ผู้เขียน หัวข้อ: D. T. Suzuki ประวัติ ผลงาน และ หลักคำสอน ดี.ที.ซูซุกิ  (อ่าน 1044 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


  ไดเซทสึ ไททาโร ซูซุกิ  (鈴木 大拙)    เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1870 (พ.ศ. 2413)  เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12  กรกฎาคม ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) อายุ 95 ปี  เป็นชาวญี่ปุ่น เป็นทั้งนักคิด นักเขียน นักปฎิบัติ ที่มีชื่อเสียงในพระพุทธศาสนานิกายเซน เป็นผู้แปลวรรณกรรมภาษาจีน ญี่ปุ่นและ สันสกฤต หลายเล่ม ได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้นำและเผยแผ่พุทธศาสนานิกายเซนจากโลกตะวันออก สู่โลกตะวันตก

ไดเซทสึ ไททาโร ซูซูกิ เกิดที่ จังหวัดคานาซาวะ อิชิกาวา

ประเทศญี่ปุ่น เป็นบุตรคนเล็ก(คนที่ 5) บิดาเป็นหมอ อยู่ในตระกูลซามูไร

และเสียชีวิตเมื่อซูซุกิ มีอายุได้เพียง 6 ขวบ

ด้านการศึกษา  เกี่ยวกับพุทธศาสนา ไดเซทสึ ไททาโร ซูซูกิ สุนใจศึกษาเกี่ยวกับศาสนา ปรัชญาเป็นอย่างมาก เค้าพยายามสนทนาธรรมกับพระนักบวชในพุทธศาสนานิกายเซน  ชอบฟัง อ่านเรื่องเล่านิทานเซนต่าง ๆ นอกจากนี้ เค้าเองได้รู้จักพระอาจารย์โกะเซน อิมากิตะ ซึ่งเป็นพระที่มีชื่อเสียง  ท่านเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนานิกายเซน

                หลังจากมารดาเสียชีวิต ซึ่งขณะนั้น ซูซูกิ มีอายุได้เพียง 20 ปี พี่ชายซึ่งเป็นทนายความ ได้ส่งไปเค้าเรียนที่มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล ที่โตเกียว ซูซูกิ   เลือกพักใกล้วัดกามากะ เพื่อศึกษาธรรมะกับ พระอาจารย์ชากุ โซเอน (Shaku Soen) พระเซนที่มีชื่อเสียง ซูซูกิ ได้รับการฝึกปฏิบัติตามแนวทางเซน การสื่อสารภายในตน การสื่อโดยปราศการพูด การนั่งสมาธิที่ยาวนาน (Zazen) เป็นการฝึกปฏิบัติอย่างมุ่งมั่น อุตสาหะอย่างหนักในระยะเวลา 4 ปี เกี่ยวกับจิต กาย ศีล ธรรม และสติปัญญา ซึ่งในช่วงนั้นซูซูกิใช้ชีวิตเป็นพระเซน ซูซูกิได้เขียนเล่าประสบการณ์การเป็นพระเซนไว้ในหนังสือ “ The Training of the Zen Buddhist Monk ”

ปี ค.ศ.1890 อาจารย์ชากุ โซเอน ได้เชิญซูซูกิ เดินทางไปอเมริกาเพื่อทำหน้าที่แปลหนังสือของอาจารย์ชากุ โซเอน เป็นภาษาอังกฤษ และได้ใช้โอกาสนี้แปลบทความโบราณของชาวเอเชียเป็นภาษา อังกฤษอีกด้วย เช่น Awakening of Faith in the Mahayana  เป็นต้น บทบาทในการเป็นนักแปลนี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของอาชีพเป็นนักเขียนในเวลาต่อมา

<a href="https://www.youtube.com/v/RVp9i4QIUUU" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/RVp9i4QIUUU</a>

ประวัตตำแหน่งและผลงาน 

                นอกจากภาษาญี่ปุ่นแล้ว ซูซุกิ ยังสามารถพูด และเขียนได้หลายภาษา เช่น ภาษาบาลี สันสกฤต ภาษาจีน เยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ

