ผู้เขียน หัวข้อ: ไขความลับพระทิเบตวัย 69 ที่วิทยาศาสตร์ถือว่าเป็น ‘มนุษย์ที่มีความสุขที่สุดในโลก’  (อ่าน 1449 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
ไขความลับพระทิเบตวัย 69 ที่วิทยาศาสตร์ถือว่าเป็น ‘มนุษย์ที่มีความสุขที่สุดในโลก’!?

ทุกคนล้วนปราถนาที่จะเป็น ‘คนมีความสุข’ แต่ความกดดันและความรับผิดชอบหลายอย่าง ก็มักนำความเครียดมาให้ จนหลายครั้งเราหลงทางและกลายเป็นคนไม่มีความสุขแบบไม่รู้ตัว

บางทีมันก็อดสงสัยไม่ได้ว่า จะมีใครสักคนมั้ยที่มีความสุขกับชีวิตแบบมหาศาล ถึงขนาดที่ถูกเรียกว่าเป็น ‘คนที่มีความสุขที่สุดในโลก’? ซึ่งหากคุณถามคำถามนั้นกับนักวิจัยทางประสาทวิทยาล่ะก็ ชื่อของ ‘Matthieu Ricard’ จะต้องปรากฏให้ได้ยิน เพราะท่านคือบุรุษที่คนในวงการวิทยาศาสตร์ยกย่องว่าเป็นคนที่ ‘มีความสุขที่สุดในโลก’

Matthieu Ricard คือพระแห่งธิเบต ท่านได้ร่วมเข้าการศึกษาสมองกว่า 12 ปี ของโครงการวิจัยมหาวิทยาลัย University of Wisconsin ซึ่งเขาจะต้องถูกวัดระดับความสุขด้วย เซ็นเซอร์ 256 รูปแบบ และนักวิจัยอย่าง Richard Davidson ก็ได้ค้นพบความน่าทึ่งเมื่อ Matthieu Ricard เข้าสู่สภาวะสมาธิและมีระดับความสุข ความอ่อนโยนที่สูงเหนือปกติมาก

นอกจากนี้ Ricard ยังได้รับการเชิญให้ไปกล่าวคำแนะนำเรื่อง ‘การใช้ชีวิตให้มีความสุข’ ในการประชุมเศรษฐกิจครั้งใหญ่ World Economic Forum ที่เมือง Davos ประเทศ Switzerland อีกด้วย เคล็ดลับแห่งความสุขของท่านคือสิ่งใด ตามมาดูกัน



ความลับข้อแรกของการมีความสุข : จงหยุดคิดถึงแต่ ‘ตัวเอง ตัวเอง แล้วก็ตัวเอง’

พระแห่งธิเบตเผยว่ากุญแจของความสุขมันอยู่ที่การไม่เห็นแก่ตัว การคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเองเป็นสิ่งที่ดูดพลัง และทำให้เครียดมหาศาล ซึ่งมักนำคนส่วนใหญ่ไปพบกับสภาวะไม่มีความสุข “การเอาแต่คิดถึงตัวเรา ตัวเรา แล้วก็ตัวเราทั้งวัน เป็นสิ่งที่ทำให้ทุกข์ได้ง่าย เพราะมันทำให้เรามองสิ่งรอบข้างกลายเป็นศัตรูไปหมด หรือไม่ก็มองทุกอย่างเป็นเรื่องผลประโยชน์ต่อตัวคุณ
 
ฉะนั้นหากอยากมีความสุข ก็ต้องรู้จักมีเมตตาบ้าง แต่การมีเมตตาไม่ได้หมายถึงการให้คุณทำตัวอ่อนแอ และยอมให้คนอื่นเอารัดเอาเปรียบเช่นกัน “ถ้าหากจิตใจเราเต็มไปด้วยเรื่องความเมตตา,ความปราถนา และความซื่อสัตย์ จิตใจคุณก็จะดี และการที่มีสภาพจิตใจดีก็ย่อมทำให้คุณมีความสุข รู้สึกดีกับชีวิต”

ความลับข้อสอง : จงฝึกฝนจิตใจเหมือนดั่งการวิ่งมาราธอน

Richard เผยว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีความดีในหัวใจ (ยกเว้นแต่ว่าคุณเป็นพวกฆาตกรต่อเนื่อง ซึ่งอาจมีเคมีผิดปกติบางอย่างทำให้สมองผิดปกติ)  และหลายคนอาจไม่รู้ว่าจิตใจที่ดีมันก็ต้องอาศัยการฝึกฝนเช่นกัน มันไม่ต่างอะไรจากการวิ่งมาราธอนที่ต้องฝึก ถ้าคุณเริ่มวิ่งมาราธอน แน่นอนว่าคุณอาจไม่ได้เป็นแชมป์โอลิมปิก แต่มันก็สร้างส่วนต่างมหาศาลระหว่างคนที่ได้ฝึก กับคนที่ไม่ได้ฝึก ฉะนั้นการเรียนรู้และฝึกฝนในการหัดรู้จักรักษาสมดุลของอารมณ์,ความสนใจ และความเมตตา จะนำความสุขมาให้ได้มหาศาล

