ธรรมบรรยายโดยท่านติช นัท ฮันห์ “Engaged Buddhism ” ตอนที่ 4มองเห็นความจริงอันอริยะเราทราบดีว่า อริยสัจข้อที่ 1 คือความทุกข์ ส่วนข้อ 4 คือหนทางสู่ การดับทุกข์ ถ้าเราไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับอริยสัจข้อที่ 1 เราก็ไม่ สามารถเห็นหนทางของการดับทุกข์ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องมองอย่าง ลึกซึ้งในความทุกข์ที่เกิดขึ้น แล้วเราก็จะเห็นอริยสัจข้อที่ 4 คือหนทาง แห่งการดับทุกข์ นั่นคือคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นถ้าเรา วิ่งหนีจากอารมณ์ความรู้สึก ความเจ็บปวดต่างๆ เหล่านั้น ก็ทำให้เรา หลีกเลี่ยงและไม่มีโอกาสที่เห็นหนทางที่จะหลุดออกจากความเจ็บปวด เหล่านั้นได้ เพราะฉะนั้น เราต้องกลับมาสู่บ้านในปัจจุบันของเรา และ อยู่กับมันอย่างเต็มเปี่ยม
เพื่อที่จะตระหนักรู้ความทุกข์ที่เกิด ขึ้นอย่างที่เป็นอยู่ เธอจะต้อง ฝึกมองอย่างลึกซึ้งที่จะเห็นอริยสัจข้อที่ 1 เมื่อเธอเห็นข้อที่ 1 คือ ความทุกข์แล้ว เธอก็จะเห็นข้อที่ 2 ที่เรียกว่า ธรรมชาติแห่งความทุกข์ (the nature of ill-being) หรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความทุกข์ หรือที่เราเรียกว่า “รากแห่งทุกข์” นั้น หมายความว่า เมื่อเราสามารถ ที่จะมองอย่างลึกซึ้งลงไปในความทุกข์ เราก็สามารถค้นพบธรรมชาติ
ของความทุกข์นั้น หรือความเป็นไปเป็นมา หรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความทุกข์นั้น หรือเหตุแห่งทุกข์ เช่น มีรากมาจากความโกรธ ความไม่รู้ ความคิดเห็นที่ผิด การรับรู้ที่ผิด ความเกลียด การขาดการสื่อสาร พวกเราแต่ละคนจะต้องค้นหาสาเหตุแห่งความทุกข์นั้น ด้วยตัวเราเอง
ตัวอย่างเช่น เวลาเรามองเข้าไปในชีวิตที่วุ่นวาย ก็เห็นว่ามีอะไรที่เราต้องทำมากมาย เรามีสิ่งที่จะมุ่งให้สำเร็จ แต่เราไม่มีความ สามารถที่จะมีชีวิตอย่างลึกซึ้งในทุกชั่วขณะ ในชีวิตประจำวันของเรา เราไม่สามารถทำให้ร่างกายของเราผ่อนคลาย ชีวิตที่วุ่นวาย มากเช่นนั้นทำให้เราเกิดความกังวล หรือความรู้สึกไม่ดีอื่นๆ ถ้าเราตระหนักรู้ที่จะอยู่เหมือนกับพระพุทธเจ้า คือดำรงอยู่ในขณะปัจจุบัน ปล่อยให้ความสดใส และการเยียวยารักษาเกิดขึ้นในตัวเรา เราจะไม่กลายเป็นเหยื่อของความเครียด ความกังวลต่างๆ และชีวิตที่ วุ่นวาย เพราะฉะนั้นหนทางที่จะออกจากทุกข์ คือ การที่เรารู้วิธีที่จะมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข และผ่อนคลายในขณะปัจจุบัน เราจะต้อง เห็นว่า หนทางการฝึกสตินั้น ก็คืออริยสัจข้อที่ 4 คือ ทางออกแห่งความทุกข์
