ผู้เขียน หัวข้อ: เวที จิตวิญญาณใหม่ : เปลี่ยนโลกจากด้านใน ด้วย หัวใจอันประเสริฐ  (อ่าน 2153 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


<a href="https://www.youtube.com/v/lhKUCQKzTPg" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/lhKUCQKzTPg</a>


…..อย่าลืมเล่าสู่กันฟัง…..

                วันที่ 22/7/58 ฉันได้มีโอกาสรับฟังเสวนาในหัวข้อ “เปลี่ยนโลกจากด้านในด้วยหัวใจอันประเสริฐ” ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ภายใต้ความร่วมมือกันระหว่าง กลุ่ม New Spirit, สวนเงินมีมา, School for Wellbeing, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ในวันนี้มีผู้ดำเนินรายการร่วมกัน 5 ท่าน ได้แก่

 จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์ (เรือรบ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘ไดอะล็อค’
 ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล (ต่อ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘กล่องดินสอ’
 กันต์พงศ์ ทวีสุข (กันต์) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘การศึกษาที่มีความหมาย’
 อารีย์ โพธิ์ศรี (กอล์ฟ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘ศรัทธาในค่าของมนุษย์’
 คมกฤช อุ่ยเต๊กเค่ง (เชฟหมี) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘ปรัชญาในห้องเรียน’

                จากตอนแรกที่เห็นหัวข้อเรื่องที่จะเสวนาก็เกิดความคิดว่าเขามีจุดเปลี่ยนในชีวิตจากสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร แอบคิดไปถึงว่าเขาประดิษฐ์คิดค้นหรือมีรูปแบบการเรียนการสอนที่แปลกใหม่จนกลายเป็นจุดสนใจอยู่ในตอนนี้หรือ? เพราะเห็นมีการเปลี่ยนแปลงผ่านกล่องดินสอเอย การเปลี่ยนแปลงผ่านไดอะล็อคเอย ทีแรกฉันเองก็ไม่ทราบหรอกค่ะว่าไดอะล็อกคืออะไร แต่ก็มาทราบจากพี่เรือรบนี่แหละค่ะว่ามันคือ วงสนทนาที่เน้นการฟังอย่างลึกซึ้ง ใคร่ครวญและไม่ด่วนตัดสิน ณ ขณะนี้ที่ฉันได้เขียนบทความนี้อยู่ก็ได้ลองเปิดดูคำว่าไดอะล็อคใน google เพราะอยากทราบความหมายหรือลักษณะอื่นเพิ่มเติม แต่กลับไปเจอภาพๆหนึ่งคือ "ภาพคนจับมือกันเป็นวงกลม"



มันเป็นภาพที่ฉันเห็นตอนที่อาจารย์ของฉันท่านหนึ่งให้ทำกิจกรรมปั้นดินน้ำมันในห้องเรียน ตอนที่ฉันเห็นฉันถามตัวเองว่าท่านต้องการจะสื่ออะไร กิจกรรมนี้อาจารย์ของฉันให้จับคู่กันแล้วผลัดกันปั้นดินน้ำมันโดยระหว่างคู่ห้ามพูดจากันด้วยอีกต่างหาก อาจารย์ของฉันจับคู่กับรุ่นพี่ท่านหนึ่ง นอกจากคำถามแรกที่เกิดขึ้นในใจฉันว่าท่านต้องการจะสื่ออะไรแล้ว ยังมีอีกความสงสัยหนึ่งว่าแล้วเขาเข้าใจปั้นต่อเนื่องกันได้อย่างไร รูปที่ออกมาก็คล้ายๆกับรูปที่ฉันเจอนี้แหละค่ะ ณ วันนั้นฉันก็แค่สรุปภาพรวมของกิจกรรมว่า “อ๋อสงสัยท่านคงอยากให้เรารู้ว่าการแสดงออกระหว่างกันมีได้หลายทางมั้ง” ความจริงท่านก็น่าจะพูดถึงวัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรมครั้งนั้นด้วยแหละค่ะ แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าแล้วยังไง ประกอบกับคงตื่นเต้นกับการที่จะได้ทำกิจกรรมเลยไม่ทันได้ตั้งใจฟัง จนมาอ๋อยาวๆก็วันนี้ว่าท่านเคยผ่านประสบการณ์ทางด้านนี้มาแล้วเอามาถ่ายทอดให้พวกเราได้รับรู้ร่วมไปกับท่านด้วยกระมัง (ไม่ทราบว่าเข้าใจความคิดอาจารย์ถูกไหมนะคะ ไว้ถามท่านแล้วจะมาอัพเดทใหม่ค่ะ ^^) เรามาเข้าเรื่องการฟังเสวนากันต่อนะคะ ก็คืองานเสวนามีจุดเริ่มต้นจากผู้จัดกลุ่ม New Spirit ที่ให้ความสนใจในองค์กรรมาปะซึ่งท่านเป็นผู้ที่สนใจในเรื่องของการสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ ประกอบกับตัวขององค์กรรมาปะเองก็ถือว่าเป็นคนรุ่นใหม่(อายุ 30 ต้นๆ)ด้วย ดังนั้นทางผู้จัดจึงได้เชิญคนรุ่นใหม่เหล่านี้มาร่วมเสวนากัน โดยมีใจความหรือหัวข้อหลักในการเสวนาตามลำดับดังนี้ คือ
ให้แต่ละท่านพูดถึงสิ่งที่ทำอยู่คืออะไร มีรายละเอียดอย่างไร

อะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราลุกมาทำสิ่งเหล่านี้

เมื่อเวลามีคนตั้งคำถามกับสิ่งที่เราทำที่มีทั้งความสงสัยในสิ่งที่เราทำหรือความไม่เข้าใจ เรามีวิธีจัดการกับสิ่งเหล่านั้นอย่างไร
จากการที่ท่านได้อ่านหนังสือชื่อ “หัวใจอันประเสริฐ” ท่านมีความประทับใจหรือสิ่งที่กระทบจิตใจเรื่องใดบ้างที่อยากจะเล่าหรือแชร์ประสบการณ์กัน
และปิดท้ายด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ถามคำถาม

                คราวนี้ฉันก็จะขอถ่ายทอดสาระสำคัญตามหัวข้อหลักดังกล่าวเลยนะคะ เริ่มจากที่ผู้ดำเนินรายการถามถึงสิ่งที่นักเปลี่ยนแปลงแต่ละท่านทำอยู่คืออะไร มีรายละเอียดอย่างไร เพื่อความง่ายในการอ่านและการรับสารฉันจะขอเขียนแจงรายละเอียดในหัวข้อดังกล่าวเป็นรายบุคคลดังนี้



  1. จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์ (เรือรบ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘ไดอะล็อค’

-                   เขาได้มีโอกาสรู้จักกับ ไดอะล็อค ทำให้เขาได้รับรู้ตามจุดเด่นของเรื่องไดอะล็อคคือการให้ความสนใจในผู้ฟัง เมื่อเขาเริ่มตระหนักในเรื่องนี้มากขึ้น ชีวิตเขาก็เหมือนจะค่อยๆเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ช่วงระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงพี่เขาบอกว่าประมาณ 2 ปี และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่คนรอบข้างสัมผัสได้จริง จากเดิมพี่เขาเป็นคนใจร้อนมากก็กลายเป็นคนใจเย็นและก็รับฟังคนอื่นมากขึ้น จากการที่พี่เขาเห็นการเปลี่ยนแปลงในตัวเองนี้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะเขียนหนังสือ เล่มแรกชื่อ “สิบวันเปลี่ยนชีวิต” (รู้สึกเหมือนว่าพี่เขาจะอาศัยโฆษณาไปด้วยเลยนะคะเนี่ย 55+) ซึ่งก็ได้รับการตอบรับและการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสวนเงินมีมา อ่ออีกประเด็นหนึ่งที่ตรงใจฉันคือพี่เขาบอกว่าเขาโฟกัสที่คนรุ่นใหม่ให้เริ่มกลับมามองในตัวเองมากขึ้น “เขาบอกว่าการที่การศึกษาได้พาไปถึงจุดที่มีความมั่นใจสูงสุด ไดอะล็อคจะทำให้พวกเขากลับมายืนอยู่บนพื้น” พอจบประโยคปุ๊บมองตัวเองปั๊บ เอิ่ม!!เราเป็นแบบที่พี่เขาพูดไหม คำตอบคือไม่แน่ใจ ก็คงมีบ้างบางทีที่ดูเหมือนว่าจะเกิดการทักท้วงในใจกับบางความคิดของผู้อื่นว่าคิดแบบนั้นไปได้ยังไง แต่ในขณะเดียวกันก็ปล่อยให้ฟุ้งซ่านต่อไปว่าแล้วถ้าการคิดที่เรามองว่าไม่เข้าท่าแบบเขาหล่ะเขามีสิทธิ์ที่จะคิดได้ไหม คำตอบบางครั้งก็ว่าได้ แต่เราเองที่เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ แบบนี้ก็มี แต่ที่ใช้คำว่าไม่แน่ใจเพราะฉันเป็นคนที่ไม่ค่อยแสดงออกกับอะไรพวกนี้บางทีก็ได้แค่คิดมีคำตอบอยู่แค่ 2 อย่างในใจคือ อื้ม!! กับ เฮ้อ!! แล้วก็ผ่านไปตามปกติ แต่ถ้าเป็นคนที่สนิทด้วยก็คงมีการสนทนากันสักระยะหนึ่งอ่ะนะคะ 55+ แล้วอย่างนี้ถือว่าการศึกษาของฉันได้ลากฉันไปจนเกิดเป็นความมั่นใจในความคิดของตนหรือไม่ แล้วการที่พยายามเข้าใจ ณ ขณะนั้นคือการที่ฉันได้ยืนอยู่บนพื้นอยู่แล้วด้วยหรือเปล่า?



