ผู้เขียน หัวข้อ: ปลูกรัก : เพชรตัดมายา (ติช นัท ฮันห์)  (อ่าน 2095 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


...... เพชรตัดมายา ......

......เพชรสามารถตัดทุกสิ่งทุกอย่างได้ แต่อะไรก็ไม่อาจตัดเพชรได้ เรา จำเป็นต้องพัฒนา การหยั่งเห็นที่คมเหมือนเพชร เพื่อใช้ตัดทำลายความ ทุกข์ ถ้าเธอศึกษาพระสูตรว่าด้วยการจับงูให้ถูกวิธี แล้วมาศึกษา วัชรสูตร เธอจะเห็นความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่างพระสูตรทั้ง สองนี้......

......วัชรสูตรได้บันทึกการสนทนาระหว่างสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับภิกษุสุภูติสาวกของพระองค์ เป็นพระสูตรรุ่นแรก ๆ ที่สุดพระสูตร หนึ่งในบรรดาปรัชญาปารมิตาสูตร ภิกษุหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบรูปได้ มาประชุมพร้อมกัน ในปรัชญาปารมิตาสูตรรุ่นหลัง ๆ ภิกษุที่มาประชุม มีจำนวนน้อยกว่านี้ แต่พระโพธิสัตว์มากถึง ๒๕,ooo - ๕o,ooo องค์ มาร่วมประชุมอยู่ด้วย ปัญหาที่สุภูติทูลถามก็คือ ...... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากกุลบุตรกุลธิดาปรารถนาจะบรลุธรรม บรรลุจิตอันเลิศ รุ้ตื่นรู้เบิกบาน แล้วไซร้ เขาและเธอควรตั้งจิตและควบคุมจิตของตนอย่างไรพระเจ้าข้า ...... สุภูติรู้ว่าขั้นแรกของการเป็นโพธิสัตว์ก็คือโพธิจิต ซึ่งก็คือความปรารถนา ที่จะนำตนเองและนำชีวิตอื่น ๆ ไปสู่ฝั่งแห่งความสุขและอิสรภาพ......

......ต่อไปนี้คือคำตอบของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ...... สรรพสัตว์ไม่ว่า จักเป็นเหล่าใด ๆ จักเกิดจากฟองไข่ก็ดี เกิดจากครรภ์ก็ดี เกิดจากคราบ ไคลความชื้น หรือผุดเกิดขึ้นเองก็ดี จักมีรูปหรือไม่มีรูปก็ดี จักมีสัญญา หรือไม่มีสัญญาก็ดี จักมีสัญญาก็มิใช่จักไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี เราจักต้อง สั่งสอน ชี้ทางให้สรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นบรรลุนิพพานได้วิมุติหลุดพ้น เป็นอิสระ ...... เราต้องปฏิญาณตนว่าจะปฏิบัติเพื่อทุกชีวิตใช่แค่เพื่อตัวเอง เราปฏิบัติเพื่อต้นไม้ เพื่อสัตว์ เพื่อก้อนหินและเพื่อน้ำ เราปฏิบัติทั้งเพื่อ ชีวิตที่มีรูปและชีวิตที่ไร้รูป เพื่อชีวิตที่มีสัญญาและชีวิตที่ไม่มีสัญญา เรา ปฏิญาณที่จะนำสรรพชีวิตเหล่านี้ไปสู่ฝั่งแห่งอิสรภาพ และเมื่อเรานำ ชีวิตเหล่านี้สู่ฝั่งแห่งอิสรภาพแล้ว เราย่อมไม่คิดเลยว่าชีวิตใดลุถึงความ อิสระ นี่คือจิตวิญญาณของพุทธศาสนา......

