ผู้เขียน หัวข้อ: กู้วิกฤต!! “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ต่อลมหายใจ หวังพลังประชาชนระดมทุนครบ 10 ล้าน  (อ่าน 1807 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

“พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ตั้งอยู่ในเขตบางรัก

<a href="https://www.youtube.com/v/P15FKqckN8Y" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/P15FKqckN8Y</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/PN-tOA-ID7g" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/PN-tOA-ID7g</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/Vt6M88MVo7k" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/Vt6M88MVo7k</a>


กู้วิกฤต!! “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ต่อลมหายใจพื้นที่สีเขียว หวังพลังประชาชนระดมทุนครบ 10 ล้าน


  จากกรณี รศ.วราพร สุรวดี ประธานกรรมการมูลนิธิอินสาท-สอาง และ ผู้ดูแลสนับสนุนกิจการด้านต่างๆ ของ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ย่านบางรัก ได้เปิดรับบริจาคเงินจำนวน 10 ล้านบาท ซื้อที่ดินด้านข้างพิพิธภัณฑ์ หลังจากนำเงินส่วนมัดจำไปแล้ว 30 ล้านบาท โดยมีสัญญาว่าต้องชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 2 กันยายนนี้ เพื่อปกป้องพิพิธภัณฑ์ไม่ให้ถูกบดบังและเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของตัวอาคารที่อาจได้รับผลกระทบขณะก่อสร้างอาคารสูง 8 ชั้น แต่กลับถูก กทม. เพิกเฉย
       
       ถ้าหากพูดถึงพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ที่ได้รับความนิยมลำดับต้นๆ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” หรือ “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก" เป็นอีกหนึ่งที่อยู่ในรายชื่ออย่างแน่นอน เพราะด้วยตัวพิพิธภัณฑ์ของที่นี่ มักจะแสดงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และเป็นแหล่งที่รวบรวมเรื่องราวของชาวกรุงในอดีตไว้ให้ชมและศึกษากันแบบเข้าใจง่าย นอกจากนั้นความร่มรื่นเขียวขจีของต้นไม้น้อยใหญ่ยังส่งผลให้พิพิธภัณฑ์ กลายเป็นที่พูดถึงใครต่อใครหลายคนต้องมาเยี่ยมเยือนที่นี่สักครั้ง


บรรยากาศร่มรื่นของ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก”

  พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกแห่งนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของ อาจารย์วราพร สุรวดี ที่อยากให้บ้านหลังนี้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาศึกษา ซึ่งบ้านหลังนี้ก็เป็นมรดกตกทอดมาจากมารดา คือ คุณสอาง สุรวดี (ตันบุณเต็ก) และได้นำมาปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน และได้ถูกโอนกรรมสิทธิ์ให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้ดูแล เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2547


อาจารย์วราพร สุรวดี ผู้ดูแลสนับสนุนกิจการด้านต่างๆ ของ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก”

    พิพิธภัณฑ์ที่นี่จึงเป็นของกรุงเทพมหานครโดยสิ้นเชิง แต่ทว่าการดูแลอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้กลับถูกปล่อยปละละเลย จึงเป็นเหตุทำให้ อาจารย์วราพร สุรวดี เข้ามาดูแลสนับสนุนกิจการด้านต่างๆ ของ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ย่านบางรัก ตลอดระยะเวลา 12 ปี พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงโดดเด่นขึ้นมาเป็นที่พูดถึงในเรื่องพื้นที่สีเขียวใจกลางกรุง ที่มีต้นไม้ใหญ่ล้อมรอบ แต่ด้วยเหตุร้ายเมื่ออาจารย์ได้ทราบมาว่า พื้นที่ข้างเคียงจะดำเนินการก่อสร้างตึกสูง 8 ชั้น ให้เป็นสถานที่ทำการค้าและที่อยู่อาศัย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบพิพิธภัณฑ์ถูกบดบังทัศนียภาพและเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของตัวอาคารอันเก่าแก่อีกด้วย
       
       ทั้งนี้อาจารย์ได้ทำการทักท้วงเรื่องดังกล่าวไปยังเขตบางรัก ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ดูแลพิพิธภัณฑ์โดยตรงอยู่หลายครั้ง แต่ทว่ากลับไม่ถูกตอบสนองความเหมาะสมในการดูแลแหล่งเรียนรู้แห่งนี้เท่าใดนัก เนื่องจากทางเขตบางรักแจ้งมาว่า ทางเขตได้อนุมัติพื้นที่ดังกล่าวให้ก่อสร้างอาคารได้ตามผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2556 ว่าเป็นที่ดินประเภทพาณิชกรรม ที่สามารถสร้างอาคารสูง 23 เมตรได้


“พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก”


 อาจารย์จึงได้ดำเนินการเสนอซื้อพื้นที่ดินจากเจ้าของ ที่ยอมตกลงจะขายพื้นที่ดังกล่าวให้ เพื่อตัดปัญหาความรำคาญและยุติเรื่องนี้ทั้งหมด ในจำนวนเงินสูงถึง 40 ล้านบาท โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายและค่าดำเนินการต่างๆ อีกประมาณ 1.8 ล้านบาท อาจารย์วราพร จึงตัดสินใจวางเงินส่วนตัวของตัวเอง จำนวน 30 ล้านบาท โดยมีสัญญาว่าต้องชำระส่วนที่เหลืออีกจำนวน 10 ล้านบาท ภายในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559 นี้
       
       ด้วยเหตุนี้เองอาจารย์และภาคประชาชน จึงได้ร่วมจัดกิจกรรมการระดมความคิดในหัวข้อ “กู้วิกฤตพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” เมื่อวันที่ 23 ก.ค. เวลา 10.00น. ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมพูดคุยจากเครือข่ายและตัวแทนจากชุมชนต่างๆ ในกทม. อาทิ ชุมชนป้อมมหากาฬ ชุมชนนางเลิ้ง ชุมชนมักกะสัน รวมถึงนักกิจกรรมในด้านต่างๆ เพื่อช่วยกันแก้วิกฤตนี้


บรรยากาศภายใน “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก”

    อาจารย์วราพร สุรวดี ประธานกรรมการมูลนิธิอินสาท-สอาง และ ผู้ดูแลสนับสนุนกิจการด้านต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก กล่าวว่า ตัวเองนั้นเคยโดนไล่ที่ เพราะเมื่อยกให้ราชการแล้วไม่มีสิทธิ์อยู่ แต่ตัวอาจารย์เองไม่ยอมไป เพราะที่นี่เป็นบ้านของอาจารย์ นอกจากนั้นยังเคยถูกตัดน้ำ เพื่อไม่ให้รดน้ำต้นไม้ โดยให้เหตุผลว่าสิ้นเปลืองงบประมาณ ตัวอาจารย์เป็นนักชีววิทยาเลยทำระบบนิเวศในพิพิธภัณฑ์ ด้วยการปลูกต้นไม้มากๆ ทำให้ในนี้เย็นกว่าข้างนอก และแถวนี้อยู่ในเมืองมีแต่ตึก แห้งแล้ง มาตัดน้ำแบบนี้ทำให้ต้นไม้ตาย อาจารย์ช่วยสร้างออกซิเจนให้ชาวกรุงเทพฯ บ้านเรือนพังสร้างใหม่แค่ 2 เดือน แต่ต้นไม้ตายต้องใช้เวลากี่ปี?


ร่วมจัดกิจกรรมการระดมความคิดในหัวข้อ “กู้วิกฤตพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก”

จากนั้นมาโดนเรื่องพื้นที่ดินด้านข้าง ที่จะทำการก่อสร้างตึก 8 ชั้น ซึ่งอาจจะทำให้บดบังทัศนียภาพ จึงเขียนจดหมายไปร้องเรียนต่อว่า กทม. ปล่อยให้สร้างได้ยังไง เพราะเป็นเขตใกล้กับพิพิธภัณฑ์ แต่กทม. กลับเพียงตอบมาว่า การสร้างตึกเป็นไปตามเงื่อนไขในผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานคร ปี พศ. 2556 จึงสามารถดำเนินการสร้างได้ อาจารย์จึงได้ตัดสินใจทำจดหมายให้กทม. อีกครั้ง เพื่อขอให้ดำเนินการซื้อที่ดินดังกล่าว แต่ไม่เป็นผล
       
       อาจารย์จึงตัดสินใจซื้อที่ดินนั้นด้วยเงินตัวเอง 30 ล้านบาท ที่หามาจากการขายทรัพย์สินส่วนตัว อย่างคอนโดมิเนียม ก่อนจะเปิดเรี่ยไรบริจาค 10 ล้าน ช่วงแรกที่เริ่มเปิดรับบริจาคได้ยอดกว่า 1.5 ล้านบาทใน 1 เดือน จนธนาคารล่มเพราะยอดโอนที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง หลังๆ เริ่มลดลง จึงอยากให้สื่อช่วยกันกระจายข่าวออกไปให้เรื่องนี้ยังคงอยู่ในกระแสอย่างต่อเนื่องจนถึงวันชำระ แต่ถ้าหากได้เงินไม่ครบก็จำเป็นต้องขอยืมหรือกู้ยืมรัฐ ซึ่งก็จะมีเรื่องของดอกเบี้ยเข้ามาเป็นภาระเพิ่ม ได้แต่หวังว่าจะได้เงินครบตามจำนวนก่อนถึงวันดังกล่าว


