ประชาสัมพันธ์ > โครตเกรียนล้างโลก - ลงชักโครกซะ !
ฝากพวกคนพุทธ ไปแจ้ง พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ของพวกคุณ ให้สำเหนียก ด้วยว่า…!?!
มดเอ๊กซ:
เศรษฐกิจตกสะเก็ด แม้แต่ 'พระ' ยังต้องขึ้นเงิน ‘นิตยภัต’
ยุคเศรษฐกิจเช่นนี้อะไรๆ ก็ขึ้นราคาเต็มไปหมด ตั้งแต่น้ำมันพืชยันนมผง แถมล่าสุดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังจ่อคิวตามไปอีก เจอแบบนี้เข้าไปหลายคนจึงพากันโวยวายขอขึ้นเงินเดือนกันเป็นทิวแถว
ซึ่งดูเหมือนรัฐบาลเองก็ใจป้ำเป็นพิเศษ (ไม่รู้ว่าใกล้เลือกตั้งหรือเปล่า) เซ็นขึ้นให้ทุกระดับ แม้กระทั่งพระสงฆ์องคเจ้าก็ยังได้รับอานิสงส์ไปด้วย เพราะทันทีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ชงเรื่องขอขึ้นเงินนิตยภัตให้แก่พระสงฆ์ทั่วประเทศ ตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชลงมาถึงเลขานุการเจ้าคณะตำบล อีก 3.1 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็นเงินประมาณ 195 ล้านบาท จากเดิมที่มีค่าใช้ตรงนี้อยู่แล้วประมาณ 930 ล้านบาท พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายสังคมก็ลงนามอนุมัติทันใด
ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะแปลกใจ เพราะเพิ่งรู้ว่าพระเองก็มีเงินเดือนกับเขาด้วย แต่เชื่อเถอะว่าเรื่องนี้คงมีคำถามตามมาอีกไม่น้อย โดยเฉพาะที่ว่าพระก็อยู่ฟรี กินฟรีอยู่แล้วไฉนจึงจะเอาเงินเดือน (เพิ่ม) อีกล่ะ
‘นิตยภัต’ ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ก็คือ อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายพระภิกษุสามเณรเป็นนิตย์ มีความหมายอย่างไรต่อการดำรงตนในสมณเพศของพระสงฆ์องค์เจ้ายุคดิจิตอล
[ 1 ]
จริงอยู่ แม้ตามพระธรรมวินัยจะระบุเอาไว้ การที่พระภิกษุจะรับเงินรับทองนั้นถือเป็นเรื่องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จำเป็นต้องสละสิ่งที่ได้มาก่อนถึงจะปลงอาบัติได้ หรือแม้แต่สามเณรเองก็ยังมีศีลข้อ 10 ที่ว่า ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ซึ่งแปลง่ายๆ ว่า ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการรับเงินทอง
แต่ในเศรษฐกิจเช่นนี้ ค่าใช้จ่ายจิปาถะเองก็ย่อมมีมากเป็นธรรมดา พระเองก็คงตกอยู่ในสภาพนี้เช่นกัน อย่าง พระมหาคมสัน วิสุทธฺญาโณ พระเปรียญธรรม 9 ประโยค วัดชนะสงคราม ซึ่งเล่าถึงค่าใช้จ่ายส่วนตัวในแต่ละเดือนว่า มีหลายอย่าง เช่น ค่าน้ำค่าไฟเดือนละ 1,000 บาท ค่าเดินทาง ค่าเรียนเทอมละ 20,000 บาท ค่าอุปกรณ์การเรียน ซึ่งพระมหาคมสันได้รับเงินค่านิตยภัตเดือนละ 3,500 บาท ซึ่งได้รับในอัตรานี้มานานแล้ว
