ผู้เขียน หัวข้อ: ผลไม้ในสวนธรรม  (อ่าน 7637 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ผลไม้ในสวนธรรม
« เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2010, 10:06:57 pm »





พระพุทธภาษิต

การไม่ทำบาปทั้งสิ้น ๑
การยังกุศลให้ถึงพร้อม ๑
การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

15/69 มหาปทานสูตร

ธรรมดาไฟย่อมเกิดขึ้นที่ไม้สีไฟ อันบุคคลสีอยู่ ไฟเกิดขึ้นแต่ไม้ใด
ย่อมเผาไม้นั้นเองให้ไหม้ ความโกรธย่อมเกิดขึ้นแก่คนโง่เขลาเบาปัญญา ไม่รู้จริง
เพราะความแข่งดี แม้เขาก็ถูกความโกรธนั้นแหละเผาลน

42/408-409 จุลลโพธิชาดก

สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นสงบ คนพาลเปรียบด้วยหม้อน้ำที่มีน้ำครึ่งหนึ่ง
บัณฑิตเปรียบเหมือนห้วงน้ำที่เต็ม

39/631 นาลกสูตร

สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นย่อมชื่อว่าเป็น ฤกษ์ดี มงคลดี
สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี

31/477 สุปุพพัณหสูตร

ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่เขลา ผู้คอยฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์
ดวงดาวจักทำอะไรได้

42/20-21 นักขิตตชาดก

ผู้ใดรีบด่วนในเวลาที่ควรช้า และช้าในเวลาที่รีบด่วนผู้นั้นเป็นพาล ย่อมประสบทุกข์
เพราะไม่จัดแจงโดยอุบายอันชอบประโยชน์ของผู้นั้นย่อมเสื่อมไป
 
41/447-448 สัมภูตเถรคาถา

ความดี คนดีทำได้ง่าย
ความดี คนชั่วทำยาก
ความชั่ว คนชั่วทำได้ง่าย
ความชั่ว พระอริยเจ้าทั้งหลายทำได้ยาก

38/213 อานันทสูตร

ภูเขาหินล้วนเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะลมฉันใด
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญฉันนั้น
บัณฑิตทั้งหลายผู้อันสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่แสดงอาการสูง ๆ ต่ำ ๆ
 
38/33-44 คาถาธรรมบท

ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมก่อทุกข์ ละความชนะและความแพ้เสียแล้ว
จึงสงบระงับ นอนเป็นสุข
 
23/165 ปฐมสังคามวัตถุสูตร

เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด เธอทั้งหลายจะได้ประโยชน์อะไรด้วยความหลับ
เพราะความหลับจะเป็นประโยชน์อะไรแก่เธอทั้งหลายผู้เร่าร้อนเพราะโรค คือ กิเลส
มีประการต่าง ๆ ถูกลูกศร คือ ราคะ เป็นต้น แทงแล้วย่อยยับอยู่

39/527-528 อุฏฐานสูตร

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ผลไม้ในสวนธรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2010, 10:25:53 pm »

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล


วิปัสสนานี้มีผลอานิสงส์ใหญ่ยิ่งกว่าทาน ศีล พรหมวิหารภาวนา
ย่อมทำให้ผู้เจริญนั้นมีสติไม่หลงเมื่อทำกาลกิริยา มีสุคติภพ คือมนุษย์และโลกสวรรค์
เป็นไปในเบื้องหน้าหากยังไม่บรรลุผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ถ้าอุปนิสัยมรรคผลมี
ก็ย่อมทำให้ผู้นั้นบรรลุมรรคผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ในชาตินี้นั่นเทียว

อนึ่ง ยากนักที่จะได้เกิดมาเป็นมนษย์ เพราะต้องตั้งอยู่ในธรรมของมนุษย์คือ ศีล ๕ และกุศลกรรมบท ๑๐
จึงจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ชีวิตที่เป็นมานี้ก็ได้ด้วยยากยิ่งนักเพราะอันตรายชีวิต
ทั้งภายในภายนอกมีมากต่าง ๆ การที่ได้ฟังธรรมของสัตตบุรุษ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ก็ได้ด้วยยากยิ่งนัก
เพราะกาลที่เปล่าว่างอยู่ ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกยืดยาวนานนัก บางคาบบางสมัย
จึงจะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกสักครั้งสักคราวหนึ่ง เหตุนั้น เราทั้งหลายพึงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด
อย่าให้เสียที่ที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เลย

 

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
 

การบำรุงรักษาสิ่งใด ๆ ในโลก... การบำรุงรักษาตนคือใจเป็นเยื่ยม จุดที่เยี่ยมยอดของโลกคือใจ
ควรบำรุงรักษาด้วยดี ได้ใจแล้วคือได้ธรรม เห็นใจแล้วคือเห็นธรรม รู้ใจแล้วคือรู้ธรรมทั้งมวล
ถึงใจตน แล้วคือถึงพระนิพพาน
ใจนี้ คือ สมบัติอันล้ำค่า จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมองข้ามไป
คนพลาดใจคือคนไม่สนใจปฏิบัติต่อดวงใจดวงวิเศษในร่างนี้ แม้จะเกิดสักร้อยชาติพันชาติ ก็คือผู้เกิดพลาดอยู่นั่นเอง

 

ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จะแยกกันไม่ได้ หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ต้องอิงอาศัยกันอยู่ฉันใดก็ดี
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ก็อาศัยกันอยู่อย่างนั้น สัทธรรมสามอย่างนี้ จะแยกกันไม่ได้เลย

 

ไม่ว่าธรรมส่วนใด ถ้าสำคัญ “ตน” ว่าเสวย เป็นอันผิดทั้งนั้น

 

ติดดี นี่แก้ยากกว่าติดชั่วเสียอีก



หลวงปู่ดูลย์ อตุโล


คนเราทุกวันนี้เป็นทุกข์เพราะความคิด

 

ถ้ามีเวลาสำหรับหายใจ ก็ต้องมีเวลาสำหรับภาวนา

 

การฟังแต่ละครั้งนั้นควรให้ได้อรรถรสของปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จึงจะเป็นสาระแก่นสาร

 

การเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น จะเริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้ เพราะผลมันเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว
ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้หลายแนวนั้น เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน จึงต้องมีวัตถุ สี แสง
และคำบริกรรม เช่น พุทโธ อรหัง เป็นต้น เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน สงบแล้ว
คำบริกรรมนั้นก็หลุดหายไปเอง แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน รสเดียวกัน คือ มีวิมุติเป็นแก่น มีปัญญาเป็นยิ่ง

 

สิ่งอันประเสริฐมีอยู่เฉพาะหน้าแล้วไม่สนใจ กลับไปหวังไกลถึงสิ่งที่เป็นแต่เพียงการกล่าวถึง
เป็นลักษณะของคนไม่เอาไหนเลย ก็ในเมื่อมรรคผลนิพพานในศาสนาสมณโคดมในปัจจุบันนี้ยังมีอยู่อย่างสมบูรณ์
กลับเหลวไหลไม่สนใจ เมื่อถึงศาสนาพระศรีอาริย์ก็ยิ่งเหลวไหลมากกว่านี้อีก

   

การปฏิบัติให้ปฏิบัติเพื่อสำรวม เพื่อความละ เพื่อความคลายกำหนัดยินดี เพื่อความดับทุกข์
ไม่ใช่เพื่อเห็นสวรรค์ วิมาน หรือแม้พระนิพพาน ก็ไม่ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อจะเห็นทั้งนั้น ให้ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ
ไม่ต้องอยากเห็นอะไร เพราะนิพพานมันเป็นของว่าง ไม่มีตัวตนหาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง

 

