ผู้เขียน หัวข้อ: "ในหลวงทรงถาม...สมเด็จสังฆราชตอบ"!! บทสนทนาระหว่าง "สองธรรมราชา"  (อ่าน 1851 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


"ในหลวงทรงถาม...สมเด็จสังฆราชตอบ"!! บทสนทนาระหว่าง "สองธรรมราชา" ที่คนไทยทั้งประเทศต้องอ่าน!!

พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรมระหว่าง

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" กับ "สมเด็จพระญาณสังวรฯ"


ในหลวง :  หนังสือสอนพระพุทธศาสนายากเกินไปแก่สมองเด็ก ... ให้เด็กเล็กๆ จำประวัติมากเกินไป

สมเด็จญาณฯ :  กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดหลักสูตร

ในหลวง :  อย่างสอนอริยสัจแก่เด็กเล็กๆ เหมือนจะให้เด็กเป็นพระอรหันต์ จะทำให้เด็กเข้าใจได้อย่างไร ...  น่าจะสอนบทธรรมง่ายๆ ที่เป็นประโยชน์ในการอบรมเด็กด้วย เช่น ความเพียร  และน่าจะจัดเป็นหลักสูตรสูงขึ้นไปโดยลำดับ แทรกพุทธประวัติ นิทานชาดก บทสอนศาสนาคฤหัสถ์ได้ มีจัดไว้ทำนองนี้ ...  น่าจะทำแจกหรือมีจำหน่ายถูกๆ  ของกระทรวงก็ปล่อยเป็นส่วนของกระทรวง

สมเด็จญาณฯ : จะนำกระแสพระราชดำรินี้ไปจัดทำ  แต่การเขียนเรื่องให้เด็กอ่านนั้น...เขียนแล้วคิดว่าง่าย...เด็กเข้าใจ  ครั้นไปลองสอนกับเด็ก...คือให้เด็กอ่าน เด็กก็ไม่เข้าใจ

ในหลวง : ถ้าประสงค์จะทดสอบก็ได้ ...  เขียนส่งไปให้ทูลกระหม่อม เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ฯ อ่าน  ถ้าจะทดสอบอายุน้อยกว่านั้นก็ได้



ในหลวง : การปฏิบัติตนให้เหมาะเป็นการยาก ต้องทำสองอย่างพร้อมๆ กัน  อย่างหนึ่งต้องให้มีภาคภูมิ  อีกอย่างต้องให้สุภาพ มิให้เป็นหยิ่งหรือที่เรียกกันว่า "เบ่ง"  และในสมัยประชาธิปไตยก็ต้องให้เหมาะสม...เข้ากันได้กับประชาชน

สมเด็จญาณฯ :  ตามที่ได้ฟัง...ได้ยินแต่เสียงชื่นชมในพระบารมี

ในหลวง :  ต้องคอยสังเกตเป็นบทเรียนและแก้ไขเรื่อยมา  เมื่อคราวเสด็จภาคอีสาน  วันหนึ่งเหนื่อยมาก...หน้าบึ้ง  กลับที่พักแล้วก็นึกขึ้นได้ว่า ราษฎรได้มีโอกาสเห็นเราเพียงครั้งเดียว ให้เขาเห็นหน้าบึ้งไม่ดี  ต่อจากนั้น ถึงจะเหนื่อยมากก็ต้องพยายามไม่ทำหน้าบึ้ง ต้องทำชื่นบาน

--------------------------

ในหลวง :  เมื่อคราวเสด็จทางภาคใต้ วันหนึ่งไม่สบาย  แต่ถ้างด...ไม่ไป...ก็จะเสียหาย ... ต้องไป  ครั้นไปแล้วกลับมาก็สบายดี ... จะเป็นเพราะกำลังใจใช่ไหม?

สมเด็จญาณฯ :  (ทูลรับ แล้วทูลว่า)  ฝึกบ่อยๆ กำลังใจจะมากยิ่งขึ้น

--------------------------

ในหลวง :  ทำสมาธิอย่างไร?

