ผู้เขียน หัวข้อ: สมเด็จพระสังฆราช กับ วงศ์พระกรรมฐาน  (อ่าน 2479 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ครั้นเมื่อได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมจนถึงขั้นสูงสุด (ป.ธ.๙) แล้ว
ก็มิได้ทรงละเลยด้านการปฏิบัติธรรม เพื่อให้เกิดปฏิเวธธรรมเลย
ดังจะเห็นได้ว่าแม้จะทรงภารกิจทางการคณะสงฆ์มากมาย
แต่ก็ทรงหาเวลาว่างปลีกไปหาสถานที่สงบ เช่น ป่าเขาต่างๆ
เพื่อปฏิบัติภาวนาอยู่เสมอ และทรงหาโอกาสไปศึกษาด้านจิตตภาวนา
กับพระเถระฝ่ายอรัญญวาสี (พระป่า) เป็นประจำ อาทิเช่น
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร และวัดถ้ำขาม จ.สกลนคร
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย เป็นต้น

โดยจะเสด็จไปประทับอยู่เป็นเวลาหลายๆ วันเพื่อสนทนาธรรม
ศึกษาธรรม และปฏิบัติจิตตภาวนาส่วนพระองค์
นอกจากจะเสด็จไปศึกษากับพระเถระผู้มีอายุพรรษามากกว่าแล้ว
หากเป็นพระผู้มีอายุพรรษาใกล้เคียงกัน หรือแม้แต่น้อยกว่า
แต่เป็นผู้มีความชำนาญด้านการปฏิบัติจิตตภาวนาแล้ว
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็เสด็จไปศึกษาด้วยเช่นกัน อาทิเช่น
พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
พระอาจารย์วัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) จ.บึงกาฬ เป็นต้น
เฉพาะท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน นั้น
สมัยก่อนเมื่อท่านมีศาสนกิจที่จะต้องเข้ามาในกรุงเทพมหานคร
ท่านก็จะมาพักที่วัดบวรนิเวศวิหารอยู่เสมอ
เป็นเหตุให้ท่านมีความคุ้นเคยกันกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากมีอายุเท่ากัน และมีพรรษาใกล้เคียงกัน




หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้เคยกล่าวถึง
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ไว้ว่า “ท่านไม่ได้ใช้วาจาเลยนะ ไม่พูดเลย
มีแต่เราพูดเล็กน้อย พอให้ท่านทราบเท่านั้น แล้วก็ไม่อยู่นาน
เวลาสำคัญๆ ท่านคุยธรรมะเรื่องภายในสำคัญๆ อยู่มาก
เฉพาะสองต่อสอง เรื่องสำคัญท่านจะถามคุยกันธรรมดา
ว่าท่านพูดน้อยท่านก็ไม่ได้พูดน้อย
เวลาคุยกันเฉพาะสองต่อสองคุยกันธรรมดาเลยนะ
เวลาออกสังคมท่านพูดน้อยมาก
เวลาคุยกันสองต่องสองนี้คุยกันธรรมดาเลย
มีอะไรท่านก็รับสั่งถามมา เราก็ตอบไปๆ
ท่านถามข้ออรรถข้อธรรมข้อใด พูดกันธรรมดา
แต่เวลาสิ่งสำคัญๆ ท่านมักจะถามเฉพาะสองต่อสอง
อยู่วัดบวรฯ ก็ดี อยู่วัดป่าบ้านตาดก็ดี
ก็เราสนิทกับท่านมานานเท่าไหร่แล้ว อยู่วัดบวรฯ มาด้วยกัน

ท่านเคยไปเป็นพระภาวนาอยู่ที่วัดป่าบ้านตาดหลายครั้ง ครั้งละเป็นอาทิตย์”


http://www.luangta.com





ขวา : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ


ซ้าย : หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
บันทึกภาพร่วมกันเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓
ณ วัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
ในสมัยที่องค์ท่านทั้งสองยังพักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านตาด







เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ

ทรงมาออกตรวจการคณะสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝ่ายธรรมยุต
และเข้าเยี่ยม “หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน”
เพื่่อมาสนทนาขอคำชี้แนะในการปฏิบัติธรรม โดยท่านได้ขอพักและจำวัด
ณ วัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อความสะดวก
พร้อมกันนี้ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยม “พระอาจารย์ปัญญาวัฑโฒ”
(พระปีเตอร์ จอห์น มอร์แกน - Peter J. Morgan)
พระภิกษุชาวอังกฤษ ผู้เป็นสัทธิวิหาริกที่องค์ท่านได้อุปสมบทให้


• สัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก •

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=40263







สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
ทรงออกรับบิณฑบาตในหมู่บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
ร่วมกับ “หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน”




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
ทรงกล่าวเปิดการอบรมพระธรรมทูตรุ่นแรก
เพื่อส่งไปปฏิบัติศาสนกิจเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
โดยมี “หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน” นั่งร่วมเป็นกรรมการอยู่ทางขวา




จากซ้าย : สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ

ณ สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ พระตำหนักล่าง
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ปีพุทธศักราช ๒๕๐๙




ปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ รัฐบาลไทยอนุมัติให้เปิดการอบรมพระธรรมทูตรุ่นแรก
เพื่อส่งไปปฏิบัติศาสนกิจเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
และ “หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน” ร่วมเป็นกรรมการฝึกอบรมฯ