ผู้ปฏิบัติที่แท้จริงนั้น ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงชาติหน้าชาติหลังหรือนรกสวรรค์อะไรก็ได้
ให้ตั้งใจปฏิบัติให้ตรงศีล สมาธิ ปัญญา อย่างแน่วแน่ก็พอ ถ้าสวรรค์มีจริงถึง ๑๖ ชั้นตามตำรา ผู้ปฏิบัติดีแล้ว
ก็ย่อมได้เลื่อนฐานะของตนได้โดยลำดับ หรือถ้าสวรรค์นิพพานไม่มีเลย ผู้ปฏิบัติดีแล้วในขณะนี้
ก็ย่อมไม่ไร้ประโยชน์ ย่อมอยู่เป็นสุข เป็นมนุษย์ชั้นเลิศ

 

การไปหลายสำนักหลายอาจารย์ การปฏิบัติจะไม่ได้ผล เพราะการเดินหลายสำนักนี้
คล้ายกับการเริ่มต้นใหม่เรื่อย ๆ เราก็ไม่ได้หลักธรรมที่แน่นอน บางทีก็เกิดความลังเล งวยงง
จิตก็ไม่มั่นคง การปฏิบัติก็เสื่อม ไม่เจริญคืบหน้าต่อไป

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ผลไม้ในสวนธรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2010, 11:13:12 pm »


หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี
 
ตามกระแสพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าทุกข์เป็นของไม่ควรละ แต่เป็นของควรต่อสู้
ความทะยานอยากได้สุขหรือไม่อยากให้มีทุกข์ต่างหากเป็นของที่ควรละ
ผู้ที่จะพ้นทุกข์ได้ในโลกนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ยกทุกข์ขึ้นมาเป็นเหตุทั้งนั้น

 

ผู้ที่ไม่เห็นคุณค่าของความเพียรแล้ว อาจคิดว่าความขยันหมั่นเพียรในภารกิจต่าง ๆ มันเป็นทุกข์ลำบาก
เหนื่อยยากมิใช่หรือ จริงดังนั้นคนตกน้ำไม่ยอมว่ายมีหวังตายโดยถ่ายเดียว จะรอดมาได้
แต่เฉพาะคนที่ว่ายน้ำได้หมายพึ่งตนเองเท่านั้น

 

ทุกข์กับความเพียรเท่านั้นที่มีค่ามากในโลกนี้ หากไม่มีทุกข์กับความเพียรเสียแล้ว ใคร ๆ ในโลกนี้
จะไม่ทำความดีเพื่อพ้นทุกข์ในโลกนี้และโลกหน้า ตลอดถึงพระนิพพาน

 

สมาธินี้ถ้าสติอ่อน ไม่สามารถรักษาฐานะของตนไว้ได้ย่อพลัดเข้าไปสู่ภวังค์เป็น “ฌาน”
ถ้ามีสติสัมปชัญญะแก่กล้าขึ้นเมื่อไรย่อมกลายเป็น “สมาธิ” ได้เมื่อนั้น

 

เมื่ออยู่ใน “สมาธิ” นั้นเล่า ก็มิไช่ว่าจิตจะโง่เง่าซึมเซอะแต่มันมีความผ่องใส พิจารณาธรรมอันใด
ก็ปรุโปร่งเบิกบาน “ฌาน” ต่างหาก ที่ทำให้จิตสงบแล้วซึมอยู่กับสุขเอกัคตาของฌาน
ขออย่าได้เข้าใจว่า “ฌาน” กับ “สมาธิ” เป็นอันเดียวกัน
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความโง่อันสงบจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ยังดีกว่าความกล้าหลงเข้าไปในกามทั้งหลายเป็นไหน ๆ

 

หลักอนัตตา ในทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันชอบ พระองค์มิได้ตรัสว่า
อนัตตาเป็นของไม่มีตนมีตัว เป็นของว่างเปล่า พระองค์ตรัสว่า ตนตัวคือร่างกายของคนเรา
อันได้แก่ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ มันมีอยู่แล้ว แต่จะหาสิ่งที่เป็นสาระในขันธ์ ๕ นั้นไม่มีดังนี้ต่างหาก…
เมื่อสรุปให้สั้น ๆ แล้ว … ผู้ที่ยังยึดอัตตาอยู่ พระองค์ก็สอนให้ประกอบภารกรรมเพื่อประโยชน์แก่อัตตา
โดยทางที่ชอบที่ควรไปก่อน จนกว่าผู้นั้นจะเห็นแจ้งด้วยตนเองว่า สิ่งที่เราถือว่าเป็นอัตตาอยู่นั้น
แท้จริงแล้วมิใช่อัตตา มันเป็นเพียงมายาหรือของไม่เที่ยง เป็นทุกข์… แล้วพระองค์จึงสอน “อนัตตา” ที่แท้จริง

 

การเห็นความฟุ้งซ่านของจิตนั้น คือ “ปัญญาขั้นต้น”

 

คนใดว่าตนดีคนนั้นยังไม่ดี ใครว่าตนวิเศษวิโสหรือฉลาดเฉียบแหลม คนนั้นคือ คนโง่

 

พระพุทธศาสนานี้สอนมีจุดที่รวมได้ มีที่สุดหมดสิ้นสงสัยหมดเรื่อง ไม่เหมือนวิชาชีพอื่น เขาสอนไม่มีที่สิ้นสุด…
จึงว่าพระพุทธศาสนาสอนถึงที่สุด แต่บุคคลผู้ทำตามนั้น ทำไม่ถึงที่สุด…

 

แท้จริงความนึกคิดมิใช่ทุกข์ แต่การไปยึดความนึกคิดมาเป็นตน จึงเป็นทุกข์


ผู้ใดทำใจให้ถึงความเป็นกลางได้ ผู้นั้นพ้นจากทุกข์ทั้งปวง



หลวงปู่ขาว อนาลโย
 

ให้น้อมเข้ามาค้นคว้ากรรมฐาน ๕ นี้ เกศา ผม, โลมา ขน, นขา เล็บ, ทันตา ฟัน, ตโจ หนัง
ตะจะปริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ปูโรนานัปปการัสสะอสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาด
มีประการต่าง ๆ นี้แหละ ลืมตาขึ้นมา ให้มันเห็น แล้วตั้งใจทำอยู่อย่างนั้น ไม่ใช่ทำวันเดียว
เดือนหนึ่ง หรือปีหนึ่ง ทำเอาตาย เอาชีวิตเป็นแดน

   

สนิมเกิดจากเหล็กย่อมกัดเหล็กฉันใด
ความชั่วเกิดขึ้นแล้วย่อมทำลายตัวเอง

 

จงพยายามให้เรากินกาล อย่าให้กาลกินเรา
วันคืนล่วงไป ๆ อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบเร่งทำความเพียร

 

ธรรมมีอยู่แต่ขาดอุบายปัญญา
ก็นั่งโง่นอนโง่อยู่อย่างนั้น

 

ธรรมแม้จะลึกซึ้งคัมภีรภาพเพียงไหน
ไม่เหลือวิสัยบัณฑิตผู้มีความเพียร




หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ


เวลากิเลสมันเกิดขึ้น เกิดขึ้นทางกาย เกิดขึ้นทางวาจา เกิดขึ้นทางใจ รู้ทันมันเดี๋ยวนี้มันก็ดับไปเดี๋ยวนี้แหละ
ตัวสติมันปกครองอยู่เสมอ ถ้ามีสติอยู่ทุกเมื่อ มันบ่ได้คุมมันหละ ครั้นเกิดขึ้น รู้ทันมันก็ดับ รู้ทันก็ดับ รู้ไม่ทันก็ดับ
คิดผิดก็ดับ คิดถูกก็ดับ พอใจไม่พอใจก็ดับลงทันทีที่ตัวสติ

 