......ปรัชญาปารมิตาวัชรสูตรมีคำสอนสรุปอยู่ในสี่สิบบท ชาวพุทธทุกคน ที่ปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อการรู้แจ้ง ย่อมมีปรัชญาปารมิตาหรือความเข้าใจ อันเลิศเป็นมารดาของตน ชีวิตไม่ได้เกิดและไม่ได้บริสุทธิ์มาตั้งแต่แรก นี่คือการปฏิบัติเพื่อความสมบูรณ์อันประเสริฐ เมื่อพระโพธิสัตว์นำ สรรพสัตว์ไปสู่อีกฝั่งหนึ่งนั้น ท่านไม่เห็นสัตว์ใด ๆ เลย นี่ก็เข้าใจได้ ไม่ยาก แค่เธอปล่อยใจให้ผ่อนคลาย ปล่อยให้หยาดฝนแห่งธรรมผ่าน เข้าไปในใจเธอ อาตมามั่นใจว่าเธอจะเข้าใจได้......

......พระพุทธเจ้าสอนให้เราพิจารณาสี่คำต่อไปนี้อย่างพินิจพิเคราะห์ ตัวตน บุคคล สัตวะและชีวะ ...... เมื่อสรรพสัตว์อันไม่สิ้นสุดไม่มีประมาณนี้ลุถึง ความเป็นอิสระแล้ว เราย่อมไม่คิดเลยว่าสัตว์ใดลุถึงความอิสระไฉนจึง เป็นเช่นนั้นเล่า สุภูติ ก็เพราะเหตุว่าถ้าพระโพธิสัตว์ยังมีจิตยึดมั่นอยู่กับ ตัวตน บุคคล สัตวะและชีวะแล้วไซร้ นั่นหาได้ชื่อว่าพระโพธิสัตว์แท้ จริงไม่ ...... พระโพธิสัตว์คือผู้ซึ่งเป็นอิสระแล้วจากตัวตน บุคคล สัตวะ และชีวะ......

 ......เรารู้ว่าดอกไม้เป็นส่วนประกอบของธาตุที่ไม่ใช่ดอกไม้ อย่างเช่น แดด ดิน น้ำ ห้วงหาวและกาลเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลมา รวมกันทำให้เกิดเป็นดอกไม้ เหตุปัจจัยอันไม่มีขอบเขตนี้คือสิ่งที่เรา เราเรียกว่า ...... ธาตุที่ไม่ใช่ดอกไม้ ...... ปุ๋ยช่วยทำให้ดอกไม้มีขึ้นได้ และ ดอกไม้ก็ทำให้เกิดปุ๋ยมากขึ้น ถ้าเราภาวนา เราจะเห็นปุ๋ยอยู่ในดอกไม้ ตรงนี้เดี๋ยวนี้ ถ้าเธอเป็นชาวสวนแนวธรรมชาติ เธอย่อมรู้เรื่องนี้ดี อยู่แล้ว......

......นี่ใช่แค่คำพูด แต่เป็นประสบการณ์ของเรา เป็นผลจากการฝึกมอง อย่างลึกซึ้ง เมื่อมองสิ่งใดก็ตาม เราจะเห็นธรรมชาติของการอิง อาศัยซึ่งกันและกัน ตัวตนจะมีไม่ได้ถ้าไม่มีธาตุความไม่มีตัวตน เมื่อมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่าลึกซึ้ง เราจะเห็นจักรวาลทั้งหมด สิ่งหนึ่ง ประกอบขึ้นจากหลายสิ่ง การจะดูแลตัวเองได้นั้น เราต้องดูแลคน รอบข้างไปด้วย ความสุขและความมั่นคงของเขาก็คือความสุขและ ความมั่นคงของเรา ถ้าเราเป็นอิสระจากการยึดติดอยู่กับตัวตน และ ความไม่มีตัวตน เราก็จะไม่กล่าวคำสองคำนี้ แต่ถ้าเรามองตัวตนว่า เป็นศัตรู และคิดว่าความไม่มีตัวตนคือพระเจ้าที่มาโปรดเรา เราก็จะ ติดกับดักของคำทั้งสองนี้ เราพยายามผลักไสสิ่งหนึ่งแล้วหันไปกอด อีกสิ่ง ถ้าเราเห็นแจ้งว่าการดูแลตัวตนก็คือการดูแลความไม่มีตัวตน ด้วย เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วเราก็จะเป็นอิสระ เราไม่ต้องผลักไสสิ่งใด......

......สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ...... ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน ...... พระองค์ไม่กลัวคำว่า ...... ตน ...... เพราะทรงเป็นอิสระจากถ้อยคำ แต่เรา ศิษย์ของพระตถาคตไม่กล้าใช้คำนี้ หลายปีก่อนโน้นเมื่อาตมามอบ คาถาบทหนึ่งให้ฟังพร้อมกับเสียงกระดิ่ง ...... ฟังสิ จงฟัง เสียงอัศจรรย์ นี้นำฉันกลับมาสู่ตัวตนที่แท้จริงของฉัน ...... ชาวพุทธหลายคนปฏิเสธ ไม่ยอมท่องคาถานี้เพราะมีคำ ...... ตัวตน ...... อยู่ด้วย พวกเขาจึงเปลี่ยนเป็น ...... ฟังสิ จงฟัง เสียงอัศจรรย์นี้นำฉันกลับมาสู่ธรมชาติที่แท้จริงของฉัน ...... พวกเขาพยายามหนี ...... ตัวตน ...... เพื่อจะได้เป็นศิษย์ตถาคตผู้จริงจัง แต่ แล้วเขาก็กลายเป็นนักโทษของถ้อยคำไป......

...... ถ้าโพธิสัตว์ใดยึดอยู่กับความคิดว่า ตัวตน บุคคล สัตวะหรือชีวะ ดำรงอยู่แล้วไซร้ นั่นไม่ใช่โพธิสัตว์ที่แท้ ถ้าเรารู้แจ้งว่าตัวตนย่อม ประกอบด้วยธาตุไม่ใช่ตัวตน เราก็จะไม่ตกเป็นทาสหรือกลัวคำ ...... ตัวตน ...... หรือ ...... ไม่มีตัวตน ...... ถ้าเราพูดกับคำ ...... ตัวตน ...... เป็นอัน ตราย คำ ...... ไม่มีตัวตน ...... อาจเป็นอันตรายยิ่งกว่า การติดอยู่กับคำ ...... ตัวตน ...... นั้นไม่ดี แต่การติดอยู่กับคำ ...... ไม่มีตัวตน ...... ยิ่งแย่กว่านั้น อีก......

......การเข้าใจแจ้งว่าตัวตนย่อมประกอบจากธาตุของความใช่ตัวใช่ตน นี่เป็นความเข้าใจที่ปลอดภัย พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสว่า ...... เธอไม่ดำรง อยู่ ...... หากแต่ตรัสว่า ...... เธอนั้นใช่ตัวใช่ตน ...... ธรรมชาติของเธอคือ ความใช่ตัวใช่ตน เราเป็นทุกข์เพราะคิดว่าพระพุทธองค์สอนว่าเรา ไม่ดำรงอยู่ จากสุดโต่งทางหนึ่งเราเหวี่ยงไปที่ความสุดโต่งอีกทาง แต่ความสุดโต่งทั้งสองทางนั้นก็เป็นแค่ถ้อยคำ เราไม่ได้ประสบกับ ความจริง เรามีแต่ถ้อยคำ แล้วก็เป็นทุกข์เพราะถ้อยคำเหล่านี้......

 ......ถ้าเราคิดว่าคำ ...... บุคคล ...... แตกต่างจากคำ ...... ไม่ใช่บุคคล ...... อย่างเช่น ต้นไม้ กวาง กระรอก เหยี่ยว อากาศหรือน้ำ แต่คำ ...... บุคคล ...... นี้ก็ เป็นคำที่เราต้องข้ามไปให้พ้น เพราะคำนี้ประกอบจากธาตุของความ ไม่ใช่บุคคล ถ้าเธอเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาก่อน จากนั้น ทรงสร้างต้นไม้ ผลไม้ น้ำ แล้วก็ท้องฟ้า ความเชื่ออย่างนี้ย่อมขัด กับวัชรสูตร วัชรสูตรสอนว่ามนุษย์ประกอบจากธาตุซึ่งไม่ใช่มนุษย์ ถ้าไม่มีต้นไม้มนุษย์ก็มีอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีผลไม้ น้ำ และท้องฟ้า มนุษย์ ก็ไม่อาจมีอยู่ได้เช่นกัน ......

