ผู้เขียน หัวข้อ: อนาคตวงศ์พระนิยตโพธิสัตว์ ๓๐ พระองค์ ( หลวงปู่จาม )  (อ่าน 1446 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


อนาคตวงศ์พระนิยตโพธิสัตว์ ๓๐ พระองค์ : หลวงปู่จาม

เรานี้ถือว่าเป็นหน้าที่ของเราเอง มันต้องผ่านสิ่งเหล่านี้ต่อๆไป เกิดมาแล้วมันต้องมีภัย ไม่ภัยอย่างหนึ่ง ก็ภัยอีกอย่างหนึ่ง ความติฉิน ความนินทาเป็นภัย ความยกย่องสรรเสริญเป็นภัย สิ่งเหล่านี้แปลว่าตื่นพยาธิโรคา เป็นภพ ภพไปสู่สวรรค์ ไปสู่พรหมโลก

เรานี้แปลว่าหน้าที่ของทุกคนนั้นเอง มันต้องผ่านพบปะสิ่งเหล่านี้ตลอดไป ให้เราทุกคนฟังแล้วให้คิดอ่านพิจารณาตัวของตนต่อไป จะได้เป็นปัจจัยเป็นเครื่องเตือนตัวของเราต่อไปภายเมื่อหน้า หน้าที่นรกไป หน้าที่สวรรค์ไป หน้าที่เป็นผีไป หน้าที่เป็นเปรตไป เอากันอยู่อย่างนี้ตลอดเป็นนิตย์ กลับไปกลับมา ให้นึกถึงคุณงามความดีของตนต่อ

เมื่อพบปะอันตรายใดๆ บุคคลที่มีเวรต่อกันแล้ว กูทำร้ายมึง มึงทำร้ายกู ชีวิตนี้ชีวิตหน้าไม่ให้พ้นภัยไปได้ง่ายๆ ให้เรามีความอดทนในการทำความดี เก็บเล็กผสมน้อย เราจึงจะได้ขยับเข้าใกล้กับบัณฑิตในภายภาคหน้า จึงให้กันพอใจสะสมสมบัติความดีของตน บุญของพวกเราในอดีตได้ทำมาดีแล้ว แต่ก็ให้เพิ่มความดีของตน จึงจะได้ชัยชนะภายในวันข้างหน้า จึงจะได้สำเร็จมรรคผลเป็นพระอริยะบุคคล พระอริยะบุคคลที่ท่านได้สำเร็จสิ่งความชั่วได้เด็ดขาด

ในใจของท่านจึงได้สำเร็จเป็นพระอริยะบุคคล พ้นจากบุญ พ้นจากบาป มีธรรมะเป็นที่อยู่ในใจของตน ถึงเวลาวาระแล้วที่จะทำความดีของตน ถึงเวลาแล้วก็ตั้งใจให้แน่แน่ว สูยังสิได้เกิดอยู่นี้จักเท่าภพเท่าไหร่กัลป์ เท่าไหร่กัป เท่าไหร่ชาติ จึงจะได้ไปสู่พระนิพพาน

มันยังจะได้เกิดในโลกนี้นับบ่ได้ล่ะ ตายเกิด ตายเกิด อยู่จนตลอดไป ชีวิตที่อายุยาว ก็อสงไขยปีตาย ชีวิตที่อายุสั้นๆ ก็ ๑๐ ปีตาย มันจะผ่านต่อไปเมื่อหน้า
พระศรีอารียะฯ ต่อแต่นี้จะไปตรัสรู้เป็น พระศรีอาริยะเมตไตรโยพุทธเจ้า ๒ กัป

๑ คนอายุ ๑๐๐ ปีลง เมื่อครบรอบ ๑ ปี อายุลดลง ๑ ปี ๑๐๐ปี เมื่อรอบหลุด ๑ ปี จนถึงอายุไขยมนุษย์ถึง ๑๐ ปีตาย ปี ทุกๆ ๑๐๐ ปี อายุมนุษย์จะลดลง ๑ ปี (อายุเฉลี่ยปัจจุบัน ๗๕ ปี อายุน้อยลง คนก็จะตัวเล็กลง อายุมากขึ้น คนก็ตัวใหญ่ขึ้น) เรียกว่า กัปไขยขึ้น

