ผู้เขียน หัวข้อ: บทความพิเศษ พระพุทธศาสนาในต่างแดน โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี  (อ่าน 1050 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ปัญหาและอุปสรรคของนักบวชหญิง

เป็นอันทราบดีว่า การอุปสมบทของเหล่าภิกษุณีนั้น มีอยู่จริงในทางประวัติศาสตร์ โดยมีสตรีกลุ่มแรกซึ่งมีพระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นแกนนำในการเรียกร้อง มีพระอานนท์เป็นผู้สนับสนุนจนพระพุทธองค์ได้ตอบตกลงให้สตรีบวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาได้ภายใต้เงื่อนไขที่รัดกุมในส่วนนี้ก็ถือว่าเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่เป็นแรงกดดันให้เหล่าภิกษุณีต้องสาบสูญไปในเวลาอันสั้นเหลือเกิน (เฉพาะฝ่ายเถรวาท)

นอกจากนี้ ก็คือการครองชีพและการเป็นอยู่ก็มีส่วนเหมือนกัน เพราะหากนับเพียงบริขารที่จำเป็นที่อุปัชฌาย์บอกตอนบวช บริขารของภิกษุมีเพียง ๕ เท่านั้น แต่ของฝ่ายภิกษุณีมีถึง ๘ อย่าง ความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น มีผู้แอบฉุดคร่าภิกษุณีไปทำมิดีมิร้ายต่าง ๆ หลายแห่งต่อหลายแห่งที่คัมภีร์พระไตรปิฎกได้ปรารภถึงเรื่องนี้ ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงข้อต่อไปนั่นก็คือว่าพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาที่เน้นการเผยแผ่แบบเชิงรุกไม่ใช่เชิงรับ ดังจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้านั้น พระองค์จะเสด็จไปยังแคว้นต่าง ๆ จากนิคมสู่นิคมจากชนบทสู่ชนบท จนถึงวาระสุดท้ายของ พระชนม์ชีพ แม้สาวกที่เป็นพระภิกษุก็ออกประกาศศาสนาในรูปแบบเดียวกันนี้ โดยเน้นการเข้าถึงประชาชน ดูความทุกข์ยากของประชาชนเป็นหลัก

ดังนั้น การเผยแผ่พระธรรมคำสอนแบบเชิงรุกนี้ สตรีเพศที่เป็นภิกษุณีจึงได้รับความลำบากอย่างสาหัสสากรรจ์พอสมควร บางครั้งเพียงแค่จะอาศัยลงเรือข้ามฟากก็ยังถูกมนุษย์ใจต่ำข่มขืนเอาดังมีปรากฏห้ามภิกษุณีข้ามฟากโดยลำพัง อุปสรรคอันนี้ถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่หลวงสำหรับสตรีเพศที่เป็นนักบวชเพราะพวกผู้ชาย ก็ถือว่าเป็นมลทินต่อพรหมจรรย์ ของนักบวชหญิงด้วยเช่นเดียวกันส่วนความลำบากอย่างอื่นนั้น ไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้หญิงเท่าไรนัก เพราะในด้านอารมณ์นั้นผู้หญิงมีความอดทนกว่าผู้ชายเสียอีก แต่ในทางร่างกายนั้นโดยธรรมชาติ การที่จะสัญจรไปในที่ต่าง ๆ ไกล ๆ เหมือนผู้ชายนั้น เป็นเรื่องลำบากสำหรับภิกษุณีมาก เพราะไม่เหมือนชาวบ้านทั่วไปในการวางตัว หนำซ้ำในสมัยนั้นต้องเดินทางด้วยเท้า ไม่มียวดยานพาหนะที่ทันสมัยเช่นปัจจุบัน ยิ่งเพิ่มความลำบากให้แก่ภิกษุณีเป็นเท่าทวีคูณ ไม่เหมือนผู้ชายซึ่งธรรมชาติสร้างมาเพื่อความแข็งแรงคงทนโดยเฉพาะ วันหนึ่ง ๆ พวกภิกษุจึงเดินทางไปเผยแผ่ยังสถานที่ต่าง ๆ ได้มากกว่าภิกษุณีซึ่งเป็นสตรีและไม่มีอันตรายด้วย ส่วนภิกษุณีนั้นบางคนมีหน้าตาสวยงาม เคยเป็นนางงามมาก่อนก็มี เคยเป็นหญิงแพศยามาก็มี ภิกษุณีเหล่านี้จะเดินทางไปไหนแต่ละครั้งพวกหนุ่ม ๆ ก็จะแอบซุบซิบกันจนถึงกับวางแผน ไปดักซุ่มกลางทางก็มี เช่น ในกรณีภิกษุณีอัฑฒกาสี เป็นต้น ที่ต้องการบวชโดยการผ่านทูตหรืออุปสมบทโดยส่งทูตไป ก็เพราะนางทราบว่ามีหนุ่ม ๆ ที่เป็นนักเลงหัวไม้พากันไปดักทางนั่นเอง ด้วยสาเหตุดังที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น จึงทำให้ภิกษุณีขาดการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนภิกษุณีที่ประเทศจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี ธิเบตและในบางประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ เป็นต้นนั้น ไม่ใช่ภิกษุณีฝ่ายเถรวาท เพราะภิกษุณีฝ่ายเถรวาทนั้นขาดปวัตตินี หรืออุปัชฌาย์ฝ่ายภิกษุณีไปนานแล้ว การที่จะบวชได้ต้องอาศัยสงฆ์สองฝ่ายจึงจะทำได้