ถอดถอนความคิดเห็นที่ผิดเวลาเรามีความตึงเครียดอยู่ในตัวเอง เราไม่สามารถที่จะฟังคนอื่นได้อย่างลึกซึ้งไม่สามารถใช้วาจาแห่งความรัก วาจาแห่งสติ และไม่สามารถถอดถอนการรับรู้ที่ผิดได้ เมื่อเรามีความคิดเห็นที่ผิด ก็จะทำให้เราเกิดความกลัว ความรุนแรง ความโกรธ และอื่นๆ เพราะฉะนั้นเราจะต้องหาสาเหตุที่ทำให้เราไม่สบาย นี่คือสิ่งสำคัญมากที่เราจะต้องทำ
เรามักเห็นว่า การเป็นสามีภรรยานั้นยากมาก ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกนั้นมีปัญหา ทุกคนรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง เพราะเราไม่รู้ วิธีดูแลความท้อแท้สิ้นหวังของตนเอง และไม่รู้วิธีตามลมหายใจ ไม่รู้วิธีโอบรับความรู้สึกเหล่านั้น เราคิดว่าวิธีเดียวที่จะหยุดความ สิ้นหวังนั้นได้ก็คือการฆ่าตัวตาย ที่ประเทศฝรั่งเศส ในแต่ละปี มีหนุ่มสาวประมาณ 12,000 คนฆ่าตัวตาย เพราะพวกเขาไม่สามารถ ที่จะดูแลอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองได้ โดยเฉพาะอารมณ์ท้อแท้สิ้นหวัง และพ่อแม่ก็ไม่รู้วิธีดูแลหรือฝึกอบรมลูกของเขาให้ดูแล และโอบรับอารมณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น ครูก็ไม่รู้วิธีดูแลอารมณ์ตนเอง และก็ไม่รู้วิธีสอนลูกศิษย์ให้ดูแลอารมณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นคนหนุ่มสาวจึงเลือกวิธีฆ่าตัวตาย เมื่อคนเราไม่สามารถสื่อสารกันได้ เราไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่เห็นความทุกข์ยาก ลำบากของกันและกัน กล่าวร้ายและตำหนิซึ่งกันและกัน ทำให้ไม่มีความรักและความสุข
สงครามก็เกิดขึ้นจากความคิดเห็นที่ผิดเช่น เดียวกันกับการก่อการร้าย ผู้ก่อการร้ายคิดว่าอีกฝ่ายหนึ่งพยายามที่จะทำลายพวกเขา ผู้ก่อการร้ายคิดว่าประเทศของเขาจะถูกทำลาย ศาสนาของเขาจะถูกทำลาย เขาจึงพยายามหาวิธีที่จะลงโทษอีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าเรามอง อย่างนี้ เราจะเข้าใจว่า มีความเข้าใจที่ผิดอันทำให้เกิดความกลัว และนี่คือพื้นฐานที่ทำให้เกิดการก่อการร้าย ทำให้เกิดความรุนแรง เรารู้ดีว่า สงครามในประเทศอิรักไม่ได้ช่วยลดจำนวนการก่อการร้ายลดลงเลย แต่กลับเพิ่มจำนวนขึ้น เพราะว่าพื้นฐานแห่งความ เข้าใจผิด ความคิดเห็นที่ผิดนี้ทำให้เกิดความโกรธ ความโกรธยังไม่ได้รับการถอดถอนออกไป เราจำเป็นต้องถอดถอนความคิดเห็น และความเข้าใจที่ผิด เพื่อถอดถอนการก่อการร้าย การวางระเบิดที่สนามบินหรือการต่อต้านด้วยอาวุธต่างๆ ไม่สามารถถอดถอน ความเข้าใจหรือความคิดเห็นที่ผิดได้
