ผู้เขียน หัวข้อ: ชีวิตที่หวั่นไหวอยู่เสมอไม่อาจสร้างอะไรได้  (อ่าน 1686 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด



ถ่ายภาพโดย...時々होशདང一རພຊຍ๛

เราชนะแล้ว !

แม้จะไม่มีข้อบังคับกำหนดไว้ แต่ผมตั้งปณิธานไว้เองว่าช่วงที่เข้าอบรมธรรมะ ตามโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติธรรม เพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานของกระทรวงการคลัง ที่ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดวะภูแก้ว อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ขอปิดโทรศัพท์มือถือ งดการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกชั่วคราว อยากลองดูว่าจะทำได้ไหม

ก่อนจะปิดโทรศัพท์มือถือก็เตรียมการสิ่งที่ต้องทำไว้ครบแล้ว เช่น มอบหมายงานที่คาดว่าจะมีมาในช่วงเวลาที่ไม่อยู่ไว้กับเพื่อนร่วมงาน ตั้งระบบการจ่ายบัตรเครดิตอัตโนมัติไว้ เป็นต้น ใช้เวลา 4-5 วันที่ไปอยู่ในวัดวะภูแก้วตักตวงผลประโยชน์ที่จะเกิดจากที่นั้นให้เต็มที่

ช่วงอยู่ที่วัดตื่นตั้งแต่ตี 4 นอน 4 ทุ่ม กิจกรรมที่ทำระหว่างเวลาตี 4 ถึง 4 ทุ่ม คือสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม ฟังบรรยาย อ่านหนังสือธรรมะ ลดการพูดจาเฮฮาลง พูดเฉพาะที่จำเป็นต้องสื่อสาร กินอาหาร 3 มื้อตามปกติเพียงแต่กินแค่พออิ่มจะได้ไม่ง่วง (แต่ก็ง่วงอยู่ดี!)

การอยู่ท่ามกลางธรรมชาติป่าเขา ในบริเวณวัดที่มีแมกไม้เขียวร่มรื่นรมณีย์ ลมพัดเย็นสบาย เพลินฟังเสียงนกร้อง เสียงจักจั่นในหน้าร้อน ชมกระรอกสีขาวนวลที่วิ่งเล่นบนต้นไม้ เปิดรับความรู้ ฝึกฝนอบรมธรรมะ เจริญกรรมฐาน เพิ่มพลังจิต พลังปัญญา ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ต้นจนจบการอบรม เมื่อจิตไม่ส่งออกนอกวัด จิตใจที่อยู่กับกุศลล้วนก็รู้สึกโปร่ง โล่ง เบา สบาย ไร้กังวล

หลักสูตรที่อาจารย์ ดร.ดาราวรรณ เด่นอุดม เป็นผู้อำนวยการก็มีส่วนผสมของทฤษฎีและปฏิบัติที่ลงตัว กลมกล่อม ให้ประโยชน์สูงสุดตามความเหมาะสมของระยะเวลา

โดยส่วนตัวเอง ภายหลังได้บรรพชาอุปสมบทเมื่อพรรษาปี 2550 แล้วก็เป็นศิษย์วัดญาณเวศกวันวัดใกล้บ้าน ได้เข้าวัดสวดมนต์ ช่วยกิจการเล็กๆ น้อยๆ ของวัดในช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เพิ่งจะมีโอกาสได้ไปศึกษาอบรมธรรมะในระยะเวลาที่ติดต่อกันหลายวันที่วัดวะภูแก้ว ทำให้รู้สึกได้ว่าได้เพิ่มพลังชีวิตให้สมบูรณ์ขึ้นหลังจากห่างหายไปเสียนาน

พอวันสุดท้ายของการอบรม ผมก็บอกตัวเองได้ว่า ผมได้รับประสบการณ์เพิ่มพลังชีวิต ณ วัดวะภูแก้วเต็มที่ เต็มพลังตามความเหมาะควรแก่วันเวลาที่ได้ฝึกฝนอบรมเพื่อพัฒนาชีวิตตนเอง สุดท้ายก็ทำได้! เราชนะแล้ว! ชนะใจตนเองได้ที่งดการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกชั่วคราว และเพิ่งทำได้ในรอบนานนับ 10 ปี !