แล้ว ๑๐๐ ปี อายุของมนุษย์เพิ่มขึ้น ๑ ปี ทุกๆ ๑๐๐ ปี อายุมนุษย์จะเพิ่ม ๑ ปี จนถึง อสงไขยปี คำว่าอสงไขยปี แปลว่านับไม่ได้ ร้อยล้าน พันล้าน หมื่นล้าน แสนล้าน หลายแสนล้าน จนนับล้านไม่ได้ อันนั้นเรียก อสงไขยปี เรียกว่า กัปไขยลง

เมื่อถึงอสงไขยปี แล้ว ๑๐๐ ปี รอบหลุด ๑ ปี จนถึงอายุมนุษย์ยุคนั้นถึง ๘ หมื่นปี พระศรีอาริยะฯ จึงจะได้ลงมาตรัสรู้ในโลก เมื่อพระองค์อายุ ๑๓,๕๐๐ ปี เจ้า ออกบวชบำเพ็ญ ๗ วัน จักได้ตรัสเป็นพุทธเจ้า เทศน์สอนธรรมอยู่ ๘๐,๐๐๐ ปี อายุ ๑๐๓,๕๐๐ ปี เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน

พระศรีอาริยะฯ ยังจะต้องเกิดอีก ๓ หมื่นชาติ ยังจะไปตกนรกอีก ๓๐๐ ชาติ

พวกสูอย่าเข้าใจว่าตัวของตนดี ขนาดเพิ่นบารมีแก่ขนาดนั้น ยังจะต้องไปนรกอีก ๓๐๐ ชาติ ยังจะเกิดอีก ๓ หมื่นชาติ

หมดจากนั้นไปแล้ว พระพุทธเจ้าเทศน์สอนธรรมะอยู่อีก ๘ หมื่นปี สาวกองค์พระอรหันต์ เทศน์สอนธรรมอีก ๘๐,๐๐๐ ปี อุบาสก อุบาสิกา สำเร็จธรรม เป็นพระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี เทศน์สอนธรรม อีก ๘๐,๐๐๐ ปี อุบาสก อุบาสิกา รักษาศีล ๕ ศีล ๘ เทศน์สอนธรรม อีก ๘๐,๐๐๐ ปี

หมดจากนั้นไปแล้ว เป็นสูญกัปจนถึง ๑ แสนกัป คนอายุสั้น ๑๐ ปีตาย ๕ หมื่นครั้ง คนอายุยาวถึงอสงไขยปีตาย ๕ หมื่นครั้ง จึงจะได้ตั้งภัทรกัปของพระรามพุทธเจ้า ภัทรกัปนั้นมี ๘ กัป คนอายุสั้น ๑๐ ปีตาย ๔ ครั้ง คนอายุยาวถึงอสงไขยปีตาย ๔ ครั้ง ครั้นกัปสุดท้าย พระรามฯ จึงจะได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระรามพุทธเจ้า

ในต้นปีจนตลอดไปนั้น จะมีพระฤาษีโยคีเกิดขึ้น จะมีพระยาจักรพรรดิ์ตราธิราชเกิดขึ้น จะมีพระปัจเจกพุทธเจ้าเกิดขึ้น คนทั้งหลายจะได้ทำบุญกับพระปัจเจกก์ ทำบุญกับพระฤาษีโยคี และจะได้ฟังธรรมจากพระยาจักรพรรดิ์ตาธิราช จนกัปสุดท้ายพระรามฯ จึงจะได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระรามพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวในภัทรกัปนั้น

หมดจากนั้นไปอีก ๑ แสนกัป นาราธิราช ตั้งภัทรกัปขึ้นอีก ๘ กัป จึงจะได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวในภัทรกัปนั้น

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป พระเจ้าปเสนทิโกศล (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ผู้เพิ่นตั้งพระคณะธรรมยุติขึ้นในเมืองไทยเราเป็นพระองค์แรก) กับ พระอินทราธิราช จึงจะได้ลงมาตรัสรู้ ในภัทรกัปนั้นมีพระพุทธเจ้า ๒ องค์

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป พระสุภะ จึงจะได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวในภัทรกัปนั้น

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป พระโสณะ มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวในภัทรกัปนั้น

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป พระเตยยะ มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวในภัทรกัปนั้น

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป กับอีก ๑ หมื่นกัป กับอีก ๕ พันกัป พระนาฬาคิลิงค์ ครูบาขาวปี (พญาช้างนาฬาคิลิงค์) จึงจะได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวในภัทรกัปนั้น