            2. ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล (ต่อ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘กล่องดินสอ’

-                   เกิดจากการที่คุณต่ออยากเห็นความเท่าเทียมกันในสังคม แล้วเขาก็พูดถึงกลุ่มของเขาเองว่าทำอะไรบ้าง เขาเริ่มจากช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาทางด้านพัฒนาการด้วยกิจกรรมที่มีชื่อว่า “เล่นเส้น” มีที่มาจากรูปแบบปากกาพิเศษที่ทำขึ้นเฉพาะ เมื่อเขียนไปแล้วจะเป็นเส้นนูนขึ้นมา จุดประสงค์ของคุณต่อคือต้องการให้คนพิการทำได้เหมือนคนปกติเพื่อที่จะดึงคนพิการให้เข้ามาอยู่ร่วมในสังคมได้มากขึ้น ก็มีกิจกรรมที่เห็นได้ชัดอาทิเช่น โครงการวิ่งด้วยกัน เป็นโครงการที่ให้อาสาสมัครและคนพิการมาวิ่งด้วยกัน หรือจะเป็นการพาคนตาบอดไปดูหนัง ซึ่งก็จะเป็นหนังที่มีรูปแบบเฉพาะที่เหมาะสมกับผู้พิการทางสายตาเหล่านั้น เป็นต้น



            3. กันต์พงศ์ ทวีสุข (กันต์) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘การศึกษาที่มีความหมาย’

-                   คุณกันต์เป็นบุคคลที่เติบโตมาในครอบครัวที่มีต้นทุนทางสังคมที่สูง เพราะฉะนั้นรูปแบบทางความคิดฉันเชื่อว่าหลายๆคนคงเดาได้เลยว่าลูกคนรวยเขามีลักษณะแบบไหนกัน(ก็คงไม่ใช่ทั้งหมด แต่ฉันขอถือว่าส่วนใหญ่และกันนะคะ ^^) ซึ่งรูปแบบการใช้ชีวิตก็คงไม่พ้นความหรูหราเพื่อให้คนรอบข้างยอมรับ อาศัยวัตถุเพื่อเข้าหาเพื่อน และคุณกันต์ก็เป็นแบบนั้นจริงๆค่ะ แต่และแล้ว ณ วันหนึ่งที่เขาได้ไปเรียนต่อต่างประเทศเขาได้พบจุดเปลี่ยนในชีวิตคือการได้ไปเรียนวิชาที่สอนเกี่ยวกับวัฒนธรรม(คุณกันต์บอกว่าได้ลงเรียนแบบฟลุ๊คๆเพราะคุณกันต์ตั้งใจจะไปเรียนเกี่ยวกับการทำธุรกิจ) ประกอบกับได้เจอเพื่อนๆในรูปแบบชีวิตที่หลากหลาย สิ่งดังกล่าวทำให้เขาได้รับรู้ว่าสังคมมีอิทธิพลต่อสิ่งที่คนเป็น กล่าวคือคนที่เกิดมาบนความไม่พร้อมก็เป็นสิ่งที่มีผลต่ออุดมคติและความคิดของบุคคลกลุ่มนั้น แต่เมื่อเทียบกับคุณกันต์ที่ชีวิตถือว่ามีความเพียบพร้อม อีกทั้งคนรอบข้างที่มีโอกาสในการทำหลายๆสิ่งหลายๆอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ ขณะเดียวกันคุณกันต์กลับมีความคิดที่หักมุมว่าความพร้อมและโอกาสเหล่านี้สุดท้ายแล้วมันคือความว่างเปล่า (ฉันถึงขั้นขมวดคิ้ว แล้วถามในใจว่ามันว่างเปล่าอย่างไร?) คุณกันต์บอกว่าชีวิตเหมือนไม่มีความหมาย อยู่ไปก็เพื่อเสพสุขจากการครอบครอง โดยไม่ได้นึกถึงที่มาที่ไปของรายได้เลยว่ามีผลกระทบต่อคนรอบข้างอย่างไรบ้าง ดังนั้นด้วยรูปแบบของประสบการณ์ตามที่คุณกันต์ได้พบมาเขาจึงคิดที่จะสร้างโอกาสให้กับคนรอบข้างได้รับอย่างที่เขาเคยได้พบมาเช่นกัน ด้วยการเปิดการสนทนาและแนะแนวให้กับเยาวชนที่ต้องการไปศึกษา



            4. อารีย์ โพธิ์ศรี (กอล์ฟ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘ศรัทธาในค่าของมนุษย์’

-                   จุดเริ่มต้นมาจากความอายที่จะต้องออกมาพูดหน้าชั้นเรียน ด้วยการเลี่ยงไปเป็นอาสาสมัครทำงานอย่างอื่นแทน แต่สุดท้ายการเป็นอาสาสมัครก็ทำให้เขาได้พูดอยู่ดี ตัวคุณกอล์ฟเองมาจากกลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์สิ่งดีงาม เป็นกลุ่มที่อาสาเก็บขยะตามวัด ถักไม้กวาดถวายวัด เป็นต้น แล้วเขาก็อาศัยจุดเปลี่ยนนี้เป็นแนวคิดในการสร้างพื้นที่อาสาเพื่อชวนคนมาเปลี่ยนร่วมกันเหมือนที่เขาเคยได้รับมา ซึ่งเขาเชื่อว่าจิตอาสาทำให้คนกล้าแสดงออกได้ทางหนึ่ง

  จากการตอบคำถามในหัวข้อแรกฉันได้ประทับใจคุณกันต์ที่สุดเลยค่ะ เสมือนสะท้อนแนวความคิดและบุคลิกลักษณะหรือเจตคติบางอย่างของตัวเองยังไงก็ไม่รู้ค่ะ แต่ต้นทุนทางสังคมของเราสองคนช่างต่างกันเหลือเกิน   -,-! ณ ขณะที่ฟังมีความคิดเหมือนกันว่าถ้าให้เลือกเข้ากลุ่มอาสา ฉันขอเข้ากลุ่มคุณกันต์นี่แหละค่ะ อ่อและก็อยากจะบอกว่าการฟังในหัวข้อแรกจบลงฉันมีความรู้สึกเหมือนว่าจิตวิญญาณของตัวเองถูกลากไปโดยพวกเขา ทำไมฉันถึงพูดแบบนี้? ก็เพราะว่า ณ ช่วงขณะหนึ่งฉันมีความคิดที่เห็นด้วย เห็นด้วย และก็เห็นด้วย อยากทำบ้าง อยากช่วยบ้าง อันนี้ก็ดี อันนั้นก็น่าทำ อันนี้เหมือนที่ฉันเคยคิดจะทำเลย อุ๊ย!!อันนี้ฉันก็เคยทำมาก่อน หลังจบการเสวนาฉันคิดที่จะเข้าไปคุยกับคนนั้นคนนี้เพื่อขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ถ้าคลิ๊กอาจจะไปทำด้วยเลย จะเห็นได้ว่าจิตวิญญาณของฉันฟูฟ่องมาก มันเป็นแบบนั้นไปได้อย่างไร แต่พอเมื่อเรารู้สึกตัว พินิจพิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ตามศักยภาพตนมันเห็น!! เห็นว่าเมื่อสักครู่ฉันเป็นอะไร ฉันให้คำนิยามของความนึกคิดที่เกิดขึ้นในใจชั่วขณะหนึ่ง(ตามที่ขีดเส้นใต้)นั้นว่าการถูกกระชากจิตวิญญาณ

จาก http://sasaroseja.blogspot.com/2015/07/blog-post.html
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