จงภาวนาเอากายเป็นมรรค เอากายเป็นผล จงพากันละอุปาทานทั้งห้า อนิจจังทั้งห้า ทุกขังทั้งห้า
อนัตตาทั้งห้า ละรูปธรรม นามธรรมนี้ วางได้มันก็เป็นธรรมนั่นแหละ
วางไม่ได้มันก็ยึดเอารูปธรรมนามธรรมเป็นตัวเป็นตน มันก็เป็น ธรรมเมา อยู่นั่นเอง

 

กามนี้มันหมุนรอบโลก มันเป็นเจ้าโลก กามกิเลสนี้แหละที่ทำให้เกิดสงครามต่อสู้กัน
เกิดก็เพราะกาม รักก็เพราะกาม ชังก็เพราะกาม กามกิเลสอุปมาเหมือนแม่น้ำ
ธารน้ำน้อยใหญ่ไม่มีประมาณไหลลงสู่ทะเลไม่มีเต็มฉันใดก็ดี
กามตัณหาที่ไม่พอดี ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นแหล่งก่อทุกข์ก่อความเดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ผลไม้ในสวนธรรม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2010, 12:40:30 am »
 :13: อนุโมทนาครับผม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ผลไม้ในสวนธรรม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2010, 05:09:05 am »


ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
 


เมื่อมนุษย์เป็นคนไม่ดี แม้วัตถุเหล่านั้นจะเป็นของดีก็ตามมันจะกลับกลายเป็นโทษแก่ปวงชนได้เหมือนกัน
ถ้ามนุษย์มีธรรมประจำใจ สิ่งทั้งหลายที่ให้โทษก็จะกลายเป็นประโยชน์

   
ถ้าใครไม่จริงจังกับพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็ไม่จริงกับผู้นั้น และผู้นั้นก็รู้จักพระพุทธศาสนาที่แท้จริงไม่ได้…
เหตุนั้น ท่านจึงสอนให้ทำสิ่งใดด้วยการทำจริง ทานก็ทานให้จริง ศีลก็ศีลให้จริง ภาวนาก็ภาวนาให้จริง
อย่าทำเล่น ๆ แล้วผลแห่งความจริงก็ย่อมจะเกิดจากการกระทำเหล่านี้ ไม่ต้องสงสัย

 

ถ้าใจเราเป็นโทษเสียแล้ว จะไปทำบุญทำทานอะไรก็ไม่ได้ผล เหมือนกับเราขนปุ๋ยไปใส่ต้นไม้ที่ตายแล้ว

 

พวกเราทั้งหลายไม่มีความสัตย์ความจริงต่อตัวเอง จึงมิได้ประสบสุขอันแท้จริงเหมือนอย่างพระพุทธองค์
เราบอกกับตัวเองว่า เราอย่างได้ความสุข แต่เราก็กระโดดเข้าใส่กองไฟร้อน ๆ
เรารู้ว่าสิ่งนั้น ๆ เป็นยาพิษ แต่เราก็ดื่มมันเข้าไป นี่แหละเป็นการทรยศต่อตัวเอง

 

ร่างกายนั้นเขาหนีเราไปทุกวัน ๆ แต่เราสิไม่เคยหนีเขา ไม่ยอมวางเขาเลยสักที เราติดเขาทุก ๆ อย่าง
เหมือนเรากินข้าว เราก็ติดข้าว แต่ข้าวมันไม่เคยติดเรา เราไม่กินข้าว ข้าวก็ไม่ร้องไห้สักที มีแต่เราติดมันฝ่ายเดียว

 

สุขโลกีย์ มันก็ดีแต่ใหม่ๆ สดๆ ร้อนๆ เท่านั้น เหมือนข้าวสุกที่เราตักใส่จานใหม่ ๆ ยังร้อนๆ ควันขึ้น
ก็น่ารับประทาน แต่พอตักไว้นาน ๆ จนเย็นชืดก็กินไม่อร่อย ยิ่งทิ้งไว้จนแข็งเป็นข้าวเย็น
ก็ยิ่งกลืนไม่ลง พอข้ามวันก็เหม็นบูด ต้องเททิ้ง กินไม่ได้เลย

 

มนุษย์นั้นโง่ ชอบกลืนกินแต่อารมณ์เลว ๆ ใช่แต่เท่านั้น เรื่องที่ไม่มีความจริงก็ยังกลืนเข้าไปอีก
ของดีก็ไม่อยากจะสนใจ ส่วนของไม่ดีอุตส่าห์ไปกระแด่ว ๆ เอาใจไปจดไปจำ เนื้อก็ไม่ได้กิน
หนังก็ไม่ได้รองนั่ง เอากระดูมาแขวนคอ

 

คนไม่มีธรรมะ ก็เหมือนกับคนที่ไม่มีบ้านอยู่ ต้องไปนั่งตากแดด ตากฝน และตากลม อยู่ทั้งกลางวันกลางคืน

 

ทำให้มันรู้ว่า อ้อ…อ้อ… ขึ้นมาในตัว อย่ามัวไปรู้แต่ โอ้…โอ้… ตามเขาพูด

 

สรุปแล้วความไม่ประมาทคือ ความไม่ตายใจ ไม่นอนใจ ไม่ไว้ใจในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น
ส่วนใดที่เป็นความดีควรได้ควรถึง ให้มีความพยายามสร้างสรรค์ขึ้นให้มีในตน บุคคลผู้นั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท



หลวงปู่ดู่ พฺรหมฺปญฺโญ
 

การปฏิบัติธรรมก็เหมือนการปลูกต้นไม้ ศีล คือ ดิน สมาธิ คือ ลำต้น ปัญญา คือ ดอกผล
เราต้องการให้ต้นไม้เจริญงอกงาม ก็ต้องหมั่นรดน้ำพรวนดิน และต้องคอยระมัดระวังมิให้ตัวหนอน
คือ โลภ โกรธ หลง มากัดกิน

 

ถ้าเป็นโลกแล้ว จะมีแต่ส่งออกไปข้างนอกตลอดเวลา แต่ถ้าคิดสิ่งที่เป็นธรรมแล้ว ต้องวกกลับเข้ามาหาตัวเอง
เพราะธรรมแท้ ๆ ย่อมเกิดในตัวของเรานี้ทั้งนั้น
“โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม” เรื่องโลกมีแต่เรื่องยุ่งของคนอื่นทั้งนั้นไม่มีที่สิ้นสุด
เราไปแก้ไขเขาไม่ได้ ส่วนเรื่องธรรมนั้นมีที่สุด มาจบที่ตัวเรา ให้มาไล่ดูตัวเองแก้ไขที่ตัวเราเอง...
ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง

 

ให้พยายามภาวนาไปเรื่อย ๆ ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน ทำได้ตลอดเวลาถ้าเราจะทำ ดีกว่านั่งร้องเพลง
จะซักผ้า หุงข้าว ต้มแกง นั่งรถ ทำได้ทั้งนั้น เขาเรียกว่าพยายามเกลี่ยจิตใจให้เข้าที่
ถ้าจะรอเวลาปฏิบัติ (นั่งสมาธิ) ทีเดียวมันยาก เพราะจิตมันแตกมาตลอด

 

ของดีอยู่ที่ตัวเรา ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต

 

รวยกับซวยมันอยู่ใกล้กันนะ จะเอารวยนะ จะหามายังไงก็ทุกข์ กลัวคนจะมาจี้มาปล้น หมดไปก็เป็นทุกข์อีก
ไปคิดดูเถอะ มันไม่จบหรอก มีแต่เรื่องยุ่ง เอา “ดี” ดีกว่า

 

ครูอาจารย์ดี ๆ มีอยู่มากมายก็จริง แต่สำคัญที่เราต้องปฏิบัติให้จริง สอนตัวเองให้มากนั่นแหละจึงจะดี

 