“หากพูดถึงที่เป็นอยู่ตอนนี้ยังไม่เพียงพอ ถ้าพระรูปไหนที่ไม่ต้องศึกษาก็แล้วแต่รูปนะ เพราะค่าน้ำค่าไฟ เราจ่ายเองถูกแพงต่างกัน ส่วนรายได้อื่นจากกิจนิมนต์ก็แล้วแต่ญาติโยม กำหนดตายตัวไม่ได้”
ในแต่ละเดือน หากจะเพียงพอต่อการใช้จ่ายของพระมหาคมสันต้องมีเงินนิตยภัตอย่างน้อย 6,000-8,000 บาท เพราะทุกวันนี้เงินนิตยภัตที่ได้มาไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในแต่ละเดือน
“เงินนิตยภัตมีความจำเป็นสำหรับพระสงฆ์ระดับหนึ่ง ควรมีให้อยู่แล้ว เพราะในชีวิตประจำวันก็มีค่าใช้จ่าย เช่น การเดินทางไปปฏิบัติกิจต่างๆ ถ้าหากพระสงฆ์เดินทางแล้วไม่ต้องเสียค่าโดยสารก็ไม่มีให้ก็ได้”
สำหรับการเดินทางโดยขนส่งมวลชนไปต่างจังหวัด พระสงฆ์จะถูกเก็บเงินในราคาที่ต่างจากประชาชนทั่วไปเพียงเล็กน้อย อย่างประชาชนทั่วไปจ่าย 1,000 บาท พระสงฆ์จ่าย 750 บาท ขณะที่เวลาเจ็บป่วยก็ต้องมีค่ายา ซึ่งจะให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลสงฆ์ก็ไม่สะดวกเท่าไหร่ ด้วยเหตุผลเหล่านี้เอง ทำให้ นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงต้องเร่งให้มีปรับเงินนิตยภัตให้เหมาะสมกับรายจ่ายของพระโดยเร็วที่สุด
“พระสงฆ์ท่านมีบทบาทเยอะมากตั้งแต่เรื่องการปกครอง การศึกษาสงเคราะห์ รวมถึงการเผยแผ่ธรรมที่ท่านจะต้องออกไปทำหน้าที่ อบรมสั่งสอน และมีส่วนช่วยเหลือชุมชนในทางอ้อม โดยใช้หลักธรรมเข้ามาบำบัดเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ซึ่งทั้งหมดมันมีค่าใช้จ่าย เพราะเป็นการกระทำในเชิงสาธารณะ ซึ่งทางสงฆ์ต้องดูแลค่าใช้จ่ายเอง พูดง่ายๆ คือท่านเป็นผู้เสียสละแก่สังคม แต่ทุนทรัพย์ในการทำงานของท่านน้อยมาก ซึ่งมันผันแปรกับค่าครองชีพของประชากรเราก็เลยเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณให้ท่านได้นำมาใช้ในการประกอบภารกิจ”
[ 2 ]
แต่เมื่อเรื่องนี้มีความคาบเกี่ยวระหว่างความถูกต้องกับความจำเป็น จึงทำให้หลายคนก็อดวิตกไม่ได้ว่า ประเด็นไหนน่าจะสำคัญกว่ากัน ด้วยเหตุนี้ จึงมีพระจำนวนมากที่ไม่อยากรับเงิน โดยเฉพาะทางสายพระป่า ซึ่งเคร่งครัดเรื่องพระธรรมวินัยเป็นพิเศษ
พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง เป็นอีกผู้หนึ่งที่ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว เนื่องจากตามระเบียบทางโลกกำหนดเอาไว้ ดังนั้นจึงต้องเปิดบัญชีกับธนาคารเพื่อรับเงินนิตยภัตในฐานะเจ้าอาวาส
“อาตมาก็รู้สึกว่าจะผิดวินัยหรือเปล่า จะบังคับให้เราผิดวินัยโดยระเบียบทางโลก มันก็อาจจะไม่เหมาะ อาตมาจึงหาทางออกว่า ให้ผู้อื่นรับแทนได้หรือไม่ ให้ไวยาวัจกรรับแทน เพราะมีไว้เพื่อทำกิจธุระแทนสงฆ์ในกรณีที่สงฆ์ทำไม่ได้ เนื่องด้วยศีลที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ แต่ระเบียบกลับไม่เอื้อ ผู้อื่นรับแทนไม่ได้ ต้องเป็นชื่อพระไปรับเอง”
