ผู้เขียน หัวข้อ: "Prince Among Slaves" จากเจ้าชายในอัฟริกา ต้องกลายเป็นทาสในอเมริกา  (อ่าน 1063 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

ภาพวาด 'อับดุลราฮ์มาน' เจ้าชายผู้กลายเป็นทาส ภาพนี้มีอายุเกือบ 200 ปีแล้ว

       
                     บทสัมภาษณ์โปรดิวเซอร์สารคดี "เจ้าชายผู้กลายเป็นทาส"
   
   "Price Among Slaves" - Film sheds light on Islam inU.S.   

   
    แปลโดย วาริษาฮ์ อัมรีล
   
   http://www.newmuslimthailand.com/main/index.php
   
   สถานีโทรทัศน์ช่องพีบีเอส (PBS ช่อง 13 เป็นช่องเพื่อการศึกษา) ของอเมริกาเพิ่งฉายสารคดีโทรทัศน์เรื่อง "Prince Among Slaves" (เจ้าชายผู้กลายเป็นทาส) ไปเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2008 ที่ผ่านมา สารคดีความยาว 1 ชั่วโมงเรื่องนี้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตจริงของเจ้าชายอาฟริกาผู้ถูกชาวผิวขาวนักล่าทาสจับมาขายในอเมริกาเมื่อปี 1788 และตกเป็นทาสยาวนานถึงกว่า 40 ปี ก่อนจะได้รับอิสรภาพ และกลายเป็นบุคคลที่โด่งดังที่สุดคนหนึ่งในยุคสมัยนั้น
   
   สารคดีโทรทัศน์ Prince Among Slaves ได้รับรางวัลสารคดียอดเยี่ยมปี 2007 จากเทศกาล American Black Film Festival (ภาพยนตร์อเมริกันผิวดำ) กำกับการแสดงโดย แอนเดรีย คาอิน และบิล ดุก ผู้กำกับเจ้าของรางวัลเอ็มมี่ (Emmy Award) โดยผ่านงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย จดหมายเหตุ และไดอารี่ รวมทั้งการสัมภาษณ์นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง โดยมี มอส เดฟ (Mos Def), นักร้อง-นักแสดงอเมริกันผิวดำผู้เป็นมุสลิมใหม่, เป็นดารานำแสดง, และ อเล็กซ์ โครนีเมอร์ (Alex Kronemer), เจ้าของบริษัท Unity Productions Foundation (UPF) ผู้เป็นมุสลิมใหม่, เป็นโปรดิวเซอร์ของสารคดีเรื่องนี้
   
   เรื่องราวของ Prince Among Slaves มาจากหนังสือชีวประวัติซึ่งเขียนโดย ดร.เทอรรี่ อัลฟอร์ด
   
   Prince Among Slaves เป็นเรื่องจริงสุดรันทดของ อับดุล-ราฮ์มาน, เจ้าชายอาฟริกันมุสลิม, ซึ่งโดนนักล่าทาสผิวขาวจับได้ในปี 1788 แม้เขาจะบอกว่าเขาเป็นเจ้าชายและพร้อมจะให้บิดานำค่าไถ่ตัวมาให้ ก็ไม่มีผู้ใดเชื่อ ท้ายที่สุดอับดุล-ราฮ์มานถูกนำตัวไปขายเป็นทาสในภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา เขาต้องผ่านความทุกข์เวทนาแสนสาหัส จนในที่สุดตกเป็นสมบัติของชาวไร่ยากจนและอ่านหนังสือไม่ออกที่ชื่อ โทมัส ฟอสเตอร์ แห่งนัทเชส รัฐมิสซิสซิปปี
   
   อับดุล-ราฮ์มานตกเป็นทาสถึง 40 ปีเต็มก่อนจะได้รับอิสรภาพอย่างไม่น่าเชื่อ เขาเขียนจดหมายร้องเรียนผ่านรัฐสภาสหรัฐฯ เป็นเวลานาน (อับดุล-ราฮ์มานอ่านออกเขียนได้ แต่นายทาสเจ้าของไร่ของเขากลับไม่รู้หนังสือ) จากนั้นเขาได้กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งแห่งยุคสมัย และเดินทางกลับอาฟริกาในสถานภาพของเจ้าชาย
   