ร่วมมือร่วมใจกันระดมความคิด

    อาทิตย์ โกวิทวรางกูร เครือข่ายมักกะสัน ตัวแทนกลุ่ม “คนเล็กเปลี่ยนเมือง”  ได้แสดงความคิดเห็นว่า การรวมประชาชนคนธรรมดาให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องใหญ่ๆ ได้ จะทำให้ทุกคนรู้สึกหวงแหนสิ่งนั้น เราจะไม่หยุดแค่ได้เงินพอสำหรับช่วยพิพิธภัณฑ์ อาจจะก่อตั้งมูลนิธิหรือตั้งองค์กรสานต่อ เพื่อที่พยายามสร้างโครงสร้างทางสังคม รวมพลังประชาชนต่อไป จะได้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ จะมีหรือไม่มีน้ำยาในการลุกขึ้นมาสร้างสิ่งดีๆ และจะจัดเวทีเชิญบุคคลที่มีความรู้ด้านการสร้างโครงสร้างรวมพลังประชาชน มาระดมสมองคิดหาวิธีคู่ขนานกับเหตุการณ์นี้ไป ไม่ใช่รอแต่เพียงภาครัฐอย่างเดียวเท่านั้น
       
      เกื้อ แก้วเกต เครือข่ายลูกศิษย์ อ.วราภรณ์ ได้บอกว่า “แสนคน คนละร้อย” เป็นคำพูดของ อาจารย์ ที่พูดออกมา พวกเราเลยอยากทำให้เป็นจริง ถ้าได้แสนคนเพื่อช่วยจะยิ่งเพิ่มคุณค่าให้กับพิพิธภัณฑ์ ทุกคนจะได้มีส่วนร่วม ด้วยการช่วยเริ่มกระจายข่าว ขอบริจาคคนละ 100 บาทเท่านั้น หรือมากกว่าตามกำลังศรัทธา พิพิธภัณฑ์จะได้ไม่ถูกทำลาย


อาจารย์วราพร สุรวดี หวังได้เงินครบ 10 ล้าน เพื่อ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก”

    นอกจากนั้นยังมีการเสนอหาวิธีระดมทุน โดยคุณ ปรารถนา จริยวิลาศกุล (บี๋) เครือข่ายมักกะสัน ตัวแทนทีมอาสาจาก Run Hero Run จะจัดงานวิ่งเพื่อการกุศลหารายได้ให้ครบ 10 ล้าน ในชื่อ “วิ่งสิ ชาวบางกอก” เมื่อพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกเรียกร้อง ชาวบางกอกจึงต้องวิ่ง ตั้งใจให้พิพิธภัณฑ์เป็นเจ้าภาพ และทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วม ในการสร้างเส้นทางการวิ่งบนเส้นทางใกล้ชิดชุมชน โดยจะมีกล่องเปิดรับบริจาคและขายเสื้อที่ระลึก การวิ่งนี้นอกจากจะเป็นการต่อยอดช่วยพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังเป็นการแสดงออกถึงความต้องการ 5 อย่างของคนเมือง คือ ระบบนิเวศกลางกรุง, ปอดกลางกรุง, มรดกศิลปวัฒนธรรมที่เป็นของดั้งเดิมแท้, พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต, และต้องการรักษา ไม่ใช่ทำลายและสร้างขึ้นมาใหม่
       
       แม้การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์จะมีจุดริเริ่ม อาจารย์วราพร สุรวดี เพียงคนเดียว แต่การ “รักษา” ให้พิพิธภัณฑ์ยังคงอยู่เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน การแสดงพลังประชาชนจึงเป็นพลังสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะมีส่วนร่วมช่วยเหลือต่อชีวิตลมหายใจพื้นที่สีเขียว “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” อันทรงคุณค่าให้อยู่เป็นแหล่งเรียนรู้ของกรุงเทพมหานครต่อไป หากไม่ริเริ่มทำตั้งแต่วันนี้

