ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ  (อ่าน 1363 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานไตรสรณะสุจิปุลิ
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


<a href="https://www.youtube.com/v/XTNMZB0z3DE" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/XTNMZB0z3DE</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/BH9C7zut1QA" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/BH9C7zut1QA</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/3PL-e_i2gow" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/3PL-e_i2gow</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/y0j-ypFMzSA" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/y0j-ypFMzSA</a>


พระราชธรรมเจติยาจารย์  (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร)

สถิต ณ วัดธรรมมงคล ถ.สุขุมวิท ๑๐๑ ซ.ปุณณวิถี แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม

นามเดิม วิริยังค์ บุยฑีย์กุล

ฉายา สิรินธโร

เกิด เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๗ มกราคม ๒๔๖๓

อุปสมบท ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘ ณ วัดสุทธิจินดา ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา

พระราชธรรมเจติยาจารย์ เดิมชื่อ วิริยังค์ บุยฑีย์กุล เป็นบุตรขุนเพ็ญภาษชนารมย์ กับนางมั่น บุญฑีย์กุล (อุบาสิกามั่น ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๕๒๐) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๗ มกราคม ๒๔๖๓ ณ สถานีรถไฟปากเพรียว จังหวัดสระบุรี ต่อมาย้ายมาตั้งหลักฐานที่บ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมามีพี่น้อง.๗..คน

วิริยังค์ สิรินธโร
วัดธรรมมงคล
ถ.สุขุมวิท ๑๐๑ ซ.ปุณณวิถี
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม

ก่อนบวช

พระราชธรรมเจติยาจารย์ เดิมชื่อ วิริยังค์ บุยฑีย์กุล เป็นบุตรขุนเพ็ญภาษชนารมย์ กับนางมั่น บุญฑีย์กุล (อุบาสิกามั่น ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๕๒๐) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๗ มกราคม ๒๔๖๓ ณ สถานีรถไฟปากเพรียว จังหวัดสระบุรี ต่อมาย้ายมาตั้งหลักฐานที่บ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมามีพี่น้อง ๗ คน

วันหนึ่งขณะที่ท่าน มีอายุประมาณ ๑๓ ปี เพื่อนผู้หญิงคนหนึ่ง ชวนให้ไปวัดเป็นเพื่อน ขณะที่รอเพื่อนไป ต่อมนต์ (ท่องบทสวดมนต์) กับพระอาจารย์กงมา ท่านก็รออยู่ด้วยความเบื่อหน่ายเพราะไปตั้งแต่ ๒ ทุ่มกลับเที่ยงคืน จะกลับบ้านเองก็ไม่ได้ เพราะเส้นทางเปลี่ยวและกลัวผี ได้แต่คิดอยู่ในใจว่า “ตั้งแต่นี้ต่อไปไม่มาอีกแล้ว ๆ ๆ ” ไม่ช้าก็เกิดความสงบขึ้น ตัวหายไปเลย เบาไปหมด เห็นตัวเอง มี ๒ ร่าง ร่างหนึ่งเดินลงศาลาไปยืนอยู่ที่ลานวัด มีลมชนิดหนึ่ง พัดหวิวเข้าสู่ใจ ้รู้สึกเย็นสบายเป็นสุขอย่างยิ่ง ถึงกับอุทานออกมาเองว่า “คุณของพระพุทธศาสนา มีถึงเพียงนี้เทียวหรือ” แล้วเดินกลับไปที่ร่าง กลับเข้าตัว พอดีเป็นเวลาเลิกต่อมนต์ จึงเล่าให้กับ พระอาจารย์กงมาฟัง พระอาจารย์ก็ว่า “เด็กนี่ เรายังไม่ได้สอนสมาธิให้เลยทำไม จึงเกิดเร็วนัก ” ตั้งแต่นั้นมาก็จึงเรียนรู้เกี่ยวกับการทำสมาธิ

อยู่มาวันหนึ่งท่าน ทำงานหนักเกินตัวจึงล้มป่วยเป็นอัมพาต บิดาพยามหาหมอมารักษา แต่ก็รักษาไม่ได้ แพทย์แผนปัจจุบันบอกว่า หมดหวังในการรักษา ท่านได้แต่นอนอธิษฐานอยู่ในใจว่า

