พาโรซอง สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน



• ชนชาติประเทศภูฏาน
• ภูฏาน ประกอบด้วยชนชาติ 3 เชื้อชาติใหญ่ คือ
1.ชาชฮอป คนพื้นเมืองเดิม ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออก
2.งาลอป ชนเชื้อสายทิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก
3.ลาร์ทเชมส์ ชนเชื้อสายเนปาล อยู่ทางใต้ เป็นพวกที่อพยพมาเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา
• นอกจากนี้ยังมีชนชาติอื่นๆ อีกหลายชนเผ่า มีภาษาแยกย่อยออกไปอีกราว 19 ภาษา
• การแบ่งเขตการปกครองประเทศภูฏาน
• ประเทศภูฏานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขตบริหาร และแต่ละเขตบริหารก็แบ่งย่อยลงไปอีกเป็นเขต รวมทั้งหมด 20 เขต
1.เขตบุมทัง 2.เขตชูคา 3.เขตดากานา 4.เขตกาซา
5.เขตฮา 6.เขตลฮุนต์ชิ 7.เขตมองการ์ 8.เขตพาโร
9.เขตเปมากัตเซล 10.เขตพูนาคา 11.เขตซัมดรุปจงคาร์ 12.เขตซัมชิ
13.เขตซาร์ปัง 14.เขตทิมพู 15.เขตตาชิกัง 16.เขตตาชิยังต์ซี
17.เขตตงซา 18.เขตชิรัง 19.เขตวังดีโพดรัง 20.เขตเชมกัง
วัดทักซัง วัดศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของประเทศภูฏาน
ธงมนตราระหว่างทางวัดทักซัง


• ภาษาประจำถิ่นและภาษาสื่อสารของประเทศภูฎาน
• ภูฏานมีภาษาราชการหรือภาษาประจำชาติเรียกว่า ภาษาซงคา หรือ ฌงฆะ หรือ ซองคา (Dzongkha) ก่อนหน้านั้นเป็นภาษาถิ่นใช้กันในแถบตะวันตก อักขรวิธีและการออกเสียงคล้ายภาษาทิเบต มีแบบอย่างมาจากเทวนาครีของสันสกฤต
• ซงคา คล้ายภาษาภาคกลางของทิเบต ซง หรือ ซอง แปลว่า ป้อมปราการที่อยู่ของเจ้าเมือง ซองคา หมายถึง ชาวป้อมปราการ เป็นภาษาที่ชาวชาชฮอปใช้กันมาก เมืองบุมทัง ภาคกลางของประเทศพูดคล้ายทิเบตและยังแยกย่อยไปอีกหลายภาษา ส่วนชาวเนปาลีอพยพอยู่ในภาคใต้พูดภาษาตระกูลอินโดอารยัน
• ชาวภูฏานพูดภาษาอังกฤตได้ตั้งแต่เป็นเด็กเล็กมาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว แม้ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของชาติใดมาก่อนเลย ทั้งนี้เพราะภูฏานมีโรงเรียนที่สอนภาษาอังกฤตเป็นภาคบังคับ นักท่องเที่ยวจึงสามารถสื่อสารกับชาวภูฏานด้วยภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นวิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศที่ต้องการให้พลเมืองของตนไปศึกษาหาความรู้ทางตะวันตกต่อไปในภายหน้า หรือรู้เท่าทันโลกภายนอกให้มากขึ้น อีกทั้งเพื่อใช้สื่อสารกับอาคันตุกะจากต่างแดนและการแสวงหาวิทยาการของโลก รวมถึงสื่อสารกับชาวเนปาลและอินเดียได้ง่ายขึ้น
• อย่างไรก็ตามคนภาคตะวันออกจะพูดภาษา ชาชฮอป (Sharchop) หรือ ฮาชังลา ทางตอนใต้เป็นพลเมืองเชื้อสายเนปาลที่อพยพเข้ามาเข้ามาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จะพูดเป็นภาษาเนปาลี หรือ อินโดอารยัน ส่วนตอนกลางของประเทศ ตามหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่ห่างไกลเมืองใช้ภาษาท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้ ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางในภูฏานที่ใช้ได้เกือบทุกภาค
ทาชิโชซอง เมืองทิมพ ูสถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
วัดชันกังคา (Changangkha)