 ......นี่คือการฝึกมองอย่างลึกซึ้ง ฝึกสัมผัสความเป็นจริง และมีชีวิตอย่าง มีสติ เธอมองและสัมผัสทุกอย่างใช้ด้วยถ้อยคำืหรือความคิด หากต้อง มองต้องสัมผัสด้วยประสบการณ์ ความคิดที่ว่ามนุษย์สำคัญกว่าสิ่งมี ชีวิตใด ๆ นั้นเป็นความคิดที่ผิด พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้จักดูแลสิ่ง แวดล้อม พระองค์ทรงรู้ว่าถ้าเราดูแลต้นไม้เท่ากับเราได้ดูแลมนุษย์ ไปด้วย เราต้องมีชีวิตทุก ๆ วันอยู่ด้วยการตระหนักรู้อย่างนี้ นี่ไม่ใช่ ปรัชญา การที่เด็ก ๆ ลูกหลานของเราจะมีชีวิตที่ปลอดภัยนั้น เขาต้อง การความมีสติอย่างยิ่ง ความคิดที่ว่ามนุษย์สามารถทำอะไรก็ได้ตาม ต้องการ โดยล่วงละเมิดย่ำยีสิ่งที่เรียกว่าธาตุที่ไม่ใช่คนอย่างไม่ใยดีนั้น เป็นความคิดที่โง่เขลาและเป็นอันตรายมาก......

......จงหายใจเข้าด้วยความรู้สึกอย่างลึกซึ้งว่าเธอเป็นมนุษย์ จากนั้นหายใจ ออกพร้อมสัมผัสโลก หรือธาตุที่ไม่ใช่มนุษย์ ดังว่าสิ่งเหล่านี้คือแม่ของ เธอ จินตนาการถึงภาพลำธารที่ไหลอยู่ใต้พื้นโลก นึกถึงแร่ธาตุทั้งหลาย นึกถึงแม่โลก ซึ่งเป็นแม่ของพวกเราทุกคน จากนั้น ยกมือขึ้น หายใจ เข้าอีกครั้ง น้อมใจสัมผัสต้นไม้ ดอกไม้ ผลไม้ นกกระรอก อากาศ และท้องฟ้า - ธาตุซึ่งไม่ใช่มนุษย์ เมื่อศีรษะเธอได้สัมผัสกับอากาศ ดวง อาทิตย์ ดวงจันทร์ กาแลกซี่ทั้งหลาย ตลอดไปจนถึงจักรวาล - ธาตุไม่ใช่ มนุษย์ที่มารวมเป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิดมนุษย์ เธอจะเห็นว่าธาตุทั้งหลาย เหล่านี้มารวมอยู่ในตัวเธอ ทำให้เธอมีชีวิตขึ้นมาได้ หายใจเข้าอีกครั้ง ยึดแขนทั้งสองออกไป พร้อมกับรู้ตัวว่าเธอกำลังซึมซ่านเข้าไปในธาตุ อื่น ๆ มนุษย์ก็ได้ช่วยทำให้ธาตุอื่น ๆ เกิดและมีอยู่ได้......

......ตอนนี้ขอให้เรามองคำว่า ...... ชีวะ ...... ไปพร้อม ๆ กัน ชีวะคือสิ่งที่มีความ รู้สึก อชีวะคือสิ่งที่ไม่มีความรู้สึก ซึ่งจริง ๆ แล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็หา เส้นแบ่งระหว่างสองอย่างนี้ได้ลำบาก บางคนไม่แน่ใจว่าเห็นเป็นพืช หรือสัตว์ ลามาร์ตินกวีชาวฝรั่งเศสเคยถามว่าสิ่งไร้ชีวิตมีวิญญาณหรือ ไม่ อาตมาขอตอบว่า ...... มี ...... ตรินห์ กองซอน คีตกวีชาวเวียตนาม เคย กล่าวว่า ...... พรุ่งนี้ แม้ก้อนหินและก้อนกรวดก็ต้องพึ่งพากันและกัน ...... เรารู้ได้อย่างไรว่าก้อนหินไม่มีความทุกข์ หลังจากเมืองฮิโรชิมาถูกถล่ม ด้วยระเบิดปรมาณู หินก้อนใหญ่ ๆ ในสวนสาธารณะตายไป ชาวญี่ปุ่น จึงย้ายหินเหล่านี้ออก แล้วนำหินก้อนใหม่ ๆ ซึ่งมีชีวิตไปจัดไว้แทน......

