ผู้เขียน หัวข้อ: คำสอนลับแห่งพุทธะ (๗) : ตันตระในธิเบต (โดย กาลู รินโปเช)  (อ่าน 1068 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


คำสอนลับแห่งพุทธะ (๗): ตันตระในธิเบต

การเดินทางของพุทธศาสนาตันตระเข้าสู่ธิเบตแบ่งออกได้เป็นสองช่วง ซึ่งส่งผลให้เกิดเป็นสองระบบสายปฏิบัติใหญ่ๆ ได้แก่ นิงม่า (ระบบเก่า) และ ซามา (ระบบใหม่)

ระบบทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันในแก่น ประกอบด้วยพื้นฐานของหินยานและมหายานเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงการจำแนกประเภทของตันตระและรูปแบบการนำเสนอคำสอน

การจำแนกประเภทที่แตกต่าง

สาย ซามะ เสนอการจำแนกประเภทตันตระออกเป็น 4 ระดับขั้น ได้แก่ กริยาตันตระ จริยาตันตระ โยคะตันตระ อนุตตระโยคะตันตระ

สาย นิงม่า แบ่งประเภทตันตระออกเป็น 6 ระดับขั้น สามระดับแรกสอดคล้องกับสามระดับแรกของสายซามะ ซึ่งถูกเรียกว่าเป็น ตันตระขั้นต่ำ ขณะที่อีกสามระดับหลังมุ่งเน้นไปที่ อนุตตระโยคะตันตระ ซึ่งถูกเรียกว่า ตันตระขั้นสูง ทั้ง 6 ระดับขั้น ได้แก่ กริยาตันตระ อุปปะตันตระ โยคะตันตระ มหาโยคะตันตระ อนุโยคะตันตระ อติโยคะตันตระ

ในสายนิงม่า บ่อยครั้งที่การจำแนกประเภทนี้ถูกอ้างถึงในชื่อ พาหนะทั้งเก้า ในกรณีนี้ ได้รวมเอา สาวกยาน ปัจเจกพุทธะยาน และโพธิสัตวยาน เข้ามาด้วย รวมกับอีกหกพาหนะแห่งตันตระ รวมเป็นเก้า

ความเป็นหนึ่งเดียวเหนือการให้ชื่อ

แม้จะมีชื่อเรียกมากมายชวนสับสน ทว่าในความแตกต่างของชื่อ มีความเป็นหนึ่งเดียวอยู่ในนั้น ไม่เพียงแต่สามระดับแรกของตันตระทั้งสองสายที่เหมือนกัน ในอนุตตระโยคะตันตระของสายซามะ ยังจำแนกออกได้อย่างสอดคล้องกับตันตระขั้นสูงทั้งสามของสายนิงม่า ได้แก่

ปิตุตันตระ (ตันตระพ่อ) เน้นไปที่ อุปายะ หรือ วิธีการอันเปี่ยมทักษะ
มาตุตันตระ (ตันตระแม่) เน้นไปที่ ปัญญาญาณ
อทวิตันตระ เน้นไปที่การประสานเป็นหนึ่งของปัญญาและอุปายะ

จุดเริ่มต้นของตันตระในธิเบต

คำว่า นิงม่า และ ซามะ สัมพันธ์อยู่กับช่วงเวลาและเส้นทางที่คำสอนของแต่ละสายเผยแผ่ในดินแดนธิเบต มากกว่าความแตกต่างในด้านอื่นๆ

สายปฏิบัตินิงม่า เป็นสายเก่าแก่ เรียกได้ว่าเป็นการเผยแผ่พุทธศาสนาเข้าสู่ดินแดนแห่งหิมะนี้เป็นครั้งแรก โดยการเชื้อเชิญของกษัตริย์ตรีซอง เด็ทเซ็น งานแผยแผ่คำสอนที่สำคัญเกิดขึ้นโดยธรรมาจารย์สองท่าน ได้แก่ คุรุปัทมสัมภาวะ และพระสันตรักษิตะ  ปัทมสัมภาวะสอนตันตระ ส่วนสันตรักษิตะสอนสุตระ (พระสูตร) รวมถึงการร่วมมือระหว่างปราชญ์อินเดียและนักแปลธิเบต สายปฏิบัตินิงม่าเน้นย้ำ คำสอนสูงสุดแห่งมหาอติ พร้อมๆ กับรากฐานของคำสอนอื่นๆ โดยมักนำเสนอเป็นสามส่วน ได้แก่ ส่วนของจิต ส่วนของพื้นที่ และส่วนของวิธีปฏิบัติ

สายนิงม่ายังคงอยู่และพัฒนาอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน มีสาวกผู้ปฏิบัติมากมาย และยังคงเป็นสายที่นำผู้คนไปสู่การบรรลุธรรม

