ผู้เขียน หัวข้อ: อิสระแห่งจิตวิญญาณ คือ ความสุข (องค์ทะไลลามะ)  (อ่าน 1122 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


โดย...ราช รามัญ

ฉบับนี้ขออนุญาตเขียนถึงผลงานเล่มใหม่ของตัวเองสักนิด เป็นผลงานเล่มที่ 437 ตลอดชีวิตที่ผ่านมาเขียนแต่หนังสือธรรมะเพียงอย่างเดียว และโดยมากจะเป็นธรรมะไปในทางเถรวาทมากกว่ามหายาน ผลงานใหม่เล่มนี้เลยเขียนถึงพระพุทธศาสนามหายาน ในมุมของวัชรยาน

โดยเน้นไปที่ธรรมะที่องค์ทะไลลามะท่านเป็นผู้ถ่ายทอด ธรรมะของวัชรยานเป็นธรรมะที่สามารถนำเอามาใช้กับชีวิตได้จริง และสามารถทำให้เรามีความสุขเป็นอิสระอย่างชนิดที่กล่าวได้ว่า บนโลกนี้ ถ้าเกิดมาได้ศึกษาพระพุทธศาสนาวัชรยานแล้ว ถือได้ว่าไม่เสียชาติเกิดเลยทีเดียว

สิ่งหนึ่งที่ผมเขียนในหนังสือเล่มนี้ เพื่อเป็นการเน้นย้ำให้ผู้ที่สนใจพระพุทธศาสนาวัชรยานได้เข้าถึงและเข้าใจ คือ แนวทางในการปฏิบัติ เพื่อการเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งหลายที่ทำให้เราเป็นทุกข์ แต่ความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่ทุกข์เพียงอย่างเดียว ยังมีอะไรมากกว่านั้น

“ความกรุณาในหัวใจ เป็นเรื่องที่ควรฝึกอย่างมาก เพราะเป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งของการที่จะหอบพาให้เราพบความเป็นอิสระ กระทั่งก้าวสู่ถึงขั้นโพธิ”

เคยมีคนถามผมว่า การที่ผมไปอินเดียบ่อยครั้ง เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมหันมาชื่นชอบพระพุทธศาสนามหายานแบบวัชรยานใช่หรือไม่... ตอบได้เลยว่า...ไม่ใช่ เพราะก่อนหน้านี้ผมไปอยู่ที่ลาซามาแล้ว และได้มีโอกาสศึกษาวัชรยาน ที่นอบูริงก้า ซึ่งเป็นวัดเดิมที่องค์ทะไลลามะเคยประทับอยู่มาก่อนแล้ว

วัชรยานก็มีเรื่องของชาติที่แล้ว ชาติหน้า และมีพิธีกรรมบางอย่างที่แสดงออกถึงภาวะแห่งธรรมในเรื่องของความโลภ โกรธ และหลง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ความเคร่งในการพัฒนาจิตและปฏิบัติตรงลงที่จิต นี่ต่างหากเป็นเรื่องที่น่ายกย่อง และถ้าใครได้ศึกษาแล้วนำเอาไปปฏิบัติจริงย่อมจะทำให้เกิดธรรมะ เกิดปีติและอิสรภาพ ทั้งๆ ที่ยืน เดิน หรือแม้แต่นั่งแบบที่ลืมตากำลังทำภารกิจอยู่

พุทธของวัชรยานไม่ได้เน้นนั่งหลับหูหลับตา ภาวนาแล้วสร้างมโนนิมิตมาหลอกใจตัวเองอีกคราวหนึ่ง เพราะการปฏิบัติโพธิจิต เป็นการปฏิบัติที่เน้นปฏิบัติไม่ได้เน้นรูปแบบ รูปภาษา หรือ อะไรมากมาย ที่สำคัญปฏิบัติแล้วก็คือการปฏิบัติ ไม่ต้องการให้ใครมามอง มาเห็นว่าเป็นนักปฏิบัติด้วยซ้ำไป

“จิตเดิมแท้ งดงามอยู่แล้ว”

ใครหลายคนที่กำลังค้นหาจิตวิญญาณของตัวเองอยู่ กำลังค้นหาวิธีใหม่ๆ ในรูปแบบต่างๆ เพื่อการปฏิบัติธรรม เพื่อยกระดับจิตใจ การที่ได้มาศึกษาธรรมะแบบวัชรยาน อาจเป็นสิ่งใหม่ที่ทำให้คุณค้นพบอะไรในความเป็นตัวของคุณเอง หรือที่เรียกว่า จิตวิญญาณ เมื่อคุณได้ค้นพบในสิ่งนั้น ใจของคุณก็จะเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ที่สำคัญมีความสุขมากขึ้น มีความทุกข์น้อยลงทั้งๆ ที่ยังลืมตา ไม่ต้องไปทำอะไรอย่างอื่นที่ไม่ใช่ มาเน้นลงจิตใจ

ก่อนจะไปกล่าวถึงคำสอนอะไรที่สูงสุด สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวตรงหน้าเรานี้ เราน้อมมาปฏิบัติมากันหรือยัง หลายคนรู้ธรรมะเพื่อพูดคุยสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนภูมิรู้ แต่ภูมิธรรมนั้นยังเหมือนเดิม สิ่งที่น่าเสียดายมากที่สุด คือ เวลาที่ผ่านไป เหมือนสายน้ำไม่มีวันกลับ ความกรุณา เพียงธรรมะข้อนี้ถ้าเกิดขึ้นแล้วในใจของเราอย่างแท้จริง เราก็จะมีความสุข เราก็จะเป็นอิสระ และที่สำคัญเราจะเห็นแก่ชีวิตของผู้อื่นมีคุณค่าน่าทะนุถนอมไม่ต่างไปจากชีวิตของตัวเราเองเลย

อิสระ คือ ความสุข ความสุขที่แท้จริงจากการมีอิสระ แต่เป็นอิสระจากความทุกข์ทั้งปวง 

วันนี้ถ้ามีเวลาว่าง ลองเดินไปที่ร้านหนังสือซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ทุกสาขา ใกล้บ้านท่าน เมื่อได้พบกับธรรมะง่ายๆ แต่สามารถนำเอามาใช้ได้จริงกับชีวิต แบบไม่ต้องไปวัดเลยก็ยังมีความสุข มีความปีติในใจอย่างแท้จริง

จาก http://www.posttoday.com/dhamma/448493
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...