......ในวัดมหายาน เราปฏิญาณว่าสรพสัตว์ทั้งปวงทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต สามารถรู้แจ้งได้ เราใช้คำว่ามีชีวิตและไม่มีชีวิต แต่เรารู้ว่าสรรพสัตว์ เหล่านี้มีชีวิต ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างมีชีวิตและไร้ชีวิตจึงเป็น มายา โพธิสัตว์แท้ย่อมเห็นว่าสิ่งมีชีวิตย่อมประกอบจากธาตุของสิ่ง ไร้ชีวิต ความติดยึดอยู่กับ ...... สิ่งมีชีวิต ...... ก็มลายไป โพธิสัตว์ท่านนั้น จึงเป็นอิสระ โพธิสัตว์อุทิศชีวิตของท่านเพื่อนำสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ ลุถึง ...... ฝั่งโน้น ...... โดยไม่ยึดมั่นอยู่กับความคิดเกี่ยวกับ ...... สัตวะ ...... เลย......

......เพราะมนุษย์มีแนวโน้มที่จะใช้ถ้อยคำและมโนทัศน์เพื่อเข้าใจความจริง เราจึงไม่สามารถสัมผัสความเป็นจริงอย่างที่มันเป็นได้เลย เราสร้างภาพ ความจริงซึ่งไม่สัมพันธ์กับความจริงโดยตัวมันเอง นี่เองเราจึงต้องฝึก ปฏิบัติเพื่อจะช่วยให้เราเป็นอิสระ เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องปรัชญา ถ้าเราพยา ยามทำคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เป็นทฤษฎี เราก็จะไปผิดทาง เท่ากับ จับงูตรงส่วนหางมัน เราฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวันเพื่อจะได้สัมผัส ความเป็นจริง และเราสังเกตุสรรพสิ่งเพื่อจะได้เห็นธรรมชาติแท้จริง ของความใช่ตัวใช่ตน หลายคนเข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์เกี่ยวกับ เรื่องนี้ผิด ๆ เขาเข้าใจว่าพระองค์ปฏิเสธการดำรงอยู่ของชีวิต นี่ไม่ใช่ การปฏิเสธ พระพุทธองค์ทรงประทานเครื่องมือที่จะช่วยให้เรามีความ เข้าใจอย่างลึกซึ้งและเป็นอิสระหลุดพ้นได้ และเราควรใช้เครื่องมือนั้น ไม่ใช่นำไปไว้บูชา แพไม่ใช่ตลิ่ง......

......อาตมากล่าวถึงสามคำแรก คือ ตัวตน บุคคล และสัตวะในแง่ของ ขอบเขต ส่วนคำที่สี่ ชีวะนั้นจะพูดในแง่ของเวลา ก่อเธอเกิดเธอ ดำรงอยู่หรือไม่ ตัวตนมีอยู่หรือเปล่า แล้วเมื่อไหร่ล่ะที่เธอเริ่มมีตัวตน มีมาตั้งแต่เกิดเลยรึ คมดาบแห่งการแบ่งแยกได้ตัดความจริงออกเป็น สองส่วน คือช่วงที่ชีวิตเธอยังไม่ดำรงอยู่กับช่วงที่เธอเริ่มดำรงอยู่ แล้ว ชีวิตเธอจะเป็นอย่างไรต่อไป เมื่อตายแล้วเธอสูญสิ้นไปเหมือนเดิม กระนั้นรึ นี่เป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับมนุษย์ทุกคน อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อฉันตายไป ยิ่งพอได้ยินคำว่า ...... ไม่มีตัวตน ...... เรายิ่งกลัวกันหนักขึ้น ไปอีก เรารู้สึกสบายใจที่จะพูดว่า ...... ฉันดำรงอยู่ ...... เราจึงถาม ...... อะไร เกิดขึ้นเมื่อฉันตายไป ...... เราพยายามที่จะยึดอยู่กับความคิดเกี่ยวกับตัวตน ที่ทำให้เรารู้สึกสบาย ...... นี่คือโลก นี่คือตัวตน เราจะชีวิตอยู่ต่อไป ............

