ศิลปินสาวอินเดีย อดีต “จัณฑาล” รังสรรค์ภาพวาดพุทธประวัติ สไตล์ฮินดูศิลปินสาวชาวอินเดีย ได้ท้าทายจารีตประเพณีและวรรณะ ด้วยการวาดภาพเหตุการณ์บางตอนในพุทธประวัติ
มัลวิกา ราช (Malvika Raj) หญิงสาวผู้ต่อต้านเรื่องชนชั้นวรรณะและธรรมเนียมปฏิบัติ ขณะเดียวกัน
เธอก็ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนในโลกศิลปะแบบอินเดีย ด้วยการริเริ่มนำประเด็นใหม่มาใช้ในการวาดภาพสไตล์ฮินดู ที่มีมายาวนานหลายร้อยปี นั่นคือ การวาดภาพเหตุการณ์ในพุทธประวัติ รวมทั้งหลักธรรมคำสอนมัลวิกา ราช http://blog.artexplore.in/post/144191305502/malvika-raj มัลวิกาได้เรียนรู้และฝึกฝนเทคนิคการวาดภาพ
“มธุพานี” (หรือศิลปะมิถิลา) ซึ่งเป็นศิลปะการวาดรูปในสมัยโบราณที่สืบทอดกันในเหล่าผู้หญิงของหมู่บ้านมิถิลา ในรัฐพิหาร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
รัฐพิหาร มธุพานี มีความหมายว่า
“ป่าน้ำผึ้ง” ซึ่งในยุคแรกๆนั้น วาดบนฝาผนังกระท่อมที่เพิ่งฉาบด้วยโคลน โดยใช้สีจากธรรมชาติ ต่อมาจึงวาดลงบนผ้า กระดาษที่ทำด้วยมือ และผืนผ้าใบ ใช้สีอะคริลิคและสีโปสเตอร์ ภาพที่วาดมักเป็นเรื่องมหากาพย์ของฮินดู เช่น รามายณะ และมหาภารตะ เทพเจ้าฮินดู ภาพธรรมชาติ เป็นต้น
ชื่อภาพ “ทรงพระสุบิน” พระนางสิริมหามายา พุทธมารดา ทรงพระสุบินว่า พระนางไปอยู่ในป่าหิมพานต์ มีพญาช้างเผือกลงมาจากภูเขาทอง นำดอกบัวสีขาวเข้ามาเดินเวียนรอบทางขวา 3 รอบ แล้วมีอาการเหมือนเข้าไปยังพระอุทรของพระนาง การวาดภาพพุทธประวัติครั้งนี้ หญิงสาวได้แรงบันดาลใจจากบิดา ซึ่งเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เธอได้นำภาพที่วาดในสไตล์มธุพานี ไปจัดแสดงที่วิทยาลัยศิลปะปัฏนา เมืองปัฏนา และแกลลอรี่ศิลปะเจฮานเกอร์ ในนครมุมไบ รัฐพิหาร ในระหว่างการจัดแสดงภาพนั้น เธอต้องเผชิญกับคำถามมากมาย ซึ่งเธอเล่าให้ฟังตอนหนึ่งว่า
“ฉันจำได้ถึงเหตุการณ์วันหนึ่งที่วิทยาลัยศิลปะปัฏนา ซึ่งฉันนำภาพวาดไปจัดแสดง มีชายคนหนึ่งเดินเข้ามาในงาน เขาไม่ได้ตั้งใจเข้ามาดูภาพ แต่เริ่มพูดจายั่วโทสะ ด้วยการแสดงความคิดเห็นทำนองว่า ทำไมฉันจึงนำศิลปะมธุพานีที่ใช้วาดเทพเจ้าฮินดู มาใช้วาดรูปพระพุทธเจ้า แถมยังแสดงความเห็นที่มีอคติอีกหลายอย่าง” มัลวิกาเล่าต่อไปว่า
“ฉันได้ตอบโต้กลับไปว่า ฉันวาดภาพพุทธประวัติ ด้วยศิลปะมธุพานี เพราะสิ่งแรกที่ฉันนึกถึงคือพระพุทธองค์ที่สถิตอยู่ในใจของฉัน” ศิลปินสาวเล่าว่า เหตุที่เธอเริ่มสนใจพระพุทธศาสนา เป็นเพราะพ่อของเธอนับถือศาสนาพุทธ
“ตอนพวกเราเป็นเด็ก มักได้ยินพ่อเล่าเรื่องราวและคำสอนของพระพุทธองค์อยู่บ่อยๆ เมื่อโตขึ้น ฉันจึงได้เรียนวรรณคดีเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าด้วย” เส้นทางเดินของศิลปินสาวผู้นี้ เต็มไปด้วยความท้าทาย เพราะสถานะของเธอคือ
“ดาลิต” ซึ่งตามโครงสร้างสังคมชาวฮินดูถือว่าเป็น