ความลับข้อที่สาม : แต่ละวันให้แบ่งเวลา 15 นาที คิดถึงเรื่องที่ทำให้เรามีความสุข

การแบ่งเวลาสั้นๆ 10-15 นาทีเพื่อนั่งคิดถึงความรู้สึกดีๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน จะช่วยให้จิตใจสดใสขึ้น และยิ่งหากใครแบ่งเวลาอย่างต่อเนื่องสักสัปดาห์ หรือมากกว่านั้นก็จะทำให้กลายเป็นคนที่มีความสุขขึ้นมาก ด้านนักวิจัยประสาทวิทยา  Davidson ก็ได้ค้นพบว่าการนั่งสมาธิราว 20 นาทีต่อวันก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้ดัชนีความสุขของคนเพิ่มขึ้นเช่นกัน

จาก http://www.kidjarak.com/happyness-man-in-the-world/




แมทเทอ ริคาร์ด (Matthieu Ricard): กับนิสัยของความสุข

ความสุขคืออะไร และมีวิธีที่เราทุกคนสามารถปฏิบัติได้อย่างไร? นักชีวเคมีหันเหเปลี่ยนมาเป็นพระสงฆ์ แมทเทอ ริคาดร์ (Matthieu Ricard) พูดว่าเราสามารถฝึกอบรมจิตใจของเราในนิสัยของเป็นอยู่ที่ดี ในการสร้างความรู้สึกที่แท้จริงของความสงบและความสุขที่ถาวรณ์

กด ดูคลิปได้ ที่ https://embed-ssl.ted.com/talks/matthieu_ricard_on_the_habits_of_happiness

https://www.ted.com/talks/matthieu_ricard_on_the_habits_of_happiness?language=th

http://www.amara.org/es/videos/PKhI5Rh7fl27/th/903898/?tab=comments

ผลการสแกนสมองพระในพุทธศาสนา “การฝึกสมาธิ” ทำให้สมองส่วนความสุขมีขนาดใหญ่กว่าคนปกติ
การฝึกสมาธิ สามารถเปลี่ยนสมอง ความคิดและชีวิตได้
การฝึกสมาธิอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกวันสามารถเพิ่มขนาดของสมองส่วนความสุขให้ใหญ่ขึ้นได้
Matthieu Ricard เขาคือผู้ชายที่มีความสุขมากที่สุดในโลก?

เพิ่มเติม https://ascannotdo.wordpress.com/2012/11/02/

โหลด การเจริญ สติบำบัด http://happinessisthailand.com/wp-content/uploads/2016/02/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94.pdf?39ee6c
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ชายผู้มีความสุขที่สุดในโลก

ศิลปะแห่งความสุขไม่ใช่แค่เรียนรู้กันได้ แต่ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี

Matthieu Ricard on the habits of happiness

What is happiness, and how can we all get some? Biochemist turned Buddhist monk Matthieu Ricard says we can train our minds in habits of well-being, to generate a true sense of serenity and fulfillment.

Sometimes called the “happiest man in the world,” Matthieu Ricard is a Buddhist monk, author and
photographer.Full bio »

การค้นหาความสุขอันแท้จริงคือความปรารถนาสากลที่ใครๆก็ต้องการ แต่เราจะหาเจอกันทุกคนไหม ความสุขที่แท้แสร้งทำไม่ได้ หากฉาบทั่วใบหน้ายามที่เรายินดีหรือพอใจจริงๆ และในทำนองเดียวกัน ต่อให้ฝืนยิ้มก็ซ่อนความทุกข์เศร้าที่แฝงอยู่ไม่มิด

ชายคนหนึ่งที่เชื่อว่าทุกคนสามารถสร้างความสุขและภาวะอยู่เย็นเป็นสุขที่ยั่งยืนได้คือ มัตทิเยอ ริการ์ ใบหน้าของเขาคือภาพความสงบสุขนั่นเอง มุมปากเขาแย้มขึ้นในอาการกึ่งยิ้มอยู่ตลอด นัยน์ตากระจ่างฉายแววอ่อนโยน

ริการ์ได้ตำแหน่งมนุษย์ที่มีความสุขที่สุดในโลกโดยผ่านการรับรองทางวิทยาศาสตร์ ตำแหน่งนี้ต่อท้ายคำบรรยายอื่นๆอีกมากมายของชายชาวฝรั่งเศสวัย 64 คนนี้ได้อย่างกลมกลืน เขาเป็นทั้งนักเขียน, ช่างภาพ, อดีตนักพันธุกรรมโมเลกุล, นักวิจัย, ภิกษุผู้ศรัทธาในพุทธศาสนา และล่ามผู้รับใช้องค์ทะไลลามะ

ริการ์คว้าตำแหน่ง “มนุษย์ที่มีความสุขที่สุด” หลังการทดสอบหลายครั้งในห้องทดลองเมื่อปี 2547

ซึ่งเผยถึงสมรรถภาพพิเศษสำหรับความสุข นักวิจัยติดขั้วไฟฟ้า 256 ชิ้นทั่วศีรษะโล้นเลี่ยนของเขาเพื่อสำรวจว่าการทำสมาธิส่งผลต่อสมองอย่างไร และผลที่ได้เป็นเรื่องใหม่เอี่ยม โดยพบว่าเปลือกสมองกลีบหน้าผากส่วนหน้าของริการ์กับภิกษุอื่นที่นั่งสมาธิอยู่ในห้องทดลองมีสัญญาณไฟฟ้าพุ่งสูง สมองส่วนนั้นเชื่อมโยงกับอารมณ์ด้านบวกอย่างเช่นความสุข

