ผู้เขียน หัวข้อ: กำเนิด พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พันเนตร พันกร ใน มหากรุณาจิตรธารณีสูตร (แปลไทย)  (อ่าน 1284 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


<a href="https://www.youtube.com/v/x0XkmIzBH4w" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/x0XkmIzBH4w</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/CqyHKvJ54XI" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/CqyHKvJ54XI</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/9r3TA62Owp0" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/9r3TA62Owp0</a>

มหากรุณาธารณี (สันสกฤต: महा करुणा धारनी, จีน: 大悲咒: ธารณีว่าด้วยความกรุณาอันยิ่งใหญ่) หรือ นิลกัณฐธารณี (สันสกฤต: नीलकण्ठ धारनी : ธารณีว่าด้วยพระผู้มีศอสีนิล) เป็นชื่อบทสวด (ธารณี) สำคัญในพระพุทธศาสนามหายาน เป็นธารณีประจำองค์พระอวโลกิเตศวร ปางสหัสภุชสหัสเนตร (พันหัตถ์พันเนตร) ในภาษาจีนเรียกธารณีนี้ว่า ไต่ปุ่ยจิ่ว (จีน: 大悲咒; พินอิน: Dàbēi zhòu; "ต้าเปยโจ้ว" ตามสำเนียงจีนกลาง) มีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานภาษาสันสกฤตของอินเดีย พระภควธรรมเถระชาวอินเดียนำเข้าไปแปลในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ถัง และมีฉบับแปลเป็นภาษาทิเบตด้วย

มหากรุณาธารณีเป็นมนตร์อันเกิดจากความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระอวโลกิเตศวร ที่มีต่อสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ในโลก ในคัมภีร์กล่าวว่าธารณีนี้มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น มหาไวปุลยสัมปุรณธารณี, อกิญจนมหากรุณาธารณี, อายุวัฒนธารณี, วิกรมอุตตรภูมิธารณี, มโนมัยอิศวรธารณี เป็นต้น อักษรหนึ่งตัวและประโยคหนึ่งในบทธารณีมนตร์นี้ ล้วนขยายเป็นอรรถธรรม อันจะนำเข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ

ในประเทศไทยธารณีสูตรฉบับนี้ได้แปลโดยหลวงจีนคณาจีนพรต (เย็นบุญ) เจ้าอาวาสวัดทิพย์วารีวิหาร แขวงบ้านหม้อ เขตพระนคร กรุงเทพ ในคัมภีร์สันสกฤตของมหายานคือคัมภีร์ "สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตธารณีสูตรมหากรุณามนตระ" นำเข้าไปแปลในจีนโดยพระภควธรรม ชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึงบทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร คือ มหากรุณาหฤทัยธารณี อันจะยังอานิสงส์ความศักดิ์สิทธิ์ให้บังเกิดขึ้นแก่ผู้สวดนานัปการ



เนื้อหากล่าวถึงเมื่อครั้งที่พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โปตาลกะบรรพต ในกาลนั้น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ขอพุทธานุญาตแสดงธารณีมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้ เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ ซึ่งธารณีนี้ย้อนไปในครั้งกาลสมัยของพระพุทธเจ้านามว่าพระสหัสประภาศานติสถิตยตถาคต พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสธารณีนี้แก่พระอวโลกิเตศวร และตรัสว่า "สาธุ บุรุษ เมื่อเธอได้หฤทัยธารณีนี้ จงสร้างประโยชน์สุขสำราญแก่สัตว์ทั้งหลายในกษายกัลป์แห่งอนาคตกาลโดยทั่วถึง" ตามเนื้อความของพระสูตรได้กล่าวว่า ในขณะนั้น เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้สดับมนตร์นี้แล้ว ก็ได้บรรลุถึงภูมิที่ 8 แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า จึงได้ตั้งปณิธานว่า "ในอนาคตกาล หากข้าพเจ้าสามารถยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้ามีพันเนตรพันหัตถ์ในบัดดล"