การปฏิบัติถ้าอยากให้มันเป็นเร็ว ๆ มันก็ไม่เป็น หรือไม่อยากให้เป็นมันก็ประมาทเสีย เลยไม่เป็นอีกเหมือนกัน
อยากเป็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเป็นก็ไม่ว่า ทำใจให้เป็นกลาง ๆ ตั้งใจให้แน่วแน่ในกรรมฐานที่ตั้งไว้
ภาวนาเรื่อยไป เหมือนกับเรากินข้าวไม่ต้องอยากให้มันอิ่ม ค่อย ๆ กินไปมันก็อิ่มเอง
ภาวนาก็เช่นกัน ไม่ต้องไปคาดหวังให้มันสงบ หน้าที่ของเราคือภาวนาไป ก็จะถึงของดีของวิเศษในตัว
แล้วเราจะรู้ชัดว่าอะไรเป็นอะไร ให้หมั่นทำเรื่อยไป

 

คนดีนะ เขาไม่ตีใคร

 

การปฏิบัติ ถ้าหยิบตำราโน้นนี้มาสงสัยถาม มักจะโต้งเถียงกันเปล่า โดยมากชอบเอาจากอาจารย์โน่นนี่
ว่าอย่างนั้นอย่างนี้มา... การจะปฏิบัติให้รู้ธรรมเห็นธรรม ต้องทำจริง จะได้อยู่ที่ทำจริง
เอาให้จริงให้รู้ ถ้าไปเรียนกับครูอาจารย์อื่นโดยยังไม่ทำให้จริงก็เหมือนดูถูกดูหมิ่นครูบาอาจารย์

 

ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เหมือนรสแกงส้ม
ศีล เปรียบได้กับรสเปรี้ยว ความเปรี้ยวทำหน้าที่กัดกร่อนความสกปรกออก ทำนองเดียวกัน
ศีลจะช่วยขัดเกลาความอยากออกจาก กาย วาจา ใจ
สมาธิ เปรียบได้กับรสเค็ม เพราะรสเค็มจะช่วยรักษาอาหารต่างๆ ไม่ให้เน่าเสีย
สมาธิก็เหมือนกัน สามารถรักษาจิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดีได้
ปัญญา เปรียบได้กับรสเผ็ด เพราะปัญญามีลักษณะคิด อ่านตริตรอง โลดแล่นไป เพื่อขจัดอวิชาความหลง

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ผลไม้ในสวนธรรม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2010, 05:22:03 am »


หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
 

...เวลาที่หมดไปสิ้นไป โดยไม่ได้ทำอะไรที่เป็นคุณประโยชน์แก่ตัวเองบ้างในชีวิตที่เกิดมาในโลก
และได้พบพระพุทธศาสนานี้ ช่างเป็นชีวิตที่น่าเสียดายยิ่งนัก
เวลาแม้เพียงหนึ่งนาทีที่ผ่านไปนั้น แม้ว่าจะทุ่มเงินจำนวนมหาศาล ก็ไม่สามารถซื้อกลับคืนมาได้
ฉะนั้น สิ่งที่น่าเสียดายในโลกนี้
จะมีอะไรน่าเสียดายเท่ากับปล่อยวันเวลาผ่านเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ แม้ว่าจะเพียงแค่นาทีเดียว

   

เราผู้เป็นสาวก สาวิกา ศรัทธาญาติโยม ภิกษุสงฆ์ สามเณร ก็อย่าได้มีความท้อถอย อย่าไปคิดว่าเราทำไม่ได้
เราบุญน้อย วาสนาน้อย ละกิเลสไม่ได้ อย่าไปคิดอย่างนั้น
อะไรก็ตาม ถ้าหากว่าเรามีความตั้งใจมั่น ไม่หวั่นไหวแล้วย่อมได้ย่อมถึง เป็นไปได้ทุกถ้าวนหน้า

 

เรื่องการภาวนานั้น ไม่หมายเอาเพียงรูปร่างภายนอก... การนั่งแต่เพียงรูปร่างกายนั้นไม่ยุ่งยาก
ข้อสำคัญอยู่ที่การทำจิตใจตั้งมั่นรู้อยู่ภายใน รวมอยู่ภายใน รู้ตามเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ
มี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น จนไม่ยึดมั่นถือมั่นเสียได้

 

การภาวนานั้น... ต้องรู้จักเลือกอุบายภาวนา พิจารณา อุบายที่ถูกจริต อาศัยความเพียรอย่างเดียวไม่ได้...
กิเลสมันพลิกแพลงเก่งต้องตามให้ทัน คนรู้จักพิจารณาก็ได้บรรลุธรรมเร็ว

 

การภาวนา เป็นเหมือนเครื่องค้นคว้าหาแก้วอันประเสริฐ คนเรามีแก้วอันประเสริฐอยู่ในตัว
แต่เมื่อไม่อาศัยการภาวนาก็ไม่สามารถค้นพบแก้วนั้นได้ พระพุทธศาสนามีคุณค่าสูงก็ด้วยสอนวิธีภาวนา
ทำใจที่มีกิเลสอาสวะเศร้าหมองอยู่ ให้หมดจดจากสิ่งเศร้าหมองกลับผ่องใสขึ้น

 

เป็นธรรมดาที่สังขารร่างกายของเรา จะต้องเดินไปสู่ความเสื่อมความสลาย แม้จะป้องกันแก้ไขอย่างไร
ก็เป็นแต่ยืดเวลาออกไปเท่านั้น ที่จะห้ามไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตายเลยนั้นไม่ได้
ฉะนั้น จึงให้มุ่งเอาจิตเป็นสำคัญ คือบำรุงรักษาร่างกายพอประมาณ แต่บำรุงรักษาจิตให้มากๆ
เป็นการหาสาระจากสิ่งที่ไม่เป็นแก่นสารนั้นๆ ให้มากที่สุดที่จะทำได้ คือให้เร่งรัดบำเพ็ญกุศลเต็มสติกำลัง
ทั้งทาน ศีล ภาวนา แม้ร่างกายจะแก่ จะแตก จะตาย ก็ไม่วิตกกังวล เพราะสมบัติดี ๆ มีไว้
เตรียมไว้แล้ว ดังนี้ จะไปไหนก็ไม่ต้องกลัว

 

“การภาวนา” เป็นเรื่องของการบำเพ็ญเพื่อความสุข ไม่ใช่เพื่อความทุกข์ แม้จะมีความยากลำบากบ้างก็อย่าท้อถอย
ให้เห็นเป็นธรรมดาของการทำสิ่งมีค่าให้เกิดขึ้น

 

“มรณกรรมฐาน” นี้เป็นยอดกรรมฐานก็ว่าได้ คนเราเมื่ออาศัยความประมาทมัวเมา ไม่ได้มองเห็นภัยอันตราย
จะมาถึงตนคิดเอาเอง
หมายเอาเองว่า เราคงไม่เป็นไรง่าย ๆ เราสบายดีอยู่ เรายังเด็กยังหนุ่มอยู่ ความตายคงไม่กล้ำกรายได้ง่าย
อันนี้เป็นความประมาทมัวเมา

 

กิเลสมันมีอุบายหลายอย่างที่มักจะเอาชนะคน ผู้จะปราบมันเสมอ แทนที่จะปราบมัน กลับถูกมันปราบเอา
ฉะนั้น วันคืนล่วงไปอย่าให้ล่วงไปเปล่า ต้องประกอบความพากเพียรภาวนา
อย่าเห็นแก่กินแก่นอนเป็นใหญ่ ให้มุ่งชำระกิเลสเป็นของจำเป็น เป็นหน้าที่สำคัญ

 