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ ประทับนั่งตรงกลาง


องค์นั่งซ้ายมือสุด : หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
องค์นั่งที่ศอกข้างซ้ายของสมเด็จพระสังฆราช : พระราชวราจารย์ (วิญญ์ วิชาโน)

บันทึกภาพร่วมกันเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๐๘
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร




แถวหน้า จากซ้าย : พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน),
พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป),
พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต),
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ

แถวที่ ๒ จากซ้าย : พระเทพวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงส์ ฐานวโร),

พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล),
พระเทพสารเวที (บุญยนต์ ปุญฺญาคโม) - องค์สวมแว่นตาดำ,
พระราชวราจารย์ (วิญญ์ วิชาโน)

บันทึกภาพ ณ พระธาตุหลวง เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว
เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๐๕






พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
เข้าเฝ้าถวายสักการะและเยี่ยมพระอาการประชวร
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น ๖ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์




พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
เข้าเฝ้าถวายสักการะและเยี่ยมพระอาการประชวร
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อวันอังคารที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘ เวลา ๑๐.๑๙ น.
ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น ๖ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์




พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
เข้าเฝ้าถวายสักการะและเยี่ยมพระอาการประชวร
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น ๖ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


โอกาสใดก็ตามที่พระสงฆ์ครูบาอาจารย์ฝ่ายกรรมฐาน
เดินทางเข้ามาในพระนคร และมาพำนัก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะโปรดให้จัดถวายความสะดวก
แก่ท่านเหล่านั้นด้วยความปีติ พร้อมทั้งถือโอกาสอาราธนาท่านเหล่านั้น
ให้แสดงธรรมในแนวของการปฏิบัติกรรมฐานแก่อุบาสกอุบาสิกา
ด้วยเมื่อโอกาสอำนวย นอกจากนั้นก็จะโปรดให้ศิษย์จัดบริขารต่างๆ
ถวายท่านเหล่านั้นด้วยความกระตือรือร้น โดยรับสั่งว่า

“โอกาสดี ! ได้ทำบุญกับพระปฏิบัติ”

พระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานที่ได้มาพำนักที่วัดบวรนิเวศวิหาร
บ่อยกว่าท่านอื่นๆ คือ พระธรรมวิสุทธิมงคล
หรือ “หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน”
ทุกครั้งที่ท่านเข้ามา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โปรดให้จัด
พระตำหนักคอยท่าปราโมช ถวายเป็นที่พัก
ด้วยเป็นโอกาสให้ได้ทรงเสวนาธรรมด้านการปฏิบัติกรรมฐาน
กับหลวงตามหาบัวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน
ในขณะเดียวกัน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เองก็ได้เสด็จไปประทับ
เจริญภาวนาที่วัดป่าบ้านตาดหลายครั้งด้วย
มีอยู่คราวหนึ่งได้ทรงปรารภถึงหลวงตามหาบัว
กับผู้ที่เป็นศิษย์ใกล้ชิดพระองค์ว่า

“ท่านอาจารย์มหาบัวนี่ท่านมีอะไรอยู่นะ
เวลาสนทนาธรรมกันอยู่ พอนึกว่าวันนี้ท่าจะดึกแล้ว
ท่านจะลุกขึ้นกราบลาไปพักทันที สังเกตมาหลายครั้งแล้ว”


จาก : หนังสือบวรธรรมบพิตร ฉบับพระประวัติ



สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร
มีหนังสือลงนามโดยพระเทพสารเวที (บุญยนต์ ปุญฺญาคโม)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช
กราบนิมนต์พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
พร้อมคณะสงฆ์จำนวน ๔ รูป
เพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลเป็นการส่วนพระองค์
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในวันเสาร์ที่ ๑๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ เวลา ๑๗.๐๐ น.
ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น ๖ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน จึงจัดคณะสงฆ์
ออกเดินทางจากสวนแสงธรรม เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
จำนวน ๔ รูป ตามหนังสือนิมนต์ ได้แก่
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, หลวงปู่ลี กุสลธโร,
พระอาจารย์สมภพ อภิวณฺโณ และพระอาจารย์กนก กนโก
นอกจากหนังสือนิมนต์หลวงตามหาบัว และคณะแล้ว
ยังมีหนังสือนิมนต์อีก ๑ ฉบับ นิมนต์พระอาจารย์อุทัย สิริธโร
วัดถ้ำพระภูวัว ต.โสกก่าม อ.เซกา จ.บึงกาฬ เข้าร่วมในพิธีด้วย
ฉะนั้น จึงมีพระภิกษุสงฆ์ที่รับนิมนต์เข้าร่วมในพิธีจำนวนทั้งหมด ๕ รูป

ในโอกาสนี้หลวงตามหาบัวได้มอบหมายให้พระอาจารย์อุทัย
มาช่วยรับภาระรักษาที่ดินที่ญาติโยมได้ถวายให้ใหม่
ที่ ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