 ......สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวถ้อยคำง่าย ๆ เกี่ยวกับการดำรง อยู่ของสรรพสิ่ง ...... ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่าเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่อย่างนี้เพราะ ไม่ใช่อย่างนั้น ...... สิ่งต่าง ๆ มีอยู่เป็นอยู่ได้ย่อมขึ้อยู่กับทุกสิ่ง เราต้องเข้าใจ ว่าพระพุทธเจ้าทรงหมายความอย่างไรเมื่อทรงกล่าวถึง ...... ความมีอยู่เป็น อยู่ ...... ความมีอยู่เป็นอยู่ตามความเข้าใจของเราอาจแตกต่างจากพระองค์ เราไม่อาจพูดวาาได้ว่าพระพุทธเจ้าย้ำถึง ...... ความมีอยู่เป็นอยู่ ...... และปฏิเสธ ...... ความไม่มีไม่เป็น ...... ถ้าเป็นอย่างนี้ก็เหมือนเราจับงูที่หางนั่นเอง เมื่อพระ องค์ตรัสว่า ...... ที่เป็นอย่างนี้เพราะเป็นอย่างนั้น ...... พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรง ตั้งทฤษฎีความมีอยู่เป็นอยู่และปฏิเสธความไม่มีไม่เป็น นี่ตรงข้ามกับ ความหมายที่พระองค์ทรงต้องการแสดงเลยทีเดียว......

 ......ในปรัชญาตะวันตก คำว่า ...... เป็นอยู่แล้วในตัวเอง ...... มีความหมายใกล้ เคียงกับคำ ...... เช่นนั้นเอง ...... ในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง โดยตัวมันเอง แล้วความเป็นจริงย่อมเป็นอิสระจากการคิดหรือการทำความเข้าใจ เธอ ไม่อาจทำความเข้าใจ เพราะการทำความเข้าใจความเป็นจริงด้วยถ้อยคำ และมโนทัศน์ก็เหมือนกับการใช้ตาข่ายดักอากาศ ดังนั้นเคล็ดของเรื่อง นี้จึงอยู่ที่ต้องหยุดใช้มโนทัศน์และถ้อยคำ และเข้าถึงความจริงในขณะ โดยหยุดใช้มโทัศน์ พระพุทธเจ้ทรงประทานเครื่องมือให้เราย้ายถ้อยคำ และมโนทัศน์ออกไปแล้วดิ่งเข้าถึงความจริงโดยตรง ถ้าเธอยังยึดติด อยู่กับถ้อยคำและมโนทัศน์ ต่อให้เป็นถ้อยคำและมโนทัศน์เกี่ยวกับ พุทธศาสนา เธอก็จะพลาดโอกาส เท่ากับเธอแบกแพอยู่นั่นเอง จง อย่าเป็นนักโทษของทฤษฎีหรืออุดมการณ์ใด แม้แต่ทฤษฎีหรืออุดม- การณ์พุทธศาสนา......

 ......ความมีอยู่เป็นอยู่ตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้นอยู่ที่หัวใจของความ เป็นจริง ไม่ใช่ถ้อยคำหรือความคิดที่เรามักจะสร้างกันขึ้นมา ความมี อยู่เป็นอยู่ที่เราสร้างมักมีสองลักษณะ คือตรงข้ามกับความไม่มีไม่เป็น แต่ความมีอยู่เป็นอยู่ตามที่พระพุทธองค์ทรงพยายามแสดงนั้นไม่ได้ ตรงข้ามกับความไม่มีไม่เป็น พระองค์ทรงใช้ภาษาที่ต่างออกไป เมื่อ พระองค์ตรัสถึง ...... ตัวตน ...... ตัวตนนี้ก็ไม่ตรงข้ามกับสิ่งใด พระพุทธองค์ ทรงรู้ดีว่าตัวตนย่อมประกอบจากธาตุของความไม่มีตัวตนและนั่นคือ ตัวตนที่แท้จริงของเรา ......

......เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะขจัดความคิดเกี่ยวกับความมีความเป็นและ ความไม่มีไม่เป็น เพื่อจะได้เข้าถึงความเป็นอยู่ที่แท้จริง แน่นอนย่อม เป็นไปได้ ไม่อย่างนั้นแล้วการปฏิบัติจะมีประโยชน์อันใดเล่าในพุทธ ศาสนามหายาน เรามีวิธีขจัดความคิดที่ติดอยู่กับด้านใดด้านหนึ่ง อย่างเช่นถ้าเธอติดยึดความคิดเกี่ยวกับความมีความเป็น คำสอนเกี่ยว กับความว่างก็จะมาช่วยเธอได้ แต่ถ้าเธอลืมไปว่าความว่างที่แท้จริง ย่อมเต็มไปด้วยทุกสิ่ง เธอก็จะติดอยู่กับความคิดเกี่ยวกับความว่าง แล้วเธอก็จะถูกงูกัดอีกเหมือนกัน รัตนกูตสูตรกล่าวว่าติดยึดความมี ความเป็นยังดีกว่าติดยึดความไม่มีไม่เป็น เพราะความคิดใด ๆ ก็อาจ สมานรักษาได้ด้วยความว่าง แต่หากเธอติดอยู่กับความว่างเสียแล้ว โรคนั้นก็หมดทางรักษาเลยทีเดียว ......

......ความเชื่อที่ว่าตัวตนมีอยู่แล้วก่อนฉันเกิดและจะมีต่อไปหลังฉันตาย ไปแล้ว นี้คือความเชื่อเรื่องนิจจัง ส่วนความเชื่อตรงข้ามที่ว่าเมื่อตาย แล้วสูญนั้นเล่าก็เป็นความเชื่อที่ปฏิเสธทุกอย่าง ทิฏฐิทั้งสองอย่างนี้ มีอธิบายไว้อย่างละเอียดในพระสูตรว่าด้วยการจับงูให้ถูกวิธี นักปฏิบัติ ชาวพุทธจะต้องระวังไม่ตกลงไปในหลุมใดหลุมหนึ่ง - ความเชื่อเรื่อง ความเป็นนิจจังของตัวตน ( ไม่ว่ามากหรือน้อย ) หรือความเชื่อในทาง ปฏิเสธ ( ทุกสิ่งล้วนดับสูญ ) เราต้องก้าวข้ามความคิดทั้งสองอย่างนี้ไป ให้ได้ แต่ชาวพุทธหลายคนทำไม่ได้ เขาจึงติดอยู่ในหลุมใดหลุมหนึ่ง แล้วก็ถูกงูกัดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่นั่นเอง ......

......วันหนึ่งอาตมาภาวนาด้วยการเพ่งมองควันธูป ควันจากปลายธูปลอย เป็นรูปทรงสวยงามนานาอยู่กลางอากาศ มันดูมีชีวิต มีอยู่ตรงนั้นจริง ๆ อาตมาเห็นการดำรงอยู่ เห็นความเป็นอยู่ เห็นชีวิต อาตมาจึงนั่งเงียบ ๆ มีความสุขอยู่กับตัวอาตมาเองและ ...... ตัวตน ...... ของธูป อาตมาเพลินมอง ควันธูปที่ลอยขึ้นไปเป็นรูปทรงแปลก ๆ อาตมายื่นมือซ้าย ...... จับ ...... ควัน ช่วงสุดท้ายก่อนธูปดับเป็นช่วงที่สวยงามมาก เมื่อปลายธูปติดไฟจวนจะ หมด แต่รอบ ๆ ยังมีออกซิเจนอยู่ ธูปจึงแดงเจิดจ้าอยู่ครู่หนึ่ง อาตมา มองภาพนั้นอย่างรู้ตัวทั่วพร้อม นี่คือปรินิพพาน การดับไม่เหลือ เปลว ไฟหายไปใหนกัน......

