ผู้เขียน หัวข้อ: ตระการตา วัดรุมเต็ก ( RUMTEX ) วัดพุทธที่ใหญ่ที่สุดในสิกขิม  (อ่าน 1441 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด








<a href="https://www.youtube.com/v/59tDFPoL0sk" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/59tDFPoL0sk</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/cyWrtmbQIDY" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/cyWrtmbQIDY</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/coXhul1wBpA" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/coXhul1wBpA</a>

เพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=cyWrtmbQIDY&list=PL60wU9P44yvTHFd_pfBkZH_Rejb0tEjTS

• วัดรุมเต็ก ศูนย์ธรรมจักรสิกขิม

• วัดรุมเต็ก (Rumtek Monastery) หรือ ศูนย์ธรรมจักร (Dharmachakra Centre) เป็นสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม เป็นวัดศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในสิกขิม ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง 1,550 เมตร ห่างจากกังต็อก 24 กิโลเมตร

• ประวัติวัดรุมเต็ก

• วัดรุมเต็ก เดิมเคยเป็นวัดหลักของนิกายกากยู (Kagyu) สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดย การ์มาปา วังชุก ดอร์เจ ที่ 9 สำหรับใช้เป็นสถานที่พำนักอาศัยของผู้สืบเชื้อสาย Karma ในสิกขิม เมื่อตัววัดถูกทำลายลง พื้นที่จึงปล่อยทิ้งร้างไป จวบจนกระทั่งพระสังฆราชการ์มาปาที่ 16 ซึ่งเป็นชาวทิเบต ได้ลี้ภัยมายังสิกขิมในปี ค.ศ. 1959 เนื่องจากกองทัพจีนบุกไปยึดทิเบต
• พระองค์จึงตัดสินใจสร้างวัดรุมเต็กขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เพื่อใช้เป็นที่พำนักในการลี้ภัยจากกองทัพจีน โดยได้รับความช่วยเหลือจากราชวงศ์ของสิกขิมและรัฐบาลอินเดีย ส่วนที่พระองค์เลือกบริเวณนี้ ก็เพราะสถานที่นี้มีลักษณะภูมิประเทศที่ดี เช่น มีลำธาร มีภูเขาอยู่ด้านหลัง มีภูเขาหิมะอยู่ด้านหน้า และมีแม่น้ำอยู่ด้านล่างนั่นเอง
• หลังจากใช้เวลานานถึง 4 ปี การก่อสร้างวัดรุมเต็กก็เสร็จสิ้น โดยถือเป็นวัดขนาดใหญ่ที่สุดที่ก่อสร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของทิเบตเลยทีเดียว (ปัจจุบันเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในสิกขิม) หลังจากนั้นไม่นาน พระสังฆราช การ์มาปาที่ 16 ก็ได้สถาปนาวัดนี้เป็น “ศูนย์ธรรมจักร” (The Dharmachakra Center) เพื่อฝึกฝนและปฏิบัติตนของชาวพุทธรวมทั้งเผยแพร่ศาสนาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
• มีการขนสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระธาตุพระพุทธเจ้ามาจากวัด Tsurphu ใน ทิเบตมาประดิษฐานที่นี่ ในวันปีใหม่ของทิเบตในปี 1966 มีการสถาปนาวัดนี้ให้เป็นศูนย์กลางธรรมจักร ซึ่งเป็นสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม เป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดของสิกขิม

• วัดรุมเต็กมีทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ Main Temple, The Golden Stupa, Benefits of Veneeration และ The Stupa Walkway (Koral)

• วิหารวัดรุมเต็ก (Main Temple) : ด้านในจะมีห้องบูชาที่ตกแต่งอย่างประณีต อีกทั้งยังมีธงผ้าไหม ผ้าทังก้า ภาพวาดทางศาสนา ต้นฉบับเกี่ยวกับคำสั่งสอนของศาสนา (Kangyur) ที่แปลจากภาษาสันสกฤต มาเป็นภาษาทิเบต และคำอธิบายเกี่ยวกับศีล (Tengyur) ทั้งหมด 255 เล่ม รวมถึงพระพุทธรูปสูง 10 ฟุต ที่ขนาบข้างไปด้วยพระสารีบุตรและพระโมคลัลลา อันเป็นพระอัครสาวกองค์สำคัญของพระพุทธเจ้า และบังลังก์ศักดิ์สิทธิ์ของ “เกลวา การ์มาปา” สำหรับให้ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินหรือพระลามะผู้มีบุญนั่งด้วย
• สถูปทอง (Golden Stupa) : สถูปแห่งนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุล้ำค่าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากร่างของพระสังฆราช “เกลวา การ์มาปา ที่ 16” ปกติจะใช้ประกอบพิธีบูชาผู้สืบเชื้อสายมาจากพระสังฆราชของพวกเขา ซึ่งเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 (ห้ามถ่ายรูป)
• แท่งหินสลักคำสอนของพระพุทธเจ้า (Benefits of Veneration) : เป็นแท่งหินสลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่ตรงกลางลานวัด
• เส้นทางแสวงบุญวัดรุมเต็ก (The Stupa Walkway) : เป็นเส้นทางแสวงบุญที่อยู่ด้านหลังกำแพงวัดรุมเต็ก ซึ่งจะมีสถูปสูง 35 ฟุต ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อเป็นการขจัดอุปสรรคในการกลับมาเกิดใหม่ของพระสังฆราชการ์มาปาที่ 16 ภายในมีต้นฉบับที่เขียนด้วยลายมือในสมัยโบราณและรูปสลักด้านหน้าของเทวดา Raksha Todtreng อยู่ ทั้งนี้ระหว่างทางก็จะธง 5 สี แขวนเรียงราย เพื่อสวดอ้อนวอนให้เกิดสันติภาพในโลก ความโชคดี ความเจริญ และ อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิต

• สัญลักษณ์กงจักรและกวางสีทอง : ตามตำนานเล่าว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ขณะที่พระองค์กำลังนั่งสมาธิอยู่นั้น พระพรหมและพระอินทร์ก็ได้เสด็จลงมาหาพระพุทธเจ้า เพื่อให้พระพุทธเจ้าสอนธรรมะให้ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าจะหมุนวงล้อแห่งธรรมนี้ 3 ครั้ง ทว่าในเวลานั้นเอง ก็ได้มีกวาง 2 ตัว ปรากฎตัวขึ้นที่ป่าใกล้ๆ และจ้องมองมาที่วงล้อมนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการหมุนกงล้อแห่งธรรมในครั้งแรก จึงได้มีการสร้างวงล้อแห่งธรรมและกวาง 1 คู่อยู่บนหลังคาวัดทุกๆ วัด โดยกงล้อจะเป็นสัญลักษณ์คำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนกวางก็แทนพระพรหมและพระอินทร์ซึ่งเป็นผู้เรียนรู้ ทั้งนี้การตั้งท่าของกวางจะหมายถึง การรับฟัง ส่วนการจ้องมองจะหมายถึง การแสดงความสนใจในธรรมะ

จาก http://www.oceansmile.com/India/SikkimWatrumtek.htm





วัดรุมเต็ก (Rumtek)  สิกขิม อินเดีย


เป็นวัดศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในสิกขิม ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง 1,550 เมตร จากระดับน้ำทะเล ตามตำนานเล่ากันว่าราวกลางศตวรรษที่ 17 ครั้งที่ พุนฌก นัมจ์เยล์ เดินทางจากเมืองกังต็อก ไปเมืองย็อกซั่ม เพื่อรับการสถาปนาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองแผ่นดิน ได้ผ่านหุบเขารานิปูล และหยุดแวะพัก ณ บริเวณยอดเขาแห่งนี้ ต่อมาประมาณต้นศตวรรษที่18 ในรัชสมัย จ์ยุร์เมต์ นัมจ์เยล์ (กษัตริย์รัชกาลที่ 4) ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทว่าประสบกับปัญหาชีวิตสมรสส่วนพระองค์ อีกทั้งแผ่นดินก็ถูกรุกรานอย่างหนักจากพวกเนปาลและภูฏาน ทำให้ยุวกษัตริย์ทรงเสด็จหลบไปทิเบตและได้รับการดูแลอย่างสมพระเกียรติจากพระลามะ วังซุก ดอร์เจ สังฆนายกองค์ที่ 9แห่ง การ์มา อันเป็นสายย่อยของฝ่าย-ฆาจ์ยุ ด้วยเหตุนี้ พุทธศาสนาตันตระ-วัชรยาน แบบทิเบต สายย่อยการ์มา วัดรุมเต็ก(เก่า)เริ่มแรกสร้างโดย การ์มาปาวังซุก ดอร์เจที่ 9 ในศตวรรษที่ 16 โดยได้รับอนุญาตจากกษัตริย์รัชกาลที่ 4เมื่อพระองค์ทรงเสด็จกลับคืนแผ่นดิน เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่องค์ปฐมกษัตริย์ แต่ถูกปล่อยปละละเลย อีกทั้งได้รับความเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหวทำให้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมาก วัดรุมเต็กที่เห็นในปัจจุบันคือวัดรุมเต็กใหม่เป็นวัดที่ได้สร้างขึ้นเมื่อทศวรรษที่ 1961 โดยท่าน รางจุง ธิงเปย์ ดอร์จี สังฆนายกองค์ที่ 16 แห่งสายย่อย-การ์มา ฝ่าย-ฆาจ์ยุ ซึ่งลี้ภัยมาจากทิเบตประสงค์จะสร้างวัดที่จำลองรูปลักษณ์ศิลปะแบบอย่างจากวัดเฌอพู เพื่อระลึกถึงดินแดนหลังคาโลกอันเป็นแผ่นดินมาตุภูมิ กษัตริย์ตาชิ นัมเกล จึงได้ถวายที่ดินเพื่อใช้ในการสร้างมีพื้นที่ทั้งหมด 74 เอเคอร์ ห่างจากตัวเมืองกังต๊อก 24 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนธรรมะ  ก่อนการสร้างมีการประกอบพิธีกรรมบูชาสถานที่ 1 เดือนเป็นแบบมัณฑละแผนภูมิศักดิ์สิทธิ์  ปี 1961 เริ่มก่อสร้าง  ปี 1962 การ์มาปาที่ 16 และกษัตริย์ช็อคเยล ปัลเดน ธอนดูป นัมเกล กษัตรยิ์รัชกาลที่ 12 เป็นผู้วางศิลากฤษ์ สร้างเสร็จปี 1966 และได้อัญเชิญวัชระมงกฏหมวกดำมาประดิษฐานไว้ที่นี่ แผนผังของวัดประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1. วิหารหลัก มี 4 ชั้น ตรงกลางลานหน้าวิหารหลักมีเสาศิลาตั้งอยู่คือเสาจารึกประวัติของวัดเขียนเป็นภาษาทิเบต โดยคยอลวา การ์มาปา พระประธานคือ พระศากยะมุนี บริเวณรอบๆองค์พระประธานประดิษฐานพระพุทธรูปองค์เล็กๆประมาณ 1000 องค์ ทำจากดินเหนียวฉาบด้วยทองคำ มีตู้เก็บ ฆาร์ยุร์หรือคำสอนของพระพุทธเจ้าแปลจากภาษาสันกฤตเป็นภาษาทิเบต และเท็นยุร์หรือพระไตรปิฏก เครื่องบูชา ถวายแด่เทวดา ทำจากข้าวบาเลย์ แป้ง เนย และสีตกแต่งให้สวยงาม 