เมื่อท่านตั้งปณิธานดังนี้แล้ว พลันก็บังเกิดมีพันหัสถ์พันเนตรขึ้นทันที และเพลานั้นพื้นมหาพสุธาดลทั่วทศทิศก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่น พระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศก็เปล่งแสงโอภาสเรืองรองมาต้องวรกายแห่งพระโพธิสัตว์ และฉายรัศมีไปยังโลกธาตุต่าง ๆ อย่างปราศจากขอบเขต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หากเหล่ามนุษย์และทวยเทพตั้งจิตสวดธารณีมนตร์นี้คืนละ 7 จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณาธารณีนี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง 10 ทิศจะยื่นพระกรมารับให้ไปอุบัติในพุทธเกษตรทุกแห่ง



ในพระสูตรกล่าวว่า ผู้ที่ตั้งใจสวดมหากรุณามนตร์นี้ด้วยจิตศรัทธาตั้งมั่น จะประกอบด้วยอานิสงส์เป็นกุศล 15 ประการคือ

ที่ที่เกิดจะพบแต่กุศล 5 ประการ
ได้เกิดในประเทศกุศล
พบแต่ยามดี
พบแต่มิตรดี
ร่างกายประกอบด้วยอินทรีย์พร้อมมูล
จิตเป็นธรรมโดยสมบูรณ์
ไม่ผิดศีล
ญาติบริวารมีความกตัญญู ปรองดองกัน มีสามัคคีกัน
ทรัพย์สมบัติ โภคทรัพย์ มีความสมบูรณ์ครบถ้วน
มีผู้เคารพและให้ความช่วยเหลือเสมอ
ทรัพย์สินที่มีอยู่ไม่มีใครมาปล้นชิง
คิดปรารถนาสิ่งใดจะได้สมความปรารถนา
ทวยเทพ นาค ให้ความปกปักรักษาอยู่ทุกเมื่อ
เกิดในที่ที่ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า
สามารถเข้าถึงอรรถแห่งพระธรรมที่ได้สดับ
นอกจากนี้ยังมีอานิสงส์ทำให้ไม่ต้องทุมรณะด้วยเหตุ 15 ประการ คือ

ไม่ต้องมรณะด้วยความอดอยากข้นแค้น
ไม่ต้องมรณะด้วยการใส่ขื่อคา กักขัง และเฆี่ยนโบย
ไม่ต้องมรณะด้วยศัตรูจองเวร
ไม่ต้องมรณะด้วยการศึกสงคราม
ไม่ต้องมรณะด้วยสัตว์ขบกิน
ไม่ต้องมรณะด้วยงูพิษ แมลงป่อง
ไม่ต้องมรณะด้วยการจมน้ำ ไฟไหม้
ไม่ต้องมรณะด้วยยาพิษ
ไม่ต้องมรณะด้วยแมลงร้ายขบกัด
ไม่มรณะด้วยจิตใจว้าวุ่น เป็นบ้า
ไม่มรณะด้วยตกจากภูเขา ต้นไม้ และหน้าผาสูง
ไม่ต้องมรณะด้วยการสาปแช่งภูตผีปีศาจ
ไม่ต้องมรณะเพราะเทพร้ายและผีสาง
ไม่ต้องมรณะด้วยโรคร้ายเรื้อรัง
ไม่ต้องมรณะด้วยความไม่ประมาณตนจนเกินฐานะ

บทสวดนี้เป็นที่นับถือและสวดบูชาพระอวโลกิเตศวร (กวนอิม) กันอยู่ทั่วไปในหมู่พุทธศาสนิกชน ตั้งแต่อินเดียเหนือ เนปาล ทิเบต ไปจนถึงจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มหากรุณาธารณีนี้เป็นบทสวดของพระอวโลกิเตศวรปางพันหัตถ์พันเนตร ในคัมภีร์ระบุว่า ผู้ที่เลื่อมใสถวายสักการะต่อพระอวโลกิเตศวรอยู่เป็นเนืองนิตย์ ตั้งใจสวดสรรเสริญพระนาม ย่อมจะถึงพร้อมในกุศลทั้งปวง สามารถยังวิบากกรรมอันมิมีประมาณให้สิ้นสูญ ครั้นเมื่อวายชนม์จะไปอุบัติ ณ สุขาวดีโลกธาตุแห่งองค์พระอมิตาภพุทธเจ้า
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...