ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิ และ จิตคิด พระอาจารย์อมโร ภิกขุ  (อ่าน 1094 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ในบรรดาลูกศิษย์ของหลวงพ่อชาที่เป็นพระฝรั่งนั้น พระอาจารย์ อมโรนับว่าเป็นศิษย์รูปหนึ่งที่เดินตามทางหลวงพ่อชาโดยไม่เสื่อมคลาย ปฏิบัติธรรมด้วยตนเองและแสดงธรรมโปรดญาติโยม ทั้งฝรั่งและไทย ในต่างประเทศ จนเป็นที่พึ่งทางใจของชาวพุทธทุกหนทุกแห่งที่ท่านไปพำนัก

สำหรับบทความเรื่องสมาธิและจิตคิดนี้ Phimpa Achalakul ได้คัดลอกและแปลมาจากบทความล่าสุด ซึ่งท่านได้ตีพิมพ์ในปี 2554 ในหนังสือชื่อ Finding the Missing PeaceA Primer of Buddhist meditation โดย Amaravati Publications

นามเดิม ท่านอมโร คือ เจ.ซี.เจ. ฮอร์เนอร์ (J.C.J. Horner) เกิดที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2498 ท่านได้ จบการศึกษาด้านจิตวิทยาและสรีรวิทยา จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ในปี 2521 ได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรม โดยอยู่ในความดูแลของหลวงปู่ชา สุภัทโท ที่วัดหนองป่าพง หลังจากนั้นได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยหลวงปู่ชา สุภัทโท เป็นพระอุปัชฌาย์ ในเดือน เม.ย. 2522 และในเดือน ต.ค.ปีเดียวกันนั้น ได้เดินทางกลับอังกฤษ โดยจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์ชิทเฮิร์ส (ปัจจุบันคือวัดจิตตวิเวก) อยู่ในความดูแลของหลวงพ่อพระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ)

ในปี 2534 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อก่อตั้งวัดอภัยคีรี และเป็นเจ้าอาวาสร่วมกับพระอาจารย์ปสันโน

ในปี 2553 พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) ได้นิมนต์ท่านกลับไปจำพรรษาที่วัดอมราวดี และขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดอมราวดี สืบต่อจากหลวงพ่อพระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ)



สมาธิและจิตคิด

เมื่อเราเริ่มนั่งสมาธิ เราสังเกตว่าประสบการณ์ตอนเริ่มแรกอาจคล้ายกับการเปิดวิทยุไว้ 34 ช่องสถานีพร้อมๆ กัน เราอาจรู้สึกว่าถ้าหยุดคิดได้ก็คงจะดีไม่น้อย ถ้าสามารถปิดวิทยุทุกสถานีได้เราคงได้รับความสงบ ด้วยเหตุนี้เราเริ่มเข้าใจว่าเป้าหมายของการนั่งสมาธิคือเพื่อกำจัดความคิดทั้งหลายให้หมดไป

จริงอยู่ว่าในการฝึกสมาธินั้น เราฝึกใจให้สงบและจดจ่อเพื่อที่จะลดความคิดลง หรือในบางโอกาสเพื่อทำให้ใจเงียบสงัดโดยสิ้นเชิง แต่ความคิดตรรกะก็สามารถเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ในลักษณะเดียวกับการมีเอกลักษณ์ เช่น ชื่อและที่อยู่ การมีความคิดที่วางอย่างถูกที่ถูกทาง สามารถช่วยบรรเทาความสับสนของเราลงได้ แม้แต่ในช่วงของการทำสมาธิ เราสามารถใช้ความคิดในสมาธิได้ เช่น คิดตระหนักว่าเรากำลังเป็นทุกข์เพราะเราไม่ได้รับสิ่งที่เราต้องการ การตระหนักรู้นี้ สามารถลดความทุกข์ลงได้ เมื่อเราเริ่มปล่อยวางความอยากได้ในสิ่งที่เราไม่สามารถมีได้