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑๐ จึงจะได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระปาลิไลยโย ครูบาศรีวิชัย (พญาช้างปาลิไลย์) มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวในภัทรกัปนั้น

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑๑ จึงจะได้ลงมาตรัสรู้ องค์ที่ ๑๑ ตอนนี้ยังบำเพ็ญบารมีอยู่ เกิดเป็นโคสภราชวัดศรีจอมทอง เชียงใหม่ ลากจูงขนไม้ขนของอยู่วัดศรีจอมทอง องค์ที่ ๑๒ ตอนนี้ยังไปตกนรกอยู่ ในภัทรกัปนั้นมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพียง ๒ พระองค์

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป มหาตมา คานธี กับ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หรือ สมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนาถบพิตร หรือ สมเด็จพระราเมศวร ที่เพิ่นได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ไทยในอดีต จักได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า องค์ที่ ๑๓ กับองค์ที่ ๑๔ ในภัทรกัปนั้นมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพียง ๒ พระองค์

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป พระราชเถรโพธินัน จึงจะได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า องค์ที่ ๑๕ มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวในภัทรกัปนั้น

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป กับอีก ๒ หมื่นกัป พระปิยะมหาราช ที่เพิ่นได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ในเมืองไทย พระปิยะมหาราช รัชกาลที่ ๕ จักได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า องค์ที่ ๑๖ มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวในภัทรกัปนั้น

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ผู้ปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง เมืองเวียงจันทร์ ได้สถาปนาพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ ได้สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าองค์ตื้อ ตอนนี้อยู่วัดศรีชมภูองค์ตื้อ ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

เป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนจากสองฝั่งโขงให้ความเคารพและเลื่อมใสศรัทธามาก หลวงพ่อพระไชยเชษฐาธิราช วัดพระไชยเชษฐาธิราช บ้านกวนวันใหญ่ ตำบลกวนวัน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สร้างโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อครั้งโบราณ กษัตริย์ลาวทุกพระองค์จะเสด็จมากราบนมัสการทุกปี

อันแสดงถึงความสำคัญของพระพุทธรูปองค์นี้ ได้สร้างพระธาตุศรีสองรัก ตอนนี้อยู่เมืองเลย และเคยเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรล้านนา เมืองเชียงใหม่ในอดีต จักได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า องค์ที่ ๑๗ กับพระอาจารย์ดี ฉนฺโน (หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว ต.พิบูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต จักได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า องค์ที่ ๑๘ ในภัทรกัปนั้นมีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีกนานที่สุด องค์ที่ ๑๙ กับ องค์ที่ ๒๐ จึงจะได้ลงตรัสรู้ มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ในภัทรกัปนั้น

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป องค์ที่ ๒๑ จึงจะได้ลงตรัสรู้ มีพระพุทธเจ้า ๑ ในภัทรกัปนั้น

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีกนานที่สุด องค์ที่ ๒๒ กับ องค์ที่ ๒๓ เป็นประเภทปัญญาธิกะที่ ๒ กับปัญญาธิกะที่ ๓ จักได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในภัทรกัปนั้นมีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป องค์ที่ ๒๔ จึงจะได้ลงตรัสรู้ มีพระพุทธเจ้า ๑ ในภัทรกัปนั้น

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป องค์ที่ ๒๕ กับ องค์ที่ ๒๖ จึงจะได้ลงตรัสรู้ มีพระพุทธเจ้า ๒ ในภัทรกัปนั้น

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป องค์ที่ ๒๗ กับ องค์ที่ ๒๘ จึงจะได้ลงตรัสรู้ มีพระพุทธเจ้า ๒ ในภัทรกัปนั้น

หมดจากนั้นไปอีกสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป องค์ที่ ๒๙ กับ เจ้าเมืองนครพนม เจ้าคุณจันทร์ เขมิโย วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม องค์ที่ ๓๐ แบบพระวิริยะที่ ๑ อายุแสนปี เพิ่นเป็นอาจารย์ของอุปัชฌาย์ผู้ข้าฯ เจ้าคุณธรรมเจดีย์ ท่านเจ้าคุณจูม พันธุโล วัดโพธิสมภรณ์ เมืองอุดร ในภัทรกัปนั้น มีพระพุทธเจ้า ๒ พะองค์ จักลงมาตรัสรู้
อันนี้หมายถึงการจะลงมาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าไปในภายภาคหน้า ห่างไกลที่สุด ๑ แสนกัป ตั้งแต่พระปทุมุตตะโรพุทธเจ้า พระสุชาตะโรพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์
นับตั้งแต่พระทีปังกรพุทธเจ้ามาตรัสแล้ว