         เอาหล่ะเรามาเข้าประเด็นถัดมากันดีกว่า ซึ่งได้พูดถึงอะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้นักเปลี่ยนแปลงแต่ละท่านลุกมาทำสิ่งเหล่านี้ ฉันขออนุญาตนำเสนอเป็นรายบุคคลตามรูปแบบเดิมข้างต้นนะคะ

1.จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์ (เรือรบ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘ไดอะล็อค’
-                   เกิดจากการที่เขาได้เข้าไปปรึกษาน้องในวันที่ป่วย น้องบอกให้พี่ได้รับการเรียนรู้จากภายในผ่านไดอะล็อค และบอกให้พี่ไปที่เชียงราย พี่ก็เชื่อและลองไปดู ไปเรียนรู้ได้ 10 วัน นี่แหละค่ะที่เขาใช้เป็นชื่อหนังสือที่ฉันได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าชื่อ “สิบวันเปลี่ยนชีวิต” พี่เขาเล่าไปด้วยเสียงที่สั่นเครือด้วยนะคะ เขาคงซึ้งกับเรื่องราวจุดเปลี่ยนที่ตนได้รับจากการเข้าใจธรรมชาติของสังคมมั้งคะ อันนี้ฉันเดาเอาเอง

2. ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล (ต่อ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘กล่องดินสอ’
-                   เกิดจากตอนสมัยเรียนได้มีโอกาสไปสอนน้องๆผู้พิการ แต่อุปกรณ์อาจจะยังไม่ค่อยสนับสนุนศักยภาพทางการศึกษาเท่าที่ควร ทางคุณต่อก็เลยอาศัยความสามารถที่ตนมีทำอุปกรณ์ที่เหมาะสมไปแจก

3. กันต์พงศ์ ทวีสุข (กันต์) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘การศึกษาที่มีความหมาย’
-                   คุณกันต์เองมีที่มาในการจัดตั้งกลุ่มอาสาจากตัวคุณกันต์เองที่โหยหาชุมชนที่มีแต่การรับฟังซึ่งกันและกัน เขาเบื่อการเรียนที่อยู่แต่ในห้อง ตัวคุณกันต์เองเลยออกไปหากิจกรรมต่างๆทำ ได้พบปะพูดคุยกับผู้อื่น ซึ่งจุดนี้คุณกันต์บอกว่าที่ผ่านมาเขาไม่ค่อยได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้เลย เพราะช่วงชีวิตที่ผ่านมาเขาเจอแต่บรรยากาศของการแข่งขัน การเร่งรีบ และการคาดหวัง ประกอบกับเมื่อคุณกันต์มาเรียนต่อที่อเมริกา เขาได้มีโอกาสเจอ supervisor วันละครึ่งชั่วโมงที่ตัวของ supervisorของคุณกันต์เองไม่เคยมีกรอบอะไร เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นผู้รับฟังที่คุณกันต์อยากจะสื่อสารด้วยเรื่องอะไรก็ได้ และการเป็นเช่นนี้มันทำให้คุณกันต์เกิดความประทับใจมากๆ เพราะตัวคุณกันต์เองเสมือนหลุดออกมาจากการถูกคาดหวัง เขาเลยต้องการถ่ายทอดสิ่งที่ทำให้เขารู้สึกเป็นอิสระและอุ่นใจนี้ให้กับคนที่รูปแบบชีวิตที่ผ่านมาของเขามีต้นทุนสูงแบบคุณกันต์ คุณกันต์บอกว่าการที่เขาจะไปเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจหรือรูปแบบการทำธุรกิจมันเป็นเสมือนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างซึ่งมันทำได้ยากและวันข้างหน้าอาจจะไม่สำเร็จก็ได้ แต่การที่เขาทำจิตอาสาพอมีคนแนวร่วมเดียวกับเขามากขึ้นวันข้างหน้ามันอาจเป็นพลังบางอย่างก่อให้เกิดความสำเร็จก็ว่าได้ แต่มันก็เป็นเรื่องของอนาคต แหม่!!พอถึงตรงนี้ฉันปลื้มปลิ่มยืนปรบมือให้ในใจเลย เป็นอะไรไม่ทราบค่ะแต่รู้สึกเปรมในใจ (powerful in my heart) คงเป็นเพราะคุณกันต์ได้เป็นแบบอย่างของคำว่า “สูงสุดสู่สามัญมั้งคะ”

4. อารีย์ โพธิ์ศรี (กอล์ฟ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘ศรัทธาในค่าของมนุษย์’
-                   เหตุผลที่คุณกอล์ฟลุกมาทำสิ่งนี้ก็เพื่อหวังว่าการเป็นอาสาจะช่วยเสริมสร้างให้เขาเป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น เขาใช้ประโยคว่า “ออกไปทำเพื่อสร้างการยอมรับ” และเขาได้อาศัยพื้นที่อาสาของเขาในการค้นหาตัวเองด้วยว่าตัวตนของเขานั้นเป็นคนที่ชอบอะไร คุณกอล์ฟบอกว่าตัวเขาเองนั้นชอบพูดมากกว่าชอบฟังเพราะเขารู้สึกว่ามันได้อะไรเยอะดี เขาชอบอ่านหนังสือด้วยมีประโยคหนึ่งในหนังสือที่คุณกอล์ฟประทับใจคือ “ออกเดินทางเรียนรู้โลกกว้าง เพื่อกลับเข้ามาเรียนรู้ใจตน” ท่านผู้อ่านคะ เอาอีกแล้วค่ะ พอจบประโยคนี้ปุ๊บฉันคิดถึงหญิงท่านหนึ่งอีกแล้วและก็ไม่พ้นอาจารย์ของฉันคนเดิมที่กล่าวถึงมาตั้งแต่ต้น ท่านเป็นผู้ที่ชอบเรียนรู้มากค่ะ ไปโน่นไปนี่มีอบรมอะไรท่านก็จะคอยมาบอกเพื่อให้เราได้มีโอกาสสัมผัสโลกกว้างอย่างที่ท่านได้สัมผัส มันตรงกับประโยคในหนังสือเล่มนั้นที่คุณกอล์ฟเล่าถึงเลยค่ะ และก็น่าจะเป็นแนวเดียวกับคุณกอล์ฟคือดึงผู้ที่สนใจให้เรียนรู้โลกกว้างเพื่อได้กลับมาเข้าใจตนเอง
                ส่วนคำถามในหัวข้อถัดไปก็คือเมื่อเวลามีคนตั้งคำถามกับสิ่งที่เราทำที่มีทั้งความสงสัยในสิ่งที่เราทำหรือความไม่เข้าใจ เรามีวิธีจัดการกับสิ่งเหล่านั้นอย่างไร

1. จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์ (เรือรบ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘ไดอะล็อค’
-                   คุณเรือรบเคยเจอคำถามจากคนอื่นว่าไดอะล็อคคืออะไร แล้วคุณเรือรบก็อธิบายซ่ะยืดยาวเลย จากเหตุการณ์นี้คุณเรือรบสังเกตเห็นว่าเขาไม่ได้มีท่าทีที่จะตั้งใจฟังต่อหลังจากนาทีที่สองแระ คุณเรือรบก็เลยแก้ปัญหาด้วยการพยายามตอบอะไรที่มันสั้นๆแต่ได้ใจความ และเมื่อมีคนมาถามต่อเขาก็จะยื่นหนังสือที่เขาเขียนไว้เกี่ยวกับไดอะล็อคให้ผู้ฟังท่านนั้นได้นำไปอ่านและทำความเข้าใจด้วยตนเอง คุณเรือรบบอกว่าวิธีการนี้ช่วยให้ตัวเขาไม่ต้องเหนื่อยที่จะพูดเรื่องเดิมๆซ้ำๆให้ใครหลายๆคนที่อยากจะรู้ฟัง เพียงเล่มเดียวเท่านั้นช่วยได้ ตอนท้ายคุณเรือรบได้กล่าวว่าการที่เราเปลี่ยนกับผู้อื่นเขาอาจจะอยากรับรู้เรื่องราวของเรา แต่คนใกล้ตัวหรือคนที่เคยสัมผัสเราในแบบเดิมอาจจะสงสัย คุณเรือรบบอกว่าไม่จำเป็นที่เราจะต้องได้รับการยอมรับจากทุกกลุ่ม เพียงแค่เรารู้ว่าเรากำลังทำอะไร เป้าหมายเราคืออะไร คนที่ได้ประโยชน์คือใคร แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว

2. ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล (ต่อ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘กล่องดินสอ’
-                   คุณต่อแบ่งเป็นสองแบบค่ะคือถ้าคนไม่สนิทมาถามเขาก็จะบอกว่าเขาทำอันนี้เพื่ออันนี้แล้วก็ชวนคุยเรื่องอื่นต่อไป แต่ถ้าเป็นคนสนิทมาถามเขาก็จะอธิบายให้ฟัง และชวนมาร่วมเป็นจิตอาสาหรือพาไปดูสิ่งที่เขาทำเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น โดยที่คุณต่อพยายามจะเลี่ยงการตอบคำถามเพราะเขารู้สึกว่ามันใช้เวลาในการอธิบายที่นาน

3. กันต์พงศ์ ทวีสุข (กันต์) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘การศึกษาที่มีความหมาย’
-                   คุณกันต์บอกว่ามันขึ้นอยู่กับหมวกที่เราจะเลือกใส่ตามสภาพแวดล้อม อร๊ายยคุณกันต์พูดดีอีกแล้วค่ะ (ท่านผู้อ่านอาจจะเริ่มหมั่นไส้ฉันที่กรี๊ดคุณกันต์เกินเหตุ 555+) คุณกันต์บอกว่าถ้าอยู่ในกลุ่มที่เราอาจจะไม่ค่อยรู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงความคิดบางอย่างออกไปก็อาจจะอาศัยคำเชื่อมช่วย พอถึงตรงนี้ฉันขมวดคิ้วเลยค่ะ ว่ามันเกี่ยวอะไรกะคำเชื่อม ++! เขาอธิบายต่อว่าเช่นตอนนี้กลุ่มของคุณกันต์ก็จะมีการแนะแนวเรื่องเรียนต่อ และก็มีสอนภาษา ก็บอกให้ทุกท่านรับทราบไป แล้วฉันก็ยังงงกับคำเชื่อมที่คุณกันต์พูดเมื่อสักครู่อยู่ดีแหละค่ะ แต่ช่างเถอะนะคะ ^^ เอาเป็นว่าคุณกันต์แค่ต้องการอยากจะบอกว่าเขาทำอะไรอยู่แค่นั้นแหละค่ะ อันนี้คือกลุ่มคนที่เรารู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะพูดด้วย แต่ถ้าเป็นกลุ่มคนที่เขารู้สึกปลอดภัยเขาจะเพิ่มเติมการคุยมากขึ้นในเรื่องของการรู้ใจตนเอง ยินดีที่จะเป็นเพื่อนพูดคุยและร่วมแชร์ประสบการณ์ สรุปคือเวลามีคนมาถามคุณกันต์ก็มีสองทางเลือกคือเลือกบอกอย่างง่ายๆกับเลือกบอกอย่างเต็มที่

4. อารีย์ โพธิ์ศรี (กอล์ฟ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘ศรัทธาในค่าของมนุษย์’
-                   คุณกอล์ฟเคยถูกถามจากคนสนิทว่าทำไปทำไม ทำแล้วได้อะไร คุณกอล์ฟคิดนานมากค่ะกว่าจะตอบ เขาใช้เวลา 2 ปีอ่ะค่ะท่านผู้อ่านกว่าที่เขาจะกลับไปตอบคำถามคนนั้น จนคนถามก็ลืมแล้วว่าถามอะไรไป 55+  คุณกอล์ฟพูดดีมากค่ะ คุณกอล์ฟบอกว่าเป็นธรรมดาที่เวลามีคนมาพูดไม่เข้าหูเรามักจะรู้สึกไม่พอใจ แต่ถ้าเราหยุดอยู่ที่ความไม่พอใจการพัฒนาก็คงไม่เกิด แต่ถ้าเราน้อมรับมาใส่ใจแล้วได้คิดทบทวนการพัฒนาจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แหม่ประโยคนี้ฉันขอปรบมือรัวๆเลยค่ะ คุณกอล์ฟยกตัวอย่างเปรียบเปรยว่าสมมติเราเดินไปเจอเสื้อผ้าชุดหนึ่งที่ถูกใจมากแต่ราคามันแพงมากๆ ถ้าเราหยุดที่ว่าราคาแพงมากก็ไม่ซื้อมันก็จบ แต่ถ้าเราคิดว่าเราจะทำอย่างไรให้ได้ชุดนี้มันจะเกิดเป็นการพัฒนาตนในการคิดที่จะทำสิ่งต่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งชุดที่มีราคาแพงนั้น ฉันแอบคิดในใจขำๆว่าการพัฒนาที่มีในใจของแต่ละคนคงต่างกัน เป็นไปได้ไหมที่คนที่ชอบลักขโมยเขาก็มีการพัฒนา วิธีการขโมยที่หลีกเลี่ยงการจับกุมให้ได้เร็วที่สุด กับอีกคนก็พัฒนาค่ะพัฒนาด้วยการตั้งใจทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเดียวกันคือเงิน แล้วอะไรหล่ะคะที่จะทำให้แต่ละคนมีการพัฒนาในแนวทางที่ดีเหมือนกัน หากไม่ใช่การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

                และแล้วก็มาถึงในประเด็นสุดท้ายของการเสวนาวันนี้คือจากการที่ท่านได้อ่านหนังสือชื่อ “หัวใจอันประเสริฐ” ท่านมีความประทับใจหรือสิ่งที่กระทบจิตใจเรื่องใดบ้างที่อยากจะเล่าหรือแชร์ประสบการณ์กัน

1. จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์ (เรือรบ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘ไดอะล็อค’
-                   การเปลี่ยนแปลงจากภายในคุณเรือรบบอกว่าเขาไมได้เห็นได้ด้วยตนเอง เนื่องจากเขาเป็นคนออกข้างนอกซ่ะเยอะ โดยหลังจากที่คุณเรือรบผ่านกิจกรรมไดอะล็อคมา 2 ปี คนที่บ้านก็ทักว่าคุณเรือรบนั้นเปลี่ยนไป และสิ่งที่ทำให้คุณเรือรบเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้นก็คือการได้อ่านบันทึกของตัวเองในช่วงเวลาที่ผ่านมา เขาบอกว่าการบันทึกช่วยให้เราเห็นได้ เป็นเช่นนี้ฉันคงต้องหัดเขียนบันทึกไว้บ้างแล้วสินะคะเนี่ย

2.  ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล (ต่อ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘กล่องดินสอ’
-                   คุณต่อบอกว่าการที่เขาได้ทำอาสาสมัครตรงนี้มันทำให้เขามีความสุข การเปลี่ยนแปลงของเขาคือความสุข แต่กลับมีคนตั้งคำถามกับคุณต่อว่า “การที่คุณต่อทำนี้ต้องการเห็นตนเองหรือผู้อื่นมีความสุข” คุณต่อเองตอนนี้ก็ยังตอบไม่ได้ค่ะ แป่ว!! -,-!

3. กันต์พงศ์ ทวีสุข (กันต์) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘การศึกษาที่มีความหมาย’
-                   การกระทำด้วยหัวใจอันประเสริฐของคุณกันต์คืออยากเป็นส่วนหนึ่งในประสบการณ์ของผู้ที่จะไปเรียนต่อต่างประเทศ คุณกันต์อยากทำให้คนเหล่านั้นรู้สึกว่ากล้าที่จะทำหรือเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับตัวเองได้ และความสุขในชีวิตของคุณกันต์ก็คือการที่ได้ให้พื้นที่แบบนี้กับคนอื่นและได้เข้ามามีส่วนในชีวิต มันทำให้การวิ่งตามหรือการครอบครองวัตถุหรือความสำเร็จตามกระแสสังคมมันลดลง

4. อารีย์ โพธิ์ศรี (กอล์ฟ) นักเปลี่ยนแปลงผ่าน ‘ศรัทธาในค่าของมนุษย์’
-                   คุณกอล์ฟบอกว่าการเปลี่ยนแปลงภายในเป็นเรื่องของแต่ละคนที่รับรู้ได้ด้วยตนเอง โดยส่วนตัวคุณกอล์ฟเองบอกว่าเพียงแค่ตัวเขารู้สึกก็เกิดการสั่นคลอนแล้ว และคุณกอล์ฟก็บอกอีกว่าแล้วคุณกล้าไหมที่จะสะท้อนตัวเองอย่างแท้จริง ประเด็นสุดท้ายคุณกล้าที่จะเปิดรับคำติชมอย่างใส่ใจหรือไม่ สามสิ่งนี้แหละค่ะที่ทำให้คุณกอล์ฟรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงภายในที่คุณกอล์ฟรับรู้ได้จากตนเอง
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


      จบหัวข้อนี้คุณเชฟหมีได้มีอะไรเสริมนิดหน่อยด้วยค่ะ การเสริมนี้ดูเหมือนจะช่วยตอบคำถามคุณต่อเลยอ่ะค่ะ คือมีอาจารย์ท่านหนึ่งของคุณเชฟหมีบอกว่าการทำอะไรเพื่อคนอื่นไม่ต้องถามหรอกว่าทำเพื่อตัวเองด้วยหรือเปล่า มันมีทั้งสองอย่างควบคู่กันไป คุณเชฟหมีได้ประทับใจประโยคหนึ่งในหนังสือที่กล่าวโดยองค์กรรมาปะว่า