มีเพียงแต่วาจาแห่งความรัก การฟังอย่างลึกซึ้งด้วยความเมตตากรุณาเท่านั้น ที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปร ช่วยปกป้องไม่ให้ เขาเกิดความเข้าใจผิด พวกเราที่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ในการทหาร การเมือง ไม่รู้จักฝึกปฏิบัติแบบนี้ จึงใช้อาวุธและความรุนแรง เพื่อ ถอดถอนผู้ก่อการร้าย แต่เวลาเรามองอย่างลึกซึ้งจะเห็นรากของความทุกข์นั้น เมื่อนั้นเราจะเห็นอริยสัจข้อที่ 2 คือสิ่งที่ประกอบกัน ให้เกิดความทุกข์นั้น
มีประเทศกำลังพัฒนามากมาย เช่น ประเทศจีน ที่มีประชากรจำนวนมาก และมีการ บริโภคมากมายเช่นกัน เขาต้องการพลังงานจำนวนมากทั้งไฟฟ้า ก๊าซ และน้ำมันต่างๆ เขาจึงต้องผลิตพลังงานมากขึ้น และอุตสาหกรรมก็เพิ่มขึ้น นี้ส่งผลให้เกิดการทำลาย ระบบนิเวศวิทยามากขึ้นด้วย และทำให้เกิดปรากฏการณ์ของภาวะโลกร้อนมากขึ้น ซึ่ง เป็นปัญหาหนักมากขึ้นทุกวัน
ตามรายงานขององค์การสหประชาชาติ เราต้องลดอุตสาหกรรมทำเนื้อสัตว์ 50% เพื่อที่จะรักษาภาวะโลกร้อนของเรา ฉันได้เขียนจดหมายถึงลูกศิษย์ของฉัน และกระตุ้น ให้เขาช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนด้วยการลดการรับประทานเนื้อสัตว์ลง 50% ในประเทศ เวียดนามเรามีประเพณีไม่รับประทานเนื้อสัตว์เดือนละ 10 วัน ฉันได้บอกเขาว่า อาจจะ เป็น 15 วัน เพราะเราต้องลดลง 50% เพื่อที่จะแก้ปัญหานี้
ถ้าเรามองเข้าไปถึงความทุกข์ เราจะเห็นรากของความทุกข์นั้น และในทันทีทันใด เราก็จะเห็นหนทางแห่งการดับทุกข์นั้น เราจะรู้วิธีที่จะอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เราก็จะ มีโอกาสเบิกบานกับโลกนี้
สิ่งที่ชัดเจนก็คือ อริยสัจข้อที่ 4 เราจะออกจากทุกข์ได้ เมื่อเรามองอย่างลึกซึ้ง ลงไปในความทุกข์ของเรา หรืออริยสัจข้อที่ 1 และมองอย่างลึกซึ้งในอริยสัจข้อที่ 2 คือ รากแห่งทุกข์นั้น และเมื่อเราฝึกปฎิบัติข้อฝึกอบรมสติ 5 ประการ เราสามารถที่จะ ฝึกสติอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นการฝึกปฏิบัติความรักความเมตตา กรุณา อันนี้คือ ความรักที่แท้จริง และหนทางสู่การดับทุกข์นั้น ต้องบรรจุไปด้วยการฝึกปฏิบัติข้อ อบรมสติ 5 ประการด้วย หรือการฝึกศีล 5 ตามแนวทางหมู่บ้านพลัม เพราะนั่นก็คือ การฝึกปฏิบัติความรักที่แท้จริง
ปัญญาแห่งการเป็นดั่งกันและกันในการฝึกปฏิบัติที่เรียกว่า “มรรค 8” นั้น พระพุทธองค์ได้ทรงสอนข้อหนึ่งที่พูดถึงสัมมาทิฏฐิ หรือการมีความคิดเห็นที่ถูกต้อง ความคิดเห็นที่ถูกต้อง คือ ปัญญาที่เกี่ยวกับการเป็นดั่งกันและกัน สมมติว่าเรามองไปที่คู่ครองคู่ใดคู่หนึ่ง เรามองไปที่คุณพ่อกับ ลูกชาย การฝึกที่จะมองอย่างลึกซึ้งนั้น จะช่วยให้เราเห็นว่าลูกชายก็คือผู้สืบเนื่องของคุณพ่อ คุณพ่อก็มีลูกชายอยู่ในทุกอณูเซลล์ อยู่แล้ว ลูกชายก็มีคุณพ่ออยู่ในทุกอณูเซลล์ เพราะฉะนั้นเมื่อเรามองเข้าไปในลูกชาย เราจะเห็นคุณพ่อ เรามองไปที่คุณพ่อ เราจะ เห็นลูกชาย