นับจากนั้นไปสูญกัปอีก ๕ หมื่นกัป พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า มาตรัส

ต่อจากนั้นไปสูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป พระมังคะละพุทธเจ้า มาตรัส

สูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป พระมุนีสุมังคะละพุทธเจ้า, พระสุมะนะพุทธเจ้า, พระเรวะตะพุทธเจ้า, และพระโสภิตะพุทธเจ้า มาตรัส

สูญกัปไปอีก ๑ แสนกัป พระอโนมะทัสสีพุทธเจ้า, พระปะทุมะพุทธเจ้า, และพระนาระทะพุทธเจ้า มาตรัส

สูญกัปไปอีก ๓ หมื่นกัป พระปทุมุตตะโรพุทธเจ้า พระสุชาตะโรพุทธเจ้า มาตรัส

ตั้งแต่นั้น พระพุทธเจ้า พระปทุมุตตะโรพุทธเจ้า จนมาถึงพระโคตมะพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันที่พวกเรากราบไหว้อยู่บัดเดี่ยวนี้ ๑ แสนกัป

อันนี้นับว่าดีที่สุด ๑ แสนกัป มีพระพุทธเจ้าถึง ๑๖ พระองค์ ต่อไปเมื่อหน้านานที่สุด จึงจะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ในโลก

อันนี้หมายถึงบุคคลที่จะต้องเกิดตายอยู่ในสมัยสูญกัป อายุสั้น อายุยาว เท่าไหร่กัป เท่าไหร่กัลป์ จนตลอดกันไป อยู่อย่างนี้

หน้าที่นรกไป หน้าที่เป็นเปรตไป หน้าที่เป็นเดรัจฉานไป หน้าที่เป็นผีไป หน้าที่สวรรค์ไป หน้าที่ผู้เป็นฤาษีไปสู่พรหมโลกเอาอยู่อย่างนี้ตลอดเป็นนิตย์ แต่นี้ต่อไปก่อนจะถึงพระศรีอาริยะฯ จักได้มาลงมาตรัสรู้ จะมีปัจเจกพุทธะลงมาตรัส ๒๐๑,๐๐๐ องค์ แต่จะไม่ได้ลงมาพร้อมกันทีเดียว สุดแล้วแต่ยุคเพิ่นจะลงมา ๑๐๐, ๒๐๐, ๕๐๐, ๑ พัน, ๒ พัน, ๕ พัน, หมื่น สองหมื่น ตลอดกันไปเป็นนิตย์

ฤาษีไม่ต้องพูดถึงมีมากมาย มีทั้งชาย ทั้งหญิง ไปบำเพ็ญอยู่ตามภูเขาเหล่ากา พวกเหล่านี้ทำองค์ฌาณให้ถึงก็ไปสู่พรหมโลก นี้ละได้เราคิดนึกแก้ไขตัวของเจ้าของ อย่าให้ไปตกนรก อย่าเข้าใจว่านรกไม่มี เปรตไม่มี ผีไม่มี...


ธรรมะประวัติองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ตอนที่ ๑๙๒
(วัดป่าบ้านห้วยทราย) บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๙




" ประวัติปฏิปทาหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ผู้มากมีบุญ "

พ.ศ.๒๔๘๖ อายุ ๓๔ ปี ธุดงค์กับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ,หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ได้พาอาจารย์สิม พุทธาจาโร และพระจาม มหาปุญโญ ออกธุดงค์ไปที่ อ.ฝาง อ.แม่อาย-บ้านม่วงสุม-บ้านมุ่งหวาย-บ่อน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ถึงประมาณเดือน ๖ ของปีนั้น

ใกล้เข้าพรรษา พระจาม มหาปุญโญ จึงขอแยกทางมุ่งไปยังวัดโรงธรรมสามัคคี เพื่อจำพรรษา

ส่วนหลวงปู่ชอบ ฐานสโม เดินทางต่อไปเพื่อจำพรรษาใน พม่าและจะถูกทหารจีนจับ ชาวบ้านต้องพาหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ไปซ่อนไว้ในยุ้งข้าว สาเหตุที่ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ท่านไม่ชอบที่จะไปพม่า เพราะรู้สึกในส่วนลึกของจิตใจว่า เคยรบพุ่งกับพม่ามาแต่อดีตชาติ จึงไม่อยากไปเมืองพม่า ในปีนั้นจึงได้ จำพรรษา ที่วัดโรงธรรมสามัคคีอีก ๑ พรรษา (พรรษาที่ ๕) พร้อมกับหลวงปู่สิม พุทธาจาโร