“แม้เราจะไม่เคยพบกัน แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ห่างกันทางจิตใจ ความรักความอาทรที่เรามีให้กันจะเชื่อมร้อยเรามาไว้ด้วยกัน ความดีในหัวใจจะรวมเราให้เป็นหนึ่งเดียว เราจะมองเห็นดวงดาวส่องแสงระยิบระยับในท้องฟ้าอยู่เป็นนิจ ในทำนองเดียวกันไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเราก็สามารถเป็นดวงประทีปส่องให้อาณาบริเวณโดยรอบสว่างไสวได้ เราจะมีแสงสว่างในตัวเองที่สามารถเปล่งประกาย เราจะเป็นดวงประทีปที่ไม่เพียงแต่ขจัดความมืดในขอบข่ายของสายตาเท่านั้น แต่จะเปล่งแสงสว่างมากพอที่จะทำให้โลกรอบตัวดูสว่างไสวเช่นกัน” ขณะที่ฉันฟังประโยคนี้จากคุณเชฟหมีที่ประทับใจในองค์กรรมาปะ ส่วนตัวฉันเองก็มีข้อความที่ประทับใจเช่นเดียวกันค่ะ ก็คือ



“ขอสั่งลาทุกๆ ท่าน ธาตุขันธ์คงอยู่อีกได้ไม่นาน แต่ความเป็นกัลยาณมิตรคงอยู่ตลอดไป” เป็นประโยคที่หลวงพ่อคำเขียนได้เขียนไว้บอกก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ประโยคนี้ทำให้ฉันรู้สึกซาบซึ้งโดยเฉพาะที่ท่านบอกว่า “กัลยาณมิตรคงอยู่ตลอดไป” เล่นเอาฉันน้ำตาคลอเลยค่ะ ทั้งๆที่ในชีวิตจริงไม่เคยได้พบปะหรือพูดคุยกับท่านเลย แต่คำว่ากัลยาณมิตรมันกลับทำให้ฉันได้รู้สึกเหมือนสัมผัสท่านอย่างใกล้ชิด

        มาเข้าเรื่องกันต่อนะคะพอจบประโยคนี้คุณเชฟหมีก็ถามความเห็นของนักเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ท่านบ้างว่าจากหนังสือเล่มนี้ท่านประทับใจอะไรบ้างมั้ยเหมือนที่คุณเชฟหมีประทับใจในข้อความดังกล่าว เริ่มต้นที่คุณเรือรบได้กล่าวถึงเรื่องที่องค์กรรมาปะพูดถึงความขัดแย้ง และคุณเรือรบก็บอกว่า "การรับฟังความทุกข์จากผู้อื่นเราเองก็ทุกข์นะ แต่องค์กรรมาปะได้ให้ข้อคิดว่าความกรุณาคือการมองไปที่คนคนนั้น ไม่ใช่ความทุกข์ของเขา ประเด็นถัดมาจากความขัดแย้งคุณเรือรบได้กล่าวถึงความกรุณาซึ่งองค์กรรมาปะกล่าวไว้ว่า ความกรุณาคือไม่ใช่การที่เราไปช่วยเหลือเขาเพราะความสงสาร ด้วยท่าทีที่เราเหนือกว่า แต่มันคือความกล้าหาญในการปลดเปลื้องทุกข์จากสิ่งรอบตัวของเราโดยที่เรากับเขาเชื่อมโยงกัน มีความเท่าเทียมกันโดยที่การเดินทางครั้งนี้ตอบโจทย์ทั้งเราและเขาได้" พอคุณเรือรบพูดจบคราวนี้ก็ถึงตาคุณต่อก็พูดบ้างหล่ะค่ะ คุณต่อบอกว่า "เขาทำงานกับคนพิการ โดยส่วนใหญ่พอเห็นกลุ่มคนพวกนี้ก็จะช่วยเหลือเขาเพราะสงสารเขา ตลอดจนองค์กรหลายๆองค์กรที่ให้การช่วยเหลือเพียงเพราะต้องการเงินสนับสนุน คุณต่อจะไม่ชอบอย่างมากเลยที่เมื่อมีหน่วยงานหรือกลุ่มคนผู้มีจิตบริจาคกลุ่มคนพิการเหล่านี้พอตอนเสร็จกิจกรรมก็จะให้น้องๆผู้พิการเหล่านี้มาร้องเพลงเพื่อเป็นการขอบคุณ แต่เนื้อหาเพลงนั้นอาจจะกินใจผู้พิการเอง เสมือนเป็นการร้องเพลงเพื่อตอกย้ำตัวเองประมาณนั้นคุณต่อบอกว่าอยากให้เราทั้งหลายเปลี่ยนมุมมองใหม่จากเมตตาเขาก็ให้เป็นเห็นใจเขาแทน คุณต่อบอกว่าความเห็นใจต่างจากความเมตตาตรงที่ความเห็นใจมีความเท่าเทียมระหว่างผู้ให้และผู้รับเป็นพื้นฐาน เพราะฉะนั้นการช่วยเหลือเขาก็คือการที่ให้เขาสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง" ในประเด็นเรื่องของความเมตตา ความเท่าเทียม ความกรุณา ตรงนี้ฉันขออนุญาตใส่ความคิดของตัวเองไปสักเล็กน้อย ฉันเองอาจจะยังไม่เข้าถึงความคิดในเรื่องของความเท่าเทียมได้เท่ากับนักเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ท่านก็อาจเป็นได้นะคะ คือฉันให้คำนิยามของความเท่าเทียมว่ามันคือการที่เราไม่ไปดูถูกผู้อื่น แต่ถ้าความเท่าเทียมตามที่ฉันเข้าใจจากคุณต่อและคุณเรือรบที่ถ่ายทอดออกมาคือการที่ทั้งคนพิการและเราเป็นคนเหมือนกัน ทำได้ทุกอย่างเหมือนกัน ตรงนี้ฉันเองก็ยังมองว่าทั้งคนพิการและคนปกติยังไงก็ไม่เหมือนกันเราถึงได้ยื่นมือเข้าไปช่วย และการที่เข้าไปช่วยก็คงมีพื้นฐานของความรู้สึกมาจากความเห็นใจ ความเมตตา ความกรุณา และก็คงไม่พ้นความสงสารนั่นเอง แต่ความทั้งหลายจะไม่มีความดูถูกเข้าไปเกี่ยวข้อง อันนี้คือรูปแบบความคิดของฉันเองนะคะและฉันเองก็ปฏิเสธความคิดตัวเองไม่ได้ว่าฉันช่วยเหลือเขาเหล่านั้นเพราะความสงสาร ทั้งนี้การให้ความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือของฉันก็มีต้นตอความคิดในหลายรูปแบบตามแต่สถานการณ์ เช่น ฉันบริจาคของให้คนพิการก็มีต้นตอความคิดมาจากความสงสารและความเห็นใจ แต่ถ้าเป็นการช่วยเหลือกับผู้ที่เขาพึ่งพาตัวเองได้ยกตัวอย่างถ้ามีหญิงท่านหนึ่งมาร้านถ่ายเอกสารพอเขาหยิบเอกสารจะมาถ่ายปรากฎว่ามีรอยดินสอบนเอกสาร หญิงผู้นั้นถามพนักงานร้านถ่ายเอกสารว่ามียางลบไหม พนักงานบอกไม่มี หญิงท่านนั้นก็บอกไม่เป็นไรค่ะงั้นเดี๋ยวเดินไปเอาที่รถ พอฉันได้ยินก็รู้สึกว่าฉันอยู่ใกล้กว่ารถเขา เลยให้เขายืมยางลบ ซึ่งแบบนี้ก็เป็นความเมตตา ความเห็นใจ ความกรุณาอย่างหนึ่งแต่เป็นการช่วยแบบการอำนวยความสะดวก สรุปก็คือความเมตตา ความกรุณา รวมทั้งความสงสารหรือความเห็นใจก็คงเป็นองค์รวมของความดีก้อนหนึ่งที่พร้อมจะส่งต่อให้ผู้อื่นโดยมีพื้นฐานทางความคิดก่อนที่จะส่งมอบในรูปแบบที่ต่างกันด้วยการปราศจากความดูถูกเท่านั้นเอง อันนี้คือรูปแบบการแบ่งปันของตัวฉันเอง มาต่อด้วยคุณกอล์ฟค่ะ คุณกอล์ฟพูดถึงความเท่าเทียมอีกครั้งค่ะ คุณกอล์ฟบอกว่า "ตัวเราเองคือสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้น พ่อ แม่ คุณครูบอกว่าเราเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แล้วคุณกอล์ฟบอกว่าจิตดั้งเดิมแท้ของมนุษย์เป็นเหมือนกันหมด เหมือนองค์กรรมาปะที่ท่านเป็นผู้นำที่อยู่ด้านหลังแต่ทุกคนรู้ว่าท่านอยู่ด้านหน้าเรื่องการวางตัว แล้วคุณกอล์ฟจบที่ความประทับใจในเรื่องของการวางตัวขององค์กรรมาปะนี่แหละค่ะ"  คราวนี้ก็ถึงคิวคุณกันต์แล้วค่ะ "คุณกันต์ใช้การอ่านหนังสือเพื่อหาคำตอบในสิ่งที่ตนคิดและทำขึ้นว่ามันคืออะไร คุณกันต์ชอบในบทแรกคือเรื่องของความว่างเปล่าและการพึ่งพาอาศัยกัน ขออภัยนะคะฉันไม่ได้ลำเอียงนะคะแต่เวลาคุณกันต์พูดทีไรดึงดูดความสนใจของฉันได้ดีทีเดียวเชียวค่ะ เรื่องนี้ก็เช่นกัน ^^ คุณกันต์บอกว่าความว่างเปล่าคือความเป็นไปได้โดยไม่มีขอบเขตที่จำกัด คุณกันต์เองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในตัวได้อย่างไร เขาเองก็คงต้องอาศัยเวลาหาคำตอบต่อไป คุณกันต์บอกว่ามีความคิดของคนกลุ่มหนึ่งว่าคนผิวดำคือคนที่มีความรุนแรงเราไม่ควรที่จะเข้าหา แต่ตัวคุณกันต์อยากจะเข้าหาเพราะอาจจะไม่รุนแรงขนาดนั้นด้วยความเชื่อที่ว่ามันมีอีกรูปแบบหนึ่งที่อาจเป็นไปได้ นี่แหละคือรูปแบบของความว่างเปล่าที่เราไม่ได้ไปยึดติดกับความเชื่อเดิมๆอะไรมาก อีกเรื่องที่คุณกันต์จะกล่าวถึงคือการพึ่งพากันเขามองเห็นการเชื่อมโยงระหว่างคนชั้นกลางกับชั้นที่มีต้นทุนสูง เขาได้ยกตัวอย่างเช่นหนังสือเล่มหนึ่งกว่าจะออกมาเป็นหนังสือได้ต้องอาศัยคนชนชั้นกลางประสานงานกันตั้งหลายคน แต่คนที่มีต้นทุนสูงกลับคิดว่าแค่การที่เขาจ่ายเงินซื้อมันก็น่าจะเพียงพอแล้ว แล้วตัวคุณกันต์เองก็ยังคงพูดถึงเรื่องของความทุกข์ที่เกิดจากความคาดหวังและความยึดติด ซึ่งสุดท้ายคุณกันต์ก็บอกว่าเขาก็รู้สึกดีที่การอ่านหนังสือเล่มนี้มันทำให้เกิดกระบวนการคิดที่ทำให้เข้าใจถึงที่มาที่ไปของตัวเองมากขึ้นนั่นเอง"
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