        หากประชาชนท่านใดสนใจร่วมบริจาค สามารถโอนเข้าบัญชี น.ส.วราพร สุรวดี (โครงการพัฒนาพื้นที่สีเขียวกลางกรุงเทพฯ) ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาจัตุรัสจามจุรี เลขที่บัญชี 407-061757-2 (ออมทรัพย์) และบัญชี 468-058018-1 (เดินสะพัด) ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาจัตุรัสจามจุรี ชื่อบัญชี นางสาววราพร สุรวดี

จาก http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000073682


fb ต่อลมหายใจ  “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” : https://www.facebook.com/BkkMuseum/

ชาวโซเชียลร่วมกันแชร์ ร่วมกันระดมเงินเพียงแค่คนละ 100 บาท เพื่อให้ได้เงินจำนวน 10 ล้านบาท ไปซื้อที่ดินข้างพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ย่านบางรัก ไว้เป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้ โดยจะทำเป็นลานจอดรถ และพื้นที่ทำกิจกรรม 

<a href="https://www.youtube.com/v/Qs5AT3n0B2s" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/Qs5AT3n0B2s</a>

"รศ.วราพร สุรวดี" กรณีพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกขอรับบริจาคเงินเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียว

<a href="https://www.youtube.com/v/IBRC_bBMa8I" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/IBRC_bBMa8I</a>

ข่าวช่องวัน l ระดมทุน 10 ล้าน ซื้อที่ข้างพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

<a href="https://www.youtube.com/v/29JOyRJJ91s" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/29JOyRJJ91s</a>

ทุบโต๊ะข่าว:ป้าเจ้าของ"พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก"เผยยอดลงขันซื้อที่ขาดอีก6ล้าน ขอบคุณให้คนละ100 25/07/59

<a href="https://www.youtube.com/v/6kza2d8nuIE" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/6kza2d8nuIE</a>


  :yoyo100: จาก http://www.sookjai.com/index.php?topic=177584.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 27, 2016, 12:04:06 am โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


<a href="https://www.youtube.com/v/TZgynbHssqo" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/TZgynbHssqo</a>

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ของอาจารย์วราพร สุรวดี

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ไม่ใช่แค่เพียงมาค้นหาความทรงจำเท่านั้น หากแต่ผู้ที่เรามาพบน่าจะพาเราย้อนกลับไปดูภาพเก่า ๆได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น อาจารย์วราพร สุรวดี ในวัย 73 ปี เจ้าของและผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้บอกกับเราว่าของทุกชิ้นของที่นี่ล้วนเป็นข้าวของเครื่องใช้ของครอบครัวที่ยังคงเก็บไว้ในสภาพใกล้เคียงกับในอดีต เช่นเดียวกันกับสภาพพื้นที่ภายในรั้วที่เหมือนจะถูกหยุดนิ่งเอาไว้ เมื่อ 70 กว่าปีก่อนที่นี่เคยเป็นอย่างไรทุกวันนี้ก็ยังคงเหมือนเดิม



“บ้านหลังนี้สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 คุณแม่ได้แบบมาจากแค็ตตาล็อกบ้านของหลวงบูรกรรมโกวิท (สถาปนิกผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้น) เดิมถนนหน้าบ้านเป็นคลอง บ้านเก่า ๆในย่านนี้ทุกหลังจึงมีลำกระโดงไว้จอดเรือ (ปัจจุบันกลายเป็นบ่อน้ำเพราะคลองถูกถมเป็นถนน) สมัยก่อนคนมีฐานะมีที่ทางหน่อยมักนิยมปลูกห้องแถวให้คนเช่าบังหน้าบ้านเอาไว้ ส่วนด้านในก็เป็นบ้านที่มีสนามหญ้ากว้าง ๆ” จากคำพูดของอาจารย์วราพรและการสังเกตตึกรามบ้านช่องที่ดูเก่าแก่โดยรอบยังพอเห็นเค้ารางว่าย่านบางรักในอดีตนั้นเป็นที่อยู่ของบรรดาพ่อค้าและข้าราชการ เนื่องจากอยู่ใกล้กับถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสายแรกและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ







บนเนื้อที่กว่าไร่เศษเป็นมรดกที่อาจารย์วราพรได้รับจากคุณแม่ ประกอบด้วยบ้านหลังเก่า (ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีพ.ศ.2551) ลักษณะของบ้านเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก ตัวบ้านเป็นอาคารไม้สองชั้นแต่ทาสีเลียนแบบผนังก่ออิฐถือปูนโดยฝีมือช่างชาวจีน หลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องว่าวสีแดง มีการลดทอนลวดลายฉลุที่ชายคาออก เรียกกันว่า “ทรงปั้นหยารุ่นปลาย” ซึ่งได้รับความนิยมมากในยุคนั้น ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 2,400 บาท นอกจากนี้ยังมีบ้านที่ยกมาจากทุ่งมหาเมฆในภายหลัง ห้องแถว 8 ห้อง และเรือนไม้ใต้ถุนสูง ทั้งหมดแวดล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย บรรยากาศร่มรื่นและเย็นสบาย