ต่อมาจึงได้ตั้งเป็นวัดขึ้น โดยได้รับการตั้งชื่อจากหลวงตามหาบัว
ในครั้งแรกว่า “วัดเขาเจริญธรรม”
แต่ชื่อไปซ้ำกับวัดเขาเจริญธรรม ที่ ต.หนองแจง อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์
ของพระอาจารย์บุญทัน ฐิตสีโล ศิษย์ในองค์หลวงตามหาบัว
ดังนั้น จึงได้เพิ่มข้อความในชื่อ และเอาฉายาของหลวงตามหาบัวมาต่อท้าย
กลายเป็นชื่อ “วัดเขาใหญ่เจริญธรรมญาณสัมปันโน” ในเวลาต่อมา



" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: สมเด็จพระสังฆราช กับ วงศ์พระกรรมฐาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2016, 03:33:29 pm »














เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ประทานวโรกาสให้พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
เข้าเฝ้าถวายสักการะและถวายพระพร
เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๘ ปี แห่งการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น ๖ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ในการนี้ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงประทานทองคำน้ำหนัก ๓๐ บาท
แด่พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
เพื่อร่วมสมทบโครงการผ้าป่าช่วยชาติโดยหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน


ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร
ที่ประทับสุดท้ายในบั้นปลายพระชนม์ชีพเจ้าประคุณสมเด็จฯ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ในนามของวัดบวรนิเวศวิหาร ร่วมกับสภากาชาดไทย
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ ได้มีดำริจัดสร้างตึกสงฆ์อาพาธ
ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ขึ้นใหม่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงตึก “วชิรญาณ”
อันเป็นตึกสงฆ์อาพาธหลังแรกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ซึ่งก่อสร้างอุทิศถวายเป็นอนุสรณ์แด่
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๖
และตึก “สามัคคีพยาบาร” ซึ่งก่อสร้างอุทิศถวายเป็นอนุสรณ์แด่
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในคราวที่ทรงหายจากพระอาการประชวร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๒
โดยได้ขนานนามตึกสงฆ์อาพาธหลังนี้ว่า “วชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร”
มี ๖ ชั้น ซึ่งชั้น ๖ นี้เรียกขานกันในเวลาต่อมาว่า “ชั้นพระมหากรุณาธิคุณ”
ใช้เป็นที่ประทับรักษาพระองค์ในบั้นปลายพระชนม์ชีพ
ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๔ เป็นต้นมา
จนกระทั่งเวลา ๑๙.๓๐ น. ของวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้สิ้นพระชนม์ลง ณ ตึกสงฆ์อาพาธแห่งนี้
รวมระยะเวลาแห่งการประทับฯ ๑๑ ปี ๑๑ เดือน ๕ วัน




องค์หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน นี้
มีความสนิทสนมกับทางวัดบวรนิเวศวิหารเป็นอย่างดี
หลายครั้งที่องค์หลวงตาลงมากรุงเทพฯ นั้น
มักลงมาพักที่วัดบวรนิเวศวิหาร ดังความที่ปรากฏใน
หนังสือ “ญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์” ความตอนหนึ่งว่า

..เราไปพักวัดบวรฯ แรกๆ ก็ไปพักกุฏิท่าน (ตำหนักคอยท่าปราโมช)
ท่านนิมนต์ให้พักกุฏิท่านให้อยู่ชั้นบนเลย
ท่านนิมนต์เราขึ้นชั้นบน เราไม่ขึ้น เราบอกท่านจะพักอยู่ข้างล่าง
จากนั้นเลยขอท่านพักกับเจ้าคุณยนต์
(พระเทพสารเทวี บุญยนต์ ปุญฺญาคโม) นี่แหละ
แต่ก่อนท่านให้พักกับท่านทั้งนั้นแหละ พักกุฏิท่าน
กุฏิหลังนี้ ท่านให้เลือกเอาตามชอบใจสองหลังนี้
ครั้นต่อมาเราก็เลยไปพักอยู่กับกุฏิเจ้าคุณยนต์
เวลาสำคัญๆ ท่านจะพูดกับเราโดยเฉพาะ
ปรึกษาปรารภอะไรลึกลับซับซ้อนแปลกๆ ต่างๆ ท่านจะปรึกษาโดยเฉพาะๆ

เดี๋ยวนี้ไม่รู้จักกับใครเลยวัดบวรฯ พระที่เฒ่าที่แก่ก็ล่วงไปหมดแล้วแหละ
ดูมองไม่เห็นใครนะ ผู้ใหญ่ๆ ที่เป็นเพื่อนฝูงกันแต่ก่อนปรากฏว่าล่วงลับไปหมดแล้ว
คงยังเหลือแต่พระหนุ่มน้อยที่ได้สมณศักดิ์สูงขึ้นไปเป็นเป็นขั้นเป็นภูมิไป
ส่วนพระที่เคยเป็นเพื่อนเป็นฝูงกันแต่ก่อนดูเหมือนหมดแล้วนะ วัดบวรฯ หมด
พอดีเราก็เลยมาอยู่ที่นี่ (สวนแสงธรรม) สุดท้ายเรียกว่าหมดจริงๆ ก็ไม่ผิด
ยังเหลือแต่สมเด็จฯ กับเจ้าคุณยนต์ นอกนั้นไม่มองเห็นองค์ไหนนะ..