ก่อนปิดการอบรม อาจารย์ ดร.ดาราวรรณก็ให้คติว่า การฝึกอบรมธรรมะที่วัดวะภูแก้วจบลง แต่การศึกษาและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันต้องดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง

ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์
ทุกวันนี้เวลาเข้าวัดหรือนึกถึงวัด โดยทั่วไปภาพที่ปรากฏชินตาคือ สถานที่ที่เต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้าง มีรั้วยาว มีซุ้มประตูใหญ่โต พอเดินผ่านซุ้มประตูก็เจอตู้รับบริจาคเพื่อวัตถุประสงค์นานาประการ มีเต็นท์หรือซุ้มดอกไม้ธูปเทียนให้บริจาคตามกำลังศรัทธา มีพระพุทธรูปปางประจำวันเกิดให้หยอดเหรียญ มีถังเหลืองขาย  ฯลฯ

หลายวัดไปไกลถึงขนาดสร้างเทวรูปนอกพระพุทธศาสนาให้ชาวพุทธเคารพบูชาอีกต่างหาก! บางวัดถึงกับทำป้ายโฆษณาว่าเทพเจ้าในวัดนั้นองค์ใหญ่ที่สุด เชิญชวนให้คนไปเคารพสักการะกัน (วัดใดที่ทำเช่นว่านั้นขอให้รับรู้วัดนั้นมีส่วนทำให้พุทธศาสนิกชนไทยไขว้เขวออกนอกพระพุทธศาสนา พานทำให้คนจำนวนมากเข้าใจว่ารูปเคารพเหล่านั้นเป็นเทพในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเห็นอยู่ในวัดจนชินตาและไปกราบไหว้อ้อนวอนกัน)

คนที่เห็นภาพข้างต้นไม่น้อยจึงไม่เข้าวัดเพื่อไปเจอกับภาพไม่เจริญหูเจริญตา จะว่าไปแล้ว ภาพวัดต่างๆ ที่กล่าวมาในปัจจุบันส่วนมากไม่โน้มน้อมใจไปในทางที่ดีงาม ในเชิงเร้ากุศล ขาดความรื่นรมย์ (รมณีย์) และความน่าเลื่อมใส (ปสาทนีย์)

ทุกวันนี้เวลานึกถึงวัด ภาพที่ปรากฏชินตาคือ สถานที่ที่เต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างใหญ่โต และตู้รับบริจาคเพื่อวัตถุประสงค์นานาประการ

วัดที่ดีควรเป็นทัศนีย์ และรื่นร่มรมณีย์ เป็นที่ยินดี ทำให้จิตใจสบาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของอารามในยุคพุทธกาล และเป็นความสุขขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ดังที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) นิพนธ์ไว้ในหนังสือ “บทนำสู่พุทธธรรม ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์” ว่า “จึงควรให้มนุษย์มีความสุขอยู่ที่ธรรมชาติในสภาพรมณีย์ โดยมีดิน ที่ปรากฏตัวของป่า ภูเขา ต้นไม้ เขียวขจี มีดอกหลากสี นานาพันธุ์ มีน้ำ ในแม่น้ำ และบรรดาชลาลัย ที่ใส สะอาด งดงาม ชื่นกายชื่นใจ และมีแสงแดด สายลม อากาศ ใต้ท้องฟ้าที่อำไพ”



Covid Omicron !
สงครามเชื้อโรค
กลายเป็นโรคประจำถิ่น
ถ้าใครพลาดตายสถานเดียว !


http://youtu.be/b9cBJviCXxU





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 16, 2022, 10:32:54 am โดย 時々होशདང一རພຊຍ๛ »
ชิเน กทริยํ ทาเนน