ในความเห็นของท่าน จริงๆ แล้วเงินนิตยภัตแทบจะไม่มีความจำเป็นเลยแม้แต่น้อย และพระเองในฐานะที่เป็นผู้สืบต่อพระพุทธศาสนาก็ควรลอยตัวจากเรื่องนี้ให้มากที่สุด
และหากพิจารณาให้ลึกถึงสภาพสังคมไทยโดยรวมแล้ว เอาเข้าจริง แหล่งรายได้ของพระเองก็ถือว่าหลากหลาย และหาได้ง่ายสุดๆ ดังคำอธิบายของ นพ.มโน เมตฺตานนฺโท เลาหวณิช จากสถาบันนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเรื่องนี้มันขัดกับสภาพความเป็นจริงขนาดไหน
เพราะเมื่อมองจากสายตาก็จะพบว่า พระเองแทบไม่มีอะไรค่าใช้จ่ายอะไรด้วยซ้ำ อย่างอาหาร ก็สามารถหาได้จากการบิณฑบาต ที่อยู่ก็นอนวัด เครื่องนุ่งห่มอย่างสบงจีวรก็มีฆราวาสมาถวาย เวลาป่วยก็รักษาที่โรงพยาบาลสงฆ์ฟรี แม้แต่ค่าเดินทาง ขึ้นรถประจำทาง หรือรถไฟก็ยังฟรี ภาษีเงินก็ยังไม่ต้องเสีย จริงอยู่ที่พระบางรูปเองก็มีความจำเป็นต้องใช้เงิน เช่น ซื้อหนังสือ แต่นั่นก็ไม่น่าเป็นปัญหา เพราะหากพระรูปนั้นเป็นพระสุปฏิปัณโณ (พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ)
“จริงๆ พระใช้เงินตลอดเวลา ทั้งซื้อของ เดินทาง จับจ่ายใช้สอย ซื้อโทรศัพท์มือถือ คือใช้เงินไม่น้อยกว่าประชาชน แต่พระที่ดีอยู่ได้ เพราะมีญาติโยมทำบุญ แต่พระที่ไม่ดีอยู่ไม่ได้ เพราะชาวบ้านเขาเห็นว่าทำโน้นทำนี่ อาจไปนอกวัดดึกๆ ดื่นๆ เลยไม่ทำบุญ ผมว่าทุกวันนี้ พระอยู่ด้วยศรัทธา คนไปทำบุญฟังเทศน์กัณฑ์หนึ่งก็ 500 บาทขึ้นไปแล้ว ถ้ามีกิจกรรมอย่างสวดมนต์งานศพอีกเดือนหนึ่งก็เป็นหมื่น หรือแม้แต่บิณฑบาตขี้หมูขี้หมาเดือนหนึ่งก็ต้อง 5,000-6,000 บาทแล้ว เอ่ยปากคนก็ทำบุญกันเยอะแล้ว เพราะฉะนั้นจะเอาอะไรอีก
“พระที่เรียกร้องเงินเดือนก็คือพวกเจ้าคุณ ไม่ได้ออกบิณฑบาต แต่ก็อย่างที่รู้ว่าพวกนี้ก็มีช่องทางในการหาเงินเยอะแยะอยู่แล้ว โดยเฉพาะพระที่เป็นหมอดู ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเอาเงินตรงนี้ไปทำไม บางคนก็เก็บไว้เฉยๆ ก็ถือเป็นความสุขทางใจ ซื้อหุ้นก็มี ตั้งบริษัทก็มี หรือบางรูปพอได้เป็นเจ้าคุณ ก็คิดว่าต้องมีรถใช้ ก็เลยไปซื้อรถอะไรอย่างนี้”
[ 3 ]
เมื่อความขัดแย้งทางด้านความคิดเกิดขึ้นเช่นนี้ คำถามก็ถือ ตกลงแล้วเงินค่านิตยภัตนั้นถือเป็นเรื่องดีหรือไม่ดีกันแน่ ซึ่งหากมองในแง่ของประวัติศาสตร์ คงต้องยกคำพูดของ สยาม ราชวัตร แห่งภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มากล่าวอ้าง