สถาบันสงฆ์คู่แฝดที่แตกต่างกัน

สถาบันสงฆ์นั้นมีอยู่สองคือภิกษุสงฆ์ฝ่ายหนึ่งกับภิกษุณีสงฆ์อีกฝ่ายหนึ่ง (ไม่ใช่ธรรมยุติกับมหานิกาย) ทั้งสองฝ่ายนี้เรียกว่าเป็นนักบวช เป็นอาสาสมัครของพระพุทธเจ้าเป็นผู้เสียสละความสุขส่วนตัวทุกอย่างที่เป็นของชาวโลกเขาไขว่คว้าแสวงหา นั่นก็คือ ความสุขทางกามคุณ เป็นผู้ที่ครองตนอยู่ในกรอบเพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่สังคมด้วย เพื่อเป็นการพัฒนาคุณธรรมเบื้องสูงของตนเองด้วย ในเรื่องจุดมุ่งหมายของนักบวชทั้งสองฝ่ายนั้นค่อนข้างจะชัดเจน คือ มุ่งหวังต่อความพ้นทุกข์ ส่วนจะทำได้แค่ไหนเพียงไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่จะต้องหาทางออกกันต่อไป

สรุปว่า ปัญหาในเรื่องจุดมุ่งหมายของการบวชของภิกษุและภิกษุณี และปัญหาส่วนตัวของสงฆ์ทั้งสองฝ่ายนั้นถือว่าเป็นปัญหารอง ส่วนปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นก็คือ การที่สงฆ์ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันบริหารหรือแยกกันบริหารจะทำอย่างไรจึงจะทำให้สงฆ์ทั้งสองฝ่ายเกิดความมั่นคง และเชิดชูพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปได้นานเท่านาน ที่สำคัญในแต่ละฝ่ายต้องไม่มีความรู้สึกว่าตนถูกเอาเปรียบ มิเช่นนั้นแล้วสถาบันสงฆ์ทั้งสอง ก็จะมีเพียงความเจริญเติบโตที่เอิบอาบไปด้วยความไม่เป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่พุทธประสงค์อยู่แล้ว

เมื่อเจาะเข้าไปถึงโครงสร้างของสงฆ์ทั้งฝ่ายภิกษุและภิกษุณีแล้ว ความเกี่ยวข้องในเบื้องแรกนั้นจริง ๆ ก็มีอยู่ เช่น ตอนแรกจะมีการทำอุโบสถร่วมกัน ทำกรรมร่วมกันหลายอย่าง โดยถือเอาความเสมอภาคพร้อมเพรียงกันเป็นหลัก การพัฒนาองค์กรสงฆ์ในรูปแบบนี้เองที่เรียกว่า การพัฒนาแบบเรียงหน้ากระดาน คือ ก้าวไปพร้อม ๆ กัน แต่แล้วก็พบเข้ากับอุปสรรคจนได้เพราะเสียงจากประชาชนผู้หวังดีที่พูดคุยกันจากข้างนอกเข้าไปพระพุทธองค์ก็ทรงเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากการพัฒนาองค์กรสงฆ์แบบเรียงหน้ากระดานมาเป็นแบบแถวเรียงหนึ่ง คือ การเดินตามกันโดยถือเอาฝ่ายภิกษุสงฆ์เป็นหลัก คือ เดินก่อน ในการแยกการปกครองคราวนั้นเองที่ผู้หญิงในปัจจุบันนี้เห็นว่า พระพุทธองค์ลอยแพภิกษุณี แต่จริง ๆ แล้วพระพุทธองค์ทรงป้องกันความเศร้าหมองทางวินัยของสงฆ์ทั้งฝ่ายเท่านั้น เพราะโทษของการอยู่คลุกคลีของสงฆ์ทั้งสองฝ่ายย่อมไม่เป็นการดีแน่