“จัณฑาล” ซึ่งเป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม โดยมัลวิกาได้รับแรงบันดาลใจจาก ดร.บี อาร์ อัมเบดการ์ นักปฏิรูปสังคม ผู้เป็นจัณฑาลโดยกำเนิด ดร.อัมเบดการ์ศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ต่อต้านการแบ่งแยกชั้นวรรณะอย่างไร้เหตุผล เขาจึงได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ
จากนั้นราว 50 ปีที่ผ่านมา มีชนชั้นจัณฑาลจำนวนนับหลายล้านคนรวมทั้งมัลวิกา ละทิ้งสถานะจัณฑาล หันมานับถือศาสนาพุทธ ตาม ดร.อัมเบดการ์
ดร.บี อาร์ อัมเบดการ์ มัลวิกามีจิตใจแน่วแน่ในการต่อต้านความไม่เท่าเทียมในสังคม และมองการแสดงออกด้านศิลปะอย่างมีอิสระ ว่าเป็นการสร้างพลัง มิใช่การจำกัดวงในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งปัจจุบัน เธอได้สอนการวาดภาพสไตล์มธุพานีให้กับหญิงสาวชนชั้นจัณฑาล และประกาศว่า
“ฉันเป็นผู้สนับสนุนความเสมอภาคของสิทธิสตรี และฉันสนับสนุนพลังของผู้หญิง แต่ผู้หญิงชั้นจัณฑาลค่อนข้างล้าหลัง ไม่สามารถเดินเคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับผู้หญิงอื่นๆในทุกๆก้าวย่างของชีวิต เนื่องจากพวกเธอต้องเผชิญกับความไม่เท่าเทียมและการกดขี่ถึง 3 ด้านด้วยกัน ด้านแรกคือ พวกเธอเป็นจัณฑาล ต่อมาคือ พวกเธอเป็นผู้หญิง และสุดท้ายคือ พวกเธอส่วนใหญ่ไร้การศึกษาและมีฐานะยากจน” • ประวัติ มัลวิกา ราช เป็นศิลปิน จิตรกร นักออกแบบแฟชั่น ช่างภาพ และนอกเหนือกว่านี้ เธอคือมนุษย์ที่ดีงามคนหนึ่ง ภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสตรีแห่งหนึ่งในเมืองปัฏนา เธอได้เข้าศึกษาต่อที่ NIIFT ในเมืองโมฮาลี จนได้รับปริญญาด้านการออกแบบแฟชั่น
หญิงสาวเคยได้รับรางวัล “นักออกแบบแฟชั่นสร้างสรรค์ที่ดีที่สุดแห่งปี 2007” หลังจากนั้น เธอได้ทำงานให้กับห้องเสื้อชั้นนำเป็นเวลา 3 ปี กระทั่งทนเสียงเรียกร้องของจิตวิญญาณ ความรักและหลงใหลในศิลปะไม่ไหว เธอจึงตัดสินใจลาออกจากงาน และเริ่มค้นหาฝันผ่านสีและพู่กันบนผืนผ้าใบ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 159 มีนาคม 2557 โดย มนตรา)
จาก
http://astv.mobi/A1bwZq5http://pantip.com/topic/33620046https://www.facebook.com/malvikar1https://www.pinterest.com/pin/407786941234014858/ชื่อภาพ “สุชาดา” นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาสแด่เจ้าชายสิทธัตถะ เพื่อให้พระองค์เสวยและทรงบำเพ็ญเพียรเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อภาพ “ราหุล” เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาเทศนาโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ และได้พบกับพระนางยโสธรา พระราชเทวี และราหุล ผู้เป็นพระโอรส
ชื่อภาพ “ยอมจำนน” พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดมหาโจรองคุลีมาล จนองคุลีมาลรู้สึกสำนึกผิด แล้วทูลขอบวช
ชื่อภาพ “อัมพปาลี” นางคณิกาหรือโสเภณีประจำเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ถวายสวนมะม่วงให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ สุดท้ายได้ออกบวชเป็นภิกษุณี และบรรลุอรหัตผล