นับแต่ทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
เจ้าประคุณสมเด็จฯ มักเสด็จไปปฏิบัติธรรมพระกรรมฐาน
ณ สำนักวัดป่าภาคอีสาน ในช่วงปลายปีอยู่เสมอ


ในภาพ : ทรงฉันจังหันร่วมกับพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ได้แก่ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน, พระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ,
พระอาจารย์วัน อุตฺตโม และพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ เป็นต้น
ณ วัดถ้ำกลองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ได้เสด็จมาทรงปฏิบัติพระกรรมฐานกับ “หลวงปู่ขาว อนาลโย”
ณ วัดถ้ำกลองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๑

ในภาพ...พระคุณเจ้าที่นั่งถัดจากสมเด็จพระญาณสังวรฯ องค์ที่ ๒
คือ พระเทพวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงส์ ฐานวโร)


คำสดุดีที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงกล่าวถึง
“หลวงปู่ขาว อนาลโย” เนื่องในพิธีพระราชทานเพลิงศพ
เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๗

“เมื่อระลึกถึงหลวงปู่ขาว อนาลโย
ก็อดไม่ได้ที่จะระลึกถึงพระสังฆคุณว่า
สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ อุชุปฏิปันโน สามีจิปฏิปันโน
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว
ปฏิบัติถูกต้องแล้ว ปฏิบัติชอบเหมาะแล้ว จึงเกิดความเลื่อมใสเคารพ
ในสุปฏิบัติ อุชุปฏิบัติ ญายปฏิบัติ สามีจิปฏิบัติของท่าน

ตั้งแต่ได้ไปกราบนมัสการท่านเป็นครั้งแรก
ได้เห็นได้เข้าไปนั่งใกล้ ได้ฟังธรรมจากถ้อยคำของท่าน
พร้อมกับด้วยรู้สึกสัมผัสจิตใจของท่านอันเปี่ยมด้วยเมตตากรุณา
จากสายตา สีหน้า กาย วาจา ที่ต้อนรับด้วยธรรมปฏิสันถารอันบริสุทธิ์
เป็นที่ประทับใจให้ระลึกถึงและไปกราบนมัสการ
ได้เห็นได้สดับรับธรรมรสจากท่านอีกโดยลำดับมา
แม้ขันธ์ของท่านจะแตกดับไปตามธรรมดาของสังขาร
คุณของท่านอันพึงกล่าวได้ว่า อนาลโยคุโณ
ย่อมดำรงอยู่เป็นที่ระลึกถึงและเคารพกราบไหว้ตลอดไป”


จาก : หนังสือบวรธรรมบพิตร ฉบับประมวลพระรูป









สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
เข้ากราบนมัสการ “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร” และได้ฉันจังหันร่วมกัน
ณ วัดถ้ำขาม บ้านคำข่า ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

ในภาพ...ต่างองค์ต่างแสดงความอ่อนน้อมซึ่งกันและกัน


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
“เรื่องปฏิบัติเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงทำให้ดู
ช่วงว่างจากพระกรณียกิจจะเสด็จไปสำนักของครูบาอาจารย์”

วัตรปฏิบัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในช่วงที่สังขารยังอำนวย
เมื่อทรงทราบว่ามีพระสงฆ์ทรงภูมิธรรมอยู่แห่งหนตำบลใด
จะทรงหาโอกาสเสด็จไปสนทนาธรรมด้วย
แม้เมื่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนา
เป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว วัตรปฏิบัตินี้ก็ยังดำเนินอยู่เช่นเดิม

ในราวเดือนธันวาคมถึงมกราคมของทุกปี
พระองค์จะเสด็จไปประทับที่สำนักวัดป่าอย่างน้อยปีละครั้ง
โดยส่วนใหญ่เป็นครูบาอาจารย์ทางสายอีสาน เช่น
เสด็จไปศึกษาและปฏิบัติภาวนากับ “หลวงปู่ขาว อนาลโย”
ที่วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู

เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ในช่วงก่อนเข้าพรรษาปี พ.ศ.๒๕๑๙ ทรงมีพระชนมายุ ๖๒ เศษแล้ว
ได้เสด็จไปประทับที่วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร
เพื่อศึกษาธรรมและปฏิบัติภาวนากับ “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร”
วัดแห่งนี้อยู่บนยอดเขา เวลาบิณฑบาตต้องเดินลงเขา
มาที่ศาลารับบิณฑบาตซึ่งอยู่ข้างล่าง ทางเดินเป็นหินที่ค่อนข้างชันและลำบาก
พระเณรจึงกราบทูลพระองค์ว่า ไม่ต้องเสด็จลงไปรับบิณฑบาตข้างล่าง
พระเณรจะรับบิณฑบาตมาถวายเอง แต่พระองค์ไม่ยินยอม
ด้วยทรงเคร่งครัดด้านพระวินัยและข้อวัตร จึงเสด็จลงเขาไปรับบิณฑบาต
จากชาวบ้านร่วมกับพระเณรอื่นด้วยพระองค์เองทุกวัน
ทั้งยังทรงให้ความเมตตาและเป็นกันเองกับพระเณรในวัดเป็นอย่างยิ่ง
ทรงเสวยในบาตร เสวยมื้อเดียว ร่วมกับพระเณรในศาลา
ตลอดจนทรงร่วมทำวัตร นั่งภาวนา เหมือนพระเณรในวัดทุกรูป