” ถ้ามีผู้ใดมารักษาให้หาย จากอัมพาตได้ จะอุทิศตน เพื่อพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ”
ไม่นานก็ปรากฏว่ามีชีปะขาวหนวดรุงรังตนหนึ่ง มาถามบิดาของท่านว่า
“จะรักษาลูกให้เอาไหม”
บิดาก็บอกว่า “เอา”
ชีปะขาวก็เดินมาหาท่านซึ่งนอนอยู่ พร้อมทั้งกระซิบถามว่า
“อธิษฐานดังนั้นจริงไหม”
ท่านก็ตอบว่า “จริง”


จึงให้พูดให้ได้ยินดัง ๆ หน่อย ท่านก็พูดให้ฟัง ชีปะขาวก็เอาไพลมา เคี้ยว ๆ แล้วก็ พ่นใส่ตัวของท่านจนเหลืองไปหมด แล้วก็จากไป เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าท่านรู้สึกว่าจะ กระดิกตัวได้ ทดลองลุก ขึ้นเดินก็ทำได้เป็นที่อัศจรรย์ใจ

๗ โมงเช้า ปรากฏว่าชีปะขาว มายืนหลับตาบิณฑบาตอยู่ ที่ประตูบ้าน ท่านจึงนำอาหารจะไปใส่บาตร ชีปะขาว กลับขอให้ท่านพูดถึงคำ อธิษฐานของท่านให้ฟัง เมื่อพูดแล้ว จึงยอมรับบาตร แล้วบอกให้ท่านไปหาที่ ใต้ต้นมะขาม วัดสว่างอารมณ์ เมื่อไปถึงชีปะขาวก็ให้พูดคำอธิษฐาน ให้ฟังอีก แล้วก็พาเดินไปหลังวัด คว้าเอา มีดอันหนึ่งออกไปตัดหางควาย มาชูให้ดู แล้วก็ต่อหางคืนไปใหม่ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พร้อมกับถาม ว่า

“ลุงเก่งไหม”
ท่านก็ตอบว่า “เก่ง”

ลุงจะสอนคาถาให้ แต่ต้องท่องทุกวัน เป็นเวลา ๑๐ ปีจึงใช้ได้ ท่านก็ได้เรียนคาถานั้น แล้วก็บอกว่าพรุ่งนี้ให้ เตรียมใส่บาตร วันรุ่งขึ้นปรากฏว่า ไม่พบ ตาชีปะขาวแล้ว ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ไม่ เคยพบกับตาชีปะขาวอีกเลย
ในร่มกาวพัสตร์

เมื่ออายุประมาณ ๑๕ ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ก็ได้บวชเป็นผ้าขาว บรรพชาเมื่อ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘ ณ วัดสุทธิจินดา ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยพระธรรมฐิติญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาได้ ๑๐ วัน ก็ตามพระอาจารย์กงมาออกธุดงค์ ตามป่าเขา ลำเนาไพร เพื่อแสวงหาที่วิเวก เมื่อพบที่สงบ ก็จะหยุดอยู่ทำความเพียร แม้บางครั้งอดอาหารกันอยู่หลายวัน บางครั้งเจอสัตว์ร้าย เจออันตราย หรือหนทางอันยาวไกล เช่นในบางวันเดินธุดงค์ข้ามเขาเกือบ ๕๐ กิโลเมตร ก็ไม่ย่อท้อ โดยถือคติที่ว่ารักความเพียร รักธรรมะมากกว่าชีวิต ครั้งหนึ่งเมื่อออกจากดงพญาเย็น พบโจรกลุ่ม หนึ่งมีอาวุธครบมือมาล้อมไว้ พระอาจารย์กงมาได้เทศน์ สั่งสอนโจร มีอยู่ตอนหนึ่งเทศน์ว่า

” พวกเธอเอ๋ย แม้พวกเธอจะมาหาทรัพย์ ตลอดถึง การผิดศีลของพวกเธอนั้น ก็เพื่อเลี้ยงชีวิตนี้เท่านั้น แต่ชีวิตนี้ก็ไม่ใช่ของ พวกเธอเลย มันจะสิ้นกัน ไม่รู้วันไหน เป็นเช่นนี้ทุกคน ถึงพวกเธอ จะฆ่าไม่ฆ่าเขาก็ตาย เธอก็เหมือนกัน มีความดีเท่านั้นที่ใคร ๆ ฆ่าไม่ตาย อย่างเรานี้จะตายเมื่อไหร่ก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะความดีเราทำมามากแล้ว ”

ปรากฏว่าพวกโจรวางมีด วางปืนทั้งหมด น้อมตัวลงกราบพระอาจารย์กงมาอย่าง นอบน้อม หัวหน้าโจรมอบตัว เป็นศิษย์ และได้บวชเป็น ตาผ้าขาวถือศีล ๘ เดินธุดงค์ไปด้วยกัน จนกระทั่งหมดลมหายใจ ในขณะทำสมาธิ

ในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๘๔ ท่านมีอายุ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท ณ วัดทรายงาม (อุทกสีมากลางทะเล) บ้านหนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองสุข สุจิตโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงพ่อได้เดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์กงมาไปในที่ต่าง ๆ เป็นเวลา ๘ ปี วันหนึ่ง พระอาจารย์กงมาก็พาท่านเดินธุดงค์จากจังหวัดจันทบุรีไปจังหวัดสกลนคร เพื่อไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อวิริยังค์ได้รับเลือกให้เป็นอุปัฎฐากอยู่ ๔ ปี ได้เดินธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์มั่น เรียนธรรมะ อันลึกซึ้ง ได้จดคำสอนของหลวงปู่มั่นบางตอนไว้ (ปกติท่านห้ามผู้ใดจดเด็ดขาด เมื่ออ่านให้ท่านฟังภายหลัง ท่านกลับรับรองว่าใช้ได้) ต่อมาท่านได้เผยแพร่คำสอนนี้แก่สาธารณะชน ในหนังสือที่ชื่อว่า “มุตโตทัย”

ผลงานของพระราชเจติยาจารย์

๑. สร้างวัด ๑๒ แห่งในประเทศไทย
๒. สร้างวัดไทยในประเทศแคนาดา ๖ แห่ง
๓. สร้างวิทยาลัยสงฆ์ ๒ แห่ง
๔. สร้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)ที่จังนครราชสีมา
๕. สร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๓๐๐๐ กว่าแห่งทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายที่ ๗๐๐๐ แห่ง
๖. สร้างโรงพยาบาลจอมทอง
๗. สร้างที่ว่าการอำเภอจอมทอง
๘. สถาบันประถมศึกษาจอมทอง
๙. สร้างพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย วัดธรรมมงคล
๑๐. สร้างพระหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดธรรมมงคล
๑๑. สร้างสถาบันพลังจิตตานุภาพในประเทศไทยและประเทศแคนาดา ด้วยเวลาเพียง ๕ ปีสำหรับประเทศไทย สามารถผลิตครูได้กว่า ๒,๐๐๐ คน และ ๒ ปีกว่า สำหรับประเทศแคนนาดา โดยหลวงพ่อได้บินไปสอนเองเป็นภาษาอังกฤษ ผลิตครูที่เป็นชาวต่างชาติล้วน ๆ ในรุ่นแรกมีผู้สนใจเรียนเพียง ๒๔ คน โดย ๒๔ คนที่ได้บอกต่อกันทำให้รุ่นที่สองเพิ่มเป็น ๒๐๐ กว่าคน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกรุ่น จนปัจจุบันได้ ๗ รุ่นแล้ว ได้ครูสมาธิกว่า ๒,๐๐๐ คนแล้ว เมื่อนักศึกษาครูสมาธิชาวแคนนาดา เรียนจบภาคทฤษฎี หลวงพ่อก็จะพามาธุดงค์ที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ทุกปี ปัจจุบันมีศูนย์สอนครูสมาธิอยู่ ๖ แห่งในแคนนาดาคือ ที่ เอ็ตมอนตัน แคลการี แองการา โตรอนโต แวนคูเวอร์ ฟอร์ดแมคเคอรี ซึ่งกำลังจะเปิดเพิ่มอีก ๑๐ แห่ง

นับว่าหลวงพ่อได้เสียสละเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา และส่วนรวมโดยมิได้เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยแม้อายุจะ ๘๒ ปีแล้วหากสนใจอ่านประวัติอย่างละเอียดของหลวงพ่อ หาอ่านได้ที่วัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ พระโขนง กทม.