พ.ศ.๒๔๘๗ อายุ ๓๔ ปี ใช้ “ ธรรมโอสถ ” รักษาโรค ได้ออกธุดงค์ไปกับหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ตามป่าเขา ตามดอยต่าง ๆ เขตจังหวัดเชียงใหม่ แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดอุโมงค์ (พรรษาที่ ๖) อยู่กับหลวงปู่สิม พุทธาจาโร

วัดอุโมงค์เชิงดอยสุเทพ อ. เมือง จ.เชียงใหม่ ในสมัยนั้นเป็นป่าทึบมีเจดีย์ทรงลังกา ๑ องค์ และอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันวัดอุโมงค์ อยู่ติดกับด้านหลังของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีนั้น (ปี พ.ศ.๒๔๘๗) หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ได้ป่วยเป็นโรคกระเพาะ มีอาการปวดท้อง ได้รักษาด้วยยาแผนปัจจุบันก็ไม่หาย เปลี่ยนมารักษาแผนโบราณก็ไม่หาย ในที่สุดท่านก็ได้ใช้วิธีภาวนาบำเพ็ญสมาธิและงดอาหารหยาบทั้งหมด ฉันเฉพาะนมถั่วเหลืองวันละ ๑ แก้วและน้ำเท่านั้น ใช้ “ธรรมโอสถ” รักษาโรคกระเพาะ อีกไม่นานนัก อาการป่วยก็ทุเลาเบาบางลง ในที่สุดก็หายจากโรคกระเพาะ มีอาการปกติ สามารถฉันอาหารได้เป็นปกติ

พ.ศ.๒๔๘๘ อายุ ๓๕ ปี (พรรษาที่ ๗) หลวงปู่สิม พุทธาจาโร และหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ได้เคยไปอยู่ที่บ้านพักบนดอยของแม่เลี้ยงดอกจันทร์ กิรติปาล ซึ่งเป็นภรรยาของนายคิวลิปเปอร์ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ บ้านพักส่วนตัวนี้ตั้งอยู่บนดอย อยู่ทางทิศใต้ ของเมืองเชียงใหม่ และพักภาวนาอยู่ที่นั่นนานพอสมควร
พ.ศ.๒๔๘๙ อายุ ๓๖ ปี (พรรษาที่ ๘) พบ หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ , พระอาจารย์น้อย สุภโร หลวงปู่จาม มหาปุญโญ กับหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ไปจำพรรษาที่ป่าช้าซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่ ก่อนเข้าพรรษา ได้พบกับหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่บ้านแม่หนองหาน อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

หลวงปู่ขาว อนาลโย ได้เตือนหลวงปู่จามให้ระวังเรื่องผู้หญิงว่า “ ให้ระวังเรื่องผู้หญิงให้มาก ถ้ารอดได้ก็สามารถรักษาพรหมจรรย์ตลอดรอดฝั่ง ถ้าไม่ได้ก็ต้องแพ้มาตุคาม (หญิง) แน่นอน ”

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ สำนึกในคำสอนของหลวงปู่ขาว อนาลโย ไว้เสมอ ซึ่งแต่ละแห่งที่ไปจำพรรษาอยู่หรือไปพักอยู่นาน ๆ ก็จะพบผู้หญิงมาชอบเสมอมา เว้นแต่ที่ช่อแล แม่แตง เชียงใหม่ ไม่มีผู้หญิงมาชอบ จึงบำเพ็ญอยู่ที่นั้นนานมากกว่าที่อื่น นอกจากที่นี่แล้ว เกือบทุกแห่งที่ไปพักแม้ไปปักกลดภาวนาอยู่ระยะสั้นก็พบผู้หญิงมาชอบ จนกระทั้งอายุ ๖๐ ปี จึงไม่มีผู้หญิงมายุ่งเกี่ยวในเชิงชู้สาวอีกเลย