                ปี ค.ศ. 1893 พระอาจารย์ชากุ โซเอน ได้เข้าร่วมประชุมสภาศาสนาแห่งโลก พร้อมพาซูซูกิเดินทางไปด้วย ดร.พอล คาร์ลอส (Dr.Paul Carus) นักวิชาการชาวเยอรมัน ซึ่งพักอยู่ที่ลาซาล รัฐอิลินอยส์(Lasalle,Illinois) ได้เสนอให้แปล และตีพิมพ์ วรรณกรรมชาวตะวันออกเผยแผ่สู่ประเทศตะวันตก พระอาจารย์ชากุ โซเอน ได้มอบหมายให้ซูซุกิรับงาน ซูซุกิ อาศัยและทำงานที่บ้านของ ดร.พอล คาร์ลอส งานชิ้นแรกที่แปลคือคัมภีร์โบราณจีน เต๋า เต๋ กิง จากภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษ

                ปี ค.ศ.1907  ในระหว่างที่ทำงานในสหรัฐอเมริกานั้น ซูซุกิ ยังได้เดินทางเพื่อร่วมประชุมและบรรยายเกี่ยวกับพุทธศาสนามหายานในหลายประเทศในยุโรป และได้เขียนหนังสือ Outlines of Mahayana Buddhism    ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกของซูซูกิอีกด้วย

ปี ค.ศ.1909  เดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น เพื่อทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัย Peer’s School (ปัจจุบันคือ Gakushuin University)

ปี ค.ศ.1911 ซูซุกิ สมรสกับ Beatrice Erskine Lane ซึ่งเป็นนักวิชาการเทววิทยา ทั้งสองทำงานร่วมกันที่สมาคมเทววิทยา ณ สถาบัน Theosophical Society Adyar (สมาคมเทวปรัชญาในยุโรปและอเมริกามีวัตถุประสงค์เพื่อรวมศาสนาโดยถือหลักตามศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน) ซูซูกิรับหน้าที่เป็นนักปรัชญาพุทธศาสนาเผยแผ่พระพุทธศาสนามหายาน จนกระทั่งปี ค.ศ.1939 ภรรยาได้เสียชีวิต                               

                ปี ค.ศ.1921  รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยโอตานิ (Otani University) และในปีนี้เอง ซูซุกิและภรรยา ได้ก่อตั้งสมาคม “Eastern Buddhist Society ” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้จัดประชุมสัมมนาเกี่ยวกับพุทธศาสนานิกายมหายาน และจัดพิมพ์วารสาร  The Eastern Buddhist เพื่อเผยแผ่ไปยังประเทศตะวันตก โดยส่งวารสารไปยังสภาศาสนาโลก ประจำสหรัฐอเมริกา(ค.ศ.1936) และมหาวิทยาลัยลอนดอน   ซูซุกิ นอกจากนี้ได้สร้างผลเกี่ยวกับพุทธศาสนา โดยเฉพาะ Studies in Zen Buddhism (1927-1934)

                ซูซุกิ ยังได้เขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนามหายานนิกายสุขาวดี (Pure Land Buddhism)โดยเฉพาะลัทธิชิน หรือ โจโด ชินชู (Shin Buddhism : Jodo Shinshu) และแปลหนังสือเกี่ยวกับนิกายสุขาวดีอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีความสนใจวัฒนธรรมศาสนาของจีนเป็นพิเศษ ผลงานเขียนและแปลหนังสือหลายเล่มนี้ แสดงให้เห็นถึงความสนใจ และใช้ตัวอักษร การสอนเซนตามแบบจีน(Chan) ดังนั้น จึงได้รับบทบาทสำคัญในการออกแบบข้อสอบเกี่ยวกับนิกายเซนในประเทศจีน

                นอกจากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางเซนและประวัติพุทธศาสนานิกายเซนแล้ว   ซูซุกิยังได้รับการกล่าวยกย่องว่าเป็นผู้มีประสบการณ์และเข้าถึงเซน (Satori) อีกด้วย    ปี ค.ศ.1951 ซูซุกิ ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเดินทางบรรยายตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ  ทั่วสหรัฐอเมริกา และสอนประจำที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี ค.ศ.1952-1957 ซูซุกิเสียชีวิตในปี ค.ศ.1966