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูญาณวิริยะ
พ.ศ.๒๕๑๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระญาณวิริยาจารย์ (ฝ่ายวิปัสสนา)
พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชธรรมเจติยาจารย์ (ฝ่ายวิปัสสนา)



ผลงานการสร้างวัด

วัดที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ สร้างวัดบ้านห้วยแตน ตำบลหนองเหียน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ขณะอายุได้ ๒๔ ปี

วัดที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ สร้างวัดวิริยพลาราม บ้านเต่างอย อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

วัดที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๔๘๙-๙๑ สร้างวัดมณีคีรีวงค์ (กงษีไร่) จังหวัดจันทบุรี

วัดที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๔๙๒-๙๕ สร้างวัดดำรงธรรมมาราม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีให้เป็นที่ธุดงค์วิปัสสนากัมมัฏฐาน

วัดที่ ๕ ปี พ.ศ. สร้างวัดสถาพรพัฒนา (วัดหนองชิ่ม) ตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นแหล่งบำเพ็ญสมณธรรมอย่างสงบร่มเย็น

วัดที่ ๖ ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ สร้างวัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ พระโขนง กรุงเทพฯ เป็นวัดแรกที่อยู่ในกรุงเทพนี้เนื้อที่ทั้งหมด ๓๒ ไร่ มีกุฏิบำเพ็ญสมาธิภาวนา ๙ หลัง ศาลาการเปรียญ ศาลาเมรุฌาปนกิจสถาน อุโบสถ และที่สำคัญที่สุดคือ พระมหาเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีความสวยสดงดงามตามศิลปไทยวิจิตระการตาหาชมได้ยาก สิ้นงบประมาณรวมร้อยล้านบาท มีพระภิกษุสงฆ์พำนักอยู่กว่า ๕๐๐ รูป และมีโรงเรียนอนุบาล อบรมสอนหนังสือให้แก่นักเรียนกว่า ๕๐๐ คน

วัดที่ ๗ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ สร้างวัดผ่องพลอยวิริยาราม สุขุมวิท ๑๐๕ (ลาซาล) พระโขนง กรุงเทพฯ มีเนื้อที่ทั้งหมดรวม ๑๐ ไร่ มีกุฏิบำเพ็ญสมาธิภาวนา ๖๐ หลัง ศาลาการเปรียญ อุโบสถ หอระฆัง และอื่นๆ

วัดที่ ๘ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ สร้างวัด สิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) ซอยเสนานิคม๑ ถนนพหลโยธิน ลาดพร้าว กรุงเทพฯ มีกุฏิ ๔๐ หลัง ศาลาปฏิบัติธรรมโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม อุโบสถ มีพระสงฆ์ ๔๐๐ รูป

วัดที่ ๙ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ สร้างวัดหนองกร่าง วิทยาลัยสงฆ์กำแพงแสน ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีกุฏิ ๘๐ หลัง ศาลาการเปรียญ มีอาคารเรียน ๓ หลัง อุโบสถ ๒ ชั้น มีพระภิกษุสงฆ์-สามเณรศึกษาอยู่ปัจจุบัน ๒๐๐ รูป

วัดที่ ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สร้างวัดอมาตยาราม (เขาอีโต้) จังหวัดปราจีนบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมด ๖๐ ไร่ มีศาลาการเปรียญ กุฏิที่พัก อุโบสถ ฯลฯ

วัดที่ ๑๑ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สร้างวัดแก้วพิทักษ์เจริญธรรม สุขุมวิท๑๐๓ (อุดมสุข) พระโขนง กรุงเทพฯ มีศาลาการเปรียญ กุฏิที่พัก โรงครัว บ่อน้ำ อุโบสถ

วัดที่ ๑๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ สร้างวัดชูจิตรธรรมมาราม วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย จังหวัดอยุธยา (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๐๘ ไร่ มีพระภิกษุ-สามเณรศึกษาอยู่ ๕๐๐ รูป



ประวัติการสร้างวัดพุทธศาสนาไทยในประเทศแคนาดา
คัดลอกจาก http://www.moe.go.th/tsssc/wat/can_data.htm