ในสังฆกรรมเบื้องต้น คือ การบวชภิกษุณีนั้นจำเป็นต้องอิงอยู่กับสถาบันภิกษุสงฆ์ก่อน ส่วนสังฆกรรมอย่างอื่น ๆ ก็เริ่มแยกกันทำ ประกอบกับความจำกัดทางเพศและช่วงระยะกาลเวลาในการบวชของภิกษุณีเหล่านี้ จึงทำให้สงฆ์อีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้นานในที่สุดก็ขาดสูญไปเหมือนการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์บางประเภทตามกฎของไตรลักษณ์ แม้ฝ่ายภิกษุสงฆ์เองก็จะต้องเป็นเช่นนั้นบ้างในอนาคต(๑)

ภิกษุสงฆ์จะเหลือเพียงผ้าเหลืองพันอยู่ที่คอเท่านั้น แล้วในที่สุดแม้เผ่าพันธุ์ของภิกษุสงฆ์ก็จะขาดสูญไปเช่นกัน เมื่อโลกเข้าสู่ยุคมิคสัญญีเต็มรูปแบบ แม้โลกเองก็จะไม่สามารถทรงอยู่ได้เช่นกัน แต่ไม่ว่าภิกษุณีสงฆ์จะเหลืออยู่หรือไม่ก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ความใจกว้างดุจดังมหาสมุทรและความเสมอภาคของพระพุทธองค์ทรงเป็นนักปฏิวัติความเหลื่อมล้ำของโลกสมกับที่นักปราชญ์ชาวลังกาท่านหนึ่งได้กล่าวเอาไว้ว่า :-

-In the field of religious practices, the position which they once enjoyed, was denied to them. A women was believed to be unable to go to heaven through her own merits. She could not worship by herself, and it was believed that she could only reach heaven through unquestioning obedience to her husband, even if he happened to be a wicked person. The food left over by her husband was often the food for the women.
It was in the midst of such extreme social discrimination and degrading attitudes towards women that the Buddha made his appearance in India. His teachings on the real nature of life and death - about Karma and samsaric wanderings, gave rise to considerable changes in the social attitudes towards women in his days.

แปลเอาความเป็นภาษาไทยว่า :-

(ในสมัยครั้งพุทธกาล) สตรีจะถูกห้ามไม่ให้มีการฝึกฝนทางศาสนาทุกอย่าง แม้ว่า จะมีความยินดีสักเพียงใดก็ตาม เพราะมีความเชื่อกันว่า สตรีไม่สามารถจะไปสู่สวรรค์ได้ด้วยคุณงามความดีของสตรีเอง สตรีต้องไม่บูชาเทพเจ้าและสตรีจะไปสู่สวรรค์ได้ก็โดยการเคารพเชื่อฟังสามีเท่านั้น ไม่ว่าสามีจะโหดร้ายเลวทรามอย่างไรก็ตาม.
นี้คือความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันยิ่งใหญ่ ที่ทำให้บทบาทของเหล่าสตรีตกต่ำไร้คุณค่าพระพุทธองค์จึงสร้างปรากฏการณ์ด้วยความคิดอันมีคุณธรรมขึ้น ในประเทศอินเดียด้วยพระองค์เอง คำสั่งสอนของพระองค์ยึดมั่นอยู่ในธรรมชาติของชีวิต ที่เป็นจริงและความสิ้นสุดของชีวิตด้วยหลักกรรม และการท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏจึงสามารถเปลี่ยนแนวความคิดต่าง ๆ ของสังคมที่มีต่อสตรีได้ จนถึงปัจจุบันนี้(๒)

เอกสารอ้างอิง
๑.ดู ทักขิณาวิภังคสูตร ม.อุปริ. ๑๔/๓๘๐/๒๓๕
๒.STATUS OF WOMEN IN BUDDHISM by K. Sri Dammanada

 http://dhammatogo.blogspot.com/2010_03_29_archive.html

ขอบคุณ น้องหมู อวาตาร สาธุ http://group.wunjun.com/agaligohome/topic/216594-5757

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...