หลังฝึกเจริญสมาธิภาวนาในกุฏิสงฆ์ที่เนปาลมานานกว่า 35 ปี ริการ์ก็เชี่ยวชาญเรื่องควบคุมจิตใจ เขาก้าวไกลสู่หนทางแห่งความตื่นรู้ และยืนยันว่าการฝึกสมาธิคือสิ่งสำคัญที่ช่วยให้บรรลุความสุขแท้จริงอันยั่งยืน

ในหนังสือขายดีของเขาเมื่อปี 2550 ความสุข: คู่มือพัฒนาทักษะสุดสำคัญแห่งชีวิต ริการ์นิยามว่า ความสุขคือ “ความรู้สึกเต็มเปี่ยมลึกล้ำซึ่งผุดขึ้นจากจิตใจที่สมบูรณ์เป็นพิเศษ”

ริการ์แบ่งปันความคิดว่าด้วยความสุขเช่นนี้ไปสู่ผู้ฟังทั่วโลก เขาเป็นนักพูดเจนเวทีที่ตระเวนถ่ายทอดความเข้าใจอันลึกซึ้งในเรื่องความสุขให้แก่ทุกคน ตั้งแต่นักเรียนไปถึงคณะบุคคลต่างๆ เขาอธิบายว่าความสุขเป็นเพียง “ความรู้สึกสงบเต็มอิ่มลึกล้ำคือสภาวะที่แผ่ซ่านโอบรับทุกสภาวะอารมณ์ไว้โดยแท้”

เขาเชื่อว่าการแสวงหาความปีติสุขภายในแทนที่จะพึ่งเงื่อนไขภายนอกคือหนทางบรรลุถึงความเกษมสุข “เห็นได้ชัดว่าแค่เงื่อนไขภายนอกไม่พอ การใช้ประสบการณ์ภายในของตัวเราเองตีความและแปลความหมายของเงื่อนไขภายนอกเหล่านั้นต่างหากที่กำหนดความรู้สึกสุขหรือทุกข์”

ถ้าเช่นนั้นก็แปลว่าเราทุกคนสามารถจะเป็นสุขได้ไม่ว่าในสภาพการณ์ใดใช่หรือไม่ ริการ์ตอบว่าใช่ เขาเชื่อว่าเราสอนตัวเองให้มีความสุขได้แน่นอน หากรู้จักฝึกฝนจิตใจ ซึ่งเป็นวินัยที่มีประโยชน์และสำคัญพอๆกับการดูแลร่างกาย การฝึกจิตไม่ใช่แค่ “วิตามินเสริมสำหรับจิตวิญญาณ”เท่านั้น

เขายิ้มก่อนเสริมว่า “เราชอบวิ่งออกกำลังให้ร่างกายแข็งแรง เราทำสารพัดเพื่อความสวยความงาม
แต่เรากลับใช้เวลาน้อยอย่างไม่น่าเชื่อเพื่อดูแลสิ่งสำคัญที่สุด นั่นคือวิธีทำงานของจิตใจซึ่งกำหนดคุณภาพประสบการณ์ของเรา”

ริการ์กล่าวว่า ในการฝึกปฏิบัติตามแนวทางพุทธศาสนา การฝึกสมาธิช่วยฝึกจิตได้ผลที่สุด โดยรับรู้ความรู้สึกนึกคิดทุกอย่างแล้วปล่อยวาง และไม่มีความยึดติดมารบกวน แต่เขายืนยันว่าไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดถึงขนาดที่พระสงฆ์ปฏิบัติก็สามารถฝึกสมาธิให้ตัวเองมีความสุขมากขึ้น เพียงฝึกวันละครึ่งชั่วโมงสักไม่กี่เดือนก็ได้ผลแล้ว

“การฝึกสมาธิไม่ใช่แค่ออกไปนั่ง

เล่นใต้ต้นมะม่วงให้สบายใจสักครู่ แล้วพยายามทำให้สมองว่างโดยไม่เกิดผล อันที่จริง มันคือความเปลี่ยนแปลงลึกๆที่เกิดจากการฝึกฝนจิตใจ”

เขาย้ำอีกครั้งว่าไม่ใช่เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นรอบข้างที่ทำให้เราไม่มีความสุข แต่เพราะวิธีที่เราเลือกตอบโต้ต่างหาก “เราเปลี่ยนโลกทั้งโลกให้ถูกใจเราไม่ได้ แต่เราปรับจิตใจของเราได้ ถ้าเปลี่ยนจิตใจตัวเองได้ เราก็เปลี่ยนโลกได้”

การไขว่คว้าหาความสุขกลายเป็นเรื่องหมกมุ่นสมัยใหม่ เมื่อชีวิตซับซ้อนขึ้น แรงกดดันจำกัดความสามารถที่เราจะตอบโต้กับอิทธิพลหลากหลายจากภายนอก ความสุขที่ฟูขึ้นมาในใจชั่วครู่ไม่อาจประคองให้เราพอใจได้ในระยะยาว ริการ์กล่าวว่าต้องหัดบ่มเพาะทักษะจึงจะสร้างความรู้สึกพึงพอใจและภาวะของความอยู่ดีมีสุขเป็นพื้นฐานได้

