ผู้เขียน หัวข้อ: จากหิมาลัยสู่เจ้าพระยา ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร  (อ่าน 1136 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

จากหิมาลัยสู่เจ้าพระยา ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

โดยส่วนตัวแล้วย่ามีความชื่นชอบ ศิลป วัฒนธรรมของธิเบต ค่อนข้างสูง
และเนื่องจากธิเบตเป็นอาณาจักรที่ถูกขนานนามว่าเป็นหลังคาโลก
และมีประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ และวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

พอทราบข่าวว่ามีงานเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของธิเบต ย่าจึงขอไปชมให้เป็น
บุญตาสักหน่อย งานนี้มีในวันที่ ๕-๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา

ในงาน มีการก่อมันดาลา ทราย



มนฑลแห่งการตรัสรู้ ทำจากทราย (Sand Mandala)เป็นการโรยทรายสี
ให้เป็นลวดลายโดยไม่มีการร่างแบบ ซึ่งต้องใช้ความชำนาญและสมาธิในการ
ทำค่อนข้างสูง การถ่ายภาพจึงห้ามใช้แฟลช

----

พระลามะส่วนใหญ่รู้วิธีการสร้างมันดาลา เพื่อใช้ในการประกอบพิธีต่าง ๆ
บางรูปใช้เวลาสร้างเป็นเดือน การสร้างมันดาลาเป็นการฝึกฝนจิตอย่าง
หนึ่ง มโนจิตและสมาธิต้องดำเนินไปด้วยกัน การสร้างมันดาลาไม่มีการ
ร่างโครงร่างก่อน ไม่ว่ารูปมันดาลานั้นจะใหญ่หรือเล็กชนาดใด มโนจิต
ในมันดาลานั้นต้องเที่ยงตรง สมาธิต้องมั่นคง บางครั้งพระบางรูปจะท่อง
มนตราและแผ่เมตตาในขณะที่สร้างด้วย ถือเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์



รูปปั้นทำจากเนยเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบูชาพระพุทธองค์พุทธองค์
สิ่งสักการะนี้สามารถเก็บไว้เป็นวัตถุบูชาถาวรได้



รูปปั้นเนย(Buttur Sculpture)

การปั้นเนยบูชาพระพุทธองค์เป็นพระเพณีอันเก่าแก่ของชาวธิเบต
ส่วนใหญ่จะปั้นในช่วงงานเทศกาลประจำปีของชาวธิเบตที่เรียกว่า
เทศกาลมอลลัมและงานพิธีกรรมทางศาสนาอื่นๆรูปปั้นทำจาก
เนยเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบูชาพระพุทธองค์ในระหว่างที่
ดำเนินพิธีกรรมทางศาสนา รูปปั้นบูชาทำจากเนยอาจมีฐาน
กว้างถึง ๑๐ เมตร และสูงถึง ๔ เมตร (รูปทรงเหมือนกรวย)
หรือมีขนาดเล็กแตกต่างกันไปตามประเภท รูปปั้นบูชาจะทำขึ้นจาก
เนยบริสุทธิ์ที่เกิดจากส่วนผสมของเนยสัตว์และขี้ผึ้งที่มีอุณหภูมิ
อุ่นสามารถปั้นเป็นรูปทรงได้ รูปปั้นบูชาทำจากเนยมีเอกลักษณ์
เฉพาะตัวที่โดดเด่น เป็นศิลปะที่น่าดึงดูดใจและมีความซับซ้อนสูง
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนการบูชาทางศาสนา



เดิมทีตั้งจะว่าจะไปเก็บภาพระหว่างการปั้นเอามานำเสนอ
แต่เนื่องจากกว่าจะว่างไปการปั้นเนยเขาได้ทำการปั้นเสร็จสิ้น
เรียบร้อยแล้ว มีแต่เพียงควันหลงมาให้ชมเพียงเท่านี้



งั้นเรามาชมลวดลายเนยปั้น กันใกล้ๆว่าสวยงามเพียงไร
เนยบูชาพระพุทธองค์รูปทรงเหมือนกรวย