ยิ่งเจริญ ยิ่งภาวนาเท่าใด จิตใจมันก็มีกำลัง เมื่อใจมีกำลัง มีความสามารถอาจหาญแล้ว
สิ่งที่เราว่ายากก็ไม่มีอะไรยาก สิ่งที่เราคิดว่าเหลือวิสัยก็ไม่เหลือวิสัย อยู่ในวิสัยทุกคนจะทำได้ทั้งนั้น

 

ภัยต่าง ๆ ที่เห็นกันนั้นอย่างมากเป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง แล้วก็ผ่านไป แต่ส่วนภัยของกิเลสนั้น
ตายแล้วยังไม่หมดภัย มันยังเป็นภัยข้ามภพข้ามชาติไปอีกไม่รู้สิ้นสุด
ถ้าเราไม่หาอุบายวิธีกำจัดมันให้หมดสิ้นหรือเบาบางไป เราก็ต้องประสบภัยจากมันเรื่อยไป

 

กาลเวลามันล่วงไปผ่านไป แต่มันก็ไม่ได้ล่วงไปเปล่า มันเอาอายุวัยของเราไปด้วย

 

ถ้าเราชำระเอากิเลส โลภ โกรธ หลง ออกไปมากเท่าไร ก็เท่ากับความเป็นพุทธะ ธัมมะ สังฆะ ของเราเพิ่มขึ้นทุกที

 

เมื่อสิ่งที่ไม่เที่ยงนั่นแหละ มาถึงบุคคลใด บุคคลนั้นจะต้องรู้เท่าทัน อย่าไปยึดเอาถือเอา
เมื่อไปยึดสิ่งใด ถือสิ่งใด สิ่งนั้นไม่เป็นไปตามใจหวัง ก็เกิดความทุกข์ขึ้นมา
ถ้าไม่ยึดเอาถือเอา เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีความไม่เที่ยงอย่างนี้ มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วดับไป
เกิดขึ้นใหม่ ตั้งอยู่ ก็ดับไป เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นอยู่อย่างนี้ ทุกสิ่งทุกอย่าง
ไม่ว่าคน สัตว์ วัตถุธาตุทั้งหลาย มีความไม่เที่ยงแท้แน่นอนอย่างนี้

 

อุบายใดก็ตามเป็นอุบายยังจิตของตนให้สงบระงับได้ ก็ให้ถือเป็น “อุบายภาวนา” ได้ทั้งนั้น

 

คนเราโดยมากมักถืออุปสรรคเป็นเครื่องบั่นทอนกำลังใจ เลยท้อแท้ที่จะแก้ไขปรับปรุง
หรือดำเนินกิจการให้รุดหน้าต่อไป
ส่วนผู้ที่มีความเข็มแข็ง หรือจะทำจิตใจของตนให้เข้มแข็งต่อไป จะต้องถืออุปสรรคอันตรายต่าง ๆ
เป็นสิ่งที่จะช่วยสร้างเสริมบารมีของตนให้เพิ่มขึ้น

 

ชีวิตของเราเป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของที่ต้องตายลงโดยแน่นอน เวลานี้อาจได้ยินข่าวมรณกรรมของผู้อื่น
ของพระอื่น แต่อีกไม่นาน
ข่าวนั้นจะต้องเป็นของเราบ้าง เพราะชีวิตทุกชีวิตจะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ทั้งนั้น
...ฉะนั้น อย่าประมาทเรื่องความตาย ให้เร่งภาวนาทำจิตใจให้หมดกิเลส หมดทุกข์หมดร้อนให้ได้
ก่อนความตายจะมาถึง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 11, 2010, 06:04:33 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ผลไม้ในสวนธรรม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2010, 05:58:28 am »


หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
 

ใครจะหยาบละเอียดแค่ไหน นิสัยวาสนามีมาก มีน้อยเพียงไร จงยกตนให้เหนือกิเลสประเภทต่าง ๆ ด้วยความเพียร
จะจัดว่าเป็นผู้มีวาสนาบารมีเต็มหัวใจด้วยกัน หากไม่มีความเพียรเป็นเครื่องแก้
อย่างไรก็นอนกอดวาสนาที่เต็มไปด้วยกิเลสตัวหยิ่ง ๆ อยู่นั่นแล บาง...ก็ฟาดมันลงไปให้แหลกละเอียด หนา...
ก็ฟาดมันลงไปให้แหลกละเอียดเหมือนกันหมด จะสมนามว่าเป็นนักรบนักปฏิบัติเพื่อกำจัดสิ่งที่เป็นข้าศึกออกจากใจโดยแท้

   

ถ้าจับจุดของความรู้ไม่ได้ ก็อย่าลืมคำบริกรรมภาวนา ไปที่ไหน อยู่ในท่าอิริยาบถใด คำบริกรรมให้ติดแน่นกับจิต
ให้จิตเกาะอยู่กับคำบริกรรมภาวนานั้นเสมอเช่น พุทโธ ก็ตาม อัฐิ ก็ตาม เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
บทใดก็ตาม ให้จิตติดอยู่กับบทนั้น ไม่ให้จิตไปทำงานอื่น

ถ้าปล่อยนี้เสีย จิตก็เถลไถลไปทำงานอื่นซึ่งเป็นเรื่องของกิเลสไปเสีย ไม่ใช่เรื่องของธรรมที่เป็นความมุ่งหมายของเรา
บทธรรมที่เราตั้งขึ้นมานั้น เพื่อให้จิตเกาะอยู่กับคำบริกรรมบทนั้น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมที่เรากำหนดขึ้นเอง
อาศัยธรรมบทต่างๆ เป็นเครื่องยึดเครื่องเกาะของจิต ขณะทำลงไปก็เป็นธรรม จิตใจก็สงบ นี่แล
หลักการปฏิบัติที่จะทำให้จิตสงบเยือกเย็นได้โดยลำดับของนักภาวนาทั้งหลาย

 

เรื่องสติปัญญาต้องขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ เราจะไปเอาเรื่องเก่าที่เคยเป็นมา มาปฏิบัติไม่ได้ เป็นเรื่องนิทาน
หรือเป็นเรื่องปริยัติ เป็นตำรับตำราไปเสีย มันไม่ขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ
หากว่าจะเป็นอุบายของสติปัญญาที่เคยเป็นมาแล้ว ก็ให้เกิดขึ้นมาโดยสด ๆ ร้อน ๆ
อย่าให้เกิดด้วยการคาดหมาย


 

การที่จะตั้งหลักตั้งฐานเบื้องต้นนี้ลำบากเหมือนกัน แม้ลำบากแค่ไหนก็อย่างถือเป็นอารมณ์
จะเป็นอุปสรรคเพื่อผลที่ตนต้องการ
จงถือความเพียรเพื่อความพ้นทุกข์นี้เป็นธรรมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเพิ่มพูนให้มาก
สติ ซึ่งเป็นธรรมสำคัญ จะต้องเพิ่มพูนให้มากเพื่อความเหนียวแน่นมั่นคง เพื่อความสืบต่อแห่งการระลึกรู้ตัวเสมอ

 

จิตเป็นสิ่งลึกลับมากเพราะกิเลสพาให้ลึกลับ กิเลสมันเอาจิตเข้าไปหมกไปซ่อนไว้
ในสถานที่ที่เราไม่อาจเอื้อมรู้ได้เห็นได้ ถูกกิเลสตัวจอมปลอมปิดบังไว้หมด
ตัวมันออกหน้าออกตาหลอกลวงไว้ตลอดเวลาจึงไม่เห็นโทษของตน ไม่เห็นโทษของกิเลสที่พาให้เกิดให้ตาย

 

ปัญญา...ในโอกาสที่ควรพิจารณาก็ควรพิจารณาแยกแยะทั้งภายนอกทั้งภายใน เทียบเคียงกัน
มรรคนั้นเป็นได้ทั้งภายนอกทั้งภายใน ปัญญาเป็นได้ทั้งภายนอกภายใน ถ้าทำให้เป็นปัญญาที่เรียกว่า “มรรค”