ธรรมชาติของการพิจารณาโดยแยบคาย

แม้ว่าตามปกติธรรมดาเราจะนึกถึงความรู้และความคิดในแง่ของตรรกะ หรือการใคร่ครวญหาเหตุหาผล ในที่นี้ “การพิจารณาโดยแยบคาย” ไม่ได้หมายถึงใช้ความคิดในการค้นหาคำตอบโดยหลักเหตุผล หากแต่เมื่อใดที่ใจมีความจดจ่อตั้งมั่นหนักแน่นอย่างต่อเนื่องแล้ว เราสามารถจะใส่ใจและต้อนรับสิ่งที่เข้ามากระทบอย่างเปิดกว้างไม่ปิดกั้น ความจดจ่อนั้นไม่ได้เพ่งอยู่แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น ลมหายใจ แต่เป็นการที่ใจสามารถสำรวจดูความคิด หรือความรู้สึกใดที่เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ ในสภาวะที่เปิดรับอย่างเป็นกลาง เราสามารถทำเช่นนี้กับทุกอย่างในชีวิต หรือกับทุกแง่มุมต่างๆ ของคำสอนศาสนา

ตัวอย่างเช่น เราอาจสังเกตรู้ว่ามีความกลัวเกิดขึ้นเมื่อคิดถึงความตาย หรือเกิดความรู้สึกตื่นเต้นขึ้นเมื่อคิดถึงประสบการณ์บางอย่าง หรือมีความรู้สึกอิ่มเอมใจเมื่อคิดถึงการได้ช่วยเหลือผู้อื่น การฝึกสมาธิได้วางรากฐานให้ใจมีความมั่นคง เพื่อนำไปสู่โอกาสที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้ เราสามารถเลือกที่จะใส่ความคิดหนึ่งๆ เช่น ความคิดเกี่ยวกับการตาย หรือการช่วยเหลือผู้อื่น เข้าไปในใจที่มั่นคงต่อเนื่องนั้น เรายอมให้พุทธิปัญญาแห่งจิตปัจจุบันในพื้นที่ว่างและอุดมนั้นมีเมล็ดพันธุ์ความคิด แล้วเฝ้าดูปรากฏการณ์ธรรมชาติของประสบการณ์นั้น เช่น เราสามารถดูว่าเพราะเหตุใดเราจึงรู้สึกดีต่อคำสรรเสริญ แต่รู้สึกอึดอัดเมื่อถูกตำหนิ เราทิ้งคำถามลงไปในสระน้ำแล้วดูว่าสิ่งใดจะตกผลึกออกมา

การศึกษาเช่นนี้แตกต่างจากการพยายามค้นหาคำตอบจากโดยตรรกะอย่างยิ่ง มันเป็นกระบวนการที่เปิดกว้างกว่ามาก เมื่อเราพิจารณาโดยแยบคายด้วยวิธีนี้ ความคิดหรือแนวคิดที่ต้องการศึกษาจะก่อรูปขึ้นครู่หนึ่ง จากนั้นเราจะได้สัมผัสและปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติของสรรพสิ่งด้วยความใส่ใจที่เป็นกลาง นี่เป็นเพราะจิตและใจ เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของความจริงแท้เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ ในจักรวาล ซึ่งในภาษาของศาสนาพุทธอธิบายว่าคือธรรมะ ธรรมะคือธรรมชาติ คุณอาจกล่าวได้ว่าพื้นฐานธรรมชาติของเราคือธรรมะ หรือสัจธรรมความจริง ซึ่งเกี่ยวพันกับธรรมชาติที่เป็นเนื้อแท้ของทุกสรรพสิ่ง ในวิถีแห่งการพิจารณาโดยแยบคายนี้ เราจะค้นพบเนื้อแท้ของเราที่สัมพันธ์กับชีวิตทั้งหลาย



อยู่กับความลึกลับ

ในฐานะที่เราเป็นมนุษย์ เรามักถามคำถามทำนองว่า “นี่มันเกี่ยวกับอะไรกัน?” เราไม่เข้าใจคำตอบที่อาจผุดขึ้นมาในใจ จิตคิดของเราพยายามทดแทนความลึกลับหรือความไม่รู้นั้น ด้วยความคิดหรือความเชื่อ หรือด้วยคำตอบที่เราได้จากการใช้ตรรกะ เมื่ออัตตาเผชิญหน้ากับความไม่รู้ มันรู้สึกกลัว กระสับกระส่ายหวาดหวั่น และต้องการที่จะเติมเต็มความไม่รู้นั้นด้วยความรู้หรือความเชื่อ ด้วยอะไรบางอย่างที่ทำให้มันรู้สึกมั่นคงปลอดภัย แต่เมื่อพิจารณาโดยแยบคายเรากลับพบว่าหัวใจของเรารู้สึกผ่อนคลายมากกว่าเมื่ออยู่กับความไม่รู้ และปล่อยให้คำถามเหล่านี้เป็นความลึกลับ เราเผชิญกับมันด้วยหัวใจ แทนที่จะเผชิญด้วยอัตตาหรือด้วยจิตคิดนึก และหัวใจรู้สึกสบายกว่ากับความไม่รู้ กับประสบการณ์ของความไม่รู้ในฐานะเป็นสิ่งลึกลับและความรู้สึกของการฉงนสงสัย

