ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้ำเชียงดาว" ธรรมสถาน พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต  (อ่าน 1049 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด




เทืออกเขาภูหลวงเป็นเทือกเขาแห่งพระอริยเจ้าของทางภาคเหนือ ถือว่าเป็นขุนเขาศักดิ์สิทธิ์ หรือเรียกว่า “ดอยหลวงเชียงดาว” ซึ่งประกอบด้วยถ้ำเชียงดาว ถ้ำฤๅษี ถ้ำพระปัจเจก ถ้ำปากเปียง ถ้ำผาปล่อง ซึ่งล้วนเป็นสถานที่ที่ท่านพระอาจารย์มั่นได้เดินธุดงค์และพักบำเพ็ญเจริญสมณธรรมมาแล้วทั้งสิ้น ในสมัยก่อน ถ้ำเชียงดาวเป็นถ้ำที่เคยมีพระปัจเจกพุทธเจ้ามาพักและมีพระอรหันต์มานิพพาน ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวว่า “ป่าเทือกเขาเชียงดาวนั้น ถือเป็นรมณียสถานถ้ำเชียงดาว ถือเป็นมงคลสำหรับนักปฏิบัติธรรม” ที่ถ้ำเชียงดาวนี้มีพระอรหันต์มานิพพาน ๓ องค์ สององค์นอนนิพพาน อีกองค์หนึ่งเดินจงกรมนิพพาน ครั้นท่านพระอาจารย์มั่นมาพักบำเพ็ญสมณธรรมอยู่นั้น ท่านได้กล่าวว่า “..ครั้งแรกๆ เราก็พักอยู่ตีนเขาและบำเพ็ญความเพียร ต่อไปก็ขยับมาอยู่ที่ปากถ้ำ..” ตรงปากถ้ำนั้นมีก้อนหินใหญ่ ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านใช้ก้อนหินนั้นเป็นที่นั่งสมาธิ มีความรู้สึกว่าอยู่ในโลกอีกโลกหนึ่งมิใช่โลกนี้ ไม่ว่าจะเดินหรือนั่ง ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้ให้หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ผู้เป็นลูกศิษย์ ปีนขึ้นไปสำรวจถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า และบ่อน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์ตามที่เห็นในนิมิต จนหลวงปู่ตื้อ ได้เข้าไปเจออีกมิติที่ซ้อนทับอยู่ได้พบกับอารักษ์ใหญ่และชีปะขาวน้อยผู้ปกปักษ์รักษาถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า

อีกทั้งที่ดอยเชียงดาวแห่งนี้มีตำนานพระพุทธเจ้าเลียบโลก “..พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาบนยอดเขาที่ดอยหลวงเชียงดาว พระพุทธองค์ทรงสรงน้ำ ณ อ่างสรงดอยเชียงดาว ต่อมาภาษาได้เพี้ยนเป็น “อ่างสลุง” อ่างสลุงคือจุดพักแรมที่นักเดินป่ากลางเต้นท์พักกัน (สลุง คำภาษาพื้นเมืองแปลว่าขันใบใหญ่) จากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า “ดอยนี้สูงนัก สูงเพียงเดือนเพียงดาว ภายหน้าจักเกิดเมืองชื่อ “เมืองเพียงดาว” ต่อมาภาษาได้เพี้ยนเป็น “เชียงดาว” ในส่วนความเชื่อความศรัทธาของคนล้านนา และคนท้องถิ่นเชียงดาว ขุนเขาแห่งนี้เป็นที่ลี้ลับ และศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าเป็นที่สถิตของเทพเจ้าปฐมอารักษ์ของชาวล้านนา “เจ้าหลวงคำแดง” หัวหน้าเทวดายักษ์ ผู้มีบริวาร ๑๐,๐๐๐ ตน ผู้ดูแลของวิเศษในถ้ำหลวงเชียงดาว และดอยเชียงดาว




"สำรวจถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า"

ครั้งหนึ่งหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้พาคณะศิษย์ออกธุดงค์ไปทางเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ ไปถึงเขตอำเภอเชียงดาว ได้พำนักปฏิบัติอยู่ที่ถ้ำเชียงดาวระยะหนึ่ง

วันหนึ่ง หลวงปู่มั่นได้นิมิตเห็นถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า อยู่บนดอยเชียงดาวสูงขึ้นไป เป็นถ้ำที่สวยงาม กว้างขวาง สะอาด อากาศโปร่ง เหมาะที่จะเป็นที่พักบำเพ็ญเพียรภาวนามาก

ถ้ำนั้นอยู่บนดอยที่สูงมาก ยากที่ใครจะขึ้นไปถึงได้ ต้องใช้ความอดทนพยายามที่สูงมาก รวมทั้งมีพลังใจที่กล้าแข็งจริงๆ จึงจะขึ้นไปได้

หลวงปู่มั่นต้องการให้พระลูกศิษย์ขึ้นไปสำรวจถ้ำแห่งนั้น เมื่อพิจารณาดูแล้วเห็นว่า นอกจากหลวงปู่ตื้อแล้วยังไม่เห็นใครเหมาะสมที่จะขึ้นไปได้ จึงได้บอกให้หลวงปู่ตื้อเดินทางขึ้นไปสำรวจดูถ้ำแห่งนั้น