เช่นเดียวกับที่วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย ที่เสด็จไปประทับบ่อยครั้ง
เพื่อศึกษาธรรมและปฏิบัติภาวนากับ “หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี”
หนึ่งในศิษย์ผู้น่าเลื่อมใสของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พระองค์ก็เสด็จไปรับบิณฑบาตจากชาวบ้านในหมู่บ้าน
เช่นเดียวกับพระเณรในวัดนั้นเหมือนกัน

และที่วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี พระองค์ก็เคยเสด็จไปประทับบ่อยครั้ง
เพื่อศึกษาธรรมและปฏิบัติภาวนากับ “หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน”

นอกจากนี้พระองค์ยังเคยเสด็จไปวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
และสนทนาธรรมกับ “หลวงพ่อพุธ ฐานิโย”

ทางเหนือ พระองค์เสด็จไปกราบนมัสการ “หลวงปู่แหวน สุจิณโณ”
ที่วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่

ทางใต้ พระองค์เสด็จไปสนทนาธรรมกับ “ท่านพุทธทาสภิกขุ”
ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

เหล่านี้เป็นเหตุให้พระเถระฝ่ายอรัญญวาสี (พระป่า) เหล่านั้น
มักเอ่ยชื่นชมและยกย่องถึงพระองค์อยู่เสมอ เช่น
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
มักจะบอกกับคนกรุงเทพฯ ที่ไปกราบนมัสการท่านที่วัดว่า
“ไม่จำเป็นต้องมากราบท่านถึงที่วัดก็ได้ เพราะหนทางไกลและลำบาก
ถ้าอยากกราบพระดี ให้ไปกราบสมเด็จฯ วัดบวรฯ ก็ได้”

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้เคยกล่าวชื่นชมและยกย่องถึงพระองค์
ไว้ว่า “สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศนั้น
ท่านได้บรรลุถึงคุณธรรมอันเที่ยงแท้ต่อมรรคผลนิพพานแล้วน๊ะ”


• เล่าเรื่อง หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
พระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=33156

• “ในหลวง” กับ “ศุภนิมิตของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร”
พระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=25&t=40221




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน ป.ธ.๙)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระราชาคณะและกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร
ในคราวจัดพิมพ์ “หนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร”
ฉลองพระชนมายุครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๘


แถวหน้า จากซ้าย : - พระเทพสารเวที (บุญยนต์ ปุญฺญาคโม น.ธ.โท)
- พระพรหมมุนี (วิชมัย ปุญฺญาราโม ป.ธ.๖)
- สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
- พระราชบัณฑิต (แจ่ม ธมฺมสาโร ป.ธ.๔)
- พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺติสาโร ป.ธ.๕)


แถวหลัง จากซ้าย : - สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.๙)
- พระราชกวี (ลาภ ธนสาโร ป.ธ.๙)
- พระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล นนฺทโก ป.ธ.๙)
- พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก ป.ธ.๕)
- พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล ป.ธ.๕)
- พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ ป.ธ.๖)






พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์
ทรงกราบนมัสการและสนทนาธรรมกับ
“หลวงปู่ฝั้น อาจาโร”
เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๕
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร


ในการนี้ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน,
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ,
พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร)
และพระพรหมมุนี (วิชมัย ปุญญาราโม) ร่วมรับเสด็จฯ






จากซ้าย : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน,
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ,
พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร)
และพระพรหมมุนี (วิชมัย ปุญญาราโม)






สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงประทับทอดพระเนตรการเผาจริงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ณ วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร






สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงฉันจังหันร่วมกันกับ “พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)”
แห่งวัดถ้ำผาปล่อง ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ณ วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร






สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงฉันจังหันร่วมกันกับ “หลวงปู่สาม อกิญฺจโน” แห่งวัดป่าไตรวิเวก
ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ณ วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงฉันจังหันร่วมกันกับ “หลวงปู่สาม อกิญฺจโน” แห่งวัดป่าไตรวิเวก
และ “พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)” แห่งวัดถ้ำผาปล่อง
ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ณ วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: สมเด็จพระสังฆราช กับ วงศ์พระกรรมฐาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2016, 04:15:24 pm »








พระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มาร่วมในงานพระราชทานเพลิงศพ
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ ได้แก่
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร)
วัดราชผาติการาม
สำหรับสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร นั้น
พระองค์ท่านได้เสด็จจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดสกลนคร
ตั้งแต่วันศุกร์ที่่่ ๒๐ มกราคม โดยไปพักแรมอยู่ที่่วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี
หรือวัดบ้านต้าย ต.บ้านต้าย อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
รุ่งขึ้นวันงานจึงได้เสด็จไปยังวัดป่าอุดมสมพรเพื่อทรงร่วมในพิธีสงฆ์


สำหรับพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่รูปอื่นๆ ที่มาร่วมงานครั้งนี้ ได้แก่
สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) วัดราชบพิธฯ
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพุทธพจนวราภรณ์
สมเด็จพระมหามุนีวงค์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต) วัดนรนารถฯ
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) วัดสัมพันธวงศ์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมบัณฑิต
พระธรรมวราภรณ์ (เพิ่ม อาภาโค) วัดราชาธิวาส
พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต) วัดศรีเมือง จ.หนองคาย
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพบัณฑิต
พระธรรมวราลังการ (หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพวราลังการ
พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพเมธาจารย์
พระราชธรรมานุวัตร (อ่อน จกฺกธมฺโม) วัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์
พระศรีธรรมวงศาจารย์ วัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา เป็นต้น


ส่วนพระคณาจารย์รูปสำคัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่มาร่วมงานครั้งนี้ ได้แก่
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี)
วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์
หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน จ.อุดรธานี
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระรัตนากรวิสุทธิ
หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต วัดป่าอัมพวัน จ.เลย
หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
หลวงปู่สาม อภิญฺจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์
หลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต วัดพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี
พระอาจารย์วัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร จ.บึงกาฬ
พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร
หลวงปู่แบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล วัดรังสีปาลิวัน จ.กาฬสินธุ์
หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี
หลวงตาพวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร
หลวงปู่ถวิล จิณณธมฺโม วัดธรรมหรรษาราม (วัดยางระหง) จ.จันทบุรี
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร
หลวงปู่บุญรักษ์ ฐิตปุญโญ วัดสำราญนิเวศ จ.อำนาจเจริญ เป็นต้น






สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
เดินทางมาเยี่ยมอาการอาพาธของ “หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต”
ณ วัดอุดมคงคาคีรีเขต ต.บ้านโคก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น






สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) เข้ากราบนมัสการ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในคราวเสด็จกลับมาสดับพระปาติโมกข์
ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๑









แถวหน้า พระภิกษุรูปที่ ๔ จากซ้าย : สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน ป.ธ.๙)


พระภิกษุรูปที่ ๘ จากซ้าย : พระอริยเวที (หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล ป.ธ.๙)

ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ พระอริยเวที (หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล)
ท่านสอบไล่ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค
ณ สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร พร้อมกันกับ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


แม้ท่านทั้งสองต่างเพียรศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมจนแตกฉาน
แต่ก็ให้ความสนใจและใฝ่ใจในภาคปฏิบัติ การเจริญจิตตภาวนา
จนได้ภูมิธรรมเป็นตัวอย่างอันน่ากราบไหว้และให้การยกย่องเทิดทูนไว้เหนือเกล้า

พระภิกษุรูปที่ ๕ จากซ้าย : พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร ป.ธ.๕)




สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

(องค์ที่ประทับนั่งบนเก้าอี้)

พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ลำดับที่ ๕
(แถวยืนที่ ๑ จากข้างหน้า - องค์ใส่แว่นตาดำ)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ
ในพระราชทินนามที่ พระโศภณคณาภรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร

(แถวยืนที่ ๒ จากข้างหน้า - องค์ที่ ๑ จากซ้าย)

สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) วัดราชบพิธ
(แถวยืนที่ ๒ จากข้างหน้า - องค์ที่ ๓ จากซ้าย)

สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) วัดเทพศิรินทราวาส
(แถวยืนที่ ๒ จากข้างหน้า - องค์ที่ ๔ จากซ้าย)

พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร) วัดบวรนิเวศวิหาร
(แถวยืนที่ ๒ จากข้างหน้า - องค์ขวาสุด)

ในการประสาทปริญญาบัตรศาสนศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๑
บันทึกภาพร่วมกัน ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร




เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง
ในพระราชทินนามที่ พระสาสนโสภณ ทรงถวายเครื่องไทยธรรม
แด่สมเด็จพระยอดแก้ว พุทธชิโนรสสกลมหาสังฆปาโมกข์
(บุญทัน ธมฺมญาโณ บุปผรัตน์) สมเด็จพระสังฆราชแห่งราชอาณาจักรลาว
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
ในคราวทรงเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะอาคันตุกะ
ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลไทย
ในระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐




เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ
ในพระราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร ทรงถวายเครื่องไทยธรรม
แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ในภาพ...พระคุณเจ้าองค์ที่นั่งข้างหลังสมเด็จพระญาณสังวรฯ
คือ สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร





ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : คุณวีระศักดิ์ โพธิสัตย์






ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : คุณ Pakorn Kengpol



เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม แห่งวัดป่าโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย
ได้เดินทางมาเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป
ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร โดยมาพักอยู่ที่ศาลา ๑๕๐ ปี
เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงทราบ จึงได้เสด็จมาทรงกราบนมัสการ
ด้วยความอ่อนน้อม และสนทนาธรรมด้วย
ครั้นถึงเวลาอันควร ทรงกราบนมัสการลาหลวงปู่ชอบ
พระอุปัฏฐากหลวงปู่ชอบได้ถือย่ามของพระองค์เดินตามหลังมา
เพื่อไปส่งเสด็จที่พระตำหนักที่ประทับ
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ทรงตรัสด้วยเสียงอ่อนโยนว่า
ให้โยมของพระองค์ถือไปส่งเถิด
แล้วขอให้พระรูปนั้นกลับไปดูแลหลวงปู่ชอบดีกว่า
เหตุการณ์ในคราวนั้นทำให้พระอุปัฏฐากหลวงปู่ชอบ
รู้สึกประทับใจในความไม่ถือพระองค์เป็นอย่างยิ่ง


หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ได้เคยกล่าวชื่นชมและยกย่อง
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ไว้ว่า “สังฆราชองค์นี้ ดีที่สุด”

“สังฆราชท่านเป็นพระสังฆราชผู้ทรงธรรม
ท่านเป็นพระสังฆราชคู่บารมีธรรมของพระเจ้าแผ่นดิน”






สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
เข้ากราบนมัสการและสรงน้ำ “พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)”
เนื่องในวาระอายุครบ ๙๐ ปี เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑
ณ วัดบูรพาราม (พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์

















สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้เสด็จมาทรงกราบนมัสการ
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
เมื่อวันพุธที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๓
ณ วัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
“เรื่องปฏิบัติเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงทำให้ดู
ช่วงว่างจากพระกรณียกิจจะเสด็จไปสำนักของครูบาอาจารย์”

วัตรปฏิบัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในช่วงที่สังขารยังอำนวย
เมื่อทรงทราบว่ามีพระสงฆ์ทรงภูมิธรรมอยู่แห่งหนตำบลใด
จะทรงหาโอกาสเสด็จไปสนทนาธรรมด้วย
แม้เมื่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนา
เป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว วัตรปฏิบัตินี้ก็ยังดำเนินอยู่เช่นเดิม

ในราวเดือนธันวาคมถึงมกราคมของทุกปี
พระองค์จะเสด็จไปประทับที่สำนักวัดป่าอย่างน้อยปีละครั้ง
โดยส่วนใหญ่เป็นครูบาอาจารย์ทางสายอีสาน เช่น
เสด็จไปศึกษาและปฏิบัติภาวนากับ “หลวงปู่ขาว อนาลโย”
ที่วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู

เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ในช่วงก่อนเข้าพรรษาปี พ.ศ.๒๕๑๙ ทรงมีพระชนมายุ ๖๒ เศษแล้ว
ได้เสด็จไปประทับที่วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร
เพื่อศึกษาธรรมและปฏิบัติภาวนากับ “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร”
วัดแห่งนี้อยู่บนยอดเขา เวลาบิณฑบาตต้องเดินลงเขา
มาที่ศาลารับบิณฑบาตซึ่งอยู่ข้างล่าง ทางเดินเป็นหินที่ค่อนข้างชันและลำบาก
พระเณรจึงกราบทูลพระองค์ว่า ไม่ต้องเสด็จลงไปรับบิณฑบาตข้างล่าง
พระเณรจะรับบิณฑบาตมาถวายเอง แต่พระองค์ไม่ยินยอม
ด้วยทรงเคร่งครัดด้านพระวินัยและข้อวัตร จึงเสด็จลงเขาไปรับบิณฑบาต
จากชาวบ้านร่วมกับพระเณรอื่นด้วยพระองค์เองทุกวัน
ทั้งยังทรงให้ความเมตตาและเป็นกันเองกับพระเณรในวัดเป็นอย่างยิ่ง
ทรงเสวยในบาตร เสวยมื้อเดียว ร่วมกับพระเณรในศาลา
ตลอดจนทรงร่วมทำวัตร นั่งภาวนา เหมือนพระเณรในวัดทุกรูป

เช่นเดียวกับที่วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย ที่เสด็จไปประทับบ่อยครั้ง
เพื่อศึกษาธรรมและปฏิบัติภาวนากับ “หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี”
หนึ่งในศิษย์ผู้น่าเลื่อมใสของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พระองค์ก็เสด็จไปรับบิณฑบาตจากชาวบ้านในหมู่บ้าน
เช่นเดียวกับพระเณรในวัดนั้นเหมือนกัน

และที่วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี พระองค์ก็เคยเสด็จไปประทับบ่อยครั้ง
เพื่อศึกษาธรรมและปฏิบัติภาวนากับ “หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน”

นอกจากนี้พระองค์ยังเคยเสด็จไปวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
และสนทนาธรรมกับ “หลวงพ่อพุธ ฐานิโย”

ทางเหนือ พระองค์เสด็จไปกราบนมัสการ “หลวงปู่แหวน สุจิณโณ”
ที่วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่

ทางใต้ พระองค์เสด็จไปสนทนาธรรมกับ “ท่านพุทธทาสภิกขุ”
ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

เหล่านี้เป็นเหตุให้พระเถระฝ่ายอรัญญวาสี (พระป่า) เหล่านั้น
มักเอ่ยชื่นชมและยกย่องถึงพระองค์อยู่เสมอ เช่น
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
มักจะบอกกับคนกรุงเทพฯ ที่ไปกราบนมัสการท่านที่วัดว่า
“ไม่จำเป็นต้องมากราบท่านถึงที่วัดก็ได้ เพราะหนทางไกลและลำบาก
ถ้าอยากกราบพระดี ให้ไปกราบสมเด็จฯ วัดบวรฯ ก็ได้”

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้เคยกล่าวชื่นชมและยกย่องถึงพระองค์
ไว้ว่า “สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศนั้น
ท่านได้บรรลุถึงคุณธรรมอันเที่ยงแท้ต่อมรรคผลนิพพานแล้วน๊ะ”