.........เพิ่มเติมความเห็นช่วงท้ายของนักเปลี่ยนแปลง...........

              อ่อยังไม่จบค่ะยังมีการเพิ่มเติมจากคุณเรือรบอีกหน่อยในเรื่องของ next step (การเดินทางของจิตวิญญาณ) คุณเรือรบได้พูดถึงการอธิบายขององค์กรรมาปะซึ่งท่านบอกว่าการเดินทางทางธรรมคือการเดินทางเข้าไปในใจของตนเอง แล้วนำประสบการณ์ทั้งชีวิตของเราเพื่อมาเข้าใจ แล้วองค์กรรมาปะก็ยังพูดถึงองค์ประกอบสามองค์ประกอบที่ใช้ในการเดินทาง องค์ประกอบแรกคือคำสอนของศาสนาสมมติว่าเรายังไม่มีศาสนา ท่านบอกว่าคำสอนใดที่ทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้นคุณก็ศึกษาอันนั้นเลย ท่านกล่าวไว้ง่ายๆแบบนี้ องค์ประกอบที่สองคือเรื่องของการเลือกครูอาจารย์องค์กรรมาปะก็กล่าวไว้ว่าการเลือกก็เลือกจากการที่ท่านมีเมตตา และการที่เราไว้วางใจท่าน และองค์ประกอบที่สามก็คือเพื่อน ท่านบอกว่าเพื่อนคือผู้ที่รับฟังและยอมรับในสิ่งที่เราเป็น และเป็นแรงบันดาลใจให้เรา สุดท้ายคุณเรือรบก็บอกว่าการเดินทางของเรานั้นก็เพื่อเดินทางไปหาความสุขที่แท้จริง แต่ยังไม่จบแค่นั้นค่ะคุณเรือรบยังพูดถึงเรื่องของการบริโภคนิยมอีก คราวนี้เป็นการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็นลำดับไปวนเป็นวัฏจักรตั้งแต่ระดับประชาชน ระดับชุมชน ระดับประเทศ ประมุขของประเทศ แล้วสุดท้ายกลับมาที่ประชาชนที่เป็นผู้ต้นคิดแต่ถูกโยนไปตามลำดับชั้นมาก่อนหน้านี้ และโดยส่วนใหญ่เราก็ชอบคิดว่าเราเป็นเพียงแค่ประชาชนตัวน้อยแล้วเราจะไปทำอะไรได้ จึงมีคำพูดหนึ่งจากองค์กรรมาปะท่านบอกว่าเพราะพวกเราคิดกันแบบนี้มันถึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง พอจบประโยคนี้ฉันคิดขึ้นมาได้อย่างหนึ่งว่าครั้งหนึ่งฉันได้ดูวีดีโอที่อาจารย์ท่านให้ดูเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริโภคนี่แหละค่ะ ตอนนั้นฉันเขียนความเห็นที่ได้จากการดูวีดีโอนี้ในภาพสรุปที่ว่าเราเป็นแค่คนกลุ่มเล็กๆแล้วจะไปทำอะไรได้เหมือนกันเป๊ะเลย!! องค์กรรมาปะบอกว่าเราเปลี่ยนแปลงโลกเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมได้ง่ายมากเลย เพียงแค่เราเลิกกินเนื้อสัตว์ คราวนี้คุณเรือรบก็ไล่ถามผู้ร่วมดำเนินรายการแต่ละท่านเลยว่าทำได้ไหมคำตอบเป็นเอกฉันท์มากค่ะ คือไม่ได้หรือถ้าได้ก็คงต้องใช้เวลานานมาก องค์กรรมาปะอธิบายให้เห็นภาพว่าการใช้พื้นที่ 1 เอเคอร์ในการเลี้ยงวัวหนึ่งตัวเพื่อเลี้ยงคน 5 คนแต่ขณะเดียวกันถ้าเปลี่ยนเป็นปลูกผักด้วยพื้นที่ที่เท่ากันนี้จะเลี้ยงคนได้ถึง 100 คน เพราะฉะนั้นถ้าเราเปลี่ยนมาเป็นกินมังสวิรัตจะลดการใช้ทรัพยากรได้ขนาดไหน ไหนจะลดจำนวนคนเลี้ยงวัว คนที่ไปเอาพืชมาให้วัวกิน หรือการปศุสัตว์ต่างๆนา สิ่งเหล่านี้จะเห็นว่าการเปลี่ยนจากการบริโภคเนื้อสัตว์มาเป็นกินมังสวิรัติแทนนั้นช่วยทั้งในเรื่องของสภาพแวดล้อม จริยธรรม สุขภาพ เห็นว่าช่วยให้ดีขึ้นได้ตั้งสามเรื่องแต่เทียบกับความอยากแค่เรื่องเดียวทำให้เราพับสามเรื่องนั้นไป จะเห็นว่าเราเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ องค์กรรมาปะท่านบอกว่าไม่ยากเพียงแค่เราเดินเข้าไปซุปเปอร์มาร์เก็ตแล้วให้คิดว่าเราซื้อของเพื่ออนาคตของโลก อุต่ะ!!ยากเหมือนกันนะคะเนี่ย  -,-! อ่อแล้วคุณเชฟหมีก็พูดต่อในประเด็นที่ทำให้ฉันเบาใจในความคิดที่ว่าเราเป็นแค่คนเล็กๆจะทำอะไรได้นั้นไปค่ะ คือคุณเชฟหมีบอกว่าขออนุญาตเถียงองค์กรรมาปะด้วยความเคารพ -,-! คือด้วยสังคมเรารัฐบาลให้การสนับสนุนกับองค์กรผู้ผลิตเนื้อสัตว์ขนาดใหญ่ทำให้เนื้อสัตว์หาซื้อได้ง่ายกว่าพวกอาหารกรีน ดังนั้นเราควรที่จะมีการสร้างองค์กรหรือเครือข่ายเพื่อเข้าไปต่อรองในเรื่องพวกนี้ด้วย สรุปก็คือเราก็จะต้องช่วยกันทั้งสองทางทั้งระดับบนและระดับล่างอย่างพวกเรา แต่คุณเรือรบก็ดึงกลับเข้ามาด้วยประเด็นที่ว่าสุดท้ายแล้วเราที่เป็นกลุ่มเล็กๆก็ต้องมีการขับเคลื่อนเพื่อมีส่วนช่วยในการลด demand ของเนื้อสัตว์ลงเดี๋ยวโครงสร้างก็จะค่อยๆเปลี่ยนเอง พอคุณเรือรบพูดจบคุณเชฟหมีก็เปิดโอกาสให้นักเปลี่ยนแปลงท่านอื่นที่ยังอยากจะพูดอยู่ได้พูดต่อหรือเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย ก็มี คุณกันต์ คุณกอล์ฟและคุณต่อก็ได้พูดตามลำดับ ฉันขออนุญาตสรุปใจความที่คุณกันต์ คุณกอล์ฟและคุณต่อพูดนะคะ คุณกันต์บอกว่า เขาเชื่อว่าหัวใจอันประเสริฐมีอยู่ในตัวทุกคนเพียงแต่ว่าคุณกล้าที่จะทำหรือไม่ แต่ก่อนที่จะทำคุณก็ควรที่จะเข้าใจตัวเองก่อนคือไม่ใช่แค่ทำไมแต่มันต้องทำให้ตัวเองรู้สึกว่าอยากจะเปลี่ยน ส่วนคุณกอล์ฟก็บอกว่าหัวใจอันประเสริฐมีในตัวทุกคนและมันอยู่ใกล้เรามาก เพียงแต่เรามองไม่เห็นเลยทำให้มันรู้สึกว่ามันไกล และปิดท้ายที่คุณต่อบอกว่าการทำธุรกิจที่พวกเราทำกันอยู่ก็มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาสังคมได้ทั้งนั้น เช่น ขายก๋วยเตี๋ยวก็ช่วยแก้ปัญหาความหิวให้คนในสังคมได้ เป็นต้น แล้วคุณต่อก็ได้ให้เราลองคิดว่าสิ่งที่เราทำนั้นส่งผลดีต่อสังคมและส่งผลเสียต่อสังคมอย่างไรบ้าง ช่วยเพิ่มผลดีและลดผลเสียให้กับสังคมได้ไหม และก็ควรเป็นการทำที่ยั่งยืนด้วย และแล้วคุณเชฟหมีก็อดไม่ได้ที่จะขอร่วมแชร์ความประทับใจในองค์กรรมาปะด้วย