ความแตกต่างขั้นพื้นฐานของจิตที่คิดนึกกับจิตที่พิจารณาโดยแยบคาย หรือจิตที่ฝึกการตระหนักรู้จากภายใน ระหว่างการ “คิด” กับการ “รู้” ในบริบท แห่งคำสอนของศาสนาพุทธ คือ การรู้ลักษณะนี้ไม่ได้เป็นการรู้อะไร ไม่ได้เกี่ยวกับการได้รับข้อมูล มันเป็นคุณภาพของสภาวะรู้เอง นี่เป็นใจความสำคัญของคำสอน เรามักคิดว่าการรู้คือการได้รับข้อมูล การจำได้ การเข้าใจว่าสิ่งหนึ่งๆ ทำงานอย่างไร แต่เป้าหมายของการรับรู้ในรูปแบบนี้คือ การตั้งจิตไว้ที่สภาวะรู้ที่บริสุทธิ์ ตั้งจิตไว้ในปัญญาญาณ นี่คือคุณสมบัติธรรมชาติเนื้อแท้ของเราที่กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาลแห่งสิ่งมีชีวิตทั้งมวล

แม้ในชั่วขณะ

การฝึกเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การตระหนักรู้ในลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นแม้ในเสี้ยวขณะของการรับรู้ มันอาจเกิดขึ้นได้ในครึ่งวินาทีหรือสั้นกว่านั้น พระพุทธองค์สอนว่าเพียงแค่ชั่วขณะของการดีดนิ้วมือ เราสามารถประจักษ์ได้ว่าเราไม่ใช้ความคิดหรืออารมณ์ มีความเข้าใจว่าทุกๆ สิ่งมีการเปลี่ยนแปลง เราไม่สามารถครอบครองสิ่งใดไว้ได้อย่างแท้จริง หรือเรื่องราวประสบการณ์ต่างๆ นั้นที่แท้เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นภายในตัวเรา

พระพุทธองค์ทรงมองความเป็นไปในโลกนี้ว่า การกระทำของเรามีผลตามมา เราพยายามทำสิ่งที่ดีเพื่อจะได้รับผลที่ดี นี่เป็นแนวคิดแห่ง “กรรม” ในทวีปเอเชีย อันเป็นอาณาบริเวณที่พระพุทธองค์ทรงเคยมีชีวิตอยู่และทรงสั่งสอนนั้น การทำบุญให้ทานโดยเฉพาะทำให้วัด เป็นการกระทำที่สำคัญในการ สร้างบุญ ดังนั้นกิจกรรมหลักทางศาสนาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป คือการทำบุญที่วัด การสร้างความเมตตาขึ้นในจิตใจ ก็เป็นการกระทำที่สร้างบุญได้มากอีกอย่างหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงสอนว่า การให้ทานอันมีค่าแก่คนยากไร้ แก่ชุมชนทางศาสนา หรือถวายแด่พระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสรู้แล้ว ก็มีผลดีต่อจิตใจไม่เท่ากับทำความเมตตาให้มีขึ้นในจิตเพียงชั่วระยะแห่งการรีดนมโค (คือประมาณ 20 นาที)

แม้กระนั้น พระพุทธองค์ทรงสอนว่า คนเราสามารถสร้างกรรมดีที่ยิ่งกว่าได้ โดยมีความเข้าใจว่าทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความเข้าใจแจ่มแจ้งถึงความจริงแท้ในธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งนี้ แม้เพียงชั่วระยะเวลาของการดีดนิ้วมือยังมีค่ากว่า กรรมดีจากการทำบุญให้ทานไม่ว่าปริมาณของทานนั้นจะยิ่งใหญ่เพียงใด นี่เป็นสิ่งที่น่านำไปพิจารณานะ

จาก http://www.thammasatu.net/forum/index.php?topic=15604.0

https://forestsangha.org/community/gallery/amaravati

เพิ่มเติม ดอกบัวบาน ใน ลอนดอน วัดอมราวดี สาขาวัดหนองป่าพง ประเทศอังกฤษ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11198.0.html
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...