สมเด็จญาณฯ :  คือทำใจให้ตั้งมั่น แน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว  จะทำอะไรทุกๆ อย่าง ต้องมีใจเป็นสมาธิ  ในทางปฏิบัติจึงต้องใช้สมาธิทั้งนั้น  แต่มักมีคนเข้าใจว่า...ทำสมาธิต้องนั่งหลับตา

ในหลวง :  นั่งทำพิธี...รู้สึกว่า เวลาปฏิบัติราชกิจต้องสำรวมพระราชหฤทัย  เช่น  คราวพระราชทานกระบี่นักเรียนนายร้อย  เพียงหยิบให้ ถ้าไม่สำรวมใจมีผิด สำรวมใจอยู่ก็ทำไม่ผิด

--------------------------

ในหลวง :  ทำสมาธิ...มองเห็นภาพต่างๆ เป็นจริงหรือ?

สมเด็จญาณฯ : โดยมากไม่จริง ... ภาพที่เห็นมักเป็นนิมิต คือ ภาพที่เกิดจากสัญญา หรือที่เรียกว่า "ภาพอุปาทาน" คือ ได้เคยคิดเคยเห็นมาแล้วเก็บไว้ในใจ  ครั้นทำสมาธิ ใจแน่วแน่ สิ่งที่เก็บไว้ในใจนั้นก็ปรากฏขึ้นมา  เหมือนอย่างที่เห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นเทวดา  ถามว่า เทวดารูปร่างอย่างไร  ตามคำตอบก็คล้ายกับเทวดาที่ผนังโบสถ์  แต่ที่เป็นจริงก็มี

ในหลวง :  เหมือนอย่างดูของหาย... มองเห็น... มีพระดูได้?

สมเด็จญาณฯ : ถ้ามองเห็น...ถูกต้องกับเรื่องที่เกิดขึ้น...ก็ต้องรับว่าเป็นจริง เพราะมีข้อพิสูจน์



ในหลวง : "หายตัว" เป็นจริง...หรือเป็นการสะกดจิตไม่ให้เห็น?

สมเด็จญาณฯ :  อาจเป็นการสะกดจิต ... แต่การล่องหนทะลุกำแพงออกไป ถ้าเป็นจริงก็จะต้องทำตัวอย่างไรให้เล็ดลอดออกไปได้

ในหลวง : มีในพระพุทธศาสนาหรือเปล่า?

สมเด็จญาณฯ : มีแสดงไว้ แต่ไม่ใช่พระพุทธศาสนาโดยตรง ... มีแสดงไว้ก่อนในตำรับทางพราหมณ์

ในหลวง :  แต่มีแสดงไว้ในพระพุทธศาสนาด้วย?

สมเด็จญาณฯ : (ทูลรับพระราชดำรัส)

ในหลวง : อยู่ในที่นี้แล้วสะกดจิตคนที่อยู่ในที่อื่นได้ไหม?

สมเด็จญาณฯ :  เคยพบแต่ที่แสดงไว้ว่าอยู่ในที่เดียวกัน

---------------------------

ในหลวง :  พระเครื่องคุ้มกันได้จริงไหม? ... คุ้มกันได้เพราะใจเชื่อมั่นว่ามีพระเครื่องอยู่กับตัวหรืออย่างไร?

สมเด็จญาณฯ :  เป็นเครื่องทำให้ใจเชื่อมั่น

ในหลวง :  ถ้าใจเชื่อมั่นแล้วก็ไม่จำเป็นหรือ?

สมเด็จญาณฯ : ไม่จำเป็น ... แต่ก็มีเชื่อกันว่า พระเครื่องให้อยู่คงจริง  คือ  ผู้ที่มีอยู่จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม หรือมิได้คำนึงถึง แต่พระเครื่องก็คงคุ้มกันผู้ที่ไม่เชื่อก็มี

ในหลวง : ก็เชื่อ ... มีคนให้...รับมาไว้ เขาก็ยินดี ... แต่วันนี้ไม่ได้ติดมา



ที่มา : บันทึกส่วนพระองค์ ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวัฑฒนมหาเถระ) บันทึกเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๕, หนังสือ "ธรรมหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว", บรรณาธิการโดย รศ.สุเชาว์ พลอยชุม

จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/202928/
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...