“เงินนิตยภัตนั้น เริ่มมีหลักฐานบันทึกมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นๆ แล้ว ซึ่งไม่ใช่เงินเดือน แต่เป็นเงินที่ชาวบ้านถวายเพื่อให้ท่านเอาไปใช้สอยในกิจของสงฆ์ ทีนี้ในปัจจุบันการเรียกเงินที่ให้ว่า เงินเดือน มันก็เลยดูแปลกๆ แต่ในความเห็นผมแล้ว เงินจำนวนนี้ไม่ได้ถวายแก่พระทุกรูป หากแต่เป็นการถวายให้แด่พระที่ทำงาน เพราะถ้าเราไม่ถวาย ท่านก็ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับทางโลกโดยที่ไม่มีใครสนับสนุน ตัวอย่างเช่น การจ่ายค่าเดินทาง พระที่เป็นเจ้าคณะตำบล ท่านก็ต้องมีการเดินทางออกไปตรวจวัดในเขต และเงินที่ได้นั้นก็ไม่ได้มากเท่าฆราวาสเลย ถือว่าน้อยมาก”
ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญในการตีค่าของเงินในแต่ละคนนั้นเป็นอย่างไร หากเป็นปัจจุบัน ซึ่งเป็นโลกของทุนนิยม เงินถือตัวแลกเปลี่ยน เพราะฉะนั้นจึงมีอิทธิพลมาก แต่สำหรับทางพระพุทธศาสนา การที่พระพุทธเจ้าแยกชีวิตตนเองออกมาจากทางโลกนั้น หมายรวมถึงการไม่ไปยุ่งกับเรื่องเศรษฐกิจด้วย เพราะฉะนั้น หากมองว่าเงินเป็นปัจจัย เงินเหล่านี้ก็คือเครื่องสนับสนุนให้พระท่านทำงาน แต่ถ้าเมื่อไหร่ มองว่าเงินเป็นเป้าหมายขึ้นมาก็จะเกิดการแก่งแย่งและความไม่สงบเกิดขึ้นแน่ๆ
ดังเช่นมุมมองของ นพ.มโน ที่กล่าวว่า แม้เงินจะเป็นของกลางๆ แต่ด้วยสภาพในปัจจุบัน ที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองก็พยายามนำเรื่องนี้ เข้ามาใช้ประโยชน์มากขึ้น เพราะหวังให้พระเป็นหัวคะแนนแก่ตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ต่างเป็นตัวบั่นทอนให้ศาสนาเสื่อมเร็วขึ้น และที่สำคัญนี่อาจจะเป็นการเอาเปรียบประชาชนทางหนึ่งด้วยซ้ำ เพราะเงินที่จ่ายไปทั้งหมดนั้น ก็ล้วนแต่มาจากภาษีของประชาชน ซึ่งพระไม่เคยเสียนั่นเอง
.........
แม้ใครหลายๆ คนจะไม่กล้าสรุปว่า การที่พระได้เงินเดือนนั้นเป็นเรื่องสมควรหรือไม่ ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากคติที่ว่า เรื่องของพระสงฆ์องคเจ้า ประชาชนไม่ควรจะยุ่ง เพราะอาจจะเป็นบาปได้
แต่เอาเข้าจริง เรื่องนี้อาจจะเป็นสำคัญไม่แพ้การขึ้นเงินเดือนของสมาชิกรัฐสภาด้วยซ้ำ โดยเฉพาะในยุคพระสงฆ์บางรูปเสื่อมถอย จิตใจของคนถูกบั่นทอนด้วยกิเลส แต่ดูเหมือนว่าที่ผ่านมา จะมีส่วนน้อยเท่านั้นที่ออกมาทำหน้าที่ เพราะต้องไม่ลืมว่า เงินเดือนนั้นสัมพันธ์กับผลงานและความทุ่มเท ถ้าไม่มีทั้งผลงาน และความทุ่มเทแล้ว สุดท้ายเงินที่จ่ายไปให้จะมีประโยชน์อะไร
>>>>>>>>
………
เรื่อง : ทีมข่าว CLICK
ภาพ : ทีมภาพ CLICK
จาก http://astv.mobi/A2fkArM
แถม เจอ ลิ้งงงง มา ถูก ผิด อย่างไร ไปอ่านเอง ข้อย มาใหม่ พระวินัย ข้อย โง่ ตามลิ้งไป ไม่ลง http://hidden--point.blogspot.com/2016/04/blog-post.html
บัวผ่อง:
อืม...ไอ้หลานลูกมดเอ๊ยยยย....