 

ทุกขสัจนี้เป็นเหมือนหินลับปัญญานะ ถ้าเราพิจารณาแบบพระพุทะเจ้าสอน แบบอริยสัจเป็นของจริง ๆ
เรื่องทุกขเวทนานี้เป็นหินลับปัญญาให้คมกล้า ทุกขเวทนากล้าสาหัสเข้าไปเท่าไร สติปัญญายิ่งหมุนติ้วๆ ถอยไม่ได้

 

เรียนไปทำไม เรียนไม่สังเกต เรียนไม่พิจารณา เรียนไม่นำมาเป็นคติเครื่องพร่ำสอนตน
จะเกิดประโยชน์อะไรเพราะการเรียนการจดจำเปล่า ๆ นั้น

 

การสั่งสอนอรรถสั่งสอนธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน สอนตรงที่มันแบกมันหามนี่
ให้ปลดให้เปลื้องออกไปด้วยสติปัญญา ศรัทธา ความเพียร แล้วจะได้โปร่งโล่งเบาสบาย
อิสระเสรี คือ ใจที่หลุดพ้นจากกิเลสนี้เท่านั้น


 

การคลี่คลาย การพิจารณาทางด้านปัญญา ก็เพื่อแก้สิ่งจอมปลอมทั้งหลาย ซึ่งปีนเกลียวกับธรรม
คือ ความจริงล้วน ๆ ออกโดยลำดับ จิตจะเปิดเผยตัวเองขึ้นอย่างชัดเจน
ความยึดมั่นถือมั่นภายในร่างกาย เมื่อพิจารณาจนถึงขั้น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อย่างซึ้งภายในใจแล้ว จะยึดถือไว้ไม่ได้ จะสลัดอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นภายในร่างกายนี้ออกโดยสิ้นเชิง

รู้ประจักษ์กับจิต กาย เวทนา ก็สักแต่ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ตามธรรมชาติของมันเป็นความจริงแต่ละอย่างๆ
กายก็ไม่ทราบความหมายของทุกขเวทนา หรือสุขเวทนา อุเบกขาเวทนา
เวทนานั้นจะเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา ก็ไม่ทราบความหมายของตน
และไม่ทราบความหมายของกายของใจ เป็นแต่ธรรมชาติที่ปรากฏขึ้นตามหลักความจริงของตน
แล้วก็ดับไปตามธรรมชาติของมัน

 

ถ้าจิตมีสติปัญญารอบตัวอยู่แล้ว จะพิจารณารู้แจ้ง เห็นความจริงในความจริงทั้งหลาย ทั้งส่วนเวทนาสาม
แยกตัวออกโดยลำดับๆ ส่วนสัญญาสังขารไม่ต้องพูด มันก็เป็นอาการเหมือนกันนั่นแล
เกิดขึ้นแล้วดับไป มันเป็นกองไตรลักษณ์ทั้งหมด คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และเบิกออก ๆ จิตถอยตัวเข้ามา
การพิจารณาก็แคบเข้าไปๆ เพราะสิ่งไรที่พิจารณารู้แจ้งเห็นจริงแล้วมันปล่อยเอง

 

...จิตเป็นเหมือนกัน สมาธิแน่นปึ๋งเหมือนหิน แต่มันไม่ใช้ปัญญานะสิ ถ้าใช้ปัญญามันก็ไปรวดเร็วกว่านั้น
มันเพลินกิน เพลินนอนอยู่กับสมาธินั่นเสีย มันขี้เกียจ มันสบาย ไม่ยุ่งกับอะไร
จิตอิ่มของมัน อิ่มตัวในขั้นสมาธินะ ไม่ใช่อิ่มตัวด้วยการหลุดพ้นโดยประการทั้งปวงแล้ว

มันอิ่มตัวในสมาธิไม่ยุ่งกับอารมณ์อะไร รูปเสียงอะไร ๆ ไม่ยุ่ง สบายอยู่อย่างนั้นแบบหมูได้เขียง
ไม่ได้คิดว่า เขียงคือที่รองสับยำหมูเลย

 

ธรรมะ...ท่านสอนให้ดูตัวเอง ระวังตัวเอง จะได้เห็นความบกพร่องของตนเอง แล้วแก้ไขตัวเองไปเรื่อยๆ
จนสมบูรณ์ได้

 

กิเลสนี้อยู่ประจำตลอดเวลา และกล่อมสัตว์โลกได้อย่างสนิทปิดหูปิดตา ไม่สามารถที่จะทราบว่า
มันเป็นภัยได้เลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 11, 2010, 06:06:25 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ดอกโศก

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 862
  • พลังกัลยาณมิตร 595
    • rklinnamhom
    • ดูรายละเอียด
Re: ผลไม้ในสวนธรรม
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2010, 08:30:43 am »
อนุโมทนากับการนำธรรมะมาเผยแผ่เป็นทานค่ะ พี่แป๋ม

 :45:

ชอบหนังสือเล่มนี้มากเหมือนกันค่ะ

พี่ที่เป็นกัลยาณมิตรให้มาหลายเล่มแล้วก็ได้แจกจ่ายให้เพื่อน พ้อง น้องพี่ไปหลายคนค่ะ



ป.ล. ถ้าพี่แป๋มอยากได้กระซิบบอกนะคะ จะจัดส่งไปให้ด้วยความยินดียิ่งค่ะ
 :13:

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ผลไม้ในสวนธรรม
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2010, 11:37:54 am »

ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก
 
เขาภาวนาเพื่อให้ละ ไม่ใช่ภาวนาเพื่อให้เอา

ก่อนที่จะพูดอะไร ให้ถามตัวเองว่า ที่จะพูดนี้จำเป็นหรือเปล่า ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าพูด
นี่เป็นขั้นต้นของการอบรมใจ
เพราะถ้าเราควบคุมปากตัวเองไมได้ เราจะควบคุมใจได้อย่างไร


คนเราต้องบ้าภาวนา จึงจะภาวนาได้ดี เวลาภาวนาอย่าไปกลัวว่า ภาวนาแล้วจะเป็นนั่นเป็นนี่
เพราะเป็นของแก้กันได้ ให้กลัวอย่างเดียวว่า จะภาวนาไม่เป็น

 
ให้ภาวนา อย่ามัวแต่ง่วงนอน นอนกันมาไม่รู้กี่ชาติแล้ว ไม่รู้จักอิ่มสักที มัวแต่เป็นผู้ประมาท
ไม่รู้จักมนุษย์สมบัติเอาไว้ ระวังจะเหลือไม่เท่าเก่า

 
อะไร ๆ ก็ขึ้นอยู่กับความสังเกตของเรา ถ้าความสังเกตของเรายังหยาบ ๆ เราจะได้แต่ของหยาบๆ
การภาวนาของเราก็จะไม่มีทางเจริญก้าวหน้าไปได้

 
พระธรรมถามว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่... แล้วเราจะตอบท่านว่ายังไง

 
ไปกี่วัดกี่วัด รวมแล้วก็วัดเดียวนั่นแหละคือ วัดตัวเรา

 
คนเราเวลานั่งภาวนา กว่าใจจะสงบได้ก็ต้องใช้เวลานานแต่พอจะออกจากที่นั่งก็ทิ้งเลย อย่างนี้เรียกว่า
เวลาขึ้นบ้านก็ขึ้นบันใด เวลาลงก็กระโดดลงหน้าต่าง

 
เราเกิดมานับอสงไขยไม่ถ้วน ถ้าจะเอากระดูกที่เราเคยตายเกิดมากองไว้ ก็จะโตกว่าเขาพระสุเมรุ
น้ำในแม่น้ำมหาสมุทรน้อยใหญ่ทั้งหลายนะ ก็ยังน้อยกว่าน้ำตาที่เคยหลั่งรินเพราะความทุกข์ทั้งหลายเสียอีก