ผลงานเขียนต่าง ๆ

 ผลงานหนังแปล

Toa Te ching
Mahayana Buddhism outlook of Zen Tradition
The Gospel of Buddha (Carus)
Introduction of Gospel of Buddha (Shoen)
Heaven and Hell (Emanual Swedenborg) (แปลเป็นญี่ปุ่น)
 ผลงานเขียน 

An Introduction to Zen Buddhism
The Training of the Zen Buddhist Monk
Awakening of Faith in the Mahayana. In 1907
Essays in Zen Buddhism Vol.1. 1927
Essays in Zen Buddhism Vol.2. 1933
Essays in Zen Buddhism Vol.3. 1934
The Eastern of Buddhist
The Spirit of Zen
An Introduction of Zen Buddhism, 1934
Zen and Japanese Culture, 1959
Studies in Zen Buddhism
Manual of Zen Buddhism
Outline of Mahayana Buddhism, 1907
The Zen Doctrine of No-mind, 1949
Living by Zen ,1949
Christian and Buddhist :The Eastern and Western Way ,1957
4.3 ตำแหน่งและหน้าที่

เป็นศาสตราจารย์ ด้านปรัชญาพุทธศาสนา ที่ Otani University
เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย 1952-1957
เป็นอาจารย์สอนวิชา Seminars on Zen at Columbia University
ก่อตั้งสมาคม Eastern Buddhist Society
ได้รับการตั้งชื่อว่า Kegon จากชาวญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นผู้ชำนาญในเรื่องวิธีปฏิบัติ และประวัติพระพุทธศาสนานิกายเซน
เป็นผู้จัดทำข้อสอบพระพุทธศาสนา นิกายเซน(ประเทศจีน)
เป็นผู้แสดงปาฐกถา ทั่วมหาวิทยาลัยที่สหรัฐอเมริกา 1951
เป็นผู้แสดงปาฐกถา ที่​ Gakushu University
เป็นผู้แสดงปาฐกถา ที่ Tokyo Imperial University.
ได้รับเกียรติแสดงปาฐกถาที่ประชุมศาสนาโลก World Congress of Faith
ได้รับเกียรติไปร่วมประชุม ที่ Honolulu เรื่อง Second East-West Philosophers’ Conference
ได้รับเกียรติไปแสดงปาฐกถา ที่มหาวิทยาลัย Cambridge สหรัฐอเมริกา
ได้รับเกียรติไปแสดงปาฐกถา ที่มหาวิทยาลัย Massachusettes  สหรัฐอเมริกา
 

รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ      Japan’s National Culture Medal



แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับเซน ของ D.T.Suzuki

                ซูซูกิได้แสดงแนวคิด และประสบการณ์ที่มีต่อเซนไว้ในหนังสือที่เขียน และการบรรยายตามสถานที่ต่างๆ เพื่อถ่ายทอดเผยแผ่ต่อชาวโลกตามโอกาส ก่อนจะแสดงถึงข้อความสำคัญของแนวคิดสำคัญของท่าน ซูซุกิ ผู้จัดทำรายงานจึงขอสรุปหลักการของเซนไว้พอสังเขป เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าแนวคิดที่มีต่อเซน และภาวะซาโตริ (Satori) ซึ่งถือเป็นภาวะสูงสุดที่ผู้ปฏิบัติเซนปรารถนาจะให้เกิดขึ้นแก่ตน

หลักการของเซน

                เซน มุ่งให้มนุษย์มองย้อนเข้าไปในธรรมชาติแท้ของตนเอง จนเห็นว่าตนเองมีพุทธภาวะอยู่ภายในแล้วเกิดความเพียรพยายามที่จะเข้าถึงพุทธภาวะดังกล่าว บรรลุถึงพุทธภูมิอันเป็นจุดเริ่มต้นของตัวเขาเอง (และของสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า) ด้วยเหตุนี้ พุทธศาสนานิกายเซนจึงมีหลักการพื้นฐานที่สำคัญซึ่งพอจะสรุปได้4 ประการ  ดังนี้