“สมัยก่อนเราอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่มีคุณแม่ คุณป๋า ลูกสาว 5 คน ลูกติดคุณป๋าอีก 3 คน คุณยาย คุณยายเล็ก คุณน้า และบริวารอีกหนึ่งครอบครัว รวมกันหลายสิบชีวิต ตอนเด็ก ๆจำได้ว่าเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ต้องย้ายบ้านหนีระเบิดไปอยู่แถวคลองบางเชือกหนัง ตลิ่งชัน เพราะแถวนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์อยู่ใกล้กับไปรษณีย์กลางและหัวลำโพง ตอนนั้นรอบ ๆโดนระเบิดไฟไหม้กันหมด เว้นมาถึงบ้านเราพอดี บ้างก็ว่ามีพญาครุฑมาปัดระเบิดให้ไปตกที่อื่น”









อาจารย์วราพรเล่าว่าจุดเริ่มต้นของบ้านพิพิธภัณฑ์นี้เกิดจากเมื่อครั้งไปศึกษายังประเทศสหรัฐอเมริกาและนอร์เวย์ มีโอกาสได้พบเห็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นดี ๆมากมาย แต่พอกลับมาก็ยุ่งกับการทำงานสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย กระทั่งลาออกจากราชการและมีโอกาสได้กลับมารื้อค้นบ้านอย่างจริงจัง จึงพบว่ามีของเก่าเก็บไว้หลายอย่างทั้งที่เคยเห็นและไม่เคยเห็นมาก่อน

“จริง ๆแล้วต้องบอกว่าคุณแม่เป็นคนช่างเก็บ อย่างเช่นเฟอร์นิเจอร์แบบยุโรปในบ้าน ชุดเครื่องแก้วเจียระไน เครื่องมือแพทย์ต่าง ๆก็เป็นสมบัติติดตัวมาตั้งแต่สมัยที่คุณแม่แต่งงานกับคุณหมอฟรานซิส (สามีคนแรก) หลังออกจากราชการก็คิดว่าอยากปรับปรุงบ้านให้เป็นสถานสงเคราะห์ แต่พอเห็นว่าข้าวของมีมากเหลือเกินจึงเปลี่ยนมาจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งได้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านช่วยให้คำแนะนำ ทั้ง อาจารย์ภูธร ภูมะธน อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ คุณอเนก นาวิกมูล และท่านอื่น ๆ เริ่มทำมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535 โดยไม่มีนโยบายซื้อของใหม่เลย ยกเว้นบางชิ้นที่เพื่อนฝูงคนรู้จักเอามาให้บ้าง”











ถึงแม้ตอนนี้อาจารย์วราพรจะยกที่นี่ให้อยู่ในการดูแลของกรุงเทพมหานครแล้ว แต่ก็ยังคงพักอยู่บนเรือนไม้ใต้ถุนสูงข้างบ้านหลังเก่าและคอยดูแลจัดกิจกรรมของที่นี่อยู่เสมอ ทั้งการเสวนา และการแสดงละคร ร่วมกับ ป้าจุ๊ หรือคุณจุรี  โอศิริ  (ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง)

ความสำคัญของที่นี่ไม่ใช่แค่เพียงมีของเก่ามากมาย เราเชื่อว่าเจตนาที่ต้องการจะเก็บอดีตไว้เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งสำหรับการเรียนรู้วิถีชีวิตของคนไทยในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นมีความสำคัญต่อคนรุ่นหลังยิ่งกว่า วันนี้เราได้รื้อลิ้นชักความทรงจำออกมาเพื่อหยิบของขึ้นมาดูทีละชิ้น ๆ ภาพที่ได้เห็นดูเหมือนจะบอกเล่าได้ชัดเจนกว่าแค่เพียงอ่านประวัติจากในหนังสือ ไม่ต้องมีเครื่องมือไฮเทคย้อนเวลาอย่างไทม์แมชชีนหรอก อดีตอยู่ใกล้ตัวเราแค่นี้เอง



พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก หรือพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ตั้งอยู่ที่ซอยเจริญกรุง 43

เปิดทำการวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-16.00 น.