......ตอนคนไกล้ตาย วาระสุดท้ายก่อนชีวิตจะค่อย ๆ ดับไป เขามักจะมี ชีวิตชีวาเหมือนธูปติดไฟนี้ แล้ววิญญาณล่ะไปใหน อาตมามีธูปหลาย อัน อาตมารู้ว่าในช่วงสุดท้ายนั้น ถ้าอาตมานำธูปอีกอันมาจ่อเข้ากับธูป อันแรก เปลวไฟก็จะถ่ายทอดไปถึงธูปอันใหม่ ธูปก็จะมีชีวิตสืบเนื่อง ต่อไป ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของเชื้อเพลิง หรือเหตุปัจจัยนั่นเอง......

......คำสอนของพระพุทธเจ้าชัดเจนเหลือเกิน ถ้ามีเหตุปัจจัย ผัสสะของเรา รับรู้บางสิ่งบางอย่างและรับรู้ว่ามันมีอยู่เป็นอยู่ ถ้าเหตุปัจจัยเหล่านั้นไม่ เพียงพอ ผัสสะเรารับรู้ถึงความไม่มีอยู่ของสิ่งนั้น เราบอกว่านั่นไม่มี ไม่เป็น ซึ่งเป็นการรับรู้ที่ผิด ๆ กล่องธูปมีธูปอยู่หลายอัน ถ้าอาตมาจ่อ ธูปให้ติดไฟไปเรื่อย ๆ ธูปนั้นจะมีชีวิตต่อไปชั่วนิรันดร์หรือไม่......

 ......พระพุทธเจ้าจะยังทรงพระชนม์อยู่หรือสิ้นพระชนม์ไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ กับเชื้อเพลิง บางทีเธอนั่นแหละคือเชื้อเพลิงผู้สืบต่อพระชนม์ชีพของ พระพุทธเจ้า เราพูดไม่ได้ว่าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่หรือสิ้น พระชนม์ไปแล้ว ความเป็นจริงย่อมอยุ่เหนือการเกิด การตาย การ สร้างหรือทำลาย ...... ก่อนพ่อแม่เธอเกิดหน้าตาเป็นอย่างไร ...... นี่คือคำ เชื้อเชิญให้เธอค้นหาตัวตนแท้จริงที่ไม่ขึ้นอยู่กับการเกิดหรือการตาย......




...... ปลูกรัก คือสิ่งที่หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ ได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องความรัก ในเพศบรรพชิตยามวัยหนุ่มของท่าน โดยนำคำสอนต่างๆ ของพระสูตรมหายานมาพิจารณาความรักของท่านได้อย่างลึกซึ้ง จนเข้าถึงความเป็นอิสระจากความรักอันลุ่มหลง ติดยึด และสัมผัสได้ถึงพลังแห่งความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ในจิตแห่งรักที่แท้จริงที่มีต่อสรรพชีวิต อันเป็นความรักที่หนักแน่นมั่นคง......

......ไม่จำกัดอยู่แค่บุคคลเดียว แต่เป็นความรักเมตตาที่พร้อมจะมอบให้กับทุกคน นอกจากคุณจะได้สัมผัสกับความหมายของ รักแรก ที่แท้จริงแล้ว ยังจะได้เรียนรู้ สัมผัสความรักแห่งพระพุทธองค์ โดยผ่านการศึกษาพระสูตรต่างๆ ของมหายาน อันช่วยเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างเกินกว่าความคิด และการกระทำที่เป็นแค่ตัวฉัน ของฉัน ถือเป็นความงดงามอย่างยิ่งที่หลวงปู่สามารถที่จะแลกเปลี่ยนพระสูตรมหายานต่างๆ ในเล่มนี้ ทำให้ได้เรียนรู้เข้าใจในคำสอนของพุทธมหายานมากขึ้น พร้อมทั้งยังได้รดน้ำเมล็ดพันธุ์จิตแห่งรักที่แท้จริงของเรา ผ่านพระสูตรเหล่านั้นด้วย......

จาก http://www.sookjai.com/index.php?topic=175976.msg206311#msg206311
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...