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ จึงมักเตือนพระหนุ่ม ๆ เสมอ ในเรื่องผู้หญิง (แม่หญิง) ให้ระวังเป็นอันดับแรก ต่อไปก็เรื่องเงิน และอวดอุตริ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ กับ พระอาจารย์น้อย สุภโร ไปฟังธรรมจากหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งท่านแสดงสติปัฏฐานสี่ให้ฟังอย่างละเอียดลึกซึ้งกินใจมาก

พระอาจารย์น้อย สุภโร องค์นี้รุ่นราวคราวเดียวกับ ท่านพ่อลี ธัมมธโร (วัดอโศการาม) ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นกลางของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และต่อมาท่านพระอาจารย์น้อย สุภโร ได้มรณะภาพ ที่ถ้ำพระสบาย เมืองลำปาง ในปี ๒๕๐๐ (พระอาจารย์น้อย สุภโร เป็นคนบ้านผักบุ้ง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี รูปถ่ายในหนังสือบูรพาจารย์ หน้า ๑๔๒ มี ๕ องค์ รูปแรกที่ระบุว่าไม่ทราบชื่อ นั้นคือ พระอาจารย์น้อย สุภโร )

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ได้ศึกษาธรรมะกับหลวงปู่ขาว อนาลโย อยู่เสนาสนะป่าบ้านป่าเต้ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ โดยอยู่กับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ และหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ด้วยที่นั่น

ต่อมา หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ได้ทราบข่าวว่าหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อยู่อีสาน ที่บ้านหนองผือนาใน จึงได้กราบเรียน หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ได้ทราบ หลังจากนั้นจึงเดินทางจากเชียงใหม่เพื่อมุ่งไปอีสาน บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

โดยเดินทางเลาะมาทางหนองคายและเดินทางต่อไป บ้านหนองผือ นาใน กราบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

ในปี ๒๔๘๙ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ไปพักที่วัดบ้านนาใน กับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ต่อจากนั้นหลวงปู่หลุย จันทสาโร จึงพาหลวงปู่จาม มหาปุญโญ เข้ากราบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งพักอยู่บ้านหนองผือนาใน แล้วกราบเรียนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ว่า “ สามเณรจาม ตอนนี้บวชเป็นพระแล้วครับกระผม ”

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต กล่าวว่า “ บวชแล้ว เพราะท่านมีนิสัยนักบวช ” หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จึงให้โอวาทแก่หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ว่า “เมื่อก้าวมาสู่หนทางแห่งความดี ต้องเดินหน้าสู้ทน ตายเป็นว่า (ตายเป็นตาย) อยู่เป็นว่า (อยู่เป็นอยู่) เหตุเพราะทางอื่นนั้นปราศจากความร่มเย็น ไม่เป็นความสุข อันนี้ความดีจะเป็นผลของตน ผู้เดินอยู่ในทางนี้ได้ตลอดไปนั้น จิตใจก็อยู่ใกล้ธรรมอยู่กับธรรมะไม่ละทิ้งความดี ตนก็จะเป็นผู้ราบรื่น ร่มเย็น ผาสุกอยู่ได้ในปฏิปทาแห่งตน ”
เมื่อให้ธรรมะจบ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ถามว่า “เข้าใจไหม จำไว้ให้ดี ”

เมื่อลากลับไปที่วัดบ้านนาใน หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ซาบซึ้งในคำสอนนี้ ด้วยความปีติสุขใจยิ่ง พยายามทบทวนเพื่อให้จำไว้ให้ขึ้นใจ จะได้ไม่ลืม เพราะถือว่าคำสอนนี้เป็นกุญแจสำคัญแห่งชีวิตนี้

ต่อมาหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ได้มีโอกาสฟังธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในวาระสำคัญหลายครั้ง โดยที่หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ได้ อธิฐานจิตถามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ล่วงหน้าไว้ทั้ง ๔ ครั้ง ปรากฏว่าหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทราบ ได้ด้วยญาณทัศนะและเทศนาในเรื่องที่หลวงปู่จามต้องการทราบทุกครั้ง