โทรศัพท์ 0-2234-6741, 0-2233-7027

เรื่อง: “วรัปศร”

ภาพ: สิทธิศักดิ์ น้ำคำ

จาก เว็บ บ้านและสวน http://www.baanlaesuan.com/31102/review/bangkokjan-museum/

<a href="https://www.youtube.com/v/W6C-FNHJ8y8" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/W6C-FNHJ8y8</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/jmKRNGx3xcI" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/jmKRNGx3xcI</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/OxjJDnEj-7A" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/OxjJDnEj-7A</a>
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 27, 2016, 12:10:55 am โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
ล้อมวงคุยกู้วิกฤติพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก “วราพร”เผย เคยขายคอนโดหวังโปะเอง10 ล.แต่ไม่มีคนซื้อ-ขับโฟล์คยื่นจม.เรี่ยไรในวัย 81



สืบเนื่องกรณี รศ.วราพร สุรวดี ประธานกรรมการมูลนิธิอินสาท-สอาง วัย 81 ปี ผู้ดูแลสนับสนุนกิจการด้านต่างๆ ของ ‘พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก’ ย่านบางรัก เปิดรับบริจาคเงินจำนวน 10 ล้านบาท โดยขอระดมทุนรายละ 100 บาท หรือตามกำลัง เพื่อซื้อที่ดินด้านข้างพิพิธภัณฑ์ เนื่องจากเจ้าของที่ดินดังกล่าวมีแผนสร้างตึกสูง 8 ชั้น ซึ่งจะบดบังทัศนียภาพของพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวลงอย่างสิ้นเชิง รวมถึงห่วงว่าจะส่งผลกับโครงสร้างของอาคารพิพิธภัณฑ์ซึ่งมีหลายหลัง อีกทั้งเป็นอาคารอนุรักษ์อีกด้วย จึงตัดสินใจทำจดหมายถึงผู้ว่าฯกทม. เพื่อร้องขอให้ซื้อที่ดินดังกล่าว แต่ไม่เป็นผล รศ.วราพรจึงติดต่อขอซื้อที่ดินซึ่งมีราคา 40 ล้านบาท โดยนำเงินส่วนตัวมัดจำแล้ว 30 ล้านบาท มีกำหนดชำระส่วนที่เหลือภายใน 2 กันยายนนี้ ซึ่งมติชนออนไลน์ได้นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น (อ่านข่าว ระดมคนละร้อย หวัง 10 ล้าน ! ซื้อที่ดินข้างพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เจ้าของเดิมทุ่มแล้ว 30 ล้าน กันสร้างตึก 8 ชั้นบังแหล่งเรียนรู้)

เมื่อวันที่ 23 ก.ค. เวลาประมาณ 10.00 น. ที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ซอยเจริญกรุง 43 เขตบางรัก มีการจัดกิจกรรมการระดมความคิดในหัวข้อ “กู้วิกฤตพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” บรรยากาศมีผู้เข้าร่วมพูดคุยคึกคักทั้งในสายงานวิชาการ ,เครือข่ายและตัวแทนจากชุมชนหลายแห่งในกทม. อาทิ ชุมชนป้อมมหากาฬ ชุมชนนางเลิ้ง ชุมชนมักกะสัน รวมถึงนักกิจกรรมในด้านต่างๆ


เครือข่ายชุมชนต่างๆเข้าร่วมหารือคึกคัก อาทิ ธวัชชัย มหาวรคุณ ประธานชุมชนป้อมมหากาฬ, ศานนท์ หวังสร้างบุญ จาก มหากาฬโมเดล, “น้ำมนต์” จากชุใชนนางเลิ้ง เป็นต้น

รศ.วราพร สุรวดี ประธานมูลนิธิอินสาท-สอาง ประธานเครือข่ายท่องเที่ยวภาคประชาสังคม และผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก กล่าวว่า หลังจากตนยกพิพิธภัณฑ์ให้กทม. เคยมีเจ้าหน้าที่เขตมาไล่ เพราะเมื่อยกให้ราชการแล้วไม่มีสิทธิ์อยู่ แต่ตนบอกว่า ฉันไม่ไป อย่างไรก็ตาม ตนเข้าใจดีว่าตามกฎหมายต้องเป็นเช่นนั้น แต่ก็รู้สึกเจ็บใจจนหายเจ็บใจแล้ว ต่อมา ยังถูกตัดน้ำ เพื่อไม่ให้รดน้ำต้นไม้ โดยให้เหตุผลว่าสิ้นเปลืองงบประมาณ แต่ส่วนตัวมองว่าการสร้างพื้นที่สีเขียวคือการสร้างออกซิเจนให้กรุงเทพฯ หลังจากนั้นเมื่อทราบว่าจะมีการสร้างตึก 8 ชั้น จึงไปสอบถามทางเขต ซึ่งได้คำตอบว่าตามกฎหมายสามารถทำได้ เนื่องจากย่านนี้ถูกกำหนดให้เป็นเขตพาณิชยกรรม จึงตัดสินใจทำจดหมายให้กทม.ซื้อที่ดิน แต่ไม่เป็นผล นำมาสู่การมัดจำเงิน 30 ล้าน และขอเรี่ยไรจากคนทั่วไปอีก 10 ล้าน จึงจะครบ 40 ล้านตามราคาขาย