การถ่ายทอดคำสอนนอกคัมภีร์
ไม่ยึดมั่นถ้อยคำและตัวอักษร
ชี้ตรงไปยังจิตวิญญาณของมนุษย์
มองย้อนเข้าไปในธรรมชาติแท้ของตนเองและบรรลุพุทธภาวะที่อยู่ภายใน


เมื่อเซนระบบใหญ่มีทัศนะเช่นนี้จุดหมายแห่งการดำเนินชีวิตในรูปแบบของเซนจึงได้แก่ การบรรลุ ซาโตริ (Satori) หรือภาวะรู้แจ้ง ซึ่งเป็นภาวะที่บุคคลสามารถทำลาย อวิชชา ตัณหา อุปาทานแล้วกลับเข้าสู่พุทธภาวะ (โพธิ) ซึ่งเป็นภาวะบริสุทธิ์ที่มีอยู่แล้วในแต่ละคน คือ การบรรลุถึงธรรมชาติแท้ของตนนั่นเอง แต่หากพูดตามภาษาของเซนแล้วก็อาจจะพูดได้ว่า ไม่มีการบรรลุถึงอะไรเลย เพราะว่าเมื่อถึงที่สุดแล้วภาวะที่ค้นพบหรือบรรลุถึงนั้น ก็ไม่ใช่ของใหม่หรือของภายนอกแต่อย่างใด หากแต่เป็นของเดิม ๆ ที่มีอยู่ภายในนั่นเอง ดังเช่นที่ อาจารย์ฮวงโป กล่าวว่า “เมื่อรู้แจ้งโพธิแล้ว จิตของเธอซึ่งเป็นพุทธะอยู่แล้วก็จะถูกรู้แจ้งด้วย การกระทำทุกอย่างตลอดกาลอันยาวนานก็จะถูกพบว่าเป็นเพียงแค่แบบฝึกฝนเท่านั้น เปรียบเหมือนคนแข็งแรงที่พบก้อนเพชรซึ่งอยู่ที่หน้าผากของตนเองแล้ว ก็จะรู้ว่าไม่มีอะไรที่จะต้องทำเกี่ยวกับความเพียรพยายามที่จะค้นหาในภายนอกแต่อย่างใด ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ในการบรรลุถึงความรู้แจ้งนั้น เรา(ตถาคต)ไม่ได้มีอะไรที่บรรลุถึงเลย”

                แม้ในภาษาเซนจะบอกว่า ไม่มีการบรรลุถึงอะไรเลยก็จริง แต่หากใช้ภาษาธรรมดาทั่วไปแล้ว การที่บุคคลสามารถขจัดอวิชชา ตัณหา อุปาทาน จนรู้แจ้งพุทธภาวะภายในตนเองได้เช่นนี้ก็น่าจะเรียกว่าเป็นการบรรลุธรรมได้เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เอง นักวิชาการในนิกายเซนรุ่นหลัง ๆ จึงนิยมใช้ศัพท์ว่า ซาโตริ (Satori) เป็นชื่อแทนภาวะรู้แจ้ง (หรือพุทธภาวะ) ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงการบรรลุธรรมในนิกายเซน ก็หมายถึง การบรรลุซาโตรินั่นเอง

                ซาโตริ (Satori) เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น มีรูปกิริยาในภาษาญี่ปุ่น ซาโตรุ (Satoru : รู้แจ้ง) ซึ่งตรงกับคำในภาษาจีนว่า หวู่ (Wu) เราอาจให้คำจำกัดความซาโตริได้ว่า เป็นการมองเข้าไปรู้แจ้งภายในอย่างฉับพลัน (intuitive looking-into) ซึ่งแตกต่างตรงกันข้ามกับความรู้ความเข้าใจที่เกิดเพราะกระบวนการทางปัญญาหรือกระบวนการทางตรรกะ แต่ไม่ว่าจะนิยามอย่างไร ซาโตริก็ยังคงหมายถึงการตีแผ่เปิดเผยโลกทัศน์ใหม่ที่ไม่สามารถจะรับรู้ได้ด้วยจิตใจที่ยังสับสนในทวิทัศน์ (a dualistic mind) ซาโตริเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของเซนซึ่งจะขาดเสียไม่ได้ เพราะหากปราศจากซาโตริเสียแล้ว ก็ย่อมจะไม่มีเซน เพราะชีวิตของเซนเริ่มต้นด้วยการเปิดเผยของซาโตริ