เวลาที่เราปลูกข้าวโพด เราบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลงไปในดิน ประมาณสักสองอาทิตย์ เราจะเริ่มเห็นต้นข้าวโพดอ่อนๆ ขึ้นมา มีใบไม้สองใบ เราจะไม่เห็นเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอีก แต่เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดนั้นไม่ได้หายไปไหน มันยังมีชีวิตอยู่ในต้นข้าวโพดอ่อนนั้น หากเธอสามารถที่จะมองอย่างลึกซึ้งด้วยปัญญา เธอจะเห็นเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอยู่ในรูปแบบใหม่ นั่นคือ เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดกลายเป็น ต้นข้าวโพด คุณพ่อและลูกชายเช่นเดียวกัน เมื่อเรามองไปที่ลูกชาย เราก็จะเห็นคุณพ่อ ถ้าเราเห็นความทุกข์ของลูกชาย ก็ต้องเห็นว่า เป็นความทุกข์ของคุณพ่อด้วย เช่นเดียวกัน ความสุขของคุณพ่อก็เป็นความสุขของลูกชายด้วย เมื่อมองอย่างลึกซึ้งเช่นนั้น เธอจะ ค้นพบความจริงของการเป็นดั่งกันและกัน ความสุขนั้นไม่ใช่เรื่องของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือเป็นเรื่องส่วนตัว เมื่อพ่อเป็นทุกข์ ลูกก็ เป็นทุกข์ เมื่อพ่อเป็นสุข ลูกก็เป็นสุข เพราะฉะนั้น ถ้าเรามองเช่นนั้นเราจะสามารถสัมผัสความจริงแห่งการไร้ตัวตน ความจริงแห่ง อนิจจัง ความจริงแห่งอนัตตา และความจริงแห่งการเป็นดั่งกันและกันที่เห็นว่าพ่อและลูกไม่ได้แยกจากกัน พวกเขามีความเชื่อมโยง สัมพันธ์เป็นดั่งกันและกัน ความ เป็นอนิจจัง (impermanence) ความเป็นดั่งกันและกัน (inter-being) และความเป็นอนัตตา (no self) นั่นคือปัญญาต่างๆ ที่ช่วยนำมาซึ่งสัมมาทิฏฐิ หรือความคิดเห็นที่ถูกต้อง (right view)
ความคิดเห็นที่ไม่แบ่งแยกทุกครั้งเวลาที่เราปฏิบัติภาวนา เวลาที่เรามีความคิดผุดขึ้นมา เราคิดอะไรขึ้นมา เราจะต้องตระหนักรู้ธรรมชาติของความคิดนั้น ซึ่งก็คือจิตปรุงแต่ง 1 ใน 51 ประเภท เวลาที่เธอมีความคิดเกิดขึ้น ความคิดนั้นอาจจะไปในทิศทางที่เข้าใจ เมตตากรุณา ไม่มีการ แบ่งแยก ซึ่งพระพุทธเจ้าอธิบายว่าเป็นความคิดที่ถูกต้อง บางทีเมื่อเธอสามารถที่จะมีความคิดที่ถูกต้อง เธอจะรู้สึกดีในกายและใจ ของเธอ ผู้ฝึกปฏิบัติที่ดีนั้นมีความสามารถที่จะสร้างความคิดมากมายในทุกวัน ความคิดเห็นที่ถูกต้องคือคิดไปในทิศทางที่ไม่แบ่งแยก ไม่มีตัวตนและเป็นดั่งกันและกัน ในการที่เราจะมีความคิดเห็นที่ถูกต้องได้ เราก็ต้องมีปัญญาที่ถูกต้องด้วย หากเราไม่มีความคิดเห็น ที่ถูกต้อง ก็จะมีความรู้สึกที่อยากจะลงโทษเขา นั่นไม่ใช่ความคิดเห็นที่ถูกต้อง ความคิดนั้นจะทำลายสุขภาพของเรา สังคมของเรา อันนี้ก็คือมิจฉาทิฏฐิ หรือความคิดเห็นที่ผิด นี่คือหนทางที่นำไปสู่ความทุกข์