เขาอธิบายว่า “ความสุขแท้จริงไม่ได้หมายถึงความรู้สึกสนุกสนานครั้งแล้วครั้งเล่า ทว่าเหมือนการรวมคุณสมบัติหลายอย่างซึ่งเราพัฒนาให้เป็นทักษะได้ไว้ด้วยกันมากกว่า เช่น ใจที่เปิดกว้าง รักผู้อื่นอย่างแท้จริง มีเมตตา ใจเข้มแข็ง และจิตสงบเย็น”

ริการ์กล่าวว่า การยึดอัตตาและสนใจแต่ตัวเองคืออันตรายสำคัญต่อความสุขที่แท้ การมองให้พ้นตัวเองและมุ่งแสดงความเมตตาต่อผู้อื่นต่างหากคือการเริ่มต้น ชายผู้มีความสุขที่สุดในโลกซึ่งเห็นชัดว่ารู้สึกขบขันกับฉายานี้

ไม่มีทีท่าจะเก็บงำความลับทั้งหลายที่นำไปสู่ความสุข เขากลับกล่าวทิ้งท้ายอย่างเรียบง่ายจับใจว่า
 

“ [เราต้องหล่อเลี้ยง] ความเมตตากรุณา ความรักอย่างไร้เงื่อนไข ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โดยไม่ยึดติด และรักษาจิตข้างในให้สงบ เข้มแข็ง พึงพอใจ สิ่งเหล่านี้เมื่อรวมแล้วก็เป็นวิถีการใช้ชีวิต ซึ่งคือความสุขอันแท้จริงนั่นเอง ”


จาก http://nuclear.rmutphysics.com/blog-sci2/?p=4166
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


การนั่งสมาธิกับการพัฒนาของสมอง

สมองพัฒนาได้ ด้วยการเจริญสติ ตอนที่ 1


   ท่านผู้อ่านครับ สมองของคนเราเป็นตัวควบคุมความคิด อารมณ์ความรู้สึก ความจำ ซึ่งมีการทำงานอันสลับซับซ้อน วิชาการที่เรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของสมอง เราเรียกว่า วิชา วิทยาศาสตร์ทางระบบประสาท (Neuroscience) ซึ่งเป็นวิชาการที่มีความสำคัญมาก กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในทางการแพทย์ เนื่องจากมันทำให้เราเข้าใจกลไกการทำงานต่างๆของสมองในด้านต่างๆ เช่น ความคิด ความจำ การรับอารมณ์ความรู้สึก
       
       สำหรับเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก เช่น ความสุข ความทุกข์ ความเจ็บปวด เสียใจ เศร้าใจ ท้อแท้ เป็นต้น วิชาการที่ศึกษาเรื่องระบบประสาทต่ออารมณ์ความรู้สึกนี้ เรียกว่า Affective Neuroscience มีนักวิจัยทางด้านระบบประสาทเกี่ยวกับอารมณ์คนหนึ่งที่มีผลงานน่าสนใจ คือ ศาสตราจารย์ริชาร์ด เดวิดสัน (Richard Davidson Ph.D)
       
       ศาสตราจารย์ผู้นี้สนใจและศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอารมณ์ต่อระบบประสาท และวิธีการฝึกสมาธิและการเจริญสติต่อการเปลี่ยนแปลงของสมอง มีงานวิจัยที่น่าสนใจ คือ แต่เดิมนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เซลล์สมองที่มีมาแต่เกิดจะค่อยๆโตขึ้น จนเต็มที่ในวัยหนุ่มสาวและกลางคน เมื่อเข้าสู่วัยชราก็จะเริ่มเสื่อมลง และตายลงในที่สุด เซลล์สมองมีจำนวนเท่าไหร่ก็มีเท่านั้น ไม่มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงใดๆ


พระ ดร.แมทธิว ริคาร์ด ซึ่งฝึกสมาธิมาเป็นเวลา 20-30 ปี
เมื่อตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ fMRIพบว่ามีเซลล์สมองเพิ่มขึ้น


 ต่อมา ดร.เดวิดสัน ได้ทำการศึกษาในพระทิเบตรูปหนึ่งชื่อ พระ ดร.แมทธิว ริคาร์ด ซึ่งฝึกสมาธิมาเป็นเวลา 20-30 ปี เมื่อตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ fMRI ก็พบว่า
       
       คนที่ฝึกสมาธิเป็นเวลานานๆ สมองมีส่วนเปลือกนอกสีเทาๆ ที่เรียกว่า Gray Matter ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ของเซลล์ประสาท จะหนาตัวขึ้น นั่นหมายถึง มีเซลล์สมองเพิ่มขึ้น และบริเวณส่วนหน้าแถวหน้าผากด้านซ้าย จะมีการทำงานของคลื่นสมองดีขึ้น มีลักษณะของคลื่นสมองช้าลงและสม่ำเสมอมากขึ้น ที่เรียกว่า “คลื่นแกรมม่า” ซึ่งพบในคนที่จิตเป็นสมาธิลึกๆ
       