พจนานุกรมเซน ได้อธิบายความหมายของซาโตริไว้ว่า “ซาโตริ ตามรูปศัพท์หมายถึงการรู้อย่างแจ่มแจ้งหรือการตรัสรู้ แต่ในเซนหมายถึงภาวะแห่งการสำนึกรู้ถึงพุทธจิต เป็นการสำนึกรู้ถึงจิตสำนึกที่บริสุทธิ์หมดจดอยู่แล้วด้วยตัวของมันเองโดยปราศจากสิ่งใดๆ (ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางจิตใจหรือทางร่างกายก็ตาม) ศัพท์ว่า ซาโตรินี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘ปรัชญา-Prajna’ ประสบการณ์ใดๆ ที่สามารถถูกอธิบายกำหนดลักษณะได้ด้วยใจหรืออารมณ์ ประสบการณ์นั้นๆ ก็ไม่จัดเป็นซาโตริตามความหมายข้างต้น แม้ว่าบางครั้งคำพูดจะถูกใช้อย่างคร่าวๆ เพื่อไปบ่งถึงภาวะที่จิตใจและอารมณ์เป็นของฟูเฟื่องสูงสุดและรู้สึกท่วมท้นที่ได้สำนึกถึงธรรมชาติแห่งการหยั่งรู้ฉับพลัน   ในนิกายเซนทั่วไป ซาโตริจะมีความหมายอย่างชัดเจนคือเป็นการมองเข้าไปสู่ธรรมชาติที่แท้จริงของตนเองแล้วค้นพบบางสิ่งซึ่งแปลกใหม่อันจะรู้ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งและสิ่งนั้นก็จะส่องประกายให้ชีวิตทั้งหมดของเขาแจ่มกระจ่างสว่างไสวไปตลอด แต่ถึงกระนั้นมันก็ไม่อาจถูกแสดงออกมาได้ไม่ว่าจะโดยวิธีใดๆ ก็ตาม อย่างไรก็ดี อาจกล่าวได้ว่า การหยั่งรู้อย่างฉับพลันอาจชี้บ่งถึงประสบการณ์แห่งซาโตริซึ่งมีอยู่ภายใน ซึ่งได้ส่องประกายของมันเข้าไปสู่จิต แต่ก็ไม่อาจจะสังเกตเห็นได้โดยง่าย แต่สำหรับผู้ปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังเมื่อซาโตริปรากฏขึ้นมา มันก็จะส่งผลไปอย่างตรงดิ่งและดำเนินเรื่อยไปอย่างไม่ถดถอย”



ซูซุกิ  ได้พยายามใช้ภาษาอธิบายถึงภาวะและความสำคัญของซาโตริ   ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

1. ซาโตริ ไม่ใช่ภาวะแห่งการครุ่นคิดถึงมันอย่างเอาจริงเอาจังแล้วสร้างมโนภาพเกี่ยวกับมันขึ้นมาโดยไม่ผ่านการลงมือปฏิบัติ เพราะก่อนที่การสำนึกรู้จะเปิดเผยตัวออกมา เราก็ได้ตอบสนองต่อเงื่อนไขทั้งภายในและภายนอกด้วยการนึกคิดปรุงแต่งและวิเคราะห์วิจารณ์อยู่ตลอดเวลา หลักการแห่งเซนก็คือการทำลายกรอบแห่งความเคยชินเช่นนั้น แล้วสร้างเค้าโครงเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วกลับขึ้นมาใหม่บนพื้นฐานที่แปลกใหม่ออกไป ฉะนั้นในพุทธศาสนานิกายเซนจึงไม่มีการคิดคำนึงถึงข้อความที่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งมีลักษณะทางอภิปรัชญาซึ่งจะสร้างการสำนึกรู้ที่มีลักษณะสัมพัทธ์เท่านั้น