   สารคดีเรื่องนี้จบลงด้วยงานเลี้ยงพบปะสังสรรค์ของลูกหลานอับดุล-ราฮ์มานทั้งที่อาศัยในอาฟริกาและในอเมริกา ที่เมืองนัทเชส รัฐมิสซิสซิปปี



อเล็กซ์ โครนีเมอร์ (Alex Kronemer), เจ้าของบริษัท Unity Productions Foundation (UPF) ผู้เป็นมุสลิมใหม่, และเป็นโปรดิวเซอร์ของสารคดีเรื่องนี้
   
   อเล็กซ์ โครนีเมอร์ เจ้าของสารคดีโทรทัศน์เรื่องนี้หวังว่าตัวเองจะมีส่วนช่วยในการยุติการปะทะระหว่างอารยธรรม ซึ่งเขาบอกว่าเป็นสงครามที่เขาได้เผชิญในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาตั้งแต่วัยเด็ก
   
   พ่อของอเล็กซ์เป็นชาวยิว ส่วนแม่เป็นคริสเตียน อเล็กซ์ก็เลยเติบโตมาท่ามกลางความสับสนด้านศรัทธา การที่แม่ของเขาเป็นมิชชันนารีโปรแตสแตนท์บอกว่ามนุษย์ส่วนใหญ่จะตกนรกยิ่งทำให้ทัศนะด้านศาสนาของอเล็กซ์ยิ่งแย่ไปใหญ่
   
   แต่เมื่อเขาได้แสวงหาความจริง อเล็กซ์กลับได้พบสิ่งนั้นในอิสลาม
   
   แม้อเลกซ์ซึ่งตอนนี้อายุได้ 57 ปีบอกว่าศาสนาเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ชะตากรรมของชาวมุสลิมในสหรัฐฯ หลังเหตุการณ์ 9/11 ได้บังคับให้เขาต้องใช้ความเชี่ยวชาญที่มีอยู่เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่จะทำให้ชาวอเมริกันได้รู้จักอิสลามเพิ่มขึ้น เขาร่วมก่อตั้งมูลนิธิ Unity Productions Foundation(UPF) ซึ่งได้ผลิตสารคดีโทรทัศน์ที่ได้รับรางวัลหลายเรื่อง ซึ่งรวมทั้ง Muhammad: Legacy of a Prophet (มุฮัมมัด: มรดกแห่งศาสนฑูต) และCity of Light: The Rise and Fall of Islamic Spain (อาณาจักรแห่งแสงสว่าง: ความรุ่งโรจน์และความเสื่อมถอยของอิสลามในสเปน)
   
   และในสารคดีเรื่องใหม่ของเขา Prince Among Slaves อเลกซ์ได้ให้สัมภาษณ์ถึงแรงบันดาลใจของเขาและสารคดีเรื่องนี้
   
   คำถาม: คุณหันมาให้ความสนใจในสารคดีเกี่ยวกับอิสลามได้อย่างไร
   
   คำตอบ: มันเกิดขึ้นเมื่อปี 1998 ตอนนั้นผมกำลังถ่ายทำรายการสารคดี Hajj to Mecca (พิธีฮัจย์ที่เมกกะ) ของสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (CNN)ซึ่งซีเอ็นเอ็นก็ได้แพร่ภาพสารคดีชุดนี้ออกไปทั่วโลก มีผู้ชมถึงกว่า 500 ล้านคน นั่นแหละที่ทำให้ผมได้ตระหนักถึงอิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ในการถ่ายทอดเรื่องราวสู่ผู้ชมจำนวนมากมายมหาศาลทั่วทุกมุมโลก
   
   ก่อนเกิดเหตุการณ์ 9/11 ชาวอเมริกันส่วนใหญ่แทบไม่รู้เรื่องของโลกภายนอก อย่าว่าแต่เรื่องอิสลามหรือมุสลิมเลย ชาวอเมริกันไม่รู้เรื่องศาสนาของโลกตะวันออกแม้แต่น้อย เราก็เลยพยายามเติมช่องว่างตรงนี้ ถ่ายทอดเนื้อหาที่ช่วยให้ผู้คนได้เข้าใจเรื่องราวเบื้องหลังพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์และทีวีทั้งหลาย เป้าหมายของเราคือสันติภาพผ่านสื่อมวลชน
   