จริงๆ เรื่อง ที่รัฐหักคอ เอาเงินภาษีจากป้า ไป บำรุงบำเรอสมณะในศาสนาพุทธของเอ็ง เนี่ย...
ป้าเอ็งก้อไม่ได้มายด์5 อะรัยนักหนาหรอกนะ
เงินพวกนั้นมันก้อแค่เศษเงินสำหรับป้าว่ะ
เผลอป้าบริจาคหั้ยคนไข้อนาถาที่โรงบาล หรือ ให้เงินพวกขอทานมากกว่านี้ไม่รู้กี่เท่า
แต่ที่ป้านึกครึ้มหยิบประเด็นนี้มาเล่น
ก้อเพราะป้าอยากดู อิพวกมดหน้าง่อ มันเดินต้อย ๆ ตามรอยน้ำหวานล่ะมั้ง
ซึ่งก้อไม่ผิดหวังเลยว่ะ เป็นไปตามที่คาดไว้จริงๆ ว่ะ
ทั้งการดาหน้าออกมาปกป้องพวกพ้องและผลประโยชน์ของศาสนาตัวเอง
ทั้งการกำจัดกระทู้ป้าทิ้งราวกับพยามจะปกปิดความผิดของสมณะที่ตนเคารพ
โดยไม่ได้คำนึงถึง fact ที่นำเสนอในกระทู้เลย...
เฮ้อ...จริงๆ ประเด็นที่ ป้าตั้งเป็นกระทู้ถามนั้นน่ะ
มันเป็นบททดสอบเกี่ยวกับ Secular morality ( คุณธรรมโลกวิสัย)
กับเรื่องของMQ ( moral quotient ) ของคนในสังคมอ่ะนะ
เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับทักษะเรื่องสัมมัปทาน 4ที่มีอยู่ในตน
ซึ่งคำตอบของแต่ละคนมันส่อแสดงถึง อนุสัยแลสันดานดิบลึกๆในตัวเองนะ
อย่าลืมดิว่า ป้าค่อนข้างจะเชี่ยวเรื่องการทวนศีลทวนจิต
ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการวิเคราะห์ทบทวน รากเหง้าของแรงขับเคลื่อนแห่งพฤติ
ประเด็นหลักของกระทู้นี้ ก้อแค่อยากจะให้ คนอ่านทบทวนตัวเองน่ะ
ว่า การรับทรัพย์ ที่มีที่มาที่ไปไม่โปร่งใส ขาดความชอบธรรม
เช่น ไปรับเอาทรัพย์ของผู้ไม่เต็มใจจะให้มาใช้ประโยชน์ นั้น...มันเป็น กุศลกรรมแลพึงกระทำหรือไม่?
และเราควรสนับสนุนเรื่องทำนองนี้หรือไม่ ?เพราะอะไร ?
และหากเรารู้สึกว่ามันไม่เป็นสัมมา แล้วเราได้ทำการแก้ไขปรับปรุงอย่างไร ?