2. ถ้าผู้ปฏิบัติไม่ได้บรรลุซาโตริเสียแล้ว ก็ไม่สามารถจะเข้าไปสู่ความจริงแห่งเซนได้ ซาโตริจึงเป็นการเปล่งประกายอย่างฉับพลันเข้าไปสู่การสำนึกรู้ถึงความจริงใหม่ๆ ที่ไม่เคยคาดฝันมาก่อน มันเป็นอาการแตกกระจายทางใจอย่างหนึ่ง (a sort of mental catastrophe) ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันหลังจากที่ผู้ปฏิบัติได้เพียรพยายามใช้กระบวนการทางปัญญาและการแปลความหมายเข้าโหมกระหน่ำ (เพื่อแก้ปัญหาโกอัน) อย่างเต็มที่ เป็นภาวะทางธรรมชาติที่คลี่คลายออกมาหลังจากถูกอัดทับถมไปด้วยทฤษฎีและการใช้เหตุผลต่างๆ นานา

3. ซาโตริเป็นเหตุผลเดิมแท้ (raison d’etre) ของเซน ซึ่งหากปราศจากมันเสียแล้ว เซนก็จะไม่ใช่เซนอีกต่อไป “เซนที่ไร้ซาโตริก็เหมือนกับพริกที่ไร้รสเผ็ดนั่นเอง” เพราะฉะนั้น อุบายวิธีหรือข้อวัตรปฏิบัติและหลักธรรมทุกอย่างจึงมุ่งตรงต่อซาโตริเหมือนกันหมด อาจารย์ผู้อบรมจะไม่รอให้ซาโตริเกิดขึ้นมาเอง แต่จะพยายามใช้วิธีการที่เหมาะสมมาช่วยศิษย์ เป็นการจัดเงื่อนไขที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยให้ซาโตริได้ปรากฏขึ้นมา แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะไม่เกี่ยวกับการถกเถียงปัญหาทางอภิปรัชญาหรือการใช้มโนทัศน์สร้างจินตภาพขึ้นแก่ศิษย์แต่อย่างใด เพราะหากทำเช่นนั้น บรรดาศิษย์ก็ยิ่งจะหลงทางหนักเข้าไปอีก ซาโตริจึงอยู่เหนือการศึกษาเล่าเรียนพระสูตร และอยู่เหนือการอภิปรายพระสูตรด้วยแง่มุมทางวิชาการ เป็นภาวะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเซนโดยแท้

4. การเน้นซาโตริเช่นนี้ทำให้เซนมีลักษณะที่แตกต่างออกไปจาก”ธฺยาน”อย่างเห็นได้ชัดทีเดียว เซนไม่ใช่ระบบของธฺยาน (Dhyana) ที่พุทธศาสนานิกายอื่นๆ นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียและในประเทศจีน เพราะจุดมุ่งหมายของธฺยาน คือ ความสงบนิ่งแห่งจิตที่จดจ่ออยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแน่วแน่ (ที่เรียกชื่อว่า การอยู่ในฌาน -trance- ) ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดในตัวเอง แต่ในนิกายเซนจะต้องมีซาโตริ คือมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ภายในจิตใจซึ่งได้ทำลายกระบวนการสั่งสมทางปัญญา (the accumulations of intellection) ที่คุ้นชินอยู่ตามปกติวิสัย แล้วสร้างฐานชีวิตใหม่แก่ตนเอง ซึ่งในระบบธฺยานจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงท่าทีเช่นนี้ มีเพียงการฝึกจิตให้สงบนิ่งแน่วแน่เท่านั้น