ปี ๒๕๓๐ พระราชธรรมเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล ได้เดินทางไปประเทศแคนาดาเป็นครั้งแรกกับคุณชัยยศ และคุณรัตนา สมบุญธรรม ซึ่งครั้งนั้นมีงานแสดงสินค้านานาชาติที่เมืองเอ็ดมันตัน ขณะที่อยู่เมืองเอ็ดมันตันได้มีคุณดำเกิง คงคา เป็นผู้ดูแล หลังจากงานแสดงสินค้านานาชาติเสร็จแล้วคุณดำเกิงก็ได้พาไปเมืองแคนการี่และ ที่แบมป์ ทำให้พระราชธรรมเจติยาจารย์ ชอบสถานที่เหล่านี้มากเพราะมีภูเขาป่าไม้เหมือนกับเมืองหิมพานต์ หลังจากนั้นก็ได้เดินทางต่อไปที่เมืองแวนคูเวอร์ ได้พบกับคุณประเสริฐ และคุณแหม่ม อุทกภาชก์ซึ่งทั้ง ๒ สามีภรรยาได้มาอยู่ที่เมืองแวนคูเวอร์หลายสิบปีแล้ว รู้จักคนไทยมากได้ประชุมชาวไทย-ลาว มีผู้มาร่วมทำบุญจำนวนมากได้ปรารภประสงค์จะมีวัดไทยในครั้งนั้น ในการเดินทางมาครั้งนี้พระราชธรรมเจติยาจารย์ได้ถือโอกาสสำรวจหยกที่ได้ข่าว ว่าประเทศแคนาดามีหยกเขียวและมีเหมืองหยกด้วย เนื่องจากพระราชธรรมเจติยาจารย์มีความตั้งใจจะสร้างพระพุทธรูปด้วยหยก และต้องการสร้างองค์ใหญ่ที่สุด เมื่อเดินทางมาสำรวจหยกในครั้งนั้นไม่พบว่ามีหยกก้อนใหญ่ที่มีคุณภาพดี ท่านจึงได้จองหยกไว้กับเจ้าของเหมืองหยกว่า ถ้าพบหยกก้อนใหญ่ไม่ต่ำกว่า ๗ ฟุต ก็ให้รีบบอกไปด้วย

พ.ศ. ๒๕๓๔ พระราชธรรมเจติยาจารย์ พร้อมกับคุณชัยยศ สมบุญธรรม ได้เดินทางมาที่เมืองแวนคูเวอร์เพื่อมารับหยกเขียวก้อนใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนัก ๓๒ ตัน เป็นหยกที่มีคุณภาพดีนำมาประเทศไทยทำการแกะสลักพระพุทธรูปซึ่งเป็นปฏิมากรรม หยกเขียวใหญ่ที่สุดในโลก ได้รับการต้อนรับจากประชาชนชาวไทยทั่วประเทศมาร่วมช่วยสร้างองค์พระหยกจน สำเร็จ

พ.ศ. ๒๕๓๖ ชาวไทย-ลาว ในประเทศแคนาดามีศรัทธาในพระพุทธศาสนามีความประสงค์ที่จะให้มีวัดพุทธไทย ขึ้น จึงได้รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมพระพุทธศาสนา ต้องการที่จะให้มีความอบอุ่นทางใจ เนื่องได้จากประเทศมานาน ประสงค์ให้มีวัดพระพุทธศาสนาขึ้นในท้องที่เพื่อศูนย์กลางปฏิบัติศาสนกิจอัน เป็นที่พึ่งทางใจ ทั้งนี้เพราะมารำลึกถึงว่าพวกเราเป็นพุทธบริษัทและมีความวิตกกังวลถึงลูก หลานต่อไปข้างหน้าหากไม่มีวัด เด็ก ๆ เหล่านี้ก็จะต้องเข้านับถือศาสนาอื่นเพราะลูกหลานของเขาก็จะเพิ่มมากขึ้น เป็นจำนวนพัน จำนวนหมื่น หากมีวัดพุทธสาสนาก็จะทำให้อนาคตของเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลานของเขาเป็นพุทธบริษัท ซึ่งจะเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนามายังประเทศแคนาดานี้ทางหนึ่งด้วย ชาวไทย-ลาวในประเทศแคนาดาจึงตั้งใจอย่างมั่นคงที่จะมีวัดไทยในประเทศนี้ให้ จงได้