เช้าวันรุ่งขึ้น หลังจากฉันภัตตาหารแล้ว หลวงปู่ตื้อพร้อมกับพระอีก ๓ รูป ได้พากันออกเดินทางขึ้นสูยอดดอยเชียงดาว เพื่อสำรวจดูถ้ำตามภาระที่ได้รับมอบหมายจากพระอาจารย์ใหญ่

หนทางขึ้นสูยอดดอยสุดแสนจะลำบาก เพราะต้องปีนเขาสูง ไม่มีทางอื่นที่จะเดินลัดหรือเลาะเลี้ยวไปตามเชิงเขา ต้องปีนป่ายเหนี่ยวเกาะไปตามแง่หิน รั้งตัวขึ้นไป ซึ่งเสี่ยงอันตรายมาก

หลวงปู่ตื้อ เล่าให้สานุศิษย์ฟังว่า ยิ่งสายก็ยิ่งเหนื่อย บางแห่งทางแคบมากจริงๆ ต้องเดินเอี้ยวหลบเข้าไปได้ทีละคนเท่านั้น บางช่วงต้องปีนป่ายและห้อยโหนเพราะไม่มีทางเลี่ยงอื่น ต้องเสี่ยงชีวิตเอา

คณะของหลวงปู่ตื้อ ปีนป่ายถึงยอดเขาประมาณ ๕ โมงเย็น แต่ไม่มีวี่แววว่าจะพบถ้ำ และไม่ทราบว่าถ้ำอยู่ที่ไหน บริเวณรอบๆ ไม่ได้ส่อเค้าว่าจะเป็นถ้ำเลย

คณะต้องเดินอยู่บนเขาอีก ๔ ชั่วโมงกว่าๆ บนยอดเขามีลมพัดแรงมาก ตกกลางคืนยิ่งพัดแรงจนตัวแทบจะปลิวไปตามแรงลม จะหาถ้ำเล็กๆ พอจะหลบลมก็ไม่มี ในคืนนั้นไม่ได้หลับนอนกัน พระทุกองค์ต้องใช้เชือกตากผ้าที่เตรียมไป ผูกมัดตัวไว้กับต้นไม้ แล้วนั่งสมาธิภาวนากันทั้งคืน ยิ่งดึกลมยิ่งแรงดูผิดปกติธรรมชาติเป็นอย่างมาก

พอรุ่งเช้าได้อรุณแล้ว ปรากฏว่ามีญาติโยมจัดภัตตาหารมาถวาย คนพวกนั้นเป็นพวกชาวเขาแท้ อาศัยทำไร่อยู่บนยอดดอยอย่างถาวร เมื่อฉันเสร็จก็พากันเดินทางต่อไป แม้จะเดินบนหลังเขา หนทางก็ยากลำบากมาก เหมือนกับการปีนป่ายขึ้นมาในตอนแรก คณะหลวงปู่ตื้อเดินอยู่จนถึงเที่ยงวัน ก็ถึงบริเวณหนึ่งที่เข้าใจว่าน่าจะเป็นที่ๆ ถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้าตั้งอยู่

บริเวณข้างหน้าเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ต้องใช้ขอนไม้เกาะเป็นแพจึงจะข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งได้ พระที่ไปด้วยกันไม่มีใครกล้าข้ามไป หลวงปู่ตื้อจึงอาสาข้ามน้ำไปดูเพียงองค์เดียว

ก่อนจะข้ามน้ำไป หลวงปู่ได้นั่งสมาธิดูก่อน ปรากฏเป็นเสียงคนพูดเบาๆ พอเสียงนั้นเงียบหายไป ก็มีอีกเสียงหนึ่งพูดขึ้นว่า “งูใหญ่ๆ” พูดอยู่ ๒-๓ ครั้ง แล้วปรากฏเป็นผู้ชายรูปร่างบึกบึน สูงใหญ่ ผิวกายดำทมึนมายืนพูดกับหลวงปู่ว่า “ท่านจะเข้าไปในถ้ำไม่ได้หรอกนะ ที่นั่นมีงูตัวใหญ่มากเฝ้ารักษาอยู่”

หลวงปู่ตื้อได้พูดกับชายผู้นั้นว่า “ที่พวกอาตมาขึ้นมาที่นี่ ไม่ได้มาเบียดเบียนใคร ไม่ได้มุ่งจะมาเอาอะไร แต่ประสงค์จะขึ้นมาดูถ้ำตามที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ใช้ให้มาเท่านั้น”

พอหลวงปู่กล่าวจบลง ชายผู้นั้นก็หายไป ท่านพิจารณาดูต่อไปเมื่อเห็นว่าไม่มีอะไรอีกแล้วจึงออกจากสมาธิ แล้วท่านก็จัดแจงหาขอนไม้มาทำเป็นแพ เอาเทียนจุดไว้ที่หัวแพ แล้วเกาะแพลอยข้ามน้ำไปยังฝั่งตรงข้าม ท่านลองหยั่งดูเห็นว่าน้ำลึกมากไม่สามารถหยั่งรู้ถึงได้