5. ซาโตริไม่ใช่การเห็นพระเจ้า เพราะในเซนจะไม่มีมโนทัศน์เรื่องพระเจ้าแต่อย่างใด เซนดำเนินไปด้วยตัวของมันเอง ไม่อิงอาศัยการสนับสนุนช่วยเหลือจากพระผู้สร้าง (-ในกรณีที่มีพระผู้สร้าง-) เมื่อมนุษย์เข้าใจเหตุผลแห่งการมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ก็เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับเขา เพราะ ณ ที่ใดที่เราเข้าใจพระผู้เป็นเจ้าซึ่งเป็นความเร้นลับ ณ ที่นั้นก็ถือว่ามีการเข้าใจต่อสิ่งที่จำกัด (ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของพระผู้เป็นเจ้าผู้ไม่ทรงมีข้อจำกัดใดๆ) เมื่อเรามีพระเจ้า สิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าก็จะอยู่แยกต่างหากออกไป กลายเป็นการจำกัดตัวเองไปโดยปริยาย (กลายเป็นว่ามีสิ่งที่ยิ่งใหญ่ดำรงอยู่พร้อมกันในขณะเดียวกัน 2 สิ่ง คือ สิ่งที่เป็นพระเจ้ากับสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะยอมรับกันได้) เซนประสงค์จะให้เกิดอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ แม้กระทั่งสามารถเป็นอิสระจากพระเจ้าได้ เซนไม่ต้องการให้ศาสนิกไปยึดติดกับพระผู้เป็นเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ที่ถือกันว่าสูงส่ง หากแต่ประสงค์ให้เขาดำรงอยู่อย่างอิสระ ปราศจากอัตตาที่มุ่งแสวงหาแหล่งยึดติด และอัตตาที่จะเป็นแหล่งยึดติดใดๆ ทั้งสิ้น ดังคำกล่าวอย่างทระนงที่ว่า “จงล้างปากของเจ้าเสีย เมื่อเจ้ากล่าวคำว่าพุทธะ”

6. ซาโตริไม่ใช่ภาวะแปลกประหลาดในจิตใจ(ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาสำคัญในสาขาจิตวิทยาอปกติ (Abnormal Psychology) หากแต่เป็นภาวะปกติที่สมบูรณ์เต็มเปี่ยมในจิตใจ แต่เมื่อเซนบอกว่าซาโตริหมายถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ภายในจิตใจดังที่ผ่านมานั้น หลายคนอาจสงสัยว่ามันเป็นความผิดปกติทางจิตใจที่แตกต่างไปจากผู้คนทั่วๆ ไปกระมัง ข้อสงสัยนี้เราอาจตอบได้ด้วยคำกล่าวของท่านโจชู (Joshu) ที่ว่า “เซนก็คือความคิดในทุกๆ วันของคุณนั่นเอง” เมื่อเราเข้าถึงเซนอย่างแท้จริงแล้ว เราจะเป็นคนสมบูรณ์และเป็นปกติอย่างที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น เรายังได้ประสบกับสิ่งต่างๆ ด้วยท่าทีใหม่ๆ อีกด้วย ความคิดของเราจะดำเนินไปแตกต่างจากแต่ก่อน คือจะรู้สึกสบายใจ สุขสงบมากขึ้นกว่าเดิม และมีความสดชื่นแจ่มใสมากกว่าที่เคยประสบมาก่อนหน้านี้ ลีลาแห่งชีวิตก็จะแปรเปลี่ยนไป บางสิ่งจะกลับดูสดใสฟื้นคืนชีวิตชีวาขึ้นมาอีก ดอกไม้ในฤดูใบไม้ผลิก็ดูสดสวยขึ้นกว่าเดิม ลำธารแห่งขุนเขาก็ดูมีสีสันและสดใสสบายตามากขึ้น เมื่อชีวิตที่บรรลุซาโตริกลายเป็นสิ่งที่สามารถสร้างความสุขสดชื่นได้มากกว่าเดิมและแผ่ขยายขอบเขตไปครอบคลุมทั่วทั้งจักรวาลได้เช่นนี้ ก็น่าจะต้องมีอะไรบางอย่างในซาโตริที่มีคุณค่าสูงส่งพอที่จะทำให้เราเพียรพยายามเสาะแสวงหาเพื่อที่จะได้บรรลุถึงมันอย่างแน่นอน


จาก https://mcuubu.wordpress.com/2013/03/08/
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...