ตั้งบูชาแบบนี้ค่ะ



วิธีการปั้นเนยและการตกแต่ง เนื่องจากพลาดชมจึงขออนุญาตนำภาพที่โชว์วิธีการปั้นมาให้ชมแทน



ธงมนต์หลากสี



ประดับตกแต่งทั่วบริเวณงาน



ลวดลายของแมนดาร่าทรายมองจากมุมสูง พระลามะ
กำลังจัดแต่งลวดลายให้ได้รูปทรงสวยงามด้วยมีด

----
ปริศนาธรรมที่แฝงมาในมันดาลา คือ ไม่ว่าจะสมบูรณ์
สวยงามหรือมั่นคงเพียงใด สุดท้ายก็ต้องสูญสลายไป
ตามธรรมชาติ และก็เช่นกันเมื่อสูญสลายไปแล้ว ก็จะ
ต้องถูกสร้างขึ้นมาอีก เพราะความมีอยู่ทำให้เกิดความ
ว่าง และความว่างก็เป็นบ่อเกิดของความมีอยู่



เครื่องมือในการทำมันดาลาทราย



ถึงแม้นว่าจะเป็นวันท้ายๆของงาน ผู้คนก็ยังทะยอย
มาถ่ายรูปและชมการโรยทราย ทำมันดาลา อยู่ไม่
ขาดสาย ชาวต่างประเทศก็ให้ความสนใจมาบันทึก
ภาพเป็นจำนวนมาก



ศิลปินผู้วาดภาพ ทังก้า



ตัวอย่างภาพวาดจากศิลปินท่านนี้
ละเอียดอ่อนช้อยสวยงาม ต้องไปชมของจริงค่ะ
สีสันสวยงามกว่าภาพที่ย่าถ่ายมาให้ชมเยอะเชียวค่ะ



ภาพเขียนทังก้า

ซึ่งจัดเป็นศิลปะชั้นสูง คือ ภาพวาดแทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หากจะเข้าใจได้ง่ายก็เปรียบเสมือนพระพุทธรูปนั่นเอง โดยปกติ
แล้วทังก้าจะเขียนบอกเล่าเกี่ยวกับพุทธองค์ เหมือนจิตรกรรม
ฝาผนังในประเทศไทย แต่เขียนลงบนผ้าแทน ชาวธิเบตไม่มี
พระพุทธรูป จะมีทังก้าเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า เมื่อชนเผ่าเร่ร่อน
เดินทางย้ายถิ่นฐานสมบัติสำคัญของพวกเขาคือคัมภีร์พระธรรมและ
ทังก้าที่เป็นภาพพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ มันดาลาหรือวัฏสงสาร
ประกอบด้วยสัตว์ทั้งหกประเภทที่ใช้ชีวิตวนเวียนกับการเวียนว่าย
ตายเกิด ที่สำคัญในการทำแบบโบราณดั้งเดิม สีที่ใช้เขียนเป็นสี
ธรรมชาติที่ต้องสรรหาแร่ธาตุตามเทือกเขาหิมาลัย นำมาบดผสม
กับยางไม้ เขียนด้วยเกรียงจากเขาจามรี ส่วนสีทองก็จะใช้เนื้อ
ทองคำแท้ น้ำที่ใช้ผสมสียังต้องใช้น้ำแร่ผสมกับสีธรรมชาติใน
การวาด ซึ่งภาพที่ดีที่สุดนั้นใช้เวลาในการทำ
ถึง 60 วัน และอยู่ได้นานเป็นเวลาถึง 400 ปี



แร่ธาตุที่นำมาจากภูเขา เพื่อใช้ในการวาดรูป



แปรงทำเอง สำหรับใช้ในงานเขียนภาพ



ลายปักบนย่ามของพระลามะ



องค์ทะไลลามะ ได้กล่าวถึงความสำคัญของวัฒนธรรมธิเบตไว้ว่า
“วันนี้เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาวิกฤต ชาติของเรามีวัฒนธรรมอันเก่าแก่
ที่เผชิญหน้ากับความเสี่ยงต่อการล่มสลายอยู่ในตอนนี้
เราจึงต้องการความช่วยเหลือจากทุกคนและจากประชาคมนานาชาติ
เพื่อปกป้องวัฒนธรรมของเรา วัฒนธรรมที่เป็นดั่งมรดกโลก
การปกป้องวัฒนธรรมเก่าแก่
จึงไม่ใช่แค่หน้าที่ต่อชาติของตนเองเท่านั้น
แต่ยังถือเป็นหน้าที่ต่อประชาคมโลกทั้งหมดด้วย”