ส่วนที่ 2 สถูปทอง เป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุของกุรุผู้ที่ได้รับการเคารพนับถือและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขององค์ การ์มาปาที่ 16 พระองค์ประกอบพิธีกรรมเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 1982 สถูปถูกสร้างขึ้นภายในวัดบนชั้นบนของตึกเก่า สถูปสูง 13 ฟุต รอบองค์สถูปมีรูปเคารพของการ์มาปาที่ 1 – 16 และรูปเคารพของไตร สิทุ รินโปเช่ ผู้ช่วยคนสำคัญของกรรมปาที่ 16  ส่วนที่ 3 คือ แท่นหินสลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนที่ 4 คือเส้นทางแสวงบุญด้านหลังวัด   สายย่อย-การ์มา สถาปนาขึ้นราว ค.ศ. 1147 โดยท่าน ตุซุม เฆย์นปะ ค.ศ. 1110-1193 และปี ค.ศ. 1187 ได้สร้างวัดเฌอพู ห่างจากกรุงลาซา ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 70 กิโลเมตร ขึ้นเป็นศูนย์นำของสายย่อย-การ์มา ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้งที่ท่าน ตุซุม เฆย์นปะ บำเพ็ญศีลภาวนาอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง เหล่าเทวี ฆันโดรม่า จำนวน 100,000 นาง ร่วมมือกันอุทิศเส้นผมถักทอเป็นมาลาวิเศษ วัชรมงกุฎ หรือ หมวกดำ ประดับทองคำ ที่คนสามัญธรรมดาไม่สามารถมองเห็นได้ ถวายแก่ปฐมสังฆนายกการ์มา ซึ่งกลายมาเป็น สัญลักษณ์สำคัญ และทำให้สายย่อย-การ์มา มีชื่อรู้จักกันในอีกนามหนึ่งว่า นิกายหมวกดำ หมวกดำวิเศษใบนี้สืบทอดคล้ายเป็นมงกุฎประจำตำแหน่ง จ์เยล์วา การ์มาปะ สมณะศักดิ์สังฆนายกแห่งสายย่อย-การ์มา และท่าน รังจุง ริกเป ดอร์เจ (ค.ศ. 1921-1981)  จ์เยล์วา การ์มาปะ องค์ที่ 16 ได้นำติดตัวลี้ภัยออกมาจากทิเบตเมื่อปี ค.ศ. 1959 และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วัดรุมเต็ก กรรมปาองค์ปัจจุบันคือองค์ที่ 17 ท่านได้ลี้ภัยจากทิเบต มาประทับอยู่ที่เมืองธรรมศาลากับองค์ดาไลลามะ เมืองธรรมศาลาอยู่ห่างจากเมืองหลวงเดลลีประมาณ 5 – 6 ชั่วโมง













จาก http://www.taraarryatravel.com/info_page.php?id=629&category=36

http://www.sookjai.com/index.php?topic=177722.msg208174#msg208174
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...