ผู้เขียน หัวข้อ: ภิกษุณี นิรามิสา //\\ ทายาทแห่งธรรม ของ ท่าน ติช นัท ฮันห์  (อ่าน 1026 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ภิกษุณีนิรามิสา ทิ้งความเป็นพยาบาลบัณทิต รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กับความรู้ระดับปริญญาโทด้านการศึกษาเด็กเล็ก จากมหาวิทยาลัยมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา เข้าเป็นนักบวชสังกัดหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส ชุมชนและกลุ่มวัดพุทธศาสนานิกายเซน มหายาน ภายใต้ร่มเงาของท่านติช นัท ฮันห์ พระเซนชาวเวียดนาม ผู้จาริกอยู่ในประเทศไทยวันนี้

   ท่านติช นัท ฮันห์ ได้ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงปรีชาญาณและความเมตตา อันเป็นผลมาจากการฝีกฝนปฎิบัติและภาวนาในสำนักเซนอย่างถึงแก่นแท้ อีกทั้งยังเป็นผู้นำขบวนการชาวพุทธผู้ใฝ่สันติและมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเรียกร้องสันติภาพในเวียดนาม

    เรื่องการบวชของผู้หญิงในศาสนาพุทธ เคยเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ในห้วงระยะเวลาที่ ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ละเพศฆราวาส แล้วประกาศตัวเป็นภิกษุณี แม้หลังจากนั้นจะมีผู้หญิงไทยบางคนออกบวชเป็นภิกษุณี แต่ก็ไม่มีท่านใดจะโดดเด่นและเป็นที่รู้จักมากเท่าภิกษุณีนิรามิสา

      ด้วยฐานะทางบ้าน ที่ประกอบกิจการโรงพิมพ์ ความรู้ ความแน่วแน่ในการค้นหาตัวเอง และสัจธรรมของชีวิต การบวชของภิกษุณีนิรามิสา เมื่อปี 2543 ในวัย 30 ปลาย จึงมิได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขฐานะ หรืออาการป่วยไข้ทางจิตใจ อันเป็นสาเหตุของอาการปรารถนาความสงบ เหมือนเช่นผู้ทรงศีลในวัยสาวหลายคนเป็น หากแต่ด้วยความศรัทธา ที่ภิกษุณีนิรามิสา มีต่อท่านติช นัท ฮันห์ หลังจากไปฟังการแสดงธรรมครั้งแรกของท่านที่เยอรมนี

       "..ฟังหลวงพ่อเทศน์ครั้งแรกแล้วน้ำตาไหล ปมต่างๆที่อยู่ในตัวเองก็หลุดๆๆ รู้สึกเลยว่า หลวงพ่อเป็นคนที่เปิดประตูให้ การเปิดประตูนั้น หมายความว่า จริงๆเรามีอาจารย์อย่างท่านพุทธทาสที่เป็นเหมือนอาจารย์ผู้แรกเริ่ม ได้ไปฝึกกับหลวงพ่อเทียนและบรรดาอาจารย์ท่านอื่นๆ เวลามีปัญหาส่วนใหญ่ก็ไปที่สวนโมกข์บ้าง ไปที่ศูนย์ฝึกปฎิบัติธรรมบ้าง แต่พอมาถึงจุดหนึ่ง เหมือนกับว่ามันบล็อค มีบางอย่างที่ถูกสกัดกั้นไว้ หาทางออกไม่ได้ ฝึกแล้วรู้สึกว่า ถึงเราจะพยายามที่จะเข้าใจปัญหาของตัวเองมากขึ้น หาทางออกกับชีวิตให้มากขึ้น หรือฝึกเพื่อให้ลดปมในตัวเอง ลดความเศร้าในตัวเอง แต่ก็ยังทำไม่ค่อยได้ มันไม่ค่อยเกิดความเบิกบานปิติเท่าที่ควร"

         ภิกษุณีนิรามิสา บอกเล่ากับ "สารคดี" ถึงแรงบันดาลใจของท่านที่ทำให้มุ่งไปสู่หมู่บ้านพลัม

          หมู่บ้านพลัม อาจมิใช่ยูโทเปีย รัฐในอุดมคติที่ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสงบ สันติ  หากแต่หมู่บ้านพลัมอันเป็นอาศรมของนักพรตผู้ยิ่งใหญ่นามติช นัท ฮันห์นั้น เป็นหนทางแห่งความสะอาด สว่าง สงบ ที่แท้ ในการเข้าถึงขุนเขาและสายน้ำแห่งเซน

            ด้วยว่า..

            ก่อนการศึกษาเซน ขุนเขาคือขุนเขา สายน้ำก็คือสายน้ำ

            แต่เมื่อได้ตระหนักในสัจจะแห่งเซน

            ขุนเขาดูจะมิใช่เพียงขุนเขา และสายน้ำก็มิใช่เพียงสายน้ำอีกต่อไป

             ต่อเมื่อบรรลุความรู้แจ้งแล้ว

             ขุนเขาจึงกลับเป็นขุนเขา และสายน้ำก็คือสายน้ำอีกครั้งหนึ่ง 

จาก http://www.oknation.net/blog/chakkrish/2007/05/21/entry-1
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...