ธวัชชัย มหาวรคุณ ประธานชุมชนป้อมมหากาฬ และรศ.วราพร สุรวดี



“เงิน 10 ล้านที่ยังไม่ได้จ่ายนั้น ตัดสินใจขายคอนโดมีเนียม คิดว่าจะขาย 10 ล้านพอดีกับเงินที่ต้องใช้ แต่มีคนบอกว่าราคาสูงไป อาจขายได้แค่ 7 ล้าน ก็ลดราคาลงมาเหลือ 7 ล้าน แต่ก็ยังขายไม่ได้อีก เลยมีคนแนะนำให้กู้ธนาคาร รวมถึงเขียนโครงการเรี่ยไรเงินไปยังหน่วยงานธุรกิจและโรงเรียนเอกชนต่างๆ โดยเดินสายขับรถโฟล์คตระเวน และส่งจดหมายเนี่ยไร มท.1 ด้วย อยากทราบว่า 100 บาท ท่านจะบริจาคหรือไม่ นอกจากนี้ก็มีวัดม่วงแคกับวัดสุทธิวราราม ส่งเงินมาช่วยด้วย ช่วงแรกได้แค่หลักหมื่น ตอนหลังพอมีกระแส ชาวบ้านแถวนี้ก็เอาเงินสดมาฝากไว้กับรปภ. มีเงินเข้าบัญชีทั้งวัน ตอนนี้ได้เกือบ 3 ล้านแล้ว ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกคนอย่างมาก ดีใจที่ได้ทำภารกิจร่วมกัน ” รศ.วราพรกล่าว และว่า ตนได้บนบานกับพระแก้วมรกตไว้ว่าถ้าได้ครบ 10 ล้าน จะถวายไข่ 300 ฟอง อย่างไรก็ตาม หากได้ไม่ครบ ถายใน 2 ก.ย. มีแผนสำรองที่เตรียมไว้คือ ขอยืมหรือกู้ธนาคาร คาดว่าไม่เกิน 3 ล้านบาท จากนั้นก็เรี่ยไรต่อจนครบ

นางปองขวัญ ลาซูส สมาคมสถาปนิกสยาม กล่าวว่า เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2558 เครือข่ายอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม นำโดยสยามสมาคมเสนอคสช. ให้ปรับกฎหมายหลายเรื่อง อย่างปัญหาที่ผ่านมา รัฐไม่สามารถนำเงินมาช่วยเอกชนได้ ตอนนั้นหวังว่าจะสั่งการได้หากเห็นความสำคัญ นอกจานี้ยังมีเรื่องกองทุน แต่เมื่อส่งเอกสารไปทุกครั้ง นายกรัฐมนตรีจะส่งกลับมายังกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงได้เรียกตนไปชี้แจง โดยสอบถามในกรณีกองทุนว่า มีผู้ขอตั้ง 8 กองทุน แล้วของเราสำคัญกว่ากองทุนอื่นอย่างไร เป็นการคุยวนอยู่ในประเด็นเช่นนี้ สุดท้ายไม่ทราบว่าเขียนรายงานไปอย่างไร ดังนั้น อย่ารอภาครัฐ เอกชนต้องทำเอง

“ถ้าทำเองมีองค์กรเองก่อนในระดับหนึ่ง หากภาครัฐเห็นว่าดี ก็จะหากลไกขึ้นมาเสริมเอง ไทยไม่ใช้ประเทศไม่มีเงิน แต่เงินไปอยู่ในกองทุนต่างๆ ซึ่งกรรมการกองทุนไม่ได้ตั้งเป้าหมายเชิงลึก อยากให้จุดประเด็นให้ยั่งยืนต่อไป ในอนาคตควรตั้งเป็นวงสนทนา ไม่หยุดเฉพาะห้องประชุม กิจกรรมต่างๆก็มีหลายพื้นที่ทำอยู่ เช่น ชุมชนมักกะสัน นอกจากนี้ควรหาทางออกให้รัฐด้วย ส่วนเราเองก็ควรมีความพร้อมในภาคประชาชน” นางปองขวัญกล่าว