แต่หากเราฝึกปฏิบัติให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญา ก็จะนำไปสู่หนทางที่จะออกจากทุกข์ เราต้องสัมผัสกับความจริงแห่งอนิจจัง อนัตตา ความจริงแห่งการเป็นดั่งกันและกัน ความคิดเห็นที่ถูกต้อง (right view) จะช่วยให้เราสร้างวาจาที่ถูกต้อง หรือสัมมาวาจา เมื่อเราพูด อะไรสักอย่าง แล้วสิ่งที่พูดนั้นนำใจให้เกิดความหวัง ความเชื่อมั่น นั่นก็คือวาจาที่ถูกต้อง เมื่อเราเขียนจดหมายที่เต็มไปด้วยความรัก การให้อภัย ความใจดี เราจะรู้สึกถึงความประเสริฐ เมื่อเราพูดอะไรที่ทำให้มีความสุข คำพูดนั้นจะทำให้เกิดการบำบัดเยียวยาในตัวเรา และอีกฝ่ายหนึ่งในทันทีทันใด แล้วเราก็จะมีความสุข นี่ก็คือการดับทุกข์ พระพุทธเจ้าได้พูดถึงหนทางที่ถูกต้อง โดยการกระทำที่ ถูกต้องคือการกระทำที่ช่วยปกป้องเกื้อกูลรักษาให้เราปลอดภัย เมื่อเรามีการกระทำที่ถูกต้องเช่นนั้น เธอจะรู้สึกถึงการเยียวยาและ มันจะเกิดขึ้นในอีกฝ่ายหนึ่งด้วย
อริยสัจข้อที่ 4 คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมมาก เช่น การมีความคิดเห็นที่ถูกต้อง จะทำให้เกิดวาจาที่ถูกต้อง การกระทำที่ถูกต้อง ข้อฝึกอบรมสติ 5 ประการนั้นเกี่ยวข้องกับความคิดเห็นที่ถูกต้อง วาจาที่ถูกต้อง การกระทำที่ถูกต้องด้วย ถ้าเรา สามารถประยุกต์ และนำคำสอนไปใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ในครอบครัว ในที่ทำงาน ในชุมชน ในสังคม เราก็จะสามารถช่วย หยุดความทุกข์ได้มากมาย และนำความสุขมาได้มากมาย นี่เป็นสองสามตัวอย่างที่จะช่วยให้เราเห็นว่า Engaged Buddhism สามารถที่ จะเข้าใจในแง่อริยสัจ 4 ได้ด้วย นี่คือความหมายที่ฉันพยายามอธิบายความหมายของ Engaged Buddhism
Engaged Buddhism เป็นพระพุทธศาสนาแบบที่สามารถอธิบายและบ่งบอกถึงความทุกข์ความไม่สบายตามหน ทางแห่งอริยสัจ 4 ทั้งยังตอบสนองต่อความทุกข์ความไม่สบายตามหนทางแห่งอริยมรรค การตอบสนองในขั้นต้นมุ่งไปยังความทุกข์ร่างกายของเรา ต่อมาก็เป็นจิตของเรา คือความรู้สึกและการรับรู้ของเรา และต่อมาคือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นของคนรอบข้างเรา สิ่งแวดล้อมของเรา การตอบสนองต่อความทุกข์และการมีชีวิตอย่างมีความสุขด้วยวิถีที่สงบ ก็คือการฝึกปฏิบัติตามแบบของพระอวโลกิเตศวรนั่นเอง …๐
จาก
http://totalawake.com/blog/?cat=273http://totalawake.com/blog/?p=7256