       ต่อมา เขาได้ทดลองในอาสาสมัครที่ฝึกสมาธิทุกวัน วันละ 30 นาที เช้าและเย็น เป็นเวลา 3 เดือน แล้วตรวจดูด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ fMRI ก็พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน แสดงว่า สมองคนเรามีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างและการทำงาน ซึ่งเขาเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Neuroplasticity หรือ ความยืดหยุ่นของสมอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ค้นพบใหม่ และได้ทำลายความเชื่อเก่าที่ว่า สมองเปลี่ยนแปลงไม่ได้
       
       เขาได้ทดลองทั้งแบบสมถและวิปัสสนากรรมฐานก็พบว่า ได้ผลเช่นเดียวกัน สมองของคนเราสามารถพัฒนาได้ตลอดเวลาโดยการจริญสติ ทำให้สมองสร้างเซลล์สมองใหม่ๆมากขึ้น การทำงานดีขึ้น คลื่นสมองสม่ำเสมอ ช้าลง ซึ่งเป็นลักษณะของคนที่มีความสุข สุขภาพจิตดี
       
       นอกจากนั้น เขายังได้ศึกษากรณีของอารมณ์เครียด อารมณ์โกรธ และอารมณ์ซึมเศร้า ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในสมองในทางตรงข้าม คือมันทำให้เซลล์สมองเสื่อม ความจำเสื่อมลง และเซลล์อายุสั้นลง


ดร.ริชาร์ด เดวิดสัน (ขวา) นักวิจัยทางระบบประสาท
       ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลก



   ศจ.ดร.เดวิดสันจบปริญญาตรีทางจิตวิทยาในปีค.ศ. 1972 และต่อปริญญาโทและเอก ด้านจิตวิทยาและจิตเวชศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี 1976
       
       หลังจบการศึกษาแล้ว ได้ทำงานเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ค 8 ปี เขาได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของสมองกับอารมณ์ไว้มากมาย
       
       ต่อมา ดร.เดวิดสันได้ย้ายมาทำงานที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ตั้งแต่ปี 1984 ถึงปัจจุบัน และได้เริ่มต้นบุกเบิกงานวิจัยด้านอารมณ์ต่อสมอง ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณราว 10 ล้านดอลลาร์ ปัจจุบัน เขาเป็นผู้อำนวยการของศูนย์วิจัย 3 แห่งของมหาวิทยาลัย คือ
       
       1. Waisman laboratory for Brain Imaging and Behavior 2. Center for Investigating Healthy Minds 3. Laboratory for Affective Neuroscience (psyphz.phych.wisc.edu) และมีผลงานตีพิมพ์ 150 เรื่อง เขียนหนังสือ 13 เล่ม ซึ่งเป็นการศึกษาการทำงานของสมองกับอารมณ์ในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น เด็กสมาธิสั้น คนที่มีความเครียด โรคซึมเศร้า ศึกษาการทำงานของสมองในคนที่มีบุคลิกแบบชอบใช้ความรุนแรง คนที่เป็นฆาตกร คนที่มีบุคลิกก้าวร้าว ทำให้ได้ค้นพบคลื่นสมองและวงจรที่มีลักษณะเฉพาะในคนเหล่านี้
       
       สุดท้าย ดร.เดวิดสันได้ทำการศึกษาคลื่นสมองในคนฝึกสมาธิและวิปัสสนา ทำให้ได้ทราบว่า สมองคนเราสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ตลอดเวลา โดยการทำสมาธิและวิปัสสนา ซึ่งจะแก้ไขอารมณ์ด้านลบได้ โดยการพัฒนาสมองส่วนที่เกี่ยวกับการรับอารมณ์ และวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงสมองคือการเจริญสติให้อยู่กับปัจจุบัน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการป้องกันโรคจิต โรคประสาท ทำให้มีสุขภาพจิตดี
       
       ดร.เดวิดสันได้รับรางวัลทางวิชาการจำนวนมาก ในปี ค.ศ.2000 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นของสมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา และเป็น 1 ใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลต่อคนในโลก ในปี 2006 ของนิตยสารไทม์
       
       ศจ.เดวิดสันทำสมาธิภาวนาอยู่เป็นประจำทุกวัน เขาสนใจพุทธศาสนาตั้งแต่เป็นนักศึกษาแพทย์ปีที่ 2 ได้มีโอกาสเดินทางมาเรียนรู้เกี่ยวกับการฝึกสมาธิในอินเดีย และได้เป็นกรรมการสถาบัน Mind and Life Institute ในปี 1991เป็นต้นมา



  สถาบันแห่งนี้เป็นสถาบันที่นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการศาสนา พระภิกษุ มาพบกันเพื่อเสวนาทางวิชาการว่าด้วยพุทธศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในแง่มุมต่างๆ ซึ่งมีการจัดประชุมวิชาการทุกปี โดยมีองค์ทะไลลามะ เป็นประธาน
       
       ศจ.เดวิดสันได้ทำงานร่วมกับองค์ทะไลลามะอย่างยาวนาน ซึ่งท่านได้ให้การสนับสนุนงานวิจัยของเขาตลอดมา สถาบันแห่งนี้ได้สร้างองค์ความรู้และเชื่อมวิทยาศาสตร์เข้ากับศาสนา เป็นผู้จุดประกายให้นักวิทยาศาสตร์หันมาสนใจเรื่องของจิต เรื่องของศาสนาในแง่มุมต่างๆ และมีผลงานวิชาการออกมามากมายจนถึงปัจจุบัน
       
       ปัจจุบัน ศจ.เดวิดสันเป็นนักวิจัยทางระบบประสาทที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลก มีงานวิจัยอันโดดเด่น ซึ่งทำให้วิชาวิทยาศาสตร์ทางสมองพัฒนาขึ้นมากในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา (ท่านผู้อ่านเข้าไปดูข้อมูลได้ใน www.richardjdavidson.com หรือฟังคำบรรยายใน youtube โดยพิมพ์ชื่อของเขาลงไป มีคำบรรยายให้ฟังหลายเรื่อง ที่ขอแนะนำ ได้แก่ Richard Davidson : science and Dharma 5/9/2011, Transform your mind,Change your Brain และNeuroplasticity : Implication of Scie ntific Research on Meditation for spiritual care. หรือพิมพ์คำว่า Neuroplasticity ก็จะมีคำบรรยายเรื่องนี้หลายตอนที่น่าสนใจ
       

พระ ดร.แมทธิว ริคาร์ด นักวิทยาศาสตร์แห่งความสุข
จากดอกเตอร์ด้านวิทยาศาสตร์สู่การเป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนา


 พระทิเบตรูปหนึ่งที่ร่วมงานวิจัยทดลองผลของการฝึกสมาธิต่อสมอง กับ ศจ.เดวิดสัน คือ พระ ดร.แมทธิว ริคาร์ด (Matthieu Ricard) ชาวตะวันตกที่บวชเป็นพระทิเบต ในสำนักขององค์ทะไล ลามะ จบปริญญาเอกทางด้านโมเลกุลพันธุศาสตร์ สถาบันปาสเตอร์ กรุงปารีส ในปี 1972
       
       หลังจบการศึกษา ท่านได้เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนที่เมืองดาร์จิริ่ง ทางตอนเหนือของอินดีย แถบเทือกเขาหิมาลัย และที่นี่เองที่ทำให้ท่านเกิดแรงบันดาลใจในการค้นหาหนทางแห่งความพ้นทุกข์ จึงได้บวชและศึกษาพุทธศาสนาแบบทิเบต ฝึกการทำสมาธิภาวนาอยู่ที่นี่เป็นเวลา 26 ปี
       
       หลังจากนั้น ท่านได้เดินทางกลับไปเผยแผ่ธรรมที่ยุโรปและอเมริกา โดยได้รับเชิญไปบรรยายในมหาวิทยาลัยต่างๆ และเขียนหนังสือธรรมะ
       
       ท่านได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับนักวิทยาศาสตร์ ในกิจกรรมของสถาบัน Mind and Life Institute และได้รับการชักชวนให้มาร่วมงานวิจัยกับศจ.เดวิดสัน ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ในปี 2009
       
       เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก ท่านได้รับเชิญไปร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในการนำเอาวิถีทางแห่งพุทธธรรมมาใช้ในการบำบัดความทุกข์ และเมื่อเศรษฐกิจทุนนิยมกำลังล่มสลาย ท่านได้กล่าวกับนักธุรกิจใหญ่ของโลกจำนวนมากที่มาประชุม The World Economic Forum ณ เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ ว่า
       
       “โลกทุนนิยมเกิดจากความโลภของผู้คนอย่างไม่มีข้อจำกัด ความจริงสิ่งต่างๆที่อยู่ในโลกมีพอสำหรับความต้องการของทุกๆคน แต่ไม่พอสำหรับความทะยานอยากของคนจำนวนน้อย ถึงเวลาที่เราจะต้องหยุดความโลภในการแสวงหาวัตถุในนามของการทำธุรกิจเพื่อสังคมได้แล้ว
       
       วิถีของทุนนิยมจะทำให้เกิดสงครามแย่งชิงทรัพยากร มีความขัดแย้งไปทั่ว คนที่แข็งแรงกว่าจะเอารัดเอาเปรียบคนที่อ่อนแอกว่า จะเกิดทำร้ายกัน ขาดความรักความเมตตาต่อกัน สภาพแวดล้อมของโลกจะถูกทำลาย ทำให้เราอยู่ไม่ได้”
       
       ท่านได้เผยแพร่ความคิดเรื่อง การพัฒนาชีวิตเพื่อให้เกิดความสุข โดยการละความโลภ โกรธ หลง ตามแนวทางพุทธศาสนา และเขียนหนังสือเผยแพร่ทั่วไปในโลกตะวันตก หนังสือของท่านได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม


พระ ดร.แมทธิว ริคาร์ด นักวิทยาศาสตร์แห่งความสุข


ท่านยังเป็นประธานองค์กร Karuna Shechen ซึ่งเป็นองค์กรการกุศล ไม่แสวงหากำไร ทำงานช่วยสังคมในแง่การศึกษา การรักษาโรค และงานสังคมสงเคราะห์ งานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ท่านอุทิศรายได้จากการจำหน่ายหนังสือและเงินบริจาคทำบุญ ทำโครงการเพื่อมนุษยชน 41 โครงการ เช่น สร้างสะพาน 8 แห่ง, สร้างโรงเรียน 13 แห่งในทิเบต และ 4 แห่งในเนปาล สร้างบ้านพักคนชรา 3 แห่ง ช่วยให้เด็กนักเรียนได้เรียนหนังสือ 15,000 คน ช่วยรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้ 1 แสนคนต่อปี ท่านสอนให้คนมีน้ำใจอันดีงาม มีความเมตตากรุณา ช่วยเหลือผู้อื่น ให้รักเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งหาได้ยากในโลกวัตถุนิยม
       