เมมโมเรียลโชเตน ภูฏาน




• สัญลักษณ์ประจำชาติภูฏาน
• เพลงชาติ : เพลงชาติของภูฏานแต่งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1966 เนื้อความท่อนแรกเพลงชาติของภูฏานแปลความได้ว่า "ในแผ่นดินมังกร แดนสนไซเปรสแดงทางทิศใต้ ขอพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทำนุบำรุงแผ่นดินและพระศาสนา จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเทอญ"
• ธงชาติภูฏาน ท่านมายุม โชยิง วังโม โดร์จี ได้คิดประดิษฐ์ธงชาติภูฏานขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 และในปี ค.ศ. 1956 ก็ได้ปรับเปลี่ยนธงใหม่จนมีรูปลักษณ์ดังเช่นในปัจจุบัน
• สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง อำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
• สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเลื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ
• มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ อันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น แสดงออกถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน
• ตราแผ่นดินภูฏาน ตราแผ่นดินของภูฏานเป็นรูปวงกลม ทำเป็นรูปดอกบัวรองรับวัชระและดวงแก้ว สองข้างขนาบด้วยมังกรสองตัว วัชระเป็นสัญลักษณ์แทนสมดุลทางอำนาจระหว่างศาสนจักรและอาณาจักร ซึ่งอุบัติขึ้นได้เพราะมีพุทธศาสนาสายวัชรยานคอยค้ำจุน ดอกบัวเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ดีงาม ดวงแก้ว หมายถึงพระราชอำนาจอันเปี่ยมล้นของพระมหากษัตริย์ มังกรคู่ (ตัวผู้กับตัวเมีย) เป็นที่มาของชื่อดรุ๊กยุล (แผ่นดินมังกรสายฟ้า) ซึ่งเป็นชื่อของประเทศภูฏานในภาษาซงคา
• สัตว์ประจำชาติภูฏาน : ทาคิน (Burdorcas taxicolor) เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ เป็นสัตว์ตีนกีบใหญ่และแข็งแรง เหมาะกับการเดินลุยหิมะได้อย่างสะดวกสบาย มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ มีน้ำหนักตัวราว 250 กิโลกรัม มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป เป็นสัตว์กินหญ้า เคลื่อนไหวค่อนข้างช้า รอ่นเร่หากินอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 ฟุต ขึ้นไป พบในภูฏาน ทิเบต และทางตะวันออกของจีน ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร
• ทาคิน เป็นสัตว์ในตำนานประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนามหายานในภูฏาน มีเรื่องเล่าว่า ลามะจากทิเบตองค์หนึ่ง ชื่อว่า ดรุกปา คุนจี มีฉายาว่า "เทพเจ้าผู้บ้าคลั่ง" เข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาตันตรยานในภูฏานในศตวรรษที่ 15 ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ จนชาวภูฏานถึงกับตกตะลึงมาแล้ว ต่อมา พระลามะองค์นี้ได้สั่งให้ชาวภูฏานนำวัวตัวหนึ่งกับแพะตัวหนึ่งมาถวายเป็ฯอาหารกลางวัน ลามะท่านนี้กินวัวกับแพะจนเหลือแต่กระดูก แล้วก็หิ้วหัวแพะไปต่อกับโครงกระดูกวัว จากนั้นก็ดีดนิ้วเปาะหนึ่ง พริบตานั้น หัวแพะกับโครงกระดูกวัวนั้น กลายเป็นสัตว์มีนามว่า "ทาคิน" จนกลายเป็นที่เลื่องลือในยุคนั้น และจึงกลายเป็นสัตว์ประจำชาติภูฏานมาจนถึงทุกวันนี้
• ต้นไม้ประจำชาติภูฏาน : ต้นสนไซปรัส นิยมปลูกอยู่ตามวัดต่างๆ จำนวนมาก เพราะต้นสนไซปรัส เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นตรงดูสง่างาม เข้มแข็งแต่อ่อนน้อม และเป็นต้นไม้ที่เจริญงอกงามได้ทุกสภาพอากาศ ชาวภูฏานได้ชื่อว่าซื่อตรงและแข็งแกร่งเฉกเช่นเดียวกับสนไซปรัส ที่ยืนหยัดและงอกงามได้แม้ในดินที่หาความอุดมสมบูรณ์ไม่ได้เลย
• ดอกไม้ประจำชาติภูฏาน : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ออกดอกปีละครั้งตอนต้นฤดูมรสุม (ระหว่างปลายเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม) เมื่อออกดอกให้เมล็ดแล้วต้นจะตายไป เมล็ดดอกป๊อปปี้สีฟ้ามีน้ำมันมาก ถิ่นที่พบอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของภูฏานไปจนทิศตะวันตกของภูฏาน
• นกประจำชาติภูฏาน : นกราเวน (Corvus corax) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลอีกา มีขนสีดำขลับ และใช้เป็นเครื่องประดับพระมาลาของพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้นกราเวนยังเป็นตัวแทนของเทพกมโป จาโรดนเซ้น (ท้าวมหากาฬภาคมีเศียรเป็นอีกา) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทพผู้ปกปักรักษาภูฏานที่ทรงเห็นความสำคัญอย่างยิ่งอีกด้วย
• อาหารประจำชาติภูฏาน : อาหารพื้นบ้านเป็นอาหารเรียบง่าย อาหารหลักเป็นทั้งข้าว บะหมี่ ข้าวโพด ยังนิยมเคี้ยวหมากอยู่ อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยพริก ผักและมันหมู อาหารประจำชาติคือ emadate ซึ่งประกอบด้วยพริกสดกับซอสเนยต้มกับหัวไชเท้า มันหมูและหนังหมู ชาวภูฏานนิยมอาหารรสจัด เครื่องดื่มมักเป็นชาใส่นมหรือน้ำตาล ในฤดูหนาวนิยมดื่มเหล้าหมักที่ผสมข้าวและไข่ ไม่นิยมสูบบุหรี่ นอกจากนั้นมีอาหารจากทิเบต เข่นซาลาเปาไส้เนื้อ ชาใส่เนยและเกลือ และอาหารแบบเนปาลในภาคใต้ที่กินข้าวเป็นหลัก