พระมงคลวิสุทธิ์ (หลวงปู่สุภา กันตสีโล) เข้าเฝ้าถวายสักการะ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ณ ห้องรับแขก พระตำหนักคอยท่าปราโมช ชั้นล่าง
คณะเหลืองรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร


หมายเหตุ : สมัยก่อนเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงรับแขก
ที่ห้องรับแขก พระตำหนักคอยท่าปราโมช ชั้นล่างบ้าง
ที่ห้องกระจก ใต้กุฏิไม้หลังใหญ่ ด้านหน้าพระตำหนักคอยท่าปราโมชบ้าง
เมื่อประมาณหลังปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ เป็นต้นมา
แต่ละวันจะมีประชาชนเดินทางมาเข้าเฝ้ากราบนมัสการเป็นจำนวนมาก
เนื่องด้วยทั้งพระตำหนักฯ ชั้นล่าง และในห้องกระจกดังกล่าวคับแคบ
จึงเปลี่ยนมาทรงรับแขกที่บริเวณลานด้านหน้าพระตำหนักฯ ซึ่งเป็นพื้นที่โล่ง
เชื่อมต่อระหว่างพระตำหนักฯ กับกุฏิไม้หลังใหญ่ที่ชั้นล่างเป็น “ห้องกระจก”




พระมงคลวิสุทธิ์ (หลวงปู่สุภา กันตสีโล) เข้าเฝ้าถวายโอสถอายุวัฒนะ
แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


ภาพจาก...หนังสือฉลองอายุ ๑๐๐ ปี หลวงปู่สุภา กันตสีโล
สำนักสงฆ์เทพขจรจิตรอุทิศสามัคคีธรรม เขารัง พิมพ์เมื่อปี ๒๕๓๘





สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
กับ “พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม)”
ณ ลานพระเจดีย์พระธาตุจอมกิตติ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ณ สถานที่ประทับปฏิบัติพระกรรมฐาน บนเขาชีโอน
วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี






สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงเดินทางมาร่วมในงานฉลองอายุวัฒนมงคลครบ ๖ รอบ
ของ “พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)”
เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๔
ณ วัดถ้ำผาปล่อง ต.บ้านถ้ำ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่






พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม ถวายการต้อนรับ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ที่เมตตาเสด็จเป็นองค์ประธานวางศิลามงคลอาคารสถานีอนามัยสองพี่น้อง
(โรงพยาบาลสองพี่น้อง) ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
เมื่อวันพุธที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓
โดยพระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม ได้รวบรวมเงินปัจจัย
เพื่อสมทบกับงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขในการก่อสร้าง
และได้บริจาคที่ดินจำนวน ๗ ไร่
ซึ่งเป็นของโยมบิดาท่านเพิ่มให้กับสถานีอนามัยสองพี่น้อง






สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงเมตตาเสด็จเป็นองค์ประธานในงานพระราชทานเพลิงศพ
“พระครูวิสุทธิสังวร (หลวงพ่อใช่ สุชีโว)”
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๙ ณ เมรุชั่วคราว
วัดปาลิไลยวัน (วัดเขาฉลาก) ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงเข้ากราบนมัสการสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธัมโม) วัดโสมนัสวิหาร




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมตตาเสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีฉลองอุโบสถ
วัดถ้ำผาผึ้ง บ้านถ้ำผาผึ้ง ต.หนองบัว อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่
โดยมี “พระอาจารย์บุญจันทร์ จันทวโร”
(องค์ขวาสุด)
พระราชพุทธิมงคล หรือหลวงปู่ทองบัว ตันติกโร (องค์กลาง)
พระธรรมดิลก (ขันติ์ ขันติโก) วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร (องค์ซ้ายสุด)
พระอาจารย์วิชัย ญาตธัมโม (พระอาจารย์อานนท์) วัดสันติสังฆาราม
อดีตพระอุปัฏฐากหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
(องค์อยู่ใกล้เสา)
ตลอดจนคณะพระภิกษุสงฆ์ มาร่วมกันถวายการต้อนรับ




ครั้งสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) ยังมีชีวิตอยู่
เมื่อสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงเสด็จปฏิบัติศาสนกิจ ขากลับพระตำหนักที่ประทับ
จะต้องแวะไปทรงสนทนาธรรมและกราบสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี
ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ก่อนเสมอเกือบทุกครั้ง ผู้ใดได้พบเห็นก็ล้วนประทับใจเป็นยิ่งนัก




เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๒
“หลวงปู่หลุย จันทสาโร” ได้กราบอาราธนา
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ให้ทรงมาประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเศียรพระประธาน
ณ มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
โดยมี “พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ” ร่วมถวายการต้อนรับด้วย






สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
เดินทางมาร่วมในงานถวายเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
ณ วัดป่านิโครธาราม ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
ในภาพ...องค์นั่งถัดไป คือ “พระพรหมมุนี (บู่ สุจิณฺโณ)”
วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงมาร่วมในงานพระราชทานเพลิงศพ “พระพรหมมุนี (บู่ สุจิณฺโณ)”
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๓
ณ พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์
สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร


จาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=43517&start=15
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...