ศศิ เพชรรัตน์ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์รับบริจาคเงินร่วมซื้อที่ดินตลอดทั้งวัน

นายศานนท์ หวังสร้างบุญ จากกลุ่ม “มหากาฬโมเดล” ซึ่งทำกิจกรรมผลักดันชุมชนป้อมมหากาฬ เขตพระนคร ให้เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตกล่าวว่า ประเด็นเรื่องพื้นที่ซึ่งภาครัฐกับเอกชนมีความเห็นแตกต่างกันในการบริหารนั้นคาดว่าในอนาคตน่าจะเกิดปัญหาอีกเรื่อยๆ เพราะกรุงเทพฯ กำลังพัฒนาด้านต่างๆ อาทิ การสร้างสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งเกี่ยวพันกับการใช้ที่ดินในเขตกทม.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ยังมีตัวแทนและสมาชิกเครือข่ายชุมชนรวมถึงองค์กรต่างๆแสดงความคิดเห็นอีกทั้งเสนอกิจกรรมหลากลาย อาทิ เครือข่ายมักกะสัน กล่าวว่า ได้วางแผนจัดงานวิ่งการกุศลในชื่อ “วิ่งสิชาวบางกอก” เพื่อช่วยระดมเงินให้ครบ 10 ล้านบาท โดยวิ่งบนเส้นทางที่ใกล้ชิดชุมชนที่สุด ถือเป็นการวิ่งครั้งประวัติศาสตร์ที่จัดขึ้นแบบเฉพาะกิจ


รศ.วราพร สุรวดี

จาก http://www.matichon.co.th/news/221730

เพิ่มเติม

นับถอยหลัง 37 วัน ขาดอีก 6.4 ล้าน ! “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” พ้นวิกฤต http://www.matichon.co.th/news/224829

แห่ชม ‘พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก’ คนมอบดอกไม้ให้กำลังใจ ‘วราพร สุรวดี’ เหตุทุ่ม 30 ล้านซื้อที่กันตึกสูง http://www.matichon.co.th/news/220826

เปิดชีวิต “วราพร สุรวดี” ผู้ทุ่มเททั้งชีวิตให้ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ระดม 10 ล้านซื้อที่ก่อนถูกตึกสูงบดบัง http://www.matichon.co.th/news/220124

อีกแค่8ล้าน! รศ.วราพรหวังโครงการสำเร็จ เผยภาพสเกตช์’พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก’หลังจบซื้อที่ดิน คนแห่ชม-โทรคุยสายแทบไหม้ http://www.matichon.co.th/news/219084

ศรีศักรยก ‘วราพร’ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกทำเพื่อสังคม จวกกทม.ล้มเหลวบริหาร -ถาม ‘ป้อมมหากาฬ’ จะรอดหรือ? http://www.matichon.co.th/news/218005

ระดมเงินซื้อที่ดินข้างพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก | 21-07-59 | เช้าข่าวชัดโซเชียล | ThairathTV https://youtu.be/gpLS9m4bBRY

โซเชียลฯ ร่วมพลังลงขันซื้อที่ดินรักษาพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก : BrightNews 20-07-59 https://youtu.be/B0P2BB8srRA

ระดม 10 ล้านบาท ต่ออายุ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” - เข้มข่าวค่ำ https://youtu.be/ddMLnuDKHMc

Amarin NewsNight_ต่อลมหายใจพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (19 กรกฎาคม 2559) https://www.youtube.com/watch?v=p0VVTitAZdM

บ้านหมอฟรานซีสในพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก https://youtu.be/-wlCiBkIbU8

เที่ยวชิลล์ๆย่านบางรัก"พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก" https://youtu.be/Xv-oDlcSs7M

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก บ้านของคนกรุงเทพฯ https://youtu.be/sHIUFlncS68

<a href="https://www.youtube.com/v/sPk9XmX3Jeg" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/sPk9XmX3Jeg</a>

เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคมเปิดเวทีช่วยเหลือพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก https://youtu.be/WYe6cUX1GRE

<a href="https://www.youtube.com/v/9nYgS43azDs" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/9nYgS43azDs</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/bN4cE-MVFj0" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/bN4cE-MVFj0</a>
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...