ครั้งที่ ๑ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ มีความสงสัยว่า ” คนที่ได้ธรรมะเป็นอย่างไร ทำไมถึงได้ธรรมะปฏิบัติอย่างไร “ จึงอธิษฐานถามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คืนวันนั้น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ยก หิริ โอตฺตปฺป” ขึ้นมาเป็นหัวข้อแสดงพระธรรมเทศนา พระสงฆ์ที่พักอย่าตามสถานที่ต่างๆ จะมารวมกันฟังธรรมเสมอ เมื่อหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เทศนาจบลงก็หันหน้ามามองไปที่หลวงปู่จาม มหาปุญโญ แล้วถามเป็นเชิงปรารภว่า “เป็นอย่างไรท่านจาม(มหาปุญโญ) ผู้ได้ธรรมเป็นอย่างนี้ เข้าใจไหม” หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ตอบว่า”เข้าใจครับกระผม” บรรดาพระสงฆ์ที่นั่งฟังก็หันมามองหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ก้นทั้งหมด เมื่อหลวงปู่จามม มหาปุญโญ กลับไปที่พัก ก็รีบนั่งภาวนาเพื่อทบทวนคำสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เพื่อให้จำได้อย่างขึ้นใจ

ครั้งที่ ๒ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ อยากรู้เรื่อง ”พระธรรมวินัยว่า ธรรมอย่างหยาบ ธรรมอย่างกลาง ธรรมอย่างละเอียด เป็นอย่างไร” จึงได้กำหนดจิต อธิษฐานถามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ก็คิดนึกในใจต่อ ไปว่า “ อยากรู้ถึงปฏิปทาภพชาติของตนเองด้วย ” ในคืนนั้นหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เทศนา โดยยกหัวข้อธรรมขึ้นว่า “ หีนา ธมฺมา มชฺฌิมา ธมฺมา ปณีตา ธมฺมา ” แล้วอธิบายธรรมและวินัยควบคู่กันไปให้รู้เข้าใจกระจ่าง และ ได้แจกแจงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ตั้งแต่หัวค่ำจนถึงเที่ยงคืนพอดี ต่อจากนั้นหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ก็เทศนาต่อไปว่า…

“ ให้ตั้งใจเจริญพุทธคุณ ตามรอยบาทของพระพุทธเจ้า ถือด้วยใจ ปฏิบัติด้วยใจ เจริญพุทธเนตฺติ ด้วยการประพฤติเพื่อความหนักแน่นในธรรม ผู้ถึงพระพุทธเจ้าด้วยหัวใจ เท่านั้นที่เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัยอยู่ได้…” เมื่อเทศน์จบหลวงปู่มั่น ก็หันมาถามอีกว่า “ ท่านจาม (มหาปุญโญ) เข้าใจไหม ที่ต้องการรู้นะ จำไว้ให้ดี ”
ครั้งที่ ๓ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ อยากรู้เรื่องพระอภิธรรม จึงอธิษฐานจิตถามไว้ พอตอนกลางคืน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ก็เทศนาเริ่มต้นที่มูลกัจจายนะ ตรงตามที่หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ตั้งอธิฐานไว้

ครั้งที่ ๔ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ เกิดข้อสงสัยว่าเราเองก็ทำความเพียร อย่างจริงจังมาก แต่ไม่ค่อยได้ผลดีตามที่ปรารถนา พระองค์อื่นก็คงเป็นเช่นเดียวกันกับเราเองก็คงมีอีก ไม่น้อยจึงอธิษฐานจิตถามไว้ล่วงหน้า เมื่อหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เทศนากัณฑ์แรกจบไป ก็เทศนาเตือนสติในตอนท้ายว่า “ เอาจริงเอาจังเกินไป หรือขวนขวาย

พยายามพากเพียรมากไปแต่ขาดปัญญา ก็เป็นเหตุ ให้ใจดิ้นรนอยากได้ อยากเป็น อยากเห็น อยากสำเร็จ อยากบรรลุธรรม โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ ความอยากของตนจึงเป็นอุปสรรคของตน จึงให้ดูใจดูตนของตนด้วยสติปัญญา “ เมื่อเทศน์จบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ก็หันหน้ามาทางหลวงปู่จาม มหาปุญโญ แล้วถามว่า “ เป็นอย่างไรท่านจาม (มหาปุญโญ) ความโลภเป็นอย่างนี้ เข้าใจไหม ”

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ตอบอย่างเคารพและเกรงกลัวเป็นที่สุดว่า “ เข้าใจซาบซึ้งเป็นที่สุดครับกระผม ”......

ธรรมะประวัติปฏิปทาหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ผู้มากมีบุญ ผู้มากมีบุญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ตอนที่ ๑๙๕
(วัดป่าบ้านห้วยทราย) บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๙


จาก https://www.facebook.com/groups/kammatanclub/permalink/1104397066273662/
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...