 
ผู้รู้แล้วจะไม่ทุกข์ ผู้ไม่รู้เท่านั้นเป็นทุกข์ ทุกข์มันก็มีอยู่กับทุกคน ไม่มีใครไม่มีหรอก
ตราบใดที่ยังมีขันธ์ ๕ อยู่ ทุกข์ก็ต้องมีแต่ถ้าเรารู้แล้ว เราจะอยู่อย่างสบาย

 
ผู้มีปัญญา เมื่อเห็นเช่นนี้ ย่อมเกิดความสลดสังเวชในภพชาติ ไม่ยินดีในการเกิดมีจิตมุ่งตรงต่อนิพพานอย่างเดียว

 
คนทั้งหลายเขาก็อยู่กับทุกข์ ๆ ๆ ทั้งนั้น แต่ไม่รู้จักทุกข์จึงพ้นจากทุกข์ไม่ได้

 
มัวแต่ตัดรากถอนโคน ระวังลูกมันจะหล่นลงมางอกอีก

 
ใจจะคิดจะปรุงอะไรก็ปรุงได้ แต่อย่าหลง

 
การกำหนดทุกข์ ก็ต้องเอาให้ละเอียด ต้องเอาถึงขนาดแค่ลืมตาปุ๊บ รูปมากระทบก็รู้ว่าทุกข์แล้ว

 
นิพพานนั้นเป็นเรื่องละเอียด ต้องใช้ปัญญาเอามากๆ ไม่ใช่ของจะถึงด้วยแรงอยาก
ถ้าเป็นของที่จะถึงด้วยแรงอยาก พวกเราคงจะตรัสรู้กันหมดแล้วทั้งโลก

 
เมื่อรู้แล้ว ก็ให้อยู่เหนือรู้

 
อย่าทำแต่ถูกใจ ต้องทำให้ถึงใจ

 
ผู้มีปัญญาย่อมใช้อะไรๆ ให้เป็นประโยชน์ได้ทั้งนั้น

 
จิตเปรียบเหมือนพระราชา อารมณ์ทั้งหลายเปรียบเหมือนเสนา เราอย่าเป็นพระราชาที่หูเบา

 
ปฏิบัติยังไม่เข้าขั้นแล้วอย่าไปเที่ยวสอนเขา มันมีโทษนะ ที่จริงไปถูกเขาเผยแพร่มากกว่า
สอนไปสอนมากลายเป็นปฏิกูลน่ากิน อสุภะน่ากอด

 
ของดีจริงไม่ต้องโฆษณา คนชอบขายความดีของตัวเอง ที่จริงขายความโง่ของตัวเองมากกว่า
คมให้มีในฝัก ให้ถึงเวลาที่จะต้องใช้จริงๆ จึงคอยชักออกมา จะได้ไม่เสียคม

 
มัวแต่นึกถึงวันเกิด ให้นึกถึงวันตายเสียบ้าง

 
ต้องหมั่นมีสติ หมั่นพิจารณาร่างกายจนเป็นเป็นกระดูกจนร่วงลงไปกอง แล้วเผาให้เกลี้ยงไปเลย
ถามตัวเองซิ มีตัวตนไหม อะไรทำให้ทุกข์ ทำให้เจ็บปวด มีตัวเราไหม ดูให้ถึงแก่นแท้ของธรรมชาติ
พิจารณาไปจนไม่มีอะไรของเราสักอย่าง

 
มันไม่มีใครเจ็บ มันไม่มีใครตาย นั่นแหละ ตรงนั้นแหละ มันมีอยู่แล้วทุกคน เหมือนเราคว่ำมืออยู่
เราก็หงายมือเสีย แต่ผู้ที่มีปัญญาเท่านั้นที่จะทำได้ ถ้าโง่ก็ไม่เห็น ก็ไม่ได้ ไม่พ้นเกิด พ้นตาย

 
การภาวนาของเราต้องมี ปีติ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ไม่อย่างนั้น ทำไป ๆ มันจะเหี่ยวแห้ง

 
สักวันหนึ่งความตายจะมาถึงเรา มาบีบบังคับให้เราปล่อยทุกสิ่งทุกอย่าง
ฉะนั้น เราต้องหัดปล่อยวางล่วงหน้าให้มันเคย ไม่อย่างนั้น พอถึงเวลาไปจะลำบาก

 
จิตเห็นจิตตามความเป็นจริง เขาก็วางของเขาเอง

 
เมื่อคิดที่ พุทโธ แล้วไม่ต้องลังเลว่า จะนั่งไม่ได้ดี ถ้าตั้งใจจริงแล้วมันต้องได้ สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว
เป็นมารผจญ เขาเล่นละครอะไร ๆ เราก็ไปดู ไม่ใช่ว่าไปเล่นกับเขาด้วย

 
อยู่บนที่สูงแล้ว ก็สามารถมองเห็นอะไร ๆ ได้หมด

 
ถึงความเห็นของเราจะถูก แต่ถ้าเรายึดเข้าไว้มันก็ผิด

 
เวลาเราทำงานอะไรอยู่ ถ้าเราสังเกตว่าใจเราเสีย ก็ให้หยุดทันที แล้วกลับมาดูใจของตนเอง
เราต้องรักษาใจของเราไว้เป็นงานอันดับแรก

 
คนอื่นเขาด่าเรา เขาก็ลืมไป แต่เราไปเก็บมาคิด เหมือนเขาคายเศษอาหารทิ้งไปแล้ว เราไปเก็บมากิน
แล้วจะว่าใครโง่

 
ธรรมะ เราอ่านมามากแล้ว ฟังมานานแล้ว เราก็ว่าเราเข้าใจ แต่มันถึงใจ ดีจริงหรือยัง

 
การภาวนาต้องทิ้งเป็นขั้น ๆ เหมือนเขายิงจรวจในอวกาศพอพ้นจากโลกแล้ว กระสวยอวกาศ
ก็ต้องทิ้งยานแม่ จึงจะไปถึงโลกพระจันทร์ได้

 
คนเราถ้าทำดีแล้วติดดีก็ไปไม่รอด เมื่อใจยังมีติดภพชาติยังมีอยู่

 
ทำดีให้มันถูกตัวดี อย่าให้มันดีแต่กิริยา

 
การภาวนาก็คือการฝึกตาย เพื่อเราจะได้ตายเป็น

 
ของจริงจึงอยู่กับเรา ถ้าเราทำจริง เราจะได้ของจริง ถ้าเราทำไม่จริง เราจะได้แต่ของปลอม

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ผลไม้ในสวนธรรม
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2010, 04:03:56 pm »


หลวงพ่อชา สุภทฺโท
 

ใจจะสงบได้ ก็ด้วยความเห็นที่ถูก

 
คนตายแล้วเดินได้ พูดได้ หายใจได้ ใครเคยเห็นไหม ใครเคยคิดไหม ตายทางจิต... ตายทางสติปัญญา

 
ดูซิ... เราข้ามกันไปหมด พากันทำบุญ แต่ว่าไม่พากันละบาป ...ผ้าสกปรก ไม่ฟอก แต่อยากจะรับน้ำย้อมนะ

 
...เราจึงไม่จำกัดรูปแบบการปฏิบัติ แต่มักสอนให้ภาวนา พุทโธ หรือ อานาปานสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้าออก
ทำไปพอสมควรแล้วจึงค่อยทำความรู้ความเห็นของเราให้ถูกต้องเรื่อยไป