เมื่อหลวงปู่เกาะแพไปถึงอีกฝั่งแล้ว จึงได้พบถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า ตามที่หลวงปู่มั่นได้พบเห็นในนิมิต เป็นถ้ำที่ใหญ่โต กว้างขวางและสวยงามมาก อากาศโปร่งสบาย พื้นถ้ำสะอาดสะอ้านเหมือนกับมีคนดูแลปัดกวาดเป็นอย่างดี

หลวงปู่ตื้อได้เข้าไปสำรวจภายในถ้ำ ในถ้ำนั้นมีแสงสว่างอยู่ในตัว แม้เดินลึกเข้าไปก็ไม่มืด ถ้ำนี้มีลักษณะพิเศษกว่าถ้ำอื่นจริงๆ

ลักษณะของถ้ำกว้างและยาวลึกเข้าไปข้างในเขา ด้านหลังถ้ำออกไปมีแอ่งน้ำธรรมชาติ น้ำใสสะอาดน่าดื่มกิน ด้านนอกถ้ำออกไปข้างหลังมีป่าไม้ประเภทไม้ผลที่อุดมสมบูรณ์ ใบเขียวชอุ่มเหมือนได้รับการดูแลอย่างดี

ด้านนอกถ้ำที่อยู่สูงที่สุดเป็นหน้าผาที่สูงชันมาก คงไม่มีใครขึ้นไปได้ หรือว่าถ้าขึ้นไปได้แล้วก็คงไม่คิดลงมาอีก

หลวงปู่ตื้อได้นั่งสมาธิภาวนาอยู่นาน พบว่ามีพวกกายทิพย์เข้ามาหาท่าน และพบวิญญาณชีปะขาวน้อยรูปหนึ่ง เป็นผู้เฝ้าดูแลรักษาถ้ำแห่งนี้ ชีปะขาวน้อยบอกหลวงปู่ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านไม่ได้อยู่ที่ถ้ำนั้นแล้ว แล้วชีปะขาวน้อยก็หายไปทางหลังถ้ำ

"หลวงปู่มั่นบอกเรื่องบ่อน้ำทิพย์"
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้พักบำเพ็ญภาวนาอยู่ภายในถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า จนครบ ๕ วัน จึงได้พาหมู่คณะเดินทางกลับลงมาทางเดิม

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ถามคณะที่ไปสำรวจถ้ำว่าเป็นอย่างไร? น่าอยู่จริงไหม?

หลวงปู่ตื้อได้กราบเรียนว่า “ในถ้ำสวยงามน่าอยู่จริงๆ แต่ไม่มีบ้านคนเลย พวกกระผมฉันใบไม้ตลอด ๕ วัน บ้านคนไม่มี ไม่รู้จะไปบิณฑบาตที่ไหน อีกประการหนึ่งที่เป็นปัญหาสำคัญ คือลมพัดแรงมาก พัดหูพัดตาอยู่ลำบาก ถ้าหากอยู่ในถ้ำก็สบายดีมากขอรับ”

หลวงปู่มั่น ได้พูดขึ้นว่า “ทำไม่พวกคุณถึงไม่เลยพากันขึ้นไปดูบ่อน้ำทิพย์ ที่อยู่ข้างหลังถ้ำนั้นด้วยละ บ่อน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์นั้น ถ้าหากใครได้อาบและดื่มเป็นการชุบตัวแล้ว จะมีอายุยืนถึงห้าพันปี สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ด้วย”

หลวงปู่ตื้อ กราบเรียนท่านพระอาจารย์ว่า “กระผมขึ้นไปเหมือนกันขอรับ แต่พอขึ้นไปบนหลังถ้ำนั้นปรากฏว่าเป็นหน้าผาที่สูงและชันมาก สูงราวๆ ๑๐-๑๕ วา ขึ้นไปมิได้ขอรับ เพราะหน้าผาชันจริงๆ ทางอื่นที่จะขึ้นไปก็ไม่มี กระผมเดินดูรอบๆ ตั้งสองสามรอบ ถ้าหากขึ้นไปได้ ก็คงลงมาไม่ได้”

ท่านพระอาจารย์ใหญ่ จึงตอบว่า “พวกเราคงไม่มีบุญวาสนาบารมีที่จะเหาะได้ละมั้ง จึงได้พากันเดินลงมาจนเท้าแตกหมด ถ้าหากว่าขึ้นไปได้ก็คงลงมาไม่ได้ แต่ขึ้นไปได้และลงมาได้อย่างนี้ก็สามารถมากแล้วละ”

ชมภาพบรรยากาศบนดอยหลวงเชียงดาวได้ที่อัลบั้มภาพ “ดอยหลวงเชียงดาวประตูสู่เทือกเขาหิมาลัย”

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.488504157866797.135532.100001216522700&type=3

จาก https://www.facebook.com/media/set/?set=a.438808529546342.1073741826.243447129082484&type=3
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...