ผู้เขียน หัวข้อ: พล็อตพิษวาท เพจดังสวนนักวิชาการ อย่าดูแคลนนักเขียนไทย ว่าคนอ่านรู้ไม่ทัน  (อ่าน 1160 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด






ดราม่าไม่จบ! พล็อตพิษวาท เพจดังสวนนักวิชาการ อย่าดูแคลนนักเขียนไทย อย่าดูแคลนว่าคนอ่านรู้ไม่ทัน

เพจดัง "พี่คนดี" ให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณี มีนักวิชาการ ได้ตั้งข้อสังเกตุว่าเจ้าของบทประพันธ์ ทมยันตี มีการ "หยิบยืม" พล็อตจากนิยายต่างประเทศ
โดยเนื้อความในเพจ มีว่า...

พาดหัวข่าวสดครับ " นักวิชาการแฉ ทมยันตี แต่งนิยาย พิษสวาท อิงนิยายอังกฤษ"

 โห ใช้คำว่าแฉเลยหรือครับ ราวกับว่าเขาไปแอบลอกเลียนมา แต่ผมขอไม่พูดถึงประเด็นนั้นนะครับ เพราะเมื่อเข้าไปอ่านข้างในเนื้อหา ผู้เขียนก็ไม่ได้ใช้คำว่าลอก เธอแค่ใช้คำว่า หยิบยืมเอามา แล้วเธอก็เขียนยกตัวอย่างถึงเรื่องอื่น ๆที่มีการหยิบยืม พล็อตมาจากต่างประเทศ เช่น กาเหว่าที่บางเพลง ( จาก อังกฤษ) สาวเครือฟ้า (จากอิตาลี) และ อุโมงค์ผาเมือง (จากญี่ปุ่น) ท่านนักวิชาการคงอยากจะเล่าให้คนที่อาจจะยังไม่ทราบ ได้ทราบเป็นข้อมูลก็เป็นเรื่องน่าชมเชยครับ

แต่ผมมาสะดุดตรง ปล. ของเธออะครับ ทำไมอ่านแล้วรู้สึกว่ามีกลิ่นแปลกๆคล้ายการดูถูก คนไทย และนักเขียนไทยยังไงก็ไม่รู้ ถ้าเข้าใจผิดก็ขออภัย

" ปล1. อ่านหนังสือกันเยอะๆนะคะ นอกจากภาษาไทยแล้วต้องอ่านภาษาอังกฤษด้วยค่ะ จะได้รู้ทันนักเขียนไทย และจะรู้ทันความเป็นไทย "
"ปล.2 อย่าดราม่าค่ะ รามเกียรติ์ก็เอามาจาก รามนายะของอินเดีย"

ตรงนี้ผมว่าหลายคนอ่านแล้วคง จี๊ด ๆ นะ

แปลกตรงไหนครับที่คนไทยที่ไม่สันทัดภาษาอังกฤษจะอ่านแต่ ภาษาไทย (จากวรรณกรรมแปล หรือวรรณกรรมดัดแปลงก็ตาม) ทำไมต้องอ่านภาษาอังกฤษด้วย ? แล้วต้องอ่าน ภาษา อิตาเลียน และญี่ปุ่นด้วยไหม เขียนแบบนี้ดูไม่ดีเลย คนอ่านแล้วอาจจะเข้าใจว่าดูแคลนกันได้นะ ต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง

เหตุผลแรกท่านนักวิชาการบอกว่า จะได้ "รู้ทัน นักเขียนไทย" การที่เราชอบอ่านสำนวนไทย คือไม่รู้ทันนักเขียนไทยหรือครับ ไม่ใช่มั้ง บางเรื่องเราก็รู้อยู่แล้วเป็นการยืมพล็อตมา เพราะนักเขียนหลายคนเขาก็บอกเอง แต่เราก็อ่านได้อรรถรสอยู่ดี เพราะคงไม่แปลกที่ คนไทยเกิดในไทย โตในไทย จะไม่สันทัดที่จะการอ่าน ภาษาต่างประเทศ ให้ผมไปอ่านราโชมอนต้นฉบับญี่ปุ่น ผมก็คงอ่านไม่เป็น การที่ผมจะเลือกอ่านฉบับแปลไทย แปลอังกฤษ หรือ อ่านอุโมงค์ผาเมืองแทน มันก็ไม่ใช่เรื่องรู้ทันหรือรู้ไม่ทัน มันแค่ว่าผมสะดวกจะอ่านแบบไหน การอ่านนิยายแบบนี้มันก็ได้อารมณ์อีกอย่าง ต่างจากการอ่านแบบแปลความ เพราะเขาสร้างสรรค์สิ่งใหม่แต่งเติมเข้าไป ทั้งชื่อตัวละคร บทพูดและสถานที่ให้กลมกลืนกับความคุ้นชินในวัฒนธรรมของผู้อ่าน เท่าที่ทราบการยืมพล็อต มาเปลี่ยนยุคเปลี่ยนสมัย เปลี่ยนเชื้อชาติและวัฒนธรรม มันเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ไม่ถือเป็น plagiarism นะครับ ไม่อยากได้ยินพูดสำเนียงพูดที่เหมือนจะดูแคลนบรรดานักเขียนไทยที่ยืมพล็อตครับ แล้วก็ไม่ควรดูแคลนว่าคนอ่านไม่รู้ทันด้วยครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีคำว่านักวิชาการค้ำคอ ยิ่งต้องระวังนะครับ

ฝรั่งก็ยืมพล็อตกันเองถมไปครับ Cluless ยืมพล็อต Emma , Bridget Jones' Diary ของ Helen fielding ยืมพล็อต Pride and Prejudice ของJane Austin เพียงแต่เปลี่ยนยุคให้ทันสมัย ไม่ต้องทำเป็นแบบ period โบราณ ที่คนรุ่นใหม่อาจจะไม่อิน คำพูดคำจา setting ในนิยายก็เปลี่ยนไป คนเขียนก็ใส่แรงลงไปเช่นกัน การที่ Bridget Jones' Diary โด่งดัง คงไม่ใช่ว่า เครดิตจะไปตกที่ Jane Austin คนเดียว แต่ Helen fielding ย่อมได้เครดิตด้วย ผมก็เห็นคนก็ชื่นชม Helen ไม่เคยได้ยินว่าใครจะต้องมาบอกว่าต้องรู้ให้ทันเธอ เธอเองก็คงไม่แคร์ที่ใครจะรู้ทันขนาดพระเอกยังใช้ชื่อเดียวกันดื้อๆ เลย

ยกอีกตัวอย่างนะครับ นักวิชาการ ท่านนี้พาดพิงเรื่อง สาวเครือฟ้า ไว้ดังนี้ "สาวเครือฟ้า" ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มาจากบทละครเรื่อง Madame Butterfly (1904) ของ Giacomo Puccini นักประพันธ์บทละครชาวอิตาเลี่ยน"

แต่ถ้าสืบสาวประวัติกันจริงๆ เรื่อง Madame Butterfly นี้มีประวัติยาวนานมากเลย ใครอ่านภาษาอังกฤษเก่งลองไปอ่านเองจาก วิกิตามลิงก์นี้นะครับ https://en.wikipedia.org/wiki/Madama_Butterfly ใครไม่ถนัด ผมแปลให้ฟังเองผิดถูกอย่างไรก็ขออภัย ...