การจัดงานในครั้งนี้ทางมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
เป็นองค์หลักในการระดมทุนและจำหน่ายบัตรเข้าชมการแสดงแต่รายรับ
ยังไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการจัดงาน จึงบอกกล่าวมายัง
กัลยาณมิตรทุกท่านช่วยกันสนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้ด้วยเพื่อสืบทอด
คุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมและสร้างเสริมสิ่งที่ดีงามสู่สังคม

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนจากกัลยาณมิตรทุกท่าน และขอ
ขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อาภาภร คำเจริญ โทร. 085-215-4977



ภายในงานมีเครื่องปั้นดินเผาจากธิเบตจำหน่าย



เต่าก็มีค่ะ



เครื่องปั้นดินเผาที่มีเอกลักษณ์ของธิเบต



ศิลปลวดลายบนเครื่องเงินของธิเบต



ระฆังสำหรับประกอบพิธีทางศาสนา



วัชระ ที่องค์ทะไลลามะ จะถือไว้ ข้างหนึ่งส่วนอีกข้างหนึ่งจะถือระฆัง
ระหว่างประกอบพิธีกรรมทางศาสนา



ฉิ่งลวดลายสวยงามมาก



ขันลวดลายสวยงาม



ด้านในมีรูปดวงตาธรรม



หน้ากากที่ใช้สวมใส่ในการเต้นรำ
พูดถึงการแสดงย่าไม่ได้ดูค่ะเพราะเริ่มดึกมากและไม่ได้จองไว้ก่อน



ขออนุญาตนำภาพการเต้นรำสวมหน้ากากนำมาประกอบภาพด้านบน



ชอบใจข้อความที่ด้านหลังเสื้อยืดที่จำหน่ายในงาน
ถ่ายมาให้อ่านกันเล่นๆค่ะ



หนูน้อยคนนี้กำลังสนใจชมสินค้าไม่ทราบว่าเล็งชิ้นไหนไว้



นอกจากนั้นยังมีรูปสวยๆจากธิเบตจำหน่ายด้วยค่ะ
สั่งจองได้ที่งาน แต่ละรูปล้วนบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับธิเบตได้อย่างชัดเจน



อย่างเช่นรูปนี้ ผู้แสวงบุญแม้จะมีเนื้อตัวมอมแมม ผมเผ้ายุ่งเหยิง
แต่ใบหน้าและแววตาบ่งบอกถึงความศรัทธาและเชื่อมั่นในบุญกิริยา

พวกเขามีความเชื่อว่ายิ่งลำบากก็จะยิ่งได้บุญมากค่ะ



นอกจากนั้นยังมีภาพถ่ายประวัติศาสาตร์เกี่ยวกับองค์ทะไลลามะ องค์ก่อนๆ
และองค์ปัจจุบันให้ได้ชมและศึกษาอีกด้วยค่ะ
---

พุธศาสนาถูกนำเข้ามาสู่ธิเบตในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ สมัยพระเจ้าซงเซ็น กัมโป
พุทธศาสนาแบบธิเบตเรียกตนเองว่าวัชรยาน หมายถึงมีพาหนะเป็นดังเพชร
ที่สามารถตัดกิเลสได้อย่างรวดเร็วในชาตินี้ แต่ยังกลับมารับใช้สรรพสัตว์ต่อไป
อย่างไม่รู้จบสิ้น

หากการนำเสนอของย่ามีจุดไหนที่ควรแก้ไขหรือไม่เหมาะไม่ควรประการใด
โปรดแจ้งให้ทราบด้วยค่ะ หรือจะเป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

การแพทย์ของธิเบตก็น่าสนใจค่ะ ยังไม่ได้ทำภาพ หากมีโอกาสทำภาพมานำเสนอในภายหลังค่ะ



จาก http://www.oknation.net/blog/dada/2010/03/16/entry-1
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...