมหายาน ๑
๓๙.นิกายมหายาน ๒
๔๐.พระไตรปิฎกมหายาน

๔๑.อภิธรรมมหายาน
๔๒.คัมภีร์กถาวัตถุ ๑
๔๓.คัมภีร์กถาวัตถุ ๒
๔๔.วิจัยคัมภีร์กถาวัตถุ ๑   
๔๕.วิจัยคัมภีร์กถาวัตถุ ๒
๔๖.วิจัยคัมภีร์กถาวัตถุ ๓
๔๗.วิจัยคัมภีร์กถาวัตถุ ๔
๔๘.วิจัยเวสสันดรชาดก
๔๙.ตอบปัญหาเรื่องพระเจ้า
๕๐.สารพัดปัญหา ๑

๕๑.สารพัดปัญหา ๒
๕๒.สารพัดปัญหา ๓
๕๓.สารพัดปัญหา ๔
๕๔.สารพัดปัญหา ๕
๕๕.สารพัดปัญหา ๖
๕๖.สารพัดปัญหา ๗
๕๗.สารพัดปัญหา ๘
๕๘.สารพัดปัญหา ๙
๕๙.สารพัดปัญหา ๑๐
๖๐.สารพัดปัญหา ๑๑