               คุณเชฟหมีชอบประโยคหนึ่งที่องค์กรรมาปะเขียนคือค้นพบสิ่งใหม่ด้วยตัวเอง องค์กรรมาปะบอกว่าพระพุทธเจ้าใช้ปัญญาในการค้นพบความหมายของชีวิตด้วยพระองค์เอง นั่นคือการค้นพบความจริงเกี่ยวกับตัวเราไม่ได้เอามาจากตำราหรือพิธีกรรมหรือคนอื่นสุดท้ายคำสอนทั้งหมดนั้นมันอยู่ที่ตัวเรา ประโยคนี้ในหนังสือทำให้คุณเชฟหมีคิดถึงสหายท่านหนึ่งสหายของเขาได้เคยบอกกับคุณเชฟหมีว่า “ให้คุณเชฟหมีทดลองใช้ชีวิตไป ถ้าคุณพลาดก็แค่เสียเวลาไปชาติเดียวเอง” จากเดิมที่คุณเชฟหมีระมัดระวังในการใช้ชีวิตภายใต้กรอบของหลักธรรมคำสอนจนบางครั้งเชฟหมีเองก็รู้สึกกดดันนั้นได้ผ่อนคลายกันเลยทีเดียว 55+ คุณเชฟหมีก็ปิดท้ายด้วยการบอกว่าให้คุณได้ใช้ชีวิตไปตามแบบของคุณเอง และเชื่อมั่นในตัวเอง

.........เปิดข้อซักถามจากผู้ฟัง.........

              คราวนี้ก็ดำเนินมาถึงช่วงท้ายรายการแล้วค่ะคือการเปิดให้ผู้ฟังได้ถามคำถาม มี 2 ท่านค่ะ ท่านหนึ่งออกแนวถามคำถามส่วนอีกท่านจะเป็นแนวแลกเปลี่ยนความคิดกันมากกว่า

>>>> ท่านแรกถามว่าท่านนักเปลี่ยนแปลงแต่ละท่านมีความคิดที่อยากจะกลับไปมีชีวิตรูปแบบเดิมหรือไม่ เพราะดูแต่ละท่านนั้นมีจุดเปลี่ยนจากชีวิตรูปแบบเดิมกันทุกท่านเลย คำตอบที่ได้แต่ละท่านก็จะออกแนวเดียวกันคือก็มีความคิดถือว่าเป็นความคิดเทียบกับแบบเดิมมากกว่า แต่เมื่อการพัฒนาตนมันเป็นสิ่งที่ดีกว่าก็คงไม่มีใครที่อยากจะกลับไปหาสิ่งที่เลวร้ายกว่า

>>>> คราวนี้มาถึงท่านสุดท้ายเป็นหญิงท่านหนึ่งอายุ 66 ปี เขาบอกว่ามาฟังคนรุ่นใหม่(คือนักเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย)ก็เสมือนได้ยินเสียงสะท้อนของตัวเอง หญิงท่านนี้บอกว่าเขามีการเปลี่ยนแปลงตัวเองในทุกวัน และก็ไม่บังอาจแต่ได้ทำในการเปลี่ยนแปลงผู้อื่นร่วมด้วย สิ่งที่ทำให้ความคิดเขาเปลี่ยนคือการอ่านหนังสือ หญิงท่านนี้บอกว่าแต่ละครั้งที่เรารับสารเข้าไปนั้นมันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในความคิดของเรามาก่อน แล้วเราก็เลือกที่จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน จะตามเขาหรือไม่ตาม ที่เขาใช้คำว่าตามเพราะโลกนี้ไม่มีอะไรใหม่เขาคิดมาไว้หมดแล้ว ดังนั้นการที่คุณบอกว่าคิดใหม่คือเป็นเพียงแค่การที่ใช้คำพูดใหม่เท่านั้น หญิงท่านนี้เคยไปที่อาศรมวงศ์สนิทได้มีการคุยกันและทำกิจกรรมอื่นๆอย่างเสมอภาคกันด้วยสิ่งแวดล้อมทำให้คนที่ไปร่วมกิจกรรมนั้นรู้สึกดี แต่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับหญิงท่านนี้คือหนังสือ ด้วยความที่หญิงท่านนี้เป็นนักส่งเสริมการอ่านเขาก็เลยอยากจะชวนให้หลายๆท่านได้สัมผัสกับใจความในหนังสือแล้วพิจารณาว่าอะไรที่จะหยิบยกมาใช้กับตัวเองได้บ้าง ยังไม่จบเพียงเท่านี้ พอมาถึงช่วงท้ายๆฉันเองก็มีแอบลุ้นว่าเมื่อไหร่จะจบอ่ะนะคะ เพราะฟังไปฟังมาฉันเหมือนรู้สึกว่าเป็นเรื่องเดิมๆที่ทุกคนต่างก็มีความคิดเห็นเป็นของตัวเองกันอยู่ดีหรืออาจจะเป็นการแนะนำแนวทางให้เกิดเป็นจิตอาสาด้วยหัวใจอันประเสริฐที่ทุกคนมีอยู่แล้ว ซึ่งช่วงท้ายคุณต่อเองก็กล่าวเช่นนั้น คุณต่อบอกว่าหัวใจอันประเสริฐที่มีในตัวทุกคนหากรู้ว่าต้องการทำอะไรก็ให้ลองสร้างเครือข่ายดูแล้วมันก็จะขับเคลื่อนไปได้ที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้น และมีคนกอล์ฟเสริมท้ายอีกนิดหน่อยว่าการทำสิ่งที่ดีให้ดูเป็นแบบอย่างเดี๋ยวสิ่งรอบข้างก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามเอง แล้วสุดท้ายก็จะกลับมาเป็นการพัฒนาตนเอง
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


.........ถ่ายทอดผ่านตัวตน.........