ที่เรามาปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อให้เห็นจิตเดิม เราคิดว่าจิตเป็นสุขเป็นทุกข์ แต่ความจริงจิตไม่ได้สร้างสุขสร้างทุกข์
อารมณ์มาหลอกลวงต่างหาก มันจึงหลงอารมณ์ ฉะนั้น เราจึงต้องมาฝึกจิตใจให้ฉลาดขึ้น ให้รู้จักอารมณ์
ไม่ให้เป็นไปตามอารมณ์ จิตก็สงบเรื่องแค่นี้เอง ที่เราต้องมาทำกรรมฐานกันยุ่งยากทุกวันนี้

 
สติ เป็นสภาวธรรมอันหนึ่งซึ่งให้ธรรมทั้งหาลายเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียง สติ ก็คือ ชีวิต
ถ้าขาดสติเมื่อใดก็ตามเหมือนตาย

 
การทำจิตใจของเราให้มีกำลัง กับการทำกายของเราให้มีกำลังมันต่างกัน การทำกายให้มีกำลังก็คือ
การออกกำลังกาย บริหาร มีการกระโดด การวิ่ง นี่คือการทำกายให้มีกำลัง
การทำจิตให้มีกำลังก็คือ ทำจิตให้สงบ ไม่ใช่ทำจิตให้คิดนั่นคิดนี่ไปต่าง ๆ ให้อยู่ในขอบเขตของมัน
เพราะว่าจิตของเรานั้นไม่เคยได้สงบ ไม่เคยมีกำลัง มันจึงไม่มีกำลังทางด้านสมาธิภายใน

 
การฝึกจิตไม่เหมือนฝึกสัตว์ จิตนี่เป็นการฝึกยากแท้ๆ แต่อย่าไปท้อถอยง่าย ๆ ถ้ามันคิดไปทั่วทิศ
ก็กลั้นใจมันไว้ พอใจมันจะขาดมันก็คิดอะไรไม่ออก มันก็วิ่งกลับมาเอง ให้ทำไปเถอะ

 
จิตของเรานี้ เมื่อไม่มีใครตามรักษา มันก็เหมือนคนคนหนึ่งที่ปราศจากพ่อแม่ที่ดูแล
เป็นคนอนาถานั้นเป็นคนที่ขาดที่พึ่งก็เป็นทุกข์ จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้าขาดการอบรมบ่มนิสัย
หรือทำความเห็นให้ถูกต้องแล้ว จิตนี้ก็ลำบากมาก

 
ผู้ไปยึดอารมณ์จะเป็นทุกข์ เพราะอารมณ์มันไม่เที่ยง

 
การทำความเพียรให้ทำอย่าหยุด อย่าปล่อยไปตามอารมณ์ให้ฝืนทำไป ถึงจะคร้านก็ให้ทำ
จะขยันก็ให้ทำ จะนั่งก็ทำ จะเดินก็ทำ เมื่อจะนอนก็ให้กำหนดลมหายใจว่า
“ข้าพเจ้าจะไม่เอาความสุขในการนอน” สอนจิตไว้อย่างนี้ พอรู้สึกตัวก็ลุกขึ้นมาทำความเพียรต่อไป...

เวลานอน ให้นอนตะแคงข้างขวา กำหนดอยู่ที่ลมหายใจ “พุทโธ พุทโธ” จนกว่าจะหลับ
ครั้นตื่นก็เหมือนกับมี “พุทโธ” อยู่ไม่ขาดตอนเลย จึงจะเป็นความสงบเกิดขึ้นมา มันเป็นสติอยู่ตลอดเวลา

 
สมเด็จพระบรมศาสดา ท่านตรัสสอนไว้แล้วทุกอย่างในเรื่องการประพฤติปฏิบัติ แต่พวกเราทั้งหลาย
ยังไม่ได้ปฏิบัติกันหรือไม่ก็ปฏิบัติแต่ปากเท่านั้น
หลักของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่การพูดกันเฉย ๆ หรือด้วยการเดา หรือการคิดเอาเอง

หลักของพระพุทธศาสนาที่แท้จริงคือ การรู้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงนั่นเอง
ถ้ารู้เท่าทันตามความเป็นจริงนี้แล้ว การสอนก็ไม่จำเป็น แต่ถ้าไม่รู้ถึงความเป็นจริงอันนี้ แม้จะฟังคำสอนเท่าใด
ก็เหมือนกับไม่ได้ฟัง

 
เวลาในชีวิตของเรามีไม่มากนัก ให้สอนตัวเอง ไม่ต้องไปพยายามสอนคนอื่น เดินไปเดินมาก็ให้สอนตัวเอง
เอาชนะตัวเอง ไม่ต้องเอาชนะคนอื่น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะไป จะมา
ทุกอย่างจิตกำหนดอยู่เสมอ... ถ้าเราตามดูจิตเรา มันจะเห็นกิเลส มันจะเห็นจิตของเราสม่ำเสมอ
สติจะติดต่อเป็นวงกลม ปฏิบัติเช่นนี้เร็วมาก ปัญญามันจะเกิดขึ้น มันจะเห็นตามสภาวะมันเองทุกๆ อย่าง

 
การนั่งสมาธิ นั่งให้ตัวตรง อย่างเงยหน้ามากไป อย่าก้มหน้าเกินไป เอาขนาดพอดี เหมือนพระพุทธรูปนั่นแหละ
มันจึงสว่างไสวดี
ครั้นจะเปลี่ยนอิริยาบถ ก็ให้อดทนจนขีดสุดเสียก่อน ปวดก็ให้ปวดไป อย่างเพิ่งรีบเปลี่ยน
อย่าคิดว่า “บ๊ะ ไม่ไหวแล้ว พักก่อนเถอะน่า” อดทนมันจนปวดถึงขนาดก่อน พอมันถึงขนาดนั้นแล้ว
ก็ให้ทนต่อไปอีก ทนต่อไป ๆ จนมันไม่มีแก่ใจจะว่า “พุทโธ”

เมื่อไม่ว่า “พุทโธ” ก็เอาตรงที่มันเจ็บนั่นแหละมาว่าแทน “อุ๊ย เจ็บ เจ็บแท้ ๆ หนอ” เอาเจ็บนั้นมาเป็นอารมณ์
แทน “พุทโธ” ก็ได้ กำหนดให้ติดต่อกันไปเรื่อยๆ นั่งไปเรื่อย ดูซิว่าเมื่อปวดถึงที่สุดแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น
พระพุทธเจ้าว่ามันปวดเอง มันก็หายเอง ให้มันตายไปก็อย่าเลิก บางครั้งมันเหงื่อแตกเม็ดโป้ง ๆ
เท่าเม็ดข้าวโพดไหลย้อยมาตามอก ถ้าครั้นทำจนมันได้ข้ามเวทนาอันหนึ่งแล้ว มันก็รู้เรื่องเท่านั้นแหละ
ให้ค่อยทำไปเรื่อย ๆ อย่าเร่งรัดตัวเองเกินไป

 
จิตนี้ ถ้าอารมณ์มาถูก มันก็กวัดแกว่งไปตามอารมณ์ ยิ่งมันไม่รู้เรื่องธรรมะแล้ว ก็ยิ่งปล่อยไป
ตามอารมณ์ของเจ้าของเรื่อยไป อารมณ์สุขก็ปล่อยตามไป อารมณ์ทุกข์ก็ปล่อยตามไป
วุ่นวายไปเรื่อย ๆ
จนชาวมนุษย์ทั้งหลายเกิดเป็นโรคประสาท เพราะไม่รู้เรื่อง ปล่อยไปตามอารมณ์ ไม่รู้จักรักษาจิตของเจ้าของ

 
การปฏิบัติจริงๆ ต้องปฏิบัติเมื่อมีอารมณ์ มีสติตามรู้เท่าทันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ไม่เลือกเวลา สถานที่
หรือโอกาส ทุกอิริยาบถเป็นการปฏิบัติอยู่ทั้งนั้น

 
ผู้ใดมีสติอยู่ทุกเวลา ผู้นั้นก็ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา