ผู้เขียน หัวข้อ: หลงกรุงเทพฯ ไปกินข้าววัดที่ หอจดหมายเหตุ ฯ พุทธทาส  (อ่าน 1111 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


วันนั้นเป็นวันอาทิตย์ที่ผมอยู่กรุงเทพฯ หลังเสร็จสิ้นภารกิจตั้งแต่เมื่อวานเย็น แต่ก็ได้วางโปรแกรมไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะไปที่ไหนบ้างก่อนกลับเชียงใหม่ ส่วนใหญ่มาครั้งนี้ใช้การเดินทางรางเป็นหลักผสมผสานกัน  BTS และ MRT  ก็สะดวกดีเดินขึ้นเดินลง โดยมีศูนย์กลางเริ่มต้นที่สยาม





ผมวางแผนไว้ที่หนึ่งที่ต้องไปและพลาดไม่ได้คือที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เพราะเห็นข่าวการเปิดโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2554 แล้วก็อยากไปชมกับตาว่าที่หอจดหมายเหตุฯ พุทธทาส เป็นอย่างไร



ตื่นเช้ามาก็ขึ้นรถ BTS สุดสายลงที่หมอชิตแล้วต่อมอเตอร์ไซด์รับจ้าง 30 บาทตรงดิ่งไปเป้าหมายทันที ไปถึงก็เผอิญได้เข้าร่วมตักบาตรแบบพุทธกาล แด่พระภิกษุสงฆ์ 9 รูป จากวัดสร้อยทอง บางซื่อพอดี เห็นญาติโยมเยอะที่มาตักบาตรกัน ซึ่งผมว่าสถานที่แห่งนี้เหมาะแก่การทำบุญ สวดมนต์ และศึกษาธรรมะอย่างยิ่ง อยู่ในทำเลสวนรถไฟที่บรรยากาศดีไม่เหมือนอยู่ในกรุงเทพฯ เลย ลมเย็นจากทะเลสาบ









ผมนั่งสวดมนต์ทำวัตรเช้า หลังจากได้ตักบาตร และพระภิกษุฉันภัตตาหารจากญาติโยมที่นำมาถวายอย่างจัดเต็ม ทำให้มีอาหารเหลือพระอยู่เต็มพิกัด แน่นอนเป็นโอกาสของผมที่จะรับประทานอาหาร เหลือพระ ข้าวก้นบาตร หลังจากพระได้ฉันแล้ว ก็ถือว่าได้ประหยัดมื้อเที่ยงไปหนึ่งมื้อ









เมื่ออิ่มท้องได้แรงก็ถึงเวลาสำรวจหอฯ ทั้ง 3 ชั้น บริเวณชั้นล่างของอาคาร 3 ชั้น







ชั้นล่างประกอบด้วย ลานหินโค้ง ที่ปฏิบัติธรรมหน้าพระโพธิ์สัตว์ ซึ่งเต็มไปด้วยภาพพุทธประวัติที่จำลองมาจากภาพพุทธประวัติชุดแรกจากอินเดีย ถือว่ามีความครบถ้วนสมบูรณ์มากกว่าแห่งใดในโลก กึ่งกลางลานหินโค้งประดิษฐานพระอวโลกิเตศวร ซึ่งจำลองแนวคิดจากลานปฏิบัติธรรม สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล ห้องหนังสือและสื่อธรรมะ ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมศึกษาธรรมะและผลงานของพุทธทาส และเลยลานหินโค้ง หรือศาลาธรรมชาติทางทิศตะวันออกเฉียงใต้คือ โรงมหรสพทางวิญญาณ ด้านนอกมีภาพปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติ ด้านในมีภาพปริศนาธรรม แต่ละภาพมีความหมายอย่างไร









ส่วนชั้น 2 สวนปฏิจจสมุปบาท มีห้องนิทรรศการนิพพานชิมลอง ห้องปฏิบัติสัทธรรมและประชุมสัมมนา และสวนปฏิจจสมุปบาท และชั้นบนสุดเป็นส่วนนิทรรศการแสดงผลงานท่านพุทธทาส และส่วนชั้น 3 ก็มีห้องประชุม ห้องจดหมายเหตุ สำนักงาน ห้องค้นคว้า ห้องนิทรรศการ ที่เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่รอให้ผู้สนใจมาหาความรู้



















นอกจากนี้ สวนโมกข์กรุงเทพ ยังมีสถาปัตยกรรมที่แฝงข้อคิดปริศนาธรรมต่าง ๆ ซ่อนอยู่อีกมากมาย เช่น ภาพปูนปั้นจำลองหินสลักพุทธประวัติชุดแรกของโลก, เสา 5 กับนกฮูกน้อยในลานสวนธรรมะ, ห้องปฏิบัติสัทธรรม และนิทรรศการนิพพานชิมลอง ฯลฯ นับว่าเป็นสถานที่หนึ่งในกรุงเทพฯที่ห้ามพลาดจริง ๆ ครับ

















































































ผมไปหลงกรุงเทพฯ ครั้งนี้ยอมรับว่าอิ่มทางสายตา อิ่มทางสมอง และอิ่มท้องด้วยข้าววัดจริง ๆ  แล้วจะได้แวะมาบ่อย ๆ ครับเมื่อมาเยือนกรุงเทพฯ

หากสนใจกิจกรรมของทางหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญญาก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://www.bia.or.th/fileuploads/schdule.pdf





หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ตั้งอยู่ที่ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ถนนนิคมรถไฟสาย ๒ แขวงจตุจักรเขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐   โทรศัพท์: ๐-๒๙๓๖-๒๘๐๐  โทรสาร: ๐-๒๙๓๖-๒๙๐๐ อีเมลล์: info@bia.or.th  เว็ปไซต์: www.bia.or.th  และ www.dhamma4u.com





ขอบคุณ: Siam Ocean World ที่สนับสนุนการเดินทาง

จาก http://www.oknation.net/blog/akom/2011/04/15/entry-1
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...