พระกับฆราวาส

ในช่วงศตวรรษแรกของการขยายอิทธิพลของสายนิงม่า วิถีการดำเนินชีวิตของผู้ปฏิบัติไม่ได้ถูกมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสืบทอดคำสอน ไม่ว่าจะเป็นพระหรือฆราวาส เมื่อได้รับคำสอนและนำไปสู่การปฏิบัติภาวนาอย่างเข้มข้น คำสอนเหล่านั้นนำพวกเขาไปสู่การบรรลุภาวะแห่ง มหาสิทธา และ กายรุ้ง

หลายปีของการสืบทอดคำสอนผ่านไป เริ่มมีความสับสนเกิดขึ้น พื้นฐานทางปรัชญาของวิธีปฏิบัติไม่ได้ถูกถ่ายทอดและเข้าใจอย่างถูกต้องเสมอไป เปิดช่องให้กับการตีความคำสอนอย่างบิดเบือนเข้าข้างตัวเอง ข้อกำหนดของกรอบการประพฤติปฏิบัติเริ่มไม่มีความชัดเจน เส้นแบ่งระหว่างแนวทางที่ถูกต้องกับการประพฤติตนย่อหย่อนเริ่มลางเลือนจนมองเห็นไม่ชัด

การเสียสละของกษัตริย์จางฉุบโอ

กษัตริย์จางฉุบโอ (แสงแห่งการตื่นรู้) ต้องการแก้สถานการณ์ความสับสนที่ว่านั้น เขาจึงริเริ่มโครงการส่งเด็กหนุ่มชาวธิเบตที่ฉลาดเฉลียวไปฝึกเป็นนักแปลที่มีความสามารถ อีกทั้งยังเชิญนักวิชาการและธรรมาจารย์ชาวอินเดียมาสอนยังธิเบต

ในตอนนั้น การเดินทางจากธิเบตไปอินเดียนั้นเป็นการเดินทางที่ยาวนานและยากลำบากมาก โครงการดังกล่าวต้องอาศัยเงินสนับสนุนเป็นจำนวนมาก กษัตริย์จางฉุบโอเก็บสะสมเงินทองของเขาเองมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อการณ์นี้ และเขายังขอรับบริจาคสนับสนุนโครงการจากคนทั้งในและนอกราชอาณาจักรอีกด้วย

โชคร้ายที่ระหว่างเดินทางกษัตริย์จางฉุบโอถูกจับตัวไปโดยกษัตริยอีกเมืองผู้โหดเหี้ยม อีกทั้งยังไม่มีความสนใจในพุทธศาสนาเลยแม้แต่น้อย ชาวธิเบตส่งฑูตไปเจรจาขอปล่อยตัวผู้นำของพวกเขาหลายครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ เจ้าเมืองผู้เป็นศัตรูประกาศว่าเขาจะปลอยตัวนักโทษของเขาก็ต่อเมื่อได้ทองคำจำนวนมากพอเป็นค่าไถ่ หลังจากช่วยกันอย่างยากลำบาก ในที่สุดคนของจางฉุบโอก็หาทองคำมาได้ครบตามจำนวน พอทราบข่าวผ่านทางจดหมายที่ส่งมายังคุก กษัตริย์จางฉุบโอตอบในสิ่งที่คนเหล่านั้นไม่คาดว่าจะได้ยิน เขาตอบว่า "ข้าขอขอบคุณในความพยายามอันยากลำบากของพวกเจ้า แต่จงอย่าใช้ทองคำนั้นมาจ่ายค่าไถ่ตัวข้าเลย ฉันทนได้หากจะต้องใช้ชีวิตอยู่ที่นี่จนตาย และมันคงจะเป็นประโยชน์ยิ่งกวว่าหากใช้ทองคำเหล่านั้นรื้อฟื้นพุทธธรรมในธิเบต เพราะธรรมะมีความหมายต่อหัวใจฉันมากกว่าชีวิตฉันเสียอีก"

ต้องขอบคุณความเสียสละของกษัตริย์จางฉูบโอ ชาวธิเบตจำนวนมากถูกส่งไปเรียนที่อินเดีย และนักปราชญ์ชาวอินเดียจำนวนมากเดินทางมายังธิเบต ในจำนวนนั้นรวมถึง ท่านอติชาด้วย และเรื่องราวทั้งหมดนี้คือจุดเริ่มต้นของระบบซามะ

จาก https://th-th.facebook.com/tilopahouse/notes?ref=page_internal#

เนื้อหา ตามลำดับ

คำสอนลับแห่งพุทธะ (๑) รากฐานของวัชรยาน (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9987.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๒): หลักการและวิธีการ (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9988.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๓): อำนาจแปรเปลี่ยนภายใน (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9989.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๔): ครูกับศิษย์ (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9990.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๕): วัชรยานในโลกทัศน์แบบไตรยาน http://www.tairomdham.net/index.php/topic,9991.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ(๖): วัชรยานในโลกทัศน์แบบไตรยาน (ต่อ) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11613.0.html
คำสอนลับแห่งพุทธะ (๗): ตันตระในธิเบต (โดย กาลู รินโปเช) http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11614.0.html

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...