   คำถาม: การที่ในวัยเด็กคุณมาจากครอบครัวที่มีศาสนาหลากหลายช่วยในงานนี้ได้อย่างไร
   
   คำตอบ: ช่วยได้มากเลยละ ผมเข้าใจว่าไม่จำเป็นที่ศาสนาใดศาสนาหนึ่งจะทำให้คนแต่ละคนเป็นคนดีหรือเลว แต่เป็นที่ตัวคนๆ นั้น ความพยายามของเขาและข้อจำกัดของเขาที่นำเขาไปสู่ความเป็นคนดี ผมว่ามนุษย์ทุกคนมีข้อบกพร่อง แต่ศาสนานี่ละที่จะนำพาผู้คนไปสู่หนทางที่ดี ทางนำที่ถูกต้อง
   
   แต่กระนั้นก็ตาม คุณจะเห็นว่ามีตัวอย่างมากมายที่คนทำผิดในนามศาสนา
   
   คำถาม: ชาวอเมริกันก่อนสงครามรู้เรื่องอิสลามและมุสลิมอย่างไรบ้าง
   
   คำตอบ: ก็รู้ละ และรู้มากกว่าชาวอเมริกันในยุคปัจจุบันตั้งเยอะ มีความสัมพันธ์มากมายของบรรดาบิดาผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาและอเมริกายุคบุกเบิกกับอิสลามและโลกอาหรับ โมร็อคโคเป็นประเทศแรกที่ประกาศรับรองประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากอเมริกาประกาศตนเป็นเอกราชไม่ขึ้นกับอังกฤษ โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson ค.ศ.1743-1826) ประธานาธิบดีคนที่สามของสหรัฐฯ มีคัมภีร์อัล-กุรอานไว้ในห้องสมุดส่วนตัว ดูสิ...ชายผู้ชาญฉลาดเหล่านี้ซึ่งได้ร่วมกันก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นมา เป็นนักอ่านหนังสือตัวยง และพวกเขาอ่านตำราที่มาจากโลกอิสลามด้วย
   
   คำถาม: สิ่งนี้ส่งผลต่อความคิดที่ว่าอเมริกาคือชาติยิว-คริสต์อย่างไร
   
   คำตอบ: ผมว่าต้องดูด้วยว่าอิสลามได้มีบทบาทต่อการก่อตั้งประเทศอเมริกาอย่างไร ซึ่งผสมปนเปกันไป ความเชื่อมโยงของชาวมุสลิมในประวัติศาสตร์ยุคเริ่มต้นของอเมริกาเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง อย่างเช่นทาสจากอาฟริกานั้นคาดว่ามีร้อยละ 25 ที่เป็นชาวมุสลิม พวกเขานำวิทยาการที่เหนือกว่ามาเผยแพร่ให้กับนายทาสที่ซื้อตัวพวกเขา นำความรู้ที่เป็นประโยชน์มาช่วยสร้างประเทศอเมริกา
   
   อเมริกาเป็นหนี้บุญคุณทาสชาวมุสลิมแน่นอน
   
   คำถาม: สารคดีเรื่องนี้ได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างไรบ้าง
   
   คำตอบ: จำนวนมากบอกว่าพวกเขาไม่เคยตระหนักเลยว่าอเมริกาในยุคก่อตั้งนั้นมีมุสลิมจำนวนมากทีเดียวและก็เรื่องราวของเจ้าชายอับดุล-ราฮ์มานผู้กลายเป็นทาสก็บอกไว้แล้ว เรื่องราวของเขาก็คือ เขาอาศัยในโลกที่เป็นสากล เรื่องราวยุคเริ่มต้น เจ้าชายผู้กลายเป็นทาส และเรื่องราวของคนที่ตกจากที่สูงสุดลงสู่ที่ต่ำสุดเป็นเรื่องราวที่รันทดเสมอ.


มอส เดฟ (Mos Def), นักร้อง-นักแสดงอเมริกันผิวดำผู้เป็นมุสลิมใหม่, เป็นดารานำแสดงใน "Prince Among Slaves"

ชมคลิปวีดิโอบางส่วนจาก Youtube ของสารคดี "Prince Among Slaves"
   
<a href="https://www.youtube.com/v/pfjqi4-icjU" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/pfjqi4-icjU</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/-ukNZizqrrg" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/-ukNZizqrrg</a>

จาก http://muslimchiangmai.net/index.php?topic=3997.0
   
     
      คัดลอกบทความจาก
      http://www.oknation.net/blog/musachiza/2011/08/09/entry-1
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...