พระราชธรรมเจติยาจารย์ เห็นความตั้งใจจริงของพุทธบริษัทจึงได้สนับสนุนโดยการบอกบุญไปยังพุทธบริษัท ในประเทศไทย ก็ได้รับความศรัทธาอย่างกว้างขวางช่วยบริจาคเงินเป็นจำนวนมากจนสามารถสร้าง วัดขึ้นมาเพียง ๓ ปี สร้างได้ถึง ๖ วัดตามเมืองใหญ่ต่าง ๆ ดังนี้คือ เมืองแวนคูเวอร์ เมืองโตรอนโต เมืองออตตาวา เมืองเอ็ดมันตัน เมืองแคนการี่ และที่น้ำตกไนแองการ่า ซึ่งต้องใช้ปัจจัยถือ ๙๐ ล้านกว่า ซึ่งเป็นปัจจัยจำนวนมากทีเดียว แต่ได้รับความร่วมมือจากทั้งชาวแคนาดาและชาวไทยในประเทศไทยจนสำเร็จได้



การเกิดขึ้นของวัดในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศแคนาดานั้นนับเป็นผลดีมากใน การ เผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ เพราะว่าในประเทศนี้ยังไม่เคยมีวัดพุทธไทยและยังเป็นการเผยแผ่หลักธรรมของ พระพุทธศาสนาให้แพร่หลาย การสร้างวัดนั้นมิใช่ง่ายมีความยากลำบากมากต้องใช้ความสามารถสูงทั้งด้าน ภาษา วัฒนธรรมตลอดถึงปัจจัย ทั้งบุคคลากร หากไม่ใช้ความตั้งใจจริงพร้อมทั้งการเสียสละอย่างสูงแล้วจะทำให้สำเร็จไม่ ได้เลย แต่ทั้งนี้ในประเทศแคนาดานำโดยพระราชธรรมเจติยาจารย์ได้ดำเนินการอย่างมี ประสิทธิภาพประกอบด้วยความตั้งใจจริงของท่านพร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนจาก พุทธศาสนิกชนทั้งในประเทศแคนาดาและประเทศไทยจึงทำให้บังเกิดผลอย่างรวดเร็ว และจะเป็นผลต่อไปในอนาคตซึ่งจะประเมินค่ามิได้

ขณะนี้มีการทำประโยชน์มากมายตามวัดต่าง ๆ เช่น ประชาชนได้มาบำเพ็ญกุศลตามประเพณีนิยม มีการจำศีลภาวนาตักบาตรทำบุญ การบำเพ็ญกุศลในวันสำคัญคือวิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา เข้าพรรษา ออกพรรษา วันตรุษ วันสงกรานต์ วันขึ้นปีใหญ่ วันลอยกระทง เป็นต้น โดยเฉพาะที่วัดญาณวิริย ๒ ที่โตรอนโต พระภิกษุที่นี่ก็ได้รับอาราธนา ให้ไปสอนผู้ถูกคุมขัง ณ ที่เรือนจำเป็นประจำและที่วัดญาณวิริยา ๑ ที่แวนคูเวอร์ ได้มีนักเรียน นักศึกษาชาวแคนาดามาฝึกหักทำสมาธิจำนวนมิใช่น้อย นอกจากนั้นยังได้แก้ข้อสงสัยในพระพุทธศาสนาให้แก่ชาวต่างชาติให้เข้าใจข้อ เท็จจริง นับเป็นประโยชน์มากในการสร้างวัดไทยในประเทศแคนาดา การดำเนินงานด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนากำลังได้ผลระยะสั้นและระยะยาว อยู่ที่การเสียสละของพระภิกษุผู้ที่มาประจำและผู้ที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง คือพระเถระทั้งหลายพร้อมทั้งพุทธศาสนิกในประเทศไทย เมื่อได้รับความสนับสนุนเพื่อให้กำลังใจพร้อมทั้งปัจจัยสี่ ความอบอุ่นในการดำเนินงานแล้ว คาดว่าในอนาคตจะทำให้ประเทศนี้มีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทย-ลาว-เขมร-ญวน-จีน ที่มาตั้งรกรากอยู่ในประเทศแคนาดาเองเพิ่มขึ้นจนเป็นความหวังที่จะให้พุทธ ศาสนาเป็นปึกแผ่นในประเทศนี้.

แหล่งข้อมูล : http://www.phuttha.com


ข้อมูลอ้างอิงจาก : buddhawax.com
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...