       ปัจจุบัน ท่านเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่มีชื่อเสียงในโลกตะวันตก ได้รับการยกย่องให้เป็นนักวิทยาศาสตร์แห่งความสุข และรัฐบาลฝรั่งเศสได้มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติฝรั่งเศส (French National Order of Merit) เป็นรางวัลแห่งคุณความดี เพื่อยกย่องท่าน
       
       ท่านผู้อ่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม ในwww.Matthieuricard.org และฟังคำบรรยายของท่านใน www.youtube.com/ Matthieu Ricard จะมีคำบรรยายอยู่หลายเรื่องที่น่าสนใจ เช่น The Devotion of Matthieu Ricard Official Trailer, Matthieu Ricard : The Habits of Happiness,change your mind change your brain : the inner conditions เป็นต้น


ดร.ริชาร์ด เดวิดสัน และ  พระ ดร.แมทธิว ริคาร์ด


คนที่ฝึกสมาธิเป็นเวลานานๆ สมองมีส่วนเปลือกนอกสีเทาๆ ที่เรียกว่า Gray Matter
ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ของเซลล์ประสาท จะหนาตัวขึ้น นั่นหมายถึง มีเซลล์สมองเพิ่มขึ้น




(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 151 กรกฎาคม 2556 นพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)
 
โปรดติดตามตอนต่อไป
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ท่านผู้อ่านครับ ตอนที่แล้วผมได้กล่าวถึงสมองของคนเรา ว่าสามารถพัฒนาได้ เปลี่ยนแปลงได้ ทั้งในแง่โครงสร้าง เซลล์ต่างๆ หรือการทำงานของเซลล์สมอง ซึ่งจะมีผลในแง่ความคิด อารมณ์ การเรียนรู้ ความจำ ซึ่งจะส่งผลให้เราสามารถทำงานต่างๆอย่างได้ผลดี ทำให้เรามีชีวิตอย่างมีความสุข มีสติปัญญา
       
       งานวิจัยวิทยาศาสตร์ทางสมองแสดงให้เห็นว่า โดยการทำภาวนา การฝึกสมาธิ การเจริญสติ ช่วยพัฒนาสมองของเราได้ ซึ่งในเรื่องนี้ ดร.ริค แฮนซัน (Rick Hanson,Ph.D) นักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทจิตวิทยา(Neuropsychologist) ได้เขียนไว้ในหนังสือ สมองพุทธะ (Buddha’s Brain) อันโด่งดัง
       
       ในหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวว่า การเจริญสติเป็นการใช้การพัฒนาจิตเปลี่ยนสมองและเปลี่ยนชีวิตของเราได้ การฝึกการเจริญสติหรือการทำสมาธิมีผลดังนี้ คือ
       
       1. ทำให้เซลล์สมองและวงจรการเชื่อมต่อในสมองในการทำงานของสมองซีกซ้ายเจริญขึ้น โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าผากซ้าย ซึ่งทำให้เรามีความสุข และอารมณ์ในด้านบวกมากขึ้น
       
       2. ทำให้สารเคมีในสมอง คือ เซโรโทนิน(Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท มีมากขึ้น ทำให้เกิดความผ่อนคลาย นอนหลับง่าย ไม่เกิดอาการซึมเศร้า ถ้าสารตัวนี้ลดน้อยลง จะเกิดโรคซึมเศร้า และนอนหลับยาก
       
       3. ทำให้ระบบประสาทพาราซิมพาเธทิค (Parasympathetic) ทำงานเด่นขึ้น คือทำให้ใจสงบลง ลดความเครียดการเต้นของหัวใจลดลง ความดันโลหิตลดลง การเผาผลาญอาหารในร่างกายลดลง แก่ช้าลง และอายุยืนขึ้น
       
       กล่าวโดยย่อ การฝึกสมาธิหรือการเจริญสติ เป็นการพัฒนาสมอง เปลี่ยนอารมณ์ เปลี่ยนชีวิตของเรา เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ทางสมองใช้กันอยู่แทนการกินยา เพราะยาลดความกังวล ยาต้านโรคซึมเศร้า ยาเหล่านี้เป็นการแก้ปลายเหตุ ต้องใช้ประจำ อาการข้างเคียงมาก ราคาแพง ซึ่งการรักษาของแพทย์ในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนแปลงไป หลังจากผ่านการทดลองวิจัยมานานกว่า 2 ทศวรรษ
       


       ดร. ริค แฮนซัน
       
       ดร. ริค แฮนซัน จบปริญญาตรีด้านจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส(UCLA) ในปี ค.ศ. 1974และจบปริญาโทด้านจิตวิทยาพัฒนาการ และปริญญาเอกทางจิตวิทยาคลินิก จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐซานฟรานซิสโก (San Francisco State University) ในปี ค.ศ. 1991
       
       หลังจากนั้นเขาทำงานอิสระในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ผู้ปกครอง เด็ก และครอบครัว เป็นที่ปรึกษาทางจิตวิทยาในโรงเรียนหลายแห่ง รับเชิญไปบรรยายในสถาบันต่างๆ และเขียนหนังสือแนวจิตวิทยา
       
