ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธรูปคอลลาจ พุทธศิลป์ร่วมสมัยของศิลปินทิเบต กอนคาร์ เกียตโซ (gonkar gyatso)  (อ่าน 1075 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
<a href="https://www.youtube.com/v/sxoSV2SJUfY" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/sxoSV2SJUfY</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/j8MdsmwNl5I" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/j8MdsmwNl5I</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/FbTuuHWfeeI" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/FbTuuHWfeeI</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/_JESHs6Ftqk" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/_JESHs6Ftqk</a>

ย้อนไปเมื่อราว 2,000 ปีเศษ การสร้างพระพุทธรูปเกิดขึ้นครั้งแรกในโลก โดยฝีมือของช่างแคว้นคันธารราฐ เป็นศิลปะที่ผสมผสานกันระหว่างกรีก-โรมัน และอินเดียโบราณ ด้วยการแกะสลักจากหิน
       
       จากนั้นเป็นต้นมาก็มีการสร้างพระพุทธรูปด้วยวัสดุนานาชนิด ได้แก่ ทอง เงิน ทองแดง สำริด อัญมณี ไม้ ปูน อิฐ ดิน เป็นต้น





 ล่าสุด กอนคาร์ เกียตโซ ศิลปินชาวทิเบต ได้สร้างสรรค์พระพุทธรูปศิลปะร่วมสมัย ทำจากเรซิ่นโพลียูรีเทน เรียกว่า “คอลลาจ” หรือภาพปะติด (ทำขึ้นด้วยการใช้วัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ ผ้า เศษวัสดุธรรมชาติ ฯลฯ ปะติดลงบนแผ่นภาพ)





       วิธีการสร้างสรรค์พระพุทธรูปคอลลาจนี้ เริ่มต้นด้วยการสแกนพระพุทธรูปองค์หนึ่งในสมัยศตวรรษที่ 14 เพื่อเป็นต้นแบบ จากนั้นนำภาพสแกนไปดำเนินการหล่อพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งด้วยเรซิ่นโพลียูรีเทน สูง 48 นิ้ว ในระหว่างนี้ได้มีการสั่งผลิตสติกเกอร์รูปแบบต่างๆ จำนวน 600,000 ชิ้นจากโรงงานในจีน
       
       เกียตโซและทีมงานใช้เวลาหลายเดือนในการใช้สติกเกอร์จำนวนนับร้อยนับพันชิ้น ปะติดบนองค์พระพุทธรูป ทีละชิ้นๆ ด้วยความยากลำบาก จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ โดยพระพุทธรูปแต่ละองค์มีสติกเกอร์ ที่มีลวดลายและภาพเขียนแตกต่างกันไป





      ผลงานชิ้นนี้มีชื่อว่า 'Excuse me while I kiss the sky' ซึ่งได้มาจากเนื้อร้องท่อนหนึ่งในเพลงดัง Purple haze ของ Jimi Hendricks นักดนตรีชาวอเมริกันที่โด่งดังในยุคปี 60
       
       และนี่เป็นผลงานครั้งแรกของเขาที่นำวิธีคอลลาจ ที่เป็นเทคนิคเฉพาะตัว มาใช้กับงานประติมากรรม ในขณะที่ยังคงความศรัทธาเลื่อมใสตามแบบพุทธศาสนาของทิเบตเอาไว้





 งานศิลปะของเกียตโซสื่อให้เห็นถึงประติมานวิทยา (เป็นสาขาหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลป์ที่ศึกษาประวัติ คำบรรยาย และการตีความหมายของเนื้อหาของภาพ) ของศิลปะทิเบตโบราณและเอกลักษณ์ทางพุทธศาสนา
       
       ด้วยสัญลักษณ์และการทำงานในแนวศิลปะร่วมสมัย งานของเกียตโซแสดงออกถึงสิ่งที่ขัดแย้งกันได้อย่างลงตัว และจากประสบการณ์ขณะอาศัยอยู่ในชุมชนทิเบตลี้ภัย ได้ช่วยหล่อหลอมมุมมองในเรื่องมนุษยธรรม การเมือง และการผลิตงานศิลปะของเขา

      ผลงานของเกียตโซถูกนำไปจัดแสดงในระดับสากล ตามแกลเลอรีและพิพิธภัณฑ์ต่างๆทั่วโลก ทั้งที่เป็นสาธารณะและส่วนตัว เช่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย จีน สกอตแลนด์ อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี
       
       (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 146 กุมภาพันธ์ 2556 โดย บุญสิตา)

จาก http://board.postjung.com/673996.html





Gonkar Gyatso, My Identity 1


Gonkar Gyatso, My Identity 2


Gonkar Gyatso, My Identity 3


Gonkar Gyatso, My Identity 4


gonkar gyatso my identity

ผลงาน ที่เหลือ ของ คุณ กอนคาร์ เกียตโซ (gonkar gyatso ) ศิลปิน ชาวทิเบต


















" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...