น่าขำนะ เวลาป้าตั้งกระทู้ถามเรื่องนี้กะอิพวกคนพุทธที่เวบพันทิปทีไร
ปฏิกิริยาตอบสนองกลับของคนอ่าน มีทั้งเหน็บแนม มีทั้งแจ้งลบกระทู้
หนำซ้ำมันยังบอกว่า ที่นี่ไม่ใช่ประเทศเยอรมัน จะได้ต้องมีภาษีศาสนา
( จากนั้นพวกมันก้อไล่ป้าไปอยู่เยอรมัน - -" )
แถมบางคนยังจะยัดเยียดพิซซาหั้ยตรูอีก
แต่ไม่เลยสักคนที่พิจารณาข้อเสนอแนะของป้า
ในเรื่องที่ให้รัฐแยกเก็บภาษีศาสนาแบบศาสนาใครศาสนามัน
( ในลักษณะเดียวกับจ่ายภาษีสนับสนุนพรรคการเมือง)
แต่ก้อเข้าใจล่ะนะว่าสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน นั้น...
มันก้อย่อมต้องปกป้องพวกพ้องและรักษาผลประโชน์ตัวเองด้วยกันทั้งนั้น
เฮ้อ...แต่ถ้าเป็นป้าบัวผ่อง อ่ะนะ
ถ้าอิป้านั่นมันนับถือศาสนาพุทธ
แล้วมีคนต่างศาสนามากล่าวหาติเตียนเรื่อง ค่านิตยภัต
ว่าเป็นการเบียดบังเงินภาษีของผู้ที่ไม่ได้นัับถือพุทธ ไปหาโยชน์ เข้าศาสนา ตัวเอง
อิป้าผ่องมันคงจะเกิดอาการตะขิดตะขวง และรู้สึกละอายแกใจมากมายเลยมั้ง
ที่ศาสนาของตัวเองมีแต่การเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ เช่นนั้น
เผลอๆ อิป้านั่นมันอาจจะขอแสดงความรับผิดชอบด้วยการ บริจาคเงินให้ศาสนาอื่น
เพื่อเป็นการชดใช้ไถ่โทษทั้งเงินต้นรวมกับดอกเบี้ย ด้วยอ่ะ
ที่เคยอาศัยความเป็นพวกมากลากไป หักคอเอาเงินภาษีของศาสนาอื่นมาใช้หาประโยชน์เข้าศาสนาตัวเอง
บัวผ่อง:
ถึง. อิพวกคนพุดที่แจ้งลบกระทู้เราที่พันทิป
เรามีไฟล์สำรองเพื่อโคลนนิ่งกระทู้ไว้ ทั้งแบบตัวหนังสือ และ ภาพนะ
ลบได้ก้อลบไป เหอะเพราะจุดประสงค์หลักของเราคือการ เก็บหลักฐานการที่พวกคนพุทธมารังแกมาลบกระทู้เราอ่ะ
ซึ่งตอนนี้หลักฐานเชิงประจักษ์พยานยังน้อยไปหน่อย
คงต้องหาหลักฐานเพิ่มอีกนิด เพื่อให้เกิดความรัดกุม เวลาร้องทุกข์กล่าวโทษว่าพวกคนพุทธมีเจตนา จงใจปกปิด อำพรางความผิด
หาทาง ซ่อนเร้นข้อมูลเรื่องการต้องอาบัติปราชิกของพระเถระ ที่มีคนเอามาเผยแพร่
บัวผ่อง:
ขอ อนุยาด แปะลิงค์กันเหนียวฮ่ะ :29:
http://pantip.com/topic/35647332
มดเอ๊กซ:
เงินทอง ยกให้ พระศาสนา โลก สังคม น่ายกย่อง พระจิตอาสา ทำเพื่อส่วนรวม ประโยชน์สาธารณะ ตัวอย่าง
ทึ่ง! พระขายขนมปัง “รสพระทำ” นำเงินไปสร้างทั้งศาลา-เตาเผาผี เมรุไร้มลพิษ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,12216.0.html
ข้าวแกงรสพระธรรม หลวงพี่ช้าง พระนักพัฒนา แห่งพรหมพิราม http://www.tairomdham.net/index.php?topic=11592.0
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version