Madame Butterfly เป็นบทละครโอเปอร่า แต่งโดย Giacomo Puccini นักประพันธ์บทละครชาวอิตาเลี่ยนจริงอย่างที่เธอว่า แต่ บทละครนี้ก็อิงมาจาก เรื่องสั้น ของ John Luther Long ในปี 1898 ซึ่ง บางส่วน อิงมากจาก เรื่องเล่าที่ Jennie Corell พี่สาวของเขาเล่าให้ฟัง และบางส่วนอิงมาจากนิยายเรื่อง Madame Chrysanthème เป็นกึ่งอัตตชีวประวัติของนักเขียน ฝรั่งเศส ชื่อ Pierrre Loti เรื่องสั้นของ John Luther Long ถูกนำมามำเป็นละคร องก์เดียว โดย David Belasco ในปี 1990 ในนิวยอร์ค แล้วย้ายไปลอนดอน หลังจากที่ Giacomo Puccini ได้ชมในปีนั้นเขาก็เอามาดัดแปลงเป็น โอเปอร่า สององก์ และก็ขยายเป็นสามองก์ในเวลาต่อมา ถ้าสืบสาวกันจริงๆ ก็ ฝรั่งก็ยืมกันเองมาหลายๆทอดแล้ว และถ้าอ่านภาษาอังกฤษมากๆจริง ก็จะรู้ทัน ทั้งหมดทุกคน ไม่เฉพาะคนไทย เพราะฉะนั้นอย่ามีสำเนียงดูแคลนคนไทยด้วยกันเองจะดีกว่า

เหตุผลที่สอง ท่านนักวิชาการบอกว่า จะได้ "รู้ทันความเป็นไทย" โอ อันนี้ไม่แน่ใจว่าจะเข้าใจความหมายของเธอนะครับ แต่ดูจาก ปล 2 เหมือนเธอจะบอกว่า รามเกียรติ์ ก็ไม่ใช่ไทยหรอก จะต้องรู้ทัน แล้ว มีใครไม่รู้ทันบ้างหรือครับ ว่า เรื่องรามเกียรติ์ มาจากอินเดีย ผมว่าใครๆก็รู้นะครับ แต่ ตัวบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ก็มี "ความเป็นไทย" อยู่เต็มเปี่ยม เพราะแต่งด้วยร้อยกรองภาษาไทยทั้งเรื่อง จะไปหาที่ประเทศอินเดียหรือประเทศไหนๆก็ไม่มีครับ คนไทยจะภูมิใจในบทละครเรื่องนี้ก็ไม่น่าจะผิดนะ เราไม่ได้ขี้ตู่ว่า เรื่องรามเกียรติ์เป็นของเรานะครับ แต่บทละครร้อยกรองเป็นของเราแน่นอน คนอินเดียแต่งไม่ได้หรอก การทำหัวโขนเพื่อประกอบแสดงบทละคร ก็มีความเป็นไทยครับ หาที่อินเดียก็ไม่มีแน่นอน

ขอจบเรื่องของนักวิชาการท่านนี้แล้วนะครับ แต่อยากจะขยายความประเด็นนี้ต่ออกไปอีกนิด ที่ต้องเขียนกลอนนี้เพราะ หลังๆเห็นหลายคนมีแนวความคิดแปลกๆ บอกว่า ไอ้โน่น ก็ไม่ไทย ไอ้นี่ก็ไม่ไทย เพื่ออะไรหรือครับ เห็นคนภูมิใจในของไทยแล้วไม่สบายใจหรือครับ การหยิบยืมวัฒนธรรมมาปรับให้เป็นแบบไทย มันผิดยังไงครับ ถึงบางอย่างจะมีต้นกำเนิดจากต่างประเทศ หรือมีกลิ่นอายของต่างประเทศเข้ามาผสม มันจะถือว่าเป็นความเป็นไทยไม่ได้หรือ บางทีรู้สึกเหมือนคนบางกลุ่มจะพยายามสื่อว่า ไม่ต้องไปภูมิใจอะไรกันมากมายนักกับความเป็นไทย ใครภูมิใจมากๆ บางทีกลับถูกข้อหา "คลั่งชาติ" เข้าให้อีก