       ด้วยการสะสมประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆ แก่ครอบครัว ทำให้เขาทราบปัญหาที่เกิดขึ้น เขาได้เริ่มเขียนหนังสือแนวจิตวิทยาให้ความรู้ในการพัฒนาแก่แม่และเด็ก ชื่อ Mother Nurture ในปี 2002 หลังจากนั้นเขาเริ่มสนใจด้านการวิจัยระบบประสาท จึงได้ร่วมกับเพื่อนที่เป็นแพทย์ด้านประสาทวิทยา ชื่อ นายแพทย์ริชาร์ด เมนเดียส (Richard Mendius,MD) ตั้งสถาบันศึกษาวิจัยด้านระบบประสาทและการฝึกจิตภาวนา ชื่อ Wellspring Institute
       
       สถาบันแห่งนี้ได้จัดทำหนังสือรายเดือนและเว็บไซต์ www.Wisebrain.org และจัดให้มีการฝึกอบรมด้านพัฒนาสมองโดยการเจริญสติ การฝึกสมาธิ หลักสูตรต่างๆ แก่ประชาชนทั่วไป
       
       ในปี ค.ศ. 2009 ดร.แฮนซัน และเพื่อนก็เขียนหนังสือชื่อ สมองพุทธะ (Buddha’s Brain) ซึ่งเป็นหนังสือที่สร้างชื่อเสียงให้เขาแลคณะในเวลาต่อมา รวมทั้งหนังสือชื่อ Just One Thing ซึ่งอธิบายวิธีการปฏิบัติ 52 วิธีอันทรงพลังในการพัฒนาให้เป็นสมองพุทธะ
       
       ปัจจุบัน ดร.แฮนซันได้รับเชิญไปบรรยายในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น ที่ มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด มหาวิทยาลัยฮาร์วาด มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และได้ร่วมงานวิจัยกับสถาบัน Greater Good Science Center ที่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
       
       ดร.ริค แฮนซัน เริ่มปฏิบัติธรรมตั้งแต่ปี 1974 เขาผ่านการฝึกภาวนาจากหลายสถาบันและหลายรูปแบบ ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้นำการสอนธรรมแก่ชุมชน เคยเป็นกรรมการของสถานปฏิบัติธรรม Spirit rock อยู่ 9 ปี สถาบันแห่งนี้เป็นที่รวมของปัญญาชน นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการด้านการภาวนาที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคมอเมริกัน
       
       เขาสอนปฏิบัติธรรมหลักสูตรต่างๆ ในสถานปฏิบัติธรรมหลายแห่ง เช่น สถาบันสติ สถาบันวิปัสสนากรรมฐานเมืองแบร์ แมสซาชูเซตส์ และศูนย์ปฏิบัติธรรมซาน ราฟาเอล แคลิฟอร์เนีย เป็นต้น
       
       นับว่า ดร.แฮนซันเป็นอาจารย์สอนการปฏิบัติธรรมที่มีประสบการณ์อย่างยาวนาน เป็นผู้รู้ด้านธรรมปฏิบัติที่ลึกซึ้ง ดังนั้น เขาจึงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปดูข้อมูลของเขาได้ที่ www.rickhanson.net และเข้าไปฟังคำบรรยายใน www.youtube.com/Buddha’s Brain จะมีให้ฟังหลายตอน
       
       เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 รายการพื้นที่ชีวิต ทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ได้ส่งทีมงานไปสัมภาษณ์ ดร. ริค แฮนซัน ที่ ซาน ราฟาเอล ซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ท่านผู้อ่านเข้าไปชมได้ที่ www.youtube.com/พื้นที่ชีวิต ตอน สมองพุทธะ ก็จะได้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น
       
       นายแพทย์ริชาร์ด เมนเดียส
       
       สำหรับ นายแพทย์ริชาร์ด เมนเดียส เพื่อนผู้ร่วมเขียนหนังสือสมองพุทธะ เป็นแพทย์ทางประสาทวิทยา โดยเฉพาะโรคลมชัก เขาสนใจการปฏิบัติธรรมอย่างมาก โดยเริ่มปฏิบัติธรรมในปี ค.ศ. 1980 กับพระอาจารย์ Shinzen Young พระอาจารย์ในพุทธศาสนานิกายเซน ที่ลอสแองเจลิส และปฏิบัติธรรมสำนักอาจารย์ แจ๊ค คอนส์ฟิล แห่ง Spirit Rock Meditation Center, พระอาจารย์อมโรภิกขุ เจ้าอาวาสวัดอมราวดี กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และพระอาจารย์สุเมโธภิกขุ อดีตเจ้าอาวาสวัดอมราวดี ซึ่งทั้งสองรูปนี้เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
       
       นายแพทย์เมนเดียส ก่อตั้งสถาบัน Wellspring สำหรับการศึกษาวิทยาศาสตร์ทางสมองกับการปฏิบัติธรรม ร่วมกับ ดร. แฮนซัน ปัจจุบัน เขาสอนธรรมปฏิบัติแก่นักโทษในคุก San Quentin และที่สถาบันสติ รวมทั้งที่ Spirit Rock Meditation Center
       
       (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 152 สิงหาคม 2556 โดย นพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)

จาก http://astv.mobi/AowWoyZ
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...