               ได้รับทราบเรื่องราวความเห็นจากนักเปลี่ยนแปลงแต่ละท่านตามหัวข้อดังกล่าวกันแล้ว คราวนี้ฉันขอบันทึกความคิดเห็นและความรู้สึกจากการรับฟังเรื่องราวทั้งหมดในภาพรวมไว้บ้างนะคะ การที่ฉันได้รับฟังเรื่องราวจากกลุ่มคนที่มีแนวคิดหรือมีทัศนคติที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือมีความเป็นกลางๆในการพูดสำหรับฉันรู้สึกว่าเป็นการฟังที่ไม่น่าเบื่อ ไม่เหมือนการฟังที่เป็นการโต้ไปในทางใดทางหนึ่ง ถึงจะได้แนวคิดเหมือนกันแต่มันก็ให้อรรถรสในการฟังที่ต่างกัน สำหรับเรื่องราวจากนักเปลี่ยนแปลงแต่ละท่านที่ฉันได้รับฟังในวันนี้อย่างที่บอกในตอนต้นว่าบางช่วงของการเสวนาตัวฉันเองเหมือนถูกลากจิตวิญญาณให้ออกมาจากเบื้องลึกในตัวตน แต่มันก็ออกมาให้ฉันได้พิจารณาตนเอง ได้คิดทบทวนสิ่งต่างๆไปพร้อมๆกัน ถ้าจะให้ออกความคิดเห็นฉันมีคำถามหนึ่งที่อยากจะถามกลับไปยังนักเปลี่ยนแปลงแต่ละท่านว่า ท่านไม่คิดจะรวมตัวเป็นกลุ่มเดียวกันบ้างหรือ? แต่ละคนมีกลุ่มเป็นของตัวเองที่ช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ หากแต่เอาแต่ละกลุ่มมารวมกันก็คงจะสนับสนุนซึ่งกันและกันและส่งต่อไปยังสังคมได้ไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากนี้ด้วยระหว่างที่ฉันได้รับฟังที่บอกว่าฉันเหมือนถูกกระชากจิตวิญญาณนั้น สุดท้ายวิญญาณของฉันไม่ได้หลุดกรอบเตลิดเปิดเปิงออกไปไกลก็ด้วยธรรมนี่แหละค่ะ เพราะขณะที่ฉันรู้สึกฟุ้งกระจายไปกับความคิดมีประโยคสองประโยคมาเบรคฉันไว้คือ “เห็น....ไม่เป็น”, “ไม่เป็นอะไร กับอะไร” เพราะการที่เราได้รับฟังมันก็มีทั้งที่เห็นด้วยและก็ไม่เห็นด้วยเกิดขึ้นในใจมากมาย เถียงกันได้แม้กระทั่งในใจ ฉันรู้สึกว่าถ้าเอาความรู้สึกที่แสดงอยู่ภายในให้มันมาแสดงอยู่ภายนอกวันนั้นทั้งวันก็คงเถียงกันไม่จบ

                คนเราเป็นธรรมดาที่จะมีความคิดเห็นที่ต่างกัน ต่างคนต่างความคิด ไม่มีใครผิดไม่มีใครถูก ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะคิด เมื่อได้แต่คิด คิด คิดและก็คิด ก็คงมีบ้างที่มันจะรู้สึกตื้อๆ ก็คงเป็นเพราะคิดมากไป จากอาการเหล่านี้ถ้าให้มองกลับเข้ามาในเรื่องของธรรมที่ฉันได้สัมผัสมันคือความหลง หลงเข้าไปในความคิด ความฟุ้งซ่านทางจิตใจ นั่นคือสภาวะที่เราไม่รู้สึกตัว ความจริงเราสามารถที่จะมองความแตกต่างทางความคิดหรือความแตกต่างของทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างเรากับผู้อื่นให้เป็นเรื่องธรรมดาได้ด้วยสติ แล้วผลที่ฉันได้สัมผัสรูปแบบฉันให้มันอยู่ในคำว่าความเข้าใจ เมื่อเราเข้าใจทุกอย่างได้อย่างชัดเจนนั่นก็คือการปล่อยวางอย่างแท้จริง ฉันเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่เพื่อนให้อ่านมีใจความหนึ่งบอกว่า “การปล่อยวางไม่ใช่การวางในสิ่งที่ยึดไว้ไม่อยู่ แต่มันคือการเข้าใจทุกอย่างอย่างชัดเจน” เอาจริงๆฉันก็ยังทำไม่ได้ในทุกเรื่องหรอกค่ะ แต่เท่าที่เคยทำได้มันก็ดูมีความสุขดีนะคะ แต่ก็มีคำสอนของหลวงพ่อคำเขียนบอกว่าไม่ให้ยึดอยู่ในสุขและทุกข์ ให้รู้ซื่อๆพอ แหม่!!มันก็ยากดีนะคะกับการที่จะรู้ซื่อๆ -,-! ถ้าจะให้ประมวลเป็นภาพก็คงจะมีลักษณะนี้ค่ะ



 วงกลมๆทั้งหลายในกรอบสี่เหลี่ยมก็คือเรื่องราวต่างๆที่ทุกคนได้มีประสบการณ์และรับรู้มาจากผู้ที่มีแนวความคิดที่โดดเด่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เอามาถ่ายทอดให้พวกเราได้รับรู้ แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้อยู่ภายใต้ธรรมในแง่ของความดีงาม แต่อีกด้านหนึ่งของธรรมคือการบรรลุซึ่งนิพพานที่ต้องมีพื้นฐานหรือต้นทุนมาจากความดีงามเหล่านี้ ดังนั้นฉันจึงคิดว่าการรับฟังเรื่องราวต่างๆจากทั่วทุกมุมโลกตามกรอบวงกลมๆมันมีส่วนช่วยในการสร้างทัศนคติ สร้างความตระหนัก หรือคอยดึงเราให้อยู่ในพื้นฐานของความดีงามคือเป็นบุคคลที่รู้จักการให้ การแบ่งปัน มีเมตตากรุณา หรือเมื่อมีการให้มากขึ้นผลอีกอย่างหนึ่งก็คงเป็นสิ่งที่เกิดควบคู่กันไปก็คือการกลับมาเข้าใจตนเอง ไม่รู้ว่าอะไรเป็นสิ่งหลักอะไรเป็นสิ่งรองสำหรับตัวฉัน ณ ตอนนี้คือไม่เข้าใจว่าตอนนี้ฉันกำลังเข้าใจตนเองอยู่หรือกำลังพัฒนาตนเองอยู่หรือกำลังเป็นผู้ให้ด้วยความสุขอยู่ คือมันเกิดขึ้นมาอย่างมั่วๆเป็นระยะๆ แต่สิ่งที่เป็นขอบเขตให้ฉันไม่หลุดจากกรอบคือธรรม การรู้สึกตัว การมีสติ ทุกครั้งที่ฉันคิดเพ้ออยากจะทำโน่นทำนี่จนเกินไป ฉันก็กลับมาอยู่กับปัจจุบันด้วยความรู้สึกตัวนี่แหละค่ะ และค่อยๆประคับประคองการก้าวเดินให้ไปถึงจุดหมายอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่จะทำได้ อ่ออย่างหนึ่งที่ฉันมีความคิดอยากจะทำ(เสมือนเป็นอีกวงกลมหนึ่งในกรอบสี่เหลี่ยมของธรรม)คือการช่วยเหลือคนชรา ก็มีความคิดอยู่เหมือนกันว่าถ้าวันหนึ่งที่ฉันพร้อม ฉันอาจจะเข้าไปขอจับมือกับนักเปลี่ยนแปลงทั้งสี่ท่านตั้งเป็นกลุ่มกลุ่มหนึ่งที่ช่วยเหลือสังคมอย่างครบวงจร ฉันอยากจะเป็นส่วนในการเติมเต็มให้กับคนชราหรือผู้สูงอายุค่ะ เพราะฉันรู้สึกว่าคนชราทั้งหลายครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นผู้ให้ แต่พอมาถึง ณ ช่วงปลายของชีวิตเขากลับไม่ได้เป็นผู้รับเท่าที่ควร มันดูไม่ยุติธรรมเลยในชีวิตของคนเหล่านี้ แล้วคุณ หล่ะคะ คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับการรับรู้เรื่องราวเหล่านี้ ลองเขียนเป็นบันทึกเก็บไว้ของตัวคุณเองก็ได้นะคะ เผื่อการเขียนมันจะสะท้อนให้คุณได้เห็นหรือเข้าใจตนเองมากขึ้นเหมือนที่ฉันได้รับอยู่ขณะนี้

                                                                                                                      .........ชาญนรินทร์........
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...