จะตามต้นตอกันจริงๆ มันก็คงยากที่จะเจอ ยากที่จะบอกว่าอะไรเป็นของใครร้อยเปอร์เซ็นต์นะ เพราะโลกมีการไปมาหาสู่กันมานานแล้ว เพราะแต่ละประเทศไม่ได้อยู่ในกะลา แต่ในเมื่อมันพัฒนาผสมผสานมาแล้วเราก็มองเป็นของเราได้ไม่แปลก ชุดไทยในช่วงรัตนโกสินทร์แม้จะมีความเป็นฝรั่งอยู่แต่มันก็คือ "ชุดไทย" ขนมฝอยทอง บอกว่ามาจากโปรตุเกส ปัจจุบันมันก็คือ "ขนมไทย" เพราะไปหาขนมแบบนี้ที่โปรตุเกสก็ไม่ใช่ว่าจะเจอเกลื่อนกลาดอย่างในไทย เหล้าสาเก ของญี่ปุ่น เท่าที่เคยฟังประวัติก็ดูเหมือนจะมีต้นกำเนิดมาจากไทย แต่ปัจุบันมันก็คือ เหล้าญี่ปุ่น ไม่ใช่เหล้าไทย ญี่ปุ่นเขาก็ภูมิใจของเขา ไม่เห็นจะแปลกอะไร



เราคนไทย รู้จักภูมิใจใน "ความเป็นไทย" เถิดครับ ถ้าบอกว่าอะไรอะไรก็ไม่ไทย อะไรอะไรก็ไม่แท้ แล้วเราจะรวมกันเป็นชาติไทยอย่างไร คำว่าชาติ ไม่ใช่แค่หมายถึง แค่ประชาชนนะครับ ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีร่วมกัน ก็มีความสำคัญ รู้ทันอะไรรอบโลก ก็อย่าลืม "รู้ทันความเป็นชาติ " ด้วยนะครับ รักชาติ นิยมชาติ เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่ความคลั่งชาติ อย่างที่บางคนพยายามยัดเยียดให้เข้าใจ อย่าตกเป็นเครื่องมือของพวกที่พยายามเผยแพร่ทัศนคติที่ทำให้ความเป็นชาติด้อยค่าลงไปเลยครับ

ไม่ได้อ่อนไหว หรือเปราะบาง อะไรทั้งนั้น แค่คนๆหนึ่งแสดงความเห็นวิจารณ์ข่าวอย่างปกติ และอยากตักเตือนกันให้ใช้โทนภาษาให้ถูกต้อง ไม่ได้ยุให้ใครเกลียดชังใคร ถ้าเพื่อนๆ ต้องการแสดงความเห็น ณ ที่นี้ ก็ควรกระทำอย่างสุภาพเช่นกัน เพื่อรักษา บรรยากาศดีดี "ถ้อยทีถ้อยอาศัย" แบบไทยๆ นะครับ

๓๙๔ รู้ทันความเป็นชาติ

ให้รู้ทัน "ความเป็นไทย" อย่างไรเหรอ
หรือเสนอ ว่าสิ่งนี้ ไม่มีอยู่
หลายๆสิ่ง คนชื่นชม นิยมชู
มีบางคน เก่งรู้ ว่าไม่ไทย
หลายๆสิ่ง ในโลกกลม ผสมผสาน

คนสื่อสาร มานาน ขนาดไหน
ต่างคนต่าง เอาอย่าง จากทางไกล
มาปรับปลูก ให้ถูกใจ ในถิ่นตน
พัฒนา จนเติบใหญ่ ในพื้นที่
แผ่ขยาย หลายปี ที่ส่งผล
หล่อหลอมรวม เป็นชาติ ประชาชน
ที่ผู้คน ยึดเหนี่ยว สิ่งเดียวกัน
สิ่งยึดเหนี่ยว ที่เกาะเกี่ยว กันเป็นชาติ
ถ้าทำให้ ฉีกขาด อาจไหวสั่น
"ความเป็นชาติ" คืออะไร รู้ให้ทัน
ก่อนจะเผลอ ช่วยกันหั่น และบั่นทอน

‪#‎พี่คนดี‬

4/8/2559

จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/198892/
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...